เตรียมตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ต้องใช้เวลาในการวางแผนและการเตรียมตัว ตั้งแต่เรื่องการเจริญพันธุ์ ไปจนถึงความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการตั้งครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ เตรียมตั้งครรภ์ ตั้งแต่การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดไปจนถึงวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนท้อง เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ หากสภาพร่างกายและจิตใจของว่าที่คุณแม่พร้อมแล้ว ท้องนี้จะเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ ที่ได้รับการดูแลและใส่ใจตั้งแต่วันแรก เตรียมพร้อม ตั้ง ครรภ์ ควรเริ่มอย่างไร มีสิ่งไหนที่ต้องรู้บ้าง [embed-health-tool-ovulation] การเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เมื่อตัดสินใจจะมีบุตร การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมสู่การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง ซึ่งช่วงวัยที่เหมาะสมต่อการมีบุตรควรมีอายุระหว่าง 20-34 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มี 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ก่อนตั้งครรภ์  ออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย แต่หากสนใจการเล่นโยคะก็เป็นทางเลือกที่ดี เพื่อฝึกท่าทาง การหายใจ ฝึกสมาธิ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในระหว่างการคลอดบุตรได้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายพักผ่อน 8 ชั่วโมงเป็นประจำ จะรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ ข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม  ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักและผลไม้สด รวมถึงดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ตรวจสุขภาพช่องปาก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการเกิดฟันผุระหว่างตั้งครรภ์  หมั่นนับรอบประจำเดือน เป็นการคำนวณวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ พยายามฝึกอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลายจากความเครียด เมื่อร่างกายผ่อนคลาย สุขภาพจิตใจแข็งแรงดี […]

สำรวจ เตรียมตั้งครรภ์

เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

อยากมีลูกต้องออกกำลังกาย เพราะอาจช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้

อยากมีลูกต้องออกกำลังกาย เพราะ การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย ผู้หญิงที่อยากตั้งครรภ์จำเป็นที่จะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกาาตั้งครรภ์ รวมถึงเวลาคลอดบุตรอีกด้วย ทาง Hello คุณหมอ จึงอยากเชิญชวนผู้ที่อยากมีลูกมาออกกำลังกายกันดีกว่า อยากมีลูกต้องออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้อย่างไรบ้าง การออกกำลังกาย ที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาศในการตั้งครรภ์ ได้แก่ การออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วเป็นประจำทุกวัน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ แต่คุณอาจไม่จำเป็นต้อง ออกกำลังกาย อย่างหนัก เช่น วิ่งมาราธอน เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า การ ออกกำลังกาย ที่หนักจนเกินไป อาจส่งผลต่อระยะเวลาในการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติ แต่สำหรับผู้หญิงที่อ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน การ ออกกำลังกาย หนักจนเกินไป จะไม่ส่งผลต่อระยะเวลาในการตั้งครรภ์ การออกกำลังการในระดับปานกลาง เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ งานวิจัยได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ และได้ออกกำลังกายอย่างหนัก 5 ชั่วโมงหรือมากกว่า 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ผลการวิจัยพบว่า มีโอกาสน้อยกว่า 42% ที่จะตั้งครรภ์ในเดือนที่กำหนด เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ออกกำลังกายเลย กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ยิ่งออกกำลังกายอย่างหนักมากเท่าไหร่ ก็จะมีโอกาสที่จะยืดระยะเวลาในการตั้งครรภ์มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้ตั้งครรภ์ช้ากว่าที่ตั้งใจไว้ การออกกำลังกาย อย่างหนักที่ว่า หมายถึง การวิ่ง เต้นแอโรบิค ยิมนาสติก ว่ายน้ำ […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อการเตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างไร

การดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ เป็นสิ่งที่ผู้หญิงที่อยากตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะส่งผลต่อฮอร์โมน จนอาจทำให้ตั้งครรภ์ยาก รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ก็อาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ด้วย เพราะแอลกอฮอล์อาจเข้าสู่กระแสเลือดของทารกในครรภ์ผ่านทางสายสะดือ จนส่งผลต่อพัฒนาการของทารก ทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ทำให้เสี่ยงแท้งบุตร หรืออาจถึงขั้นทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ [embed-health-tool-ovulation] เตรียมตั้งครรภ์ต้องหยุดดื่ม แอลกอฮอล์ หรือไม่ ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และสมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ACOG) แนะนำให้ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการดื่มแอกอฮอล์ปริมาณมาก เช่น เบียร์ขวดเล็ก 2 ขวด/วัน อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์ (Fetal Alcohol Syndrome หรือ FAS) ซึ่งยับยั้งพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของทารก และอาจทำให้แท้งบุตรได้ ผู้ชายดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่ออสุจิ นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ชายอาจส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน ผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์เพียง 1 แก้ว/วัน ในช่วง 1 สัปดาห์หรือ 1 เดือนก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว (In–vitro Fertilization หรือ IVF ) หรือการปฏิสนธินอกร่างกาย อาจลดโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ถึง 2 เท่า นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

หลังผ่าคลอด มีอะไรกับแฟน ได้ตอนไหน และเมื่อไหร่ถึงจะตั้งครรภ์ได้

การผ่าคลอด (C-sections) เป็นวิธีการคลอดโดยการผ่าหน้าท้องและช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่และต้องใช้เวลานานในการพักฟื้น ทำให้หลายคนอาจเกิดคำถามว่า หลังผ่าคลอด มีอะไรกับแฟน ได้ตอนไหน และเมื่อไหร่ถึงจะตั้งครรภ์ได้อีก การศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจมีลูกหลังผ่าคลอดอาจช่วยให้สามารถวางแผนการตั้งครรภ์หลังผ่าคลอดและช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-ovulation] หลังผ่าคลอด มีอะไรกับแฟน ได้ตอนไหน หลังจากการผ่าคลอด หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ ควรรอให้แผลจากการผ่าคลอดหายสนิทแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟูร่างกายหลังจากผ่าคลอดอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละคน โดยปกติคุณหมออาจให้รออย่างน้อย 4-6 สัปดาห์หลังผ่าคลอด จึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจควรปรึกษาคุณหมอและได้รับการอนุญาตจากคุณหมอว่าสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้แล้ว จึงจะกลับไปทำกิจกรรมทางเพศหลังผ่าคลอด สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการคลอด หลังจากทำการคลอดแล้ว คุณแม่จะรู้สึกอ่อนเพลียและเจ็บแผล รวมถึงมีอาการปวดหลัง เจ็บหัวนม และอาการปวดจากฝีเย็บต่อเนื่อง นานหลายสัปดาห์ การมีบุตรทำให้เกิดความเครียดในครอบครัว เพราะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องมีการปรับตัวในการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ความเครียดเหล่านี้ มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำให้ยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติได้เหมือนเดิม ในช่วงนี้อาจจะยังต้องใช้เวลาในการจัดการกับตารางกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เข้าที่เข้าทาง ในช่วงคลอดแรกๆ ก็อาจจะเกิดความเครียดบาง แต่เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง ก็จะเริ่มจัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้ หากมีลูกคนต่อไปทันทีหลังจากที่คลอดลูกคนแรก อาจเกิดความเสี่ยงทางการตั้งครรภ์ เช่น มดลูกแตก หรือ คลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักของทารกต่ำกว่าเกณฑ์ ควรใช้เวลาหลังการคลอดในการพักผ่อนและฟื้นฟูร่างกาย การดูแลร่างกายให้แข็งแรง นอกจากจะมีเวลาในการดูแลลูกที่เพิ่งคลอดได้อย่างเต็มที่แล้ว เมื่อร่างกายแข็งแรงแล้วก็ยังจะส่งผลดีต่อเด็กในครรภ์อีกด้วย และก็ยังสามารถกลับมาเริ่มใช้ชีวิตใหม่ได้ดีขึ้นอีก ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการ ตั้งครรภ์หลังผ่าคลอด ระยะเวลาหลังคลอดเพื่อตั้งครรภ์ใหม่อาจใช้เวลาตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ตรวจครรภ์ ด้วยตัวเองอย่างไร ให้ได้ผลแม่นยำที่สุุด

ตรวจครรภ์ สามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้ชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งชุดตรวจครรภ์จะตรวจหาฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่ผลิตจากเซลล์ของรกหากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น โดยส่วนใหญ่ชุดตรวจครรภ์มักอ้างว่าให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและน่าพอใจ แต่ทั้งนี้อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ดังนั้น หากรู้วิธีใช้ที่ถูกต้องจะช่วยทำให้การตรวจครรภ์โดยใช้ชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองอ่านผลได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ความผิดพลาดที่อาจเกิดได้จากการ ตรวจครรภ์ ด้วยตัวเอง  ผลที่ได้จากชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์อาจแสดงผลผิดพลาดใน 2 กรณี คือ ผลบวกเท็จ และผลลบเท็จ ผลตรวจครรภ์ เป็นบวกเท็จ ผลตรวจครรภ์เป็นบวกเท็จ หมายถึง เครื่องมือแสดงผลว่าตั้งครรภ์ แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ได้ตั้งครรภ์ สาเหตุของการแสดงผลที่ผิดพลาดอาจเกิดจาก การถึงวัยหมดประจำเดือน การท้องนอกมดลูก หรือปัญหาเกี่ยวกับรังไข่ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นผลมาจากการแท้งบุตรหลังจากที่ตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกแล้วได้เช่นกัน ผลตรวจครรภ์ เป็นลบเท็จ ผลตรวจครรภ์เป็นลบเท็จ หมายถึง การที่อ่านว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่แท้จริงแล้วกำลังตั้งครรภ์ สาเหตุของผลเป็นลบเท็จ ได้แก่ การตรวจสอบการตั้งครรภ์เร็วเกินไป การตรวจครรภ์ทันทีหลังจากประจำเดือนไม่มานั้น เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากชุดตรวจไม่สามารถตรวจหาฮอร์โมนตั้งครรภ์ (Human Chorionic Gonadotropin-HCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก และเป็นตัวบ่งชี้การตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว ควรใช้ชุดตรวจครรภ์ 1 สัปดาห์หลังจากที่ประจำเดือนไม่มา อุปกรณ์จึงจะสามารถตรวจจับระดับฮอร์โมน HCG ในปัสสาวะได้ อ่านผลการตรวจทันทีโดยไม่รอเวลาที่เหมาะสม การตรวจเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องแม่นยำต้องใช้เวลา ดังนั้น ไม่ควรอ่านผลทันที ควรอ่านผลตามเวลาที่คำแนะนำการใช้ของชุดตรวจระบุไว้ ตรวจโดยใช้ปัสสาวะที่เจือจางเกินไป […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

เตรียมตัวก่อนท้อง อย่าลืมเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำว่ามีอะไรบ้าง

เตรียมตัวก่อนท้อง นับเป็นการวางแผนครอบครัวสำหรับคู่รักที่ต้องการมีลูกคนแรก รวมทั้งคู่สามีภรรยาที่มีลูกอยู่แล้วแต่ต้องการมีลูกเพิ่ม ควรเตรียมตัวให้พร้อมโดยเร็วที่สุด เพราะไม่มีคำว่าเร็วเกินไปในการวางแผนเพื่อเป็นคุณพ่อคุณแม่ เพราะมีหลายสิ่งที่ต้องจัดการ ควรมีเช็กลิสต์เพื่อช่วยให้ง่ายขึ้น ทั้งการวางแผนทางการเงิน การนัดพบแพทย์ และเรื่องสุขภาพของผู้หญิงเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ เตรียมตัวก่อนท้อง ต้องทำอะไรบ้าง การเตรียมตัวก่อนท้อง โดยเฉพาะผู้หญิงนั้นจำเป็นต้องเตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อตั้งท้อง และสำหรับการตั้งครรภ์ซึ่งกินเวลาประมาณ 40 สัปดาห์ การดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้ นัดกับคุณหมอ ก่อนตั้งครรภ์ แม้ว่าจะเคยตั้งครรภ์มาก่อนแล้ว ควรนัดพบคุณหมอหากวางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะหากเกิดมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ คุณหมอจะได้ให้คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ด้วย ตรวจสุขภาพช่องปาก ก่อนตั้งครรภ์ สุขภาพช่องปากที่ดีและการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากมีข้อมูลที่ชี้ว่า การเป็นโรคเหงือกอาจเชื่อมโยงกับการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ของทารก ดังนั้น ก่อนตั้งครรภ์จึงควรตรวจสุขภาพช่องปากด้วย เลิกบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่และแอลกอฮอล์ทำให้ยากต่อการตั้งครรภ์ และเพิ่มโอกาสในการแท้งอีกด้วย ดังนั้น หากสูบบุหรี่และดื่มแอกอฮอล์ ก่อนตั้งครรภ์  ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีเลิกบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์ก่อน เพื่อเตรียมตัวตั้งครรภ์ต่อไป ลดการดื่มคาเฟอีน การดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้ว หรือการดื่มน้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนประมาณ 250 มิลลิกรัมมากกว่า 5 กระป๋องต่อวัน อาจลดโอกาสในการตั้งครรภ์ จึงควรลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเปลี่ยนมาดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนแทน เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้ กินอาหารที่มีประโยชน์ ก่อนตั้งครรภ์  ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ อย่างผัก ผลไม้ และโปรตีนไร้ไขมันในทุก ๆ วัน เพราะการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ […]


เตรียมตั้งครรภ์

อยากท้อง แต่ไม่ท้อง มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

คู่รักหลายคู่อยากมีลูก แต่พยายามมาหลายครั้งก็ยังคงไม่สำเร็จ อยากท้อง แต่ไม่ท้อง อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของการตกไข่ หรือการมีอสุจิน้อย รวมถึงปัญหาสุขภาพของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง [embed-health-tool-ovulation] ต้องใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะตั้งท้อง ในกรณีที่คู่รักทั่วไปมีเพศสัมพันธ์ตามช่วงเวลาที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งท้องในทุก ๆ เดือน คู่รักจำนวนประมาณร้อยละ 80 จะตั้งท้องหลังจากผ่านไป 6 เดือน และประมาณ 90% จะตั้งท้องหลังจาก 12 เดือน อย่างไรก็ตาม หากผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีหรือมากกว่า และพยายามมีลูกเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน หรือมีอายุน้อยกว่า 35 ปี และพยายามมีลูกอย่างน้อย 1 ปี แล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ควรปรึกษาคุณหมอเพราะอาจมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ทำให้ยังไม่ตั้งท้อง อยากท้อง แต่ไม่ท้อง มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง สำหรับสาเหตุที่ อยากท้อง แต่ไม่ท้อง อาจมีสาเหตุมาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ ความเครียด งานวิจัยพบว่า มีความเชื่อมโยงกันระหว่างระดับความเครียดของผู้หญิง กับโอกาสในการตั้งท้องที่ลดลง ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่มีระดับอัลฟา อะไมเลส (Alpha-amylase) ที่เป็นเอนไซม์ที่บอกถึงความเครียด หากผู้หญิงมีอัลฟา อะไมเลสในระดับสูง อาจใช้เวลานานกว่าร้อยละ 29 […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

มีลูก ไม่ยาก หากรู้เคล็ดลับเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

มีลูก ควรต้องวางแผนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่รักที่ตั้งใจจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อเตรียมร่างกายให้แข็งแรงและมีความพร้อมมากที่สุดก่อนการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในรายที่มีบุตรยาก หรือมีปัญหาสุขภาพควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเคล็ดลับหรือเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-ovulation] เทคนิคเพื่อเพิ่มโอกาส มีลูก ปรึกษาคุณหมอ ผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร ควรไปตรวจสุขภาพและปรึกษาคุณหมอ เนื่องจากในกรณีที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง หรือเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษา ควรอยู่ในการดูแลของคุณหมอก่อนเตรียมตัวตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่วางแผนมีลูก ควรเตรียมสุขภาพร่างกายให้พร้อม โดยเริ่มต้นด้วยการรับประทานกรดโฟลิก (Folic acid) อย่างน้อย 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ เพราะกรดโฟลิกอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะพิการแต่กำเนิดของทารก คำนวณช่วงเวลาตกไข่ ช่วงตกไข่ถือเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่ควรมีเพศสัมพันธ์เพื่อการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ในกรณีที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ ช่วงเวลาในการตกไข่จะช่วยกำหนดช่วงเวลาที่ควรมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือน 28 วัน มีแนวโน้มว่าไข่จะตกในวันที่ 14 โดยนับจากวันที่ 1 คือวันแรกของการมีประจำเดือน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงหลายคนมีรอบประจำเดือนนานกว่า หรือสั้นกว่าแตกต่างกันแต่ละคน จึงอาจใช้ตัวช่วยอย่างแอพพลิเคชั่นเพื่อคาดการณ์วันเวลาของการตกไข่ ในกรณีที่กินยาคุมกำเนิด หลายคนคิดว่าต้องรอเวลาสักพักก่อนเตรียมตั้งครรภ์ ความจริงแล้วหากต้องการมีบุตรก็อาจเริ่มพยายามมีบุตรได้เลย หลังจากหยุดรับประทานยาคุมกำเนิด เลือกเวลาที่ควรมีเพศสัมพันธ์ อสุจิที่แข็งแรงอาจติดอยู่ในมดลูก และท่อนำไข่เป็นระยะเวลา 2-3 วัน แต่ไข่ของผู้หญิงจะมีอายุประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังจากเกิดการตกไข่ ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันตกไข่อาจเพิ่มโอกาสที่จะทำให้อสุจิได้ปฏิสนธิกับไข่ทันทีที่เกิดการตกไข่ และเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือน 28 วัน ที่จะมีวันตกไข่ในวันที่ 14 โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือน อาจเริ่มมีเพศสัมพันธ์ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ […]


เตรียมตั้งครรภ์

ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร

ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง (Home Pregnancy Test) สามารถระบุของฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ได้จากตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ โดยตรวจสอบได้จากตัวอย่างปัสสาวะ หากกำลังตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก (Human Chorionic Gonadotropin หรือ hCG) อยู่ในระดับสูง ดังนั้น หากใช้ชุดอุปกรณ์ตามที่อธิบายไว้อย่างถูกต้อง การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองจะให้ผลเหมือนกับการตรวจสอบโดยคุณหมอ [embed-health-tool-ovulation] ข้อมูลพื้นฐาน ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง คืออะไร การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง (Home Pregnancy Test) สามารถระบุการมีอยู่ของฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ได้ โดยฮอร์โมนนี้เรียกว่าฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก (Human Chorionic Gonadotropin หรือ hCG) โดยสามารถตรวจสอบได้จากตัวอย่างปัสสาวะ หากกำลังตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนชนิดนี้อยู่ในระดับสูง ดังนั้น หากใช้ชุดอุปกรณ์ตามที่อธิบายไว้อย่างถูกต้อง การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองจะให้ผลเหมือนกับการตรวจสอบโดยคุณหมอ เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ ไข่จะได้รับการผสมโดยอสุจิในท่อนำไข่ ทำให้เกิดการปฏิสนธิ ภายใน 9 วันหลังจากการผสม ไข่จะเคลื่อนลงมาที่ท่อนำไข่ไปสู่มดลูกและเข้าไปฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูก เมื่อไข่ที่ได้รับการผสมฝังตัว รกจะเริ่มหลั่งฮอร์โมน hCG เข้าไปในกระแสเลือด ฮอร์โมนบางส่วนจะเข้าสู่ปัสสาวะ ในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ปริมาณฮอร์โมน hCG จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ 2-3 วัน ที่ตรวจครรภ์สำหรับทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองที่นิยมใช้ อาจมีดังต่อไปนี้ ที่ตรวจครรภ์แบบผ่าน ที่ตรวจครรภ์แบบผ่านถือเป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ เนื่องจาก […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature ovarian failure)

รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด คือภาวะที่รังไข่หยุดการทำงานก่อนอายุ 40 ปี ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ไม่มีประจำเดือน และส่งผลเสียต่อร่างกายอื่น ๆ ตามมาจากการที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงก่อนเวลาอันควร ทั้งนี้ ผู้หญิงควรสังเกตตนเองโดยเฉพาะสุขภาพประจำเดือน หากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการเสี่ยงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด คืออะไร รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature ovarian insufficiency) คือภาวะที่รังไข่หยุดการทำงานก่อนอายุ 40 ปี หากรังไข่เสื่อมจะหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ไม่เกิดการตกไข่ได้ตามปกติ ไม่มีประจำเดือน และเสี่ยงเกิดภาวะมีบุตรยาก รวมทั้งอาการของภาวะขาดฮอร์โมนต่าง ๆ ตามมาได้ การฟื้นฟูระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนบางประการได้ เช่น โรคกระดูกพรุนที่เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด พบบ่อยเพียงใด ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด พบได้น้อย โดยเกิดขึ้นกับผู้หญิง 1 คนใน 1,000 คน ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี และในผู้หญิง 1 คนใน 100 คน ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ทั้งนี้ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด อาการทั่วไปของรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ได้แก่ ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาดซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี หรือเกิดขึ้นหลังการตั้งครรภ์ หรือหลังจากหยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ตั้งครรภ์ได้ยาก […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ภาวะขาดไทรอยด์ ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงจริงหรือ

ภาวะขาดไทรอยด์ สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง อาจทำให้เกิดปัญหามีลูกยาก  หรือมีปัญหาระหว่างการตั้งครร์ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพ และตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี หากต้องการมีลูก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารกที่จะเกิดมา ภาวะขาดไทรอยด์ คืออะไร ภาวะขาดไทรอยด์ (Underactive Thyroid) หรือไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วยทำงานผิดปกติ ทำให้ผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นบางชนิดออกมาไม่เพียงพอ ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์นั้น ส่งผลต่อระบการทำงานแทบทุกส่วนในร่างกายตั้งแต่หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ ไปจนถึงผิวหนัง เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย เมื่อขาดฮอร์โมนไทรอยด์จึงทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย ภาวะขาดไทรอยด์ ทำให้มีลูกยากจริงหรือ ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะเกือบทุกอย่างของร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างเพียงพอ หรือที่เรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ หากเกิดในผู้หญิง สามารถส่งผลต่อการตกไข่และการเจริญพันธุ์ได้ รวมถึงอาจทำให้ผู้หญิงเกิดปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วย [embed-health-tool-ovulation] ผู้หญิงประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ในประเทศสหรัฐอเมริกามีภาวะขาดไทรอยด์ หากเกิดภาวะนี้ในระหว่างตั้งครรภ์และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนการคลอด เช่น แท้งลูก ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ ภาวะขาดไทรอยด์ ยังส่งผลกระทบต่อทารกด้วย โดยทารกที่เกิดจากแม่ที่มีภาวะขาดไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม