โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

แผ่นตรวจน้ำตาล ใช้งานยังไง มีประโยชน์อย่างไร

แผ่น ตรวจ น้ำ ตาล (Test Strips) เป็นแผ่นทดสอบระดับน้ำตาลที่ใช้คู่กับเครื่องวัดระดับน้ำตาล (BGM) เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น เนื่องจากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำจะช่วยให้ทราบได้ว่าอาหาร กิจกรรมทางกาย และยารักษาเบาหวานที่ใช้อยู่ ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไรบ้าง [embed-health-tool-bmi] แผ่นตรวจน้ำตาล ใช้งานยังไง มีประโยชน์อย่างไร แผ่น ตรวจ น้ำ ตาล (Test Strips) คือแผ่นทดสอบที่ใช้คู่กับเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด (BGM) ในการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น เพราะการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำด้วยตนเอง จะช่วยให้ทราบว่า ในชีวิตประจำวันนั้น อาหาร กิจกรรมที่ทำ และยารักษาเบาหวานที่ใช้อยู่ ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดให้สูง หรือ ต่ำ อย่างไรบ้าง แผ่น ตรวจ น้ํา ตาล คืออะไร แผ่นตรวจน้ําตาล คือ แผ่นทดสอบขนาดเล็กที่ใช้สำหรับเสียบเข้ากับเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด มักใช้กับผู้ป่วยเบาหวานเเละผู้ที่ต้องการ เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในแต่ละวันด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบถึงการควบคุมระดับน้ำตาลที่เเท้ของตนในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นการประเมินารรักษาที่ได้รับ ทั้งตัวยา เเละ การปรับพฤติกรรมสุขภาพ และยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกในกรณีที่มีน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไปได้ด้วย แผ่น ตรวจ น้ำ ตาลทำงานอย่างไร ที่บริเวณปลายแผ่นตรวจน้ำตาลจะมีสารเคมีเคลือบอยู่ เมื่อดูดซับเลือดเข้าไป จะเกิดปฏิกิริยาเคมี แล้วส่งสัญญาณจากแผ่นตรวจไปยังเครื่องวัดระดับน้ำตาล […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงเท้ารักษาอย่างไร และวิธีดูแลสุขภาพเท้าอย่างเหมาะสม

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาแผลเรื้อรังบริเวณเท้า แผลหายช้า หรือที่มักเรียกว่า ภาวะเบาหวานลงเท้า ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากหลอดเลือดเเละเส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลาย จากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นระยะเวลานาน โดยทั่วไป เบาหวานลงเท้า สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายอยู่เสมอ ร่วมกับการดูเเลสุขภาพเท้าความ ทำสะอาดของเท้าให้ดี ทาครีมบำรุงเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการเกิดผิวแห้งแตก รวมทั้งการขยับร่างกายบ่อย ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงขาและเท้าได้สะดวกขึ้น [embed-health-tool-bmi] ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ขาหรือเท้าเปลี่ยนเป็นสีคล้ำเข้มขึ้น เท้าบวม ปวด ชา แผลมีกลิ่นเหม็น หรือ มีหนองอักเสบ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม เบาหวานลงเท้าเกิดจากอะไร โรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน (Diabetic neuropathy) หรือที่มักเรียกว่า เบาหวานลงเท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ที่ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีมาเป็นระยะเวลานาน การปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลอดเลือดและเส้นประสาทถูกทำลาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ขาได้น้อยลง เนื้อเยื่อจึงขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง รวมถึงเส้นประสาทขาดเลือด จึงทำให้การรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติไป จึงทำให้เท้าเป็นแผลได้ง่าย แผลหรือการติดเชื้อหายช้าปกติ จนอาจลุกลามเป็นแผลเนื้อตาย (Gangrene) ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่รับการรักษาที่เหมาะสม อาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาส่วนที่มีเนื้อตายออก เพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรใส่ใจสุขภาพเท้าของตัวเองอยู่เสมอ อาการเบาหวานลงเท้า อาการเบาหวานลงเท้า อาจมีดังนี้ ผิวหนังบริเวณเท้ามีสีคล้ำขึ้น มีอาการปวดแสบปวดร้อน ที่เท้า รู้สึกชา ปวดแปลบเหมือนมีเข็มทิ่ม ขนที่เท้า/ขา […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลตก หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจากอะไร สังเกตยังไง

น้ำตาลตก หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งอาจทำให้มีอาการเเสดง เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นแรง ตัวสั่น เหงื่อออกมาก รู้สึกหิวหรือโหยผิดปกติ โดยการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถเเก้ไข้ได้ด้วยรับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดดูดซึมเร็ว เช่น น้ำตาล น้ำหวาน ลูกอม ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว แต่หากเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำเเล้วไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจทำให้เกิดอาการรุนเเรง ได้เเก่ ชัก หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลตก คืออะไร อาการน้ำตาลตก คือ ภาวะที่ร่างกายของผู้ที่เป็นเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิโมล/ลิตร แม้ว่าตามปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะมีการเปลี่ยนเเปลงตลอดตามปริมาณกลูโคสในอาหารที่รับประทาน แต่หากมีภาวะน้ำตาลต่ำอย่างฉับพลันก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมาได้ น้ำตาลตกเกิดจากอะไร โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการน้ำตาลตกมักเกิดขึ้นเมื่อการใช้ยาลดระดับน้ำตาลไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด อาทิเช่น ผู้ป่วยรับอินซูลินหรือยารักษาเบาหวานในปริมาณมากเกินไป การรับประทานอาหารน้อยลง หรือ ไม่ตรงเวลา รวมถึงการออกกำลังกายที่หักโหมมากกว่าปกติ ก็ล้วนส่งผลให้น้ำตาลตกได้ ทั้งนี้ อาการน้ำตาลตกอาจเกิดขึ้นในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานได้เช่นกัน เเต่จะพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาควินิน (Qualaquin) เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป มีเนื้องอกที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ภาวะพร่อมงฮอร์โมนบางชนิด รวมไปถึงภาวะเจ็บป่วยบางประการ เช่น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

DKA คือ ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่ควรรู้

DKA คือ ภาวะเลือดเป็นกรดจากน้ำตาลในเลือดสูง พบในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน่ำตาลได้ไม่ดี อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ง่ายกว่า เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ตามปกติ ภาวะ DKA นี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูง แต่กลับไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ เนื่องจากขาดอินซูลิน ร่างกายจึงต้องหันมาเผาผลาญไขมันใช้เป็นพลังงานแทน กระบวนการเผาผลาญไขมันนี้จะเกิดสารคีโตน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด จึงทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดตามมาได้ ทั้งนี้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น สมองบวม น้ำท่วมปอด ไตวาย หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเบาหวานมีอาการที่เข้าข่ายภาวะ DKA เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] DKA คือ อะไร ภาวะไดอะเบติกคีโตอะซิโดซิส หรือ Diabetic ketoacidosis หรือ DKA คือ ภาวะเลือดเป็นกรดร่วมกับมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเเละอันตรายของโรคเบาหวาน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ควรได้รับการรักษาโดยทันที เพราะอาจนำไปสู่อาการรุนเเรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุของ DKA คือ อะไร ภาวะ DKA อาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ทำหน้าที่ช่วยให้เซลล์ในร่างกายน้ำตาลในกระเเสเลือดไปเผาผลาญเป็นพลังงาน เเต่หากเมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก ๆ หรือ ร่วมกับมีการเจ็บป่วยอื่น ๆ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ชาปลายนิ้วมือ เบาหวาน เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร

ชาปลายนิ้ว เบาหวาน เป็นภาวะเเทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการที่ปล่อยให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ส่งผลให้เส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของมือและเท้าเสียหายทำให้มีอาการชาและสูญเสียการรับความรู้สึกที่ปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือ ปวดแปล๊บคล้ายไฟช๊อต ได้เช่นกัน การรักษาภาวะนี้ จะเน้นที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย ร่วมกับ คุณหมออาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เเละให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ชาปลายนิ้ว เบาหวานเกิดจากอะไร ชาปลายนิ้ว เบาหวาน เป็นอาการที่เกิดจากภาวะปลายประสาทเสื่อม (Peripheral neuropathy) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เกิดจากเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน น้ำตาลส่วนเกินจะทำลายหลอดเลือดและเส้นประสาท จึงส่งผลให้เส้นประสาทรับความรู้สึกเสียหาย โดยมักเริ่มมีอาการกับเส้นประสาทส่วนปลายก่อน ส่งผลให้สูญเสียการรับความรู้สึกบริเวณปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน เป็นอย่างไร อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน และอาการอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมากจากภาวะปลายประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ รู้สึกเสียวแปล๊บ คล้ายไฟช๊อต หรือ และชาที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ปวดและไม่สบาย ที่ มือเเละเท้า โดยเฉพาะในตอนกลางคืน มีแผลโดยไม่ทันรู้ตัว เนื่องจากการรับความรู้สึกผิดปกติไป จึงไม่รู้สึกเจ็บ/ปวด เมื่อมีแผล รู้สึกปวดแสบ/ร้อนตามปลายมือ เท้า การรับรู้อุณหภูมิ ร้อน-เย็น ผิดปกติไป เวียนศีรษะขณะยืน หรือ เปลี่ยนท่าท่าว เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ปัจจัยเสี่ยงเกิดอาการ […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานขึ้นเป็นอย่างไร วิธีดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีสาเหตุมาจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่อาจนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เข้าพบคุณหมอสม่ำเสมอตามนัดและทำตามคำแนะนำ รวมไปถึงหมั่นสังเกตว่า อาการเบาหวานขึ้นเป็นอย่างไร และมีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้างที่ควรระวัง  [embed-health-tool-bmi] อาการเบาหวานขึ้นเป็นอย่างไร  อาการเบาหวานขึ้นเป็นอย่างไรนั้น ผู้ป่วยที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่าเป็นเบาหวาน หรือผู้ป่วยเบาหวาน เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้ กระหายน้ำบ่อยและดื่มน้ำมาก  ปัสสาวะบ่อย บางรายอาจพบมดขึ้นปัสสาวะได้ น้ำหนักตัวลดลงและผอมลง ทั้งที่รับประทานอาหารมาก แผลหายช้า ติดเชื้อง่าย อ่อนเพลีย  ชาปลายมือปลายเท้า  สายตาผิดปกติ ตาพร่ามัว  อาจมีอาการคันตามร่างกาย  เมื่อเกิดอาการเบาหวานขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ผู้ป่วยจะมีอาการซึม หอบ หรือหมดสติได้ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โรคแทรกซ้อนที่ควรระวัง อาการเบาหวานหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนอื่นที่อันตรายตามมาได้ เช่น ภาวะแทรกซ้อนต่อดวงตาที่อาจส่งผลให้เกิดต้อกระจกก่อนวัยอันควร ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม มีเลือดออกในวุ้นลูกตา เกิดอาการตามัว มองเห็นจุดดำลอยไปมา เมื่อเบาหวานขึ้นจอประสาทตา อาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้  เกิดปลายประสาทอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน ชาตามปลายมือปลายเท้า ส่งผลให้เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย พบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อาจเป็นโรคไตเสื่อม จนอาจเกิดภาวะไตวายได้ ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูงร่วมด้วย เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองอุดตันหรือหลอดเลือดแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต  ประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันต่ำลงจึงเกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น […]


โรคเบาหวาน

ตรวจน้ำตาลคนท้อง เพื่อการคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร

การ ตรวจน้ำตาลคนท้อง ใช้เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) มักทำการตรวจในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ แม้ภาวะนี้โดยส่วนมาแล้วจะหายได้เองหลังจากคลอดบุตร แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อคุณแม่งและทารกในครรภ์ได้ ทั้งนี้ หากวินิจฉัยพบภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และทารกมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย [embed-health-tool-due-date] ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นับเป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นในช่วงขณะที่ตั้งครรภ์ (ในผู้ที่ไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อน) ซึ่งหากไม่ควบคุมให้ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย ปากแห้ง กระหายน้ำบ่อยผิดปกติ หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจมีดังนี้ เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน เช่น พี่ น้อง เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอดตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไป เคยคลอดบุตร ที่เสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ออกมาแล้วเสียชีวิต หรือมีภาวะพิการแต่กำเนิด มีอายุมากกว่า 35 ปี เป็นโรคอ้วน มีโรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง หรือภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์อื่น ๆ มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome […]


โรคเบาหวาน

ตารางค่าน้ำตาลในเลือด ที่ควรรู้เพื่อควบคุมโรคเบาหวาน

ตารางระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไหร่จึงจะถือว่าปกติ ไม่เสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน และช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้วสามารถประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดปัจจุบันของตนและใช้เป็นข้อมูลในปรับแผนการรักษาร่วมกับคุณหมอ เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ซึ่งจะลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-heart-rate] ค่าน้ำตาลในเลือด สำคัญอย่างไรต่อโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินทำงานผิดปกติไป โดยฮอร์โมนอินซูลินจะทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย นำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน เมื่อตับอ่อนผลิตและหลั่งอินซูลินผิดปกติไป จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ระดับน้ำตาลในเลือด (Blood sugar levels) เมื่อตรวจขณะอดอาหาร ของคนทั่วไปจะสูงไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน และหากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปลายประสาทอักเสบ การควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายตามคำแนะนำของคุณหมอ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงเกินไปจนทำให้หลอดเลือดเสียหายและส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เกณฑ์ค่าน้ำตาลในเลือด อาจมีดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้มีสุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดช่วงอดอาหาร (Fasting) ระหว่าง 55-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง มักไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหาร (Before meals) อยู่ที่ 72-126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  […]


โรคเบาหวาน

การตรวจค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด หรือ Hemoglobin A1C คือ อะไร สำคัญอย่างไร

Hemoglobin A1C คือ การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในกระแสเลือด หรือที่เรียกว่าการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (HbA1c) ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอทราบถึงการควบคุมระดับน้ำตาลโดยรวมในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา สามารถใช้ในการคัดกรองภาวะก่อนเบาหวาน การวินิจฉัยโรคเบาหวาน และช่วยให้คุทราบถึงประสิทธิภาพของแผนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งการปรับพฤติกรรมสุขภาพและการใช้ยาในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับการรักษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmr] Hemoglobin A1C คือ อะไร การตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี หรือ Hemoglobin A1C หรือ น้ำตาลสะสม เป็น การตรวจที่สามารถบอกถึงค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสามารถตรวจได้โดยไม่ต้องอดอาหารมาก่อนล่วงหน้า ตามปกติแล้ว น้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในกระแสเลือดจะจับกับฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเซลล์เม็ดเลือดแดง และจะคงอยู่จนกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงจะหมดอายุขัย (ประมาณ 100-120 วัน) ดังนั้น หากรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ร่างกายเผาผลาญได้ไม่หมด ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะมีน้ำตาลไปจับกับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น และยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้นเท่าไหร่ หรือ บ่อยครั้งขึ้น ก็จะส่งผลให้มีน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินเพิ่มงมากขึ้นตามไปด้วย ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีหรือมีความเสี่ยงโรคเบาหวาน ควรเข้ารับการตรวจ Hemoglobin A1C เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานหรือภาวะก่อนเป็นเบาหวาน […]


โรคเบาหวาน

ขาร้อน เบาหวาน สัญญาณของภาวะเบาหวานลงเท้า

ขาร้อน เบาหวาน เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยอาจรู้สึกขาร้อนวูบวาบ ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดแปลบเหมือนไฟช็อตที่ขา ปวดแสบปวดร้อนที่ขา ขาชา แผลที่ขาหายช้า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับรักษาที่่เหมาะสม อาการอาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดขาหรือเท้าได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรใส่ใจ หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เท้า และดูแลสุขภาพเท้าให้ดีอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] ขาร้อน เบาหวาน เกิดจากอะไร อาการขาร้อน เบาหวาน เป็นสัญญาณของภาวะปลายประสาทอักเสบ หรือ เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน หรือที่นิยมเรียกกันว่า เบาหวานลงเท้า ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เส้นประสาทเสียหาย โดยมักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะหลอดเลือดเสื่อม (เป็นผลจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกัน) ซึ่งจะทำให้เลือดบริเวณขาและเท้าไหลเวียนไม่สะดวก ขาดออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เสี่ยงเกิดแผลหรือติดเชื้อที่เท้าได้ง่ายกว่าปกติ อีกทั้งแผลหายได้ช้า หากอาการรุนแรงมาก คุณหมออาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาบางส่วนออก เพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายและเชื้อโรคแพร่กระจายสู่อวัยวะข้างเคียง ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานลงเท้า ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานลงเท้า อาจมีดังนี้ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมาย หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน เป็นโรคเบาหวานมานาน มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน มีภาวะความดันโลหิตสูง มีไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง สูบบุหรี่ อาการ ขาร้อน เบาหวาน อาการขาร้อน […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน