backup og meta

สารก่อมะเร็ง ที่คุณควรรู้จักไว้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิต

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    สารก่อมะเร็ง ที่คุณควรรู้จักไว้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิต

    หากพูดถึง สารก่อมะเร็ง หลายคนอาจรู้แค่ว่าสารก่อมะเร็งเป็นสิ่งที่ทำให้สามารถเกิดโรคมะเร็งได้ แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าสารก่อมะเร็งนั้นมีอะไรบ้างที่ควรระวัง นอกเหนือจากสารก่อมะเร็งที่อาจจะพบได้ในอาหารดังที่อาจเคยได้ยินหรือรู้มา ในบทความนี้ ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับสารก่อมะเร็งประเภทต่าง ๆ มาฝากค่ะ

    สารก่อมะเร็ง ที่คุณควรรู้จัก

    แน่นอนว่า สารก่อมะเร็ง สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้ โดยสารก่อมะเร็งมักจะพบได้ในอากาศ ผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้ หรือจากในสารเคมีที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งสารก่อมะเร็งประเภทต่าง ๆ ที่คุณควรรู้จัก มีดังนี้

    • ยาสูบและบุหรี่

    ไม่ว่าคุณจะสูบบุหรี่ หรือเพียงหายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป ก็เสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็งทั้งนั้น โดยสารเคมีในบุหรี่และยาสูบมีอย่างน้อย 70 ชนิด สารเหล่านี้สามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ โดยการทำลายดีเอ็นเอ (DNA) แม้ยาสูบไร้ควันอาจจะดูปลอดภัย แต่ความจริงมันก็สามารถนำไปสู่โรคมะเร็งได้เช่นกัน

    • เรดอน (Radon)

    เรดอน เป็นก๊าซชนิดหนึ่ง หากมันเกิดขึ้นในธรรมชาติในปริมาณที่เล็กน้อยจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าหากว่า เรดอนก่อตัวขึ้นภายในอากาศ และคุณหายใจเอาเรดอนเข้าไป มันจะทำลายเยื่อบุปอดของคุณ เรดอนนั้นถือเป็นสาเหตุอันดับที่ 1 ของการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ทั้งมันยังไม่สามารถมองเห็นหรือได้กลิ่นอีกด้วย ดังนั้น หากจะตรวจหาเรดอนจึงต้องใช้การตรวจสอบพิเศษเท่านั้น

    • แร่ใยหิน หรือ ทัลคัม (Talcum)

    แร่ใยหิน หรือ ทัลคัม (Talcum) เนื่องจากในแร่ใยหินมีเส้นใยเล็ก ๆ ที่เหนียว ซึ่งสามรถเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับzลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น หลังคา กระเบื้อง เพดาน และชิ้นส่วนของรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากว่า เส้นใยเหล่านี้ล่องลอยอย่างเป็นอิสระในอากาศ และคุณหายใจเข้าไป ก็จะทำให้แร่ดังกล่าวเข้าไปติดอยู่ในปอดของคุณ

    จากการศึกษาพบว่า แร่ใยหินนี้ถือเป็นสารก่อมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้น เมื่อคุณจำเป็นจะต้องสัมผัสกับมันเมื่อต้องทำงาน คุณจำเป็นจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันเอาไว้

  • มันฝรั่งทอดกรอบ
  • เมื่อมันฝรั่งผ่านการแปรรูปโดยอุณหภูมิที่สูง พวกมันจะก่อให้เกิดสารเคมีที่ชื่อว่า อะคริลาไมด์ (Acrylamide) ซึ่งจากการศึกษาในหนูแสดงให้เห็นว่า หนูที่ได้รับอะคริลาไมด์ในน้ำดื่มจะทำให้พวกมันเป็นมะเร็งได้ นักวิจัยจึงคาดว่ามันจะสามารถเกิดในมนุษย์ได้เช่นกัน

    โดยคุณสามารถลดปริมาณอะคราไมด์ที่ได้รับ ด้วยการอบ คั่ว ทอด และปิ้งอาหาร จนกระทั่งอาหารสุกกำลังดีและมีสีไม่เข้มนัก แทนการผ่านความร้อนจนกระทั่งอาหารกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลทอง

    • ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)

    สารฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ครัวเรือนมากมาย จากการศึกษากับหนูทดลองและคนที่ต้องอยู่กับสารฟอร์มาลดีไฮด์พบว่า เป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะซื้อพวกผลิตภัณฑ์ไม้หรือเฟอร์นิเจอร์สำหรับบ้าน คุณควรจะต้องตรวจสอบก่อนว่ามันมีสารฟอร์มาลดีไฮด์หรือไม่ นอกจากนั้นควรจะต้องดูการระบายอากาศในบ้านของคุณทุกวัน และรักษาระดับความชื้นให้ต่ำด้วยเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องลดความชื้นด้วย

    • รังสีอัลตราไวโอเลต

    การศึกษาแสดงให้เห็นว่ารังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ไม่ว่าจะจากดวงอาทิตย์ การอาบแดด หรือถูกดูดซึเข้าสู่ผิวหนัง ก็สามารถทำลายเซลล์ที่อยู่ภายใต้ผิว จนทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ นอกจากนั้นมลพิษและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยังส่งผลให้รังสีเหล่านี้มีความรุนแรงขึ้น เพื่อความปลอดภัยจากรังสียูวี คุณควรจะต้องปกป้องผิวด้วยครีมกันแดด สวมหมวก และแว่นกันแดด จะเป็นการดีที่สุด

    • แอลกอฮอล์

    แน่นอนว่าแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่มักจะพบได้ในเหล้า เบียร์ และไวน์ ซึ่ง ถ้าดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้มากเกินไป ก็อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งบางชนิดมากขึ้น เช่น

  • ศีรษะและคอ
  • หลอดอาหาร
  • เต้านม
  • ตับ
  • ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
    • เนื้อสัตว์แปรรูป

    เบคอน ไส้กรอก และเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการ การถนอมอาหาร หรือมีการปรุงแต่งเพิ่มเติม จะเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ดังนั้น จึงควรจำกัดการทานเนื้อสัตว์แปรรูปให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นการดีต่อสุขภาพมากที่สุด

    • ไอเสียจากเครื่องยนต์

    รถบรรทุก รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งรถยนต์บางชนิดที่ใช้น้ำมันดีเซล สามารถก่อให้เกิดมะเร็งปอดและมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้ หากคุณจำเป็นจะต้องใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันดีเซล หรือจำเป็นจะต้องเดินทางบนท้องถนน จึงควรหากอุปกรณ์ป้องกันสุขภาพอย่างหน้ากากอนามัยเอาไว้

    • มลพิษอื่น ๆ

    นอกจากไอเสียจากเครื่องยนต์แล้ว อากาศที่เราสูดดมเข้าไปทุกวันบางครั้งก็อาจจะมีฝุ่น หรือโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู่โรคมะเร็งได้ หากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษเหล่านี้ได้ คุณจึงควรทำตามคำเตือนด้านสุขภาพอนามัยในพื้นที่ สวมหน้ากากอนามัย รวมถึงควรอยู่ภายในอาคารในวันที่พบว่าคุณภาพอากาศไม่ดี

  • เตียงอาบแดด
  • เตียงอาบแดดเป็นอุปกรณ์ที่ปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลต เพื่อทำให้ผิวหนังกลายเป็นสีแทน ซึ่งมันทำให้ผิวของคุณสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตได้มากจนเกินไป ซึ่งมันอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก และริ้วรอยก่อนวัยอันควรได้

    • โรงงานอะลูมิเนียม

    จากการรายงานพบว่าคนงานที่ทำงานในโรงงานที่มีการผลิตอะลูมิเนียม มักจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากพวกเขาอาจจะสูดดมเอาควันที่มีสารเคมีบางอย่างเข้าไป นอกจากนั้นการสัมผัสกับสารระเหยจากถ่านหินเป็นระยะเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน

    • สารหนูที่อยู่ในน้ำดื่ม

    สารหนูถือเป็นสารเคมีที่มีพิษสูง ใช้ในการทำอัลลอยด์บางชนิด มันสามารถเข้าไปปนเปื้อนในแหล่งน้ำดื่มได้ โดยเฉพาะในน้ำบาดาล แน่นอนว่าสารหนูมักจจะเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง ทั้งยังก่อให้เกิดมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งไต และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ด้วย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา