backup og meta

เปลือกตาบวม (Swollen Eyelid) เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

เปลือกตาบวม (Swollen Eyelid) เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

บางคนอาจคิดว่า เปลือกตาบวม คือเรื่องเล็กน้อย ไม่จำเป็นที่จะต้องรับการรักษาก็ได้ แต่เมื่อใดที่ปล่อยให้เปลือกตาบวมเป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลต่อดวงตาของคุณได้ นอกจากนั้นแล้วเปลือกตาบวมยังอาจมีอีกหลายสาเหตุด้วยกัน ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มานำแชร์กัน

เปลือกตาบวม (Swollen Eyelid) เกิดจากอะไร?

เปลือกตาบวมถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ สาเหตุที่ทำให้เกิดเปลือกตาบวมอาจมีสาเหตุตั้งแต่การกักเก็บของเหลว ไปจนถึงขั้นติดเชื้อรุนแรง ในกรณีส่วนใหญ่เมื่อเกิดอาการเปลือกตาบวม มันจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง โดยสามารถลดอาการบวมได้ด้วยการประคบตรงเปลือกตาที่บวม แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดอาการเปลือกตาบวมด้วย สำหรับเปลือกตาบวมก็สามารถเกิดจาหลายสาเหตุด้วยกัน

บางครั้งเงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่าง ก็อาจทำให้เกิดอาการเปลือกตาบวมได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงโรคคอพอกตาโปน (Graves) และมะเร็งตา ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่หาได้ยากก็ตาม ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตา หากอาการบวมเกิดขึ้นนานกว่า 24-48 ชั่วโมง

สาเหตุที่ทำให้เปลือกตาบวม (Swollen Eyelid)

สาเหตุส่วนใหญ่ของเปลือกตาบวมนั้นมักจะไม่ค่อยเป็นอันตราย แต่ดูเหมือนว่าปัญหาเล็กน้อยนี้อาจจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้ สำหรับสาเหตุของเปลือกตาบวม มีดังนี้

  • กุ้งยิง

กุ้งยิงเกิดขึ้นจากการติดเชื้อของต่อมเปลือกตา ซึ่งกุ้งยิงชนิดที่พบมากที่สุดคือการติดเชื้อของต่อมน้ำตาที่อยู่ที่ฐานของขนตา บางครั้งกุ้งยิงก็เกิดขึ้นภายในเปลือกตา เนื่องจากต่อมน้ำมันที่ติดเชื้อ กุ้งยิงมีชักเริ่มเป็นจากสีแดง คัน เจ็บปวด บวมเป็นก้อน ในชั่วเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือต้องใช้เวลา 2-3 วัน มันจะเริ่มมีลักษณะคล้ายกับสิว และบางคนก็มีหัวสีขาวด้วย

  • โรคภูมิแพ้ดวงตา

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของเปลือกตาบวม คือ โรคภูมิแพ้ที่ตา ซึ่งโรคภูมิแพ้ดวงตานั้นมักจะขัดจังหวะกิจวัตรประจำวัน ทำให้รู้สึกรำคาญ เช่น เกิดการระคายเคืองที่เปลือกตา และบวม โรคภูมิแพ้ทางดวงตามักเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันมีการตองสนองต่อสารก่อภูมิแพ้บางชนิด และเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เซลล์ในดวงตาจะปล่อยฮีสตามีนและสารเคมีอื่นๆ ออกมา เพื่อป้องกันดวงตา ทำให้หลอดเลือดภายในดวงตาบวม และทำให้ดวงตากลายเป็นสีแดง มีน้ำ และเกิดอาการคัน

  • โรคตาแดง

โรคตาแดงหรือเยื่อยุตาอักเสบ คือ อาการของเยื่อบุตาอักเสบ ซึ่งเยื่อบุลูกตาเป็นเยื่อเมือกใสๆ ที่อยู่ด้านในของเปลือกตา และครอบคลุมด้วยส่วนสีขาวของเปลือกตา เยื่อบุตาอักเสบมักเกิดจากการแพ้แบคทีเรียหรือไวรัส โดยอาจจะเป็นเพียงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 ข้างก็ได้เช่นกัน เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้าเปลือกตาอาจจะบวมและดวงตาอาจจะกลายเป็นสีแดง มีอาการคัน และระคายเคือง

  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis)

เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการเปลือกตาบวม อาการบวมของเปลือกตาที่เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ เนื้อเยื่ออักเสบบริเวณหน้าเยื่อกั้นเบ้าตา (Preseptal cellulitis) และ เนื้อเยื่อเบ้าตาอักเสบ (Orbital cellulitis)

เนื้อเยื่ออักเสบบริเวณหน้าเยื่อกั้นเบ้าตา (Preseptal cellulitis) มักจะเกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยมักมีรอยแดง บวม ปวดที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง ส่วน เนื้อเยื่อเบ้าตาอักเสบ (Orbital cellulitis) อาจเกิดจากแบคทีเรียในรูปแบบติดเชื้อไซนัสบุกรุกพื้นที่รอบๆ กระดูกที่อยู่บริเวณเบ้าตา สำหรับอาการที่เกิดขึ้นก็คือ อาการตาบวมและปวดเมื่อขยับตาไปมา

  • โรคคอพอกตาโปน หรือ โรคเกรฟส์ (Graves’ disease)

คนที่เป็นโรคคอพอกตาโปน หรือปัญหาต่อมไทรอยด์อื่นๆ มักจะมีอาการบวมที่เปลือกตา โรคนี้อาจจะทำให้เกิดอาการตาโปน แม้ว่าโรคนี้จะส่งผลกระทบต่อดวงตาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่ากัน แต่ก็อาจก่อความรำคาญให้ตาทั้ง 2 ข้าง บางครั้งโรคคอพอกตาโปนอาจทำให้การเคลื่อนไหวของดวงตาลดลง หรือมองเห็นภาพซ้อน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) อาจทำให้ตาทั้ง 2 ข้างปูดหรือบวมตุ่ยได้

  • การติดเชื้อเริม

โรคเริมที่ตาคืออาการอักเสบของกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่คลุมอยู่ด้านหน้าสุดของดวงตา เริมที่ดวงตา หรือที่เรียกว่า เริมตา สามารถสร้างแผลเจ็บปวดที่เปลือกตาหรือผิวตา และทำให้เกิดอาการอักเสบที่กระจกตา รวมทั้งเกิดอาการบวมของเปลือกตา

วิธีรักษาอาการเปลือกตาบวม (Swollen Eyelid)

การไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากจะได้รับการรักษาได้อย่างตรงจุด และถ้าหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแนะนำว่ารีบไปปรึษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด

  • เกิดความเจ็บปวดในดวงตา
  • การมองเห็นไม่ชัด
  • วิสัยทัศน์แย่ลง
  • มองเห็นเส้นใยใสๆ ลอยอยู่ในลูกตา
  • รู้สึกว่ามีบางสิ่งติดอยู่ในดงตา
  • ไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อตา

ยังมีเงื่อนไขบางอย่างที่อาจทำให้ตาบวมจนต้องไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นั่นก็คือ โรคมะเร็งตา ซึ่งถือเป็นโรคที่หายาก บางครั้งมันอาจเหมือนเปลือกตาบวมแต่ความจริงแล้วเป็นความดันจากมะเร็ง

นอกจากการวินิจฉัยของแพทย์แล้วตัวเราเองก็สามารถสังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน ด้วยการสังเกตความแตกต่างที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • อาการที่มาก่อนหรือหลัง
  • มีหรือไม่มีอาการปวด
  • ก้อนที่ระบุได้หรืออาการบวมทั่วไป
  • ไม่สามารถย้ายกล้ามเนื้อตาหรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Swollen Eyelid: Causes, Treatment, and More. https://www.healthline.com/health/swollen-eyelid-treatment. January 17, 2020

Twelve causes and treatments of a swollen eyelid. https://www.medicalnewstoday.com/articles/318219.php#Stye. January 17, 2020

Eyelid Inflammation (Blepharitis). https://www.webmd.com/eye-health/eyelid-inflammation-blepharitis#1. January 17, 2020

Common Causes of Eyelid Swelling. https://www.verywellhealth.com/top-causes-of-eyelid-swelling-3422114. January 17, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/01/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ชลธิชา จันทร์วิบูลย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการผิดปกติของดวงตา ที่อาจดูเหมือนเล็กน้อย..แต่ไม่ใช่เรื่องเล็ก

สีดวงตา สามารถบอกถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 04/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา