สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกตื่นกลางคืนบ่อย ควรทำอย่างไร

ลูกตื่นกลางคืนบ่อย เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น รู้สึกหิว นอนกลางวันมากเกินไป การเจ็บป่วย ความเครียด หรืออาจมีฟันขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีช่วยให้ลูกนอนหลับสนิท เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับที่ดีของลูก ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต และช่วยให้ลูกไม่รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าในเช้าวันถัดไป [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ลูกตื่นกลางคืนบ่อย สาเหตุที่ลูกตื่นกลางคืนบ่อย อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ รู้สึกหิว เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากลูกน้อยมีกระเพาะอาหารขนาดเล็ก ทำให้จุอาหารได้น้อย และย่อยอาหารได้เร็ว ส่งผลให้ลูกรู้สึกหิวบ่อยจนทำให้ตื่นช่วงกลางคืน ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการร้องไห้งอแงของลูก มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ทารก อาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี หรืออาจเป็นเพราะลูกกลืนอากาศมากเกินไปขณะกินนม ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร สำหรับเด็กในช่วงวัยอื่นที่กำลังห่วงเล่น อาจรีบร้อนรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว ทำให้กลืนอากาศเข้าไปมาก นำไปสู่การเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด ไม่สบายท้อง จนตื่นกลางคืนบ่อย ๆ อยู่ในช่วงปรับตัว ทารกแรกเกิดอาจจำเป็นต้องใช้เวลาปรับตัวกับโลกภายนอก จึงอาจยังไม่รู้ช่วงเวลาการนอนที่เหมาะสม และทำให้อาจตื่นช่วงเวลากลางคืนบ่อย โดยเฉพาะถ้าทารกนอนช่วงกลางวันนาน ฟันเริ่มงอก เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือนขึ้นไป ฟันของลูกจะเริ่มงอก ส่งผลให้ลูกรู้สึกเจ็บและปวดเหงือก  คันเหงือก จึงอาจทำให้ลูกมักสะดุ้งตื่นตอนกลางคืนเมื่อมีอาการเจ็บจี๊ด ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การที่ลูกน้อยไอ เป็นการตอบสนองของระบบทางเดินหายใจและเป็นกลไกเพื่อกำจัดเชื้อโรคและสารระคายเคืองที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฝุ่น ละอองเกสร ไข้หวัด เชื้อโรค กรดไหลย้อน ภาวะไอกรน โรคหอบหืด คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษา วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการไอต่อเนื่องเป็นเวลานาน ไอรุนแรง หายใจลำบาก หากพบอาการเหล่านี้ควรขอคำปรึกษาคุณหมอทันทีเพื่อสาเหตุที่แน่ชัดและหาวิธีรักษาต่อไป [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการไอของลูกน้อย เกิดจากอะไร อาการไอเป็นปฏิกิริยาของระบบทางเดินหายใจของร่างกาย เมื่อมีสารระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ อาการไอเฉียบพลัน เป็นอาการไอที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ อาจเกิดจาก ฝุ่น  สารระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ การสำลักอาหาร เครื่องดื่ม น้ำลายตัวเอง หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ที่ส่งผลให้เด็กมีอาการไอ เจ็บป่วยในระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 5-7 วัน สำหรับบางคนอาจใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ อาการไอเรื้อรัง อาการไอเรื้อรัง สังเกตได้จากการที่ลูกมีอาการไอต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 4 สัปดาห์ บางคนอาจมีอาการไอแบบมีเสมหะ หรือไอแห้ง ๆ ซึ่งอาจรบกวนการนอนหลับพักผ่อน ทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย […]


สุขภาพเด็ก

ลูก 1 ขวบ น้ำหนักน้อย สาเหตุและวิธีเพิ่มน้ำหนัก

ลูก 1 ขวบ น้ำหนักน้อย อาจเกิดจากร่างกายได้รับแคลอรี่และสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากลูกกินอาหารน้อยเกินไป หรืออาจเป็นเพราะปัญหาสุขภาพ เช่น ปัญหาการเผาผลาญ การแพ้อาหาร ปัญหาการดูดซึม การติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต ดังนั้น การใส่ใจในการปรับเปลี่ยนอาหารให้กับลูกอาจเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูกได้ ลูก 1 ขวบ น้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ลูก 1 ขวบน้ำหนักน้อย อาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ดังนี้ ลูกกินน้อยเกินไป เด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านการกินอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ชอบเนื้อสัมผัส รสชาติ กลิ่น หรือสีของอาหาร หรืออาจมีปัญหาสุขภาพ เช่น พัฒนาการช้า สมองพิการ เพดานปากโหว่ ภาวะออทิสติก ที่อาจทำให้เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก จนส่งผลให้กินอาหารได้น้อยและน้ำหนักน้อยลง ลูกได้รับแคลอรี่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย คุณแม่อาจเตรียมอาหารให้ไม่พ่อต่อความต้องการของร่างกายของลูก อาจให้นมผงที่มีแคลอรี่ต่ำเกินไป หรืออาจให้ลูกกินนมแม่หรือนมผงน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายลูกขาดแคลอรี่และมีน้ำหนักน้อย ความผิดปกติของการเผาผลาญ เป็นภาวะสุขภาพที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญ ย่อยหรือดูดซึมอาหารได้ และยังอาจทำให้ลูกไม่รู้สึกอยากกินอาหารและอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเมื่อกินอาหารอีกด้วย ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ภาวะกรดไหลย้อน โรคท้องร่วงเรื้อรัง โรคตับเรื้อรัง โรคเซลิแอค (Celiac) โรคซิสติกไฟโบรซิส ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกชอบร้องตอนกลางคืน เพราะอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร

ลูกชอบร้องตอนกลางคืน อาจเป็นพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจเพื่อแสดงความรู้สึกหรือความต้องการของทารก เช่น รู้สึกโกรธ เศร้า หิว คิดถึงพ่อแม่ ตกใจ ไม่สบายตัว อาการร้องไห้ตอนกลางคืนส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน พ่อแม่จึงอาจต้องสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ของทารกเพื่อช่วยในการปลอบประโลม และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด [embed-health-tool-baby-poop-tool] สาเหตุที่ลูกชอบร้องตอนกลางคืน ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน อาจชอบร้องตอนกลางคืน โดยมีสาเหตุ ดังนี้ ความหิว อาจเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้ทารกชอบร้องตอนกลางคืน เนื่องจากทารกเป็นวัยที่ต้องการการนอนหลับประมาณ 14-17 ชั่วโมงในหนึ่งวัน แต่อาจนอนหลับได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ต่อครั้ง ซึ่งทารกแรกเกิดยังคงมีกระเพาะเก็บอาหารที่เล็กและเป็นวัยที่ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจึงอาจหิวบ่อยกว่าเด็กช่วงวัยอื่น จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารบ่อยครั้งแม้แต่ในช่วงเวลากลางคืน ความคิดถึงพ่อแม่ ทารกที่ตื่นกลางดึกแล้วไม่เจอพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ อาจรู้สึกคิดถึงพ่อแม่จนร้องไห้กลางดึก โดยเฉพาะทารกอาจมีอาการติดเต้าแม่ ทำให้ตื่นบ่อย ๆ ได้ ความไม่สบายตัว อาจมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิในห้อง ความเปียกชื้นของผ้าอ้อม การห่อตัวที่แน่นเกินไป ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัวและร้องไห้ตอนกลางคืนได้เช่นกัน สิ่งรบกวน การมีสิ่งกระตุ้นให้ทารกตื่นตกใจกลางดึก เช่น แสงไฟ เสียงดัง อาจทำให้ทารกร้องไห้ตอนกลางคืนได้ อาการโคลิก (Colic) เป็นอาการที่ทารกร้องไห้งอแงหนักมากและบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในตอนกลางคืน พบมากในทารกอายุประมาณ 6 สัปดาห์ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกปวดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

ปวดฟันผุ เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่อาจพบได้บ่อยในเด็ก อาการที่อาจเกิดจากเนื้อฟันอักเสบและติดเชื้อ โดยอาการมักเกิดขึ้นหลังจากฟันได้รับความเสียหายหรือเกิดโพรงที่เนื้อฟัน ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี เนื่องจากการสะสมของน้ำตาลและแป้งจากอาหารทำให้แบคทีเรียภายในปากเจริญเติบโต ผลิตกรดทำลายฟันจนกลายเป็นฟันผุ ส่งผลให้ ลูกปวดฟันผุ อาการปวดฟันผุ เด็กแต่ละคนอาจมีอาการปวดฟันผุแตกต่างกัน แต่อาการที่อาจพบได้บ่อยอาจมีดังนี้ เด็กมีอาการปวดฟันผุอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เด็กมักมีอาการปวดฟันมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟันซี่ที่ผุ เด็กอาจรู้สึกปวดฟันมากขึ้นเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือรับประทานอาหารร้อนหรือเย็น เด็กอาจรู้สึกเจ็บปวดกรามหรือบริเวณรอบ ๆ ฟันซี่ที่ผุ เด็กบางคนอาจมีไข้ร่วมกับอาการเหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ ลูกปวดฟันผุ เพราะอะไร ฟันผุ เป็นสาเหตุของอาการปวดฟันผุ เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้ง ซึ่งเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียในช่องปาก แบคทีเรียเหล่านี้จะผลิตกรดซึ่งทำลายเคลือบฟันคือผิวฟันด้านนอกจนเนื้อฟันอาจมีสีดำหรือสีน้ำตาล เมื่อเวลาผ่านไปและไม่แปรงฟันให้สะอาดหรือไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง กรดจะค่อย ๆ ทำลายเนื้อฟันไปเรื่อย ๆ จนเป็นโพรงที่ฟันและทำให้มีอาการปวดฟันผุเกิดขึ้น วิธีรักษาอาการปวดฟันผุ การรักษาอาการปวดฟันผุ คุณหมออาจวินิจฉัยอาการด้วยตาเปล่าหรืออาจใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ฟันร่วมด้วยหากฟันผุรุนแรงมากและเป็นโพรงลึกลงไปถึงรากฟัน คุณหมออาจมีวิธีรักษาฟันผุเพื่อบรรเทาอาการหรือทำให้หายปวดฟันได้ ดังนี้ การกินยา เช่น ปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน การบ้วนน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน การถอนฟันซี่ที่ผุ วิธีนี้จะช่วยทำให้อาการปวดฟันผุหายได้แต่อาจต้องสูญเสียฟันหากฟันซี่ที่ผุ การอุดฟัน เป็นการกำจัดเอาเนื้อฟันส่วนที่ผุออกและใช้วัสดุอุดฟันปิดช่องว่าง การระบายหนองที่ติดเชื้อออก ฟันผุที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจติดเชื้อและมีหนองมาก คุณหมออาจพิจารณาระบายหนองออกเพื่อลดการติดเชื้อ การรักษาคลองรากฟัน ซึ่งเป็นช่องว่างที่อยู่ในรากฟัน เพื่อกำจัดเอาเนื้อเยื่อโพรงฟันและคลองรากฟันที่อักเสบและติดเชื้อออก จากนั้นทำความสะอาดและอุดปิดช่องว่างที่คลองรากฟัน หากอาการฟันผุมีการติดเชื้อรุนแรง คุณหมออาจให้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวินะผ่านทางหลอดเลือดดำ วิธีป้องกันอาการปวดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันปัญหาฟันผุให้กับลูกได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรก ช่วงแรกเกิดถึง […]


สุขภาพเด็ก

เด็กไม่ค่อยกินข้าว สาเหตุและวิธีแก้ไข

เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาการบดเคี้ยว ปัญหาสุขภาพ การกินของว่างบ่อยเกินไป การแพ้อาหาร ซึ่งอาจลดความอยากอาหารของเด็กทำให้เด็กกินข้าวได้น้อยลง ส่งผลทำให้พ่อแม่กังวลใจว่าเด็กอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เสี่ยงเกิดปัญหาขาดสารอาหาร พัฒนาการทางสมองและร่างกายล่าช้า ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กกินอาหารหลากหลายในปริมาณที่มากขึ้นและรู้ถึงความสำคัญของอาหารอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ เด็กไม่ค่อยกินข้าว เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้ ปัญหาทางประสาทสัมผัส (Sensory) เด็กไม่ค่อยกินข้าว อาจมีสาเหตุมาจากประสาทสัมผัสการรับรู้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรืออาการแพ้อาหารบางชนิด เนื่องจากเด็กบางคนอาจไม่ชอบรสชาติของผัก ไม่ชอบสีและกลิ่นของอาหารบางชนิด หรืออาจมีอาการแพ้อาหาร เช่น แพ้แลคโตส ความไวต่อสัมผัสเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กรู้สึกไม่อยากกินข้าว ปัญหาการรับประทานอาหาร เด็กบางคนอาจมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร เช่น เด็กฟันน้ำนมงอกหรือฟันน้ำนมหลุด เด็กปวดฟัน เจ็บคอ เด็กไอหรือสำลักอาหารบ่อยครั้ง เด็กมีกรดไหลย้อน มีแผลในปากหรือลำคอ ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เด็กรู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดเมื่อต้องรับประทานอาหาร อาจมีความรู้สึกกลัวความเจ็บปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร กลัวการสำลัก ซึ่งอาจทำให้การกินอาหารลำบากขึ้น ความสุขในการกินอาหารลดลง ส่งผลให้ เด็กไม่ค่อยกินข้าว การกินอาหารบ่อยเกินไป การให้เด็กกินอาหารว่างบ่อยเกินไปอาจทำให้เด็กไม่ค่อยอยากกินข้าวมื้อหลัก เพราะอาจรู้สึกอิ่มจากอาหารว่างในระหว่างวัน นอกจากนี้ การให้เด็กกินอาหารว่างบ่อย ๆ โดยเฉพาะขนมหวาน น้ำอัดลม เค้ก คุกกี้ อาจเพิ่มแนวโน้มการเกิดโรคอ้วนในเด็กได้เช่นกัน ความเครียดและความวิตกกังวล ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นภายในบ้านส่งผลให้เกิดอารมณ์เชิงลบ เช่น พ่อแม่ทะเลาะกัน ซึ่งอาจกระทบต่อเด็ก อาจทำให้เด็กรู้สึกเครียดและวิตกกังวลจนเด็กบางคนอาจเกิดความรู้สึกเบื่ออาหารและไม่ค่อยกินข้าวได้ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพบางประการอาจส่งผลกระทบต่อความอยากอาหารของเด็กซึ่งอาจทำให้ เด็กไม่ค่อยกินข้าว เช่น หลอดอาหารอักเสบ (Eosinophilic […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก สาเหตุและการรักษา

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก เป็นปัญหาที่คุณแม่คุณพ่ออาจพบบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝึกให้ลูกขับถ่ายในช่วงอายุ 2-3 ขวบ เนื่องจากในช่วงอายุนี้ การบีบตัวของลำไส้ไม่ดีทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวช้าลงจนอาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารเส้นใยน้อย ลูกกลัวการเข้าห้องน้ำ การกลั้นอุจจาระ หรือการใช้ยาบางชนิด แม้อาการท้องผูกอาจเกิดขึ้นชั่วคราว แต่การรักษาและการป้องกันที่ถูกวิธีอาจช่วยลดอาการท้องผูกของลูกกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ลูก 2 ขวบท้องผูก สำหรับสาเหตุที่อาจทำให้ลูก 2 ขวบ ท้องผูก มีดังนี้ อาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย เช่น อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากนม ขนมหวาน รวมทั้งการดื่มน้ำไม่เพียงพอ และเด็ก ๆ มักจะรับประทานยาก เลือกรับประทาน รับ ประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกท้องผูก ไม่ได้รับการฝึกเข้าห้องน้ำ ลูก 2 ขวบส่วนใหญ่สนใจการเล่นมากกว่าเรียนรู้การเข้าห้องน้ำ เด็กบางคนอาจรู้สึกอายเมื่อต้องร้องขอให้ผู้ใหญ่พาไปเข้าห้องน้ำ จึงอาจอั้นอุจจาระเป็นเวลานานทำให้อุจจาระแห้งและแข็งขึ้นจนกลายเป็นอาการท้องผูก การเปลี่ยนสถานที่และการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน ในบางครั้งการพาเด็กไปพักนอกบ้าน ไปโรงเรียนครั้งแรก หรือไปเข้าห้องน้ำสาธารณะอาจทำให้เด็กรู้สึกเขินอาย และไม่คุ้นชิน จนไม่อยากเข้าห้องน้ำ หรือเด็กบางคนอาจอุจจาระไม่ออกเมื่อต้องเข้าห้องน้ำนอกบ้าน การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ง่ายขึ้น สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอาจส่งผลให้มีอาการท้องผูกได้ […]


สุขภาพเด็ก

อาการโคลิค ในทารกแรกเกิด และวิธีรักษา

อาการโคลิค คืออาการที่ทารกร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุและร้องไห้บ่อยโดยเฉพาะในช่วงค่ำหรือกลางคืน อาจเกิดขึ้นในทารกแรกเกิดอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป และจะค่อย ๆ ร้องไห้น้อยลงเมื่ออายุได้ 3-4 เดือน ปกติแล้วทารกมักจะร้องไห้เพื่อส่งสัญญาณบอกคุณพ่อคุณแม่เมื่อรู้สึกหิว ไม่สบายตัว แต่สำหรับอาการโคลิค ทารกจะร้องไห้มากกว่าปกติเป็นเวลานานวันละ 3 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งอาจสร้างความเครียดและความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ สาเหตุของอาการโคลิค  โคลิค เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน โดยทารกมักจะร้องไห้เวลาซ้ำ ๆ เดิม ๆ และมักร้องนานได้ ถึง 100 วัน โดยสาเหตุการเกิดอาจเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย อาการโคลิคอาจเกิดขึ้นเมื่อทารกรู้สึกปวดท้อง จุกเสียด เนื่องจากในกระเพาะอาหารมีแก๊สมาก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ระบบย่อยอาหารของทารกยังทำงานไม่เต็มที่ อาการปวดท้อง และส่งสัญญาณบอกด้วยการร้องไห้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดู นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าการที่ทารกร้องไห้อาจเป็นการแสดงความรู้สึกขณะปรับตัวต่อโลกภายนอก เนื่องจากหลังคลอด ทารกจะ เห็นแสงสว่าง วัตถุรอบตัว และได้ยินเสียงชัดขึ้นกว่าตอนอยู่ในท้อง ทำให้อาจไม่ชิน ควบคุมอารมณ์และปรับตัวยาก ดังนั้น จึงทำให้ทารกอาจร้องไห้ออกมา เมื่อทารกเติบโตขึ้นอาจทำให้อาการโคลิคค่อย ๆ บรรเทาลงจนหายได้เอง อาการโคลิค […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคเอ๋อ อาการ สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

โรคเอ๋อ คือ โรคที่เกิดจากภาวะขาดไทรอยด์อย่างรุนแรงในทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาต่อมไทรอยด์เติบโตผิดตำแหน่ง ต่อมไทรอยด์ขาดหายไปบางส่วน ไม่มีต่อมไทรอยด์ตั้งแต่กำเนิด หรือต่อมไทรอยด์ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ในบางกรณีอาจเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางระบบประสาทและการเจริญเติบโต มีภาวะปัญญาอ่อน แคระแกรน มีความผิดปกติทางกายภาพ มีอาการหน้าบวม ลิ้นบวม ลิ้นจุกปาก ร้องไห้งอแง ท้องผูก สะดือยื่น ดีซ่าน การตรวจคัดกรองและการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์ และการกินยาบำรุงครรภ์ของผู้เป็นแม่อาจช่วยป้องกันโรคเอ๋อในทารกได้ คำจำกัดความโรคเอ๋อ คืออะไร โรคเอ๋อ หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism หรือ CH) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ต่อมไทรอยด์ขาดหายไปบางส่วน ไม่มีต่อมไทรอยด์ตั้งแต่กำเนิด หรือต่อมไทรอยด์ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ฮอร์โมนไทรอยด์จำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่ดีของสมอง และพัฒนาการของระบบประสาท เมื่อร่างกายของทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ก็อาจทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนหรือสติปัญญาพร่องในเด็ก นอกจากนี้ ยังอาจเกี่ยวข้องกับการขาดสารไอโอดีนของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย เพราะร่างกายของทารกต้องการไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ อาการอาการของโรคเอ๋อ เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ไม่มีอาการที่แสดงออกว่าขาดฮอร์โมนไทรอยด์อย่างชัดเจน แต่อาจมีบางอาการที่แสดงถึงสัญญาณการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น หน้าบวม ลิ้นบวมหนา เด็กร้องไห้มาก งอแง กรีดร้อง นอนนานขึ้นหรือนอนบ่อยขึ้น ท้องอืด ท้องผูก สะดือยื่นออกมา ปัญหาการรับประทานอาหาร กลืนลำบาก ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (Hypotonia) ผิวซีด ผิวเย็น ผิวแห้ง ดีซ่าน โตช้า มีปัญหาในการหายใจ เสียงแหบ ปัญญาอ่อน คอบวมจากต่อมไทรอยด์ที่ขยายใหญ่ขึ้น หรือคอพอก ภาวะแทรกซ้อนของโรคเอ๋อ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ไอคิวของเด็กลดลง กระทบต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกระดูก และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ […]


โรคผิวหนังในเด็ก

7 สาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้า

ลูกเป็นผื่นที่หน้า อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ผื่นผ้าอ้อม ผดร้อน ผื่นไขมัน สิวทารก ที่ส่งผลให้เกิดการคันระคายเคือง บวมแดง เจ็บแสบ เป็นตุ่ม คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดผื่นที่หน้าและผิวหนังส่วนอื่น ๆ ได้โดยการสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกอย่างใกล้ชิดและพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาในทันที 7 สาเหตุที่ทำให้ ลูกเป็นผื่นที่หน้าและเป็นผื่นทั้งตัว  ผื่นที่ขึ้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ 1. ผื่นแพ้อักเสบ เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นต่อเมื่อ ร่างกายของทารกสร้างเซราไมด์ (Ceramide) ที่เป็นเซลล์ไขมันน้อยเกินไป ส่งผลทำให้ผิวของลูกน้อยแห้ง ขาดความชุ่มชื้น จนนำไปสู่การเกิด ผื่นสีแดง หรือสีน้ำตาลอมเทาเป็นวง ตามจุดต่าง ๆ ของผิวหนัง เช่น ศีรษะ จมูก เปลือกตา คิ้ว หลังใบหู ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกช่วง 2-3 เดือน และอาจหายเป็นปกติเมื่ออายุ 8 เดือน อย่างไรก็ตามผื่นแพ้อักเสบ ก็อาจเกิดขึ้นกับเด็กโตจนถึงผู้ใหญ่ได้เช่นกัน วิธีรักษาและการป้องกัน หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่นแพ้อักเสบ เช่น ความร้อน เหงื่อ สารระคายเคืองจากขนสัตว์ สบู่ น้ำหอม ผงซักฟอก รวมทั้งอาหารบางอย่าง นอกจากนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน