การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

"ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ตั้งแต่การเลือกยาสระผมที่เหมาะสม ตลอดไปจนถึงการบำรุงดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ก็อาจช่วยให้เรามีเส้นผมและหนังศีรษะที่มีสุขภาพดี สวยเงางาม และเพิ่มความมั่นใจให้กับเราอีกมาก แถมยังส่งผลให้เรามีสุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย เรียนรู้เคล็ดลับใน การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมหงอกเกิดจาก อะไร ยิ่งถอน ยิ่งหงอก จริงหรือไม่

ผมหงอก คือเส้นผมสีขาวที่งอกออกมา แทนที่สีผมธรรมชาติ มักพบได้ในช่วงวัยสูงอายุ แต่บางคนก็อาจมีอาการผมหงอกได้ตั้งแต่ยังอายุน้อย ผมหงอกเกิดจาก การที่เซลล์เม็ดสีผมลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งอายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ พฤติกรรม และอาการเจ็บป่วย ซึ่งการดูแลสุขภาพเส้นผมอย่างเหมาะสมอาจช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดผมหงอกได้ [embed-health-tool-heart-rate] ผมหงอกเกิดจาก อะไร  เส้นผมของคนจะประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ เซลล์ที่สร้างเนื้อผมเป็นโปรตีน  เซลล์ที่สร้างเม็ดสีเรียกว่า เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งรากผมจะสร้างขึ้นมา ทำให้สีผมแต่ละคนแตกต่างกันไป  เซลล์เมลาโนไซต์สร้างเม็ดสี เรียกว่า เมลานิน (melanin) สีตามธรรมชาติของเส้นผมขึ้นอยู่กับ การกระจายตัว ชนิด และปริมาณเม็ดสี คนที่มีมีเม็ดสีจำนวนมากและเข้มข้นมาก จะทำให้มีเส้นผมที่สีเข้ม ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ เชื้อชาติ แต่ระดับเม็ดสีของเส้นผมก็ยังปรับเปลี่ยนได้ตามสุขภาพร่างกายอีกด้วย  ผมหงอกเกิดจาก อะไร  เส้นผมที่เปลี่ยนจากสีตามธรรมชาติ กลายเป็นสีเทาหรือสีขาว สาเหตุสำคัญเกิดจากอายุ กรรมพันธุ์ เมื่อายุมากขึ้นการทำงานของเซลล์เมลาโนไซต์จะชะลอลง เม็ดสีที่เส้นผมจะลดลง เกิดจากการที่รากผมไม่สร้างเม็ดสี จนกลายเป็นเส้นผมสีขาวหรือเทาเงินเมื่อโดนแสง ปัจจัยที่ทำให้เกิดผมหงอก อายุ โดยทั่วไปทารกจะมีสีผมที่อ่อนกว่าช่วงวัยอื่น แล้วจะค่อย ๆ มีสีผมเข้มขึ้นจนถึงวัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเส้นผมจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเทา สีดอกเลา ผมสีขาวหรือผมหงอก ปกติแล้วเมื่ออายุ 30 ปี […]

สำรวจ การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

เคราตินกับเส้นผม เคราตินช่วยบำรุงผมให้สวยได้จริงหรือ?

เคราติน คือทรีทเมนต์ชนิดหนึ่งในการบำรุงเส้นผมให้นุ่มลื่น ไม่แห้งเสีย มีสุขภาพดี ทั้งนี้ การใช้ทรีทเมนต์เคราตินช่วยบำรุงเส้นผมได้จริงหรือ? เมื่อทำไปแล้วจะมีผลข้างเคียงอะไรหรือเปล่า? หากสนใจทำทรีทเมนต์เคราตินมีข้อควรระวังอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องศึกษาก่อนเข้ารับทำทรีทเมนต์เคราตินเพื่อผมสวยสุขภาพดีอย่างแท้จริง ทำความรู้จัก เคราตินกับเส้นผม โดยปกติ เคราติน เป็นโปรตีนที่มักจะอยู่ในเส้นผม เล็บ และผิวหนัง แต่สำหรับ เคราตินกับเส้นผม นั้น หมายถึง การทำทรีทเมนต์เคราตินเพื่อบำรุงผมตามร้านเสริมสวยต่าง ๆ โดยนิยมใช้เคราตินครีม ที่มีสารเคมี ชื่อว่า “ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)” เป็นส่วนผสมอยู่ สารนี้ซึมเข้าสู่เส้นผม ด้วยการเป่าให้แห้งและรีดด้วยที่หนีบผมอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนการทำทั้งหมดจะทำไปทำปฏิกิริยากับเคราตินในเส้นผม ทำให้ผมหยิก หรือผมหยักศก ตรงขึ้น ฟอร์มาลดีไฮด์ที่เป็นส่วนผสมในเคราตินครีม ถือเป็นสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นก๊าซที่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นที่รุนแรง เมื่อดวงตาหรือผิวหนังโดนฟอร์มาลดีไฮด์ จะส่งผลให้เกิดความระคายเคืองที่ตา จมูก และลำคอ ทำให้เกิดอาการไอ หายใจไม่สะดวก และอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงที่บริเวณดวงตา ผิวหนัง รวมถึงระบบทางเดินหายใจ การได้รับฟอร์มาดีไฮด์ในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ ยิ่งเคราตินครีมได้รับความร้อน ก็จะยิ่งปล่อยฟอร์มาดีไฮด์ที่มีความเข้มข้นสูงมากออกมา ดังนั้น เหล่าช่างทำผมที่ใช้เคราตินซ้ำ ๆ ในการดูแลเส้นผม อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งมากที่สุด เคราตินช่วยบำรุงผมสวยได้จริงหรือ โดยปกติแล้ว […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ป้องกันสุขภาพเส้นผม จากแสงแดด ทำได้อย่างไรบ้าง

รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดอาจส่งผลต่อเส้นผมคล้ายกับสารฟอกขาว ซึ่งส่งผลทำให้ผมเปลี่ยนสี ผมแห้ง ผมแตกปลาย ดังนั้น การ ป้องกันสุขภาพเส้นผม จากแสงแดด อาจช่วยป้องกันเส้นผมจากความเสียหายที่เกิดจากแสงแดดได้ โดยการป้องกันเส้นผมจากแสงแดดอาจทำได้หลายวิธี เช่น สวมหมวก หรือใช้ร่มตอนอยู่กลางแจ้ง ใช้แชมพูที่เพิ่มความชุ่มชื้นและใช้ครีมนวดผม ซึ่งวิธีเหล่านี้อาจช่วยให้สุขภาพผมดีขึ้นได้ แสงแดดทำร้ายเส้นผมได้อย่างไรบ้าง แสงแดดอาจทำร้ายเส้นผมได้ เนื่องจาก รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์อาจส่งผลต่อเส้นผมคล้ายกับสารฟอกขาว โดยอาจมีปฏิกิริยากับเมลานินในเส้นผม รวมถึงกำจัดเม็ดสีในปฏิกิริยาเคมีที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นอกจากนี้ รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดยังอาจสร้างความเสียหายให้กับผิวนอกของเส้นผม (Cuticle) และโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน (Keratin) อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีสีผมเข้มเนื่องจากมีเมลานิน หรือเม็ดสีในเส้นผมมากอาจได้รับผลกระทบจากรังสียูวีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มีสีผมอ่อนกว่า โดยสัญญาณที่บอกว่าผมเสียเนื่องจากแสงแดด อาจมีดังนี้ ผมเปลี่ยนสี ผมแห้ง ผมแตกปลาย ผมเปราะบาง ผมหยิกเป็นลอน ผมจัดทรงยาก วิธี ป้องกันสุขภาพเส้นผม จากแสงแดด สำหรับวิธีป้องกันสุขภาพเส้นผมจากแสงแดด อาจทำได้ดังนี้ ออกจากบ้านตอนเช้าหรือตอนเย็น แสงแดดอาจร้อนมากในช่วงเที่ยงและช่วงบ่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในเวลาดังกล่าว โดยอาจออกจากบ้านตอนเช้าหรือตอนเย็นแทน เพื่อป้องกันสุขภาพเส้นผมและผิวจากแสงแดด สวมหมวกหรือใช้ร่ม ตอนอยู่กลางแจ้ง เนื่องจากไม่มีครีมกันแดดสำหรับเส้นผม จึงอาจป้องกันเส้นผมจากแสงแดดด้วยการสวมหมวกหรือใช้ร่ม ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่แค่จะป้องกันเส้นผม แต่ยังอาจช่วยป้องกันหนังศีรษะและหูซึ่งเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังด้วย ควรทำความสะอาดผมด้วยน้ำสะอาดหลังจากว่ายน้ำ เพื่อกำจัดเกลือหรือคลอรีนที่อาจตกค้างบนเส้นผม เล็มผม ควรกำจัดเส้นผมแตกปลาย โดยไม่ต้องกังวลว่าผมจะสั้นเกินไป […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

โรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ สัญญาณเตือนภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

โรคผมร่วงเป็นหย่อมๆ หมายถึง อาการที่เส้นผมหรือขนร่วงเป็นกระจุกหรือเป็นหย่อม และกว่าจะงอกขึ้นมาใหม่ต้องใช้เวลานาน หรือในบางราย ผมหรือขนที่ร่วงไปอาจไม่งอกกลับขึ้นมาซ้ำในบริเวณเดิมทำให้อาจเกิดอาการผมบาง ศีรษะล้าน เป็นบางจุด หากอาการรุนแรง ขนหรือเส้นผมอาจร่วงจนหมด ซึ่งโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคผมร่วงเป็นหย่อมๆ  โรคผมร่วงเป็นหย่อมๆ คือ โรคเกี่ยวกับผิวหนังซึ่งมักเกิดบนหนังศีรษะ โดยมีอาการผมหรือขนร่วงเป็นหย่อม ๆ และผมมักจะงอกใหม่ภายใน 12 เดือน อย่างไรก็ตาม ในบางราย อาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ รุนแรงจนทำให้ผมร่วงทั้งหมด เกิดเป็นสภาพหนังศีรษะล้าน สาเหตุของโรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ สันนิษฐานว่าเกิดจากปฏิกิริยาแพ้ภูมิตัวเอง หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเซลล์ของร่างกาย รวมทั้งอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เกิดกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี โดยเกือบ 40% ของคนที่อายุน้อยกว่า 30 ปีที่มีอาการผมร่วงนั้นมีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคเดียวกัน นอกจากนั้นแล้ว กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ค่อนข้างสูง ได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด ไข้ละอองฟาง (Hay Fever) โรคไทรอยด์ โรคด่างขาว โรคโลหิตจาง  กลุ่มอาการดาวน์ อาการของโรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ  รูปแบบอาการที่พบมากที่สุดของโรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ภาวะผมเหม็น สาเหตุ และวิธีการรักษา

ภาวะผมเหม็น (Smelly Hair Syndrome หรือ Smelly Scalp Syndrome) คือภาวะที่หนังศีรษะและเส้นผมเกิดกลิ่นเหม็นได้ง่าย แม้จะสระผมเป็นประจำ และดูแลหนังศีรษะอย่างดีแล้วก็ตาม โดยกลิ่นอาจคล้ายนมบูด ฟองน้ำเก่าชื้น หรือถุงเท้าเก่า บางคนอาจมีอาการคันศีรษะ และเส้นผมเหนียวเหนอะหนะร่วมด้วย ภาวะผมเหม็นอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ต่อมไขมันผลิตไขมันมากเกินไป ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง การติดเชื้อรา การดูแลอย่างถูกต้องอาจช่วยรักษาสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะให้มีสุขภาพดี ห่างไกลจากปัญหาผมเหม็นได้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของการเกิดภาวะผมเหม็น ภาวะผมเหม็นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้ ต่อมไขมันผลิตไขมันมากเกินไป เมื่อต่อมไขมันผลิตไขมันมากเกินปกติ จึงทำให้เส้นผมและหนังศีรษะมันเร็วและดูดกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นบุหรี่ กลิ่นควันรถที่ลอยอยู่ในอากาศเอาไว้ ผมจึงเหม็นเร็วกว่าที่ควร ต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อมากเกินปกติ ภาวะผมเหม็นอาจเกิดจากต่อมเหงื่อที่หนังศีรษะผลิตเหงื่อมากเกินไป ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะเปียกและอับชื้น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ความเครียดหรือการใช้ยาบางชนิด อาจส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งมีส่วนในการควบคุมปริมาณไขมันบนหนังศีรษะ และสภาพเส้นผม เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุล ต่อมไขมันจึงผลิตไขมันมากเกินไป จนเป็นสาเหตุให้ผมเหม็นได้ มีผมเส้นเล็ก ผู้ที่มีผมเส้นเล็กละเอียดมักมีผมและหนังศีรษะมันมากกว่าปกติ เนื่องจากมีปริมาณรูขุมขนและต่อมไขมันมาก จึงอาจทำให้ผมเหม็นเร็วขึ้น การติดเชื้อรา การติดเชื้อรา หรือที่เรียกกันว่า กลากที่หนังศีรษะ (Tinea Capitis) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรากลุ่มจากสัตว์สู่คน (zoophilic fungi) ที่สามารถแพร่กระจายได้ในสัตว์ เช่น สุนัข แมว […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมหงอกก่อนวัย บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้หรือไม่

ผมหงอกหรือผมขาว เปรียบเสมือนสัญญาณความแก่ชราที่ไม่มีใครอยากให้มาถึง แต่ความจริง การที่คนเราแก่ตัวลงแล้วมีผมหงอก ถือเป็นวงจรตามธรรมชาติของร่างกาย ที่ไม่ว่าใครก็เลี่ยงไม่ได้ การมีผมหงอกไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่หากมี ผมหงอกก่อนวัย นั่นอาจบ่งบอกว่าคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพบางประการ ทำไมอายุมากขึ้น..ถึงมีผมหงอก ผมของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เส้นผม (hair shaft) คือ เซลล์รากผมที่ตายแล้วซึ่งงอกยาวออกมาปกคลุมศีรษะ และรากผม (hair root) คือ ส่วนที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของหนังศีรษะ โดยรากผมแต่ละรากจะมีรูขุมขน หรือปุ่มรากผม (hair follicle) ซึ่งเป็นท่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังห่อหุ้มเอาไว้ รูขุมขนแต่ละรู ประกอบด้วยเซลล์เม็ดสีที่เรียกว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) ทำหน้าที่สร้างสารเมลานิน (melanin) หรือเม็ดสี ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เส้นผมของเรางอกออกมาเป็นสีต่างๆ ซึ่งสีผมจะออกมาเข้มหรือสว่างนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณเมลานินในเส้นผม หากมีเมลานินมาก ผมจะออกมาสีเข้ม แต่หากมีเมลานินน้อย ผมจะออกมาสีอ่อน เมื่อคนเราอายุมากขึ้น เซลล์เม็ดสีในรูขุมขนจะเริ่มตาย ทำให้ผลิตเมลานินได้น้อยลง เส้นผมที่งอกยาวออกมาจึงมีสีอ่อนลงหรือโปร่งสี จากที่ผมเคยเป็นสี เช่น ดำ น้ำตาล ก็กลายเป็นสีเทา สีเงิน สีขาว หรือที่เรียกว่าผมหงอก ปรากฏบนศรีษะ อย่างไหนถึงจะเรียกว่า “ผมหงอกก่อนวัย” โดยปกติแล้ว เส้นผมของคนเราจะเริ่มหงอกในวัยที่ต่างกันแล้วแต่ชาติพันธุ์ คนผิวขาวจะเริ่มมีผมหงอกเมื่ออายุ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

รังแคในหน้าหนาว สาเหตุ และการป้องกัน

รังแคในหน้าหนาว อาจเกิดจากความแห้งของอากาศ อาจสังเกตได้ง่ายในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดยจะเป็นเกล็ดสีขาว ซึ่งเป็นผิวหนังที่ตายแล้วอยู่บนศีรษะ บางครั้งอาจหล่นลงมาที่บนหัวไหล่ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการคันบริเวณหนังศีรษะ โดยปกติแล้ว การเกิดรังแค ไม่จำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอ แต่หากสระผมด้วยแชมพูที่ใช้ปกติแล้วรังแคไม่ลดลง หรือหนังศีรษะมีอาการบวม แดง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษาและรับการรักษาที่เหมาะสม รังแค คืออะไร รังแค (Dandruff) เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และลอกออกมาเป็นเกล็ด ๆ รังแคอาจไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงแต่ทำให้อาจเสียบุคลิกภาพ ดูไม่ดี และทำให้เสียความมั่นใจ โดยรังแคที่เกิดขึ้นอาจจัดการได้ โดยการสระผมเป็นประจำ เพื่อช่วยให้รังแคที่มีเพียงเล็กน้อยลดลงได้ แต่หากมีรังแคเป็นจำนวนมากควรใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยาที่มีคุณสมบัติในการกำจัดรังแคโดยเฉพาะ อาการของรังแค รังแคอาจสังเกตได้ง่ายในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดยจะเป็นเกล็ดสีขาว ซึ่งเป็นผิวหนังที่ตายแล้วอยู่บนศีรษะ บางครั้งอาจหล่นลงมาที่บนหัวไหล่ นอกจากนี้ อาจทำให้มีอาการคันได้ อาการเหล่านี้จะมีมากขึ้นในฤดูหนาวเพราะความแห้ง และอาการจะดีขึ้นในฤดูร้อน นอกจากนี้ ยังมีรังแคชนิดหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในเด็กทารก เรียกว่า ไขบนหนังศีรษะ (Cradle Cap) เป็นรังแคชนิดที่อาจหายไปเองได้ ไม่มีอันตราย โดยปกติแล้ว การเกิดรังแคไม่จำเป็นต้องพบคุณหมอ หากแชมพูที่ใช้ปกติไม่ช่วยให้รังแคลดลง หรือหนังศีรษะมีอาการบวม แดง ควรปรึกษาคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง สาเหตุของ รังแคในหน้าหนาว สาเหตุที่ทำให้เกิดรังแคในหน้าหนาวอาจมีดังต่อไปนี้ ต่อมไขมันอักเสบ ผิวหนังมีการระคายเคืองและมัน ผิวหนังแบบนี้อาจพบได้บ่อยในการเกิดรังแค รังแคที่เกิดจากต่อมไขมันอักเสบมักเป็นเกล็ดสีขาวหรือเหลือง และอาจมีสีแดงปนอยู่ด้วย ซึ่งจะพบได้มากในบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ เช่น […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

กลากที่หนังศีรษะ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

กลากที่หนังศีรษะ หรือชันนะตุ (Tinea Capitis) เป็นการติดเชื้อราที่รากผม เส้นผม และหนังศีรษะ ทำให้เกิดอาการคัน ผมร่วงเป็นหย่อม หนังศีรษะลอก สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ผ่านการสัมผัสบริเวณที่ติดเชื้อหรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี ผ้าเช็ดผม โดยทั่วไป สามารถรักษากลากได้ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อราร่วมกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและของใช้โดยรอบ คำจำกัดความ กลากที่หนังศีรษะ คืออะไร กลากที่หนังศีรษะ หรือเชื้อราบนหนังศีรษะ หรือที่เรียกว่า “ชันนะตุ” เป็นการติดเชื้อราที่รากผม เส้นผม และหนังศีรษะ โดยเชื้อราจะทำให้เกิดผื่นวงแหวนที่มีขอบชัดเจนที่หนังศีรษะ ตรงกลางผื่นจะเรียบ ส่วนตรงขอบผื่นจะนูน การติดเชื้อนี้ส่งผลต่อทั้งหนังศีรษะและเส้นผม มักทำให้เกิดอาการคัน ผมร่วงเป็นหย่อม หนังศีรษะลอกลักษณะคล้ายรังแค กลากที่หนังศีรษะเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น หวี ผ้าเช็ดตัว หมวก หมอน โรคนี้สามารถพบได้ทั่วไปในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุ 4-14 ปี อาการ อาการของ กลากที่หนังศีรษะ อาการของกลากที่ศีรษะที่พบบ่อยที่สุด คือ มีผื่นคันบริเวณหนังศีรษะ ผมร่วงในบริเวณที่เป็นกลาก หนังศีรษะมีรอยแดง รอยด่าง หรือเป็นขุย และอาจสังเกตเห็นจุดดำบริเวณที่ผมร่วง หากปล่อยไว้ อาจทำให้กลากลุกลามเป็นวงกว้างได้ อาการอื่น ๆ ของโรคกลากมีดังนี้ ผมบาง เจ็บหนังศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมร่วงหนักมาก เกิดจากสาเหตุใดบ้าง

ผมร่วงหนักมาก อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปัญหาต่อมไทรอยด์ ความเครียด ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด แต่การดูแลผมและหนังศีรษะอย่างถูกต้อง รวมกับการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพผม อาจช่วยทำให้สุขภาพผมแข็งแรง และช่วยลดอาการผมหลุดร่วงลงได้ [embed-health-tool-bmi] ผมร่วงหนักมาก เกิดจากอะไร ผมร่วงหนักมากอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ผู้หญิงอาจจะเกิดอาการผมร่วงหลังคลอดลูก หรือผมร่วงหนักมากในช่วงที่หมดประจำเดือนได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง จนฮอร์โมนไม่สมดุล ส่วนอาการผมร่วงในผู้ชายนั้น นอกเหนือจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมแล้ว ยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเมื่อมีอายุมากขึ้นได้เช่นกัน ปัญหาต่อมไทรอยด์ อาการผมร่วงหนักมากจากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติอาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีปัญหาฮอร์โมนไทรอยด์มากหรือน้อยกว่าระดับปกติ ซึ่งการรักษาโรคไทรอยด์ หรือความผิดปกติของไทรอยด์ ก็อาจช่วยให้เส้นผมงอกขึ้นมาตามปกติได้ ความเครียด ความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจอาจเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น ความเจ็บป่วย โรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการผมร่วงหนักมาก โดยปกติแล้ว อาการเครียดทางร่างกายมักจะเกิดขึ้นชั่วคราว เมื่อร่างกายหายดีแล้ว อาการผมร่วงหนักมากอาจหายไปได้ ซึ่งวิธีบรรเทาความเครียดอาจทำได้ ดังนี้ ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน กินอาหารที่มีประโยชน์ นั่งสมาธิ หรือทำจิตใจให้สงบด้วยวิธีอื่น ๆ ขจัดต้นเหตุของความเครียดออกไปจากชีวิต การใช้ยา การใช้ยารักษาโรคต่าง ๆ นั้น อาจมีผลข้างเคียงตามมามากมาย รวมทั้งอาการผมร่วงหนักมากด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำคีโมบำบัด สำหรับตัวอย่างยารักษาโรคที่อาจส่งผลทำให้ผมร่วงมาก มีดังนี้ ยารักษาโรคไทรอยด์ ยาเม็ดคุมกำเนิดบางประเภท ยาลดความดันโลหิต […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

สาเหตุและวิธีการรักษา รังแค

รังแค คือโรคผิวหนังเรื้อรังที่เป็นความผิดปกติของหนังศีรษะ รังแคเกิดขึ้นเมื่อหนังศีรษะเกิดความแห้งหรือมัน จนส่งผลให้เกิดเซลล์ที่ตายแล้วตกสะเก็ดมากเกินไป ถึงแม้ว่ารังแคจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ก็อาจจะทำให้ขาดความรู้สึกไม่มั่นใจ รู้สึกตัวตัวเองสกปรก ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการรักษารังแค เพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้ให้อย่างเหมาะสม สาเหตุที่ทำให้เกิด รังแค หนังศีรษะก็เหมือนกับผิวหนังในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หนังศีรษะจะมีกระบวนการผลัดเซลล์ผิวและสร้างเซลล์ผิวใหม่ ในคนที่เป็นรังแค กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การผลิตน้ำมันจากหนังศีรษะ เป็นสาเหตุจะทำให้เซลล์เหล่านั้นรวมตัวกันเป็นก้อน จนเกิดเป็นรังแค และรังแคสามารถเกิดขึ้นได้จากกระตุ้นของหลายสิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ต่อมไขมันอักเสบ ต่อมไขมันอักเสบเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่ทำให้เกิดรังแค เมื่อต่อมไขมันอักเสบ หนังศีรษะจะมีอาการแดง ระคายเคืองและมีน้ำมันปกคลุมสะเก็ดสีขาวหรือสะเก็ดสีเหลือง นอกจากหนังศีรษะแล้ว บริเวณอื่นๆ ที่มีต่อมไขมันอาจจะเกิดอาการในลักษณะเดียวกัน เช่นบริเวณ ขนคิ้ว ข้างจมูก กระดูกหน้าอก ขาหนีบ และรักแร้ การดูแลเส้นผมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การสระผมเป็นอีกวิธีที่ช่วยดูแลหนังศีรษะให้มีความสะอาด หากคุณไม่หมั่นสระผมเป็นประจำ น้ำมันและเซลล์ที่ตายแล้วอาจก่อให้เกิดรังแคขึ้นได้ เชื้อรามาเลสซีเซีย (Malassezia) มาเลสซีเซีย คือ เชื้อราที่มีลักษณะคล้ายยีสต์ ซึ่งเกิดขึ้นบนหนังศีรษะของคนเรา อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี มาเลสซีเซียอาจทำให้เกิดอาการคันหนังศีรษะ และเป็นสาเหตุหนึ่งของรังแคอีกด้วย ผื่นแพ้สัมผัส การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการดูแลเส้นผมก็เป็นอีกเรื่องที่ควรเลือกอย่างพิถีพิถัน ตรวจสอบส่วนผสมจากฉลากข้างกล่องอย่างละเอียดว่ามีส่วนผสมที่ทำให้เราเกิดอาการแพ้หรือไม่ ในบางครั้งผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบนหนังศีรษะ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดูแลส้นผมก็เป็นสาเหตุของอาการคันและรังแคอย่างหนึ่ง การดูแลรักษารังแค แม้ว่าจะไม่สามารถที่จะกำจัดรังแคออกไปได้อย่างสมบูรณ์ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

หนังศีรษะแห้ง สาเหตุ และวิธีรับมือ

หนังศีรษะแห้ง ปัญหาผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการคันหนังศีรษะ มีรังแค และผิวหนังลอกออกมาเป็นแผ่นเล็ก ๆ อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทั้งภายนอกร่างกาย เช่น การสระผมบ่อยเกินไป สภาพอากาศ ผลิตภัณฑ์ดูแลผม หรือปัจจัยภายในร่างกาย เช่น โรคผิวหนัง ภาวะขาดน้ำ การจัดการกับสาเหตุเหล่านั้นอย่างถูกต้อง อาจช่วยแก้ไขปัญหาหนังศีรษะแห้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmr] หนังศีรษะแห้ง เกิดจากอะไร สาเหตุจากภายนอกร่างกาย การสระผมบ่อยเกินไป สระผมทุกวันอาจทำให้หนังศีรษะแห้งได้ เนื่องจากแชมพูทำความสะอาดผมจะขจัดความมันบนหนังศีรษะไปด้วย ทำให้หนังศีรษะขาดความชุ่มชื้นจนทำให้ผิวแห้ง สภาพอากาศ อากาศหนาวทำให้ผิวแห้ง รวมถึงหนังศีรษะแห้งด้วย เพราะถ้าอากาศภายนอกหนาวและแห้งจะทำให้น้ำในผิวระเหยอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผม การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จะดึงความชุ่มชื้นออกจากผิวและทำให้เกิดปัญหาหนังศีรษะแห้ง สาเหตุจากภายในร่างกาย ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น หนังศีรษะแห้ง อาจเกิดจากการที่หนังศีรษะขาดความชุ่มชื้น ทำให้เกิดปัญหาคือมีรังแค ผิวลอกเป็นขุย มีอาการคัน และเมื่อเกาแรง ๆ ก็ทำให้เป็นแผลถลอก จนอาจเกิดอาการผิวหนังอักเสบได้ อาการหนังศีรษะแห้งและมีรังแคนั้นไม่เหมือนกัน ผู้ที่มีปัญหาหนังศีรษะมัน ก็สามารถเกิดรังแคได้ ไม่ใช่แค่เฉพาะคนที่มีหนังศีรษะแห้งเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดรังแคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า มาเลสซีเซีย (Malassezia) ที่จะมีอยู่ตามปกติบนผิวหนังศีรษะ แต่หากมีจำนวนมากเกินไปก็จะทำให้มีรังแค ภาวะร่างกายขาดน้ำ การดื่มน้ำไม่เพียงพอทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น จึงเกิดอาการผิวแห้งที่ไม่ใช่เฉพาะหนังศีรษะ แต่ทำให้ผิวแห้งทั้งร่างกาย โรคผิวหนัง อาการหนังศีรษะแห้งอาจเกิดจากโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับหนังศีรษะ เช่น โรคต่อมไขมันอักเสบ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม