สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก

ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร ทำอย่างไรดี

ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเด็กเริ่มเติบโตเร็วขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยหัดเดิน สมองจะสั่งการให้เด็กรับประทานอาหารเท่าที่จำเป็นต่อพลังงานและการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้เด็กอาจรับประทานอาหารน้อยลง แต่เมื่อเด็กโตขึ้นความอยากอาหารจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามช่วงวัย สาเหตุที่ทำให้ลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหาร ลูกวัย 1 ขวบอาจมีความอยากอาหารลดลง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งไม่กระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย ทารกในช่วงปีแรกอาจมีน้ำหนักประมาณ 7-9 กิโลกรัม และน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ปี จากนั้นน้ำหนักจะคงที่ไปเรื่อย ๆ หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ประมาณ 3-4 เดือน ในช่วงนี้ร่างกายของลูกอาจต้องการแคลอรี่น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อความอยากอาหารที่ลดลง การเลือกรับประทานอาหารของเด็กนั้นยังถูกควบคุมโดยสมองที่ให้เลือกกินเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้พลังงานและการเจริญเติบโตของร่างกาย อีกทั้งช่วงนี้เริ่มมีฟันขึ้น อาจทำให้มีอาการเจ็บเหงือกเจ็บฟันทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง เมื่อลูกวัย 1 ขวบเบื่ออาหารอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกกังวลถึงสุขภาพของลูก จนอาจพยายามบังคับให้ลูกกินมากกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งการบังคับให้กินนมหรืออาหารอาจยิ่งทำให้ลูกรู้สึกเบื่ออาหาร ดังนั้น พ่อแม่อาจต้องทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของร่างกายลูกว่า อาการเบื่ออาหารอาจเป็นเรื่องปกติ และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายในประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมื่อลูกได้ควบคุมการกินอาหารด้วยตัวเอง ส่งผลให้ลูกอยากอาหารมากขึ้นและต้องการกินมากขึ้นตามช่วงวัย เพิ่มความอยากอาหารให้ลูกวัย 1 ขวบ เพื่อลดความกังวลให้กับพ่อแม่เมื่อลูกมีอาการเบื่ออาหาร วิธีต่อไปนี้อาจช่วยให้ลูกอยากอาหารมากขึ้น ควรให้ลูกจัดการกินอาหารด้วยตัวเอง เด็กวัย 1 ขวบ […]


สุขภาพเด็ก

ทารกไม่ยอมนอน สาเหตุและวิธีแก้ไข

ทารกไม่ยอมนอน อาจสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่กลัวลูกจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรืออาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น จริง ๆ แล้ว สาเหตุที่ทารกไม่ยอมนอน อาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ความหิว ความตื่นตัว ติดพ่อแม่ ป่วย มีสิ่งรบกวน ปัจจัยเหล่านี้สามารถกระทบการนอนหลับของทารกอาจทำให้ทารกไม่ยอมนอนหรือตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง การจัดการให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นและจัดตารางการนอนอย่างเหมาะสมอาจช่วยให้ทารกนอนหลับง่ายขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทารกไม่ยอมนอน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้ทารกนอนไม่ยอมนอนในตอนกลางคืน อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ทารกหิว ความหิวเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ทารกไม่ยอมนอนและตื่นกลางดึก เนื่องจากทารกแรกเกิดอาจกินนม ประมาณ 1-1.5 ออนซ์/ครั้งและนมจะถูกย่อยอย่างรวดเร็ว ทำให้ทารกหิวง่ายและหิวบ่อยขึ้น ให้ทารกกินนมให้อิ่มแต่พอดี อย่าให้อิ่มมากเกินไปเพราะอาจทำให้ท้องอืดและทำให้นอนหลับไม่สนิทได้ ทารกไม่รู้สึกเหนื่อย ทารกอาจยังรู้สึกสดชื่นมาก เพราะกำลังเล่นหรือเจอสิ่งที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจทำให้ทารกไม่รู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอน รวมถึงการนอนมากในตอนกลางวัน อาจทำให้ไม่เหนื่อยหรือง่วงนอนตอนกลางคืน ทารกต้องการพ่อแม่ ทารกบางคนอาจติดพ่อแม่มาก อยากเล่นกับพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงในเวลากลางคืนจนไม่ยอมนอน หรือหากไม่มีพ่อแม่มากล่อมนอนอาจทำให้ทารกไม่ยอมนอน ทารกไม่สบาย อาจทำให้ทารกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว ร้องไห้งอแงจนไม่ยอมนอน เช่น กรดไหลย้อน ฟันน้ำนมกำลังงอก เป็นหวัด ภูมิแพ้ มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก ทารกไม่รู้ว่าเป็นเวลากลางคืนหรือกลางวัน ทารกบางคนอาจเคยชินกับการนอนตอนกลางวันเป็นเวลานานจนอาจทำให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืน หรือแสงไฟสว่างจากภายนอกอาจทำให้ทารกเข้าใจว่ายังเป็นตอนกลางวันและยังไม่ถึงเวลานอน มีสิ่งรบกวนการนอนของทารก ทารกมักอ่อนไหวต่อแรงกระตุ้นรอบตัวได้ง่าย หากบรรยากาศในห้องไม่อำนวยต่อการนอนหลับของทารก เช่น เสียงดัง มีแสงสว่างมาก […]


สุขภาพเด็ก

วัดอุณหภูมิลูกได้ 36.7 องศา ถือว่า มีไข้ไหม ?

การวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกได้ 36.7 องศา อาจหมายความว่าไม่มีไข้ เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายของเด็กโดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 36.5-37.5 องศา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมอาจส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการผิดปกติอื่น ๆ ของลูกร่วมด้วย เช่น งอแง ร้องไห้ไม่หยุด อาเจียน กินนมน้อย ท้องเสีย ซึม [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายลูก การวัดอุณหภูมิร่างกายลูกควรวัดในอุณหภูมิห้องปกติ และไม่ควรวัดหลังจากลูกอาบน้ำ หรือออกกำลังกายเสร็จ เพราะอุณหภูมิร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงจนทำให้ผลคลาดเคลื่อน อีกทั้งยังควรทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์ก่อนและหลังใช้งาน และไม่ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์เดียวกันวัดอุณหภูมิร่างกายส่วนอื่น เช่น ไม่ควรใช้เทอร์โมมมิเตอร์ที่อมในปากมาหนีบรักแร้ ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วก็ตาม วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายลูกสามารถวัดได้ 5 วิธี ดังนี้ การวัดอุณหภูมิบนหน้าผาก เครื่องเทอร์โมมิเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบดิจิตอล โดยสามารถนำเครื่องไปจ่อไปยังบริเวณหน้าผากของลูก จากนั้นกดปุ่มเพื่อให้เครื่องวัดและแสดงผลบนหน้าจอ การวัดอุณหภูมิทางช่องปาก เครื่องเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลที่มีลักษณะเป็นแท่งยาว วางไว้ใต้ลิ้นของลูก และให้ลูกอมไว้จนกว่าสัญญาณเตือนของเครื่องจะดัง สำหรับแบบปรอทแก้ววัดไข้อาจเหมาะสำหรับใช้ในเด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไป ไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก โดยให้ลูกอมไว้ใต้ลิ้นประมาณ 3 นาที แล้วอ่านผล แต่ไม่ควรใช้กับเด็กเล็กอาจทำให้เด็กเคี้ยวกัดจนปรอทแตกได้ และไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มก่อนวัดอุณหภูมิอย่างน้อย 15 นาที เพื่อป้องกันผลคลาดเคลื่อน การวัดอุณหภูมิบริเวณรักแร้ โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ได้ในรูปแบบดิจิตอลหรือแบบปรอทแก้วธรรมดาวางไว้ใต้รักแร้แนบหนังผิวหนัง หนีบไว้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกเสียงแหบ ที่อาจเกิดจากอาการโคลิก

ทารกเสียงแหบ อาจเกี่ยวข้องกับอาการโคลิก (Colic) ซึ่งเป็นอาการที่ทารกร้องไห้ โวยวาย กรีดร้องบ่อย ๆ มักพบในเด็กอายุ 6 สัปดาห์ อาจมีสาเหตุมาจากความไม่สบายตัวจนทำให้ทารกร้องไห้มากขึ้น จนอาจส่งผลให้กล่องเสียงอักเสบและทำให้ทารกเสียงแหบตามมา เสียงแหบที่เกิดขึ้นในทารกอาจหายได้เอง แต่ถ้าสังเกตพบว่าเสียงยังแหบเรื้อรังหลายวัน สัปดาห์ หรือเป็นเดือน อาจต้องพาทารกเข้าพบคุณหมอ เพื่อตรวจอาการที่เกิดขึ้นและรับการรักษา [embed-health-tool-baby-poop-tool] โคลิก คืออะไร โคลิก คือ อาการของทารกที่ร้องไห้งอแงมากและบ่อยครั้ง อาจพบบ่อยในเด็กทารกอายุประมาณ 6 สัปดาห์ และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป โดยทารกจะร้องไห้ งอแง โวยวายมากขึ้นและบ่อยครั้ง การปลอบโยนหรือการกล่อมให้นอนอาจไม่ช่วยให้อาการร้องไห้งอแงดีขึ้น ส่วนใหญ่อาการมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ส่งผลทำให้พ่อแม่เกิดความเครียด เหนื่อยล้า และกังวลในการดูแลทารก โคลิกเกิดขึ้นได้อย่างไร ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการโคลิก แต่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การให้ทารกกินอาหารมากเกินไป น้อยเกินไป หรือทารกไม่ได้เรอหลังกินอาหาร อาจทำให้ทารกรู้สึกอึดอัดท้อง ไม่สบายตัว หรือหากกินน้อยเกินไปก็อาจทำให้ทารกรู้สึกหิวและร้องไห้งอแงมากขึ้นได้ ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของทารกอาจเกี่ยวข้องกับความสมดุลของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยอาหาร หากทารกกินอาหารที่ย่อยยาก เช่น นมผงบางชนิด อาจทำให้ทารกท้องอืด อาหารไม่ย่อยและร้องไห้มากจนเสียงแหบได้ ระบบย่อยอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทารกอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ การให้ทารกกินอาหารที่ย่อยยากอาจทำให้ทารกท้องอืด […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สัญญาณเตือนและวิธีดูแล

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติในพันธุกรรม ความพิการแต่กำเนิด เด็กกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะจากคนในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวเป็นพื้นฐานแรกที่อาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการ และส่งเสริมสุขภาพจิตใจของเด็กให้ดีขึ้นได้ ซึ่งส่งผลดีต่อการบรรเทาความรุนแรงและควบคุมอาการที่พบในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มเติม สามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอด้านพัฒนาการเด็กโดยตรง เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] ความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก คืออะไร ความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก คือ ภาวะที่เด็กมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและมีความผิดปกติด้านพฤติกรรมทางการปรับตัว โดยทักษะทางเชาวน์ปัญญา หรือความฉลาดทางปัญญา หรือที่เรียกว่าไอคิว (Intellectual functioning หรือ IQ) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ การใช้เหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา เป็นต้น ปกติแล้วคนทั่วไปมักได้คะแนนในการทดสอบระดับไอคิวระหว่าง 90-109 คนที่ IQ 80-89 คือต่ำกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังสามารถเรียนรู้ได้ใกล้เคียงปกติ หากมีระดับต่ำกว่า 70-79 ถือว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญา ส่วนพฤติกรรมทางการปรับตัว (Adaptive Behavior) ถือเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การสื่อสารหรือสื่อความหมาย การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การควบคุมตัวเอง การใช้เวลาว่าง การทำงาน ส่วนใหญ่แล้ว ความบกพร่องทางสติปัญญามักแสดงอาการก่อนอายุ 18 ปี ความบกพร่องทางสติปัญญาอาจเกิดจากการที่แม่ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ LD คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

LD หรือ Learning Disorder คือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ แต่อาจเรียนรู้หรือมีทักษะด้านอื่น ๆ เป็นปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้อาจขาดความมั่นใจและแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพตนเอง ทั้งนี้ พ่อแม่ควรสังเกตอาการของเด็กว่ามีพฤติกรรมอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทั้งที่อยู่ในวัยที่ควรอ่านออกและเขียนได้หรือไม่ หากมีอาการ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขอย่างตรงจุดและทันท่วงที LD คืออะไร  LD ย่อมาจาก Learning Disorder หมายถึง โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือภาวะการเรียนรู้บกพร่อง หรือกลุ่มอาการที่มีปัญหาหรือขาดทักษะด้านการเรียนรู้ ในด้านการอ่าน การเขียน และการคำนวณ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีทักษะในการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ และการพัฒนาทักษะในการเข้าสังคมด้วย อาการของ LD อาการของ LD อาจแบ่งตามทักษะด้านที่บกพร่อง ดังนี้  ความบกพร่องทางการเขียน มีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ทำให้เขียนหนังสือและสะกดคำผิด มักพบร่วมกับความบกพร่องทางการอ่าน ความบกพร่องทางการอ่าน พบได้บ่อยที่สุด เด็กจะมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ อาจส่งผลทำให้เด็กอ่านหนังสือไม่ได้ อ่านได้ช้า อ่านออกเสียงได้ไม่ชัด เป็นต้น ความบกพร่องทางการคำนวณ เด็กจะไม่เข้าใจเรื่องตัวเลขและการคำนวณ ไม่สามารถบวก ลบ […]


สุขภาพเด็ก

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม อาการ สาเหตุ การรักษา

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม โดยมีโครโมโซมคู่ที่ 18 (Trisomy 18) เกินมา 1 แท่ง ซึ่งอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของทารกพัฒนาผิดปกติ เช่น หัวใจ ปอด ไตพิการ ทารกที่เป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมมักเสียชีวิตก่อนหรือหลังคลอดได้ไม่นาน แต่ในบางกรณี ทารกอาจมีชีวิตหลังการคลอดได้นานกว่า 1 ปี อย่างไรก็ตาม เอ็ดเวิร์ดซินโดรมเป็นภาวะที่พบได้น้อย คุณหมออาจวินิจฉัยอาการจากการอัลตราซาวด์ว่าทารกในครรภ์มารดามีภาวะเอ็ดเวิร์ดซินโดรมหรือไม่ หรือมีการตรวจดูโครโมโซมพบความผิดปกติได้ คำจำกัดความเอ็ดเวิร์ดซินโดรม คืออะไร  เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward’s Syndrome) คือ อาการที่เกิดจากโรคทางพันธุกรรม ที่มีจำนวนโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง ซึ่งโดยปกติทารกจะได้รับโครโมโซมจากพ่อและแม่อย่างละ 23 คู่ รวมเป็น 46 แท่ง แต่บางครั้งไข่ของผู้หญิงและอสุจิของผู้ชายอาจมีจำนวนโครโมโซมผิดปกติหรือบกพร่อง เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วความผิดพลาดนี้อาจส่งผลกระทบต่อทารก อาจทำให้เกิดภาวะเอ็ดเวิร์ดซินโดรมได้ โดยเอ็ดเวิร์ดซินโดรมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Full เป็นประเภทที่พบได้บ่อย เกิดจากโครโมโซมมีจำนวนมากกว่าปกติในเซลล์ของทารกทุกเซลล์ โดยทารกที่เป็นประเภทนี้ส่วนมากมักเสียชีวิตก่อนเกิด  Mosaic เป็นประเภทที่พบได้น้อย เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมาในบางเซลล์ของทารก […]


สุขภาพเด็ก

อาหารสำหรับเด็ก ที่อุดมไปด้วยโภชนาการ

อาหารสำหรับเด็ก ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ อาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและสุขภาพร่างกายที่ดีให้กับเด็ก เด็กและวัยรุ่นควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ แต่เด็กในแต่ละช่วงวัยมีความต้องการสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่แตกต่างกันไป คุณพ่อและคุณแม่จึงควรเลือกสรรอาหารที่เหมาะสมให้กับลูก เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างสมวัย [embed-health-tool-”bmi”] อาหารสำหรับเด็ก ที่มีประโยชน์ มีอะไรบ้าง อาหารสำหรับเด็ก ที่มีประโยชน์ มีอะไรบ้าง 1. โปรตีน  โปรตีนอาจช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อภายในร่างกายให้เด็ก ๆ โดยอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อสัตว์ปีก ไข่ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน 2. ผัก  ผักหลากหลายชนิด เช่น กลุ่มผักสีเขียว สีแดง สีส้ม และถั่วลันเตาล้วนอุดมไปด้วยแร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินจากธรรมชาติ ที่อาจช่วยปรับปรุงระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวน โรคสมองเสื่อมในเด็ก 3. ผลไม้  ผลไม้สด หรือน้ำผลไม้สด 100% ปราศจากน้ำตาล มีวิตามิน แร่ธาตุ เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ  ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ มะเร็ง โรคเบาหวาน โดยผลไม้ที่อาจให้วิตามินสูง […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กพิเศษ สังเกตอย่างไร และการดูแลที่เหมาะสม

เด็กพิเศษ หรือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ กลุ่มเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ การดูแล และการบำบัดฟื้นฟู แบ่งเป็น เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ และเด็กยากจนและด้อยโอกาส เด็กพิเศษควรได้รับการดูแลด้านร่างกาย การใช้ชีวิต การเรียนรู้ทางวิชาการและการเข้าสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพให้มากขึ้นตามความสามารถของเด็ก โดยการช่วยเหลือและการดูแลอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคนด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภทของเด็กพิเศษ เด็กพิเศษแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ และเด็กยากจนและด้อยโอกาส ดังนี้ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ (Gifted or Talented Child) คือ เด็กที่มีความฉลาดและสติปัญญาที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มี IQ 130 ขึ้นไป มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถทำให้สำเร็จได้จริง รวมถึงเด็กที่มีความสามารถเฉพาะทางที่สูงกว่าปกติ เช่น ดนตรี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ศิลปะ กีฬา เด็กกลุ่มนี้ถือเป็นเด็กพิเศษที่ควรได้รับการสนับสนุนทางความสามารถ และอาจต้องได้รับการเยียวยาจิตใจ เพราะครอบครัว เพื่อนฝูงและที่โรงเรียน อาจคาดหวังในความสามารถและสติปัญหาที่เป็นเลิศ จนเด็กรู้สึกกดดันมาก หรือถูกละเลยความรู้สึก หรืออาจไม่ได้รับการดูแลทางร่างกายและจิตใจ […]


สุขภาพเด็ก

EQ คืออะไร และสำคัญอย่างไร

EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอารมณ์ การแก้ไขปัญหา และการรับรู้อารมณ์ของตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อน และบุคคลอื่น ๆ ในสังคม [embed-health-tool-bmi] EQ คืออะไร EQ (Emotional Quotient หรือ Emotional Intelligence) หรือความฉลาดทางด้านอารมณ์ หมายถึงความสามารถในจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อพบเจอกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงอาจสามารถพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้อารมณ์ การจัดการกับอารมณ์ การเข้าใจอารมณ์ของตนเองและบุคคลอื่น การตัดสินใจกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก รวมถึงยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แน่นแฟ้น IQ และ EQ เป็นความฉลาดทั้งคู่ แต่มีความแตกต่างกัน เพราะ IQ คือ ความฉลาดทางการเรียนรู้ด้านสติปัญญา เป็นความสามารถหลายประเภท เช่น การคิด วิเคราะห์ทางวิชาการ การใช้เหตุผล รวมถึงพวกด้านศิลปะ ด้านดนตรี ด้านกีฬา ซึ่งอาจสามารถทดสอบได้จากคะแนนสอบวัดผลระดับในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของ EQ ก็ไม่น้อยไปกว่า IQ เพราะ EQ เป็นความสามารถในการรับรู้เข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน