backup og meta

การบำบัดด้วยสี กับประโยชน์ที่คุณควรรู้ไว้

การบำบัดด้วยสี กับประโยชน์ที่คุณควรรู้ไว้

การบำบัดด้วยสี สามารถช่วยรักษาสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตได้ การบำบัดด้วยสีส่วนใหญ่ถูกมองว่า เป็นการบำบัดแบบเสริมหรือการแพทย์ทางเลือก ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักเกี่ยวกับการบำบัดด้วยแสง กันให้มากขึ้น กับบทความนี้ของ Hello คุณหมอกันดีกว่า

ทำความรู้จักกับ การบำบัดด้วยสี

การบำบัดด้วยสี (Color Therapy) เรียกอีกอย่างว่า Chromotherapy” ซึ่งการบำบัดด้วยสีนั้นมีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่าสีและแสงสีต่าง ๆ สามารถช่วยรักษาสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตได้ ตามแนวคิดนี้จึงเชื่อว่าสีสามารถเปลี่ยนอารมณ์และส่งผลถึงร่างกายของเราได้

การบำบัดด้วยสีมีประวัติอันยาวนาน โดยมันถูกบันทึกเอาไว้ว่า เคยมีการบำบัดด้วยสีและแสง ในอียิปต์โบราณ กรีซ จีน และอินเดีย

Walaa Al Muhaiteeb ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดด้วยสี กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์เรากับสีนั้นพัฒนาควบคู่กันไปพร้อมกับวัฒนธรรม ศาสนา และชีวิตของเรา

ปัจจุบันการบำบัดด้วยสีส่วนใหญ่ถูกมองว่า เป็นการบำบัดแบบเสริมหรือการแพทย์ทางเลือก ตัวอย่างเช่น ซันไลท์เท็น (Sunlighthen) ซึ่งเป็นห้องซาวน่าที่ใช้ไฟสีตกแต่งในห้องซาวน่า ถูกอ้างว่าให้ประโยชน์แก่ลูกค้าอีกด้วย ผู้ที่เข้าไปใช้บริการในซันไลท์เท็น สามารถเลือกแสงสีฟ้าได้ หากต้องการผ่อนคลายหรือสงบ นอกจากนั้นยังสามารถเลือกแสงสีชมพู หากต้องการล้างพิษ เป็นต้น

นอกจากนั้นการบำบัดด้วยสี ยังช่วยให้ผู้ที่ใช้บริการคลายความวิตกกังวล บรรเทาอาการซึมเศร้า และเข้าถึงตัวตนของผู้ใช้บริการเองได้ดีขึ้น ผ่านปฏิบัติการเรื่องสี กฝึกการหายใจ การทำสมาธิ และการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว

ศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการบำบัดด้วยสี

ความจริงก็คือ งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการบำบัดด้วยสียังค่อนข้างมีไม่มาก เนื่องจากยังเป็นการวิจัยด้านใหม่ในโลกของการแพทย์  แม้ ณ ตอนนี้วิทยาศาสตร์การแพทย์จะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า สีหรือแสงจะรักษาอาการเจ็บป่วยทางร่างกายของคุณหรือช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น แต่ก็มีหลักฐานบางอย่างที่ช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่า แสงสีสามารถมีผลต่อร่างกาย ระดับความเจ็บปวด และอารมณ์ ตัวอย่างเช่น การบำบัดด้วยแสงใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ซึ่งเป็นภาวะซึมเศร้าประเภทหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม่ร่วงและฤดูหนาว

การส่องไฟด้วยแสงสีฟ้ามักใช้ในโรงพยาบาล เพื่อรักษาอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ซึ่งภาวะนี้ทำให้ระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดสูง ทำให้ผิวหนังและดวงตาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในระหว่างการรักษา ทารกจะถูกวางไว้ใต้หลอดฮาโลเจน (Halogen) หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์สีน้ำเงิน ในขณะที่พวกเขานอนหลับ เพื่อให้ผิวหนังและเลือดดูดซับคลื่นแสงได้ คลื่นแสงเหล่านี้จะช่วยกำจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย

นอกจากนี้ การวิจัยจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ชี้ให้เห็นว่า ในระหว่างวันแสงสีฟ้า สามารถปรับปรุง

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานบางอย่างจากแหล่งที่มีที่เชื่อถือได้ที่ชี้ให้เห็นว่า การดูแสงสีฟ้าในเวลากลางคืน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วนได้ แม้ว่ายังจะไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัดก็ตาม

การบำบัดด้วยสีที่คุณเองก็สามารถทำได้

ในขณะที่งานวิจัยยังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม แต่ก็ยังไม่พบความผิดปกติในการใช้สีเพียงเล็กน้อย เพื่อปรับปรุงอารมณ์หรือปรับปรุงการนอนหลับ ถ้าคุณต้องการทำการบำบัดด้วยสีที่บ้านด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ ดังนี้

  • ป้องกันวงจรนาฬิกาชีวภาพ

เพื่อป้องกันไม่ให้ฟีไฟสีน้ำเงินของโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์รบกวนวงจรนาฬิกาชีวภาพ ดังนั้น ควรปิดไฟหลาย ๆ ชั่วโมงก่อนเข้านอน นอกจากนั้น ยังมีซอฟแวร์ที่ช่วยเปลี่ยนสีของแสงคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเลือกตามช่วงเวลาของวันได้ด้วย เช่น ใช้โทรสีร้อนในเวลากลางคืน และใช้สีของแสงแดดในเวลากลางวัน

คุณสามารถลองใช้แว่นตาป้องกันแสงสีฟ้า ซึ่งป้องกันแสงจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และหน้าจอทีวี อย่าลืมหาข้อมูลก่อนที่จะซื้อแว่นสำหรับกรองแสงสีฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่าแว่นตาที่คุณเลือกนั้นสามารถป้องกันแสงสีฟ้าได้จริง

  • ไฟกลางคืน

หากคุณต้องการแสงไฟกลางคืน ให้เลือกใช้ไฟสีแดงสลัว จากการวิจัยพบว่า แสงสีแดงอาจส่งผลต่อวงจรนาฬิกาชีวภาพน้อยกว่าแสงสีน้ำเงิน

  • พักกลางแจ้ง

หากคุณมีปัญหาในการโฟกัสหรือตื่นตัวให้ออกไปเดินเล่นข้างนอก ซึ่งคุณจะได้รับแสงสีฟ้าจากธรรมชาติอย่างเต็มที่ หรือใช้เวลากับพืชสีเขียวอาจเป็นวิธีผ่อนคลายความเครียดอย่างเป็นธรรมชาติ

  • ตกแต่งบ้านด้วยสีต่าง ๆ

การเลือกใช้เฉดสีต่าง ๆ ภายในบ้านก็สามารถช่วยเพิ่มอารมณ์ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น สีที่ให้สงบและสมดุลเหมาะสำหรับห้องน้ำและห้องนอน พื้นที่ทั่วไปที่ใช้ในการพักผ่อน เฉดสีที่สดใสและมีพลังนั้นรวมอยู่ในห้องครัวและห้องประประทานอาหาร พื้นที่ที่มีชีวิตชีวา และใช้สำหรับการพบปะสังสรรค์

การไปสปา การติดไฟ LED ที่บ้าน การทาสีเล็บ หรือการย้อมสีผมก็สามารถถือว่าเป็นการบำบัดด้วยสีได้เช่นกัน แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า สีและแสง มีผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร แต่นักวิจัยกำลังพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในระหว่างนี้การใช้สีรอบ ๆ บ้าน เพื่อช่วยรักษาสภาพอารมณ์ของคุณให้มั่นคง ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เช่นกัน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Mood-Boosting Benefits of Color Therapy. https://www.healthline.com/health/mental-health/the-mood-boosting-benefits-of-color-therapy. Accessed September 5, 2020

A Critical Analysis of Chromotherapy and Its Scientific Evolution. https://www.hindawi.com/journals/ecam/2005/254639/. Accessed September 5, 2020

Colored light therapy: overview of its history, theory, recent developments and clinical applications combined with acupuncture. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10513100/. Accessed September 5, 2020

Frequently Asked Questions About Phototherapy. https://med.stanford.edu/newborns/professional-education/jaundice-and-phototherapy/faqs-about-phototherapy.html. Accessed September 5, 2020

What’s in a Color? The Unique Human Health Effects of Blue Light. https://ehp.niehs.nih.gov/doi/10.1289/ehp.118-a22. Accessed September 5, 2020

An analysis on treatment effect of blue light phototherapy combined with Bifico in treating neonatal hemolytic jaundice. https://www.spandidos-publications.com/10.3892/etm.2018.6340. Accessed September 5, 2020

Seasonal affective disorder treatment: Choosing a light therapy box. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seasonal-affective-disorder/in-depth/seasonal-affective-disorder-treatment/art-20048298. Accessed September 5, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/11/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัตว์เพื่อการบำบัด (Emotional Support Animal) ในวันที่สัตว์ช่วยให้เราดีขึ้นได้

การบำบัดด้วย EMDR ที่ช่วยบำบัดแผลที่เลวร้ายในใจ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 13/11/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา