อาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากสาเหตุที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การนอน หรือแม้แต่การนั่งที่อาจจะไม่ถูกวิธี ซึ่งอาการปวดหลังส่วนใหญ่มักจะเป็นกันในวัยผู้ใหญ่ แต่เมื่อพบว่ามีลูกน้อยปวดหลัง หรือสังเกตได้ว่าเป็น อาการปวดหลังในเด็ก คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงจะเกิดความกังวลใจ เพราะส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเห็นเด็ก ๆ มีอาการปวดหลังกันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าลูกเกิดปวดหลังขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน
เหตุผลที่ทำให้เกิด อาการปวดหลังในเด็ก (Back Pain in Children)
เมื่อพูดถึงอาการปวดหลัง บางครั้งมันอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังอย่างกะทันหัน การปวดหลังอย่างต่อเนื่องดูเหมือนจะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำงานร่วมกัน อาการบาดเจ็บเล็กน้อยเนื่องจากการเล่นกีฬาและเล่นเกม ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อหลังบางส่วนทำงานหนักได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเหนื่อยล้า เจ็บปวด และการเปลี่ยนแปลงของท่าทางได้
การเคลื่อนไหวด้วยท่าทางที่ไม่ดี มีส่วนทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ เด็กที่มีอาการปวดหลัง อาจจะมีพฤติกรรมที่ต่างไป เช่น หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา และขาดการออกกำลังกาย จนทำให้เกิดปัญหาเพิ่มเติมได้ สำหรับสิ่งที่อาจนำไปสู่อาการปวดหลังในเด็ก ได้แก่
- เพศ โดยอาการปวดหลังมักพบได้บ่อยในผู้หญิง
- อายุ เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป มักจะมีอาการปวดหลังได้มากกว่าเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
- โรคอ้วนและการจัดระเบียบร่างกาย ท่าทางที่ไม่ดี
- กระเป๋านักเรียนหนัก ๆ ที่นำมาแบกไว้บนไหล่ข้างเดียว หรือถือด้วยมือข้างเดียว
- เป้สะพายหลังที่มีการบรรจุของที่ไม่เหมาะสม หรืออาจจะหนักเกินไป
- การใช้ชีวิต เช่น ท่านั่ง การดูโทรทัศน์ การนั่งหรือนอนหน้าคอมพิวเตอร์
- การบาดเจ็บ ที่เกิดจากการเล่นกีฬาที่ต้องใช้พลัง เช่น ฟุตบอล ขี่ม้า กีฬาที่ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่น อย่าง ยิมนาสติก การเต้นรำ กีฬาที่ต้องใช้พลังงานเยอะ อย่าง ยกน้ำหนัก หรือพายเรือ
- การบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน
- กีฬาที่มีการแข่งขันสูง ที่ต้องใช้การฝึกที่เข้มข้น ซึ่งสามารถกระตุ้มให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง
สัญญาณเตือนของ อาการปวดหลังในเด็ก
แน่นอนว่าเมื่อลูกปวดหลัง คุณพ่อคุณแม่จะต้องรู้สึกวิตกกังวลอย่างแน่นอน แต่อาการเหล่านี้มักจะมีสัญญาญเตือนให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกต สัญญาณเตือนต่างของอาการปวดหลังในเด็ก มีดังนี้
- อาการปวดตอนกลางคืน ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นอาจทำให้ลูกตื่นจากการนอนหลับ
- อาการปวดอย่างต่อเนื่อง
- อาการของโรคทั่วไป เช่น ไข้ หนาวสั่น วิงเวียนศีรษะ และน้ำหนักลด เป็นต้น
- อาการปวดอยู่นานกว่าหลายสัปดาห์
- ปวดขา ขาชา หรืออ่อนแรง
- สูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้
อาการเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ได้หลายความว่าอาจจะมีปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น แต่ถ้าอาการปวดนั้นเกิดขึ้นนานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน วิธีการที่ดีที่สุด ก็คือการพาลูกไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน
พ่อแม่ดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอาการปวดหลังได้อย่างไรบ้าง
เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อการมีอาการปวดหลัง เหล่าคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อย ตามคำแนะนำเบื้องต้นเหล่านี้
- ลดความเสี่ยงของการตกหลุมสำหรับเด็กเล็ก โดยการใช้สายรัดนิรภัยในรถเข็น
- พยายามกระจายที่กันกระแทกโดยรอบอุปกรณ์ในสนามเด็กเล่นที่บ้าน เพื่อป้องกันการกระแทก
- ส่งเสริมให้เด็ก ๆ เดินและยืดอย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้องทำการบ้าน เพราะการนั่งเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า
- จำกัดเวลาในการดูโทรทัศน์ หรือเล่นคอมพิวเตอร์
- สอนการนั่งเก้าอี้ให้ถูกต้อง โดยการนั่งตัวตรงกับพนักผิง ไม่นั่งตัวงอ
- ซื้อเก้าอี้ที่ออกแบบตามสรีรศาสตร์ เพื่อปรับปรุงท่านั่งขณะที่ต้องนั่งทำการบ้าน
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไลฟ์สไตล์ของเด็ก ๆ มีการทำกิจกรรมอย่างการออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ
- พยายามเน้นความสำคัญของท่านั่งหลังตรง รวมถึงการยืดกล้ามเนื้อหลัง และแกนกลางอย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลและป้องกันอาการปวดหลังในเด็กเป็นอย่างสม่ำเสมอ แต่กลับพอว่า ลูกน้อยยังคงมีอาการปวดหลัง หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรัง โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับคำแนะนำและการรักษาอย่างเหมาะสม
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]