ช่วงเวลาหลังคลอด

ช่วงเวลาหลังคลอด คือช่วงเวลาเริ่มต้นการเป็นคุณแม่ ที่ควรใส่ใจให้ความสำคัญไม่แพ้กับช่วงเวลาไหน ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ ช่วงเวลาหลังคลอด ของคุณแม่ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ช่วงเวลาหลังคลอด

อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง มีสาเหตุมาจากอะไร

อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง เป็นอาการเจ็บปวด บวม กดแล้วเจ็บและไม่สบายตัวบริเวณเต้านม ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การผลิตน้ำนม และการเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปยังเต้านม ส่งผลให้มีอาการคัดเต้าแต่ไม่ได้ท้องเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งอาการคัดเต้าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อาการคัดเต้ายังอาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพบางชนิดได้เช่นกัน [embed-health-tool-due-date] อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง เกิดจากอะไรได้บ้าง อาการคัดเต้า ไม่ได้ท้อง อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ อาการคัดเต้าก่อนมีประจำเดือน เป็นสัญญาณก่อนมีประจำเดือนที่เกิดจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เต้านมขยายใหญ่ คัดตึง และเจ็บปวดเมื่อสัมผัส โดยอาการคัดเต้าจะหายไปในวันที่ประจำเดือนมาวันแรก แต่หากตั้งครรภ์อาการคัดเต้าจะเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 1-2 ของการตั้งครรภ์ และจะเกิดขึ้นติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน ซีสต์เต้านม (Fibrocystic Breast Disease) เกิดจากเนื้อเยื่อเต้านมเป็นพังผืดและถุงน้ำเต้านมเต็มไปด้วยของเหลวอาจเกิดขึ้นเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นก้อนเนื้อ ซึ่งมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะในช่วงก่อนมีประจำเดือน อาจทำให้มีอาการเจ็บ คัดเต้า บวม ไม่สบายเต้านมและใต้วงแขน มีก้อนที่เต้านมก่อนมีประจำเดือนในแต่ละครั้ง ซึ่งก้อนที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อประจำเดือนมา อาการคัดเต้าในผู้หญิงให้นมลูก เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการผลิตน้ำนมมักเกิดขึ้นประมาณ 1-4 วันหลังคลอด โดยเลือดจะไหลเวียนไปยังเต้านมมากขึ้น ทำให้เต้านมมีน้ำนม เลือด […]

สำรวจ ช่วงเวลาหลังคลอด

ช่วงเวลาหลังคลอด

วิธีเก็บนมแม่ เก็บอย่างไรให้ถูกวิธีและคงคุณค่าสารอาหาร

วิธีเก็บนมแม่ สำหรับลูกน้อยเวลาที่คุณแม่ไม่อยู่บ้านนั้น ปัจจุบันนี้ สามารถทำได้สะดวกมากขึ้นเพราะมีอุปกรณ์ที่สามารถช่วยให้จัดเก็บนมแม่ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม คุณแม่มือใหม่ควรศึกษาวิธีการเก็บนมแม่ให้ถูกต้อง เพื่อจะได้รักษาประโยชน์และคงคุณค่าสารอาหารของน้ำนมแม่ไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะหากเก็บรักษาไม่ถูกวิธีอาจลดทอนคุณค่าสารอาหารในน้ำนม [embed-health-tool-ovulation] นมแม่เก็บได้นานแค่ไหน เมื่อคุณแม่ปั๊มนมเสร็จแล้วอาจสงสัยว่า นมแม่นั้นสามารถเก็บไว้ได้นานเท่าไร ซึ่งการเก็บแต่ละวิธีนั้น อาจทำให้ระยะช่วงเวลาในการเก็บน้ำนมนั้นไม่เท่ากัน เก็บนมแม่ไว้ที่อุณหภูมิห้อง เก็บได้นาน 4-6 ชั่วโมงหลังจากปั๊มนม เก็บในแพ็คคูลเลอร์มีฉนวนกันความร้อนพร้อมถุงน้ำแข็ง ซึ่งคุณแม่ใส่นมแม่ลงในถุงเก็บความเย็นสามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมงหลังปั๊มนม หากแช่ไว้ในตู้เย็น นมแม่สามารถอยู่ได้นาน 4 วัน ตู้แช่แข็งแบบเฉพาะ เมื่อคุณแม่ปั๊มน้ำนมออกมาใหม่สามารถเก็บไว้ที่ตู้แช่แข็งได้นาน 12 เดือน แต่ควรใช้ให้หมดภายในหกเดือน เพราะถึงอย่างไร ก็ไม่ควรเก็บนมแม่ไว้นานจนเกินไป เพราะคุณประโยชน์จากนมแม่อาจน้อยลง อุปกรณ์สำหรับเก็บนมแม่ คุณแม่สามารถใช้แก้วที่สะอาดหรือขวดพลาสติกแข็งปลอดสาร BPA ที่มีฝาปิดแน่น หรือสามารถใช้ถุงพลาสติกพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อเก็บน้ำนม ที่สำคัญไม่ควรใช้ที่เก็บนมแบบใช้แล้วทิ้งหรือถุงพลาสติกอื่น ๆ เพื่อเก็บน้ำนมแม่ เนื่องจากอาจสะอาดไม่พอ หากลูกน้อยดื่มเข้าไป อาจทำให้ป่วยได้ วิธีเก็บนมแม่ ควรทำอย่างไร ควรเก็บนมแม่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อง่ายต่อการนำหยิบออกมาเทใส่ขวดให้ลูกน้อย ดังนี้ ติดฉลากขวดนมพร้อมเขียนกำกับแสดงวันที่อย่างชัดเจน เพื่อนำน้ำนมแม่ที่ปั๊มออกมาให้ลูกน้อยดื่มก่อน ควรแช่แข็งน้ำนมในปริมาณเล็กน้อย (2 ถึง 4 ออนซ์ หรือ ¼ ถึง ½ ถ้วย) เท่านั้น […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

ตะคริวหลังคลอด สาเหตุ และวิธีการรักษา

ตะคริวหลังคลอด อาจเกิดขึ้นจากมดลูกมีการหดตัวและขยายกลับสู่ปกติ ทำให้มีอาการปวดเกร็งบริเวณท้อง มักเกิดขึ้นภายในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด และอาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดอย่างรุนแรง หรือมีอาการนานต่อเนื่อง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อสาเหตุและทำการรักษาในทันที [embed-health-tool-”due-date”] ตะคริวหลังคลอด คืออะไร คุณแม่อาจมีอาการเป็นตะคริวหลังคลอดและรู้สึกไม่สบายตัวหลังจากคลอดลูกน้อย เนื่องจากมดลูกมีการหดตัวและกลับสู่ขนาดปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ โดยจะรู้สึกเจ็บท้องน้อย หรือปวดคล้าย ๆ กับปวดประจำเดือน โดยอาการมักจะรุนแรงขึ้น หากเป็นลูกคนที่สองหรือสาม ตะคริวหลังคลอดเป็นนานเท่าไร อาการตะคริวหลังคลอดมักไม่เป็นนานเท่าที่ควร หลังจากเมื่อมดลูกจะกลับสู่ภาวะปกติ ตะคริวของคุณแม่ก็อาจจะลดลง หรือหายไปภายใน 1 สัปดาห์ หรือเร็ว/ช้ากว่านั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพคุณแม่แต่ละคน ตะคริวที่เกิดจากสภาวะอื่น ๆ เช่น อาการท้องผูกหรือการติดเชื้อ อาจจะใช้เวลาต่างกันไป และหากไม่ได้รับการรักษา อาการตะคริวก็จะยังคงอยู่กับคุณแม่ ดังนั้น หากคุณแม่รู้สึกเจ็บปวด อย่ารอช้าที่ไปตรวจหาอาการกับคุณหมอ สาเหตุของการเป็น ตะคริวหลังคลอด เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่หลังคลอดอาจมีอาการเป็นตะคริวในช่องท้องส่วนล่าง หรืออาจปวดคล้าย ๆ กับการปวดประจำเดือน เนื่องจากมดลูกของผู้หญิงจะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าของขนาดเดิมตลอดการตั้งครรภ์ และการเป็นตะคริวเกิดจากการที่มดลูกหดตัวกลับไปเป็นขนาดปกติที่เล็กลง รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ ของการเป็นตะคริวหลังคลอดได้แก่ การผ่าคลอด อาการนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ที่คลอดบุตรทางช่องคลอดเท่านั้น ท้องผูก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ยังไม่สมดุล และมีโปรเจสเตอโรน รวมไปถึงการกินอาหาร เช่น อาจไม่ค่อยได้กินพวกไฟเบอร์ ทำให้มีปริมาณไฟเบอร์ที่ต่ำ การติดเชื้อและอื่น ๆ แม้ว่าจะพบได้น้อย […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

อาหารหลังคลอด ที่เหมาะสมต่อสุขภาพคุณแม่มีอะไรบ้าง

อาหารหลังคลอด มีความจำเป็นต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่าอาหารที่คุณแม่เลือกรับประทานระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะการรับประทานอาหารหลังคลอดที่เหมาะสมสามารถเพิ่มพลังงานให้กับคุณแม่ และอาจช่วยเพิ่มน้ำนมเพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณที่ลูกน้อยต้องการ และอาหารหลังคลอดยังสำคัญต่อการเสริมสร้างคุณค่าน้ำนมได้เป็นอย่างดีและส่งผลให้ลูกน้อยเจริญเติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีสมวัย [embed-health-tool-ovulation] อาหารหลังคลอด ที่เหมาะสมต่อสุขภาพคุณแม่ คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็ว มีพลังงานเพียงพอในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเลี้ยงลูก และความสามารถในการผลิตน้ำนมได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของทารก เนื่องจากนมแม่เป็นแหล่งสารอาหารที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในวัยแรกเกิด เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยป้องกันการแพ้โปรตีน ป้องกันโรคภูมิแพ้ ทั้งยังมี DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 ที่ช่วยให้สมองและระบบประสาทของเด็กเจริญเติบโตมีการเจริญเติบโตที่ดี การให้นมแม่ยังมีประโยชน์ต่อคุณแม่ด้วย เช่น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งรังไข่ ลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ช่วยให้มดลูกหดตัวคืนสภาพเร็วขึ้น อาหารหลังคลอดที่คุณแม่ควรรับประทานเพื่อเพิ่มพลังงาน และอาจช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนม ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี เพราะมีสารอาหารสำคัญอย่างโปรตีน วิตามินบี ใยอาหาร สังกะสี เหล็ก แมกนีเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยลดอาการท้องผูกหลังคลอด และช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัวของคุณแม่ ผักหลากสี เช่น หัวปลี มีธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงน้ำนม ขิง อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินบี ช่วยขับเหงื่อ ขับลม […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

น้ำคาวปลา คืออะไร เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้

น้ำคาวปลา คือของเหลวที่ร่างกายขับออกมาหลังคลอด ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดลูกแล้ว โดยน้ำคาวปลาจะมีสีแดงคล้ำและกลิ่นคล้ายคาวปลาแต่ไม่แรงเท่า บางครั้งอาจมีเศษเลือด หรือเศษเนื้อเยื่อออกมาด้วย หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะของน้ำคาวปลาว่ามีสี กลิ่น และลักษณะอย่างไร หากพบความผิดปกติจะได้รู้เท่าทันและรับมือได้ [embed-health-tool-ovulation] น้ำคาวปลา คืออะไร น้ำคาวปลา คือ ของเหลวที่ร่างกายขับออกมาหลังคลอด เพื่อระบายเลือด เศษเนื้อเยื่อ และของเหลวต่าง ๆ เช่น น้ำคร่ำ ออกจากมดลูก น้ำคาวปลามักมีสีแดงเข้มในช่วงวันแรก ๆ และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีที่อ่อนลงเมื่อเวลาผ่านไป น้ำคาวปลามีกลิ่นคาวเฉพาะตัว แต่บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็น โดยร่างกายของคุณแม่จะเริ่มขับน้ำคาวปลาออกมา ตั้งแต่ 3 วันแรกหลังจากการคลอดบุตร  น้ำคาวปลา มีกี่ชนิด ชนิดของ น้ำคาวปลาหลังคลอด จะแบ่งออกตามระยะเวลาที่เกิด ดังนี้ ช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีแดงเข้ม ส่วนใหญ่เป็นเลือดที่ถูกขับออกมา และจะไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง คุณแม่อาจควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ ชั่วโมง ช่วง 2-6 วันหลังคลอด น้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาน้อยลง มีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีแดงอมชมพู  ช่วง 4-10 หรือ 7-10 วันหลังคลอด […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

หลังคลอด เป็นช่วงเวลาหลังจากการตั้งครรภ์สิ้นสุดลง ซึ่งตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์นั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น น้ำหนักขึ้น เท้าบวม เอ็นข้อมืออักเสบ แต่รู้หรือไม่ว่าหลังคลอดแล้วร่างกายยังคงมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งอาการบางอย่างอาจเป็นเรื่องที่คุณแม่อาจไม่ทันคาดคิดมาก่อน ดังนั้น คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ใกล้คลอด และคุณแม่ที่คลอดลูกแล้ว ควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจะได้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลังคลอดได้อย่างเข้าใจและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง รู้หรือไม่ว่า หลังคลอด ร่างกาย ฮอร์โมน อารมณ์ ของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจ เครียด เพราะไม่รู้ว่าควรจัดการกับตนเองอย่างไร ทั้งนี้ หากคุณแม่ทราบถึงภาวะที่อาจเกิดขึ้น จะช่วยให้เตรียมตัวรับมือได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ ความต้องการทางเพศลดลง ช่วงเวลา หลังคลอด คุณแม่มือใหม่อาจมีความต้องการทางเพศลดลง โดยผู้หญิงบางคนอาจใช้เวลาเป็นปี กว่าที่จะรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศอีกครั้ง เพราะหลังจากคลอดลูก คุณแม่มักจะใช้เวลาไปกับลูก จึงทำให้แทบจะไม่มีเวลาสำหรับตัวเอง รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่เดือน หลังคลอดลูก คุณแม่มือใหม่มักรู้สึกเหนื่อย และอาจไม่ต้องการที่จะมีช่วงเวลาโรแมนติกกับคนรัก และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จะสูงขึ้นตอนที่คุณตั้งครรภ์ และจะลดลงทันทีหลังคลอด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนดังกล่าวอาจส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง และอาจต้องใช้เวลาสักระยะกว่าจะกลับมามีความต้องการทางเพศเหมือนเดิม หน้าท้องใหญ่ คุณแม่มือใหม่มักคาดหวังว่า หลังคลอดลูก หน้าท้องจะกลับไปมีขนาดเท่าเดิมโดยทันที แต่ความจริงแล้วอาจต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ก่อนที่มดลูกจะกลับมามีขนาดเท่ากับช่วงก่อนตั้งครรภ์ นอกจากนี้ หน้าท้องมักมีลักษณะแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย และอาจดูเหมือนกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ 5 […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

การผ่าคลอด กับเคล็ดลับการดูแลตัวเองเพื่อพักฟื้นร่างกาย

การผ่าคลอด คือช่วงเวลาหลังการคลอดบุตรโดยวิธีการผ่าตัด ซึ่งการคลอดบุตรด้วยวิธีนี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าการคลอดธรรมชาติ เนื่องจากมีบาดแผลหน้าท้องที่อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดอย่างมากในช่วงแรกเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย และต้องใช้เวลาในการพักฟื้นมากกว่า แต่ทั้งนี้ มีเคล็ดลับที่อาจช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น สามารถดูแลลูกน้อยได้โดยไม่เจ็บแผลผ่าตัดมากนัก [embed-health-tool-due-date] อาการของร่างกายหลัง การผ่าคลอด โดยส่วนใหญ่แล้ว หลังผ่าคลอด คุณแม่อาจต้องนอนอยู่โรงพยาบาลประมาณสามถึงสี่วัน และเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว ยังจำเป็นต้องระมัดระวังตัวเองในการดูแลแผลรวมทั้งการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวเพื่อหยิบจับสิ่งต่าง ๆ หรืออุ้มลูกน้อย โดยปกติ ต้องใช้เวลาประมาณหกสัปดาห์เต็มในการฟื้นตัวเองอย่างเต็มที่  1 วันผ่านไป: มักได้รับคำแนะนำให้ค่อย ๆ ลุกเดินไปเดินมาในช่วง 12 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยระบายแก๊สในช่องท้อง และควรกินอาหารอ่อน ๆ ที่ไม่ทำให้หนักท้องมากนัก   2 วันผ่านไป: สามารถอาบน้ำได้ตามปกติแล้ว แต่การขับถ่ายอาจจะยังไม่เป็นปกตินัก คุณหมออาจแนะนำให้กินยาที่ช่วยทำให้อุจจาระนิ่ม นอกจากนั้นแล้ว ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก  3 วันผ่านไป: การผ่าคลอดอาจทำให้น้ำนมมาช้ากว่าการคลอดเองตามธรรมชาติ ทั้งนี้ น้ำนมอาจเริ่มไหลในช่วยประมาณวันที่สามหรือวันที่สี่   1 สัปดาห์ผ่านไป: อาจเริ่มรู้สึกดีขึ้นแล้ว เจ็บแผลน้อยลงแต่ยังไม่สามารถยกสิ่งของหนัก ๆ ได้ แต่สามารถอุ้มลูกน้อยได้แล้ว  4 ถึง 6 สัปดาห์ผ่านไป: ความเจ็บปวดจะลดลง […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

แม่หลังคลอด การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่พบได้บ่อย

แม่หลังคลอด ย่อมมีภาวะเปลี่ยนแปลงไปจากขณะตั้งครรภ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งการเผชิญกับภาวะหลังคลอดนี้อาจทำให้คุณแม่มือใหม่ไม่รู้ว่าจะจัดการกับสิ่งที่ตัวเองต้องเผชิญอย่างไรดี โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย นับเป็นเรื่องจำเป็นที่แม่หลังคลอดต้องศึกษาถึงปัญหาสุขภาพของร่างกายที่อาจไม่เหมือนเดิม  รวมทั้งวิธีดูแลตนเองเพื่อให้กลับมามีสุขภาพแข็งแรง สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ [embed-health-tool-due-date] การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของ แม่หลังคลอด หนาวสั่น อาการหนาวสั่นอาจเกิดขึ้นได้ทันทีหลังคลอด และอาจเกิดในช่วงที่กำลังจะคลอดลูกได้ด้วย ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการหัวเข่าสั่นอย่างหนักเมื่อคลอดออกมาแล้ว หรือรู้สึกหนาวสะท้านในช่วงที่กำลังเย็บแผลหลังคลอด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ซึ่งมีหน้าที่สะสมน้ำเอาไว้ร่างกาย เพื่อคอยทดแทนการเสียเลือดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้คุณแม่เกิดอาการหนาวสั่น หลังคลอดประมาณ 2-3 วัน หรืออย่างช้าคือไม่เกิน 6 สัปดาห์ เหงื่อออกมาก ในช่วงสองสามคืนแรกหลังคลอด คุณแม่มักมีเหงื่อออกมาก เนื่องจากร่างกายระบายของเหลวที่เกิดจากการตั้งครรภ์ออกมา และอาจมีของเหลวไหลออกมาจากหัวนมได้ด้วย นอกจากนี้คุณแม่ยังอาจมีอาการเลือดออกหลังคลอดต่อไปอีกประมาณ 6 สัปดาห์ หรือที่เรียกกันว่า “น้ำคาวปลา (Lochia)” นั่นเอง อาการเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน อาการปัสสาวะเล็ด อาจทำให้คุณแม่ตื่นมาแล้วพบว่าเนื้อตัวและที่นอนเปียกแฉะ จนต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือตากที่นอนบ่อย ๆ ทางแก้คือ คุณแม่หลังคลอดควรปูผ้ายางกันเปียกบนที่นอน หรือใช้ผ้าขนหนูรองนอน  อาการเจ็บปวดหลังคลอด อาการเจ็บปวดหลังคลอด มักเกิดขึ้นเพราะมดลูกกำลังบีบรัดตัวเพื่อให้กลับเข้าสู่ขนาดปกติ นอกจากนี้คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บปวดรุนแรงในขณะให้นมลูก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปกับคุณแม่หลังคลอด อาการเจ็บปวดนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 5-7 วัน แต่อาการเจ็บปวดนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นหากคุณแม่เคยคลอดลูกมาแล้วหลายครั้ง และมีรายงานว่า ผู้หญิงบางคนที่มีลูกหลายคนจะมีอาการเจ็บปวดหลังคลอดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยความเจ็บปวดนี้อาจรุนแรงยิ่งกว่าตอนเจ็บท้องก่อนคลอด ฉะนั้น หากคุณแม่ท่านใดตั้งใจจะมีลูกหลายคน อาจต้องเตรียมตัวรับมือกับอาการเจ็บปวดหลังคลอดด้วย […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

ลดน้ำหนักหลังคลอด ทำอย่างไรถึงจะได้ผล

ลดน้ำหนักหลังคลอด เป็นกิจกรรมหลังคลอดที่คุณแม่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์ทำให้มีน้ำหนักส่วนเกิน เมื่อคลอดบุตรแล้ว น้ำหนักที่ยังคงเหลืออยู่อาจทำให้เกิดภาวะเครียดหลังคลอดได้ ทั้งนี้ คุณแม่ที่ต้องกาลดน้ำหนักหลังคลอดอาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อกู้หุ่นให้กลับมาสวยปังดังเดิมและสุขภาพแข็งแรงพร้อมดูแลลูกน้อยต่อไป ลดน้ำหนักหลังคลอดต้องปรับพฤติกรรมอย่างไร ลดน้ำหนักหลังคลอด มีประโยชน์หลายประการ ไม่ใช่เพียงแต่การสร้างหุ่นสวยเท่านั้นแต่หมายถึงการดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย 1. ปรับตัวเองให้ดูดี มีความสุขกว่าที่เคย แม้ว่าการเลี้ยงลูกนั้นจะทำให้คุณแม่เหนื่อย จึงรู้สึกต้องการพักผ่อนนอนหลับมากกว่าลุกขึ้นมาทำกิจกรรมในยามว่าง แต่จริง ๆ แล้วคุณแม่ควรสร้างตัวเองให้รู้สึกกระฉับกระเฉง เดินบ่อย ๆ ทำงานบ้าน ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้ขยับบ้างแต่ไม่ต้องถึงขั้นหักโหม การทำเช่นนี้จะช่วยให้น้ำหนักจะค่อย ๆ ลดลงไปโดยอัตโนมัติ 2. ปรับวิธีการรับประทานอาหาร อาหารนับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยลดน้ำหนักหลังคลอด คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการเลือกอาหารดังนี้ เลือกอาหารที่ต้ม อบ หรือ นึ่ง แทนอาหารทอด แต่เน้นย้ำว่าต้องครบ 5 หมู่ ครบ 3 มื้อและ ‘ห้ามอดอาหาร’ เด็ดขาด ยิ่งคุณแม่ต้องให้นมลูกน้อยด้วยแล้ว การได้รับสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่อาจปรับประเภทของอาหาร โดยเลือกลดปริมาณอาหารที่จะทำให้ร่างกายยิ่งสะสมไขมัน เคี้ยวช้า ๆ หม่ำคำเล็ก ๆ แม้ว่าคุณแม่ต้องรีบรับประทานอาหารเพื่อจะได้มีเวลาดูแลลูกน้อยมากที่สุด แต่การรับประทานอาหารแบบรีบ ๆ จนทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดนั้นจะยิ่งทำให้อิ่มเร็ว หิวบ่อย เมื่อหิวบ่อย ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน