การดูแลก่อนคลอด

การดูแลก่อนคลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการดูแลคุณภาพการนอนหลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เรียนรู้เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับ การดูแลก่อนคลอด ที่ Hello คุณหมอนำมาฝาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลก่อนคลอด

นับอายุครรภ์ อย่างไร วิธีคำนวณอายุครรภ์ ที่ถูกต้อง

การนับอายุครรภ์และวิธีคำนวณอายุครรภ์ เป็นสิ่งที่มักเข้าใจกันผิด สับสนว่าจะคำนวณอายุครรภ์จากวันที่มีเพศสัมพันธ์หรือไม่ และต้องนับอายุครรภ์อย่างไรให้แม่นยำ เพื่อประโยชน์ของแม่ตั้งครรภ์และลูกในท้อง [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] นับอายุครรภ์ มีประโยชน์อย่างไร อายุครรภ์ตั้งแต่วันแรกของการตั้งครรภ์จวบจนถึงวันคลอดเป็นสิ่งที่แม่ควรใส่ใจ การคำนวณอายุครรภ์อย่างแม่นยำ มีข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อตัวแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้ การนับอายุครรภ์ ช่วยให้ทราบขนาดของลูกในท้องแต่ละไตรมาส ตลอดจนพัฒนาการของทารกในครรภ์และความสมบูรณ์ของทารก แม่จะได้ดูแลทารกอย่างเหมาะสม การนับอายุครรภ์ ช่วยให้แพทย์วางแผนการตรวจครรภ์ แม่จะทราบถึงข้อควรระวังในแต่ละไตรมาส โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละไตรมาส การนับอายุครรภ์ ช่วยให้แพทย์คาดการณ์วันกำหนดคลอดได้ วันแรกที่เริ่ม นับอายุครรภ์ คือวันไหน การนับอายุครรภ์ เพื่อให้ทราบว่า ตั้งครรภ์มาแล้วกี่สัปดาห์หรือกี่เดือน อาจเข้าใจได้ว่า นับอายุครรภ์ตั้งแต่วันที่มีเพศสัมพันธ์หรือวันที่ปฏิสนธิ แต่จริง ๆ แล้ว แพทย์จะยึดเอาวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดมาคำนวณอายุครรภ์ การจดวันที่มีประจำเดือนทุก ๆ เดือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แพทย์นำประจำเดือนครั้งสุดท้าย มาคำนวณอายุครรภ์ได้อย่างถูกต้อง  ทั้งนี้ หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ให้ใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์หรือชุดตรวจครรภ์ตรวจการตั้งครรภ์ เมื่อทราบว่า กำลังตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์  วิธีคำนวณอายุครรภ์ นับเป็นเดือนหรือเป็นสัปดาห์ อายุครรภ์ปกติจะอยู่ประมาณ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์ โดยแพทย์จะนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ และแยกอายุครรภ์ตามไตรมาส ประกอบด้วย ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก สัปดาห์ที่ 1-14 ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง สัปดาห์ที่ […]

สำรวจ การดูแลก่อนคลอด

การดูแลก่อนคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์ทำงานบ้าน ได้หรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์ทำงานบ้าน ได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่คุณแม่ตั้งครรภ๋หลายคนสงสัย โดยปกติแล้ว การทำงานบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้อันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่ก็มีงานบ้านบางอย่างอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทำงานบ้าน อาจต้องทำด้วยความระมัดระวังและหลีกกเลี่ยงการทำงานบ้านบางประเภท เช่น การซักรีดเสื้อผ้า การถูพื้นและการกำจัดฝุ่น เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองและทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ทำงานบ้าน ได้หรือไม่ โดยปกติแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำงานบ้านได้ แต่งานบ้านบางประเภทอาจควรหลีกเลี่ยง และมีข้อควรระวังบางอย่าง ดังนี้ การทำความสะอาดเสื้อผ้า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำความสะอาดเสื้อผ้า เช่น ชุดคลุมท้องก่อนนำมาสวมใส่ เนื่องจาก การใส่เสื้อผ้าใหม่โดยที่ไม่ผ่านการซักอาจทำให้ได้รับสารเคมีบางชนิดที่ปนเปื้อนมากับเสื้อผ้า แต่การซักผ้า ตากผ้า หรือรีดผ้าจำนวนมาก ๆ เป็นสิ่งที่คุณแม่ครรภ์ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากตะกร้าผ้าอาจมีน้ำหนักถึง 9 กิโลกรัม ซึ่งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีอาการของการคลอดก่อนกำหนด รวมถึงมีรกเกาะต่ำ (Placenta Previa) หรือมีอาการอื่น ๆ คุณหมออาจไม่แนะนำให้ทำงานบ้านที่เป็นการซักรีด การถูพื้นและการกำจัดฝุ่น การถูพื้นและการกำจัดฝุ่นอาจทำให้อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica) รุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นการอักเสบที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดของเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) ที่อยู่บริเวณตั้งแต่หลังส่วนล่างลงไปจนทั่วทั้งขา ซึ่งการปวดสะโพกร้าวลงขาเป็นอาการที่อาจพบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจาก การตั้งครรภ์อาจทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มขึ้น หรือมีภาวะมดลูกกดทับเส้นประสาท นอกจากนี้ การทำงานบ้านที่ต้องก้มตัวไปข้างหน้าอาจทำให้อาการแย่ลงได้ ข้อควรระวังในการทำงานบ้าน สำหรับข้อควรระวังเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทำงานบ้าน อาจมีดังนี้ การทำความสะอาดทั่วไป คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องหลีกเลี่ยงการทำงานบ้าน หรือหากจำเป็นจะต้องทำงานบ้าน อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการทำงานงานที่ต้องยกของหนัก หรือต้องก้มเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ยังอาจต้องหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาด […]


การดูแลก่อนคลอด

ยาฆ่าแมลง อันตรายที่ แม่ท้อง ไม่ควรมองข้าม

ยาฆ่าแมลง นอกจากจะเป็นอันตรายต่อแมลง ศัตรูพืช และสัตว์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อคน โดยเฉพาะ แม่ท้อง ที่อาจได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำ สเปรย์กำจัดแมลง ยากันยุง ส่งผลให้เกิดอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด หรือการพิการแต่กำเนิดได้ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังสารพิษและยาฆ่าแมลง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช และควรเข้าพบคุณหมอในทันทีหากได้รับสารพิษหรือยาฆ่าแมลงเข้าไป เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ยาฆ่าแมลง คืออะไร ยาฆ่าแมลง คือ สารเคมีที่ใช้สำหรับกำจัดแมลง จัดอยู่ในสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (Pesticide) ชนิดหนึ่ง โดยสารเคมีกลุ่มนี้ นอกจากสารฆ่าแมลง ยังมี สารกำจัดวัชพืช สารฆ่าเชื้อรา และสารฆ่าสัตว์ฟันแทะ เช่น ยาฆ่าหนู ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์รอบตัวมากมายหลายชนิด บางชนิดใช้ในการเกษตร เช่น ยาฆ่าหญ้า บางชนิดใช้กันทั่วไปในครัวเรือน เช่น น้ำยาฟอกขาว สเปรย์กำจัดแมลงสาบ สารเคมีเหล่านี้อาจช่วยกำจัดศัตรูพืช และทำให้บ้านปลอดจากแมลง แต่ก็สามารถทำลายสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะหากกำลังตั้งครรภ์ กำลังให้นมบุตร หรือวางแผนจะมีลูก แหล่งของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในชีวิตประจำวัน หากเอ่ยถึง ยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า ใช้กันแค่ในกลุ่มของเกษตรกร ตามสวน […]


การดูแลก่อนคลอด

ยามีลอกซิแคม ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกหรือไม่

ยามีลอกซิแคม เป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มักใช้บรรเทาอาการปวดข้อ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก หากจำเป็นต้องใช้ยามีลอกซิแคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องปรึกษาคุณหมอ เพื่อคุณหมอให้คำแนะนำในการกินและสั่งจ่ายยาในปริมาณที่เหมาะสม ยามีลอกซิแคม คืออะไร ยามีลอกซิแคม (Meloxicam) คือ ยาในกลุ่มยายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drug – NSAID) ทำหน้าที่ลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและอาการปวดในร่างกาย อาการปวดหรือการอักเสบที่เป็นผลมาจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ในผู้ใหญ่ และข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก (Juvenile Rheumatoid Arthritis) ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี อาจรักษาได้ด้วยยามีลอกซิแคม องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration) ได้จัดยามีลอกซิแคมไว้ที่กลุ่ม C สำหรับการตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะถูกจัดไว้ในกลุ่ม D โดย ยาในกลุ่ม C คือ ยาที่ยังไม่เคยทดลองกับมนุษย์ แต่จากการทดลองกับสัตว์ พบว่า อาจมีผลข้างเคียง แม้ว่าผลข้างเคียงเหล่านั้นอาจจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ก็ตาม ส่วนยาที่อยู่ในกลุ่ม D คือ ยาที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ […]


การดูแลก่อนคลอด

โยคะคนท้อง ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวัง

เมื่อคนท้องฝึกโยคะอาจช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นการทำงานของระบบหายใจ และระบบประสาท ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น ช่วยให้ผ่อนคลาย ทั้งยังอาจช่วยเรื่องการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วย อย่างไรก็ตาม การฝึกโยคะคนท้อง ควรและอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญและคุณหมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ โยคะคนท้อง คืออะไร โยคะ เป็นกระบวนการฝึกฝนร่างกายและจิตใจที่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะหากฝึกอย่างถูกต้อง อาจส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว การฝึกโยคะคนท้องก็เหมือนกับการฝึกโยคะปกติ เพียงแต่อาจต้องปรับเปลี่ยนท่าทาง และเลือกประเภทของโยคะให้เหมาะสมกับคนท้องมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ เล่นโยคะตอนท้องดีอย่างไร การฝึกโยคะคนท้องอย่างน้อยวันละ 30 นาที อาจมีประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องใช้พลังงานและความแข็งแรงของร่างกายมากขึ้น การฝึกโยคะคนท้องจะช่วยให้สะโพก แขน หลังและไหล่แข็งแรงขึ้น จึงสามารถรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ในช่วงตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ หน้าอก หลังส่วนบน และหลังส่วนล่างของคุณแม่อาจตึงและแอ่นมากขึ้น น้ำหนักและแรงกดของทารกในครรภ์อาจทำให้สะโพกและหลังส่วนล่างตึงตัว ส่วนขนาดหน้าอกที่เพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้หลังส่วนบน คอ และไหล่ตึงได้ การฝึกโยคะเป็นประจำ จึงอาจช่วยให้ยืด และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวผ่อนคลายขึ้่นได้ ช่วยให้จิตใจสงบ เมื่อฝึกโยคะ คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องหายใจให้ลึกขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบประสาทเข้าสู่โหมดพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งเป็นระบบประสาทที่ทำงานในสภาวะพักของร่างกาย เมื่อร่างกายอยู่ในโหมดนี้อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี นอนหลับสนิทขึ้น ทั้งยังอาจช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ด้วย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด […]


การดูแลก่อนคลอด

แม่ท้องทำเล็บ อย่างไรจึงจะปลอดภัย และความเสี่ยงที่ควรรู้

แม้ว่าจะเป็นคุณแม่ท้อง ก็ยังคงอยากจะสวยและดูดีเหมือนกับสาว ๆ ทั่วไป แต่คุณแม่หลายคนอาจจะมีความกังวลว่าการเสริมความงามอย่างการ ทำเล็บ ว่าเป็นอันตรายหรือเปล่า สารเคมีที่อยู่ในยาทาเล็บ จะทำให้เกิดปัญหาอะไรกับคุณแม่ท้องหรือไม่ ลองมาหาคำตอบเกี่ยวกับสารพัดปัญหา แม่ท้องทำเล็บ ด้วยกันกับ Hello คุณหมอ นะคะ [embed-health-tool-due-date] ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อ แม่ท้องทำเล็บ การติดเชื้อที่เล็บจากการ ทำเล็บ สิ่งแรกที่คุณควรตรวจสอบในร้านเสริมสวยก็คือ ความสะอาด หากร้านนั้นทำความสะอาดเครื่องมือที่ไม่ดี อาจจะเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ผิวหนังและเล็บ การติดเชื้อต่าง ๆ มีดังนี้ การติดเชื้อจากแบคทีเรีย การ ทำเล็บ อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย สัญญาณแรกของการติดเชื้อ คือ อาการบวม แดง หรือแสบร้อนที่เล็บ การใช้ยาฆ่าเชื้อหรือการเอาหนองในบริเวณที่ติดเชื้อออก เป็นวิธีในการรักษาการติดเชื้อประเภทนี้ การติดเชื้อรา การติดเชื้อชนิดนี้ทำให้เล็บเหลือง หรืออาจทำให้เล็บหลุด วิธีการรักษาคือ การรับประทานยาหรือการใช้ยาทาเฉพาะที่ การติดเชื้อไวรัส ตัวอย่างการติดเชื้อประเภทนี้คือ โรคหูด (Plantar warts) หูดเกิดขึ้นมีสีแตกต่างกัน และมีลักษณะคล้ายหนังหนาด้าน การรักษาทำได้โดยการใช้ยาทาเฉพาะที่ การได้รับสารเคมี อุปกรณ์สำหรับทำเล็บเกือบทั้งหมดนั้นจะมีส่วนประกอบของสารระเหย หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่ไม่มีกลิ่นนั้น ปลอดภัยกว่าผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่มีกลิ่นแรง แต่ที่จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ทำเล็บที่ไม่มีกลิ่นอาจจะไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป สารเคมีที่คุณอาจได้รับจากการเข้ารับบริการ ทำเล็บ […]


การดูแลก่อนคลอด

คนท้องเป็นเบาหวาน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานและวางแผนตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองให้ดีทั้งในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ โดยทั่วไป คนท้องเป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีน้ำตาลน้อย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจครรภ์กับคุณหมออย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คนท้องเป็นเบาหวาน ควรดูแลตัวเองอย่างไร วิธีในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ สำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน สามารถทำได้ดังนี้ 1. วางแผนการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน ควรรับคำปรึกษากับทีมแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ คุณหมอต้องประเมินถึงผลของโรคเบาหวานในร่างกาย และให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างช่วงตั้งครรภ์ หรือเปลี่ยนยาหากจำเป็น และวางแผนเพื่อติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ หากน้ำหนักเกิน คุณหมออาจแนะนำให้ลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 2. พบคุณหมออย่างต่อเนื่อง คนท้องเป็นเบาหวาน ควรเข้ารับการรักษา หรือตรวจเช็กสุขภาพตามนัดหมายบ่อยกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี คุณแม่และคุณหมอจะทำงานร่วมกันเพื่อป้องกัน หรือทำให้ตรวจพบปัญหาได้เร็ว 3. กินอาหารที่มีประโยชน์ ทุกคนควรกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน นักโภชนาการสามารถช่วยวางแผนโภชนาการ และบอกวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างตั้งครรภ์ที่เหมาะสมที่สุด 4. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเป็นตัวช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว ควรใช้เวลาในการออกกำลังกายระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือการเล่นกับลูก ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5. กินยาและฉีดอินซูลินตามคำแนะนำ ควรใช้ยารักษาโรคเบาหวานและอินซูลิน (Insulin) ตามที่แพทย์สั่ง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 6. ควบคุมและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเร่งด่วน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ในบางครั้ง หากใช้ยาโรคเบาหวานหรืออินซูลิน […]


การดูแลก่อนคลอด

ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นอันตรายหรือไม่

การกินมังสวิรัติ เป็นรูปแบบการกินอาหารโดยการงดกินเนื้อสัตว์ ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การกินมังสวิรัติแบบยังกินไข่และนมอยู่ การกินมังสวิรัติแบบไม่กินผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์เลย ทุกคนสามารถเลือกกินมังสวิรัติได้ แต่หากผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือปัญหาทารกพิการแต่กำเนิดได้ ดังนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่กินเนื้อสัตว์จึงอาจต้องรับประทานอาหารเสริมเพื่อชดเชยวิตามินและแร่ธาตุที่ขาดหายไปจากการไม่กินเนื้อสัตว์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นอันตรายหรือไม่ หากผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ อาจทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ แต่หากผู้หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องงดกินเนื้อสัตว์ ก็สามารถทำได้แต่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ผู้หญิงตั้งครรภ์จึงควรปรึกษานักโภชนาการหรือปรึกษาคุณหมอ เพื่อวางแผนการกินอาหารในกรณีที่ต้องงดกินเนื้อสัตว์ สารอาหารที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่กินเนื้อสัตว์ควรได้รับ เนื่องจากการไม่กินเนื้อสัตว์อาจทำให้ขาดสารอาหาร ดังนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์จึงควรบริโภคสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ ดังนี้ วิตามินบี 12 แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 คือเนื้อสัตว์ ดังนั้นการงดกินเนื้อสัตว์จึงอาจทำให้ขาดวิตามินบี 12 ซึ่งถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ขาดวิตามินบี 12 จะส่งผลต่อพัฒนาการทางระบบประสาทของทารก นอกจากนี้องค์กรอนามัยโลกยังกล่าวว่าการมีระดับวิตามินบี 12 ต่ำจะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ซึ่งเป็นสาเหตุของการผิดปกติแต่กำเนิดของทารก สำหรับแหล่งวิตามินบี 12 จากอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ ได้แก่ อาหารเช้าซีเรียลที่มีการเติมสารอาหาร (เลือกแบบที่มีน้ำตาลน้อย) เครื่องดื่มนมถั่วเหลืองที่มีการเติมสารอาหาร สารสกัดยีสต์ เช่น Marmite วิตามินบี 12 จากแหล่งอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์มีอย่างจำกัด ดังนั้น ผู้ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงอาจต้องได้รับวิตามินบี 12 […]


การดูแลก่อนคลอด

ยาอะเซตามิโนเฟน ส่งผลต่อ ทารกในครรภ์ อย่างไรบ้าง

ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) เป็นตัวยาแก้ปวดและลดไข้ประเภทหนึ่ง ที่พบได้ในยาแก้ปวดหลายชนิด ใช้เพื่อรักษาอาการ ต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ข้ออักเสบ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน อาการไข้ อย่างไรก็ตาม หากใช้ยานี้ระหว่างอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคของทารกในครรภ์ เช่น โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) โรคออทิสติก โรคหอบหืด ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ และควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนใช้ยาใด ๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาอะเซตามิโนเฟน ยาอะเซตามิโนเฟนเป็นตัวยาแก้ปวดประเภทหนึ่ง ที่พบได้โดยทั่วไปในยาหลายประเภท นอกเหนือจากใช้รักษาอาการปวดที่รุนแรงแล้ว คุณหมอยังใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย จากข้อมูลขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ยาอะเซตามิโนเฟนจัดอยู่ในกลุ่ม C ซึ่งหมายความว่า ยานี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงหลายประการต่อทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยานี้ยังอาจแพร่ไปยังน้ำนมแม่ และทำอันตรายต่อทารกที่ดื่มนมแม่อีกด้วย ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนระหว่างตั้งครรภ์และให้นมลูกโดยเด็ดขาด ยกเว้นได้รับใบสั่งยาจากคุณหมอ ยาอะเซตามิโนเฟน ส่งผลอย่างไรต่อ ทารกในครรภ์ อะเซตามิโนเฟนมีความสัมพันธ์กับภาวะที่เกี่ยวกับพฤติกรรมในเด็ก โดยเฉพาะเมื่อหญิงตั้งครรภ์ใช้ยานี้ในช่วงระหว่างสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาการของสมอง และการเจริญเติบโตของสมองเด็ก โดยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากคุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ยาอะเซตามิโนเฟน มีดังนี้ ทารกมีความเสี่ยงต่ออาการสมาธิสั้น ทารกมีความเสี่ยงต่ออาการออทิสติก ทารกเสี่ยงต่อโรคหอบหืด คำแนะนำในการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หากเป็นไข้ […]


การดูแลก่อนคลอด

อาหารบำรุงครรภ์ ที่คนท้องควรรับประทานมีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงครรภ์ หมายถึง อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และอาหารที่จะช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตและแข็งแรง โดยปกติ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับพลังจากอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นวันละ 300 กิโลแคลอรี่ ที่สำคัญควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ปรุกสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] อาหารบำรุงครรภ์ 10 ชนิดที่ควรรับประทาน โดยปกติแล้ว หญิงตั้งครรภ์สามารถรับประทานอาหารได้เกือบทุกอย่าง เน้นการปรุงสุกเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารไม่ย่อยหรืออาหารเป็นพิษ นอกจากนั้นแล้ว อาจบำรุงสุขภาพของครรภ์เพิ่มเติมด้วยการรับประทานอาหารเหล่านี้ ได้แก่ โยเกิร์ต โยเกิร์ต โดยเฉพาะกรีกโยเกิร์ต เป็นหนึ่งในอาหารบำรุงครรภ์ที่มีประโยชน์ เนื่องจากโยเกิร์ตมีแคลเซียมสูง และโยเกิร์ตบางชนิดมีแบคทีเรียโพรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร การรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกระหว่างตั้งครรภ์ อาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ครรภ์เป็นพิษ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อในช่องคลอด อาการแพ้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานโยเกิร์ตไขมันต่ำ และอาจเพิ่มผลไม้สดหรือธัญพืชในโยเกิร์ต เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ถั่วเมล็ด ถั่วเมล็ดทั้งหลาย เช่น ถั่วเลนติล (Lentils) ถั่วลันเตา เมล็ดถั่ว ถั่วลูกไก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เป็นอาหารบำรุงครรภ์ที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากถั่วเมล็ดเหล่านี้อุดมไปด้วยไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต (วิตามินบี 9) และแคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโฟเลตที่คุณแม่จำเป็นต้องได้รับอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defects) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะผิดปกติแต่กำเนิดของทารก ถั่วเมล็ดมีโฟเลตสูง เช่น […]


การดูแลก่อนคลอด

ฝากครรภ์ เรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกในท้องที่ไม่ควรมองข้าม

ฝากครรภ์ นับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์หลังจากทดสอบด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์แล้วพบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน อาจสับสนและไม่รู้ว่าต้องเริ่มดูแลตัวเองและทารกในครรภ์อย่างไร จึงควรเข้ารับคำแนะนำจากคุณหมอ ในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพดี แข็งแรง และปลอดภัย [embed-health-tool-due-date] การฝากครรภ์ในแต่ละไตรมาส การฝากครรภ์ในแต่ละไตรมาสนั้นอาจได้รับการปฏิบัติและดูแลจากคุณหมอแตกต่างกันไป ช่วงไตรมาสแรก – ตั้งแต่เริ่มครรภ์ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12 ในการฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอมักให้ตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อประเมินสภาพร่างกายข และมีการซักถามประวัติและข้อมูลทั่วไป เช่น วัดความดันโลหิต ส่วนสูงและน้ำหนัก ตรวจเลือด ตรวจเต้านมและปากมดลูก วิธีคุมกำเนิดที่ใช้ วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อคำนวณระยะครรภ์และวันกำหนดคลอด ปัญหาสุขภาพ หรือโรคประจำตัว ประวัติการได้รับวัคซีน ประวัติการทำแท้งหรือแท้งบุตร ยาที่ใช้อยู่ การแพ้ยา ประวัติสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว หญิงตั้งครรภ์จะได้รับเอกสารระบุวันแรกของการตั้งครรภ์ และอายุครรภ์  คุณหมอมักขอตรวจเลือดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าหญิงตั้งครรภ์ไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม และอาจต้องตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย หากยังไม่เคยตรวจมาก่อน ตามปกติแล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องไปพบคุณหมอทุกสามหรือสี่สัปดาห์ คุณหมอจะตรวจวัดความดันโลหิต น้ำหนัก และปัสสาวะ เพื่อหาโปรตีนและกลูโคส รวมถึงอาจซักถามเกี่ยวกับข้อกังวลต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และทำการอัลตราซาวด์ หากคุณแม่มีอายุเกินกว่า 35 ปี มีเนื้องอกในมดลูก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม