เตรียมตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ต้องใช้เวลาในการวางแผนและการเตรียมตัว ตั้งแต่เรื่องการเจริญพันธุ์ ไปจนถึงความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการตั้งครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ เตรียมตั้งครรภ์ ตั้งแต่การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดไปจนถึงวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนท้อง เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ หากสภาพร่างกายและจิตใจของว่าที่คุณแม่พร้อมแล้ว ท้องนี้จะเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ ที่ได้รับการดูแลและใส่ใจตั้งแต่วันแรก เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรเริ่มอย่างไร มีสิ่งไหนที่ต้องรู้บ้าง [embed-health-tool-ovulation] การเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตัดสินใจจะมีบุตร การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมสู่การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมต่อการมีบุตรควรมีอายุระหว่าง 20-34 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มี 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ก่อนตั้งครรภ์  ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย แต่หากสนใจการเล่นโยคะก็เป็นทางเลือกที่ดี เพื่อฝึกท่าทาง การหายใจ ฝึกสมาธิ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในระหว่างการคลอดบุตรได้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายพักผ่อน 8 ชั่วโมงเป็นประจำ จะรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ ข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม  ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักและผลไม้สด รวมถึงดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ตรวจสุขภาพช่องปาก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการเกิดฟันผุระหว่างตั้งครรภ์  หมั่นนับรอบประจำเดือน เป็นการคำนวณวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ พยายามฝึกอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลายจากความเครียด เมื่อร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตใจแข็งแรงดี […]

สำรวจ เตรียมตั้งครรภ์

เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ยาคุมกำเนิด กับ การตั้งครรภ์ และข้อควรรู้ก่อนใช้ยา

การเรียนรู้ความเกี่ยวข้องระหว่าง ยาคุมกำเนิด และการตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยให้สามารถวางแผนครอบครัว หรือวางแผนในการมีลูกได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยาคุมกำเนิดมีหลายรูปแบบ หากไม่แน่ใจว่าควรยาคุมรูปแบบใด ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร เพื่อให้ได้ยาคุมที่เหมาะสมกับสุขภาพและความต้องการในการคุมกำเนิดที่สุด [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] หากต้องการตั้งครรภ์ ควรหยุดกินยาคุมกำเนิดเมื่อไหร่ โอกาสในการตั้งครรภ์ของผู้หญิงหลังจากหยุดกินยาคุมกำเนิดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของยาคุมกำเนิดที่กิน ยาคุมกำเนิดหลายยี่ห้อจะมีปริมาณฮอร์โมนแตกต่างกันไป ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอว่า ถ้ากินยาคุมกำเนิดแบบนี้จะต้องหยุดกินตอนไหนเพื่อให้ตั้งครรภ์ การศึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หลังหยุดกินยาคุมกำเนิด จากการวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่า ร้อยละ 96 ของผู้หญิงที่เคยกินยาคุมกำเนิด จะสามารถตั้งครรภ์ภายใน 6-12 เดือน การทำงานของยาคุมกำเนิดนั้นคือ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดยเมื่อกินยาคุมกำเนิดเข้าไป ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด ซึ่งได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะทำงานร่วมกันในงานคุมกำเนิด คือ ควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดภาวะตกไข่ ทำให้ของเหลวบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น เพื่อให้อสุจิเข้าไปปฏิสนธิได้ลำบาก และทำให้ผนังมดลูกบางลง เพื่อไม่ให้ไข่ที่ปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว ไปฝังตัวอยู่ตรงผนังมดลูก อย่างไรก็ตาม เมื่อหยุดกินยาคุมกำเนิดแล้ว ฮอร์โมนในร่างกายก็จะกลับสู่สภาวะเดิม ทำให้เกิดภาวะตกไข่เหมือนเดิม เมื่อมีประจำเดือนไปแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเกิดภาวะตกไข่ในอีก 1 เดือนต่อมา ตอนที่ร่างกายเกิดภาวะตกไข่ ก็จะสามารถเกิดการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิทำให้มีลูกได้ ส่วนวิธีสังเกตว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ก็อาจสังเกตจากประจำเดือน หากไม่ได้คุมกำเนิดตอนมีเพศสัมพันธ์แล้วประจำเดือนไม่มา ก็ลองซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจได้เลย หลังคลอดลูก สามารถกลับมากินยาคุมกำเนิดได้เมื่อไหร่ หากต้องการกินยาคุมกำเนิดทันทีหลังคลอดลูก จำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอ […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

เดินออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้ผู้หญิงได้

ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีน้ำหนักตัวมาก อาจจะมีโอกาสเกิดภาวะมีบุตรยากได้ค่อนข้างสูง การ เดินออกกำลังกาย เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมีโอกาสตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับ การเดินออกกำลังกาย เพื่อช่วย เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ มาฝากกันค่ะ ผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วนกับภาวะมีบุตรยาก ผลการศึกษาวิจัยระบุว่า กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ แทบจะทุกชนิด ไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับแนวโน้มที่จะเกิดการตั้งครรภ์ในผู้หญิงเลย ยกเว้นการเดินออกกำลังกาย ที่สามารถช่วยให้ผู้หญิงที่เคยมีอาการคลอดกำหนดมากกว่าหนึ่งครั้ง สามารถมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง ผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วนหรือน้ำหนักเกิน มักจะเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือมีสัญญานเตือนของโรคเบาหวาน ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายขาดความสมดุล จนทำให้อยู่ในภาวะมีบุตรยาก และสูญเสียตัวอ่อนในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ระดับอินซูลินในร่างกายที่ผิดปกติ อาจเป็นตัวการทำให้รังไข่ตอบสนองกับการส่งสัญญานของฮอร์โมนที่ต่างกันไป ส่งผลให้ไม่เกิดการตกไข่ หรือมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อยู่ในภาวะมีบุตรยาก และการสูญเสียตัวตัวอ่อนในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ เดินออกกำลังกาย เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ การศึกษาวิจัยที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิร์สท์ ค้นพบว่าการเดินออกกำลังกายช่วย เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ให้กับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินได้จริง ๆ ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายอื่น ๆ เลย แถมการเดินออกกำลังกายนี้ยังช่วยให้ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ และเคยแท้งบุตรมามากกว่าหนึ่งครั้ง มีโอกาสสูงที่จะเกิดการตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ต้องเสียเงินเสียทองอะไรเลย วิธีการเดินออกกำลังกาย การเดินที่มีความหนักหน่วงปานกลางจะส่งผลที่ดีต่อผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วน […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

เลือกเพศลูก ทำได้จริงหรือไม่ และมีวิธีใดบ้าง

เลือกเพศลูก เป็นความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป บางรายอาจมีเหตุผลด้านประเพณีวัฒนธรรม ความต้องการสร้างความสมดุลให้สมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงเหตุผลทางการแพทย์ เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้น บางรายมีบุตรยาก ปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีทางเลือกในการเลือกเพศให้กับลูกของตัวเองมากขึ้น [embed-health-tool-ovulation] เลือกเพศลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ ในบางคู่อาจลองพยายามด้วยวิธีตามธรรมชาติซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาโดยที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันแน่ชัด 100% ว่าการเลือกเพศลูกตามวิธีธรรมชาติเหล่านี้ จะทำให้ได้ลูกตามเพศที่ต้องการ 1. การมีเพศสัมพันธ์ตามช่วงเวลาที่ไข่ตก เนื่องจากสันนิษฐานกันว่า สเปิร์มเพศผู้นั้นจะมีขนาดเล็กว่า เร็วกว่า และมีอายุที่สั้นกว่าสเปิร์มเพศเมีย หากต้องการมีลูกชายควรมีเพศสัมพันธ์ใกล้กับช่วงเวลาที่ร่างกายเพศหญิงตกไข่ สเปิร์มเพศผู้จึงมีโอกาสเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในร่างกายเพศหญิงได้เร็วกว่า จึงอาจส่งผลให้ได้ลูกชายมากกว่านั้นเอง แต่ทั้งนี้ ยังเป็นเพียงการคาดการณ์ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการใช้วิธีดังกล่าวจะให้ผลได้ตามที่ต้องการจริง ๆ 2. การมีเพศสัมพันธ์โดยเลือกท่าทางที่ถูกต้อง เชื่อกันว่า หากต้องการลูกชายควรมีเพศสัมพันธ์กันจากทางด้านหลัง หรือในท่าที่เรียกว่า ท่าสุนัข หรือ Doggy Style เพราะเป็นท่าที่อสุจิอยู่ใกล้กับปากมดลูกมากที่สุดและเปิดโอกาสให้สเปิร์มเพศผู้ หรือสเปิร์มวายสามารถเข้าปฏิสนธิกับไข่ของเพศหญิงได้เร็วกว่าสเปิร์มเพศเมีย เลือกเพศลูก ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การเลือกเพศลูกเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องการใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุผลและปัจจัยส่วนตัวของแต่ละครอบครัว ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีเลือกเพศลูก 1. เลือกเพศลูกด้วยการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการฝังตัว  เทคนิคที่ได้รับการรับรองและอนุมัติให้ใช้ เพื่อการเลือกเพศลูกเป็นอันดับต้น ๆ เรียกว่า เทคนิคการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Pre-implantation genetic diagnosis หรือ PGD) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทคนิคการปฏิสนธินอกร่างกาย (In-Vitro Fertilization-IVF) โดยวิธีการ คือ […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ภาวะจำนวนอสุจิน้อย (Low Sperm Count)

ภาวะจำนวนอสุจิน้อย คือ น้ำเชื้อที่หลั่งออกมาเมื่อถึงจุดสุดยอดนั้นมีปริมาณน้อยกว่าปกติ ซึ่งพบได้ทั่วไป เกิดจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม การใช้ยาบางชนิดเพื่อรักษาโรค ฮอร์โมนไม่สมดุล การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะจำนวนอสุจิน้อยยังสามารถมีบุตรได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ภาวะจำนวนอสุจิน้อย คืออะไร ภาวะจำนวนอสุจิน้อย (Oligospermia: Low sperm count) คือ ตัวอสุจิในน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาในระหว่างที่ถึงจุดสุดยอดนั้นมีจำนวนน้อยกว่าปกติ  หรือน้อยกว่า 15 ล้านตัวต่อน้ำเชื้อหนึ่งมิลลิลิตร แต่หากไม่มีอสุจิเลยนั้นเรียกว่า ภาวะน้ำอสุจิบกพร่อง (Azoospermia) การมีจำนวนอสุจิน้อยจะลดโอกาสที่อสุจิตัวหนึ่งจะผสมพันธุ์กับไข่ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะจำนวนอสุจิน้อยยังสามารถมีบุตรได้ ภาวะจำนวนอสุจิน้อย พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะจำนวนอสุจิน้อยพบได้กับเพศชายทุกวัยหลังจากเข้าสู่ภาวะวัยเจริญพันธุ์แล้ว หรืออายุประมาณ 13 ปีขึ้นไป อาการ อาการของ ภาวะจำนวนอสุจิน้อย อาการของ ภาวะจำนวนอสุจิน้อย ที่พบบ่อยคือ ระบบการสืบพันธุ์มีปัญหา ตัวอย่างเช่น ความต้องการทางเพศต่ำ หรือ มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เจ็บปวด บวม หรือมีก้อนบริเวณอัณฑะ มีขนหรือผมน้อยลงซึ่งเป็นสัญญาณของโครโมโซม หรือฮอร์โมนผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรพบคุณหมอหากมีอาการเหล่านี้ มีปัญหาการแข็งตัวหรือการหลั่งน้ำกาม มีความต้องการทางเพศต่ำ หรือปัญหาอื่น ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม