โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งในท่อน้ำนมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื่่อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายออกนอกผนังท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งในต่อมน้ำนมชนิดไม่ลุกลาม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง แต่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคต มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งท่อน้ำนมแบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม ได้แพร่กระจายและลุกลามไปยังบริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียง […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งปากมดลูก

ไขข้อสงสัย ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีกี่วิธี อะไรบ้าง

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นเรื่องที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก อีกด้วย หากตรวจพบหรือเข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง จะได้ปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำความเข้าใจกับ มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดในเซลล์ปากมดลูก ซึ่งเป็นช่วงล่างของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามต่อสู้ไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายบางคนอาจต่อสู้กับเชื้อจนสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ในขณะที่บางรายร่างกายอ่อนแอกว่าทำให้มีเชื้ออยู่ในร่างกายนานหลายปี นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น อายุ 50 ปีขึ้นไป การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ สูบบุหรี่ มีบุตรหลายคน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งนี้ การ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นประจำ หรือรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ วิธีการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก […]


มะเร็งแบบอื่น

วิธี ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างเข้าใจ และถูกต้อง ต้องทำอย่างไรบ้าง

การดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะคุณจะต้องดูแลทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของ ผู้ป่วยมะเร็ง ไปพร้อม ๆ กัน การดูแลผู้ป่วยมะเร็งมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งการช่วยเหลือพาไปพบคุณหมอ การจัดเตรียมยา หรือทำอาหารให้ผู้ป่วยรับประทาน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง มาฝากกันค่ะ วิธีดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่เหมาะสมจะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย เตรียมตัวเองอย่างไรเมื่อต้อง ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง การดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและท้าทาย ผู้ดูแลจะต้องมีความพร้อมในการช่วยฟื้นฟู ผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งยังต้องพร้อมปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ก่อนเริ่มดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ดูแลควรความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ จัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองก่อน เมื่อทราบข่าวคนใกล้ชิดเป็นมะเร็ง ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะมีความรู้สึกหลายอย่างปนเปกัน ทั้งความรู้สึกสับสน เศร้า เสียใจ การเข้าไปพูดคุยกับ ผู้ป่วยมะเร็ง ทั้ง ๆ ที่คุณยังไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกตนเองได้ มีแต่จะยิ่งทำให้ทั้งคุณและผู้ป่วยรู้สึกเครียด ฉะนั้น หากคุณต้องดูแลคนใกล้ชิดที่ป่วยเป็นมะเร็ง สิ่งแรกที่คุณควรทำก็คือ การจัดการความรู้สึกของตัวเองให้ได้เสียก่อน คุณจะได้พูดคุยกับเขาอย่างมีสติมากขึ้น และสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้นด้วย ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคมะเร็ง การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นประเภทของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง จะช่วยให้คุณวางแผนในการดูแล ผู้ป่วยมะเร็ง ได้ดีขึ้น ทั้งการทำกิจกรรม และรูปแบบอาหารที่ผู้ป่วยควรรับประทาน นอกจากนี้ การถามถึงอาการของผู้ป่วยบ่อย ๆ […]


มะเร็งเต้านม

สัญญาณมะเร็งเต้านม ในช่วงเริ่มต้น ที่ควรต้องระวัง

โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่มักจะไม่แสดงอาการออกมาในช่วงระยะแรก ๆ จำเป็นที่จะต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเต้านม ซึ่งการเปลี่ยนแปลง สัญญาณและอาการเตือนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเต้านม อาจบ่งบอกถึงการเป็น โรคมะเร็งเต้านม ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ สัญญาณมะเร็งเต้านม มาให้อ่านกันค่ะ สัญญาณมะเร็งเต้านม ที่ควรระวัง สิ่งแรกที่ควรตรวจสอบถึง สัญญาณมะเร็งเต้านม คือ ก้อนที่เต้านม ก้อนที่เต้านมถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นของ โรคมะเร็งเต้านม ก้อนมะเร็งมักมีรูปร่างผิดปกติ แข็ง และเคลื่อนที่ไม่ได้ ที่สำคัญมักจะไม่รู้สึกเจ็บปวด ส่วนใหญ่แล้วก้อนมะเร็งมักจะพบได้ที่บริเวณท้องแขน เนื่องจากเซลล์มะเร็งมักจะแพร่กระจายไปยังนอกเต้านม และอาจส่งผลต่อต่อมน้ำเหลืองได้ แพทย์จึงพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงของต่อมน้ำเหลืองเป็นสัญญาณเริ่มต้นของมะเร็งเต้านม แต่อย่างไรก็ตามมีเพียงแพทย์เท่านั้นที่จะบ่งบอกได้ว่า ก้อนที่คลำเจอบริเวณเต้านมเป็น โรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างของเต้านม อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของ โรคมะเร็งเต้านม หากเราทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ก็จะช่วยให้เข้ารับการรักษา โรคมะเร็งเต้านม ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสัญญาณและอาการเตือนของ โรคมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรกเหล่านี้ อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งเต้านม ได้ การเปลี่ยนแปลงบริเวณหัวนมและบริเวณรอบ ๆ  บางครั้งการเปลี่ยนแปลงของหัวนมอาจเกิดจากความผิดปกติที่ส่งผ่านทางพันธุกรรมหรือการเปลี่ยนแปลง แต่ความผิดปกติของหัวนม เช่น มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม มีการดึงรั้งกลับของหัวนม (Nipple Retraction) ถือเป็นสัญญาณของ โรคมะเร็งเต้านม […]


มะเร็งแบบอื่น

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งหลอดลม (Bronchial Cancer)

หลอดลมเป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่ในการนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอด และแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด ดังนั้นมาทำความรู้จักกับ มะเร็งหลอดลม (Bronchial Cancer) หนึ่งในมะเร็งที่พบได้ยาก คำจำกัดความ มะเร็งหลอดลม (Bronchial cancer) คืออะไร มะเร็งหลอดลม (Bronchial cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบยาก เกิดขึ้นบริเวณเซลล์เยื่อเมือกของหลอดลมซึ่งเป็นทางเดินไปยังปอด โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการสูบบุหรี่ หรือสัมผัสกับสารพิษชนิดต่าง ๆ  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด มีอาการไอปนเลือด  พบได้บ่อยเพียงใด โรคมะเร็งหลอดลม สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายที่สูบบุหรี่ อาการ อาการของ โรคมะเร็งหลอดลม ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงออก ทำให้เราไม่สามารถสังเกตอาการได้จนกว่าเชื้อมะเร็งจะเริ่มแพร่กระจาย โดยมีลักษณะอาการที่พบได้บ่อยดังนี้ มีอาการไอเรื้อรัง หายใจไม่ออก ไอเป็นเลือดและมีน้ำมูก มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อสูดลมหายใจเข้า หัวเราะ หรือไอ ชีพจรเต้นเร็ว เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต อาการชาบริเวณแขนและขา ปวดบริเวณสะโพกหรือบริเวณหลัง น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หากมีคำถามหรือข้อกังวล โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติม ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของ โรคมะเร็งหลอดลม โรคมะเร็งหลอดลม โดยส่วนใหญ่เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ การสูบบุหรี่ และการสัมผัสกับสารพิษ สารกัมตรังสี รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ คือการที่เซลล์ต่อมลูกหมากซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิและลำเลียงอสุจิ เจริญเติบโตมากผิดปกติ และอาจลุกลามและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยสังเกตได้จากอาการมีเลือดปนกับปัสสาวะหรือมีเลือดในน้ำอสุจิ บางคนอาจมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย ดังนั้น หากสังเกตพบว่ามีอาการดังกล่าวควรพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาในทันที [embed-health-tool-bmr] ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากเป็นต่อมขนาดเล็ก ขนาดประมาณลูกวอลนัท อยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะ ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ หากเกิดมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก มะเร็งที่เกิดมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างช้า ๆ แต่ในบางกรณี ซึ่งเป็นกรณีที่หาได้ยาก มะเร็งต่อมลูกหมากอาจจะลุกลามและเติบโตอย่างรวดเร็ว หรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จากข้อมูลของมูลนิธิระบบทางเดินปัสสาวะแห่งอเมริกา พบว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับ 2 ที่พบได้ในผู้ชายอเมริกัน ดังนั้น การที่แพทย์ตรวจพบโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เร็วเท่าไร โอกาสที่จะรักษาหายก็มากขึ้นเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะเป็นผู้สูงอายุ มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ คืออะไร โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็เหมือนกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่ยากจะบอกได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร บางครั้ง โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็เกิดจากหลาย ๆ กรณีรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม การสัมผัสกับสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี รังสีบางชนิด การกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอหรือสารทางพันธุกรรม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโต การกลายพันธุ์เหล่านี้ทำให้เซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโต โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้และเกิดความผิดปกติ เซลล์ที่มีความผิดปกติ หรือมะเร็งที่ยังคงเติบโตจะเกิดการแบ่งตัว จนกว่าเนื้องอกจะพัฒนาขึ้น […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

การทดสอบ PCA3 เทคนิคการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากที่ควรรู้

ส่วนใหญ่มะเร็งต่อมลูกหมากมักพบได้บ่อยในผู้ชาย โดยเกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากมีการแบ่งตัว และเจริญเติบโตผิดปกติจนมีลักษณะเป็นก้อนมะเร็งอยู่ภายใน อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดที่อาจไปทำลายระบบการทำงานอื่น ๆ ให้เสียหายได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเทคนนิค การทดสอบ PCA3 เพื่อ ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก มาฝากคุณผู้ชายทุก ๆ คนให้ได้ทราบกันค่ะ การทดสอบ PCA3 คืออะไร การตรวจแอนติเจนในมะเร็งต่อมลูกหมาก 3 หรือที่เรียกกันว่า “The prostate cancer antigen 3 gene (PCA3)” เป็นเทคนิคที่ใช้ทดสอบ หรือคัดกรองโปรตีนผิดปกติที่สามารถบ่งชี้ว่า คุณมีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่ หากกรณีคุณมีระดับที่ต่ำกว่า 35 ก็หมายความได้ว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงต่ำที่ และแพทย์อาจไม่แนะนำให้มีการนำชิ้นเนื้อไปตรวจเพิ่ม แต่อาจหาเทคนิคอื่นเข้ามาทดแทน ส่วนผู้ที่มีในระดับ 35 ขึ้นไป สามารถเป็นไปได้ว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับมะเร็งต่อมลูกหมากสูง อีกทั้งแพทย์อาจต้องขอให้คุณเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อเพิ่ม  เพื่อแสดงถึงผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น ขั้นตอน ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยการทดสอบ PCA3 ในการ ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์อาจใช้วิธีทดสอบทั้ง 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ การตรวจทางทวารหนัก แพทย์อาจมีการค้นหาก้อนแข็ง หรือความผิดปกติอื่น ๆ รอบทวารหนัก พร้อมมีการนวดต่อมลูกหมากเล็กน้อย […]


มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร

ปากมดลูก เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและมดลูก เมื่อเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจพัฒนากลายไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อย่างไรก็ตาม การทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดจาก อะไร และอาจป้องกันได้ด้วยวิธีใดบ้าง อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ มะเร็งปากมดลูกคืออะไร มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณปากมดลูก ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อกลวงที่เชื่อมระหว่างช่วงล่างของมดลูกและช่องคลอด เซลล์มะเร็งปากมดลูกมักเกิดขึ้นที่บริเวณพื้นผิวของปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ ส่วนใหญ่อาการจะแสดงออกเมื่ออยู่ในระยะลุกลาม โดยอาการที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ เลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกระหว่างมีประจำเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะผิดปกติ เช่น กลิ่นหรือสีเปลี่ยนไป ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะกะปริดกะปรอย เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ ปวดกระดูกเชิงกราน มะเร็งปากมดลูกเกิดจาก อะไร ส่วนใหญ่แล้ว มะเร็งปากมดลูกเกิดจาก การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus หรือ HPV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ไวรัสชนิดนี้มีอยู่หลายร้อยสายพันธุ์ แต่สายพันธ์ที่มักทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมี 2 สายพันธุ์ คือ HPV-16 และ HPV-18 อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเชื้อ HPV-16 และ HPV-18 ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกเสมอไป เพราะร่างกายสามารถกำจัดเชื้อเหล่านี้ได้ภายใน 2 […]


มะเร็งปอด

เมื่อ มะเร็งปอดแพร่กระจายไปยังสมอง จะมีอาการอย่างไร

มะเร็งที่ปอด (Lung Cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ปอด แต่เมื่อมะเร็งปอดอยู่ในระยะแพร่กระจาย มะเร็งปอดจะลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นมะเร็งปอดระยะที่ 4 มะเร็งปอดจะแพร่กระจายไปยังสมอง เมื่อ มะเร็งปอดลามไปสมอง ผู้ป่วยจะอยู่ได้อีกภายใน 1 ปี วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเรื่อง มะเร็งปอดแพร่กระจายไปยังสมอง มาให้อ่านกันว่า มะเร็งปอดนั้นแพร่กระจายไปยังสมองได้อย่างไร มะเร็งปอดแพร่กระจายไปยังสมอง ได้อย่างไร  มะเร็งปอดสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กจะมีเซลล์มะเร็ง 10-15 % ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่ขนาดเล็ก (Non-small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่ขนาดเล็กจะมีเซลล์มะเร็ง 80-85 % ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ โดยมักจะแพร่กระจายผ่านท่อน้ำเหลืองและหลอดเลือด แต่มะเร็งปอดจะแพร่กระจายผ่านท่อน้ำเหลืองได้ง่ายกว่าการแพร่กระจายทางหลอดเลือด แต่เมื่อใดก็ตามที่มะเร็งปอดแพร่กระจายผ่านทางเซลล์เม็ดเลือดแดง ผู้ป่วยจะอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว มะเร็งปอดลามไปสมอง โดยแพร่กระจายผ่านท่อน้ำเหลืองและหลอดเลือด โดยทั่วไปแล้วการแพร่กระจายผ่านท่อน้ำเหลืองผู้ป่วยจะมีอาการแย่ในระยะยาว แต่หากมีการแพร่กระจายมะเร็งปอดผ่านทางเซลล์เม็ดเลือดอาการจะแย่ลงในระยะสั้น ๆ ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กมักจะไม่แสดงอาการหรือวินิจฉัยได้ยาก จน มะเร็งปอดลามไปสมอง ก่อนที่จะมีการวินิจฉัยด้วยซ้ำ ส่วนมะเร็งปอดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก สามารถแพร่กระจายไปยังสมองได้ แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหลังจากพบมะเร็งปอด เมื่อ มะเร็งปอดแพร่กระจายไปยังสมอง แล้วจะมีอาการอย่างไรบ้าง เมื่อ […]


มะเร็งแบบอื่น

ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เกิดได้จากการสูบบุหรี่

“การสูบบุหรี่” นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง และยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ อีกด้วย ยิ่งถ้าสูบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจมี ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร โดยไม่รู้ตัว บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคมะเร็งหลอดอาหาร ให้มากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างไร ติดตามอ่านได้ในความนี้เลย ทำความรู้จัก มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) โรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร โดยหลอดอาหารจะมีลักษณะเป็นท่อกลวงยาว ทอดจากลำคอไปถึงกระเพาะอาหาร เมื่อมะเร็งเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร จะทำให้หลอดอาหารแคบลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น รู้สึกลำบากในการกลืนอาหาร อาหารไม่ย่อย  กินเหล้า สูบบุหรี่เพิ่ม ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร จากผลการศึกษาการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Gastroenterology ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ ยิ่งถ้าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ควบคู่กัน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งหลอดอาหาร มากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว  8 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร หากคุณมีอาหารดังต่อไปนี้ คุณอาจเข้าข่ายเป็น โรคมะเร็งหลอดอาหาร  […]


มะเร็งปอด

วิธีจัดการความเครียด ความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งปอด

เมื่อได้รับวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวล เครียด หรือว่ากลัว ซึ่งปัญหา ความเครียด ความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งปอด นั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งปอดว่ามีอะไรบ้าง และควรจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นอย่างไรดี ความเครียด ความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง ความวิตกกังวล เป็นความกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น กังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง จนทำให้รู้สึกกลัว จนบางครั้งความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ส่งผลทำให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย บางครั้งความวิตกกังวลเหล่านี้ยังส่งผลต่อการนอนหลับ ความสัมพันธ์ และสุขภาพโดยรวมอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งปอด มีดังนี้ อาการแพนิค อาการแพนิค เป็นความกลัว ความวิตกกังวล ตื่นตระหนก หวาดกลัวอย่างรุนแรง บางครั้งผู้ที่มีอาการแพนิครุนแรงมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ด้วย เช่น สั่น รู้สึกโดดเดี่ยว กลัวความตาย เจ็บหน้าอก ความเครียด ความเครียดเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้รู้สึกกดดัน ไม่สบายใจ กลัว หากไม่สามารถจัดการความเครียดได้ จนเกิดเป็น ความเครียดเรื้อรัง ปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อร่างกาย เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดศีรษะ หัวใจเต้นแรง โรควิตกกังวล […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน