เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็ก1ขวบ มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในหลายส่วนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ การสื่อสาร ภาษา สังคมและอารมณ์ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เนื่องจากเด็ก1ขวบเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและลอกเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีและการให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เด็ก1ขวบมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในหลายด้านที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและมีสุขภาพดี ดังนี้ การเจริญเติบโตทางร่างกาย น้ำตัวของเด็กทารกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 เท่าตั้งแต่แรกเกิด และเมื่ออายุครบ 1 ขวบ เด็กจะตัวโตขึ้นประมาณ 9-11 นิ้ว หลังจากนั้น น้ำหนักตัวของเด็กจะเพิ่มขึ้นช้าลงหรืออาจคงที่ เนื่องจากระดับกิจกรรมที่มากขึ้น ดังนั้น การให้เด็กกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ เด็ก1ขวบจะมีพัฒนาการในการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเด็กจะเรียนรู้ทักษะในการหยิบจับสิ่งของด้วยการใช้มือและนิ้วมือ เช่น การส่งของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง การหยิบของเข้าปาก การเปิดหน้าหนังสือ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การพลิกตัว การคลาน การยืนด้วยการจับวัตถุรอบข้าง การยืนด้วยตัวเอง การเดินพร้อมกับการจับวัตถุรอบข้าง การสื่อสารและภาษา เด็ก1ขวบจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์สั้น ๆ ง่าย ๆ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีให้ลูกดูดเต้า ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ ทำได้อย่างไรบ้าง

น้ำนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิด โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก เนื่องจากมีสารอาหารที่จำเป็นและมีแอนติบอดีที่ช่วยป้องกันโรค ทั้งนี้ คุณแม่ควรศึกษา วิธี ให้ ลูก ดูด เต้า ที่ถูกต้อง เพราะนอกจากจะช่วยให้ลูกกินนมได้มากพอแล้ว ยังสามารถช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ได้ด้วย การให้ลูกดูดเต้าอาจทำได้หลายวิธี เช่น วางตัวลูกให้สัมผัสแนบชิดกับคุณแม่เพื่อให้ลูกรู้สึกสงบและกินนมจากเต้าได้ง่ายขึ้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่าลูกดูดเต้านมได้อย่างถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง อาจแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนท่าทางให้นมลูก เปลี่ยนไปให้นมลูกในสถานที่ที่สงบขึ้น เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมแม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีแอนติบอดีที่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันอย่างเพียงพอ และช่วยให้ลูกเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ดูดนมแม่ สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ดูดนมแม่ หรือดูดนมแม่ได้ไม่เต็มที่ อาจมีดังนี้ กลิ่นของคุณแม่ผิดไปจากปกติ หากคุณแม่เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง เช่น สบู่ น้ำหอม โลชั่น น้ำยาระงับกลิ่นกาย อาจทำให้กลิ่นของคุณแม่เปลี่ยนไป จนลูกรู้สึกไม่คุ้นกลิ่นและไม่อยากกินนมจากเต้าเหมือนเดิม ลูกเครียด หากคุณแม่กระตุ้นให้ลูกกินนมมากเกินไป ให้นมช้ากว่าปกติ หรือลูกอยู่ห่างจากคุณแม่เป็นเวลานาน อาจทำให้ลูกรู้สึกเครียดจนงอแง และไม่ยอมดูดนม มีสิ่งรบกวนขณะให้นม หากอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวน หรือมีคนพลุกพล่าน อาจทำให้ลูกเสียสมาธิและไม่ยอมดูดนม ลูกไม่สบาย หากลูกกำลังไม่สบาย เป็นหวัด หรือมีน้ำมูก อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือหายใจไม่ค่อยสะดวกเวลากินนม จนกินนมได้น้อยลงหรือไม่ยอมกินนมตามปกติ นอกจากนี้ หากฟันของลูกกำลังงอก (โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่อายุ […]


การดูแลทารก

ทารกไม่ถ่าย อาการ สาเหตุและการรักษา

ทารกไม่ถ่าย เป็นอาการท้องผูกที่มักเกิดขึ้นเมื่อทารกเปลี่ยนอาหาร ร่างกายขาดน้ำและขาดใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องดูแลเรื่องการกินอาหารของทารกอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอาการทารกไม่ถ่าย [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ ทารกไม่ถ่าย อาหารที่ทารกกินและร่างกายมีของเหลวไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้อุจจาระแข็ง เหนียวและแห้งมาก จนเป็นสาเหตุทำให้ทารกไม่ถ่าย ท้องผูก และขับถ่ายยาก นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ภาวะขาดน้ำ ทารกบางคนที่ได้รับของเหลวไม่เพียงพออาจมีปัจจัยจากฟันน้ำนมขึ้น ทำให้รู้สึกไม่สบายและไม่อยากกินน้ำหรืออาหาร รวมถึงอาจเกิดจากอาการเจ็บป่วย เช่น เป็นหวัด คอหรือหูติดเชื้อ จนทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมาก นอกจากนี้ ทารกที่เริ่มกินอาหารแข็งอาจกินนมหรือน้ำน้อยลง จนอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอได้เช่นกัน การเปลี่ยนอาหาร ระบบย่อยอาหารของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ทารกบางคนที่เปลี่ยนมากินนมผงแทนนมแม่อาจมีอาการท้องอืดหรือท้องผูกได้ เนื่องจากนมผงอาจย่อยได้ยากกว่านมแม่ สำหรับทารกที่เริ่มกินอาหารแข็งในช่วงแรกอาจมีอาการท้องผูกเกิดขึ้นได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายกำลังเรียนรู้กับการย่อยอาหารรูปแบบใหม่ การขาดใยอาหาร สำหรับทารกที่โตแล้วและสามารถกินอาหารแข็งได้ อาจมีปัญหาที่ร่างกายไม่ได้รับใยอาหารอย่างเพียงพอจากผักและผลไม้ ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้ จึงอาจส่งผลให้ทารกไม่ถ่ายและมีอาการท้องผูกได้ อาการทารกไม่ถ่าย คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตอาการทารกไม่ถ่ายได้ ดังนี้ อุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ทารกมีอาการไม่สบายตัว หงุดหงิด ร้องไห้งอแง ขับถ่ายยาก จนอุจจาระสะสมในลำไส้ปริมาณมากส่งผลให้เมื่อขับถ่ายจะมีปริมาณอุจจาระมากกว่าปกติ เบ่งอุจจาระยาก ร้องไห้ขณะอุจจาระ อุจจาระแห้ง แข็ง เป็นก้อน หรือมีลักษณะเป็นเม็ดคล้ายกระสุน อุจจาระและการผายลมมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ทารกอาจกินอาหารได้น้อยกว่าปกติ […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมผงเด็กแรกเกิด เลือกอย่างไร และนมแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง

นมแม่เป็นนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการและควรเป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวของเด็กแรกเกิดไปอย่างน้อย 6 เดือน แต่หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่เพียงอย่างเดียวได้ หรือไม่สะดวกให้เด็กกินนมแม่เลย ก็สามารถให้เด็กกิน นมผงเด็กแรกเกิด ได้เช่นกัน การศึกษาวิธีเลือกซื้อนมผง ประเภทนมผงที่เหมาะกับเด็กแรกเกิด ตลอดจนประเภทของนมที่ควรหลีกเลี่ยง ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกนมผงได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพของเด็ก ช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์สมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] นมผงเด็กแรกเกิด คืออะไร นมผงเด็กแรกเกิด (Infant Formula) คือ นมดัดแปลงที่เป็นอาหารสำหรับเด็กแรกเกิดเพื่อทดแทนน้ำนมแม่ มีทั้งแบบผงที่ต้องชงกับน้ำก่อนและแบบพร้อมดื่ม มักใช้ในกรณีที่เด็กแรกเกิดไม่สามารถกินนมแม่ได้ หรือสำหรับกินควบคู่ไปกับน้ำนมแม่ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ หรือคุณแม่ไม่สะดวกปั๊มนมและให้นมด้วยตัวเอง ทั้งนี้ คุณแม่ควรขอคำแนะนำจากคุณหมอเกี่ยวกับนมผงที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับเด็กแรกเกิดที่สุด แม้การกินนมผงเด็กแรกเกิดจะช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารและอิ่มท้องแต่นมผงและอาหารอื่น ๆ ไม่สามารถทดแทนนมแม่ได้ 100% เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการและอุดมไปด้วยแอนติบอดีที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กแรกเกิด หากเป็นไปได้จึงควรให้เด็กแรกเกิดกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวไปถึงอายุ 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ ประเภทของ นมผงเด็กแรกเกิด ประเภทของนมผงเด็กแรกเกิด มีดังนี้ นมดัดแปลงสำหรับทารก (Stage 1 formulas) อาจเรียกว่านมผงเด็กแรกเกิด หรือนมสูตร 1 นิยมทำจากนมวัว อาจผสมสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามิน เกลือแร่ น้ำมันพืช เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร โดยทั่วไป นมผงที่ทำจากนมวัวจะมีส่วนประกอบของโปรตีน 2 ชนิด คือ เวย์ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีกู้น้ำนม ที่ควรรู้ สำหรับคุณแม่น้ำนมน้อย

วิธีกู้น้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ผลิตน้ำนมได้น้อยหรือน้ำนมไม่ไหลออกมาตามปกติ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ให้นมบ่อยขึ้น ปั๊มน้ำนมบ่อย ๆ นวดและประคบร้อนเต้านม ปรับท่าให้นมเพื่อให้ทารกกินนมได้สะดวกขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้มีน้ำนมน้อยก็อาจช่วยให้สามารถหาวิธีกู้น้ำนมที่เหมาะสมที่สุดได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำนมน้อย เกิดจากอะไร คุณแม่ให้นมมีน้ำนมน้อย อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ความล่าช้าในการให้นม หากคุณแม่เริ่มให้นมครั้งแรกช้า หรือแยกกันอยู่กับทารกในช่วงหลังคลอดแรก ๆ ทำให้ทารกไม่ได้กินนมแม่ตั้งแต่วันแรกที่คลอด อาจทำให้ปริมาณน้ำนมจากเต้าน้อยกว่าปกติได้ ภาวะสุขภาพของคุณแม่ เช่น ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis) กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) ภาวะก่อนเบาหวาน โรคเบาหวาน อาจทำให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมได้น้อย ทารกไม่ได้กินนมแม่อย่างเดียว หากทารกกินอาหารอื่น ๆ เช่น นมผงเด็กแรกเกิด ควบคู่กับการกินนมแม่ อาจทำให้ทารกกินนมแม่ได้น้อยลง ส่งผลให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้น้อยตามไปด้วย หากคุณแม่ต้องการเสริมนมผง ควรรอให้ทารกคุ้นชินกับการกินนมแม่เป็นอาหารหลักก่อน ทารกไม่ได้กินนมแม่เลย หากทารกไม่ได้กินนมแม่ อาจทำให้ต่อมน้ำนมไม่ถูกกระตุ้น จึงผลิตน้ำนมได้น้อยลง คุณแม่จึงควรให้ทารกกินนมตั้งแต่ 15-30 นาทีหลังคลอด หรือหากไม่สะดวก ก็อาจรีดน้ำนมออกมาพลาง ๆ ก่อนโดยการปั๊มนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนม เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่อง ทารกดูดนมได้ไม่ดี […]


เด็กทารก

ทารกตัวเหลือง วิธีแก้ ทำได้อย่างไรบ้าง

ภาวะตัวเหลือง (Jaundice) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) มากเกินไป มักพบในทารกแรกเกิด 2-3 วันหลังคลอด โดยทั่วไปสารเคมีชนิดนี้จะถูกตับย่อยสลายและขับออกมาทางอุจจาระ แต่หากร่างกายขับบิลิรูบินออกไปไม่ทันจะทำให้ ทารกตัวเหลือง วิธีแก้ สำหรับภาวะนี้ สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลือง ส่วนใหญ่แล้วทารกจะหายตัวเหลืองได้ภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับน้ำนมแม่เพียงพอและขับถ่ายปกติจนปริมาณบิลิรูบินลดลง แต่หากทารกตัวเหลืองจากความผิดปกติบางประการ เช่น ภาวะตับอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด หมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน อาจต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การส่องไฟ การถ่ายเลือด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกในระยะยาว [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกตัวเหลืองเกิดจากอะไร ทารกตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบินสูงเกินไป โดยบิลิรูบินเป็นสารเคมีสีเหลืองที่สะสมอยู่ในกระแสเลือดที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเก่าสลายตัว โดยทั่วไปตับของทารกแรกเกิดจะกำจัดบิลิรูบินออกไปได้ตามปกติและไม่ทำให้มีภาวะตัวเหลือง แต่ทารกแรกเกิดบางรายที่ตับยังพัฒนาไม่เต็มที่หรือตับทำงานผิดปกติ อาจขับบิลิรูบินออกจากร่างกายไม่ทัน จึงมีบิลิรูบินสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป จนส่งผลให้ทารกมีผิวสีเหลืองหรือตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภาวะนี้มักพบในทารกอายุ 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วัน สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลือง อาจมีดังนี้ การคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์อาจไม่สามารถขับบิลิรูบินส่วนเกินได้หมด เนื่องจากตับยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และทารกกินน้ำนมได้น้อย จึงทำให้ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ร่างกายจึงขับบิลิรูบินออกทางอุจจาระได้น้อยตามไปด้วย การได้รับน้ำนมแม่น้อยเกินไป […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก 8 เดือน มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

เด็ก 8 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และมีพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่ง การคลาน การเดิน การยืน การพูด การชี้นิ้ว การสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เช่น กิจกรรม อาหาร อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติด้านพฤติกรรมของเด็ก และควรเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก 8 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างไร เด็ก 8 เดือน มีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างต่อเนื่องโดยเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายอาจมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ เด็กผู้ชาย น้ำหนักเฉลี่ย 8 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 69 เซนติเมตร เด็กผู้หญิง น้ำหนักเฉลี่ย 7 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 68 เซนติเมตร ทั้งนี้ การเจริญเติบโตของเด็กอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณกิจกรรมของเด็กที่ทำในแต่ละวัน อาหารที่เด็กได้รับ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตทางร่างกาย นอกจากนี้ เมื่อเด็กอายุ 6-9 เดือน […]


เด็กทารก

เก้าอี้กินข้าวเด็ก ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้งาน

เก้าอี้กินข้าวเด็ก อาจช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการและการฝึกทักษะการกินอาหารด้วยตัวเองของเด็ก และอาจช่วยให้เด็กเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจมีประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงเด็กเล็กพร้อมกับทำงานไปด้วย และยังอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่และเด็กสามารถกินอาหารไปพร้อมกันได้ ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว [embed-health-tool-vaccination-tool] เก้าอี้กินข้าวเด็ก มีประโยชน์อย่างไร เก้าอี้กินข้าวเด็ก อาจมีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กและต่อคุณพ่อคุณแม่ ดังนี้ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการการกินอาหารอย่างอิสระ สำหรับเด็กเล็กที่สามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง การได้นั่งบนเก้าอี้กินข้าวเด็กช่วยให้เด็กสามารถเคลื่อนไหว ใช้มือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมทักษะการกินอาหารของเด็กได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เด็กเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น การให้เด็กฝึกทักษะการกินอาหารด้วยตัวเองเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรมการช่วยเหลือตัวเองเร็วขึ้นเท่านั้น ช่วยให้ป้อนอาหารง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจป้อนอาหารให้เด็กง่ายขึ้น เนื่องจากเก้าอี้กินข้าวเด็กจะทำให้เด็กเคลื่อนตัวได้ในบริเวณที่จำกัดขณะกินข้าว รวมถึงยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเคลื่อนตัวไปในบริเวณที่อันตราย ช่วยให้การทำความสะอาดเป็นเรื่องง่าย เด็กเล็กที่เริ่มฝึกกินอาหารด้วยตัวเองอาจมีความเลอะเทอะมากในช่วงแรก ซึ่งการใช้เก้าอี้กินข้าวเด็กจะช่วยให้อาหารไม่เลอะไปยังบริเวณอื่น ๆ จึงช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีเวลาร่วมกันกับเด็ก เก้าอี้กินข้าวเด็กอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถกินอาหารไปพร้อมกับเด็กได้ นอกจากนี้ ยังอาจสามารถให้เด็กทำกิจกรรมอื่น ๆ บนเก้าอี้ได้ เช่น อ่านหนังสือ ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่กำลังทำงาน วิธีการเลือกเก้าอี้กินข้าวเด็ก การเลือกเก้าอี้กินข้าวเด็กควรเลือกให้เหมาะสมกับเด็กและวิถีชีวิตประจำวัน ดังนี้ อุปกรณ์ป้องกัน ความปลอดภัย และความทนทาน เก้าอี้กินข้าวเด็กควรมีสายรัดเพื่อป้องกันเด็กดิ้น ควรตรวจสอบว่าสายรัดสามารถรัดให้แน่นพอดีกับตัวเด็กได้หรือไม่ นอกจากนี้ เก้าอี้กินข้าวเด็กไม่ควรมีมุมและวัสดุที่แหลมคมที่เป็นอันตรายกับเด็กได้ รวมถึงควรเลือกเก้าอี้กินข้าวเด็กที่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้ในระยะยาว และควรมีความมั่นคงไม่พลิกคว่ำได้ง่าย ขนาด ควรเลือกเก้าอี้กินข้าวเด็กที่มีขนาดพอดีกับตัวเด็ก และมีความสูงที่สามารถสอดตัวเด็กให้อยู่ในโต๊ะได้พอดี เพื่อป้องกันเด็กดิ้นตกเก้าอี้ ความสะดวกในการใช้งาน อาจเลือกเก้าอี้เด็กที่สามารถพับเก็บได้และมีล้อ ช่วยเพิ่มความสะดวกในการพกพาและเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง ควรเก็บรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

คุณแม่มือใหม่หลายคนที่กำลังเรียนรู้วิธีการเก็บรักษาน้ำนมแม่อาจมีข้อสงสัยว่า นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เพื่อที่จะสามารถปั๊มนมให้เพียงพอสำหรับลูก รวมถึงให้ลูกได้กินนมแม่ที่สดใหม่และมีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งโดยปกติน้ำนมแม่อาจสามารถมีอายุได้นานประมาณ 24 ชั่วโมง หากอยู่ในอุณหภูมิห้อง และอาจมีอายุอยู่ได้นานประมาณ 8 วัน ถึง 12 เดือน หากอยู่ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง ดังนั้น คุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมการกินนมของลูก เพื่อที่จะปั๊มนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก และจะได้เก็บน้ำนมได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง อาจเป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนมีความสงสัย โดยอายุของน้ำนมแม่อาจขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการเก็บรักษา ดังนี้ การเก็บในอุณหภูมิห้อง เป็นการเก็บน้ำนมแม่ที่ปั๊มเสร็จทันทีเอาไว้ในอุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ ยังเป็นการเก็บนมหลังจากนำน้ำนมออกมาจากตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง หรือการเก็บนมหลังจากละลายแล้วเอาไว้ในอุณหภูมิห้อง ซึ่งจะทำให้น้ำนมแม่มีอายุได้ประมาณ 24 ชั่วโมง การเก็บในตู้เย็น การเก็บน้ำนมแม่เอาไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส อาจเก็บน้ำนมแม่ได้นานถึง 8 วัน แต่หากตู้เย็นมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอาจเก็บน้ำนมแม่ได้ประมาณ 3 วันเท่านั้น การเก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น อาจเก็บน้ำนมแม่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น การเก็บในตู้แช่แข็งเฉพาะ เป็นการเก็บน้ำนมแม่เอาไว้ในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส อาจทำให้เก็บน้ำนมแม่ได้นานถึง 6-9 เดือน หรือหากเก็บในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -200 องศาเซลเซียส อาจทำให้เก็บน้ำนมแม่ได้นานถึง […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร ท่าที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร

นมแม่มีประโยชน์ต่อทารกแรกเกิดไปจนถึงอายุ 1 ปี เนื่องจากนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและระบบภูมิคุ้มกัน แต่ ท่าให้นมลูก ที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่เช่นกัน เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณแม่อยู่ในท่าที่สบายมากขึ้น ยังอาจช่วยลดอาการปวดคอ ปวดหลังและลดความเครียดได้อีกด้วย [embed-health-tool-due-date] ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สมดุล ส่งผลต่อการวางตำแหน่งซี่โครงและอุ้งเชิงกราน เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย ปวดคอ ปวดหลังช่วงกลาง และปวดศีรษะ ดังนั้น ท่าให้นมลูกที่เหมาะสมจึงช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว และช่วยลดการใช้พลังงานที่มากเกินไปเนื่องจากการใช้ท่าและการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในขณะให้นมลูกได้ ท่าให้นมลูกที่เหมาะสม ควรเป็นอย่างไร ท่าให้นมลูกที่เหมาะสมอาจเริ่มจากการปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้ อยู่ในท่าที่สบายด้วยการใช้หมอนพยุงหลัง แขน และตัวของลูกไว้ สำหรับเท้าของคุณแม่ควรวางราบกับพื้นหรืออยู่ในตำแหน่งที่พอดี และไม่ทำให้เกิดอาการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อเท้าและขา จัดตำแหน่งของทารกให้อยู่ตัวมากที่สุด โดยให้สะโพกงอพอดี ปากและจมูกของลูกควรหันเข้าหน้าอกของคุณแม่ และให้ร่างกายแนบชิดตัวคุณแม่มากที่สุด ควรใช้มือรองรับเต้านมไว้ไม่ให้กดคางหรือปิดจมูกของลูก ควรใช้ทั้งแขนและมือข้างที่ถนัดพยุงหลังของลูกไว้ โดยไม่ประคองเฉพาะส่วนคอ แต่ให้ประคองทั้งหลังของลูก หากมีความรู้สึกเจ็บปวดในขณะที่ลูกดูดนม ให้แยกลูกออกจากเต้าเบา ๆ และลองให้ลูกกลับมาดูดนมใหม่อีกครั้ง การวางตำแหน่งของลูกในท่าที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle Hold) เป็นท่าที่เหมาะกับคุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติและไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด มักเป็นท่าที่ใช้ในทารกที่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์แรก โดยการอุ้มลูกไว้บนตัก จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง ใช้หมอนพยุงตัวลูกและข้อศอกเพื่อให้ลูกมีความสูงเท่าระดับหัวนมของคุณแม่ และศีรษะของลูกควรมีแขนและมือของคุณแม่รองรับยาวไปถึงกลางหลัง ท่าลูกนอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Cross-Cradle Hold) […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม