สุขภาพของลำไส้ ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ หากร่างกายมีสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรง ก็จะช่วยให้ระบอื่น ๆ ในร่างกายดีตามไปด้วย เมื่อสุขภาพลำไส้แข็งแรงไม่เพียงแต่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและสมองด้วย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ ลำไส้ไม่แข็งแรง ร่างกายก็จะส่งสัญญาณออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ท้องอืด ท้องผูก วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับสัญญาณที่บ่งบอกว่า สุขภาพลำไส้ไม่ดี ไม่แข็งแรงมาให้อ่านกันค่ะ
หน้าที่ของ จุลินทรีย์ในลำไส้
จุลินทรีย์ในลำไส้ (The Gut Microbiome) เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งมีอยู่ในระบบทางเดินอาหารประมาณ 300-500 ชนิด แม้ว่าจุลินทรีย์จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ว่าจุลินทรีย์บางชนิดนั้นมีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งจุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารที่กระเพาะอาหารไม่สามารถย่อยได้ เพื่อนำไปเป็นพลังงานให้กับร่างกาย นอกจากนี้ จุลินทรีย์ในลำไส้ยังทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหาร กระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต่าง ๆ
สัญญาณที่บ่งบอกว่า ลำไส้ไม่แข็งแรง
จุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารมีหน้าที่ในการย่อย ดูดซึมสารอาหาร ซึ่งพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ความเครียด นอนน้อยเกินไป รับประทานอาหารแปรรูป และอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาจเป็นตัวทำลายจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร จนส่งทำให้ สุขภาพลำไส้ไม่ดี ซึ่งสัญญาณเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า สุขภาพลำไส้ไม่ดี
ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
อาการไม่สบายท้อง ท้องไส้ปั่นป่วนบ่อย ๆ เช่น มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องผูก ท้องร่วง และมีอาการเสียดท้อง ปัญหาเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อลำไส้ใหญ่ ที่แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียในลำไส้ไม่มีความดุล ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการ สุขภาพลำไส้ไม่ดี และไม่แข็งแรง หากลำไส้มีความสมดุลมักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับขบวนการย่อยและการขับถ่าย
ท้องร่วง
อาการท้องร่วงเรื้อรังหรือเฉียบพลัน เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและการติดเชื้อ Clostridium Difficile หรือ Clostridiodes Difficile ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ลำไส้ โดยทั่วไปแล้วมีอยู่ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากจำนวนมันเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิด สุขภาพลำไส้ไม่ดี และลดปริมาณแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ลงไปได้ ทำให้แบคทีเรียในลำไส้ไม่มีความสมดุล
ท้องผูก
แม้ว่านักวิจัยจะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของอาการท้องผูกได้ แต่จากการทบทวนศึกษาพบว่า อาการท้องผูกเกิดจากความไม่สมดุลของลำไส้
เหนื่อยล้า
ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร นักวิจัยพบว่า ผู้ที่มีอาการเหนื่อยล้ามักจะมีอาการลำไส้แปรปรวนร่วมด้วย
น้ำหนักขึ้น ๆ ลง ๆ
หากน้ำหนักขึ้น ๆ ลง ๆ เองโดยที่ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารหรือไม่มีการออกกำลังกาย พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ สุขภาพลำไส้ไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากลำไส้ไม่มีความสมดุล ทำให้ความสามารถในการดูดซึมสารอาหารของร่างกายลดลง
นอนไม่หลับ
หากมีสุขภาพลำไส้ที่ไม่แข็งแรง อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท และอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ ฮอร์โมนเซโทโรนินเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และการนอนหลับ เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นในลำไส้ หากลำไส้ไม่แข็งแรงอาจทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการนอนหลับ
ระคายเคืองผิวหนัง
บางครั้งอาการลำไส้ไม่แข็งแรงอาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ โดยลำไส้จะสื่อสารกับผิวหนังโดยตรงผ่านแกนผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ ระคายเคือง ความไม่สมดุลในลำไส้ อาจทำให้ผิวไม่สมดุล ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังอื่น ๆ เช่น สิว โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคสะเก็ดเงิน
แพ้อาหาร
อาการแพ้อาหารเกิดจากร่างกายย่อยอาหารบางชนิดได้ยาก ซึ่งอาการแพ้อาหารอาจเกิดจากแบคทีเรียไม่ดีในลำไส้มีมากเกินไป จนทำให้ย่อยอาหารได้ยาก จนทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง ปวดท้อง และมีอาการคลื่นไส้
ลำไส้ไม่แข็งแรง ปรับปรุงอย่างไรดีนะ
สุขภาพลำไส้ไม่แข็งแรงนั้นเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งวิธีเหล่านี้ช่วยให้ลำไส้แข็งแรงขึ้นได้
- รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ไฟเบอร์ที่รับประทานเข้าไป จะไปเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียชนิดดี ที่มีส่วนช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และลดการเกิดโรคเรื้อรัง
- รับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกและโปรไบโอติก พรีไบโอติกเป็นอาหารของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ ส่วนโปรไบโอติกส่วนใหญ่มักจะพบได้ในอาหารมักดอง เมื่อบริโภคเข้าไปโปรไบโอติกเหล่านี้จะไปอยู่ในลำไส้ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนมที่ไขมันสูง และอาหารทอด อาหารเหล่านี้นอกจากจะเพิ่มแบคทีเรียที่ดีในลำไส้แล้ว ยังเพิ่มการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดีที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังด้วย ดังนั้น ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ
- ลดความเครียด จากผลการวิจัยพบว่าความเครียดทำให้สุขภาพลำไส้แย่ลง
- นอนหลับให้เพียงพอ หากร่างกายไม่ได้นอนหลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อสุขภาพลำไส้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำให้เพียงพอมีประโยชน์ต่อเยื่อบุลำไส้ ช่วยส่งเสริมให้แบคทีเรียในลำไส้มีความสมดุล
สุขภาพลำไส้ไม่แข็งแรง เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและควรดูแลเมื่อมีสัญญาณเตือน หากมีปัญหาสุขภาพลำไส้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและการย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วย เช่น การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการทำงานของสมอง การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง และลดความเครียด เป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงสุขภาพลำไส้ให้ดีขึ้นได้
[embed-health-tool-bmr]