backup og meta

ดูแลดวงตาให้แข็งแรง ด้วยวิธีแสนง่ายที่คุณเองก็ทำตามได้

ดูแลดวงตาให้แข็งแรง ด้วยวิธีแสนง่ายที่คุณเองก็ทำตามได้

ดวงตา ถือเป็นอวัยะที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น การ ดูแลดวงตาให้แข็งแรง จึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ โดยพื้นฐานในการดูแลดวงตาก็คือการกินอาหารที่มีประโยชน์ ใช้สายตาในบริเวณที่มีแสงที่เพียงพอ แต่ความจริงแล้วยังมีการดูแลดวงตาอื่นๆ ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้หยิบยกเรื่องนี้มาฝากกัน

วิธี ดูแลดวงตาให้แข็งแรง ด้วยวิธีแสนง่าย

สำหรับวิธี ดูแลดวงตาให้แข็งแรง นั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญให้เพียงพอ

วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี รวมถึงแร่สังกะสี มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของแมคูลา (Macula) ซึ่งเป็นจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตา โดยแหล่งอาหารที่สำคัญที่มีสารอาหารเหล่านี้ประกอบอยู่ ก็ได้แก่ผักและผลไม้หลากหลายชนิด เช่น

นอกจากนั้น อาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน และเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) ก็ยังทำให้สุขภาพตาดีขึ้นด้วย

อย่าลืมกินแคโรทีนอยด์

นอกจากสารอาหารต่างๆ ที่จะช่วยบำรุงสุขภาพของดวงตาแล้ว กุญแจสำคัญที่ช่วยในการปรับปรุงการมองเห็น ก็คือ ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ที่พบในเรตินา และสารดังกล่าวสามารถพบได้ในผักใบเขียว บร็อคโคลี่ บวบ และไข่ นอกจากนั้นยังสามารถหากินได้ในรูปแบบอาหารเสริมอีกด้วย

แคโรทีนอยด์เหล่านี้ช่วยปกป้องแมคูลา (Macula) ซึ่งเป็นจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตา ด้วยการปรับปรุงความหนาแน่นเม็ดสีในส่วนของดวงตา และดูดซับแสงอัลตร้าไวโอเลตและแสงสีน้ำเงิน

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยรักษาน้ำหนัก และทำให้สุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังสามารถช่วยทำให้ดวงตาแข็งแรงด้วย ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน มักพบว่าเส้นเลือดเล็กในดวงตามักจะได้รับความเสียหาย

นอกจากนั้นในผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มักจะพบอาการที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นจอประสาทตา โดยอาการนี้เกิดขึ้นจากมีน้ำตาลที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงบอบบาง ส่งผลให้เลือดและของเหลวเข้าไปในดวงตา ทำให้ดวงตาบาดเจ็บ เพราะฉะนั้นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ และการออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง จะช่วยลดอัตราการเป็นเบาหวานประเภท 2 และโรคแทรกซ้อนต่างๆ

จัดการกับภาวะเรื้อรัง

โรคเบาหวานไม่ได้เป็นเพียงโรคเดียวที่มีผลต่อการมองเห็นของดวงตา แต่ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดตีบ ก็ส่งผลต่อดวงตาเช่นกัน โดยสิ่งเหล่านี้มักมีความเชื่อมโยงกับการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ดังนั้น การกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และกินยาตามที่แพทย์สั่ง จะช่วยความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเรื้อรังได้

สวมแว่นตาป้องกัน

การสวมแว่นตาป้องกันที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี วัตถุมีคม หรือแม้กระทั่งศอกในระหว่างการเล่นกีฬา แว่นตาป้องกันหลายชนิดทำจากโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าพลาสติกทั่วไปถึง 10 เท่า

สวมแว่นกันแดด

การสวมแว่นกันแดดไม่เพียงแต่ทำให้ดูมีสไตล์ แต่เฉดสีของแว่นกันแดดยังมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงสายตา ซึ่งแว่นกันแดดที่ควรเลือกใส่ควรป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้ 99-100 เปอร์เซ็นต์จากแสงแดด แว่นกันแดดจะช่วยปกป้องดวงตาจากสภาวะต่างๆ รวมถึงต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม และต้อเนื้อ

การเจริญเติบโตของต้อเนื้อ (Pterygium) สามารถนำไปสู่สายตาเอียง ซึ่งเป็นที่มาของการทำให้เกิดการมองเห็นไม่ชัดเจน นอกจากการสวมแว่นตากันแดด การสวมหมวกปีกกว้าง ก็ยังสามารถช่วยปกป้องดวงตาจากความเสียหายจากแสงแดดได้ด้วย

ปฏิบัติตามกฎ 20-20-20

กฎ 20-20-20 นั่นคือทุกๆ 20 นาที ควรจะหยุดจ้องจอคอมพิวเตอร์ และมองหาสิ่งที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต เป็นเวลา 20 นั่นเอง การทำเช่นนี้ก็เพื่อให้สายตาได้หยุดพัก ทั้งยังช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย

เลิกสูบบุหรี่

แน่นอนว่าการสูบบุหรี่นั้นไม่ดีต่อปอด หัวใจ ทั้งยังส่งผลต่อเส้นผม ผิวหนัง ฟัน และส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย นั่นรวมถึงดวงตาด้วยนั่นเอง การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกและการเสื่อมของจอประสาทตา

ยังนับว่าโชคดีมากที่ดวงตา ปอด หัวใจ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย สามารถเริ่มฟื้นตัวจากอันตรายที่เกิดจากยาสูบภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเลิกสูบใน 1 ชั่วโมงแรก แต่ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ได้นานเท่าไหร่ เส้นเลือดก้จะได้รับประโยชน์มากขึ้นและการอักเสบทั่วไปของดวงตาก็จะลดลงอีกด้วย

ตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ

การตรวจสอบสุขภาพดวงตาเป็นประจำจะช่วยให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้รับการรักษาก่อนที่จะเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับดวงตาอย่างถาวร

เรียนรู้ประวัติสุขภาพตาของครอบครัว

ความผิดปกติทางสายตาบางอย่างเป็นกรรมพันธุ์ ดังนั้นการทราบถึงสภาพดวงตาของคนในครอบครัวจะช่วยให้ระมัดระวังและป้องกันดวงตาได้ โดยเงื่อนไขทางพันธุกรรม มีดังนี้

  • ต้อหิน
  • จอประสาทตาเสื่อม
  • การเสื่อมสภาพที่เกี่ยวกับอายุ
  • ขั้วประสาทตาซีดฝ่อ (Optic atrophy)

รักษามือและคอนแทคเลนส์ให้สะอาด

ดวงตามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและได้รับเชื้อโรคได้ง่ายเป็นพิเศษ แม้แต่สิ่งที่ทำให้ระคายเคืองตาก็อาจส่งผลต่อการมองเห็นได้ ดังนั้น จึงควรล้างมือทุกครั้งก่อนจะสัมผัสดวงตา หรือใช้คอนแทคเลนส์ สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ นอกจากการล้างมือแล้ว ควรใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อคอนแทคเลนส์ และควรเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือแพทย์ด้วย เนื่องจากเชื้อโรคในคอนแทคเลนส์สามารถนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียที่ดวงตา

อยู่ในที่ที่แสงสว่างพอเหมาะ

ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าตำแหน่งไฟให้ความเหมาะสมแก่การอ่านหนังสือ หรือทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ การอยู่ในที่ที่แสงไฟพอเหมาะถือว่าสำคัญต่อดวงตาเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงน้อยหรือแสงจ้าเกินไปอาจทำให้ปวดตาได้

เมื่อทราบอย่างนี้แล้วก็อย่าลืม ดูแลดวงตาให้แข็งแรง อยู่เสมอ เนื่องจากทุกคนต่างมีดวงตาเพียงคู่เดียว หากเกิดปัญหาใดใด ในบางกรณีอาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และถ้าหากเป็นกรณีที่มีความรุนแรงมาก ย่อมอาจจะส่งผลให้สูญเสียดวงตาไปตลอดชีวิตได้เลยทีเดียว

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Keep Your Eyes Healthy. https://www.webmd.com/eye-health/good-eyesight#1. Accessed May 27, 2020

10 Ways to Improve Your Eyesight. https://www.healthline.com/health/how-to-improve-eyesight#vitamins-and-minerals. Accessed May 27, 2020

10 tips for good eye health. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/ten-tips/10-tips-for-good-eye-health. Accessed May 27, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/06/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

บำรุงดวงตาด้วยถุงชา ดื่มชาชื่นใจแล้วยังได้สุขภาพดวงตาที่ดีอีกด้วยนะ

บำรุงด่วน ก่อนสายตาจะเสื่อมกับ อาหารสำหรับบำรุงดวงตา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 12/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา