ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

เลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ถ้า ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากการที่เอ็มบริโอหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คล้ายกับประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกเหมือนประจำเดือนในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากพบอาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดโดยเร็ว ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน เกิดจากอะไร อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ เอ็มบริโอฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยคล้ายกับประจำเดือน  การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในบริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ตามปกติ มักส่งผลให้มีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy /Hydatidiform mole) […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

IUGR คือ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน

IUGR คือ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่าที่ควรและมีขนาดตัวไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ในขณะนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของรกและมดลูกที่ทำให้ทารกได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย โปรโตซัว ภาวะสุขภาพของคุณแม่ อย่างไรก็ตาม ทารกที่มีภาวะนี้สามารถเจริญเติบโตต่อไปและคลอดออกมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติได้ สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องไปพบคุณหมอตามนัดหมายเป็นประจำ หากตรวจพบความผิดปกติจะได้สามารถดูแลครรภ์และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-due-date] IUGR คือ อะไร ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (Intrauterine Growth Restriction หรือ IUGR) คือ ภาวะที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่าอายุครรภ์ของคุณแม่ในขณะนั้น สาเหตุที่แท้จริงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของรกหรือสายสะดือ ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารอาหาร ออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ และกำจัดของเสียให้กับทารก หากทารกได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ตัวเล็กกว่าปกติได้ โดยทั่วไป มักตรวจพบภาวะนี้ได้ในช่วงหลังจากสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่คุณหมอหรือทีมแพทย์ผู้ดูแลจะตรวจสอบพัฒนาการของทารกในครรภ์ด้วยการวัดระดับยอดมดลูกจากการตรวจครรภ์ (Fundal height) ซึ่งเป็นการวัดระยะห่างระหว่างกระดูกหัวหน่าวและมดลูก โดยปกติแล้ว ระยะห่างของสองตำแหน่งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของคุณแม่ เช่น คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ควรมีระยะห่างระหว่างกระดูกหัวหน่าวและมดลูกประมาณ 20 เซนติเมตร หากตรวจวัดแล้วมีระยะห่างสั้นกว่าที่ควร คุณหมออาจให้เข้ารับการทดสอบเพิ่มเติม เพื่อตรวจดูว่ามีภาวะทารกโตช้าในครรภ์หรือไม่ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Preterm labor การคลอดก่อนกำหนด อาการที่ควรรู้

Preterm labor หรือการคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะเจ็บท้องคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ อาจเกิดจากคุณแม่มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด มีปากมดลูกสั้น เป็นโรคที่ทำให้ต้องคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น การคลอดก่อนกำหนดอาจมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนบางประการ เช่น ปวดหลัง ปวดหน่วงท้องน้อย ถุงน้ำคร่ำแตก มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ความผิดปกติด้านพัฒนาการ ภาวะตัวเหลือง ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และต้องได้รับการดูแลจากทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด หากพบอาการที่เป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด ควรรีบไปพบคุณทันทีเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าว [embed-health-tool-due-date] Preterm labor คืออะไร Preterm labor คือ ภาวะคลอดก่อนกำหนด เกิดจากปากมดลูกหดรัดและขยายตัวอย่างรุนแรงและสม่ำเสมอ ทำให้ปากมดลูกเปิดออกก่อนและคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ซึ่งถือว่าเร็วกว่ากำหนดคลอดปกติที่มักเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 40 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีระบบประสาทและอวัยวะต่าง ๆ ที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้า ทั้งยังมีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงเท่าทารกที่ใช้เวลาอยู่ในครรภ์จนครบกำหนดคลอด โดยทั่วไป คุณหมอจะให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอยู่ในโรงพยาบาลต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยจะต้องได้รับการดูแลพิเศษจากพยาบาลในห้องทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต (Neonatal Intensive Care Unit หรือ NICU) เพื่อติดตามอาการและดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีภาวะแทรกซ้อนจะได้สามารถช่วยเหลือได้ทันที ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ Preterm labor ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด อาจมีดังนี้ เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน โดยเฉพาะการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ที่ผ่านมา […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ก้อน เลือด 1 เดือน สัญญาณการแท้งบุตร

ก้อน เลือด 1 เดือน เป็นสัญญาณการแท้งบุตรที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติในขณะปฏิสนธิ ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ โดยก้อน เลือด 1 เดือน อาจเป็นเพียงลิ่มเลือดที่ออกมาจากช่องคลอดพร้อมกับเนื้อเยื่อขนาดเล็ก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดหลังรุนแรง มดลูกหดตัว มีเมือกขาวออกจากช่องคลอด และสัญญาณการตั้งท้องหายไป ดังนั้น หากพบความผิดปกติเหล่านี้ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจการตั้งท้องทันที [embed-health-tool-due-date] ก้อน เลือด 1 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไร ก้อนเลือด 1 เดือน คือ การสูญเสียการตั้งครรภ์ หรือการแท้งบุตร ที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นขณะปฏิสนธิ ทำงานหนัก ออกกำลังกายหนัก ยกของหนัก มีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ติดเชื้อ อายุของคุณแม่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครียด พักผ่อนน้อย ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ โดยก้อนเลือด 1 เดือนที่เกิดขึ้นอาจไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนา จึงอาจมีขนาดเล็กมากเทียบเท่าได้กับเม็ดข้าว ทำให้อาจมองเห็นเป็นเพียงแค่ลิ่มเลือดก้อนเล็ก ๆ ผสมกับเนื้อเยื่อสีขาวหรือสีเทา อาจมีลักษณะคล้ายถุงไหลออกมาจากช่องคลอด ประเภทของการแท้งบุตร การแท้งบุตรอาจแบ่งได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคุณหมอ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ยาเร่งคลอด ใช้ในกรณีใด มีผลข้างเคียงหรือไม่

การใช้ ยาเร่งคลอด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ หากถึงกำหนดคลอดแล้วทารกไม่สามารถออกจากครรภ์ตามธรรมชาติได้ คุณหมอช่วยเร่งกระบวนการคลอดลูกด้วยการฉีดยากระตุ้นการบีบรัดตัวของมดลูก เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ ทั้งนี้ ยาเร่งคลอดจะใช้ในกรณีที่จำเป็นตามดุลพินิจของสูตินรีแพทย์เท่านั้น เช่น อายุครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ มีภาวะครรภ์เป็นพิษ น้ำคร่ำแตกแล้วแต่ยังไม่ปวดท้องคลอด การใช้ยาเร่งคลอดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางประการ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หากอาการรุนแรงขึ้น ควรแจ้งให้คุณหมอที่ดูแลทราบหรือไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-due-date] ยาเร่งคลอด คืออะไร ยาเร่งคลอด หรือยาออกซิโตซิน (Oxytocin) เป็นยาฮอร์โมนที่ใช้เร่งการเจ็บท้องคลอดและเตรียมคุณแม่ให้พร้อมสำหรับการคลอดลูก โดยคุณหมอจะฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวรุนแรงกว่าปกติ ทำให้ปากมดลูกขยายใหญ่มากพอที่จะทารกผ่านช่องคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัยในเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังอาจใช้ฮอร์โมนออกซิโตซินเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด และใช้กระตุ้นการหลั่งน้ำนมแม่ในช่วงให้นมได้ด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Gynecology and Obstetrics เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ศึกษาเกี่ยวกับการเร่งคลอดและการตอบสนองต่อความเครียดทางกายและจิตใจโดยการวัดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงตั้งครรภ์ 167 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้การเร่งคลอด 72 คน และกลุ่มที่คลอดตามธรรมชาติ 95 คน เมื่อตรวจระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลายและให้คุณแม่บอกระดับความเครียดตั้งแต่ 0-10 พบว่า การเร่งคลอดไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกเครียดมากขึ้นในขณะคลอดลูก ทั้งยังมีส่วนช่วยลดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนเครียดเมื่อคุณแม่อยู่ในระยะปากมดลูกเปิด 0-3 […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้องลมคือ อะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ภาวะไข่ฝ่อ หรือ ท้องลมคือ การตั้งครรภ์ผิดปกติที่มักเกิดขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากโครโมโซมผิดปกติหรือมีปัญหาทางพันธุกรรมระหว่างการแบ่งเซลล์ ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติและสลายตัวไปเอง เหลือไว้เพียงถุงตั้งครรภ์ อาจสังเกตได้จากอาการปวดท้องที่รุนแรงกว่าปวดประจำเดือนปกติ และอาจมีจุดเลือดออกหรือเลือดไหลออกจากช่องคลอด หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นอาการของภาวะท้องลม ควรไปพบคุณหมอทันทีเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-due-date] ท้องลมคือ อะไร ภาวะท้องลม (Blighted ovum) หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะไข่ฝ่อ เกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวในมดลูกแล้วแต่ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ ตัวอ่อนจึงฝ่อตัวหลุดออกจากผนังมดลูก ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ไปจนถึงครบกำหนดคลอดได้ บางครั้งตัวอ่อนอาจสลายไปเร็วมากก่อนที่คุณแม่จะรู้ตัวว่าตัวเองตั้งครรภ์อยู่ ผู้ที่มีภาวะนี้มักสูญเสียตัวอ่อนในครรภ์ไปในช่วงสัปดาห์ที่ 7-12 ของการตั้งครรภ์ โดยทั่วไป เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ ไข่ที่ผสมกับอุสจิและปฏิสนธิแล้วจะกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก  โดยจะใช้เวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ กว่าตัวอ่อนจะเจริญเติบโตไปเป็นทารกที่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่ในครรภ์ แต่หากเกิดภาวะท้องลม ถุงตั้งครรภ์จะยังคงก่อตัวและเติบโตต่อไป แต่ตัวอ่อนที่อยู่ข้างในจะไม่มีพัฒนาการไปด้วยและจะสลายตัวไปเอง รกและถุงตั้งครรภ์ที่ว่างเปล่าจะยังคงปล่อยฮอร์โมนการตั้งครรภ์หรือเอชซีจี (hCG) ทำให้ยังมีอาการเหมือนกำลังตั้งครรภ์ตามปกติ และสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ สาเหตุของภาวะท้องลม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าภาวะท้องลดเกิดจากสาเหตุใด แต่อาจเกิดจากโครโมโซมของไข่ที่ปฏิสนธิผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม ไข่หรืออสุจิมีคุณภาพต่ำ หรือเซลล์ตัวอ่อนไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ตามปกติและสลายตัวไป ภาวะท้องลมเป็นภาวะเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติและไม่สามารถป้องกันได้ แต่มักเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรง สัญญาณและอาการของภาวะท้องลม อาการของภาวะท้องลมในช่วงเริ่มต้นจะคล้ายกับการตั้งครรภ์ตามปกติ เช่น ประจำเดือนขาด แพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และยังสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้เมื่อใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ จากนั้นจะเริ่มมีอาการที่เป็นสัญญาณของภาวะแท้งบุตร เช่น ปวดท้องและบริเวณอุ้งเชิงกรานติดต่อกันหลายวัน มีจุดเลือดหรือเลือดออกจากช่องคลอด เลือดออกขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อยากมีลูกต้องทําไง ทางเลือกสำหรับคนมีลูกยากมีอะไรบ้าง

อยากมีลูกต้องทําไง อาจเป็นคำถามที่คู่รักหรือผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากสงสัย โดยปกติการมีลูกเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ และหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอด เพื่อให้อสุจิเดินทางไปผสมกับไข่จนเกิดการปฏิสนธิขึ้น แต่สำหรับบางคนที่พยายามด้วยวิธีธรรมชาติมาหลายครั้งแต่ไม่เกิดการตั้งครรภ์ อาจจำเป็นต้องใช้วิธีทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้เมื่อชายและหญิงมีเพศสัมพันธ์กันและมีการหลั่งน้ำอสุจิภายในช่องคลอด โดยอสุจิหลายล้านตัวจะเดินทางผ่านปากมดลูกเพื่อเข้าไปผสมกับไข่ที่รออยู่ในท่อนำไข่ แต่จะมีอสุจิเพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้นที่จะสามารถผสมกับไข่ได้สำเร็จจนเกิดการปฏิสนธิขึ้น จากนั้นไข่และอสุจิที่ปฏิสนธิกันจะเคลื่อนตัวไปฝังที่ผนังโพรงมดลูก เพื่อพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนต่อไป หากอสุจิของฝ่ายชายไม่แข็งแรงพอ มีปัญหาสุขภาพ หรือฝ่ายหญิงมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธ์ ก็อาจไม่เกิดการตั้งครรภ์ และทำให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ อยากมีลูกต้องทําไง มีวิธีการอย่างไรบ้าง หากมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ใน 1ปี จะได้รับการวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก โดยคู่สามีภรรยาสามารถเข้าพบคุณหมอเพื่อประเมินหาสาเหตุของการมีบุตรยากในครั้งนี้ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางฝ่ายชาย เช่น ปริมาณเชื้ออสุจิน้อย เชื้ออสุจิเคลื่อนที่ได้น้อยกว่าปกติหรือมีรูปร่างที่ผิดปกติไม่สมบูรณ์  หรืออาจะเป็นปัจจัยของฝ่ายหญิง เช่น ภาวะไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตีบตัน การมีเนื้องอกมดลูกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก  หากคุณหมอพบสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากก็จะมีการแก้ไขที่สาเหตุ และนอกจากนี้ก็ยังมีวิธีที่อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ และสำหรับคนที่มีลูกยาก วิธีต่อไปนี้อาจเป็นทางเลือกเพื่อใช้พิจารณาในการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ดังนี้ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง เพื่อช่วยให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์สำเร็จสูงขึ้น ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพการเจริญพันธุ์ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพต่อตัวคุณแม่และทารก นอกจากนี้ การนับวันตกไข่ ท่าทางในการมีเพศสัมพันธ์ การพักผ่อนให้เพียงพอ การจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวล รวมถึงการรักษาสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ การฉีดน้ำเชื้อ (Intra-Uterine Insemination หรือ IUI) เป็นวิธีการรักษาโดยการคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงที่สุดในปริมาณที่พอเหมาะ จากนั้น ฉีดเข้าไปในปากมดลูก […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ก้อนเลือด 1 เดือน ภาวะแท้งขณะตั้งครรภ์ระยะแรก

ก้อนเลือด 1 เดือน หรือ ก้อนมูกเลือดที่ออกมาจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ได้ 1 เดือน อาจเกิดจากภาวะผิดปกติขณะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะแท้งบุตร ภาวะท้องลม ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ภาวะแท้งคุกคาม หากพบว่าตัวเองมีก้อนเลือด หรือมีของเหลว ไหลออกจากช่องคลอดไม่ว่าในช่วงระยะไหนของการตั้งครรภ์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาให้เร็วที่สุด [embed-health-tool-due-date] ก้อนเลือด 1 เดือน เกิดจากอะไร คน ท้อง มี ก้อนเลือด 1 เดือน เป็นอาการที่มีเลือดหรือก้อนเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดในขณะตั้งครรภ์ได้ 4 สัปดาห์หรือ 1 เดือน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ เช่น การสูญเสียการตั้งครรภ์หรือการแท้งบุตร (Miscarriage) เป็นภาวะผิดปกติการของตั้งครรภ์ที่ทำให้สูญเสียตัวอ่อนในครรภ์ มักเกิดขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุหลักมาจากความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้ทารกในครรภ์หยุดเจริญเติบโตและอาจทำให้มีก้อนเลือดและเนื้อเยื่อบางส่วนไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งอาจมีทั้งกรณีที่หลุดออกมาอย่างสมบูรณ์ และกรณีที่มีชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อตกค้างอยู่ในมดลูกและจำเป็นต้องขูดลอกออก ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion) เป็นภาวะผิดปกติขณะตั้งครรภ์ที่อาจทำให้มีมูกเลือดหรือเลือดสดไหลออกมาจากช่องคลอด ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ภาวะแท้งคุกคามส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยการตรวจภายในเพื่อหาความผิดปกติและรักษาตามอาการ ผู้มีภาวะแท้งคุกคามมักเลือดหยุดไหลได้เองและดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้เป็นปกติ ภาวะตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว (Chemical pregnancy) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังการฝังตัวของตัวอ่อน […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ลูกดิ้นน้อยลง เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่

การเคลื่อนไหวหรือการดิ้นของลูกในท้องเป็นสิ่งที่แสดงถึงพัฒนาการและสุขภาพลูกได้เป็นอย่างดี คุณหมอจึงมักแนะนำให้คุณแม่นับการดิ้นเพื่อติดตามการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของลูกในท้องอยู่เสมอ โดยปกติเด็กในท้องจะดิ้นประมาณ 10 ครั้ง/2-3 ชั่วโมง ทั้งนี้ หากอายุครรภ์อยู่ในช่วงที่ลูกควรขยับตัวสม่ำเสมอแต่คุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูก ดิ้น น้อย ลง กว่าปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลูกกำลังนอนหลับ คุณแม่มีอายุครรภ์เยอะทำให้ลูกขยับตัวได้น้อยลง คุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกในท้องตื่นตัวและกลับมาดิ้นเป็นปกติได้ด้วยการรับประทานขนม เดินเล่นในระยะทางสั้น ๆ ขยับเปลี่ยนท่าทาง เป็นต้น [embed-health-tool-due-date] ลูกเริ่มดิ้นตอนไหน การดิ้นจะช่วยให้คุณแม่สังเกตพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกในท้องได้ ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะสามารถสัมผัสถึงการเคลื่อนไหวของลูกได้มากขึ้นเท่านั้น โดยทั่วไป คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกได้เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 หรือสัปดาห์ที่ 13-27 ของการตั้งครรภ์ หากเคยตั้งครรภ์มาก่อน อาจสัมผัสถึงการดิ้นของลูกได้ตั้งแต่ 16 สัปดาห์ หรือเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ แต่หากเป็นคุณแม่มือใหม่ที่ไม่เคยมีบุตรมาก่อน อาจสัมผัสถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้องได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 20 หรือเดือนที่ 5 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นระยะที่สูตินรีแพทย์หรือทีมแพทย์สามารถสัมผัสการเคลื่อนไหวของทารกได้จากภายนอกผ่านการสัมผัสหน้าท้องซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการตั้งครรภ์ แสดงว่าทารกมีขนาดตัวและความแข็งแรงเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ โดยปกติแล้ว สูตินรีแพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่เริ่มนับการดิ้นของลูกในท้องตั้งแต่เริ่มสัมผัสได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูก เพื่อติดตามว่าเคลื่อนไหวเป็นปกติหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือประมาณสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ คุณหมออาจให้นับจำนวนการดิ้นของทารกในแต่ละวันไปจนถึง 10 (Count […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

สัญญาณเตือน ท้องนอกมดลูก อาการที่คุณแม่ควรระวัง

ภาวะท้องนอกมดลูก เป็นการตั้งท้องที่เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนไปฝังตัวอยู่บริเวณนอกโพรงมดลูก มักเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ แต่ตัวอ่อนก็อาจฝังตัวที่รังไข่ ปากมดลูก ช่องท้อง ได้เช่นกัน ภาวะท้องนอกมดลูกอาจเกิดจากการมีสภาวะทางสุขภาพบางประการที่ทำให้ตัวอ่อนเคลื่อนตัวไปไม่ถึงมดลูกและฝังตัวระหว่างทาง เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตและอวัยวะที่ตัวอ่อนฝังตัวอยู่ไม่สามารถขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตไปเป็นทารกของตัวอ่อนได้เหมือนกับมดลูก อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่ได้ สัญญาณเตือน ท้องนอกมดลูก อาจสังเกตได้จากอาการปวดแปลบบริเวณท้องน้อย ปวดคอ ไหล่ อุ้งเชิงกราน และทวารหนัก หากมีประวัติตั้งท้องนอกมดลูกหรือสงสัยว่าตัวเองอาจตั้งท้องนอกมดลูก ควรไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด ภาวะท้องนอกมดลูก เกิดจากอะไร ภาวะท้องนอกมดลูก (Ectopic pregnancy) เกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิและกลายเป็นตัวอ่อนแล้วฝังตัวและเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูก ส่วนใหญ่มักฝังตัวในท่อนำไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ลำเลียงไข่ไปยังมดลูก แต่บางครั้งตัวอ่อนก็อาจฝังตัวที่บริเวณอื่น ๆ เช่น รังไข่ ช่องท้อง ปากมดลูก ภาวะนี้เป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติและมักจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์และเป็นอันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่ อาจทำให้คุณแม่ช็อกและเสียชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องนอกมดลูก อาจมีดังนี้ อายุ ผู้หญิงอายุเกิน 35 ปี เสี่ยงเกิดภาวะท้องนอกมดลูกได้มากกว่าผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่อายุน้อยกว่า ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) อาจทำให้บริเวณท่อนำไข่อักเสบหรือติดเชื้อ ส่งผลให้ท่อนำไข่อุดตันจนตัวอ่อนไม่สามารถเดินทางไปยังมดลูกได้ตามปกติและฝังตัวที่ท่อนำไข่แทน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นภาวะที่เยื่อบุผนังมดลูกไปเจริญภายนอกมดลูก หากเยื่อบุไปเจริญเติบโตอยู่ภายในท่อนำไข่อาจทำให้ท่อนำไข่อุดตัน จนเกิดการตั้งท้องนอกมดลูก การสูบบุหรี่ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อาการแท้ง ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่ควรรู้

ภาวะแท้งบุตรหรือ อาการแท้ง (Miscarriage) เป็นการสูญเสียทารกในครรภ์ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากทารกในครรภ์มีโครโมโซมผิดปกติ หรือการพัฒนาโครงสร้างของทารกที่มีความผิดปกติ ส่งผลมีปัญหาด้านพัฒนาการเติบโตของตัวอ่อน อาการที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะแท้งบุตร เช่น มีมูกเลือดหรือของเหลวกลิ่นแรงไหลออกจากช่องคลอด ปวดท้องอย่างรุนแรงหากสงสัยว่าตัวเองมีภาวะแท้งหรือมีอาการดังที่กล่าวมาในช่วงที่ตั้งครรภ์ระยะแรก ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการผิดปกติ จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป สาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้ง อาการแท้งหรือภาวะแท้งบุตร คือ ภาวะสูญเสียทารกในครรภ์ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ภาวะนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากทารกในครรภ์หยุดเจริญเติบโต บางครั้งอาจมีอาการแท้งโดยที่คุณแม่ไม่ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจทำให้เสี่ยงเกิดอาการแท้งได้ อายุ ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีจะเสี่ยงแท้งบุตรได้มากกว่า โดยการแท้งบุตรที่เกี่ยวข้องกับอายุผู้เป็นแม่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ทารกในครรภ์มีโครโมโซมขาด ทารกในครรภ์มีโครโมโซมเกิน ประวัติการแท้งบุตร ผู้ที่เคยแท้งบุตรมาก่อน เสี่ยงแท้งบุตรมากกว่าผู้ที่ไม่เคยแท้งบุตร ภาวะสุขภาพ เช่น เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ปัญหาเกี่ยวกับมดลูกหรือปากมดลูก การติดเชื้อ โรคของมารดาบางอย่างที่ทำให้เกิดลื่มเลือดอุดตันได้ง่าย อาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรได้ สัญญาณและ อาการแท้ง สัญญาณและ อาการแท้ง ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ มีไข้หรือมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม ปวดท้องน้อย คล้ายกับปวดท้องประจำเดือน มีเลือดหรือของเหลวที่ส่งกลิ่นเหม็นไหลออกจากช่องคลอด มีลิ่มเลือดหรือก้อนเลือด รวมไปถึงเนื้อเยื่อสีเทาหรือสีขาวไหลออกจากช่องคลอด ท้องร่วงหรือรู้สึกปวดท้องขณะถ่ายอุจจาระ โดยปกติแล้ว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน