backup og meta

รู้จักกับ โยโย่ เอฟเฟค (YoYo Effect) ก่อนการลดน้ำหนักกันเถอะ

รู้จักกับ โยโย่ เอฟเฟค (YoYo Effect) ก่อนการลดน้ำหนักกันเถอะ

โยโย่ เอฟเฟค ถือได้ว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะแม้จะออกกำลังกาย และควบคุมการรับประทานอาหาร ก็ยังไม่เป็นผล ถึงแม้ตัวเลขน้ำหนักจะลดลง แต่เมื่อกลับมากินปกติอีกครั้ง น้ำหนักกลับดีดตัวพุ่งขึ้นสูงกว่าเดิมเสียอีก ลองมาหยุด ภาวะโยโย่เอฟเฟค ก่อนที่หุ่นคุณจะพังไปมากกว่านี้กับบทความของ Hello คุณหมอ ที่ทางเราได้นำเคล็ดลับดีๆ มาฝากทุกคนกัน

โยโย่เอฟเฟค คืออะไร ทำไมเราควรรู้ก่อนลดน้ำหนัก?

โยโย่ เอฟเฟค (YoYo Effect) คือผลกระทบจากที่คุณลดน้ำหนัก โดยการอดอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดและไม่สมควรทำอย่างมาก ถึงแม้จะเป็นกระบวนการที่ทำให้ตัวเลขลดลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อคุณกลับมารับประทานอาหารอีกครั้งด้วยความชะล่าใจ ส่งผลให้น้ำหนักเกิดเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายเท่า และยังรวมไปถึง สรีระร่างกายของคุณอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น กล้ามเนื้อหย่อนคล้อย ลงพุง

การลดน้ำหนักแบบผิดวิธี ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง

น้ำหนักที่ดีดตัวกลับมา หรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการลดน้ำหนักแบบผิดวิธี สามารถทำให้สุขภาพร่างกายของคุณแย่ลง รวมถึงยังนำโรคแทรกซ้อนเหล่านี้มาด้วย

วิธีหยุด โยโย่เอฟเฟค ก่อนหุ่นจะพังโดยไม่รู้ตัว

  • ลดไขมันในร่างกาย พร้อมกับการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกาย

ในการสร้างกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเป็นทางออกที่ดีที่สุด คุณสามารถเลือกวิธีออกกำลังกายให้เหมาะกับตนเองได้ ตามความถนัดและความสะดวก โดยควรคำนึงถึงความปลอดภัย นอกจากจะช่วยลดไขมันแล้ว ยังสามารถทำให้คุณเกิดความผ่อนคลายลดความเครียดได้อีกด้วย

  • ไม่ควรงดอาหารไม่ว่าจะเป็นมื้อใดๆ ก็ตาม

เพราะอาหารทุกมื้อล้วนสำคัญในการเปลี่ยนเป็นพลังงานกระจายตามทั่วร่างกาย โดยเฉพาะมื้อเช้าที่เป็นมื้อเริ่มต้น ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองให้มีสมาธิในการทำกิจกรรมระหว่างวันต่างๆ เช่น ทำงาน เรียนหนังสือ เป็นต้น หากคุณอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งไปอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ในอนาคต

  • จำกัดปริมาณอาหารที่เหมาะสม

ปรับสมดุลมื้ออาหาร และของว่าง ให้อยู่ในความพอดี โดยอาหารมื้อหลักๆ ควรจำกัดไขมัน ให้น้อยกว่าผักผลไม้ที่มีกากใยสูง โดยคุณสามารถใช้สมุดบันทึกปริมาณหรือตัวเลขของอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนตัวเลขของแคลอรี่ เพื่อป้องกันน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

  • เน้นอาหารประเภทแคลอรี่ต่ำ

หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนัก และไม่ก่อให้เกิดภาวะโยโย่เอฟเฟค คือ ลดแคลอรี่ อาจเน้นอาหารจำพวกข้าวโอ๊ต โยเกิร์ต ไข่ ปลา มันฝรั่ง ผัก ผลไม้ เพราะอาหารจำพวกนี้สามารถทำให้คุณรู้สึกอิ่ม และไม่หิว จนกินจุบจิบตลอดวัน เป็นการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ไม่ก่อให้เกิดโรคอ้วน

  • หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยน้ำมัน หรืออาหารที่มีไขมันสูง (ของทอด)

เนื่องจากน้ำมันในของทอดตามร้านอาหารหรือภายในครัวเรือนเป็นประเภทไขมันไม่ดี ยิ่งถูกความร้อนจะเปลี่ยนกระบวนทางเคมีเมื่อร่างกายรับสารอาหารประเภทนี้เข้าไปในปริมาณมาก ทำให้เกิดการย่อยสลายได้ยาก นำไปสู่ผลเสียต่อโรคต่างๆ ที่ตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักโภชนาการ เพื่อรับโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักที่ปราศจากผลเสียต่อสุขภาพอย่างถูกวิธี

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Why Weight Cycling Is Bad for Your Health https://www.verywellfit.com/what-is-weight-cycling-3496298 Accessed January 28, 2020

Weight Cycling…Facts About “Yo-Yo” Dieting https://www.onhealth.com/content/1/weight_cyclingfacts_about_yo-yo_dieting Accessed January 28, 2020

How does yo-yo dieting affect our heart health? https://www.medicalnewstoday.com/articles/323723.php#5 Accessed January 28, 2020

HEALTHY WEIGHT LOSS: HOW TO STOP THE YO-YO EFFECT. https://www.bangkokhospital.com/en/disease-treatment/lose-weight-without-yo-yo Accessed January 28, 2020

Breakfast: Is It the Most Important Meal? https://www.webmd.com/food-recipes/breakfast-lose-weight# Accessed January 28, 2020

13 Low-Calorie Foods That Are Surprisingly Filling https://www.healthline.com/nutrition/low-calorie-foods#section10 Accessed January 28, 2020

Why Are Fried Foods Bad For You? https://www.healthline.com/nutrition/why-fried-foods-are-bad Accessed January 28, 2020

Eating Frequency and Weight Loss https://www.health.harvard.edu/diet-and-weight-loss/eating-frequency-and-weight-loss Accessed January 28, 2020

How to build muscle with exercise https://www.medicalnewstoday.com/articles/319151.php#rest-and-muscle-growth Accessed January 28, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดน้ำหนัก โปรตีน สำคัญอย่างไร ควรกินโปรตีนเท่าไหร่

น้ำหนักลด แบบไม่ต้องอดอาหาร เพียงแค่ปรับไลฟสไตล์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา