การคลอดและหลังคลอด

การคลอดและหลังคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องเตรียมพร้อม โดยการคลอดที่รู้จักกันดีอยู่แล้วคือ การคลอดธรรมชาติ และการผ่าคลอด ซึ่งกรณีที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ ก็จะต้องผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของทารก เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การคลอดและหลังคลอด ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคลอดและหลังคลอด

ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรค่อย ๆ จัดกระเป๋าของใช้เตรียมคลอดไปโรงพยาบาลเสียแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตัดสินใจคลอดธรรมชาติ เพื่อเตรียมความพร้อม เช็คลิสต์ ของใช้เตรียมคลอด ได้อย่างครบถ้วน ทั้งอุปกรณ์ ของใช้ ของแม่และทารก รวมถึงเอกสารสำคัญที่ควรรวบรวมเก็บไว้ในที่เดียวกัน ให้ง่ายต่อการขนย้ายในวันที่เจ็บท้องคลอด [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง สำหรับข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเก็บกระเป๋าเตรียมคลอดไปโรงพยาบาล คุณแม่อาจมีเช็คลิสต์ของใช้เตรียมคลอด โดยแยกเป็นหมวดหมู่ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ของใช้สำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับทารก และเอกสารสำคัญ ตัวอย่างเช่น ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ ได้แก่ สบู่  ยาสระผม  ยาสีฟัน  แปรงสีฟัน  โฟมล้างหน้า  ครีมบำรุงผิว ผ้าเช็ดตัว แผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัย หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลา จึงควรเตรียมเผื่อเอาไว้ เสื้อผ้าสำหรับคุณแม่ใส่ในวันกลับบ้าน 1 ชุด ควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย สวมง่าย เป็นชุดที่ให้นมลูกได้ โดยเฉพาะกางเกงชั้นในควรเลือกที่ใส่สบาย  ผ้ารัดหน้าท้อง ควรมีไว้เพื่อกระชับเอวให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น เตรียมของสำหรับการให้นม เช่น ชุดชั้นในให้นม และแผ่นซับน้ำนมเพื่อป้องกันน้ำนมซึมเปื้อน รองเท้า ควรเลือกส้นเตี้ยสวมใส่ได้สบาย แว่นตา กรณีที่สายตามีปัญหา โทรศัพท์มือถือ […]

หมวดหมู่ การคลอดและหลังคลอด เพิ่มเติม

สำรวจ การคลอดและหลังคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

Postpartum hemorrhage คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Postpartum hemorrhage คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนในคุณแม่หลังคลอดที่พบได้บ่อย คุณแม่จะมีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงไปจนถึง 12 สัปดาห์หลังคลอด โดยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นแรง คลื่นไส้ อาเจียน ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว เลือดไม่ไหลเวียนไปยังสมองและอวัยวะอื่น ๆ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากคุณแม่หลังคลอดพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของ Postpartum hemorrhage ควรรีบพบไปคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] Postpartum hemorrhage คือ อะไร Postpartum hemorrhage คือภาวะเลือดจากช่องคลอดมากกว่าปกติหลังคลอดบุตร ภาวะนี้พบได้บ่อย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากร่างกายขับรกออกมาแล้วตั้งแต่ 24 ชั่วโมงไปจนถึง 12 สัปดาห์หลังคลอด ภาวะนี้อันตรายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการสูญเสียเลือดในปริมาณมากอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง เลือดไม่ไหลเวียน และทำให้เกิดอาการช็อก จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ คุณแม่หลังคลอดและครอบครัวจึงต้องหมั่นสังเกตอาการ หากมีอาการผิดปกติภายใน 24 ชั่วโมง ควรแจ้งทีมแพทย์ผู้ดูแลให้เร็วที่สุด การรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดปริมาณการสูญเสียเลือดได้ ประเภทของ Postpartum hemorrhage ประเภทของ Postpartum […]


การคลอดและหลังคลอด

มูกเลือดก่อนคลอด คืออะไร อาการใกล้คลอดที่ควรรู้

มูกเลือดก่อนคลอด เป็นมูกเลือดที่ทำหน้าที่ปิดกั้นปากมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากช่องคลอด เช่น แบคทีเรีย ผ่านเข้าไปในโพรงมดลูกและไปยังทารกในครรภ์ โดยทั่วไปจะหลุดและไหลออกมาจากช่องคลอดเมื่อปากมดลูกอ่อนตัวและหดสั้นลงเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ระยะคลอด ดยส่วนใหญ่จะพบในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หากพบว่ามีมูกเลือดหลุดออกมาจากช่องคลอดแล้วมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง หรือพบว่าถุงน้ำคร่ำแตก อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเข้าสู่ระยะการคลอดบุตร ควรไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-due-date] มูกเลือดก่อนคลอด คืออะไร มูกเลือดก่อนคลอดเป็นมูกเลือดที่หลุดออกมาจากช่องคลอด ส่วนใหญ่พบมากภายหลังไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ลักษณะเป็นมูกเหนียว อาจเป็นก้อนเมือกหรือเป็นเส้นยาวคล้ายเยลลี่ ความยาว 1-2 นิ้ว สีใส สีขาว สีแดงหรือน้ำตาล และไม่มีกลิ่น อุดกั้นอยู่บริเวณปากมดลูก (Mucus plug) และอาจหลุดออกมาเป็นก้อนเล็ก ๆ หรือหลุดออกมาทั้งหมดในคราวเดียวกันในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอดหรือในขณะคลอด บางครั้งอาจพบมูกเลือดติดกระดาษชำระในขณะเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังจากเข้าห้องน้ำ ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์หลายคนอาจแทบไม่สังเกตเห็นมูกเลือดนี้เลย โดยเฉพาะผู้ที่มีตกขาวขณะตั้งครรภ์มากอยู่แล้ว เมื่อมูกที่อุดกั้นปากมดลูกอยู่หลุดออกไป และปากมดลูกเริ่มนิ่มลงและขยายออก อาจทำให้เส้นเลือดที่อยู่บริเวณโดยรอบฉีกขาด และมีสารคัดหลั่งหรือเลือดสด ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอด (Bloody show) หรือมีเลือดปนออกมากับมูกกั้นปากมดลูก อย่างไรก็ตาม มูกเลือดที่ไหลออกมาอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การบาดเจ็บ การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำเพื่อกระตุ้นการคลอด (Membrane sweeping) มูกเลือดก่อนคลอด สำคัญอย่างไร หน้าที่ของมูกเลือดก่อนคลอด อาจมีดังนี้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าถึงทารกในครรภ์ […]


การคลอด

อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง เป็นอย่างไร ควรบรรเทาอาการอย่างไร

คุณแม่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป อาจเริ่มมี อาการใกล้คลอด เช่น ปวดหน่วง หายใจลำบาก บางคนอาจเริ่มรู้สึกเจ็บท้องอย่างมากเนื่องจากมดลูกมีการหดตัวเป็นช่วง ๆ เพื่อเตรียมสำหรับการคลอด ดังนั้น คุณแม่จึงควรศึกษาว่า อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง เป็นอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-due-date] อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง คืออะไร อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง คือ สัญญาณเตือนหลักที่ช่วยทำให้คุณแม่ทราบว่าใกล้ถึงช่วงเวลาคลอดบุตร โดยอาการใกล้คลอดที่ทำให้ปวดหน่วงมีสาเหตุมาจากการที่มดลูกขยายกว้างและหดตัวเป็นช่วง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่ทารกจะเริ่มกลับหัวและเคลื่อนตัวไปอยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยคุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าหน้าท้องตึงกว่าปกติ ร่วมกับอาการมดลูกขยายและหดตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 30-45 วินาทีต่อครั้ง ส่งผลให้รู้สึกเจ็บท้องเล็กน้อยคล้ายกับอาการปวดประจำเดือน และอาจมีสารคัดหลั่งสีชมพูใสหรือมีเลือดไหลออกมาเล็กน้อย ระยะที่ 2 เป็นระยะที่จำเป็นต้องเข้ารับการประเมินกับคุณหมอว่าใกล้ถึงเวลาคลอดหรือไม่ และอาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อเตรียมคลอด โดยในระยะนี้มดลูกจะเริ่มขยายและหดตัวถี่มากขึ้นและยาวนานขึ้น ประมาณ 30 วินาที ไปจนถึง 1 หรือ 2 นาทีต่อครั้ง โดยในระหว่างการรอให้ปากมดลูกขยายกว้างกว่า 8 […]


การคลอด

คลอด เอง กับ ผ่า คลอด มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

วิธีการคลอดบุตรมี 2 วิธี คือ คลอด เอง กับ ผ่า คลอด ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรที่จะสามารถคลอดเองทางธรรมชาติได้ ยกเว้นแต่ว่าจะมีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอด หรือมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอด ซึ่งต้องประเมินจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะสุขภาพของคุณแม่ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ตำแหน่งของทารกหรือตำแหน่งของรกในครรภ์ เป็นต้น ดังนั้น คุณแม่แต่ละคนจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพครรภ์ตามนัดหมายอยู่เสมอ และปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คลอด เอง กับ ผ่า คลอด ต่างกันอย่างไร คลอดเองกับผ่าคลอดมีความแตกต่างกัน โดยการคลอดเองเป็นวิธีคลอดแบบธรรมชาติทางช่องคลอดที่ไม่ใช้ยาและใช้อุปกรณ์ในการช่วยคลอดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งจะการคลอดเองจะต้องรอให้ปากมดลูกขยายตัวเต็มที่ คือ ประมาณ 8-10 เซนติเมตร พร้อมกับการเบ่งคลอดที่อาจสร้างความรู้สึกเจ็บปวดขณะคลอด โดยคุณแม่จะต้องผ่อนคลายร่างกายและควบคุมการหายใจ จากนั้นเบ่งคลอดอย่างเป็นจังหวะจนกว่าทารกจะคลอดออกมา ซึ่งการคลอดเองนี้จะสามารถทำได้ในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอด เช่น ภาวะทารกตัวใหญ่ ภาวะรกเกาะต่ำ คุณแม่ที่เคยผ่านการผ่าตัดคลอดมาก่อน หรือกรณีมีเนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่ที่บังช่องทางคลอด เป็นต้น สำหรับการผ่าคลอดเป็นการผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง โดยคุณหมอจะกรีดช่องท้องในแนวนอนใกล้กับหัวหน่าว หรือกรีดแนวตั้งบริเวณสะดือไปจนถึงกระดูกหัวหนาว ซึ่งจะกรีดลึกเข้าไปจนถึงมดลูกเพื่อนำตัวทารกออกมาทางหน้าท้อง จะเห็นได้ว่า คลอดเองกับผ่าคลอดมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะประเมินภาวะครรภ์และแนะนำวิธีการคลอดที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์มากที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว คลอดเอง มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร การคลอดเอง มีข้อดีทั้งต่อร่างกายและจิตใจของคุณแม่ ดังนี้ […]


การคลอด

การ คลอด ธรรมชาติ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

การ คลอด ธรรมชาติ เป็นการคลอดที่คุณแม่ต้องใช้ความอดทนทั้งทางร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นวิธีคลอดที่ใช้ระยะเวลาในการรอคลอดนานและต้องใช้ความร่วมมือจากคุณแม่ร่วมด้วยในกระบวนการรอคลอดและการเบ่งคลอด จึงเป็นวิธีการคลอดที่สร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่ได้ อย่างไรก็ตาม การคลอดธรรมชาติมีข้อดีต่อตัวคุณแม่และทารก เช่น มีโอกาสที่เสียเลือดในระหว่างการคลอดที่น้อยกว่าการผ่าตัดคลอด ร่างกายของคุณแม่จะฟื้นตัวเร็วภายหลังคลอด ปริมาณน้ำนมมาเร็วกว่าเนื่องจากมีการกระตุ้นระบบการสร้างน้ำนมจากการเจ็บครรภ์คลอดมาก่อน และในส่วนของทารกยังสามารถได้รับภูมิคุ้มกันเพิ่มเติมจากการคลอดผ่านช่องทางการคลอดธรรมชาติ รวมถึงอาจเพิ่มความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การคลอดธรรมชาติอาจไม่เหมาะกับบางคนที่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอดจึงจำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนคลอด [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การ คลอด ธรรมชาติ คืออะไร การคลอดธรรมชาติ คือ วิธีการคลอดลูกทางช่องคลอด ที่ต้องมีการเจ็บครรภ์คลอดหรือคือการที่มดลูกหดรัดตัวและกระตุ้นให้ปากมดลูกเปิขยายเต็มที่10 เซนติเมตรก่อนที่จะเบ่งคลอด โดยอาจเป็นการเจ็บตามธรรมชาติ หรือการให้ยากระตุ้นร่วมด้วยก็ได้ จึงทำให้คุณแม่มีความเจ็บปวดในขณะรอคลอดและการเบ่งคลอดเพื่อช่วยให้คลอดง่ายขึ้นและช่วยบรรเทาความเจ็บปวดอาจต้องใช้เทคนิคบางอย่าง เช่น การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ การควบคุมจังหวะการหายใจ การเบ่งคลอดที่ถูกจังหวะและวิธี ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ การคลอดธรรมชาติมีข้อดีต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้ ด้านคุณแม่ ลดโอกาสในการเกิดอันตรายหรือผลข้างเคียง เนื่องจากการคลอดธรรมชาติอาจไม่ใช้ยาและไม่ต้องผ่าตัดเข้าไปในช่องท้องจึงอาจลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายของอวัยวะภายในหรือการบาดเจ็บอื่น ๆ รวมทั้งการคลอดธรรมชาติมักจะเสียเลือดภายหลังคลอดได้น้อยกว่า  ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว การคลอดธรรมชาติอาจช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายและลุกเดินได้ แต่อาจต้องเดินแยกขาอย่างระมัดระวังประมาณ 7 วัน เพื่อป้องกันแผลเย็บปริออก เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก การเบ่งคลอดเป็นการใช้พลังงาน ความพยายาม และความอดทนกับความเจ็บปวด จึงอาจช่วยเพิ่มความรู้สึกผูกพันระหว่างแม่กับลูกในระหว่างคลอด รวมทั้งหลังคลอดหากทารกไม่มีอาการผิดปกติ ยังสามารถเข้าเต้าได้ทันที สร้างสายสัมพันธ์ในช่วงแรกหลังคลอดได้เร็วมากขึ้น ด้านทารก เพิ่มภูมิคุ้มกันในทารกได้ดีกว่า ทารกที่คลอดด้วยวิธีทางธรรมชาติจะสามารถได้รับภูมิคุมกันเชื้อโรคบางอย่างเพิ่มเติมจากการคลอดผ่านช่องคลอดของคุณแม่ ลดโอกาสการเกิดภาวะหายใจเร็วในทารกแรกเกิดได้ ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ โดยปกติการคลอดธรรมชาติมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็อาจมีข้อเสียที่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนี้ […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

ตรวจคัดกรองโครโมโซม ลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์

ตรวจคัดกรองโครโมโซม หรือการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ผ่านการตรวจเลือดหรือการอัลตราซาวด์ ซึ่งอาจทำให้ทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ซินโดรม กลุ่มอาการไคลน์เฟลเทอร์ อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองโครโมโซมอาจไม่สามารถยืนยันความผิดปกติได้แม่นยำ 100% จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ โครโมโซม คืออะไร โครโมโซม (Chromosome) คือ รหัสทางพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ร่างกาย และสร้างขึ้นจากดีเอ็นเอ (DNA) โดยมียีนทำหน้าที่ควบคุมการสร้างลักษณะทางพันธุกรรมในแต่ละส่วน ควบคุมการทำงานของเซลล์และกำหนดลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล โดยร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยเซลล์หลายพันล้านเซลล์ ซึ่งในแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซมจับคู่กันลักษณะคล้ายปลาท่องโก๋ จำนวนทั้งหมด 46 แท่ง หรือ 23 คู่ แบ่งเป็นโครโมโซมร่างกาย 22 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ โดย XX หมายถึง เพศหญิง และ XY หมายถึง เพศชาย ในบางกรณี โครโมโซมอาจเกิดความผิดปกติได้ โดยอาจมีโครโมโซมส่วนเกินหรือโครโมโซมบางส่วนขาดหายไป ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของทารก โดยความผิดปกติของโครโมโซมในทารกแรกเกิดที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด วิธีสังเกตอาการเจ็บท้องเตือนและเจ็บท้องคลอด

การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หรือไตรมาสสุดท้าย คุณแม่มักจะมีอาการเจ็บท้องที่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าใกล้คลอดแล้ว การทราบวิธีสังเกตอาการเจ็บท้องเตือนและเจ็บท้องคลอดอาจช่วยให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด อาจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ปวดท้องมาก ควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์  [embed-health-tool-due-date] เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด อาจขึ้นอยู่กับประเภทของอาการเจ็บท้องและภาวะสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคน อาการเจ็บท้องมี 2 ประเภท ได้แก่ อาการเจ็บท้องหลอกหรือเจ็บท้องเตือน เป็นอาการเจ็บท้องที่ยังไม่มีการคลอดลูก และอาการเจ็บท้องจริง เป็นอาการที่แสดงว่าใกล้ถึงครบกำหนดคลอด ซึ่งควรเตรียมพร้อมในการไปโรงพยาบาล  วิธีสังเกตอาการเจ็บท้องเตือนและเจ็บท้องคลอด อาการเมื่อเจ็บท้องเตือน และเจ็บท้องคลอด อาจมีดังนี้ อาการเจ็บท้องเตือน อาการที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นอาการเจ็บท้องเตือน มีดังนี้  มีอาการคล้ายปวดประจำเดือน แต่ไม่มีเลือดหรือมูกปนเลือดออกมาจากช่องคลอด มดลูกบีบตัวแบบเป็น ๆ หาย ๆ ไม่สม่ำเสมอ  การบีบตัวของมดลูกจะบรรเทาลงและหายไป หากเปลี่ยนท่าทาง หรือนอนพักผ่อน  อาการเจ็บท้องคลอด สัญญาอาการที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นอาการเจ็บท้องคลอด มีดังนี้ มดลูกบีบรัดตัวสม่ำเสมอ ครั้งละประมาณ 30-60 วินาที ทิ้งช่วงเวลาห่างกันประมาณครั้งละ 5-20 นาที และบีบตัวถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อลุกขึ้นเดิน เปลี่ยนท่าทาง อาการมดลูกบีบรัดตัวไม่บรรเทาลง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด วิธีรับมือที่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คือความผิดปกติทางจิตที่เกิดขึ้นหลังการคลอดลูก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูก คุณแม่ที่ซึมเศร้าหลังคลอดอาจมีอารมณ์แปรปรวน เศร้า หงุดหงิด รู้สึกแย่ และอาจไม่สามารถดูแลลูกได้อย่างเต็มที่ สาเหตุอาจเกิดได้จากความเครียดที่สะสมมาตลอดช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์ ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มีแต่เดิม ความเครียดในการเลี้ยงดูทารก การพักผ่อนน้อย หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบข้างในขณะนั้น ทั้งนี้ ควรศึกษาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและส่งผลดีต่อคุณแม่และลูกมากที่สุด เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การรักษาด้วยยาต้านเศร้า เพื่อให้คุณแม่หายจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และได้กลับไปใช้เวลาที่มีค่ากับลูกน้อยและครอบครัวได้อย่างมีความสุข [embed-health-tool-due-date] ประเภทของ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ประเภทของ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สามารถแยกได้ดังนี้ ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Baby Blues) ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจนานถึง 1-2 สัปดาห์หลังคลอด อาการของ ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด อาจมีดังนี้ ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ รู้สึกแย่ วิตกกังวล หรือมีอารมณ์แปรปรวน เช่น มีความสุขอยู่ดี ๆ ก็รู้สึกเศร้า รู้สึกปั่นป่วน ไม่สบายใจ หรือวิตกกังวล สูญเสียความอยากอาหาร กินข้าวไม่ลง หรืออาจกินมากกว่าปกติ โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression หรือ PPD) หากมีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดนานเกิน 2 สัปดาห์ จะถือว่าคุณแม่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด โรคนี้อาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหรือนานหลายเดือน จนอาจกระทบต่อดูแลลูกและการใช้ชีวิตประจำวัน อาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด […]


การคลอด

การคลอดลูก มีกี่วิธี และควรดูแลตัวเองหลังคลอดอย่างไร

การคลอดลูก มีทั้งรูปแบบการคลอดธรรมชาติและการผ่าตัด การคลอดธรรมชาติเป็นรูปแบบการคลอดโดยพื้นฐานที่คุณหมอมักแนะนำส่วนการผ่าคลอดเหมาะกับมารดาที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติเองได้ หรือต้องการผ่าคลอดตามฤกษ์ หรือมีปัญหาขณะคลอด เช่น ทารกในครรภ์ไม่ยอมกลับหัว ปากมดลูกไม่เปิดกว้างมากพอที่จะคลอดทารก รวมถึงคุณแม่ที่มีภาวะที่อาจถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ เช่น เอชไอวี การติดเชื้อช่องคลอด คุณหมออาจเป็นผู้กำหนดวิธีการคลอดที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์เป็นหลัก [embed-health-tool-due-date] การคลอดลูก มีกี่วิธี การคลอดลูก มี 2 วิธีด้วยกัน ดังนี้ 1. การผ่าคลอด เป็นวิธีการคลอดที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปากมดลูกขยายไม่เพียงพอ ทารกไม่กลับหัวเมื่อถึงกำหนดคลอด รกเกาะต่ำ โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการทำความสะอาดหน้าท้อง กำจัดขนบริเวณหน้าท้องที่จะทำการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และใส่สายสวนเข้าไปทางกระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออก ส่วนมากจะผ่าตัดภายใต้การบล็อกสันหลังเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัด และหลังผ่าตัด หรือในบางกรณีจะทำการดมยาสลบเพื่อทำการผ่าตัด จากนั้นคุณหมอจะใช้มีดผ่าตัดกรีดตั้งแต่สะดือลงมาเป็นเส้นตรง หรือกรีดเป็นแนวยาวบริเวณท้องน้อย เมื่อนำตัวทารกออกจากครรภ์มารดาแล้วก็จะทำการเย็บปิดแผล 2. การคลอดลูกแบบธรรมชาติ คือการคลอดลูกทางช่องคลอด อาจจะมีการใช้หัตถการในการช่วยคลอดบางอย่าง เช่น คีม เครื่องดูดสุญญากาศ อาจจะมีการให้ยาแก้ปวดทางเส้นเลือดดำ หรือบล็อกหลังในบางกรณี และจะใช้วิธีการกำหนดลมหายใจให้เป็นจังหวะ เพื่อช่วยเพิ่มแรงในการเบ่งทารก การคลอดลูกแบบธรรมชาติอาจใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของคุณแม่ นอกจากนี้ การคลอดลูกแบบธรรมชาติมีหลายเทคนิคด้วยกัน เช่น การคลอดลูกในอ่างน้ำ การคลอดแบบเทคนิคอเล็กซานเดอร์ (Alexander Technique) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนท่าทางเพื่อลดความตึงเครียดไม่ว่าจะเป็นท่านั่งอ่านหนังสือ เดิน และการคลอดด้วยเทคนิค […]


การคลอด

อาการปวดท้องคลอด สัญญาณที่ควรสังเกต

อาการปวดท้องคลอด เป็นสัญญาณของการคลอดบุตรซึ่งว่าที่คุณแม่แต่ละคนอาจมีอาการที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจเจ็บปวดท้องส่วนล่าง ปวดหลัง เป็นตะคริวรุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการน้อยมากหรือไม่มีอาการ ทั้งนี้ ควรสังเกตสัญญาณโดยรวมเพื่อเข้าพบคุณหมอและเตรียมคลอดได้ทัน เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย [embed-health-tool-due-date] อาการปวดท้องคลอด เป็นอย่างไร อาการปวดท้องคลอดอาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ อาการปวดท้องเตือนและอาการปวดท้องคลอด ดังนี้ อาการปวดท้องเตือน อาการปวดท้องเตือนมักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2-3 หรือประมาณเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกตามปกติระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้หน้าท้องอาจเริ่มหดรัดเกร็งมากขึ้น ความเจ็บปวดและความไม่สบายตัวเริ่มแผ่ไปด้านบนของกล้ามเนื้อมดลูกและด้านหลัง อาการปวดท้องเตือนอาจเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง มีอาการปวดคงที่ ไม่รุนแรง และมักจะปวดทั่วทั้งบริเวณท้องน้อย อาการปวดท้องคลอด อาการปวดท้องคลอดมักเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เป็นอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อมดลูกหดรัดตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเมื่อถึงกำหนดคลอด ผู้หญิงบางคนอาจมีสัญญาณชัดเจนแต่บางคนอาจไม่แสดงอาการ โดยอาการปวดท้องคลอดสามารถสังเกตได้ ดังนี้ ท้องลดระดับลง เป็นช่วงที่ทารกจะเริ่มกลับหัวและเคลื่อนตัวไปอยู่ในบริเวณกระดูกเชิงกราน โดยระดับท้องที่เคยสูงถึงระดับลิ้นปี่จะลดระดับลง จนทำให้ท้องดูต่ำลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์หรือ 2-3 ชั่วโมงก่อนคลอด อาจทำให้คุณแม่มีอาการเหล่านี้ รู้สึกปวดปัสสาวะมากขึ้นเนื่องจากมดลูกกดทับบริเวณกระเพาะปัสสาวะ คุณแม่อาจหายใจสะดวกขึ้นและอาการเสียดท้องลดลง เนื่องจากมีพื้นที่ว่างในท้องส่วนบนจากการที่มดลูกลดต่ำลง อาจมีเมือกใส สีชมพู หรือมีเลือดปนเล็กน้อยไหลออกมาทางปากมดลูก จากนั้นภายใน 1-2 สัปดาห์ต่อมาอาจพร้อมคลอดทันที การหดตัวของมดลูก มดลูกจะเริ่มหดและขยายตัวรุนแรงขึ้นทำให้คุณแม่อาจรู้สึกว่าท้องแข็งขึ้น ซึ่งอาการของมดลูกหดตัวอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน