เตรียมตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ต้องใช้เวลาในการวางแผนและการเตรียมตัว ตั้งแต่เรื่องการเจริญพันธุ์ ไปจนถึงความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการตั้งครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ เตรียมตั้งครรภ์ ตั้งแต่การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดไปจนถึงวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนท้อง เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ หากสภาพร่างกายและจิตใจของว่าที่คุณแม่พร้อมแล้ว ท้องนี้จะเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ ที่ได้รับการดูแลและใส่ใจตั้งแต่วันแรก เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรเริ่มอย่างไร มีสิ่งไหนที่ต้องรู้บ้าง [embed-health-tool-ovulation] การเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตัดสินใจจะมีบุตร การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมสู่การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมต่อการมีบุตรควรมีอายุระหว่าง 20-34 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มี 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ก่อนตั้งครรภ์  ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย แต่หากสนใจการเล่นโยคะก็เป็นทางเลือกที่ดี เพื่อฝึกท่าทาง การหายใจ ฝึกสมาธิ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในระหว่างการคลอดบุตรได้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายพักผ่อน 8 ชั่วโมงเป็นประจำ จะรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ ข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม  ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักและผลไม้สด รวมถึงดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ตรวจสุขภาพช่องปาก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการเกิดฟันผุระหว่างตั้งครรภ์  หมั่นนับรอบประจำเดือน เป็นการคำนวณวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ พยายามฝึกอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลายจากความเครียด เมื่อร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตใจแข็งแรงดี […]

สำรวจ เตรียมตั้งครรภ์

เตรียมตั้งครรภ์

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม อาจเป็นสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุจากสภาวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ความดันโลหิตต่ำ ลำไส้อุดตัน ความเครียด ดังนั้น หากสงสัยหรือกังวลใจว่าตนเองตั้งครรภ์ และประจำเดือนขาดนานกว่า 2 เดือน ควรตรวจครรภ์ด้วยตนเองหรือเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่ชัดเจนของอาการดังกล่าว [embed-health-tool-ovulation] สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์แรกเริ่ม อาจสังเกตได้จากอาการ เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม อาเจียน ประจำเดือนขาดนานกว่า 2 เดือน หรือบางคนอาจมีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการฝังตัวของตัวอ่อน และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนขาดอาจไม่ได้หมายความว่าตั้งครรภ์เสมอไป เพราะอาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความเครียด ความเหนื่อยล้า ยาคุมกำเนิด ดังนั้น จึงควรตรวจการตั้งครรภ์เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าตั้งครรภ์หรือไม่ สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์อื่น ๆ มีดังนี้ ไวต่อกลิ่น อาการไวต่อกลิ่นอาจส่งผลให้รู้สึกเหม็นสิ่งรอบตัวที่แต่เดิมไม่รู้สึกว่าเหม็น เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นอาหาร  อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อความอยากอาหาร อาจรู้สึกอยากรับประทานอาหารแปลก ๆ อาการเหล่านี้อาจบรรเทาลงในช่วงสัปดาห์ที่ 13-14 ของการตั้งครรภ์ […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

อยากมีลูกต้องทำไง และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีบุตรยาก

อยากมีลูกต้องทำไง อาจเป็นหนึ่งในคำถามที่ผู้ต้องการมีลูก และผู้ที่มีลูกยากอยากทราบคำตอบมากที่สุด ปัญหามีลูกยากอาจมาจากคุณภาพไข่หรืออสุจิไม่ดี พฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาจมีหลายวิธีที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ และการทราบสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยาก ก็อาจทำให้สามารถหาวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-ovulation] ปัญหาที่ทำให้มีลูกยาก ภาวะมีบุตรยากพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้  อายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากอายุที่มากขึ้นอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้คุณภาพไข่ของผู้หญิงและจำนวนอสุจิของผู้ชายลดลง ส่งผลกระทบต่อการมีลูก น้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย หากน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลกัน และอาจไปขัดขวางการตกไข่ของผู้หญิงและการผลิตอสุจิของผู้ชาย หรือหากมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อาจส่งผลให้ไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกหรือผลิตอสุจิ  สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ได้ เนื่องจากสารต่าง ๆ ในบุหรี่ เช่น นิโคติน สารตะกั่ว แคดเมียม อาจทำให้อสุจิผิดปกติและไม่แข็งแรงพอที่จะเข้าไปผสมกับไข่ รวมถึงอาจลดประสิทธิภาพการทำงานมดลูกที่เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนด้วย ท่อนำไข่อุดตัน หากท่อนำไข่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างอุดตัน อาจทำให้ไข่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังท่อนำไข่ และอสุจิไม่สามารถเคลื่อนเข้าสู่รังไข่ได้ จึงส่งผลให้ไม่มีการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์  เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากเยื่อบุมดลูกไปเจริญภายนอกมดลูก ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานของรังไข่ มดลูก และท่อนำไข่ผิดปกติ จนเกิดภาวะมีบุตรยาก  อยากมีลูกต้องทำไง  เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้  นับวันตกไข่ ทำความเข้าใจเรื่องวงจรการตกไข่และวิธีนับวันตกไข่อย่างถูกต้อง ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 5 วันก่อนถึงวันตกไข่และในวันตกไข่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ […]


เตรียมตั้งครรภ์

ช่วงไหนท้องง่ายที่สุด เรื่องน่ารู้สำหรับคนอยากมีลูก

ช่วงไหนท้องง่ายที่สุด อาจเป็นอีกหนึ่งคำถามที่คนอยากมีลูกสงสัยมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วช่วงที่ท้องง่ายที่สุด คือ ช่วงวันไข่ตก หรือประมาณ 10-16 วันก่อนมีประจำเดือน เพราะอสุจิสามารถเดินทางไปผสมกับไข่และปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนได้ดีที่สุด แต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถนับวันไข่ตกที่แน่ชัดได้ การมีเพศสัมพันธ์ทุก ๆ 2-3 วันโดยไม่คุมกำเนิด อาจช่วยเพิ่มโอกาสให้ตัวอสุจิที่มีชีวิตในมดลูกสามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้เลยเมื่อถึงวันไข่ตก ช่วงไหนท้องง่ายที่สุด ปกติแล้วโอกาสที่ดีที่สุดในการตั้งครรภ์ คือ ประมาณ 10-16 วันก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไข่ตก หากทราบวันไข่ตกที่แน่ชัด การมีเพศสัมพันธ์ในวันไข่ตกก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ควรมีเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุก ๆ 2-3 วันโดยไม่คุมกำเนิด เพื่อให้ตัวอสุจิที่แข็งแรงเข้าไปรออยู่ในมดลูกก่อนถึงเวลาไข่ตก หรือในระยะเวลาที่ไข่ตก โดยอสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ในมดลูกได้ประมาณ 3-5 วันโดยยังไม่ผสมกับไข่ และไข่สามารถอยู่ที่ปลายท่อนำไข่ได้นาน 12-24 ชั่วโมง การสังเกตช่วงเวลาตกไข่ ผู้หญิงบางคนอาจไม่สามารถทราบช่วงเวลาไข่ตกที่แน่ชัดได้ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิด เนื่องจากยาคุมกำเนิดจะทำหน้าที่หยุดการตกไข่ ช่วงไหนท้องง่ายที่สุด เรื่องน่ารู้สำหรับคนอยากมีลูก อย่างไรก็ตาม การสังเกตความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจช่วยให้ทราบวันตกไข่ได้ การนับวันไข่ตก โดยปกติการตกไข่มักเกิดขึ้นประมาณ 10-16 วันก่อนเริ่มมีประจำเดือนครั้งถัดไป การจดบันทึกช่วงเวลาการมีประจำเดือนจึงอาจช่วยให้ทราบช่วงเวลาตกไข่ได้ โดยการหาหาช่วงระยะเวลารอบเดือนของตนเอง (Interval of menstruation) การเปลี่ยนแปลงของมูกปากมดลูก ปากมดลูกจะหลั่งมูกเหนียวสีขาวออกมาตลอดรอบเดือน แต่ในช่วงก่อนหรือระหว่างไข่ตก มูกจะเพิ่มปริมาณ และมีลักษณะลื่นและเหนียวมากขึ้น […]


เตรียมตั้งครรภ์

อาการท้อง ที่ควรสังเกต เตรียมตัวตั้งครรภ์

อาการท้อง อาจปรากฏขึ้นหลังจากอสุจิปฏิสนธิกับไข่ และฝังตัวลงในผนังมดลูกของผู้หญิงได้ 4-6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ประจำเดือนขาด คัดเต้านม เพื่อให้ทราบผลที่แน่ชัดควรตรวจครรภ์ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจครรภ์จากคุณหมอ เมื่อมั่นใจว่าตั้งครรภ์แน่ชัดแล้ว ควรเอาใจใส่ดูแลสุขภาพตนเองระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของทารก [embed-health-tool-due-date] อาการท้อง สังเกตจากอะไร อาการท้อง อาจสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด อาการเริ่มต้นการตั้งครรภ์ที่เห็นได้ชัดคือประจำเดือนขาดนานกว่า 2 เดือน บางคนอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยจากการฝังตัวของมดลูก อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนขาดอาจไม่ได้หมายความว่าตั้งครรภ์เสมอไป แต่อาจมีสาเหตุมาจากความเครียด การใช้ยาคุมกำเนิด ความเหนื่อยล้า น้ำหนักที่เพิ่มหรือลดลงผิดปกติ ปวดท้องส่วนล่าง หลังจากอสุจิปฏิสนธิกับไข่และฝังตัวในผนังมดลูกได้ 6-12 สัปดาห์ บางคนอาจมีอาการปวดท้องเกร็งคล้ายกับอาการปวดท้องประจำเดือน และมีตกขาว ผู้หญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการตกขาวมากขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ยกเว้นกรณีตกขาวมีกลิ่น พร้อมกับมีอาการแสบร้อนและคันช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือเชื้อราที่ช่องคลอดควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสาเหตุให้แน่ชัด เต้านมคัด เป็นอีกหนึ่งอาการท้องที่เริ่มขึ้นหลังการปฏิสนธิ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมผลิตน้ำนมให้ทารกหลังคลอด ส่งผลให้หน้าอกขยายใหญ่ หัวนมเปลี่ยนสี รู้สึกเจ็บเมื่อถูกสัมผัสหรือเสียดสี แพ้ท้อง อาการแพ้ท้องเกิดจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปแต่ละบุคคลที่ โดยส่วนใหญ่อาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นลม ไวต่อกลิ่น เหม็นอาหารบางอย่างแม้แต่อาหารที่ชื่นชอบ อยากรับประทานอาหารแปลก […]


เตรียมตั้งครรภ์

ตรวจตั้งครรภ์ เร็วสุดกี่วัน จึงจะทราบผล

ตรวจตั้งครรภ์ เร็วสุดกี่วัน อาจขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจครรภ์ที่เลือกใช้ เช่น การตรวจครรภ์เองด้วยที่ตรวจครรภ์ การตรวจครรภ์ด้วยการตรวจเลือดโดยคุณหมอ โดยทุกวิธีสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนขาดหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 14-21 วัน หากทราบผลลัพธ์ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ [embed-health-tool-ovulation] สัญญาณการตั้งครรภ์ สัญญาณของการตั้งครรภ์ อาจสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด หลังจากไข่กับอสุจิปฏิสนธิกันแล้วกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูก จะทำให้ประจำเดือนขาด อย่างไรก็ตามสัญญาณเตือนนี้อาจทำให้เข้าใจว่าประจำเดือนมาไม่ปกติ และอาจรับประทานยาบำรุงที่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ควรตรวจครรภ์ให้แน่ชัดในรายที่มีความเสี่ยงในการเกิดการตั้งครรภ์ ได้แก่ หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน ปัสสาวะบ่อย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์อาจทำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขึ้นหลังการปฏิสนธิสัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 8 เต้านมขยาย เป็นอาการคัดเต้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ที่อาจทำให้หน้าอกตึง บวม เจ็บเมื่อถูกสัมผัส หัวนมมีสีคล้ำขึ้น ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานหลายสัปดาห์จนกว่าอาการคัดเต้าจะหาย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บเต้านมควรสวมเสื้อชั้นในที่ให้ความสบาย ไม่รัดแน่น แพ้ท้อง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหม็นอาหาร อยากรับประทานอาหารแปลก ๆ แต่อาการเหล่านี้อาจบรรเทาลงไปเองได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 13-14 ของการตั้งครรภ์ เหนื่อยล้า อาการเหนื่อยล้าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตเลือดมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์อาจอ่อนเพลียง่าย การรับประทานอาหารที่มีโปรตีน ธาตุเหล็ก พร้อมกับพักผ่อนให้เพียงพอ อาจช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ ท้องผูก […]


เตรียมตั้งครรภ์

ตรวจครรภ์ 1 ขีด ท้องไหม? เช็กอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัวร์

ตรวจครรภ์ 1 ขีด ท้องไหม ? เป็นคำถามที่อาจให้คำตอบได้ไม่แน่นอน โดยปกติแล้วผลลัพธ์การตรวจครรภ์ที่ขึ้นขีดเดียว มักมีความหมายว่าไม่ตั้งครรภ์ โดยอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทดสอบการตั้งครรภ์ เวลาที่ทำการตรวจครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจครรภ์ได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่ชัดควรสังเกตตนเองว่ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ประจำเดือนขาดนานกว่า 2 เดือน หรือไม่ แล้วตรวจครรภ์ซ้ำอีกครั้ง หรือเข้ารับการตรวจครรภ์ทดสอบจากคุณหมอ  [embed-health-tool-”ovulation”] วิธีตรวจสอบการตั้งครรภ์ สำหรับการทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองจากตัวอย่างปัสสาวะ ควรเก็บตัวอย่างปัสสาวะแรกในช่วงเช้า เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ปัสสาวะมีความเข้มข้นของฮอร์โมนการตั้งครรภ์สูง (HCG) ทำให้ผลลัพธ์การตรวจครรภ์อาจแม่นยำมากขึ้น ชุดตรวจครรภ์ส่วนใหญ่มี 2 รูปแบบ ดังนี้ ชุดทดสอบตั้งครรภ์แบบหยด ภายในกล่องจะประกอบด้วยตลับทดสอบการตั้งครรภ์ ถ้วยเก็บตัวอย่างปัสสาวะ หลอดหยดสำหรับดูดน้ำปัสสาวะ  วิธีใช้ ปัสสาวะลงในถ้วยเก็บตัวอย่างปัสสาวะ นำหลอดดูดน้ำปัสสาวะหยดลงบนตลับการทดสอบที่มีตัวอักษร S ประมาณ 3 หยดสูงสุดไม่เกิน 6 หยด เพื่อเพิ่มความไวให้ตลับทดสอบอ่านค่าปัสสาวะ วางทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที หรือตามคำแนะนำที่ระบุข้างผลิตภัณฑ์ เพื่อรอผลทดสอบ ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แบบจุ่ม ในกล่องอาจมีกระดาษ หรือเป็นเครื่องพลาสติกที่มีส่วนปลายไว้จุ่มปัสสาวะ และถ้วยเก็บตัวอย่างปัสสาวะ วิธีใช้ ปัสสาวะลงในถ้วยเก็บตัวอย่างปัสสาวะ ถอดฝาอุปกรณ์ทดสอบการตั้งครรภ์ แล้วนำส่วนปลายของอุปกรณ์หรือกระดาษทดสอบจุ่มลงในปัสสาวะไม่เกินขีดที่กำหนด ประมาณ 7-10 วินาที […]


เตรียมตั้งครรภ์

ผล ตรวจครรภ์ 2 ขีด บ่งบอกว่าท้องหรือไม่

หลังจากมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 21 วัน แล้วมีอาการเหมือนคนตั้งครรภ์ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ คัดเต้านม ประจำเดือนขาด หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ควรซื้อชุดทดสอบการตรวจครรภ์ด้วยตัวเองมาทดสอบเบื้องต้น หากผล ตรวจครรภ์ 2 ขีด อาจหมายความว่า กำลังตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจครรภ์จากคุณหมออีกครั้ง เพื่อให้ทราบผลการตั้งครรภ์ที่แน่ชัด [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] วิธีตรวจสอบการตั้งครรภ์ วิธีตรวจสอบการตั้งครรภ์ อาจเริ่มตรวจเองได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันหรือเกิดข้อผิดพลาดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เช่น ถุงยางขาด อย่างน้อย 21 วัน ซึ่งควรตรวจในช่วงเช้าของวันหรือปัสสาวะแรก เพราะจะมีระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (HCG) สูง และได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ 97-99% หากมีผลตรวจครรภ์ 2 ขีด อาจกำลังตั้งครรภ์ ชุดทดสอบการตั้งครรภ์มี 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แบบจุ่ม ภายในกล่องอาจมีกระดาษหรืออุปกรณ์พลาสติกที่มีส่วนปลายไว้จุ่มปัสสาวะ และถ้วยเก็บตัวอย่างปัสสาวะ วิธีใช้ ปัสสาวะลงในถ้วยเก็บตัวอย่างปัสสาวะ นำกระดาษทดสอบหรือส่วนปลายของอุปกรณ์พลาสติกซึ่งจะมีช่องเล็ก ๆ อยู่ 5 ช่องจุ่มลงไปในปัสสาวะ โดยอย่าให้เกินขีดที่กำหนด จากนั้นรอประมาณ 7-10 วินาที ปิดฝาหรือวางกระดาษบนพื้นที่ที่สะอาด 5 นาที […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

วันไข่ตก นับอย่างไรให้เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

วันไข่ตก หรือวันตกไข่ หมายถึงวันที่รังไข่ปล่อยไข่ที่สุกออกมาในท่อนำไข่ เพื่อรอการผสมกับอสุจิ เป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนในทุก ๆ เดือน การนับวันไข่ตกอาจมีประโยชน์ในการวางแผนการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด อย่างไรก็ตาม การนับวันไข่ตกอาจจะไม่ได้แม่นยำ 100% เสมอไป เนื่องจากผู้หญิงแต่ละคนอาจมีรอบเดือนและวันตกไข่ที่แตกต่างกัน รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียด อายุ น้ำหนักตัว โรคประจำตัว ก็อาจส่งผลต่อวันตกไข่ได้เช่นกัน [embed-health-tool-ovulation] วันไข่ตก คืออะไร  วันไข่ตก หรือวันตกไข่ คือ กลไกตามธรรมชาติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่เกิดขึ้นในทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง โดยเมื่อประจำเดือนมาวันแรก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนฟอลลิเคิล สติมูเลติง (Follicle-Stimulating Hormone: FSH) ออกมา ทำให้ไข่ในรังไข่เติบโต และทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิสนธิ ในช่วงวันที่ 2-14 ของรอบเดือน เรียกว่า “ระยะก่อนตกไข่” สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตามปกติและสม่ำเสมออาจสามารถคาดการณ์ช่วงเวลาวันไข่ตกได้อย่างแม่นยำ โดยรอบประจำเดือนเฉลี่ยประมาณ 28-30 วัน และวันไข่ตกมักเกิดขึ้นช่วงระยะประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนประจำเดือนรอบใหม่มา สำหรับผู้ที่ต้องการมีลูกควรมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 1-2 วันก่อนไข่ตก เพราะอสุจิสามารถรอปฏิสนธิกับไข่ได้ประมาณ 2-3 […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ของใช้เตรียมคลอด และการเตรียมตัวก่อนคลอด มีอะไรบ้าง

ของใช้เตรียมคลอด สำหรับคุณแม่ ควรได้รับการตระเตรียมไว้อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนถึงวันที่คุณหมอกำหนดคลอด เพื่อนำมาใช้ในโรงพยาบาลขณะที่พักฟื้นหลังคลอดบุตร ระยะเวลาดังกล่าวเพียงพอที่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป โดยเฉพาะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภาวะคลอดก่อนกำหนด อาจจัดวางกระเป๋าที่ใส่ของใช้เตรียมคลอดไว้ใกล้มือที่หยิบฉวยได้ง่าย หรือเตรียมใส่ไว้ในรถ เมื่อถึงเวลากำหนดคลอดจะได้พร้อมออกเดินทางไปโรงพยาบาลได้ทันที [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด สำหรับคุณแม่  คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับการคลอดบุตรล่วงหน้าอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ก่อนถึงกำหนดคลอด โดยของใช้เตรียมคลอดสำหรับบคุณแม่ที่พักในโรงพยาบาล 1-4 วัน มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ผลตรวจ หรือเอกสารสำคัญที่ใช้ยื่นก่อนเข้าพักรักษาตัว เช่น บัตรโรงพยาบาล บัตรประจำตัวประชาชน เสื้อคลุม หรือเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่นท้องจนเกินไป เสื้อชั้นในที่สวมใส่สบาย หรือเสื้อชั้นในให้นมบุตรประมาณ 3 ตัว ชุดชั้นใน 5-6 ตัว  รองเท้าแตะ แผ่นซับน้ำนม ผ้าอนามัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แปรงสีฟัน หวี อุปกรณ์อาบน้ำ  ผ้าขนหนู อุปกรณ์สายชาร์จสำหรับโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป เสื้อผ้าเด็กอ่อน หมวก ผ้าอ้อม ผ้าห่อตัวทารก   การเตรียมตัวก่อนคลอด ก่อนถึงวันคลอดบุตร หรือระหว่างตั้งครรภ์ ควรเข้ารับคำแนะนำเบื้องต้นจากคุณหมอถึงวิธีการดูแลสุขภาพทารก เพื่อความปลอดภัย และดูแลทารกได้อย่างถูกต้อง สำหรับการเตรียมตัวก่อนคลอด […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์

โภชนาการถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ควรทราบว่า อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง เพราะช่วงเวลาตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ร่างกายอาจอ่อนแอได้ง่าย และอาหารที่รับประทานเข้าไปก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ป่วยหรือส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพคุณแม่ทั้งภายในและภายนอกจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-”due-date”] อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์  มีอาหารหลายชนิดที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้ป่วยหรือส่งผลต่อทารกในครรภ์ โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีดังนี้ อาหารทะเลที่มีสารปรอทสูง อาหารทะเล โดยเฉพาะปลาบางชนิด อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อาจช่วยพัฒนาสมองและดวงตาของทารก แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลหลายชนิดที่มีระดับสารปรอทสูง ซึ่งอาจส่งผลร้ายต่อระบบประสาทที่กำลังพัฒนาของทารก ยิ่งปลาตัวใหญ่และมีอายุมากยิ่งอาจปริมาณของสารปรอทมาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงปลาต่อไปนี้ ปลาทูน่าตาโต ปลาแมคเคอเรล ปลาฉลาม ปลาไทล์ฟิช อาหารดิบ ไม่ผ่านการปรุงสุก หรือปนเปื้อน เพื่อหลีกเลี่ยงแบคทีเรียหรือไวรัสที่เป็นอันตราย คุณแม่ตั้งครรภ์อาจอาหารเหล่านี้ หลีกเลี่ยงปลาดิบและหอย เช่น ซูชิ ซาชิมิ หอยนางรมดิบ หอยเชลล์ หลีกเลี่ยงอาหารหารแช่เย็นไม่ปรุงสุก ต้มไข่จนสุก เน้นต้มไข่จนไข่แดงและไข่ขาวสุก เพราะไข่ดิบอาจปนเปื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารที่รับประทานมาจากแหล่งใด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจากแหล่งที่มีมลพิษ เพราะอาจไม่ปลอดภัยต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์และทารก ปรุงอาหารอย่างถูกวิธี ควรปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียสขึ้นไป จนอาหารสุกทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรคและแบคทีเรียที่ติดมากับอาหาร อาหารที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ ผลิตภัณฑ์จากนมหลายชนิด เช่น นมพร่องมันเนย มอสซาเรลลาชีส เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องแน่ใจว่าอาหารเหล่านี้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์เรียบร้อยแล้ว ควรหลีกเลี่ยงชีสเนื้อนิ่ม เช่น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม