เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการของ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน (2-6 ปี) เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เด็กวัยนี้ต้องการการดูแลเอาใจใส่ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านโภชนาการ การฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ทั้งทักษะการขับถ่าย ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

จักรยานเด็ก เสริมสร้างพัฒนาการ และวิธีเลือกให้เหมาะกับวัย

การปั่นจักรยานสามารถปั่นได้ทุกวัย เพียงแต่ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยและสรีระร่างกาย สำหรับประโยชน์ของการปั่นจักรยานนอกจากช่วยให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะทางร่างกาย ซึ่งเด็กเล็ก ๆ ก็สามารถ ปั่นจักรยานเด็ก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีได้ด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] จักรยานเด็ก เริ่มปั่นได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ จักรยานเด็กในช่วงวัย 2-4 ปี :   ช่วงวัย 2-4 ปี หรือวัยก่อนอนุบาล เด็กเล็กสามารถฝึกกล้ามเนื้อได้ด้วยจักรยาน 3 ล้อ ให้เด็กค่อย ๆ ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการฝึกทรงตัว โดยจักรยาน 3 ล้อ จะมีล้อใหญ่ข้างหน้า 1 ล้อ ส่วน 2 ล้อหลังเป็นล้อขนาดเล็ก คอยพยุงตัวเด็กให้สามารถปั่นจักรยานได้ง่าย  จักรยานขาไถหรือจักรยานทรงตัว ช่วงวัย 2-5 ปี :  จักรยานขาไถ เป็นชื่อเรียกตามรูปทรงของจักรยาน เป็นจักรยานสำหรับเด็กที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าด้วยการใช้ขาไถ จักรยานเด็กแบบนี้จะช่วยฝึกเรื่องการทรงตัว จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรยานทรงตัว (Balance Bike) หน้าล้อของจักรยานจะกว้าง ช่วยลดแรงกระแทก  วิธีเลือกจักรยานเด็ก จักรยานเด็กควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปร่างของเด็ก จึงควรให้เด็กมาทดลองนั่ง ลองปั่นดูว่ารู้สึกพอดีกับรูปร่างหรือไม่ ความยาวของขาเด็กควรพอดีกับขาถีบ ให้เด็กลุกขึ้นยืนบนพื้นคร่อมจักรยานไว้ จะสังเกตเห็นว่าอานอยู่พอดีกับเป้ากางเกงของเด็กหรือไม่ เมื่อใช้เท้าถีบจักรยานแล้วต้องงอเข่าพอดี […]

หมวดหมู่ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ของใช้เด็กที่จำเป็น มีอะไรบ้าง และวิธีเลือกของใช้เด็กที่เหมาะสม

ของใช้เด็ก สำหรับเด็กทารกถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อของใช้เด็กที่จำเป็น เช่น เสื้อผ้าเด็กอ่อน ของใช้ในการอาบน้ำสำหรับเด็ก อุปกรณ์การนอนของเด็ก อุปกรณ์ในการทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เบาะนั่งในรถยนต์สำหรับเด็ก (Car Seat) อย่างรอบคอบและใส่ใจ โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความคุ้มค่า และความปลอดภัยของเด็กในการใช้งานมากที่สุด ของใช้เด็ก ที่จำเป็น มีอะไรบ้าง หมวดเครื่องแต่งกายสำหรับเด็ก เครื่องแต่งกายที่จำเป็นสำหรับเด็ก มีดังนี้ ควรเลือกให้เหมาะกับวัยของเด็ก ในช่วงแรกเกิดเด็กจะโตไวมาก จึงไม่ควรซื้อเสื้อผ้าเก็บไว้เยอะเพราะอาจไม่ทันใช้ หรืออาจต้องซื้อใหม่ทั้งที่ใส่ไปไม่กี่ครั้งหรือเพิ่งซื้อมา เสื้อผ้าเด็กอ่อนที่จำเป็น ได้แก่ ชุดเด็กแบบชิ้นเดียว ชุดนอนเด็กชิ้นเดียวที่แบบกระดุมหน้า ถุงเท้าเด็กสำหรับใส่กันหนาวเวลานอนหรือออกไปข้างนอก เสื้อกันหนาวหรือเสื้อกันลม ผ้าห่อตัว หมวกใส่กันลม การเลือกเสื้อผ้าให้เด็กควรเน้นเรื่องความสบายในการสวมใส่ และควรเหมาะกับสภาพอากาศ เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก วิธีเลือกเสื้อผ้าเด็กอ่อน เลือกชุดที่ทำจากวัสดุธรรมชาติที่อ่อนโยนต่อผิวและระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย ผ้าจากเยื่อไผ่ เพราะเด็กจะได้สวมใส่สบาย ไม่ระคายเคืองผิว เลี่ยงการใช้เสื้อผ้าที่มีกระดุมขนาดเล็ก โบว์ตกแต่ง เพราะเด็กอาจดึงหรือหยิบเข้าปาก จนอาจติดหลอดลมหรือสำลัก หรืออาจไปพันคอตอนเด็กหลับ ควรเลือกขนาดเสื้อผ้าของเด็กตามขนาดตัวมากกว่าช่วงอายุ เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีขนาดตัวไม่เท่ากันแม้จะมีอายุที่ใกล้เคียงกัน เลือกเสื้อผ้าที่ใส่และถอดง่าย เช่น เสื้อผ้าที่มีซิปด้านหน้า เสื้อผ้าที่แขนหลวมและบาน เสื้อแบบผูกจากด้านหลัง เสื้อที่มีคอกว้าง หมวดของใช้ในการอาบน้ำสำหรับเด็ก อุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำสำหรับเด็ก มีดังนี้ […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กเกเร สาเหตุ และวิธีรับมือที่ควรรู้

พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ หรือการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมของเด็ก เช่น เด็กเกเร เด็กก้าวร้าว สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เด็กอาจจะเหนื่อย หิว ตื่นเต้นมากเกินไป หรือบางครั้ง เด็กอาจแค่เบื่อเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาสาเหตุที่อาจทำให้เด็กเกเร และเรียนรู้วิธีที่จะช่วยให้เด็กปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้นอย่างเหมาะสม สาเหตุที่ทำให้เด็กเกเร เมื่ออายุได้ 1-4 ขวบ เด็กจะเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่ก็ยังต้องการความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ และยังรับมือกับความผิดหวังและอารมณ์ของตัวเองได้ไม่ดี ทั้งยังสื่อสารความต้องการหรือความรู้สึกได้ไม่มากนัก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ เมื่อโดนบังคับหรือขัดใจ เด็กจึงมักแสดงพฤติกรรมที่อาจดูเป็นเด็กเกเร เช่น ก้าวร้าว รุนแรง ไม่เชื่อฟัง เอาแต่ใจตัวเอง ลงไปนอนร้องไห้กับพื้น ขว้างปาสิ่งของ หรือแผดเสียงร้อง การที่เด็กเกเรไม่เชื่อฟัง อาจเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ ความหิว ความเหนื่อยล้า ความไม่พอใจ ต้องการความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ ต้องการของบางอย่าง เช่น ตุ๊กตา ของเล่น ต้องการแสดงออกว่าไม่อยากทำสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ เช่น เก็บของเล่น ทำความสะอาด พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้อาจลดลงเมื่อเข้าเรียนในโรงเรียน ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กสามารถพูดและสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจในความต้องการได้มากขึ้นแล้ว วิธีรับมือเมื่อ เด็กเกเร วิธีดังต่อไปนี้ อาจช่วยแก้ไขปัญหาเด็กเกเร ไม่เชื่อฟังได้ พูดคุยกับเด็กโดยตรง พูดคุยสะท้อนอารมณ์ของเด็กให้เด็กรู้จักอารมณ์ของตัวเองขณะนั้น เช่น หนูกำลังโมโห หนูกำลังไม่พอใจ หนูอยากได้ของเล่นชิ้นนี้ใช่ไหม […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกไม่ยอมกินอะไรเลย คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

ลูกไม่ยอมกินอะไรเลย อาจเป็นปัญหาที่ควรรีบแก้ไข และศึกษาวิธีที่ทำให้ลูกสามารถกินได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบถึงสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อย โดยอาจลองหาวิธีต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกต้องการกินอาหาร เช่น ให้ลูกกินอาหารตรงเวลาทุกมื้อ ลองทำเมนูใหม่ ๆ ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม เป็นต้น อาจจะสามารถช่วยให้ลูกกลับมากินอาหารได้มากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกไม่ยอมกินอะไรเลย เกิดจากอะไร ปัญหาลูกไม่ยอมกินอาหาร อาจเกิดมาจากสาเหตุต่อไปนี้ บังคับให้ลูกกินอาหารมากเกินไป เมื่อเห็นว่าลูกกินอาหารได้น้อยลงกว่าที่เคยเป็น คุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้วิธีแก้ไขปัญหาที่ผิด เช่น ดุว่า ลงโทษ หรือบังคับให้ลูกกินให้หมดจาน โดยไม่รู้ว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้ลูกไม่กินในขณะนั้น เช่น ปริมาณที่ลูกกินได้ในหนึ่งมื้ออาจมากเกินไป หรือลูกยังอิ่มขนมอยู่ การว่ากล่าวอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีที่จะกินอาหารจนลูกเกิดอาการต่อต้านและไม่ยอมกินอะไรเลย กินน้ำตาลมากเกินไป การกินขนมขบเคี้ยวหรือขนมหวานเป็นประจำอาจทำให้ลูกติดน้ำตาล และเลือกที่จะขอกินอาหารหวาน ๆ แทนที่จะกินอาหารปกติ เช่น กินเพียงคุกกี้ในระหว่างวัน หรือต้องการกินแค่ของหวานในมื้อเย็น คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกขนมหรืออาหารว่างแบบที่มีน้ำตาลน้อยให้ลูก เช่น โยเกิร์ตไม่มีน้ำตาล ผลไม้อย่างกล้วย แอปเปิ้ลหั่นเป็นชิ้น เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และไม่ติดหวาน ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เมื่อโตขึ้น มีสิ่งรบกวนที่ทำให้ไม่สนใจอาหาร ลูกอาจห่วงเล่นจนไม่อยากกินอาหารเมื่อถึงเวลาที่ต้องกิน เช่น ต้องการเล่นของเล่นจนไม่อยากทำอย่างอื่น หรือติดดูการ์ตูนโทรทัศน์จนไม่ยอมกินอะไรเลย เพราะความสนใจทั้งหมดอยู่ที่การ์ตูนจนทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เมนูอาหารลูกน้อยวัย 2 ขวบ และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

ลูกน้อยวัย 2 ขวบ เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต เรียนรู้ที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ และมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา ภาษา และการสื่อสาร โภชนาการด้านอาหารที่ดีนับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลููก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก เมนูอาหารลูกน้อยวัย 2 ขวบ ที่ให้คุณค่าทางอาหารครบถ้วน และศึกษาอาหารบางชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมของช่วงวัย อาหารที่มีประโยชน์กับลูกวัย 2 ขวบ อาหารที่มีประโยชน์สำหรับลูกน้อย มีดังนี้ 1. โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย มีกรดอะมิโนที่ช่วยเสริมสร้างเซลล์ที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และยังให้พลังงานที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย พบมากในอาหารทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ไก่ นม อาหารประเภทถั่วต่าง ๆ เป็นต้น ปริมาณโปรตีนที่ลูกควรได้รับต่อวัน (อย่างน้อย 2 ส่วน/วัน) โดย 1 ส่วนมีดังนี้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไก่ ปลา น้ำหนักสุก 30 กรัม  น้ำหนักดิบ 40 กรัม ถั่วประเภทต่าง ๆ 2-4 ช้อนโต๊ะ ไข่ไก่ 1 […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกไม่ยอมกินข้าว 3 ขวบ ควรทำอย่างไร

ลูกไม่ยอมกินข้าว ในวัย 3 ขวบ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวล เพราะบางครั้งลูกสามารถที่จะกินข้าวได้ติดต่อกันหลายวัน แต่ในบางวันก็กินได้น้อยลง ไม่มีความต้องการกินเลย หรือบางครั้งก็เลือกกินเฉพาะอาหารที่ชอบเท่านั้น สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินข้าวเกิดได้จากหลายอย่าง เช่น เบื่ออาหาร โดนบังคับ ลูกต้องการความสนใจจากคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีที่อาจจะช่วยให้ลูกกินข้าวได้ตามปกติ เช่น การวางแผนเมนูให้หลากหลายสีสันสวยงาม การให้ลูกกินข้าวในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับพัฒนาการและสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวที่พบได้บ่อย ไม่กินอาหาร หรือกินน้อยลง พ่นและคายอาหารทิ้ง ไม่ยอมกลืนข้าว เลือกกินอาหารแค่บางอย่างเท่านั้น และไม่ยอมกินอาหารอื่น ๆ นอกจากเมนูที่คุ้นเคย หรือกินเป็นประจำ สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินข้าว 3 ขวบ สาเหตุของปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว โดยเฉพาะลูกวัย 3 ขวบอาจจะมีได้ ดังนี้ เบื่ออาหาร เด็กในวัย 3 ขวบอาจจะยังไม่มีวิธีสื่อสารที่ชัดเจนว่าไม่ชอบหรือรู้สึกเบื่อเมนูอาหารเดิม ๆ จึงแสดงออกด้วยการไม่ยอมกินข้าว โดนบังคับเรื่องกิน เนื่องจากอยู่ในช่วงวัยที่ลูกเริ่มเป็นตัวของตัวเอง การบังคับหรือกดดันให้ลูกกินข้าว อาจทำให้ลูกต่อต้านและไม่ทำตาม ลูกต้องการความสนใจ การเรียกร้องความสนใจเป็นเรื่องปกติของเด็กในวัยนี้ การไม่ยอมกินอาจเป็นการแสดงออกเพื่อต่อต้านสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ อิ่มจากของกินเล่น หากลูกกินนม น้ำหวาน ขนมก่อนอาหารมื้อหลัก อาจทำให้ยังอิ่มอยู่และไม่ยอมกินอาหารมื้อหลัก หรือกินได้น้อยกว่าที่ควร เลียนแบบคนที่อยู่ด้วย เมื่อลูกเห็นว่าคนรอบข้างเลือกกินหรือไม่กินอาหารชนิดใด […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูก1ขวบไม่ยอมกินข้าว เกิดจากอะไร และแก้ได้ยังไง

สาเหตุที่ ลูก1ขวบไม่ยอมกินข้าว อาจมาจากการที่ลูกรู้สึกเบื่ออาหาร ห่วงเล่น หากคุณพ่อคุณแม่ตามใจปล่อยให้ลูกรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อาจทำให้ลูกเคยชิน และนำไปสู่การเจ็บป่วยหรือร่างกายขาดสารอาหารได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินข้าว รวมถึงเรียนรู้วิธีช่วยให้ลูกกินอาหาร เช่น เปลี่ยนเมนูอาหาร จัดเรียงอาหารให้น่าสนใจ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารและพลังงานที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูก1ขวบไม่ยอมกินข้าว เกิดจากอะไร ลูก 1 ขวบไม่ยอมกินข้าว อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ถูกกดดัน คุณพ่อคุณแม่อาจกดดันลูกขณะกินข้าวโดยไม่รู้ตัว เช่น จ้องมองลูก ป้อนอาหารลูกเร็วเกินไป ดันชามข้าวเข้าใกล้ตัวลูกมากเกินไป ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้ลูกรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร และต่อต้านการกินข้าวเมื่อถึงเวลาที่ควรกิน เบื่ออาหาร หากให้ลูกรับประทานอาหารเมนูเดิม ๆ ทุกมื้อ เป็นประจำทุกวัน อาจทำให้ลูกรู้สึกเบื่ออาหารและไม่ยอมกินข้าว ห่วงเล่น เด็กช่วงวัย 1 ขวบ อาจอยู่นิ่งกับที่ยาก เนื่องจากห่วงเล่น ทำให้อาจไม่ยอมกินข้าวหรือกินได้น้อย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาอุปกรณ์สำหรับกินข้าวที่แปลกใหม่และดึงดูดความสนใจลูก เช่น ช้อนส้อม จานชามรูปการ์ตูนสีสันสดใส กลัวการรับประทานอาหารแปลกใหม่ เป็นเรื่องปกติที่อาจพบได้บ่อยในเด็กช่วงอายุ 1-5 ขวบ คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากฝึกให้ลูกรับประทานอาหารในปริมาณน้อย เมื่อลูกกล้าที่จะรับประทาน ควรชมเชยลูกเพื่อเป็นการให้กำลังใจ กินของว่างมากเกินไป หากลูกรับประทานอาหารว่างก่อนมื้ออาหาร […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กปฐมวัย พัฒนาการ แนวทางการดูแลที่เหมาะสม

เด็กปฐมวัย หรือเด็กช่วงก่อนวัยเรียนที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 3-6 ปี เป็นอีกช่วงชีวิตของเด็กที่มีพัฒนาการ การเจริญเติบโต การเรียนรู้ที่ไวขึ้น อีกทั้งอาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูของคนในครอบครัว เพื่อดูแลเด็กปฐมวัยให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในวันข้างหน้าและมีสุขภาพที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาแนวทางการเลี้ยงดูเด็กช่วงวัยนี้ รวมถึงโภชนาการอาหารที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่เด็กควรได้รับอย่างเหมาะสม พัฒนาการเด็กปฐมวัย พัฒนาการของเด็กปฐมวัย มีดังนี้ พัฒนาการด้านกายภาพ เด็กปฐมวัยมีการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว มีทักษะในการกระโดด วิ่ง ปีน และชอบทำกิจกรรมที่ใช้พลังงาน เช่น วิ่งเล่น ปั่นจักรยาน เตะบอล โยนลูกบอล ถึงอย่างไรระหว่างที่เด็กทำกิจกรรมคุณพ่อคุณแม่ควรคอยเฝ้าดู เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่อาจคาดการณ์ได้สำหรับพัฒนาการช่วงปฐมวัยแบ่งออกตามช่วงวัย ดังนี้ เด็กอายุ 3 ปี มักจะเริ่มมีจินตนาการ เริ่มวาดรูปคน วงกลมได้ เริ่มใช้กรรไกร หรือใช้สิ่งของเป็น ชอบเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ เริ่มรู้เพศตนเอง เด็กอายุ 4 ปี จะเริ่มวาดรูปสี่เหลี่ยม ใช้กรรไกรตัดเป็นเส้นตรง สามารถหยิบจับช้อนรับประทานข้าวได้เอง และรู้ถึงการสวมใส่เสื้อผ้าอย่างถูกต้อง เด็กอายุ 5 ปี สามารถวาดรูปทรงสามเหลี่ยม ใช้ความคมของใบมีดเป็น เช่น คัตเตอร์ แต่ถึงอย่างไรเพื่อความปลอดภัย ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองหรือให้อุปกรณ์อื่น ๆ ในการตัดแทน สามารถสวมใส่เสื้อผ้าเองได้ ดูแลความสะอาดตนเองได้พอสมควรเมื่อเข้าห้องน้ำ พัฒนาการด้านการสื่อสาร หากคุณพ่อคุณแม่พูดคุยสื่อสารกับลูกสม่ำเสมอตั้งแต่ช่วงแรกเกิด […]


การเติบโตและพัฒนาการ

พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ หมายถึง พัฒนาการของเด็กอายุระหว่าง 1-3 ปี ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงวัยหัดเดิน เด็กในช่วงอายุนี้มักเริ่มจดจำสิ่งรอบตัว มีความอยากรู้อยากเห็น เริ่มสื่อสารด้วยภาษาง่าย ๆ และท่าทางการแสดงออกที่สื่อถึงอารมณ์และความต้องการได้ดีขึ้น นอกจากคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมลูกรักแล้ว ควรต้องระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในวัยเตาะแตะที่สามารถเคลื่อนไหวไปได้ไกลมากขึ้นด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อยในช่วงวัยเตาะแตะระหว่างอายุ 1-3 ปี โดยพัฒนาการที่เห็นได้ชัดในช่วงอายุนี้ ก่อนเข้าสู่ช่วงวัยหัดเดินนั้น มีดังนี้ พัฒนาการด้านสังคม และอารมณ์ ลูกรักจะเริ่มสนใจ พร้อมมีปฏิกิริยากับผู้คนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และเด็กคนอื่น ๆ รวมถึงอาจมีการแสดงอารมณ์โกรธ โวยวาย เกรี้ยวกราดออกมา เมื่อพวกเขารู้สึกไม่พอใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจต้องค่อย ๆ เริ่มสอนให้ลูกน้อยรู้จักควบคุมอารมณ์ พัฒนาการด้านการเรียนรู้ความเข้าใจ เด็กช่วงวัยเตาะแตะ จะมีการจดจำรายละเอียดพฤติกรรมของคนรอบข้างและนำไปเลียนแบบ อีกทั้งยังจำแนกความเหมือน และความแตกต่างของสิ่งของ หรือของเล่นต่าง ๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย พัฒนาการด้านกายภาพ ลูกน้อยจะเริ่มมีการหัดเคลื่อนไหวด้วยการตั้งแขนขึ้นเพื่อผลักดันตัวเอง และใช้เท้าดันกับพื้นให้ตัวเองไปด้านหน้า สำหรับเด็กบางคนอาจหัดยืน เดิน ด้วยการหาที่ยึดจับ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกฝึกฝนและทำอะไรด้วยตนเอง แต่ควรสังเกตอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้ลูกน้อยอยู่คนเดียวเพื่อป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ การปล่อยให้ลูกฝึกฝนการยืน เดิน หยิบจับสิ่งของเอง เป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ และได้ฝึกฝนการทรงตัว, ฝึกฝนความสัมพันธ์ของสายตาควบคู่กับการเคลื่อนไหวร่างกาย พัฒนาการด้านภาษา เมื่อคุณพ่อคุณแม่พูดประโยคซ้ำ ๆ […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็กแต่ละช่วงวัยมักต้องการสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตแตกต่างกัน เช่น เด็กในช่วงวัยทารกยังคงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจากนมแม่ แต่หากเข้าสู่ช่วงวัยเริ่มหัดเดิน เด็กอาจต้องการสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อกระตุ้นพัฒนาการและให้พลังงานแก่ร่างกาย โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เพื่อช่วยให้ลูกเติบโตอย่างสมวัย โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน มีอะไรบ้าง เด็กวัยหัดเดินและเด็กวัยก่อนเรียนที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 2-6 ปี ควรได้รับโภชนาการอย่างครบถ้วน เนื่องจากเด็ก ๆ วัยนี้ต้องการพลังงานเพื่อดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงช่วยบำรุงสมอง ระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ เพื่อพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ โภชนาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรหามาให้แก่ลูกรักของคุณ มีดังนี้ โปรตีน ควรเน้นโปรตีนที่มีประโยชน์ เช่น ถั่วเหลือง ปลา เนื้อไม่ติดมัน ไข่ ธัญพืช ถึงแม้ธัญพืชจะมีหลากหลายชนิด แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเลือกธัญพืชเต็มเมล็ดหรือธัญพืชไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต แคลเซียม ผลิตภัณฑ์จากนม อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี สามารถช่วยเสริมสร้างกระดูกของเด็กให้แข็งแรง โดยคุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กวัยหัดเดินดื่มนมอย่างน้อย 2 มื้อเป็นประจำทุกวัน ผักและผลไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับโซเดียมจากขนมมากเกินไป การฝึกให้เด็กรับประทานผักและผลไม้จึงอาจเป็นทางออกที่ดี โดยอาจนำผักผลไม้มาปรุงเป็นเครื่องดื่ม เพื่อให้เด็กรับประทานง่ายขึ้น ปริมาณอาหารที่ เด็กวัยหัดเดิน ควรได้รับต่อวัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนในเด็ก และภาวะเรื้อรังด้านสุขภาพอื่น ๆ ตั้งแต่ยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดปริมาณอาหารอาหารของเด็กให้พอดี โดยปริมาณอาหารสำหรับวัยเด็กหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียนที่เหมาะสม มีดังนี้ สำหรับเด็กผู้หญิง […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

อาหารพัฒนาสมองเด็กก่อนวัยเรียน เสริมสร้างพัฒนาการให้เฉียบแหลม

อาหารพัฒนาสมองเด็กก่อนวัยเรียน เป็นอาหารที่จะช่วยบำรุงสมองของลูกน้อยให้มีพัฒนาการที่ดีก่อนเข้าโรงเรียน อาหารเหล่านี้ยังเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ คุณอาจไม่เคยรู้มากก่อนว่ามีประโยชน์ต่อ พัฒนาสมองของเด็กก่อนวัยเรียน อาหารเหล่านี้มีอะไรบ้าง ถ้าอยากรู้ อ่านต่อได้ในบทความนี้ เด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่มีความกระตือรือร้น ร่าเริงแจ่มใส อาหารที่เด็กก่อนวัยเรียนรับประทานจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยในการพัฒนาของร่างกานและสมองให้ดี การวางแผนการกินของเด็กก่อนวัยเรียนต้องประกอบไปด้วยอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก อาหารทะเล ไข่ พืชตระกูลถั่ว นม ผักและผลไม้ เพราะโภชนาการอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างในทุก ๆ ด้านของเด็ก และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ อาหารพัฒนาสมองเด็ก ก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนกัน อาหารพัฒนาสมองเด็กก่อนวัยเรียน มีอะไรบ้าง อาหารบางชนิด อาจมีสารอาหารที่ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของสมอง ช่วยทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้นทั้งในเรื่องของความจำ และเสริมสร้างสมาธิ และอาหารต่อไปนี้มีส่วนช่วยในการ พัฒนาสมองของเด็กก่อนวัยเรียน แซลมอน ปลาแซลมอนเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 DHA และ EPA ซึ่งมีความจำเป็นต่อการการเจริญเติบโตและการทำงานของสมอง ดังนั้นลองเปลี่ยนเมนูง่าย ๆ ที่บ้านมาใส่เนื้อปลาแซลมอนเป็นส่วนประกอบของอาหารจานโปรดของลูกน้อยดูสิ ไข่ ไข่เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนชั้นเยี่ยม อีกทั้งในไข่แดงยังอุดมไปด้วยโคลีน ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาความจำได้อีกด้วย ลองทำเมนูอาหารเช้าให้ลูกของคุณก่อนไปโรงเรียนด้วยเมนูไข่แสนอร่อยเพื่อเสริมสร้างความจำที่ดีให้กับลูกน้อย เนยถั่ว ถั่วลิสงและเนยถั่วเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเยื่อหุ้มประสาท วิตามินบีที่อยู่ในเนยถั่วยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้อีกด้วย ธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสี  มีเส้นใยที่ช่วยควบคุมการปล่อยกลูโคสเข้าสู่ร่างกายและสมอง จึงเป็นหนึ่งใน อาหารพัฒนาสมองเด็ก ที่มีประโยชร์มาก เพราะสมองต้องการน้ำตาลกลูโคสอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้นธัญพืชไม่ขัดสียังมีวิตามินบีซึ่งช่วยบำรุงระบบประสาทให้แข็งแรง ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยไฟเบอร์และพลังงาน ช่วยให้สมองของเด็กได้รับสารอาหารตลอดทั้งวัน และยังเต็มไปด้วยวิตามินอี วิตามินบี […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน