โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งในท่อน้ำนมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื่่อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายออกนอกผนังท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งในต่อมน้ำนมชนิดไม่ลุกลาม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง แต่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคต มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งท่อน้ำนมแบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม ได้แพร่กระจายและลุกลามไปยังบริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียง […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด

สิ่งที่ควรรู้เมื่อต้อง ดูแลผู้ป่วย มะเร็งปอด

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ดูแลจะต้อง ดูแลทั้งความรู้สึกและสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย นอกจากอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกวิตกกังวลและหดหู่ ผู้ดูแลจะต้องเรียนรู้เคล็ดลับในการ ดูแลผู้ป่วย มะเร็งปอด เพื่อที่จะดูแลเขาได้ดี ในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลตัวเองด้วย เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในสภาพอารมณ์ที่แย่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด และการดูแลตนเองมาฝากกันค่ะ ทำความเข้าใจ โรคมะเร็งปอด ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นมะเร็งปอดมักจะเกิดจากการสูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่มือสอง แต่ก็ยังมีผู้ป่วยมะเร็งปอดบางคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มือสอง  ซึ่งกรณีเหล่านี้อาจจะยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร มะเร็งปอดมักจะไม่แสดงอาการในระยะแรกสุด สัญญาณและอาการของโรคมะเร็งปอดมักจะแสดงออกมาเมื่อโรคลุกลาม ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไอ หายใจถี่หอบ เสียงแหบ เจ็บหน้าอก และปวดหัว สิ่งที่ต้องทำเมื่อต้อง ดูแลผู้ป่วย มะเร็งปอด ความเป็นอยู่ของผู้ป่วยมะเร็งปอดจะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับผู้ดูแล ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดจะต้องดูแลทั้งอาการและทางด้านอารมณ์ควบคู่กันไป การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด ด้านการแพทย์ สำหรับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดนั้นจะต้องดูแล ช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การจัดยาให้รับประทานตามเวลา ช่วยดูแลเมื่อเกิดผลข้างเคียง ไปพบคุณหมอตามนัดด้วยทุกครั้ง สื่อสารกับแพทย์ผู้ดูแลรักษา การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด เรื่องชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิตประจำหลาย ๆ อย่างอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงรักษาหรือว่ารับมือกับโรคมะเร็งปอดระยะลุกลาม ซึ่งการดูแลในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเหล่านี้อาจช่วยให้เขาใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ซื้อของใช้ต่าง ๆ การเตรียมอาหาร จัดของ ทำความสะอาดบ้าน ซักผ้า การชำระเงิน การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดด้านอารมณ์ นอกจากการดูแลเรื่องอื่น ๆ แล้ว การดูแลอารมณ์ของผู้ป่วยก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน […]


โรคมะเร็ง

ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า สร้างผลดีอย่างไร ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง

สำหรับเทคนิคการรักษามะเร็งนั้น มีรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ตามแต่ประเภทของโรคมะเร็ง รวมไปถึงลักษณะอาการที่ผู้ป่วยมี ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางในรักษา ที่แพทย์อาจนำมาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งได้เช่นกัน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากทุกคนให้ได้ทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะ ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า คืออะไร ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือยาที่ใช้สำหรับควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง ไม่ให้แพร่ไปยังบริเวณอื่นได้อย่างตรงตามเป้าหมายที่แพทย์กำหนด แต่ ยามุ่งเป้า อาจสามารถใช้ได้กับโรคมะเร็งได้เพียงบางชนิดเท่านั้น ยามุ่งเป้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ ยาที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เป็นยาที่ร่างกายดูดซึมได้ง่าย และเข้าถึงเซลล์มะเร็งได้ดี สารภูมิต้านทานโมโนโคลน (Monoclonal antibodies) หรือเรียกอีกอย่างว่า ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นยาที่ผลิตจากโปรตีนในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นยาที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งได้ แต่สารภูมิต้านทานนี้อาจมีส่วนช่วยในต่อต้านเซลล์หรือสารบางอย่าง ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ข้อดีของการใช้ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ทำลายเซลล์มะเร็งด้วยการใช้ระบบภูมิคุ้มกัน หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่อาจลุกลามในภายหลัง ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดเพื่อไม่ให้นำไปหล่อเลี้ยงเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็ง สามารถใช้ร่วมกับการบำบัดด้วยเทคนิคอื่น เช่น การฉายรังสี และเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง จำกัดปริมาณของฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ผลข้างเคียงของ ยามุ่งเป้า เนื่องจากยามุ่งเป้านั้นจะเข้าไประงับการเจริญเติบโต และขัดขวางการกระบวนการทำงานในหลอดเลือด จึงอาจส่งผลให้คุณได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้ ผื่นที่คล้ายคลึงกับสิวอยู่บริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ลำคอ หน้าอก และหลัง มีอาการคัน หรือรู้สึกเจ็บแสบผิวหนัง ผิวมีความไวต่อแสงแดดมากขึ้น สุขภาพผิวแห้งกร้าน เล็บมีอาการบวม […]


โรคมะเร็ง

ระยะของมะเร็ง แต่ละระยะบอกอะไรกับเราบ้าง

ระยะของมะเร็ง เป็นดัชนีชี้วัดความเสี่ยงของโรคมะเร็งที่จะบอกว่ามะเร็งที่เป็นอยู่นั้นมีระดับความอันตรายมากน้อยเพียงใด ยิ่งระยะของมะเร็งอยู่ในลำดับต้น ๆ ก็ยิ่งมีค่าความเสี่ยงน้อย แต่ถ้าหากระยะของมะเร็งมีตัวเลขความเสี่ยงที่สูง นั่นอาจหมายถึงอันตรายต่อชีวิตที่ต้องระวัง บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านมารู้จักกับ ระยะของโรคมะเร็ง และความสำคัญของมะเร็งในแต่ละระยะค่ะ ระยะของมะเร็ง คืออะไร ระยะของโรคมะเร็ง (Cancer Stage) คือ ระบบตัวชี้วัดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โดยหลังจากผู้ป่วยได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยเนื้องอก เนื้อร้าย เซลล์มะเร็ง หรือเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เพื่อทราบความเสี่ยงว่ามีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งหรือไม่ เมื่อทำการตรวจคัดกรองเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะใช้หน่วยที่เรียกว่า ระยะของโรคมะเร็ง ในการแจ้งผลแก่ผู้เข้ารับการตรวจคัดกรอง เพื่ออธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าชิ้นเนื้อดังกล่าวเป็นมะเร็งในระยะใด และเนื้อร้ายดังกล่าวมีขนาดเท่าใด เกิดขึ้นที่ใด มีการแพร่กระจายหรือไม่ สามารถทำการรักษาได้หรือไม่ หรือมีความเสี่ยงใด ๆ จากเนื้องอกนั้นหรือไม่ ระยะของมะเร็ง สำคัญอย่างไร ระยะของโรคมะเร็ง เป็นหน่วยวัดที่มีประโยชน์ทั้งต่อแพทย์และผู้ป่วย ดังนี้ แพทย์สามารถรู้ถึงขนาด และตำแหน่งที่เกิดเนื้องอกหรือเซลล์มะเร็ง แพทย์สามารถวินิจฉัยและระบุแนวทางในการรักษามะเร็งต่อผู้ป่วยได้ ระยะของโรคมะเร็ง ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงของมะเร็ง และประเมินโอกาสในการรักษาได้ แพทย์สามารถกำหนดระยะเวลาในการรักษา และระยะเวลาในการพักฟื้นตัวหลังเข้ารับการรักษาได้ ผู้ป่วยมีข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจเพื่อเข้ารับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยได้รับทราบถึงระดับความรุนแรงของมะเร็งที่ตนเองเป็น โดยอาจจะอยู่ในระดับที่ไม่มีความรุนแรง ระดับที่ต้องรับการผ่าตัด ระดับที่มีเริ่มเป็นอันตราย หรือระดับที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุด ระยะของมะเร็ง มีกี่ระดับ ระยะของโรคมะเร็ง โดยทั่วไปจะมีการแบ่งออกเป็น 4 […]


โรคมะเร็ง

สัญญาณเตือนมะเร็งช่องปาก สังเกตเร็ว รับมือทัน

มะเร็งช่องปาก เป็นอีกหนึ่งสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลก โดยมากแล้วผู้ที่เป็นมะเร็งในช่องปากมักจะไม่รู้ตัวหรือไม่ทันสังเกตเห็นความผิดปกติในช่องปาก ทำให้เมื่อรู้ตัวอีกทีก็พบว่าเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายและทำลายเนื้อเยื่อในช่องปากไปมากแล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ สัญญาณเตือนมะเร็งช่องปาก มาฝากค่ะ มาดูกันว่า มีอาการผิดปกติใดในช่องปากบ้างที่เราควรระมัดระวังตั้งแต่เนิ่น ๆ มะเร็งช่องปาก คืออะไร มะเร็งช่องปาก หรือโรคมะเร็งในช่องปาก (Oral cancer) เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือมีเซลล์มะเร็งเกิดในช่องปาก โดยอาจพบเซลล์มะเร็งอยู่ที่ลิ้น เพดานปาก กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก หรือเหงือกก็ได้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่บริเวณที่มีเซลล์มะเร็งเติบโต มากไปกว่านั้น เซลล์มะเร็งยังสามารถที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อยู่ใกล้เคียงกันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต่อมทอนซิล บริเวณต่อมน้ำลาย หรือบริเวณคอหอย ซึ่งมะเร็งในช่องปากถือเป็นมะเร็งที่จำเป็นจะต้องได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ สัญญาณเตือนมะเร็งช่องปาก มีอะไรบ้าง ลักษณะเด่น ๆ ของ มะเร็งในช่องปาก ที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้ มีรอยคราบหรือรอยฝ้าสีขาวเกิดขึ้นในช่องปาก และมีคราบดังกล่าวมานานกว่า 2 สัปดาห์ มีรอยคราบหรือรอยฝ้าสีแดงเกิดขึ้นในช่องปาก และมีคราบดังกล่าวมานานกว่า 2 สัปดาห์ มีรอยคราบสีขาวผสมกับสีแดงเกิดขึ้นในช่องปาก และมีคราบดังกล่าวมานานกว่า 2 สัปดาห์ […]


โรคมะเร็ง

เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งช่องปาก (Oral Cancer)

มะเร็งช่องปาก หรือ มะเร็งในช่องปาก (Oral cancer) คือโรคที่เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือเซลล์มะเร็งที่เกิดในช่องปาก โดยอาจพบเซลล์มะเร็งอยู่ที่ลิ้น เพดานปาก กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก หรือเหงือกก็ได้ แตกต่างกันไปตามแต่บริเวณที่มีเซลล์มะเร็งเติบโต คำจำกัดความมะเร็งช่องปาก คืออะไร มะเร็งช่องปาก หรือ มะเร็งในช่องปาก (Oral cancer) คือโรคที่เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือเซลล์มะเร็งที่เกิดในช่องปาก โดยอาจพบเซลล์มะเร็งอยู่ที่ลิ้น เพดานปาก กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก หรือเหงือกก็ได้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่บริเวณที่มีเซลล์มะเร็งเติบโต มากไปกว่านั้น เซลล์มะเร็งยังอาจลุกลามไปยังบริเวณต่อมทอนซิล ต่อมน้ำลาย หรือคอหอยได้ด้วยเช่นกัน มะเร็งในช่องปาก ถือเป็นอีกหนึ่งโรคมะเร็งที่จำเป็นจะต้องได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต มะเร็งช่องปาก พบได้บ่อยแค่ไหน สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society; หรือ ACS) ระบุว่า ผู้ชายเป็นกลุ่มมีความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งในช่องปาก สูงกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดคือ กลุ่มผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป   อาการอาการของ มะเร็งช่องปาก อาการโดยทั่วไปของ มะเร็งในช่องปาก มีดังนี้ มีอาการเจ็บที่ริมฝีปากหรือเจ็บที่ปากเป็นเวลานานและไม่หายสักที มีก้อนกลม ๆ หนาขึ้น […]


มะเร็งลำไส้ใหญ่

พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถ้าไม่ปรับรับรองว่าเสี่ยงแน่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตประชากรโลกในทุก ๆ ปี โดยหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็คือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั้นเอง แต่จะมี พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ อะไรบ้าง และพฤติกรรมใดบ้างที่คุณทำอยู่เป็นประจำ ตามไปหาคำตอบได้ที่บทความนี้จาก Hello คุณหมอ กันค่ะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นอย่างไร มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารส่วนลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนท้ายสุดของกระบวนการย่อยอาหาร โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเริ่มจากเซลล์ขนาดเล็กหรือติ่งเนื้อที่ไม่มีอันตรายในลำไส้ใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อดังกล่าวก็อาจพัฒนากลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย แต่โดยมากแล้วมักจะพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ สัญญาณและอาการที่บ่งบอกได้ถึงความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ อาการท้องร่วงท้องเสียเป็นประจำ อุจจาระออกมาเป็นเลือด หรือมีเลือดปนมากับอุจจาระ อาการปวดท้องอย่างรุนแรงเป็นประจำ ก๊าซในช่องท้อง  ลำไส้แปรปรวน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัดโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วในระยะแรกเริ่มของ มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะไม่มีอาการแสดงออกอย่างชัดเจน รวมไปถึงอาการหรือสัญญาณของมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน เนื่องจากขนาดและตำแหน่งของเซลล์มะเร็งในลำไส้ใหญ่ในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอะไรบ้าง มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ก่อให้เกิด มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น อายุที่มากขึ้น พันธุกรรม สมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการลำไส้อักเสบ โรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับลำไส้ใหญ่ โรคเบาหวาน โรคอ้วน การได้รับรังสี นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ดังนี้ 1. การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ แต่ถ้าหากจำเป็นหรือต้องการที่จะดื่ม […]


มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma)

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma) จัดเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากเซลล์ในระบบน้ำเหลืองเติบโตผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการบวมอย่างเจ็บปวดบริเวณที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น รักแร้ ขาหนีบ รวมถึงอาการคันอย่างรุนแรง คำจำกัดความมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน คืออะไร  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma) จัดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากเซลล์ในระบบน้ำเหลืองเติบโตผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการบวมอย่างเจ็บปวดบริเวณที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น รักแร้ ขาหนีบ รวมถึงอาการคันอย่างรุนแรง พบได้บ่อยแค่ไหน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี และในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี อาการอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินส่วนใหญ่มักมีอาการบวมบริเวณต่อมน้ำเหลือง ซึ่งทำให้เกิดก้อนเนื้อใต้ผิวหนัง โดยก้อนเนื้อนี้มักไม่มีอาการเจ็บปวด จะขึ้นบริเวณรอบ ๆ บริเวณในร่างกายที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น ขาหนีบ ใต้รักแร้ บริเวณคอ รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่แสดงออกดังต่อไปนี้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ผิวหนังคัน ไข้ ความเหนื่อยล้า น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ ไอต่อเนื่อง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ปวดบริเวณต่อมน้ำเหลืองหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ ม้ามโต ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการผิดปกติที่บริเวณหน้าท้องส่วนล่าง ปวดท้องอย่างรุนแรง และปัสสาวะเป็นเลือด หรือแสบร้อนขณะปัสสาวะ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรปรึกษากับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน ในปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดของสาเหตุมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B Lymphocytes) ที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติจำนวนมากสะสมในระบบน้ำเหลือง เช่นเดียวกับการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ […]


มะเร็งแบบอื่น

เซลล์มะเร็ง เซลล์ต้นเหตุโรคร้าย แล้วเรามีเซลล์นี้ไหมนะ

โรคมะเร็งเป็นโรคไม่ติดต่อสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะแทบทุกส่วนภายในร่างกาย โรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง และถึงแม้เราจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับโรคมะเร็งกันมานานแล้ว แต่เราเชื่อว่า หลาย ๆ คนน่าจะยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เซลล์มะเร็ง อย่างจำกัด วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจเรื่องเซลล์มะเร็งให้มากขึ้น พร้อมทั้งยังมีเคล็ดลับในการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งง่าย ๆ มาฝากคุณด้วย เซลล์มะเร็ง ต่างจากเซลล์ปกติอย่างไร วัฏจักรของเซลล์ปกตินั้นเป็นไปอย่างมีระบบชัดเจน เริ่มจากร่างกายสร้างเซลล์ขึ้นมา เซลล์จะเจริญเติบโตและแบ่งตัว เพื่อทดแทนเซลล์ที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพเท่านั้น เซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ หรือที่เรียกว่า เซลล์เจริญวัย (Mature cell) มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง และเมื่อเซลล์เหล่านั้นทำหน้าที่ของตัวเองเสร็จ ก็จะตายลง ถือเป็นการจบวัฏจักรของเซลล์ แต่เซลล์มะเร็ง คือเซลล์กลายพันธุ์ที่มีวัฏจักรของเซลล์ผิดแปลกไปจากปกติ และไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงเหมือนเซลล์ปกติ กล่าวคือ เซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สูญเสียคุณสมบัติในการควบคุมการเจริญเติบโต การแบ่งตัว และการตาย เซลล์มะเร็งจึงสามารถเจริญเติบโตและแบ่งตัวไปได้เรื่อย ๆ ไม่ได้ตายลงอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อร่างกายมีเซลล์มะเร็งในปริมาณมาก จึงทำให้เกิดโรคมะเร็งขึ้น เราทุกคนมี เซลล์มะเร็ง ในร่างกายหรือเปล่า คำตอบสำหรับคำถามนี้คือ “ไม่” เราทุกคนไม่ได้มีเซลล์มะเร็งอยู่ในร่างกาย […]


มะเร็งเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 มีอะไรบ้าง ที่คุณผู้หญิงควรรู้

หากพูดถึงโรคมะเร็ง โดยปกติแล้วมะเร็งนั้นจะมีอยู่ 4 ระยะด้วยกัน โดยแต่ละระยะก็จะมีอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกันไป ซึ่ง โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) ก็ถูกแบ่งออกเป็น 4 ระยะเช่นกัน แต่.. อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 นั้นจะมีอะไรบ้าง วันนี้ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความเข้าใจกับระยะต่าง ๆ ของมะเร็งเต้านม โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะแบ่งประเภทของมะเร็งเต้านมเป็นระยะ  (Stage) โดยมีตั้งแต่ระยะ 0 ถึงระยะ 4 ตามที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute) ได้กำหนดระยะต่าง ๆ เอาไว้ ดังนี้ Stage of Breast Cancer ระยะ 0 สัญญาเตือนแรกของมะเร็ง อาจมีเซลล์ผิดปกติในบริเวณนั้น แต่ยังไม่มีการแพร่กระจาย และอาจยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นมะเร็ง ระยะ 1 มะเร็งระยะแรกสุดของมะเร็งเต้านม เนื้องอกมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แม้ว่าอาจมีเซลล์มะเร็งขนาดเล็กบางส่วนอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ระยะ 2 มะเร็งเริ่มแพร่กระจาย โดยมะเร็งอาจจะอยู่ในต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม หรือเนื้องอกที่เต้านมมีขนาดใหญ่กว่า 2 […]


มะเร็งปอด

ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด 7 เรื่องนี้ อันไหนจริง อันไหนหลอก มาดูกัน

โรคมะเร็งปอด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้บ่อย และเราได้ยินชื่อกันมานาน แต่เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็ยังคงเข้าใจโรคนี้ผิดอยู่ในหลายเรื่อง วันนี้ Hello คุณหมอ มี 7 ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด พร้อมข้อเท็จจริงมาฝาก คุณจะได้เข้าใจโรคมะเร็งปอดกระจ่างขึ้น 7 ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด ที่ควรรู้ให้กระจ่าง ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 1 สูบบุหรี่มาตั้งหลายปี เลิกตอนนี้ก็คงไม่ทันแล้ว ข้อเท็จจริง ไม่ว่าคุณจะสูบบุหรี่มานานแค่ไหน แต่เมื่อคุณเลิกบุหรี่ ร่างกายของคุณก็จะได้รับผลดีจากการเลิกบุหรี่แทบจะทันที เมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่ เลือดจะไหลเวียนได้ดีขึ้น ปอดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดของคุณก็จะค่อย ๆ ลดลงด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากคุณเลิกบุหรี่ติดต่อกันได้เกิน 10 ปี ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดจะลดลงไปถึง 50% เมื่อเทียบกับคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 2 เป็นมะเร็งปอดแล้ว เลิกบุหรี่ไปก็ไร้ประโยชน์ ข้อเท็จจริง อย่างที่เราบอกไปแล้วว่า ถ้าคุณเลิกบุหรี่ได้ คุณก็จะได้รับผลดีของการเลิกบุหรี่แทบจะทันที และถึงแม้คุณจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดแล้ว การเลิกบุหรี่ก็ยังคงส่งผลดีต่อร่างกายของคุณเช่นกัน เพราะการเลิกบุหรี่ นอกจากจะดีต่อระบบการไหลเวียนเลือดและการทำงานของปอดแล้ว ยังอาจช่วยให้การรักษามะเร็งปอดของคุณได้ผลดีขึ้น และช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย และหากจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ร่างกายของคนที่เลิกบุหรี่แล้วก็ยังฟื้นตัวได้ดีกว่าคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ อีกทั้งคนที่เลิกบุหรี่แล้วยังเกิดปัญหาเสียงแหบหลังรักษามะเร็งกล่องเสียงด้วยการฉายรังสีน้อยกว่า นอกจากนี้ การเลิกบุหรี่ยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดซ้ำได้ด้วย ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 3 สาเหตุของโรคมะเร็งปอดมีแค่การสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว ข้อเท็จจริง จริงอยู่ที่การสูบบุหรี่ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคมะเร็งปอด แต่โรคนี้ก็ไม่ได้เกิดเพราะสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน