พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกสมาธิสั้น สัญญาณเตือน และวิธีรับมือ

บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่แน่ใจว่า ลูกสมาธิสั้น แค่ชั่วคราวตามประสาเด็กวัยซน ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ทำให้อาจละเลยการดูแลที่เหมาะสม จนส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้น การสังเกตอาการหรือสัญญาณเตือนของโรคสมาธิสั้นในเด็ก จึงอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการเบื้องต้นได้ หากพบว่าลูกมีอาการเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น ควรปรึกษาคุณหมอทันที เพราะโรคนี้ยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ ก็อาจยิ่งช่วยให้ลูกมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกสมาธิสั้น เป็นอย่างไร โรคสมาธิสั้น หรือ  ADHD (Attention deficit hyperactivity disorder) เป็นโรคที่พบได้ในเด็กวัย 2-17 ปี ซึ่งอาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เช่น ขาดสมาธิ ไม่มีความอดทน ขาดความสนใจ อยู่นิ่งไม่ได้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถเป็นโรคสมาธิสั้นได้ แต่อาการมักจะเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่เป็นเด็ก เด็ก ๆ ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีปัญหา คือ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ ไม่สามารถทำตามคำสั่ง และทำการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนไม่เสร็จ อาการของ ลูกสมาธิสั้น เมื่อลูกสมาธิสั้นอาจทำให้มีอาการหลัก ๆ 3 ด้าน คือ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และไม่มีสมาธิ ดังนี้ อยู่ไม่นิ่ง ซน พูดไม่หยุด พูดไปเรื่อย ๆ เล่นแรง เล่นได้ไม่เหนื่อย […]


การเติบโตและพัฒนาการ

เล่นนอกบ้าน ส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็กอย่างไร

การเล่นนอกบ้านสำหรับเด็กเป็นเรื่องสนุก และในความเป็นจริงแล้วการให้ลูกๆ ของเราได้ออกไปเล่นนอก ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ หรือในที่กลางแจ้งบ้าง ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่อาจนึกไม่ถึงอีกมากมาย มาลองดูกันว่าลูกของเราจะได้รับประโยชน์สุขภาพอะไรบ้างจากการออกไป เล่นนอกบ้าน ประโยชน์สุขภาพจากการออกไป เล่นนอกบ้าน 1. ได้วิตามินดีจากแสงแดด การออกไปเล่นนอกบ้านทำให้ลูกๆ ได้เจอแสงแดด เวลาที่ผิวเจอแสงแดด รังสียูวีบีจากแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับคอเลสเตอรอลในเซลล์ผิว ซึ่งทำให้เกิดวิตามินดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง โดยเวลาที่เหมาะสมในการให้เด็กๆ ไปเล่นนอกบ้านเพื่อให้รับวิตามินดีจากแสงแดด ก็คือ ช่วงเช้าถึง 9.00 น. และช่วงเย็นตั้งแต่ 16.00 น. เป็นต้นไป ควรหลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วงเวลาอื่น โดยเฉพาะช่วงเที่ยงและบ่าย เพราะแสงแดดอาจทำร้ายผิวของเด็กๆ ได้ 2. เล่นนอกบ้าน ช่วยเรื่องสมาธิ โรคสมาธิสั้นในเด็ก หรือโรค ADHD (Attention deficit hyperactivity disorder) เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวลใจ กลัวว่าลูกตัวเองจะป่วยเป็นโรคนี้ โดยอาการเบื้องต้นของโรคสมาธิสั้น คือ ถูกรบกวนได้ง่าย สมาธิหลุดบ่อยๆ ไม่สามารถทำงานบางอย่างจนเสร็จได้ เช่น ทำการบ้าน หรือไม่สามารถตั้งสมาธิจดจ่ออยู่กับอะไรได้นานๆ โรคสมาธินี้ไม่เพียงแต่พบในเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคสมาธิสั้นได้เช่นกัน มีผลการวิจัยที่ชี้ว่า การพาลูกออกไปเล่นนอกบ้าน ในสนามหญ้า หรือสถานที่ที่มีต้นไม้ใบหญ้าเป็นประจำทุกวัน จะช่วยทำให้อาการสมาธิสั้นใจเด็กดีขึ้น […]


การเติบโตและพัฒนาการ

สอนลูก ให้เรียนรู้จากสิ่งที่ทำผิด ควรทำอย่างไร

อย่างที่รู้กันว่า การลงโทษหรือต่อว่าด้วยถ้อยคำรุนแรงเวลาที่เด็กทำผิด ไม่ได้ช่วยทำให้ลูกเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องจากความผิดพลาดได้ นอกจากนี้ การต่อว่าหรือลงโทษลูกอาจทำให้ทุกอย่างแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม หรือความสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น หากอยาก สอนลูก ให้เรียนรู้จากสิ่งที่ทำผิด คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี รวมถึงควรใช้เหตุและผลในการอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงสิ่งที่พวกเขานั้นได้ทำลงไป วิธี สอนลูก ให้เรียนรู้จากสิ่งที่ทำผิด ลูกมักเลียนแบบผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดมากที่สุด หรือคนที่พูดคุยติดต่อกับพวกเขาโดยตรง ลูก ๆ อาจจะไม่อยากฟังคำพูดหรือไม่ยอมทำตามคำสั่งของคุณพ่อคุณแม่ แต่ในท้ายที่สุด พวกเขาก็มักจะลงเอยด้วยการเลียนแบบการกระทำอยู่ดี ฉะนั้น หากอยากให้ลูกเรียนรู้จากความผิด คุณพ่อคุณแม่อาจต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี และ สอนลูก ด้วยวิธีเหล่านี้ อย่าแสดงอารมณ์เกินกว่าเหตุ ถ้าลูกทำนมหกโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่าเพิ่งโมโหใส่ลูก เพราะปฏิกิริยาที่เกรี้ยวกราดของคุณพ่อคุณแม่อาจสร้างความทรงจำแย่ ๆ ให้ลูก ลูกอาจรู้สึกกลัวเมื่อต้องเผชิญกับอารมณ์รุนแรงของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งอาจส่งผลให้พวกเขาต่อต้าน และแสดงอาการก้าวร้าวออกมา ต่อไปเวลาที่ลูกทำอะไรผิดพลาด พวกเขาก็จะร้องไห้ หรืออาจโยนความผิดให้คนอื่น ไม่ยอมรับผิดเอง ฉะนั้น หากลูกทำอะไรผิด สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำ คือ สงบสติอารมณ์ สูดหายใจลึก ๆ อย่าแสดงอารมณ์เกินกว่าเหตุ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกตกใจกลัว และปัญหาอาจบานปลาย ทำให้ลูกเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจเขา เวลาที่ลูกต้องการอะไร แล้วคุณพ่อคุณแม่ปฏิเสธสิ่งที่ลูกขอ อาจทำให้เด็กบางคนไม่เข้าใจ หรือแสดงอาการไม่พอใจ คุณพ่อคุณแม่อาจแสดงให้ลูกเห็นว่าเข้าใจเขา เด็ก […]


ภาวะทุพโภชนาการ

โรคอ้วนในเด็ก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โรคอ้วนในเด็ก คือ ภาวะที่น้ำหนักตัวของเด็กเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์น้ำหนักปกติสำหรับวัยและส่วนสูงตามค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่โรคอ้วนในเด็กจะพัฒนาจนกลายเป็นโรคอ้วน (Obesity) ในผู้ใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงของภาวะหรือโรคร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ในภายหลัง และอาจทำให้เด็ก ๆ มีปมด้อยหรือความเปราะบางทางใจ เช่น มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ มีความเครียดสูง จนอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก (Obese Children) มีหลายประการ หนึ่งในสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดจากออกกำลังกาย ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรืออาจเกิดจากปัญหาทางฮอร์โมนจนนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน แต่พบได้ค่อนข้างยาก หากสงสัยว่าลูกเสี่ยงเป็นโรคอ้วนจากปัญหาสุขภาพ เช่น ปัญหาทางฮอร์โมน ควรพาไปเข้ารับการตรวจเลือดและตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล แม้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักมักถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ก็ใช่ว่าเด็กทุกคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคอ้วนจะต้องมีภาวะน้ำหนักเกิน แต่หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอ้วนหรือเป็นคนอ้วน ก็อาจทำให้เด็กเสี่ยงมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคอ้วนอาจมีสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมและลักษณะนิสัยที่สมาชิกในครอบครัวมักจะทำเหมือนกัน เช่น การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง การไม่ออกกำลังกาย ทั้งนี้ การกินอาหารและการทำหรือไม่ทำกิจกรรมต่าง ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของเด็กอย่างมาก เด็กในปัจจุบันนี้มักไม่สนใจกิจกรรมนอกบ้าน หรือออกกำลังกาย เช่น วิ่งเล่น ปั่นจักรยาน เด็ก ๆ มักใช้เวลาดูโทรทัศน์วันละประมาณ 4 ชั่วโมง และใช้เวลากับคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมส์มากขึ้นเรื่อย ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคดีซ่านในเด็ก สาเหตุและการรักษา

โรคดีซ่านในเด็ก (Jaundice) เป็นโรคที่อาจพบได้บ่อยในเด็กทารก ส่งผลทำให้เด็กมีภาวะตัวเหลืองตามผิวหนังและตาขาว ทั้งยังอาจลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ เช่น หน้าอก หน้าท้อง แขน ขา แต่มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย โรคดีซ่านในเด็กแรกเกิดอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงจำนวนบิลิรูบินที่ก่อตัวขึ้นมากเกินไปในระดับเลือดของเด็กแรกเกิด สาเหตุของ โรคดีซ่านในเด็ก โรคดีซ่านในเด็ก คือ ภาวะตัวเหลืองตามผิวหนังหรือตาขาว โดยอาจเริ่มจากส่วนใบหน้าและลุกลามเป็นส่วนอื่น ๆ อย่าง หน้าอก หน้าท้อง แขน ขา เมื่อมีระดับของบิลิรูบิน (Bilirubin) สูง ในขณะที่เด็กยังอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ตับของคุณแม่อาจทำลายบิลิรูบินให้กับทารกในครรภ์ เมื่อทารกคลอดออกมาตับของทารกจะทำหน้าที่ทำลายบิลิรูบินเอง แต่ตับของเด็กวัยแรกเกิดอาจไม่สามารถทำลายบิลิรูบินได้เร็วพอ จึงนำไปสู่การสะสมของบิลิรูบิน เนื่องจาก บิลิรูบินเป็นสารประกอบสีเหลือง จำนวน ซึ่งหากมีจำนวนที่มากขึ้นอาจก่อให้เกิดภาวะตกเหลืองตามผิวหนังหรือตาขาวได้ โดยโรคดีซ่านมักเกิดในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อตับของเด็กทารกยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต หรือเมื่อเด็กทารกไม่ได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการที่น้ำนมอาจมีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่และกระตุ้นให้เกิดโรคดีซ่าน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดีซ่านในเด็ก อาจเกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงปล่อยบิลิรูบินในระหว่างกระบวนการแตกตัว และบิลิรูบินจะถูกทำลายโดยตับ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ท่อน้ำดีอักเสบหรืออุดตัน จึงไม่สามารถขับบิลิรูบินออกจากร่างกายได้ การติดเชื้อหรือการอักเสบของตับ โรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ซึ่งอาจเพิ่มความเร็วของการแตกตัวเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคดีซ่านในเด็กได้ โรคกิลเบิร์ต (Gilbert’s Syndrome) ปรากฎขึ้นและขัดขวางการขับน้ำดีออกจากร่างกาย ดีซ่านในตับระยะเริ่มแรก อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่าง […]


การเติบโตและพัฒนาการ

8 สัญญาณเตือนพ่อแม่ว่า ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน

ปัญหาที่โรงเรียน เช่น การทะเลาะกับเพื่อน โดนเพื่อนแกล้ง คุณครูดุ ทำการบ้านไม่ทัน ไม่ได้อ่านหนังสือสอบ อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับลูกอาจเป็นเรื่องใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หรือความเสียใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพยายามสังเกตว่า ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน หรือไม่ เพื่อจะได้ให้คำปรึกษาและช่วยหาทางออกที่ถูกต้องให้แก่ลูก ทั้งยังอาจช่วยบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง สัญญาณที่บอกว่า ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน สำหรับสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกว่า ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน อาจมีดังนี้ 1. อาจเริ่มหาข้ออ้าง เพราะไม่อยากไปโรงเรียน เมื่อลูกเริ่มหาข้ออ้างเพราะไม่อยากไปโรงเรียน เช่น เหนื่อย หรือเริ่มตั้งคำถามว่าทำไมต้องไปโรงเรียนด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเด็กกำลังมีปัญหาบางอย่างที่โรงเรียน 2. อาจแกล้งป่วย การที่ลูกแกล้งป่วย โดยให้สาเหตุว่าปวดหัว ปวดท้อง ไม่ค่อยสบาย เพื่อขอหยุดเรียน 1 วัน อาจเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่กำลังบอกให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่า ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องทำความเข้าใจกับลูก สอบถามถึงปัญหา และช่วยหาวิธีการแก้ไขปัญหาให้กับพวกเขา 3. อาจมีอาการเศร้าซึม ไม่ร่าเริง จากที่ลูกเคยหัวเราะ อารมณ์ดี แต่เปลี่ยนไปเป็นซึม ๆ นิ่ง ๆ ดูเศร้า ๆ อย่างแรกคือ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

โซเดียมในขนม ภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง

ขนมขบเคี้ยวที่เด็ก ๆ ชอบกินมักจะอุดมไปด้วยน้ำตาล แป้ง และผงชูรส พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่าผงชูรสเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกสิ่งที่พ่อแม่อาจมองข้าม นั่นก็คือ โซเดียมในขนม ที่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคไต และโรคอื่น ๆ ตามมา [embed-health-tool-heart-rate] โซเดียม คืออะไร โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ โซเดียมช่วยควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ โดยอวัยวะที่ควบคุมการทำงานของโซเดียม คือ ไต ร่างกายรับโซเดียมจากอาหารที่มีรสเค็ม และจากเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำปลา กะปิ ซึ่งโซเดียมที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่มาจากเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมกับคลอไรด์ ส่วนการขับโซเดียมออกจากร่างกาย ร่างกายอาจขับโซเดียมส่วนเกินออกทางไตในรูปแบบปัสสาวะมากที่สุด รองลงมา คือ ขับออกทางเหงื่อ วันละประมาณ 25 มิลลิโมล และขับโซเดียมออกทางอุจจาระในปริมาณน้อยประมาณ 1-2 มิลลิโมล นอกจากนี้โซเดียมอาจมีประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้ เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย การขาดโซเดียมอาจทำให้เกิดโรค เช่น โรคที่เกี่ยวกับกระดูก โซเดียมเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยอาหาร และเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ผลเสียจากการได้รับโซเดียมมากเกินไป เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ควบคุมการใช้โซเดียมในร่างกาย การที่ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อไต โดยปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ดาวน์ซินโดรม สาเหตุ อาการ และการรักษา

ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความพิการทางด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต โรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากคนใกล้ชิดดูแลและใส่ใจตั้งแต่ในวัยเด็ก พวกเขาก็สามารถเติบโตขึ้นมาอย่างมีสุขภาพดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] คำจำกัดความ ดาวน์ซินโดรม คืออะไร ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความพิการทางด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต โรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากดูแลดี ๆ เด็กที่เป็นโรคนี้ก็สามารถเติบโตขึ้นมาอย่างมีสุขภาพดี และมีความสุข สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้คนสังคมได้ ดาวน์ซินโดรมพบได้บ่อยแค่ไหน ดาวน์ซินโดรมเป็นความผิดปกติทางพันที่ธุกรรมพบมากที่สุดในบรรดาโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ สำหรับข้อมูลความเสี่ยง หรือปัจจัยของโรค โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของดาวน์ซินโดรม อาการของดาวน์ซินโดรม ที่พบ มีดังนี้ หน้าแบน ศีรษะเล็ก คอสั้น ปากเล็กและมีอาการลิ้นจุกปาก ขาดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เด็กล้มได้ง่าย ช่องห่างระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง ฝ่ามือกว้าง แต่นิ้วมือสั้น มีเส้นลายมือที่มีลักษณะเป็นเส้นตัดเพียงเส้นเดียว น้ำหนักตัวน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วไป บกพร่องทางด้านพัฒนาการด้านการเรียนรู้ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของโรค โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไใดควรไปพบคุณหมอ หากพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะของดาวน์ซินโดรม มีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาไปพบคุณหมอทันที ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง เช่น ปวดท้อง, ท้องบวม อาเจียน ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเช่น ริมฝีปากและนิ้วเปลี่ยนสี มีอาการหายใจติดขัดทันทีที่รับประทานอาหารหรือทำกิจกรรมใด ๆ […]


เด็กทารก

การนวดทารก กับประโยชน์ต่อสุขภาพทารกที่ควรรู้

การนวดทารก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเด็กได้เป็นอย่างดี การนวดทารกนอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ ช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย และหลับได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ควรศึกษาวิธีนวดทารกที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ การนวดทารก เพิ่มความสัมพันธ์ การนวดเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยทำให้คุณและลูกรักใกล้ชิดกันมากขึ้น การนวดทารก เป็นการสื่อสารผ่านการสัมผัส ที่ช่วยให้ลูกไว้ใจเรามากขึ้น ทั้งยังทำให้เขารู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกได้ว่ามีคนดูแลเขาอยู่ เขาจึงรู้สึกดีและปลอดภัย นอกจากเรื่องความสัมพันธ์แล้ว การนวดทารกยังช่วยให้ทารกนอนหลับง่ายขึ้นอีกด้วย ประโยชน์ของ การนวดทารก ที่มีต่อลูกน้อย ช่วยให้นอนหลับสนิท การนวดจะทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อเขาได้รับการนวด ก็จะรู้สึกผ่อนคลาย และสามารถหลับได้ลึกและหลับได้สนิทมากยิ่งขึ้น แก้อาการท้องอืด การนวดไม่เพียงแต่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายเท่านั้น แต่ยังช่วยในการระบายลมหรือแก๊สที่อัดแน่นอยู่ในท้องของลูกน้อยได้อีกด้วย ลูกน้อยจึงรู้สึกสบายท้องขึ้น ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยอาจเกิดความเครียด จนในบางครั้งก็แสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมาได้ วิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายได้ดีวิธีหนึ่งก็คือการนวด ฉะนั้นถ้าลูกน้อยมีอาการงอแง ก็หาเวลานวดให้ลูกน้อยรู้สึกดีขึ้น อารมณ์ของเขาก็จะดีตามไปด้วย กระตุ้นระบบประสาท การนวดช่วยกระตุ้นระบบประสาทได้ แถมยังทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความสมดุล และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ควรนวดให้ลูกน้อยบริเวณใดดี นวดขา การนวดบริเวณขาเริ่มจากการ ค่อย ๆ ใช้มือนวดรอบต้นขาของลูกน้อยอย่างนุ่มนวลและเบามือ หลังจากนั้นค่อย ๆ ไล่ลงมาจนถึงข้อเท้า ทำแบบเดิม 2-3 ครั้ง จากนั้นทำซ้ำที่ขาอีกข้าง นวดพุง วางมือหัวแม่มือทั้งสองของคุณแม่ไว้ระดับสะดือ ค่อย ๆ วนนิ้วหัวแม่มือตามเข็มนาฬากาเป็นวงกลม ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ นวดแขน ประกอบมือทั้งสองของคุณแม่ที่ต้นแขนของลูกน้อย […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

โปรไบโอติก มีความสำคัญต่อเด็กอย่างไร

โปรไบโอติก (Probiotics) คือ แบคทีเรียดีที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากแบคทีเรียดีมีความสมดุลอาจช่วยให้ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารทำงานได้ดีขึ้น แต่หากแบคทีเรียดีเกิดความไม่สมดุลอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น เกิดการติดเชื้อ มีอาการเจ็บป่วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรไบโอติก เพื่อส่งเสริมสุขภาพของเด็กให้สมบูรณ์แข็งแรง โปรไบโอติก คืออะไร โปรไบโอติกหรือแบคทีเรียดี คือ แบคทีเรียดีหรือยีสต์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่น ๆ ของร่างกาย โดยภายในร่างกายจะมีแหล่งรวมของเชื้อโรคที่เรียกว่า ไมโครไบโอม ซึ่งประกอบด้วยทั้งแบคทีเรียดี แบคทีเรียไม่ดี ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งมันจะอาศัยอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ และน้ำลาย เมื่อแบคทีเรียดีและแบคทีเรียที่ไม่ดีในร่างกายเกิดความไม่สมดุล อาจทำให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อ มีอาการเจ็บป่วย เมื่อเกิดการเจ็บป่วยและต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาที่รับประทานเข้าไปอาจทำลายแบคทีเรียดีบางตัวในร่างกาย ซึ่งส่งผลทำให้แบคทีเรียเกิดความไม่สมดุลได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติกเพื่อช่วยทำให้แบคทีเรียในร่างกายเกิดความสมดุล แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรไบโอติก โปรไบโอติกไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะกับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกัน ทั้งยังช่วยเรื่องท้องผูกและกรดไหลย้อนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกแหล่งอาหารที่เด็กต้องการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับทารกอาจได้รับโปรไปโอติกจากนมแม่อยู่แล้ว แต่หากเด็กโตพอที่จะรับประทานอาหารได้แหล่งอาหารเหล่านี้ อาจเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไปโอติก โยเกิร์ต โยเกิร์ตเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ โดยโยเกิร์ตที่ทำมาจากนมที่หมักด้วยแบคทีเรียที่ดี ส่วนใหญ่อาจอุดมด้วยกรดแลคติก (Lactic […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน