สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคดาวน์ซินโดรม เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีหน้าตาลักษณะเฉพาะ ส่งผลทำให้เกิดความบกพร่องทางพฤติกรรม สติปัญญา พัฒนาการตั้งแต่เด็ก ซึ่งอาจมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล โดยอาจสังเกตได้จากอาการสมาธิสั้น ปัญหาด้านการเรียนรู้ และปัญหาด้านการสื่อสาร บางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านโรคหัวใจ โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคพร่องฮอร์โมน โรคดาวน์ซินโดรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถฝึกฝนเพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารและการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ แต่ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และต้องรักษาภาวะโดรคที่เกิดร่วม คำจำกัดความโรคดาวน์ซินโดรม คืออะไร โรคดาวน์ซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการที่โครโมโซมในร่างกายคู่ที่ 21 เกินมา จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และพัฒนาการของร่างกาย อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น การได้ยิน และการทำงานของหัวใจ โรคดาวน์ซินโดรมไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่อาจรักษาตามอาการ และให้ลูกเรียนรู้ในการอยู่กับโรคเพื่อให้ใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น อาการอาการของโรคดาวน์ซินโดรม อาการของโรคดาวน์ซินโดรม อาจสังเกตได้จาก หน้าตาที่มีลักษณะเฉพาะ ศีรษะ หู มือ และเท้า มีขนาดเล็ก คอสั้น ผิวหนังด้านหลังคอย่น จมูกแบนราบ รอยพับบนฝ่ามือและนิ้วที่มีความย่นของผิวหนัง จุดสีขาวเล็ก ๆ ในม่านตา รูปทรงดวงตาคล้ายถั่วอัลมอนด์และมีลักษณะเอียงขึ้น ปากขนาดเล็ก จนลิ้นอาจยื่นออกจากปาก ลิ้นจุกปาก มีปัญหาด้านการมองเห็นและการได้ยิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อต่อหลวม การเจริญเติบโตล่าช้า ความจำสั้น สมาธิสั้น ปัญญาอ่อน พูดไม่ชัด ไม่เป็นคำ เนื่องจากมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า การทำงานของหัวใจบกพร่อง ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ สาเหตุสาเหตุของโรคดาวน์ซินโดรม สาเหตุของโรคดาวน์ซินโดรมเกิดจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 (Trisomy 21) เกินมา โดยปกติแล้วร่างกายจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการดาวน์ซินโดรม สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อน และวิธีดูแลที่ควรรู้

อาการดาวน์ซินโดรม คือภาวะทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางพฤติกรรม สติปัญญา และพัฒนาการ ซึ่งอาจสังเกตได้จากการเรียนรู้ล่าช้า ชอบทำกิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำกันเป็นกิจวัตร คุณพ่อคุณแม่ควรใช้ความเข้าใจในการดูแลลูกที่เป็นดาวน์ซินโดรม อีกทั้งควรพาเข้ารับการบำบัดตามโปรแกรมที่คุณหมอแนะนำ เพื่อให้ลูกสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต อาการดาวน์ซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร โดยปกติแล้วร่างกายจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ที่ได้รับจากคุณพ่อคุณแม่อย่างละครึ่ง แต่หากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง รวมเป็น 47 แท่ง ดังนั้นจึงอาจส่งผลให้ลูกเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม ดาวน์ซินโดรมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่  ไตรโซมี 21 (Trisomy 21) คือภาวะที่ โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ชุด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด Translocation Down syndrome คือภาวะที่โครโมโซมคู่ที่ 21 แบ่งตัวออก แล้วเคลื่อนย้ายไปติดกับโครโมโซมคู่อื่น ๆ Mosaic Down syndrome เป็นภาวะที่เกิดจากการแบ่งตัวของโครโมโซมผิดปกติหลังจากที่มีการแบ่งตัวไปบางส่วนแล้ว ทำให้ร่างกายอาจมีโครโมโซม […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

กลุ่มอาการดาวน์ เกิดจากอะไร และควรดูแลลูกอย่างไร

กลุ่มอาการดาวน์ หรือดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจแสดงอาการตั้งแต่เด็ก โดยอาจสังเกตได้จากพฤติกรรม การแสดงออก การสื่อสาร และการเรียนรู้ที่ล่าช้า สมาธิสั้น ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถฝึกทักษะต่าง ๆ เพิ่มช่วยส่งเสริมให้ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต กลุ่มอาการดาวน์ เกิดจากอะไร กลุ่มอาการดาวน์ เป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในคู่ที่ 21 โดยปกติแล้วร่างกายจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ที่ได้รับจากคุณพ่อคุณแม่อย่างละครึ่ง แต่หากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง รวมเป็น 47 แท่ง ก็อาจเสี่ยงเป็นกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ส่งผลให้ลูกอาจมีสติปัญญาบกพร่อง มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้ล่าช้า อีกทั้งยังอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ การมองเห็นและการได้ยินผิดปกติ ประเภทของกลุ่มอาการดาวน์ ประเภทของกลุ่มอาการดาวน์ มี 3 ประเภท ดังนี้  Trisomy 21 เป็นประเภทที่พบได้บ่อย เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง Translocation Down syndrome คือภาวะที่โครโมโซมคู่ที่ […]


วัคซีน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ การฉีดวัคซีน โควิด-19 สำหรับเด็ก

การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อได้ โดยสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบขึ้นไป หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ อีกทั้งยังควรปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ให้ลูกสวมหน้ากากอนามัย ฝึกให้ลูกล้างมือบ่อย ๆ และไม่ควรพาลูกไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง มีผู้คนมาก เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทำไมเด็กจึงควรรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โรคโควิด-19 สามารถเป็นได้ทุกช่วงวัย ไม่เว้นแม้แต่วัยเด็ก จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทยระบุว่า เด็กอายุแรกเกิด-18 ปี ที่ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ เดือนเมษายน-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีทั้งหมด 310,648 ราย เสียชีวิตสะสม 59 ราย อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อในเด็กลดลงต่อเนื่อง และมีจำนวนเด็กเสียชีวิตน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงอายุอื่น ๆ การพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยสร้างแอนติบอดี ลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรง และลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังคนอื่น ๆโดยเฉพาะเมื่อได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดสตามกำหนด อายุที่เหมาะสมสำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ขวบ สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่าควรปรึกษาคุณหมอ เพราะอาจจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาชัดเจนมากเพียงพอ ชนิดของวัคซีนโควิด-19 ที่เหมาะสำหรับเด็ก สำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 5-17 ปี อาจเหมาะสำหรับวัคซีน Pfizer-BioNTech […]


สุขภาพเด็ก

ลูกไม่ยอมนอน เกิดจากอะไร ควรแก้ไขอย่างไร

ลูกไม่ยอมนอน ตื่นกลางคืนบ่อย หรือหลับยาก อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น นอนกลางวันมากเกินไป อยู่ในช่วงวัยที่ห่วงเล่น ความเจ็บป่วย และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่รบกวนการนอนหลับของลูก หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกพักผ่อนเพียงพอ ควรศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้สนิท เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียระหว่างวัน สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอน ลูกไม่ยอมนอน อาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ นอนกลางวันมากเกินไป ลูกอาจรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำกิจกรรมระหว่างวัน เช่น วิ่งเล่น เล่นกีฬา จนอาจเผลองีบหลับในตอนกลางวันนานเกินไป ทำให้ไม่รู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลาที่ควรนอน และอาจตื่นในตอนกลางคืน อยู่ในช่วงวัยห่วงเล่น เมื่อลูกเริ่มมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว การเรียนรู้ และการเข้าสังคมมากขึ้น อาจทำให้มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ห่วงเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อน หรือของเล่นต่าง ๆ จนทำให้ลูกไม่ยอมนอน การเจ็บป่วย ความรู้สึกไม่สบายตัวจากการเจ็บป่วย อาจทำให้ลูกไม่ยอมนอนหรือหลับไม่สนิท ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้ ท้องเสีย กินอาหารได้น้อย ร้องไห้ สภาพแวดล้อม เช่น อากาศภายในห้องร้อนเกินไป เสียงรบกวน แสงไฟ การเคลื่อนไหวของคุณพ่อคุณแม่ อาจรบกวนการนอนของลูกทำให้ลูกสะดุ้งตื่นและไม่ยอมนอนอีก ความหิว เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในทารก เนื่องจากลูกน้อยมีกระเพาะอาหารขนาดเล็ก ทำให้จุอาหารได้น้อย และย่อยอาหารได้เร็ว […]


สุขภาพเด็ก

ลูกตื่นกลางดึก และคำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่

ลูกตื่นกลางดึก เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่อาจพบเจอ โดยเฉพาะในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น สภาพแวดล้อมที่รบกวนการนอนหลับ รู้สึกหิว ไม่สบายตัวจากการเจ็บป่วย อีกทั้งการที่ลูกตื่นกลางดึกบ่อยครั้งอาจส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่นอนพักผ่อนไม่เต็มที่ จนเกิดความเครียด รู้สึกเหนื่อยล้า ดังนั้น จึงควรดูแลตัวเอง เพิ่มความผ่อนคลาย และนอนหลับให้เพียงพอ ลูกตื่นกลางดึก เกิดจากอะไร ลูกตื่นกลางดึกอาจเกิดจากหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้ อยู่ในช่วงปรับตัว เพราะทารกแรกเกิดจำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับโลกภายนอกหลังคลอด จึงอาจยังไม่รู้เวลาการนอนที่เหมาะสม ส่งผลให้อาจตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง รู้สึกหิว พบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากลูกน้อยมีกระเพาะอาหารขนาดเล็ก ทำให้จุอาหารได้น้อย ย่อยอาหารได้เร็ว ลูกจึงอาจรู้สึกหิวบ่อยจนทำให้ตื่นกลางดึก ทารกที่รู้สึกหิวมักจะตื่นและส่งสัญญาณด้วยการร้องไห้ให้คุณพ่อคุณแม่ทราบ ฟันเริ่มงอก เมื่อลูกอายุได้ 4-6 เดือน ฟันจะเริ่มงอก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บและปวดเหงือก จึงทำให้ลูกมักสะดุ้งตื่นกลางดึก นอนกลางวันมากเกินไป ถึงแม้ทารกจะต้องการเวลานอนมากถึง 16 ชั่วโมง/วัน แต่การนอนในแต่ละครั้งใช้เวลาสั้น ๆ เท่านั้น ดังนั้น จึงไม่ควรปล่อยให้นอนช่วงกลางวันนานเกินไป นอกจากนี้ สำหรับลูกอยู่ในช่วงวัยที่มีความคล่องตัว มีการเคลื่อนไหว อาจรู้สึกเหนื่อยล้าจากการเล่นระหว่างวัน ทำให้อาจเผลองีบหลับในตอนกลางวันเป็นเวลานาน จนทำให้ไม่รู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลาที่ควรนอน หรือตื่นขึ้นกลางดึก มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ทารกอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี หรืออาจเป็นเพราะกลืนอากาศมากเกินไปขณะกินนมจึงทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร […]


สุขภาพเด็ก

6 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่พบบ่อย

โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือการกลายพันธุ์ของยีนในร่างกาย และสามารถสืบทอดกันภายในครอบครัว โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อย ได้แก่ ฮีโมฟีเลีย โรคกล้ามเนื้อเสื่อม โรคโลหิตจางเซลล์เคียว (Sickle Cell Disease) โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) โรคเตย์-แซคส์  (Tay-Sachs Disease) โรคฮันติงตัน (Huntington's Disease) ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและสติปัญญาตั้งแต่ยังเป็นทารก โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คืออะไร โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ โรคที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวโดยอาจถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมด และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปได้ด้วย โดยโรคทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เช่น สีผิว ความสูง ไอคิว ซึ่งหากยีนของพ่อหรือแม่มีความผิดปกติก็อาจทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปและทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรม 6 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อย มีดังนี้ โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัว ซึ่งนำไปสู่การตกเลือดหรือเลือดไหลไม่หยุดเมื่อบาดเจ็บหรือทำการผ่าตัด มีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีนไปขัดขวางการทำงานของโปรตีนในร่างกายทำให้เลือดไม่สามารถแข็งตัวได้ อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อน ดังนี้ เลือดออกภายในข้อต่อ อาจนำไปสู่โรคข้อเรื้อรังและทำให้เกิดอาการปวด เลือดออกในศีรษะและสมอง อาจทำให้เกิดปัญหาระยะยาว เช่น อาการชัก อัมพาต เสียชีวิต หากไม่สามารถหยุดเลือดในอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง อาการที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ได้แก่ เลือดออกในข้อต่อ […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

เด็กออทิสติก สัญญาณเตือน และวิธีดูแล

เด็กออทิสติก เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของพัฒนาการ ซึ่งอาจอาจเกิดปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส การคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถสังเกตสัญญาณเตือนได้จากลักษณะการพูด การตอบสนองช้า ชอบเล่นคนเดียว บางคนอาจก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคออทิสติกและขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำวิธีดูแลลูกอย่างถูกต้อง โรคออทิสติก คืออะไร โรคออทิสติก คือ โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของพัฒนาการเด็ก เช่น พัฒนาการด้านภาษา การสื่อสาร การเข้าสังคม ที่อาจมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน อาจมีพฤติกรรมทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำ ๆ เป็นกิจวัตร และอาจมีปัญหาในการทำความเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของคนรอบข้าง แต่ยังคงมีความรู้สึกรัก ชอบ หรือไม่ชอบตามปกติ มักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง สาเหตุที่ทำให้เป็นเด็กออทิสติก สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นออทิสติกยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าอาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ พันธุกรรม โรคออทิสติกอาจมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการเรตต์ (Rett syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ส่งผลให้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การพูดสื่อสาร และกลุ่มอาการโครโมโซมเอ็กซ์เปราะบาง (Fragile X syndrome) ส่งผลให้เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญา พัฒนาการการพูด การเรียนรู้ล่าช้า นำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคออทิสติก การไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด การฉีดวัคซีนควรเริ่มตั้งแต่เด็กวัยแรกเกิด เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นออทิสติกจากการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้พัฒนาการทางสมองและพฤติกรรมผิดปกติ ซึ่งวัคซีนสำหรับเด็ก ได้แก่ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกนอนยาก เกิดจากอะไร แก้ไขได้อย่างไรบ้าง

ลูกนอนยาก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและสามารถพบได้ในเด็กในทุกช่วงวัย ซึ่งอาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะนอกจากจะกระทบกับเวลาพักผ่อนของคุณพ่อคุณแม่แล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการและสุขภาพของลูกที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต ลูกนอนยากสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ยังเล็กเกินไปและยังนอนไม่เป็นเวลา เหนื่อยเกินไป ยังไม่ชินกับการนอนคนเดียว โดยวิธีแก้ไขปัญหาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจธรรมชาติของลูกในแต่ละวัย หาสาเหตุที่ลูกนอนยาก และหาวิธีช่วยให้ลูกนอนหลับได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] เวลานอนที่เหมาะสมของเด็กแต่ละช่วงวัย ทารกแรกเกิด-2 เดือน ต้องการเวลานอนประมาณ 14-15 ชั่วโมง/วัน ในวัยนี้ทารกยังไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน และยังต้องกินนมทุก ๆ 2 ชั่วโมง ทำให้ตื่นและนอนหลับไม่เป็นเวลา ทารก 3 เดือน-6 เดือน ต้องการเวลานอนประมาณ 14-15 ชั่วโมง/วัน รูปแบบการนอนหลับจะเหมือนของผู้ใหญ่มากขึ้น สามารถนอนติดต่อกันในเวลากลางคืนได้ประมาณ 6 ชั่วโมง อาจนอนกลางวันประมาณ 2-3 ครั้ง ทารก 6 เดือน-1 ขวบ ต้องการเวลานอนประมาณ 14-15 ชั่วโมง/วัน ทารกในวัยนี้สามารถจำเวลานอนของตัวเองได้แล้วและสามารถนอนติดต่อกันในตอนกลางคืนได้นานมากกว่า 6 ชั่วโมง แต่สำหรับบางคน อาจนอนไม่ถึง 6 ชั่วโมง ซึ่งยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ มีงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Pediatrics พ.ศ. […]


สุขภาพเด็ก

วัดไอคิว ในเด็กมีประโยชน์อย่างไร

ไอคิว (IQ) ย่อมาจาก Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา ความเข้าใจ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ความคิด ไหวพริบ การวัดไอคิวในเด็กอาจสามารถช่วยชี้วัดความฉลาดทางสติปัญญาและประเมินทักษะต่าง ๆ ว่า เด็กมีพัฒนาการ ความสามารถ และพรสวรรค์ในด้านใดบ้าง เพื่อให้สามารถหาวิธีส่งเสริมและฝึกฝนให้เด็กมีพัฒนาการมากขึ้น วัดไอคิว มีประโยชน์อย่างไร วัดไอคิว ทำเพื่อประเมินความฉลาดทางสติปัญหา ความคิด และไหวพริบในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจสามารถช่วยให้ทราบถึงพรสวรรค์และความสามารถของเด็กบางคน และในเด็กบางคนที่มีความบกพร่องบางด้าน การวัดไอคิวก็ทำให้สามารถวางแผนการเรียนการสอนรวมถึงปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ แก้ไขจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งในด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จด้านการเรียน การงาน การใช้ชีวิตในอนาคตเมื่อเติบโต อย่างไรก็ตาม การมีไอคิวสูงไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตเสมอไป และการมีไอคิวต่ำก็ไม่ได้หมายความว่าจะล้มเหลวด้านการเรียนเสมอไป เนื่องจากอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น การอบรมเลี้ยงดู การเรียนรู้ สภาพแวดล้อม รวมไปถึงปัจจัยด้านพฤติกรรมที่อาจส่งผลต่อโอกาสในการประสบความสำเร็จของเด็กด้วยเช่นกัน แบบทดสอบการวัดไอคิวในเด็ก แบบทดสอบการวัดไอคิวในเด็ก มีดังนี้ การทดสอบด้านภาษาและการพูด เพื่อชี้วัดให้เห็นถึงความสามารถในการใช้ภาษาของเด็ก และความเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น การทดสอบการคำนวณ เป็นการทดสอบเกี่ยวกับการคำนวณหาผลลัพธ์ที่ได้จากการบวก ลบ คูณ หาร เพื่อชี้วัดว่าเด็กมีทักษะในการคิดเลขถูกต้องหรือไม่ การทดสอบด้านการคิดวิเคราะห์และใช้เหตุผล เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างกัน การทดสอบนี้อาจชี้ให้เห็นถึงหลักการคิดวิเคราะห์และอธิบายด้วยเหตุผลออกมาตามความเข้าใจของเด็กได้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน