โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ตารางค่าน้ำตาลในเลือด ที่ควรรู้เพื่อควบคุมโรคเบาหวาน

ตารางระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไหร่จึงจะถือว่าปกติ ไม่เสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน และช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้วสามารถประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดปัจจุบันของตนและใช้เป็นข้อมูลในปรับแผนการรักษาร่วมกับคุณหมอ เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ซึ่งจะลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-heart-rate] ค่าน้ำตาลในเลือด สำคัญอย่างไรต่อโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินทำงานผิดปกติไป โดยฮอร์โมนอินซูลินจะทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย นำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน เมื่อตับอ่อนผลิตและหลั่งอินซูลินผิดปกติไป จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ระดับน้ำตาลในเลือด (Blood sugar levels) เมื่อตรวจขณะอดอาหาร ของคนทั่วไปจะสูงไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน และหากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปลายประสาทอักเสบ การควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายตามคำแนะนำของคุณหมอ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงเกินไปจนทำให้หลอดเลือดเสียหายและส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เกณฑ์ค่าน้ำตาลในเลือด อาจมีดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้มีสุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดช่วงอดอาหาร (Fasting) ระหว่าง 55-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง มักไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหาร (Before meals) อยู่ที่ 72-126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  […]


โรคเบาหวาน

การตรวจค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด หรือ Hemoglobin A1C คือ อะไร สำคัญอย่างไร

Hemoglobin A1C คือ การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในกระแสเลือด หรือที่เรียกว่าการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (HbA1c) ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอทราบถึงการควบคุมระดับน้ำตาลโดยรวมในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา สามารถใช้ในการคัดกรองภาวะก่อนเบาหวาน การวินิจฉัยโรคเบาหวาน และช่วยให้คุทราบถึงประสิทธิภาพของแผนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งการปรับพฤติกรรมสุขภาพและการใช้ยาในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับการรักษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmr] Hemoglobin A1C คือ อะไร การตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี หรือ Hemoglobin A1C หรือ น้ำตาลสะสม เป็น การตรวจที่สามารถบอกถึงค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสามารถตรวจได้โดยไม่ต้องอดอาหารมาก่อนล่วงหน้า ตามปกติแล้ว น้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในกระแสเลือดจะจับกับฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเซลล์เม็ดเลือดแดง และจะคงอยู่จนกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงจะหมดอายุขัย (ประมาณ 100-120 วัน) ดังนั้น หากรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ร่างกายเผาผลาญได้ไม่หมด ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะมีน้ำตาลไปจับกับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น และยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้นเท่าไหร่ หรือ บ่อยครั้งขึ้น ก็จะส่งผลให้มีน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินเพิ่มงมากขึ้นตามไปด้วย ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีหรือมีความเสี่ยงโรคเบาหวาน ควรเข้ารับการตรวจ Hemoglobin A1C เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานหรือภาวะก่อนเป็นเบาหวาน […]


โรคเบาหวาน

ขาร้อน เบาหวาน สัญญาณของภาวะเบาหวานลงเท้า

ขาร้อน เบาหวาน เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยอาจรู้สึกขาร้อนวูบวาบ ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดแปลบเหมือนไฟช็อตที่ขา ปวดแสบปวดร้อนที่ขา ขาชา แผลที่ขาหายช้า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับรักษาที่่เหมาะสม อาการอาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดขาหรือเท้าได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรใส่ใจ หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เท้า และดูแลสุขภาพเท้าให้ดีอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] ขาร้อน เบาหวาน เกิดจากอะไร อาการขาร้อน เบาหวาน เป็นสัญญาณของภาวะปลายประสาทอักเสบ หรือ เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน หรือที่นิยมเรียกกันว่า เบาหวานลงเท้า ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เส้นประสาทเสียหาย โดยมักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะหลอดเลือดเสื่อม (เป็นผลจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกัน) ซึ่งจะทำให้เลือดบริเวณขาและเท้าไหลเวียนไม่สะดวก ขาดออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เสี่ยงเกิดแผลหรือติดเชื้อที่เท้าได้ง่ายกว่าปกติ อีกทั้งแผลหายได้ช้า หากอาการรุนแรงมาก คุณหมออาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาบางส่วนออก เพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายและเชื้อโรคแพร่กระจายสู่อวัยวะข้างเคียง ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานลงเท้า ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานลงเท้า อาจมีดังนี้ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมาย หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน เป็นโรคเบาหวานมานาน มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน มีภาวะความดันโลหิตสูง มีไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง สูบบุหรี่ อาการ ขาร้อน เบาหวาน อาการขาร้อน […]


โรคเบาหวาน

DM คือ อะไร การรักษา และการป้องกัน

DM หรือ โรคเบาหวาน จัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หิวน้ำมาก หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด แผลหายช้า ตาพร่ามั่ว และติดเชื้อง่ายขึ้น ซึ่งหากไม่ควบคุมให้ดี โรคเบาหวานอาจลุกลามและรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองจึงอาจเป็นวิธีช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] DM คืออะไร Diabetes Mellitus (DM) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ โรคเบาหวาน นับเป็นภาวะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ที่เป็นจะมีระดับน้ำตาลเลือดสูงกว่าปกติหรือตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป (เมื่อตรวจขณะที่อดอาหารมาแล้ว อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) มีสาเหตุเนื่องมาจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้เพียงพอ ส่งผลให้น้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังสามารถเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินเป็นปกติ แต่เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่องไป จึงทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักเพื่อผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มมากขึ้น เพื่อยังคงให้เซลล์ยังสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเพียงพอ จนสุดท้ายตับอ่อนเกิดความเสียหายและเกิดเป็นโรคเบาหวานในที่สุด DM มีกี่ชนิด โรคเบาหวานอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคเบาหวานที่มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น สาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติไป สร้างภูมิไปทำลายเนื้อเยื่อตับของตนเอง จึงส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักได้รับการวินิจฉัยในวัยผู้ใหญ่ โดยทั่วไปพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป โรคเบาหวานชนิดที่ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานกินลูกชิ้นได้ไหม และอาหารที่ควรกินมีอะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือตัวเองเป็นโรคเบาหวาน อาจสงสัยว่า เป็น เบาหวานกินลูกชิ้นได้ไหม ซึ่งในความจริงแล้วสามารถกินได้ แต่ต้องเลือกลูกชิ้นที่ผลิตมาจากเนื้อสัตว์แท้ ไม่ผสมแป้ง (หรือผสมแต่น้อย) น้ำตาลหรือผงปรุงรสอื่น ๆ ที่อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันสูงขึ้น นอกจากนี้ ควรจำกัดปริมาณการรับประทานเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน และป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-bmi] ไขข้อสงสัยเป็น เบาหวานกินลูกชิ้นได้ไหม โดยทั่วไปผู้ป่วยเบาหวานสามารถเลือกรับประทานอาหารได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มาจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือปรุงแต่งน้อย เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง เนื้อปลา ธัญพืช ผัก ผลไม้ และควรควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านการแปรรูปสูง เช่น อาหารทอด อาหารมัน อาหารที่มีไขมันสูง เบเกอรี่ น้ำหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพราะอาจเสี่ยงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงและส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ หลายคนอาจทราบกันดีว่า ลูกชิ้น เป็นอาหารแปรรูปชนิดหนึ่งที่มีส่วนประกอบของแป้งเป็นส่วนใหญ่ ร่วมกับมี ผงปรุงรส น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ อาจมีสารอื่น ๆ เช่น สารบอแรกซ์ สีผสมอาหาร สารกันบูด โซเดียม ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานลูกชิ้นเป็นประจำ เพราะอาจเสี่ยงเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลสูง […]


โรคเบาหวาน

10 อาการก่อนเป็นเบาหวาน ที่ควรรู้

อาการก่อนเป็นเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (Prediabetes) ซึ่งจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงถึงเกณฑ์เป็นโรคเบาหวาน โดยส่วนมากแล้วผู้มีภาวะก่อนเบาหวาน จะยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ ที่ผิดปกติให้สังเกตหรือเป็นสัญญาณเตือน แต่หากละเลยหรือปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจส่งผลให้มีอาการเช่น หิวบ่อย กระหายน้ำ/ปัสสาวะบ่อย ดังนั้นผู้ที่มีความเสียงของโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวานแล้วจึงควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ หรือหากพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจละเอียดเพิ่มเติม [embed-health-tool-bmi] 10 อาการก่อนเป็นเบาหวาน ที่ควรรู้ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน โดยไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีอาการแสดงของโรคที่คล้ายกัน เนื่องมากจากอาการเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากการที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนถึงระดับหนึ่ง หรือ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมานานเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ดังนั้นผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน หรือแม้จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานแล้วแต่ยังมีระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมากนัก หรือเพิ่งเริ่มเป็น จึงมักไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ให้เห็น หรือ เป็นสัญญานเตือนที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับการดูแลสุขภาพให้ดี จนมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้มีอาการผิดปกติได้ดังนี้ หิวมาก เมื่อปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงระดับหนึ่ง จะส่งผลให้ตับอ่อนกลับผลิตอินซูลินบกพร่องมากขึ้น จึงยิ่งทำให้เซลล์ในร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักไปใช้เผาผลาญได้อย่างที่ควร ส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวบ่อยมากกว่าปกติ ความเหนื่อยล้า เมื่อร่างกายไม่ได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ จึงทำให้เกิดความเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ […]


โรคเบาหวาน

10 อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ภาวะเรื้อรังที่ผู้ที่เป็นโรคจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ส่งผลกระทบต่อนำน้ำตาลน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายไปเผาผลาญเป็นพลังงาน หากเป็นเบาหวานแล้วควบคุมได้ไม่ดี ร่างกายจะไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงานได้ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา ซึ่งหลาย ๆ ท่าน อาจอยากทราบว่า อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง เพื่อจะได้สังเกตตัวเองและสามารถรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคเบาหวานหรือบรรเทาอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmr] 10 อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายอาการ ดังนี้ หิวและเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนถึงระดับหนึ่ง ตับอ่อนเผลิตอาจทำงานบกพร่องกลับผลิตอินซูลินได้น้อยลง ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนหลักที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายนำน้ำตาลเข้าไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน เมื่อร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้อาการหิวบ่อยและเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น และทำให้รู้สึกกระหายน้ำบ่อยขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ดื่มน้ำมาทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากปัสสาวะ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงานจนจำเป็นต้องเปลี่ยนมาเผาผลาญไขมันและกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี มีน้ำหนักตัวลดลงแม้จะรู้สึกหิวบ่อย และไม่ได้ควบคุมอาหาร ตาพร่ามัว เนื่องจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้ความเข้มข้นของสารน้ำและของเหลวในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ในเลนส์ตาจะมีส่วนที่เป็นของเหลวอยู่เช่นกัน จึงอาจทำให้เลนส์ตาบวมและเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และส่งผลกระทบต่อการมองเห็น แผลหายช้าและติดเชื้อง่าย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้ประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวในการจัดการกับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมบกพร่องไป อีกทั้งน้ำตาลที่สูงขึ้นยังเป็นแหล่งอาหารของเชื้อรา […]


โรคเบาหวาน

DTX คือ การวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว มีประโยชน์อย่างไร

DTX คือ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในกระเเสเลือดโดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้น โดยสามารถทำการตรวจได้เองที่บ้าน เนื่องจากมีวิธีการตรวจที่ไม่ซับซ้อน เพียงเจาะเลือดที่ปลายนิ้วแล้วหยดเลือดที่แถบทดสอบของเครื่องตรวจจากนั้นผลเลือดจะเเสดงที่จอของเครื่อง หากทำการตรวจโดยอดอาหารมาเเล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมงเเล้วมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน เเต่อย่างไรก็ตามเเนะนำให้ทำการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาลอีกครั้ง ซึ่งหากทราบว่าเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเริ่มเป็นเบาหวานเเล้ว การเข้ารับการรักษาเเละการปรับพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่เกณฑ์เป้าหมายและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] DTX คือ อะไร Dextrostix หรือ DTX คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคส (Glucose)ในกระเเสเลือดโดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว โดยทั่วไปจะเเปลผลในหน่วย มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Milligram/Deciliter หรือ mg/dL) หมายถึง ปริมาณของน้ำตาลของกลูโคสต่อเลือด 1 ลูกบาศก์เ                   ดซิลิตร การตรวจน้ำตาล DTX สามารถใช้คัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้นได้ ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระเเสเลือด ซึ่งจะกระตุ้นให้เซลล์นำน้ำตาลลำกลูโคสไปใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ หากร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยเกินไป หรือเซลล์ต่าง ๆ ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างเหมาะสม จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ […]


โรคเบาหวาน

ยา ทา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง และควรดูแลแผลเบาหวานอย่างไร

ยา ทา แผล เบาหวาน คือยาสำหรับรักษาแผลทั่วไปที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาหรือตามที่คุณแนะนำ ใช้เพื่อรักษาแผล ฆ่าเชื้อโรค กระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ซึ่งมีส่วนช่วยให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรทำความสะอาดแผลให้ดีและไปพบคุณหมอตามนัดเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ป้องกันการติดเชื้อ มิให้แผลลุกลาม และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น [embed-health-tool-bmi] ยา ทา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง ยาทาแผลเบาหวานเป็นยาที่ใช้ทาในบริเวณแผลอาจเพื่อรักษาแผล ฆ่าเชื้อ ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวหนังขึ้นมาใหม่ให้แผลสมานเร็วขึ้น โดยทั่วหากขนาดแผลไม่ใหญ่และไม่ลึกนัก สามารถปฐมพยาบาลหรือทำแผลเบาหวานได้เบื้องต้นเอง ด้วยการใช้ยาสำหรับทาแผลตามร้านขายยาหรือตามที่คุณหมอแนะนำ เช่น น้ำเกลือทางการแพทย์ ใช้สำหรับล้างทำความสะอาดบริเวณแผล เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและเชื้อโรคภายในแผล ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อโณค เป็นยาใช้ภายนอกสำหรับฆ่าเชื้อที่บริเวณแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจรุนแรงจนนำไปสู่การตัดแขนขาเนื่องจากแผลเน่าจนเนื้อตาย ในบางกรณีคุณหมออาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะผ่านทางเส้นเลือดดำ เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น เช่น มีการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือลึกจนถึงกระดูก  โกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) เป็นอาหารของเซลล์ซึ่งอาจช่วยกกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกายโดยเฉพาะ ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของผิวหนัง เส้นใยโปรตีน คอลลาเจน ทำให้แผลสมานตัวและหายเร็วขึ้น ผลิตภัณฑ์เสมือนผิวหนัง (Skin Substitutes) เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ใช้สำหรับการรักษาแผล มีคุณสมบัติช่วยเสริมเนื้อผิวหนังที่สูญเสียไป กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น จึงนับว่าเป็นการป้องกันการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย วิธีรักษาแผลเบาหวาน สามารถทำได้อย่างไร วิธีรักษาแผลเบาหวานควบคู่ไปกับการใช้ยาทาแผลที่อาจช่วยรักษาให้แผลหายได้เร็วและป้องกันการติดเชื้อรุนแรง มีดังนี้ ทำความสะอาดแผลทุกวัน ด้วยน้ำเกลือทางการแพทย์ เว้นแต่คุณหมอจะแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแผลอื่น ๆ […]


โรคเบาหวาน

การตรวจหาโรคเบาหวานนั้นแพทย์นิยมตรวจวินิจฉัยจากสิ่งใด

สำหรับผู้ที่ให้ความสนใจเรื่องสุขภาพ อาจมีข้อสงสัยว่า การตรวจหาโรคเบาหวานนั้นสามารถตรวจวินิจฉัยจากสิ่งใด เพื่อให้ทราบว่าถึงระดับน้ำตาลในเลือดว่าเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานหรือต้องรับได้รับการรักษาหรือไม่ ซึ่งการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดมีหลายวิธี ซึ่งคุณหมออาจเเนะนำตามความเหมาะสมของผู้ป่วยเเต่ละราย [embed-health-tool-vaccination-tool] การตรวจหาโรคเบาหวานนั้นแพทย์นิยมตรวจวินิจฉัยจากสิ่งใด อาการของโรคเบาหวาน เช่น กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว แผลหายช้า ติดเชื้อง่าย คุณหมอจะเเนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองหาโรคเบาหวาน หากพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะสามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดคัดกรองโรคเบาหวาน เเม้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ มีดังนี้ มีดัชนีมวลกายสูงกว่า 25  ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เช่น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลไม่ปกติ การมีวิถีชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย มีประวัติโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือโรคหัวใจ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากผลตรวจเป็นปกติควรตรวจทุก ๆ 3 ปีหลังจากนั้น ผู้หญิงที่เคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์  ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก ๆ 6 เดือน - 1 ปี การวินิจฉัยโรคเบาหวานทำได้อย่างไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวานและความเหมาะสมซึ่งมีวิธีการตรวจ ดังนี้ การวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 และภาวะก่อนเป็นเบาหวาน การตรวจฮีโมโกลบิน […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน