โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

Metabolic Syndrome คือ อะไร เกี่ยวกับโรคเบาหวานอย่างไร

Metabolic Syndrome คือ เมแทบอลิกซินโดรมซึ่งเป็นกลุ่มของอาการหรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง ความดันโลหิตสูง ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลิน และเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นป้องกันมิให้เกิดภาวะเมเเทบอลิกซินโดรมรวมไปถึงโรคแทรกซ้อน ได้แก่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย [embed-health-tool-bmr] Metabolic Syndrome คือ อะไร ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม หมายถึง กลุ่มของอาการหรือปัญหาสุขภาพที่เกิดจากระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติไป ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าเกณฑ์วินิจฉัยว่ามีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม คือ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอย่างน้อย 3 ใน 5 ข้อต่อไปนี้ ขนาดรอบเอวใหญ่ หรือมากกว่า 40 นิ้วในผู้ชาย และมากกว่า 32 นิ้วในผู้หญิง มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือ สูงตั้งเเต่ 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตรเป็นต้นไป หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานเเล้ว ความดันโลหิตสูง หรือตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือ ได้รับยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง คือ สูงตั้งเเต่ […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานลด คืออะไร และวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์

อาการเบาหวานลด คือ ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ที่อาจทำให้อาการเบาหวานอื่น ๆ ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าแผนการรักษาโรคเบาหวานมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หากระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจนต่ำกว่าเกณฑ์ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น หน้ามืด ไม่มีสมาธิ สับสน การมองเห็นผิดปกติ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] อาการเบาหวานลด คืออะไร อาการเบาหวานลด คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจนส่งผลให้อาการต่าง ๆ ของโรคเบาหวานลดลงไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพของแผนการรักษาโรคเบาหวานต่าง ๆ เช่น การควบคุม อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยารักษาเบาหวาน การใช้อินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือดควรลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 99-140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ไม่ควรปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพราะอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ที่อาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ พูดไม่ชัด การมองเห็นผิดปกติ ไม่มีสมาธิ หัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการโคม่า อาการชักและเสียชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้อาการเบาหวานลด สาเหตุที่ทำให้อาการเบาหวานลด มีดังนี้ ยารักษาเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเบาหวานลดอาจเป็นผลจากการรักษาด้วยยารักษาเบาหวาน เช่น ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ยากลุ่มเอสจีแอลทีทู อินฮิบิเตอร์ (SGLT2 Inhibitors) ยากลุ่มดีพีพี-4 อินฮิบิเตอร์ […]


โรคเบาหวาน

Blood Sugar คือ อะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

Blood Sugar คือ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย โดยทั่วไป ระดับน้ำตาลในเลือดปกติจะต่ำกว่าหรือเท่ากับ 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจหลังจากที่อดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หากมีระดับน้ำตาลสูงกว่านั้น จะหมายความว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่องไป และอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือกำลังเป็นโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] Blood Sugar คือ อะไร Blood Sugar หรือระดับน้ำตาลในเลือด คือ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในกระเเสเลือด ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหลักที่เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย โดยทั่วไป ร่างกายได้รับน้ำตาลกลูโคสจากการย่อยอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต กล่าวคือ อาหารจำพวกแป้งเเละน้ำตาลที่บริโภคในแต่ละมื้อ Blood Sugar เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอย่างไร โดยปกติแล้ว หลังรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกระบบย่อยอาหารเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสเเละดูดซึมเข้าสู่กระเเสเลือด ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยฮอร์โมนอินซูลินจะทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงน้ำตาลในกระเเสเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน เเละนำน้ำตาลบางส่วนไปสะสมไว้ที่ตับในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen) เป็นพลังงานสำรอง อย่างไรก็ตาม หากตับอ่อนหลั่งอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย รวมทั้งหากเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินบกพร่อง ก็จะทำให้สมดุลการควบคุมน้ำตาลในเลือดเสียไป ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับที่เรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้ หากเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยุ่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการที่ปล่อยให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูอย่างเรื้อรัง เช่น  เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตา ระบบปลายประสาทเสื่อม น้ำตาลในเลือดปกติ […]


โรคเบาหวาน

ผลไม้น้ำตาลน้อย เบาหวาน มีอะไรบ้าง

ผลไม้น้ำตาลน้อย เบาหวาน หมายถึง ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูงมาก มักมีรสชาติไม่หวานมาก เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] ผลไม้น้ำตาลน้อย เบาหวาน สัมพันธ์กันอย่างไร เบาหวาน จัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลงน้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือไม่ได้เลย หรืออาจเกิดจากเซลล์ทำงานผิดปกติไป ไม่ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีอย่างเช่นเคย ส่งผลให้สมดุลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง โดยทั่วไป ผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากจะรับประทานยาตามคำเเนะนำของคุณหมอเเล้ว ยังควรดูแลตัวเองด้วย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ได้เเก่ ผลไม้น้ำตาลน้อย เพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากระดับน้ำตาลในที่เลือดสูงเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ เเม้ในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน การบริโภคผลไม้น้ำตาลน้อยก็ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานได้ งานวิจัยหนึ่ง เรื่องการบริโภคผลไม้เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตีพิมพ์ในวารสาร Korean Journal of Family Medicine พ.ศ. 2564 ระบุว่า การบริโภคผลไม้ 200 กรัม/วัน อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ งานวิจัยยังระบุว่า การบริโภคผลไม้ในปริมาณ 133 กรัม/วัน อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตเนื่องจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผลไม้ที่เลือกรับประทานควรเป็นผลไม้สดทั้งผล ไม่ใช่ดื่มน้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานขึ้นสูง สาเหตุ และวิธีป้องกัน

อาการเบาหวานขึ้นสูง คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ดี ขาดการออกกำลังกาย และไม่ปฏิบัติตามแผนการรักษาของคุณหมอ ซึ่งจำเป็นต้องลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] อาการเบาหวานขึ้นสูง คืออะไร อาการเบาหวานขึ้นสูง คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 126-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยสังเกตได้จากอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย มองเห็นเป็นภาพซ้อน รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้า หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่รับการรักษาหรือควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หายใจถี่ ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ปวดท้อง และหมดสติได้ อันตรายจากอาการเบาหวานขึ้นสูง อาการเบาหวานขึ้นสูง หากไม่ได้รับการรักษา อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นประสาทเสียหาย ไตวาย ต้อหิน ต้อกระจก มองเห็นเป็นภาพซ้อน ผิวหนังติดเชื้อ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตร นอกจากนี้ ยังอาจนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic ketoacidosis: DKA) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่อันตรายที่สุด เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ ร่างกายจึงเผาผลาญไขมันเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานแทน กระบวนการนี้จะทำให้เกิดคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์เป็นกรดสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากและส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ สาเหตุของอาการเบาหวานขึ้นสูง สาเหตุของอาการเบาหวานขึ้นสูงเกิดจากการที่ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการหรือร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้กลายเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการเบาหวานขึ้นสูง อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ ที่ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดอาการเบาหวานขึ้นสูง […]


โรคเบาหวาน

Fasting blood sugar คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

Fasting blood sugar (การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร) คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่จะช่วยให้ทราบค่าน้ำตาลว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งช่วยประเมินได้ว่าเข้าข่ายภาวะก่อนเบาหวานหรือเป็นโรคเบาหวานแล้ว เพื่อให้ทราบความเสี่ยงทั้งต่อโรคเบาหวาน และรวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] Fasting blood sugar คืออะไร Fasting blood sugar คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งจะประเมินได้ว่าร่างกายสามารถจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ดีแค่ไหน การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะสุขภาพ ดังต่อไปนี้ มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีภาวะก่อนเบาหวานน้ำหนักเกิน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีโรคร่วม เช่น โรคหลอดเลือดสมองเเละหลอดเลือดหัวใจ โรคไต โรคถุงน้ำในรังไข่ เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ คลอดทารกตัวโต ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานเช่น ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนล้าผิดปกติ ปลายเท้าชา แผลหายช้า ผู้ที่กำลังเป็นโรคเบาหวาน ความสำคัญของ Fasting blood sugar คืออะไร การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อย […]


โรคเบาหวาน

Glucose ค่าปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ และมีวิธีการควบคุม glucose อย่างไร

Glucose (กลูโคส) คือ น้ำตาลชนิดหนึ่งที่ร่างกายได้รับจาการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต หลังจากที่น้ำตาล ​Glucose ดูดซึมเข้าสู่กระเเสเลือด ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินออกมาเพื่อกระดตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงาน หากรับประทานอาหารในปริมาณที่พอดี เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะทำให้มีสมดุลของระดับน้ำตาล Glucose ปกติ แต่หากออกกำลังกายน้อยและรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเเละเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] Glucose ค่าปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ ผุ้ที่มีสุขภาพเเข็งเเรง หากตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังอดอาหารมาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จะไม่สูงกว่า 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อย่างไรก็ตาม ค่าน้ำตาลกลูโคสในเลือดจะเปลี่ยนเเปลงได้ตลอดเวลาขึ้นกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การออกเเรงหรือออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร ดังนั้น จึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เพื่อสังเกตว่าค่าน้ำตาลในเลือดว่าเกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่ ดังนี้ ค่าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ในบุคคลทั่วไปหากมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหากมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเเล้ว ค่าน้ำตาลในเลือดเกินเกณฑ์ จะมีค่าน้ำตาลในเลือด 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เมื่อตรวจหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป […]


โรคเบาหวาน

สาเหตุ เบาหวาน มีอะไรบ้าง วิธีป้องกันเบาหวาน

เบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเรื้อรัง สาเหตุ เบาหวาน ที่พบบ่อย เช่น ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้น้อยเกินไป ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินเลย เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จนทำให้มีน้ำตาลปริมาณมากสะสมอยู่ในกระแสเลือด เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ ทั้งนี้ โรคเบาหวานอาจป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น ออกกำลังกายและขยับร่างกายอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงมากเกินไป โรคเบาหวาน คือ อะไร โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานทำงานผิดปกติ เนื่องจากร่างกายขาดอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนจากตับอ่อนที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน หรือร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จึงไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปเป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ และส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง โรคเบาหวานสามารถแบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 2 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งยังมีโรคเบาหวานชนิดอื่นที่พบได้ค่อนข้างบ่อยอย่างภาวะก่อนเบาหวาน โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น โดยปกติแล้ว คนทั่วไปจะมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากตรวจพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 100-125  มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) แต่หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Gangrene คือ อะไร เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่

Gangrene คือ แผลเนื้อตาย ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหรืออาจเกิดจากการติดเชื้อรุนแรง มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด อย่างไรก็ตาม Gangrene หรือ แผลเนื้อตายสามารถป้องกันได้ด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] Gangrene คือ อะไร Gangrene คือแผลเนื้อตาย ซึ่งสามารถเกิดได้กับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนที่เลือดได้รับเลือดหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง ปกติแล้ว แผลเนื้อตายมักพบบริเวณปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ เท้า ขา และมือ โดยมีอาการดังนี้ ผิวหนังบางลง ผิวแห้ง ขนที่บริเวณส่วนนั้น ๆ ร่วง (เป็นอาการแรกเริ่มของการที่เลือดไหลเวียนไม่ดี) ผิวหนังเปลี่ยนจากสีปกติ เป็นค่อยๆซีดลงและเริ่มเปลี่ยนเป็นสเทา ม่วง หรือดำในที่สุด อุณหภูมิของส่วนนั้น ๆ เย็นกว่าปกติ Gangrene มีสาเหตุจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงที่ให้เกิดแผลเนื้อตาย แผลเนื้อตาย เป็นภาวะแทรกซ้อนอาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จนทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง นำไปสู่สาเหตุของแผลเนื้อตายได้ดังต่อไปนี้ การไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง นอกจากจะทำให้หลอดเลือดส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง ไขมันจะสะสมในผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงจนอาจถึงกับอุดตันในที่สุด ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เช่น ปลายนิ้ว เท้า ได้ตามปกติ จนทำให้ส่วนนั้น ๆ […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลสะสม ปกติ เท่าไร และตรวจอย่างไร

ระดับน้ำตาลสะสม หมายถึง การตรวจน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดเเดง ซึ่งจะบ่งบอกถึงค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีชื่อการตรวจคือ HbA1c (Hemoglobin A1C) หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี การตรวจน้ำตาลสะสมหรือ HbA1c นี้ สามารถตรวจได้ โดยการเจาะเลือดเเละไม่ต้องอดอาหาร เเต่โดยทั่วไปเเล้วระดับน้ำตาลสะสม ในเกณฑ์ปกติ เท่าไร อาจเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบคำตอบ เนื่องจากอาจไม่ได้รับการตรวจ ซึ่งหากเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวานเเล้วเเนะนำให้รับการตรวจ ระดับน้ำตาลสะสม ทุก ๆ 3 - 6 เดือน เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับการดูเเลสุขภาพเเละการรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลสะสม ปกติ เท่าไร ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด หรือ HbA1c หมายถึง การตรวจน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดเเดง ซึ่งจะบ่งบอกถึงค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา การตรวจน้ำตาลสะสม HbA1c จะแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ โดย สามารถแปลผลถึงภาวะสุขภาพดังนี้ ไม่เกิน 5.6 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงสุขภาพปกติ 7 - 6.4 เปอร์เซ็นต์ หมายถึง […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน