พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

วัยรุ่น

Precocious puberty คือ ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย สังเกตได้อย่างไร

Precocious puberty คือ ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนเพศที่ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง เช่น มีหน้าอก มีประจำเดือน มีหนวดขึ้น มีขนตามแขน ขา อวัยวะเพศ องคชาตและอัณฑะขยายใหญ่ขึ้น ตั้งแต่เด็กผู้หญิงมีอายุไม่ถึง 8 ปี และเด็กผู้ชายมีอายุไม่ถึง 9 ปี ส่งผลให้เด็กเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก่อนวัยที่ควรจะเป็น อีกทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อยังพัฒนารวดเร็วกว่าปกติจนหยุดพัฒนาก่อนเวลา ส่งผลให้เตี้ยกว่าที่ควรเนื่องจากร่างกายถูกเร่งให้โตเร็วเกินไป และอาจทำให้เด็กรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตัวเองที่รวดเร็วเกินไป จนกระทบต่อสภาพจิตใจได้ด้วย หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าบุตรหลานมีอาการที่เข้าข่าย Precocious puberty ควรพาเด็กไปพบคุณหมอและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ  เพื่อช่วยให้เด็กกลับมามีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-bmi] Precocious puberty คือ อะไร ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย หรือ Precocious puberty คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการของกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์ รวมไปถึงมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง ขนาด ความสูงของร่างกาย เร็วกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตไปเป็นวัยรุ่นก่อนวัยอันควร มักพบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย โดยปกติแล้วร่างกายของเด็กผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนอายุ 9-13 ปี ในขณะที่เด็กผู้ชายจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนอายุ 9-14 ปี แต่หากร่างกายของเด็กผู้หญิงเปลี่ยนแปลงก่อนอายุ 8 ปี และร่างกายของเด็กผู้ชายเปลี่ยนแปลงก่อนอายุ […]


เด็กทารก

น้ำหนักทารก และส่วนสูง ตามช่วงอายุ

ทารกแต่ละคนอาจมีการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการที่แตกต่างกัน การทราบถึง น้ำหนักทารก และส่วนสูง จึงอาจมีส่วนช่วยในการประเมินสุขภาพร่างกายและพัฒนาการของทารกที่เหมาะสมตามวัยเบื้องต้นได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและใส่ใจน้ำหนักและส่วนสูงของทารกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำหนักทารก มีความสำคัญอย่างไร น้ำหนักทารก มีความสำคัญต่อการประเมินการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงให้เหมาะสมตามวัย รวมทั้งสุขภาพร่างกายและพัฒนาการของทารกในอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักทารกอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ดังนี้ การตั้งครรภ์ โดยปกติทารกที่คลอดตามกำหนดจะมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้น้ำหนักทารกและส่วนสูงมีความเหมาะสมตามวัย พันธุกรรม อาจมีผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูง โดยเฉพาะความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ร่างกาย ดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการนูแนน (Noonan Syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนในร่างกายที่ส่งผลต่อน้ำหนักทารก เพศ ทารกผู้หญิงและทารกผู้ชายมักมีการเจริญเติบโตของร่างกาย น้ำหนักและส่วนสูงไม่เท่ากัน อาหาร ทารกที่กินนมแม่อาจได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเหมาะสมมากกว่ากินนมผง ฮอร์โมน ความสมดุลของฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกายทารก ซึ่งส่งผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูงได้ การนอนหลับ ส่งผลดีต่อการเจริญโตทางร่างกายและพัฒนาการของทารก ซึ่งอาจส่งผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูงได้ น้ำหนักทารก และส่วนสูง ของทารกแรกเกิดถึงอายุ 11 เดือน ทารกแรกเกิด ทารกผู้หญิงควรมีน้ำหนักประมาณ 3.2 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 49.2 เซนติมเมตร ส่วนทารกผู้ชายควรมีน้ำหนักประมาณ 3.4 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 49.9 เซนติเมตร ทารกอายุ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กแต่ละวัย เป็นอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ควรทราบถึง ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กในแต่ละวัย เพราะอาจใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตของร่างกายที่เหมาะสม และอาจบ่งบอกถึงสุขภาพเบื้องต้นของเด็กได้ นอกจากนี้ อาจมีปัจจัยบางประการที่ควรปรับเปลี่ยน เพื่อช่วยส่งเสริมส่วนสูงของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กแต่ละวัย เด็กควรมีการเจริญเติบโตทางร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ที่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม มีดังนี้ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กทารก เด็กแรกเกิด เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 49.2 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 49.9 เซนติเมตร เด็กอายุ 1-6 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 53.7-65.7 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 54.7-67.6 เซนติเมตร เด็กอายุ 7-11 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 67.3-72.8 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 69.2-74.5 เซนติเมตร ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กวัยหัดเดิน เด็กอายุ 12-14 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 74-76.4 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 75.8-78.1 เซนติเมตร เด็กอายุ 15-17 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 77.5-79.7 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 79.2-81.3 […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

Pedophilia หรือ โรคใคร่เด็ก ภัยคุกคามที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ

โรคใคร่เด็ก หรือ Pedophilia คือ ภาวะความผิดปกติทางจิตใจที่ทำให้มีความคิดและพฤติกรรมหมกมุ่นกับการมีสัมพันธ์ทางเพศกับเยาวชน โดยทั่วไปมักพบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง คนใคร่เด็กจะมีความชอบและเสพสื่อในลักษณะนี้เป็นประจำ หากมีโอกาสก็จะเข้าหาเด็กที่ยังอายุน้อยและใช้เวลาร่วมกับเด็ก เพื่อให้เด็กคุ้นเคยและเกิดความไว้วางใจ หลังจากนั้นจะเริ่มล่วงละเมิดทางเพศเด็ก การเรียนรู้เกี่ยวกับ Pedophilia อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจรูปแบบพฤติกรรมของคนใคร่เด็ก และให้ความรู้แก่เด็กได้อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้บุตรหลานตกเป็นเหยื่อของภัยสังคมในลักษณะนี้ โดยส่วนใหญ่แล้ว คนใคร่เด็กที่สามารถล่วงละเมิดทางเพศเด็กได้มักจะเป็นคนที่เด็กคุ้นเคยอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรแนะนำให้เด็กระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอเวลาที่ต้องใช้เวลาหรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น แม้ว่าจะรู้จักบุคคลผู้นั้นอยู่แล้วก็ตาม [embed-health-tool-vaccination-tool] Pedophilia คืออะไร โรคใคร่เด็ก หรือ Pedophilia (เปโด หรือ เปโดฟีเลีย) มีลักษณะเฉพาะคือ การมีจินตนาการทางเพศ มีความต้องการทางเพศ หรือมีพฤติกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องผู้เยาว์ ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เช่น รู้สึกมีอารมณ์ทางเพศเมื่อเห็นภาพเด็ก ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี และมักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นประจำ พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คนใคร่เด็กอาจมีความรู้สึกดึงดูดทางเพศต่อเด็กผู้ชาย เด็กผู้หญิง หรือทั้งสองเพศ และอาจรู้สึกเช่นนี้แค่ต่อเด็กหรืออาจชอบพอได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โรคนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคพาราฟีเลีย (Paraphilia) หรือ โรคกามวิปริต ใช้เรียกผู้ที่มีอารมณ์และพฤติกรรมทางเพศที่ผิดแปลกไปจากคนทั่วไป โรคพาราฟีเลียถือเป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งเนื่องจากสามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นได้ และควรได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม โดยอาจรักษาด้วยการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวช การทำพฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy) การทำจิตบำบัดระดับลึก (Deep Psycho-therapy) […]


สุขภาพเด็ก

ยาลดไข้เด็ก มีอะไรบ้าง และควรบรรเทาอาการไข้อย่างไร

ยาลดไข้เด็ก เป็นยาที่ช่วยรักษาอาการไข้และช่วยลดอุณหภูมิในร่ายกาย ซึ่งมักใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ในการรักษาอาการไข้ในเด็ก อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีอายุต่ำกว่า 2 เดือน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและรับยาตามขนาดที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อป้องกันการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เด็กได้รับยาเกินขนาดและเป็นอันตรายได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ยาลดไข้เด็ก มีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่คุณหมอจะทำการรักษาด้วยการให้ยาลดไข้เด็กต่อเมื่อเด็กมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือหากเด็กมีอาการไม่สบายตัวมาก โดยทั่วไปอาการไข้ในเด็กจะไม่คงอยู่เป็นเวลานาน สามารถควบคุมได้ และไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยคุณหมอจะประเมินระดับความรุนแรงของอาการไข้ก่อนจ่ายยาลดไข้เด็ก เพื่อให้ขนาดยาตามความเหมาะสม ซึ่งยาลดไข้เด็กที่มักใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้ อะเซตามิโนเฟน หรือพาราเซตามอล จะให้ในขนาด 10-15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อช่วยรักษาอาการไข้และลดอุณหภูมิร่างกาย โดยเด็กจะมีอุณหภูมิลดลงภายใน 30-60 นาทีแรกหลังจากให้ยา ไอบูโพรเฟน จะให้ในขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดไข้และลดอุณหภูมิ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับอะเซตามิโนเฟน และอาจมีผลในการลดอุณหภูมิร่างกายได้นานกว่า การรักษาแบบผสม โดยการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนร่วมกับยาไอบูโพรเฟนรักษาอาการไข้ในเด็ก ซึ่งเป็นการให้ยาทั้ง 2 ชนิดสลับกัน อาจมีประสิทธิภาพในการลดไข้เด็กได้ดีกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียวในการรักษา อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีนี้เองที่บ้าน เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่อาจไม่เข้าใจการใช้สูตรยาทำให้เกิดความกังวลในแง่การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

แชมพูเด็ก ควรเลือกอย่างไร และข้อควรระวังในการใช้

เนื่องจากเส้นผมและผิวบริเวณศีรษะของเด็กมีความบอบบางจึงควรเลือก แชมพูเด็ก ที่มีส่วนประกอบที่มาจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ให้ความชุ่มชื้น และเป็นสารอาหารผิวที่ดี นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงแชมพูเด็กที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ช่วยลดแรงตึงผิว เพราะทำให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวและดวงตาของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กควรสระผมบ่อยแค่ไหน ไม่ควรสระผสมให้เด็กทุกวันหลังอาบน้ำ แต่ควรสระผมเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะผมของเด็กอาจไม่สกปรกมากเท่ากับผมผู้ใหญ่ และการสระผมบ่อยเกินไปอาจกำจัดน้ำมันตามธรรมชาติบนผิวหนังออกทำให้หนังศีรษะแห้ง หรืออาจทำให้หนังศีรษะมันมากเนื่องจากต่อมน้ำมันเร่งการผลิตน้ำมันมากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำมันที่สูญเสียไป ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กเสี่ยงมีปัญหารังแคในอนาคตได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเลือกใช้สบู่ในการสระผมเด็กเนื่องจากสะดวกสบายกว่า แต่การใช้แชมพูเด็กอาจมีข้อดีกว่าสบู่ ดังนี้ สบู่เด็กอาจผลิตมาจากสารธรรมชาติ ปราศจากสารเติมแต่งที่ช่วยให้ผมอ่อนนุ่ม ซึ่งอาจทำให้ผมกระด้างและหวียาก การเปลี่ยนมาใช้แชมพูเด็กที่ประกอบไปด้วยสารลดแรงตึงผิว อาจช่วยให้ผมของเด็กนุ่มสลวยและไม่ชี้ฟู แม้สบู่เด็กจะผลิตมาจากสารธรรมชาติสูตรอ่อนโยน แต่ยังอาจทำให้ตาของเด็กเกิดความระคายเคืองได้ ดังนั้น การเลือกใช้แชมพูเด็กที่มีส่วนประกอบที่อ่อนโยนกว่าจึงอาจช่วยป้องกันความระคายเคืองตาได้มากกว่า ทั้งยังมีฟองน้อยกว่า และมีกลิ่มหอม แชมพูมักมีค่าความเป็นกรดด่างที่อ่อนกว่าสบู่ และอาจมีความใกล้เคียงกับกรดบนผิวหนังของเด็กมากกว่า จึงอาจช่วยลดความแห้งตึงของผิวหนัง และยังอาจช่วยบำรุงผิวบริเวณหนังศีรษะได้ดีอีกด้วย แชมพูเด็ก ควรเลือกอย่างไร ผิวบริเวณหนังศีรษะและเส้นผมของเด็กยังมีความอ่อนโยนมาก จึงควรเลือกแชมพูที่มีส่วนประกอบแบบออร์แกนิก (Organic) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติและปราศจากสารเคมีลดแรงตึงผิว เช่น โซเดียม ลอริล ซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate หรือ SLS) ที่อาจทำให้เกิดความระคายเคืองตา โดยควรเลือกแชมพูเด็กที่อุดมไปด้วยโปรตีนนมและวิตามินอีที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นกับผิวและเส้นผม เช่น น้ำข้าว ว่านหางจระเข้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันอะโวคาโด มะละกอ […]


เด็กทารก

ตัวเหลืองเกิดจากอะไร และวิธีรักษาอย่างเหมาะสม

ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะมักพบในทารกแรกเกิด และเมื่อลูกเกิดมาตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่ก็อาจสงสัยว่า ตัวเหลืองเกิดจากอะไร สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะตัวเหลือง คือ ร่างกายของทารกมีบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารสีเหลืองในกระแสเลือดมากเกินไป ส่งผลให้ผิวหนังของทารกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มักเกิดขึ้นหลังคลอด 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วันหลังคลอด การรักษาเบื้องต้นทำได้ด้วยการให้ทารกดูดนมแม่บ่อยขึ้นเพื่อให้ถ่ายบิลิรูบินส่วนเกินออกไปทางอุจจาระ แต่หากมีระดับบิลิรูบินสูงมาก อาจต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การส่องไฟ การถ่ายเลือด การให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ [embed-health-tool-vaccination-tool] ตัวเหลืองเกิดจากอะไร ภาวะตัวเหลือง หรือ ดีซ่าน (Jaundice) มีสาเหตุมาจากทารกมีระดับบิลิรูบินในกระแสเลือดมากเกินไป สารชนิดนี้เป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายจะขับออกทางอุจจาระ แต่เมื่อใดที่ตับไม่สามารถขับบิลิรูบินออกได้ทัน จะทำให้มีบิลิรูบินสะสมอยู่ในเลือด ส่งผลให้ผิวหนังและลูกตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยเริ่มจากบริเวณใบหน้า ก่อนจะกระจายไปทั่วร่างกาย จนเป็นภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารก โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์ มักเกิดจากตับของทารกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์นัก ประสิทธิภาพในการกำจัดบิลิรูบินในกระแสเลือดจึงยังไม่มากพอ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม คุณแม่มีเลือดกรุ๊ปโอหรืออาร์เอชลบ สารบางชนิดในน้ำนมแม่ (Breast milk jaundice) การบาดเจ็บขณะคลอด การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกที่ทำให้เซลล์สลายตัวอย่างรวดเร็ว อาการตัวเหลืองเป็นอย่างไร ภาวะตัวเหลือง อาจทำให้ทารกมีอาการดังต่อไปนี้ […]


โภชนาการสำหรับทารก

ผลไม้เด็ก 6 เดือน มีประโยชน์อย่างไร และมีอะไรบ้างที่กินได้

เด็ก 6 เดือน สามารถเริ่มกินอาหารแข็งเป็นอาหารเสริมได้แล้ว ดังนั้น เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน และสัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่ จึงควรเลือกอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ผลไม้เด็ก 6 เดือน ก็ควรเป็นผลไม้ที่สุก เนื้อนิ่ม รสชาติไม่เปรี้ยว ควรผ่านการปั่นหรือบดจนละเอียดและไม่ปรุงรส เพื่อให้เด็ก 6 เดือนสามารถกินได้ง่าย และค่อย ๆ คุ้นเคยกับรสชาติของอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์กับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก 6 เดือน เป็นอย่างไร เด็ก 6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว แต่อาจให้กินเป็นเพียงอาหารเสริมในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1 ครั้ง/วัน เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน สัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่มากขึ้น และเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากอาหารแข็งเพิ่มเติมด้วย ดังนั้น อาหารแข็งสำหรับเด็ก 6 เดือน จึงควรเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ควรเริ่มให้อาหารแข็งเพียงชนิดเดียวใน 1 มื้อ เพื่อช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติของอาหารทีละอย่าง ป้องกันการแพ้อาหาร […]


การดูแลทารก

คัดกรองทารกแรกเกิด มีประโยชน์ต่อทารกอย่างไร

คัดกรองทารกแรกเกิด เป็นการตรวจสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เพื่อป้องกันปัญหาการได้ยิน ความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ เช่น ตา หัวใจ จมูก สะโพก อัณฑะ และตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนของทารกแรกเกิด [embed-health-tool-vaccination-tool] คัดกรองทารกแรกเกิด คืออะไร คัดกรองทารกแรกเกิด คือ การตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Inborn Errors of Metabolism) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายบางอย่าง เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อนในทารกแรกเกิด รวมถึงอาจก่อให้เกิดความพิการทางสติปัญญาอย่างรุนแรง หรือการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดได้ คัดกรองทารกแรกเกิดมีความสำคัญอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากคลอด แต่โดยปกติทารกแรกคลอดทุกรายจะได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกตั้งแต่ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอด เนื่องจากกลุ่มโรคดังกล่าวเสี่ยงทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการทางสติปัญหาและสมอง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยอาจพบได้เพียง 1 ใน 5,000 คนของทารกแรกเกิด จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนชะล่าใจจนส่งผลให้ทารกแรกเกิดได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าจนโรคพัฒนารุนแรงขึ้น ดังนั้น การพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จึงอาจช่วยป้องกันภาวะปัญญาอ่อนหรือการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดได้ การคัดกรองทารกแรกเกิด ทำได้อย่างไร ปัจจุบันในประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน 2 โรค คือ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง และโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมแต่กำเนิดที่อาจนำไปสู่กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก โดยทั่วไป การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดมักตรวจในทารกที่มีอายุประมาณ […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ที่กั้นเตียง สำหรับเด็ก ประโยชน์และข้อควรระวัง

ที่กั้นเตียง (Bed rail) คือ อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ข้างเตียงเพื่อความปลอดภัยในห้องนอนของเด็ก เหมาะสำหรับเด็กที่เพิ่งเปลี่ยนจากนอนเปลนอนมาบนเตียงเด็ก ที่กั้นเตียช่วยป้องกันเด็กพลัดตกเตียงจนได้รับบาดเจ็บ และอาจทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นขณะนอนหลับ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อที่กั้นเตียงเด็กอย่างรอบคอบ เช่น เลือกที่กั้นเตียงที่ได้มาตรฐานและมีขนาดพอเหมาะกับเตียงเด็ก ซี่ที่กั้นเตียงต้องไม่ห่างจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่คอ แขน หรือขาของเด็กจะเข้าไปติดขณะนอนหลับหรือขณะเล่นบนเตียงนอนจนเป็นอันตรายต่อเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ที่กั้นเตียง คืออะไร ที่กั้นเตียง คือ อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บริเวณขอบเตียงเด็ก ทั้งบริเวณข้างเตียง หัวเตียง และปลายเตียง เพื่อเสริมความปลอดภัยในห้องนอนให้กับเด็ก อาจมีลักษณะเป็นราวซี่ ๆ ทำจากไม้หรือพลาสติก หรือเป็นแผ่นผ้าตาข่าย ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กพลัดตกจากเตียงนอนขณะนอนหลับหรือเล่นอยู่บนเตียงจนได้รับบาดเจ็บ ทั้งยังอาจช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยขณะนอนหลับได้ด้วย โดยทั่วไปที่กั้นเตียงจะใช้กับเด็กที่เปลี่ยนจากนอนเปลเด็ก (Crib) ไปนอนเตียงสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ (Toddler Beds) และมักติดตั้งที่กั้นเตียงไว้จนกว่าเด็กจะปรับตัวเข้ากับที่นอนใหม่ได้แล้วหรืออยู่ในวัยที่เสี่ยงตกเตียงน้อยลงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อที่กั้นเตียงที่ติดตั้งแล้วไม่มีช่องว่างระหว่างฟูกและที่กั้นเตียง และเลือกที่กั้นเตียงที่สามารถพับหรือเลื่อนเก็บขึ้นและลงได้ง่าย เพื่อให้ใช้งานสะดวก ที่กั้นเตียงเหมาะกับเด็กวัยไหน การใช้ที่กั้นเตียงเหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-5 ขวบ ที่สามารถลุกจากเตียงได้โดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเปลี่ยนให้เด็กนอนเตียงแทนนอนเปลเมื่อเด็กสูงประมาณ 90 เซนติเมตร (วัดจากปลายเท้าถึงปลายนิ้วมือขณะเด็กชูแขนเหยียดตรง) เพราะเด็กอาจสูงเกินไปจนเสี่ยงตกจากเปลได้ง่าย สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่านี้หรือเป็นเด็กตัวเล็กอาจต้องให้นอนบนเปลไปก่อน เพราะหากนอนเตียงที่ติดตั้งที่กั้นเตียงอาจเสี่ยงเข้าไปติดระหว่างซอกตะแกรงที่กั้นเตียงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจถอดที่กั้นเตียงออกเมื่อเด็กอายุเกิน 5 ปีเพราะเป็นวัยที่โตพอ และเสี่ยงน้อยลงที่จะกลิ้งพลัดตกจากเตียงจนบาดเจ็บ ข้อควรระวังในการใช้ ที่กั้นเตียง ข้อควรระวังในการใช้ที่กั้นเตียง อาจมีดังนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน