ไตรมาสที่ 3

ยิ่งเข้าสู่ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ก็ยิ่งหมายความว่าใกล้จะถึงเวลาที่เจ้าตัวน้อยจะได้ลืมตามาดูโลกแล้ว แต่นั่นก็หมายความว่า คุณพ่อคุณแม่ยิ่งควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้นไปอีก เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วง ไตรมาสที่ 3 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 3

ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ที่เหมาะสม

ช่วงตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย หน้าท้องของคุณแม่จะเริ่มขยายมากขึ้น การขยับร่างกายอาจไม่สะดวกเหมือนเดิม เช่นเดียวกับการ ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ที่มีข้อจำกัดมากขึ้น และข้อควรระมัดระวังขณะออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายสามารถทำได้อย่างปลอดภัยและช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย หากเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมที่สามารถออกได้ขณะตั้งครรภ์ไตรมาส 3 [embed-health-tool-ovulation] ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ดีอย่างไร การออกกำลังกายไตรมาสที่ 3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ช่วยให้อารมณ์ดี นอนหลับได้ง่ายขึ้น นอกจากจะส่งผลดีต่อกายและใจของคุณแม่แล้ว ยังส่งผลดีต่อพัฒนาการลูกในครรภ์ โดยอาจรวมไปถึงการลดปัจจัยความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์  ออกกำลังกายคนท้องไตรมาสที่ 3 แบบไหนดี การออกกำลังกายมีหลายประเภท โดยตัวเลือกของการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับสัปดาห์ที่ 28 ถึง 42 หรือไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ได้แก่  โยคะและพิลาทิส การเล่นโยคะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความอ่อนตัวให้กับร่างกาย พิลาทิสช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยการออกกำลังกายทั้ง 2 แบบนั้น ช่วยให้ร่างกายมีความสมดุล บรรเทาอาการปวดเมื่อย และเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุ้งเชิงกราน และอาจช่วยให้ช่วงเวลาการคลอดดำเนินไปได้ด้วยดี แถมยังอาจช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ลดความเครียดและความวิตกกังวล ทั้งนี้ ควรดูท่าที่เหมาะสมของโยคะ หลีกเลี่ยงท่าที่อาจเป็นอันตราย เช่น ท่าโค้งหลังแบบกลับหัว (backbends Inversions) ทั้งนี้ไม่ควรออกกำลังกายแบบโยคะร้อน เพราะหากอากาศร้อนเกินไป หรืออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอาจเป็นอันตรายได้ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 3

เจ็บท้องเตือนเจ็บตรงไหน เจ็บเมื่อไหร่ ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร

อาการเจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องหลอก (False labour หรือ Braxton Hicks Contractions) เป็นอาการที่เกิดจากมดลูกบีบรัดตัว แต่ไม่พบว่ามีการเ้ปลี่ยนแปลงของปากมดลูก หรือปากมดลูกไม่เปิด มักพบได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป และอาจเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงใกล้คลอดเนื่องจากร่างกายปรับตัวให้พร้อมคลอดบุตร หากคุณแม่ตั้งครรภ์ทราบว่า เจ็บท้องเตือนเจ็บตรงไหน ก็อาจช่วยให้รับมือกับอาการนี้ได้ดีขึ้น โดยทั่วไปอาการเจ็บท้องเตือนจะเกิดบริเวณหน้าท้อง คุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บบริเวณอื่น ๆ เช่น หลังหรือท้องส่วนล่างเหมือนกับอาการเจ็บท้องจริงหรือเจ็บท้องคลอด และอาการเจ็บท้องเตือนอาจหายได้เองเมื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นนอน ลุกขึ้นนั่ง เดินเล่นระยะสั้น ๆ นอนแช่น้ำอุ่น ดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ [embed-health-tool-due-date] เจ็บท้องเตือนเจ็บตรงไหน โดยปกติแล้ว อาการเจ็บท้องเตือนจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกถึงแรงบีบรัดของมดลูกบริเวณหน้าท้องส่วนหน้าหรือบริเวณอุ้งเชิงกราน ลักษณะมดลูกเป็นท้องแข็งปั้นขึ้นมาทั้งท้อง โดยมักไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น มูกเลือดไหลจากช่องคลอด น้ำคร่ำแตก ร่วมด้วย เจ็บท้องเตือน เกิดเมื่อไหร่ และเป็นแบบไหน อาการเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องหลอก เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย อาจเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนที่ 4-6 หรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป และอาจมีอาการถี่ขึ้นในช่วงเดือนที่ 7-9 หรือไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ โดยลักษณะของการเจ็บท้องเตือนคือมีการหดรัดตัวของปากมดลูก เป็นๆหายๆ คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกมีท้องแข็งปั้นขึ้นมาทั้งท้อง โดยอาการมดลูกหดรัดตัวแข็งปั้นจะบีบตัวไม่สม่ำเสมอ […]


ไตรมาสที่ 3

อาการเจ็บท้องเตือน แตกต่างจากการเจ็บท้องจริงอย่างไร

ในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกถึงการหดรัดและคลายตัวของมดลูกที่ทำให้ปวดท้องหน่วงบริเวณหน้าท้อง อึดอัดไม่สบายตัว หรือที่เรียกว่า อาการเจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องหลอก คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีอาการเจ็บท้องเตือนชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุครรภ์ที่มากขึ้น โดยอาการมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและอาจหายไปหลังจากเปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เป็นต้น ต่างจากการเจ็บท้องจริงที่เป็นสัญญาณของการใกล้คลอด ซึ่งมักปวดหลังบริเวณเอวร้าวลงขาอาการปวดเป็นมากและถี่ขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น มีมูกเลือดไหลออกจากช่องคลอด น้ำคร่ำแตก การเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของอาการเจ็บท้องเตือนและอาการเจ็บท้องจริงอาจช่วยให้หญิงตั้งครรภ์สามารถรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] อาการเจ็บท้องเตือน เป็นอย่างไร อาการเจ็บท้องเตือน หรืออาการเจ็บท้องหลอก (Braxton-Hicks contractions) เป็นอาการปวดท้องเนื่องจากมดลูกหดรัดและคลายตัว โดยทั่วไป หญิงตั้งครรภ์จะรู้สึกถึงอาการเจ็บท้องเตือนได้ประมาณช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ หรือตั้งแต่อายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป ภาวะนี้เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นเมื่อหน้าท้องและมดลูกขยายตัวตามอายุครรภ์ ร่วมกับมดลูกหดรัดตัวและขยายตัวตามธรรมชาติ อาจทำให้รู้สึกปวดหน่วงหรือปวดเหมือนเป็นตะคริวบริเวณหน้าท้อง อึดอัด ไม่สบายตัว ส่วนใหญ่แล้วมักไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดรุนแรงและไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนของภาวะสุขภาพที่เป็นอันตรายแต่อย่างใด อาการเจ็บท้องเตือนและอาการเจ็บท้องจริง ต่างกันอย่างไร ความแตกต่างระหว่างอาการเจ็บท้องเตือนและอาการเจ็บท้องจริง อาจสังเกตได้ดังนี้ อาการเจ็บท้องเตือน ปวดหน่วงหรือปวดคล้ายเป็นตะคริวบริเวณหน้าท้อง เป็น ๆ หาย ๆ ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ระดับความรุนแรงของอาการจะแตกต่างไปในแต่ละครั้ง อาจเริ่มจากปวดน้อย ๆ แล้วปวดมากขึ้น […]


ไตรมาสที่ 3

ท้อง 37 สัปดาห์ อาการใกล้คลอด เป็นอย่างไร

การตั้งครรภ์ในช่วงเดือนที่ 9 หรือสัปดาห์ที่ 37 ถือว่าเข้าสู่ระยะใกล้คลอด ในระยะนี้ คุณแม่อาจมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง กรดไหลย้อน ท้องผูก นอนไม่หลับ จนรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้บ่อยในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ที่กำลัง ท้อง 37 สัปดาห์ อาการใกล้คลอด ที่ควรสังเกต เช่น ปวดท้อง มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด ปวดหลังอย่างรุนแรง ถุงน้ำคร่ำแตก หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบคุณหมอที่ดูแลครรภ์ให้เร็วที่สุดเพื่อรับการดูแลอย่างเหมาะสมและคลอดบุตรอย่างปลอดภัย [embed-health-tool-due-date] ท้อง 37 สัปดาห์ อาการใกล้คลอด เป็นอย่างไร หากคุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์มีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้คลอดดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด ปวดท้อง ช่วงใกล้คลอดคุณแม่อาจมีอาการท้องแข็งและปวดท้องเนื่องจากการมดลูกหดรัดตัวบ่อยครั้ง หากลองเปลี่ยนท่าทางหรือทำกิจกรรม เช่น เดินเล่น ดื่มน้ำ เพื่อบรรเทาอาการปวดแล้ว แต่อาการปวดไม่หายไป ซ้ำยังปวดท้องถี่และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการครั้งละไม่ต่ำกว่า 60 วินาที ทุก ๆ 5 นาที อาจเป็นสัญญาณว่าทารกในครรภ์เคลื่อนตัวมาที่ปากมดลูกและกำลังเข้าสู่ระยะคลอด มีมูกเลือดไหลออกจากช่องคลอด ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายจะสร้างชั้นมูกเหนียว (Mucus plug) […]


ไตรมาสที่ 3

อาการท้องแข็งใกล้คลอด เป็นอย่างไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร

อาการท้องแข็งใกล้คลอด มักพบในช่วงไตรมาสที่ 3 (เดือนที่ 8-9) ของการตั้งครรภ์ เกิดจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบรัดและคลายตัว ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการบีบรัดตัวขณะตั้งครรภ์ตามปกติ และการบีบรัดตัวเมื่อถึงระยะคลอดซึ่งจะมาพร้อมอาการที่เฉพาะเจาะจง เช่น มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด มีอาการปวดท้องที่ค่อย ๆ ถี่และเจ็บขึ้น คุณแม่ควรเรียนรู้ความแตกต่างของอาการเจ็บท้องเตือนและเจ็บท้องคลอด รวมถึงวิธีดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจช่วยลดอาการไม่สบายตัวจากการบีบรัดของมดลูกขณะตั้งครรภ์ได้ [embed-health-tool-due-date] อาการท้องแข็งใกล้คลอด เป็นอย่างไร อาการท้องแข็งใกล้คลอด พบได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 หรือช่วงเดือนที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากมดลูกหดตัวและบีบตัวเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการคลอด ส่งผลให้หน้าท้องแข็งตึง รู้สึกคับแน่นและอึดอัด เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกว่าท้องแข็งกว่าปกติ อาการท้องแข็งสามารถเกิดขึ้นได้บ่อย และมักเกิดขึ้นประมาณ 30 วินาที/ครั้ง โดยอาการท้องแข็ง อาจแบ่งออกได้ดังนี้ อาการท้องแข็งที่เป็นการเจ็บท้องเตือน เป็นอาการท้องแข็งที่เกิดจากมดลูกบีบรัดตัวเมื่อมีสิ่งกระตุ้นบางประการ เช่น ทารกดิ้น คุณแม่ทำงานหรือขยับร่างกายมากเกินไป คุณแม่อาจเริ่มมีอาการมดลูกบีบรัดตัวตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 12-16 ของการตั้งครรภ์ และอาจมีอาการต่อเนื่องไปตลอดการตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 มดลูกจะบีบรัดตัวรุนแรงจนเกิดเป็นอาการท้องแข็งที่ชัดเจนขึ้น โดยปกติจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ อาจมีอาการทุก ๆ 15-20 นาที โดยจะเป็น ๆ หาย ๆ ไม่สม่ำเสมอและไม่ถี่ขึ้น […]


ไตรมาสที่ 3

อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน หรือการเจ็บท้องหลอก (Braxton Hicks contractions) เป็นภาวะปกติสำหรับผู้ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 อาจรู้สึกแน่นท้อง และบางครั้งอาจมีอาการเจ็บท้องด้วย อาการที่เกิดขึ้นนี้อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์หรือผู้ใกล้ชิดสับสนระหว่างการเจ็บท้องหลอกและการเจ็บท้องคลอดจริง แต่การเจ็บท้องคลอดจริงจะเกิดถี่กว่าและรุนแรงกว่า และมักเกิดขึ้นในช่วงประมาณ 3-4 สัปดาห์ก่อนคลอด มดลูกอาจบีบตัวเป็นระยะด้วย เนื่องจากร่างกายเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูก นอกจากนี้ อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือนยังอาจเกิดจากทารกดิ้นแรง การมีเพศสัมพันธ์ และการเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไปของคุณแม่ ในระยะนี้คุณแม่อาจต้องดูแลตัวเองและพักผ่อนเยอะ ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่จะมาถึงในอีกไม่กี่สัปดาห์ อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน เกิดจากอะไร อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือนอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ มดลูกหดเกร็ง เมื่อมดลูกหดเกร็ง สัมผัสแล้วอาจรู้สึกว่าท้องแข็ง เป็นก้อน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อย ดื่มน้ำน้อยเกินไป เมื่อร่างกายคุณแม่อยู่ในภาวะขาดน้ำ อาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้อและมดลูกหดเกร็ง จนมีอาการท้องแข็ง มีเพศสัมพันธ์ การถึงจุดสุดยอดอาจทำให้มดลูกหดเกร็งตัว ส่งผลให้มีอาการท้องแข็งได้ คุณแม่ขยับร่างกายเยอะ เมื่อคุณแม่ขยับร่างกายมากเกินไป หรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ เช่น การยกของหนัก การเดินไกล ๆ อาจทำให้มีอาการท้องแข็งและเจ็บท้องได้ รับประทานอาหารเยอะเกินไป ในช่วงอายุครรภ์ 8 […]


ไตรมาสที่ 3

ท้อง 7 เดือน สุขภาพคุณแม่และพัฒนาการทารกในครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่ ท้อง 7 เดือน หรือ 30 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นช่วงไตรมาสที่ 3 เป็นช่วงที่มีความสำคัญมากทั้งต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ร่างกายของคุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามการเจริญเติบโตของทารก เช่น มดลูกขยาย ท้องโต อีกทั้งทารกในครรภ์อาจมีพัฒนาการด้านการรับรู้ และการได้ยินจากสิ่งภายนอกที่มากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของคุณแม่เมื่อท้อง 7 เดือน เมื่อคุณแม่ตั้งท้องได้ 7 เดือน อาจรู้สึกได้ถึงการดิ้นของลูกน้อย เนื่องจากมดลูกจะเริ่มขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนบนสุดของมดลูกจะอยู่เหนือกระดูกหัวหน่าวประมาณ 28 เซนติเมตร และเพราะน้ำหนักตัวของทารกที่เริ่มมากขึ้นอยู่ที่ประมาณ 900-1,100 กรัม และการที่น้ำหนักของคุณแม่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ อาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จนเกิดเลือดคั่งในขา ส่งผลให้เกิดเส้นเลือดขอดบริเวณต้นขาหรือน่อง รวมถึงอาการด้านอื่น ๆ ดังนี้  หายใจไม่สะดวก เนื่องจากขนาดมดลูกที่โตขึ้น ดันกะบังลมให้สูงขึ้น ทำให้ปอดขยายได้ลดลง อาการคันตามตัว เนื่องจากผิวหนังมีการขยายตัวมากขึ้น วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มีอาการปวดเมื่อยทั่วร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดขา มือเท้าบวม รอยแตกลายตามผิวหนัง มีผิวคล้ำเป็นบางจุด อาหารไม่ย่อย การติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อในช่องคลอด ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ […]


ไตรมาสที่ 3

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สาม มีเรื่องอะไรที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สาม หรือช่วงก่อนคลอด ถือเป็นส่วนสำคัญของการตั้งครรภ์ เพราะในช่วงนี้ คือ ช่วงสุดท้ายก่อนที่ทารกออกมาจะลืมตาดูโลก การกระทบกระเทือนของคุณแม่เพียงเล็กน้อยอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของครรภ์ได้ คุณแม่ควรดูแลตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อย [embed-health-tool-”due-date”] การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สาม ช่วงไตรมาสที่สามนั้นเริ่มต้นสัปดาห์ที่ 28 ถึงสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ทารกยังคงเติบโตและเริ่มขยับร่างกายมากขึ้น ภายใน 35-36 สัปดาห์ โดยส่วนมากทารกจะอยู่ในท่ากลับหัวเพื่อพร้อมคลอด การเข้าพบคุณหมอจึงเป็นเรื่องดีในการตรวจเช็คตำแหน่งที่ถูกต้องของทารก นอกจากนั้นแล้วยังควรตรวจสุขภาพด้านต่าง ๆ ดังนี้ ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพครรภ์ในช่วงไตรมาสสามคุณหมอจะตรวจสอบสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ว่าเป็นอย่างไร รวมถึงการหดตัวของมดลูกและตรวจสอบว่ามีเลือดออกมาหรือไม่ ตรวจสอบความดันโลหิตและน้ำหนักตัว รวมไปถึงการเต้นของหัวใจและการเคลื่อนไหวของทารก ตรวจอุ้งเชิงกรานเพื่อดูว่าปากมดลูกขยายตัวได้หรือไม่ ในกรณีที่มีอาการแสดงของการเจ็บครรภ์คลอด คุณหมอจะแนะนำให้ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของทารกอยู่ตลอดในทุก ๆ วัน ในบางรายคุณหมอจะแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในช่วง 27-36 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่และบาดทะยัก รวมทั้งวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและไอกรน เพื่อส่งต่อภูมิคุ้มกันไปยังลูกน้อยในครรภ์ได้ ตรวจคัดกรองกลุ่ม บี สเตรปโทคอกคัส (Group B Streptococcus หรือ GBS) กลุ่ม บี สเตรปโทคอกคัส (Group B Streptococcus หรือ GBS) เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในลำไส้หรืออวัยวะเพศซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใหญ่ แต่ทารกที่สัมผัสกับเชื้อดังกล่าวอาจป่วยหนักได้ ในบางโรงพยาบาล คุณหมอจะทำการตรวจป้ายสารรคัดหลั่งบริเวณช่องคลอดและทวารหนักเพื่อนำไปเพาะเชื้อ หากตรวจแล้วพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียคุณหมอจะสั่งยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำระหว่างคลอด เพราะยาปฏิชีวนะจะช่วยป้องกันทารกจากแบคทีเรียกลุ่ม […]


ไตรมาสที่ 3

อาการคนท้องไตรมาสที่สาม กับข้อควรระวังก่อนใกล้คลอด

อาการคนท้องไตรมาสที่สาม เป็นช่วงระยะเวลาที่ทารกในครรภ์ใกล้จะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตนเองและทารกอาจทำให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกไม่สบายตัวเท่าไรนัก เนื่องจากขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเองและการเคลื่อนไหวของทารก เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการคนท้องไตรมาสที่สามเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับอาการเหล่านั้น [embed-health-tool-due-date] อาการคนท้องไตรมาสที่สาม ไตรมาสที่สามเป็นช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาจมีปัญหาด้านขนาดน้ำหนักตัวและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ขนาดหน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น และตำแหน่งของทารกในครรภ์ที่พร้อมจะลืมตาดูโลก รวมทั้งภาวะต่าง ๆ ทางด้านอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากความกังวลใจและความตื่นเต้นเนื่องจากใกล้คลอด ดังนั้น ในช่วงไตรมาสที่สามควรพยายามทำใจให้สงบเพื่อเตรียมตัว พยายามมองโลกในแง่ดี ทำจิตใจให้สบายเข้าไว้ ทั้งนี้ อาการคนท้องไตรมาสที่สาม ประกอบด้วย มดลูกหดตัว   ภาวะมดลูกหดตัว หรือ“Braxton Hicks contractions” หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจรู้สึกถึงการหดตัวของมดลูกซึ่งอาจเกิดขึ้นบ่อยหรืออาจเกิดขึ้นในบางช่วงเวลา เช่น เกิดขึ้นตอนบ่ายหรือตอนเย็น หลังออกกำลังกาย หลังมีเพศสัมพันธ์ หรือหลังจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยการหดรัดตัวจะไม่สม่ำเสมอ ไม่เจ็บ และเมื่อใกล้กำหนดคลอด มดลูกจะเริ่มหดตัวมากขึ้นและบ่อยขึ้น ปวดหลัง ฮอร์โมนการตั้งครรภ์จะเข้าไปคลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยึดติดกับกระดูก โดยเฉพาะบริเวณอุ้งเชิงกราน จึงทำให้มีอาการปวดหลังเวลานั่ง เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ควรเลือกเก้าอี้ที่รองรับหลังส่วนล่าง สวมรองเท้าส้นเตี้ยที่สามารถรองรับเท้าได้ดี และออกกำลังกายเพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอด หายใจถี่ ช่วงไตรมาสที่สามอาจเป็นลมได้ง่าย และมีอาการเหนื่อยมากขึ้น ดังนั้นจึงควรฝึกเคลื่อนไหวและใช้ท่าทางที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การออกกำลังกายหักโหม เพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวก ไม่หอบเหนื่อยจนเกินไป กรดไหลย้อน ฮอร์โมนตั้งครรภ์ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร เกิดอาการเสียดท้อง เพื่อป้องกันอาการกรดไหลย้อน ควรรับประทานอาหารมื้อเล็กบ่อย ๆ แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ผลไม้รสเปรี้ยว […]


ไตรมาสที่ 3

คนท้องไตรมาสที่3 กับพัฒนาการทารกและการดูแลสุขภาพที่ควรรู้

การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ไตรมาสที่ 3 เริ่มจากสัปดาห์ที่ 28 และทารกจะถือว่าครบกำหนดคลอดในสัปดาห์ที่ 40 เวลานี้อาจเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายมากสำหรับทั้งมารดาที่จะคลอดและทารกในครรภ์ และนี่คือสิ่งที่ คนท้องไตรมาสที่3 ควรรู้ เพื่อจะได้ดูแลตัวเองและลูกน้อยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] เรื่องควรรู้สำหรับ คนท้องไตรมาสที่3 ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์นี้ มีสิ่งที่ต้องทำหลายประการ เริ่มตั้งแต่การส่งต่องานที่รับผิดชอบให้ผู้อื่นดูแลแทนสำหรับคุณแม่ที่ทำงานประจำ ไปจนถึงการเตรียมคลอด สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนท้องไตรมาสที่ 3 นี้ คุณแม่จะมีครรภ์ใหญ่ขึ้น มือและเท้าอาจบวม จนแทบไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ทราบหรือไม่ว่า ทารกในครรภ์ก็กำลังทำงานที่สำคัญบางประการอยู่ภายในครรภ์เช่นกัน ในช่วงเริ่มต้น ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อวัยวะต่าง ๆ ของเด็กจะก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่เจริญเติบโตเพียงพอที่จะทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือช่วงใกล้คลอด อวัยวะต่าง ๆ ของทารก เช่น สมอง ปอด ดวงตา หัวใจ จะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อเริ่มต้นไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ทารกน้อยในครรภ์จะเริ่มลืมตาได้แล้ว และในสัปดาห์ถัดไป กระดูกจะเจริญเติบโตเต็มที่ ในสัปดาห์ที่ 31 ระบบประสาทส่วนกลางของลูกน้อย จะสามารถเริ่มต้นควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 42

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 42 ทารกในครรภ์มักมีขนาดเท่าแตงโมลูกใหญ่ และถือว่าทารกอยู่ในครรภ์นานเกินกำหนดคลอด แต่ทั้งนี้ การตั้งครรภ์นานเกินปกติไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าทารกในครรภ์ผิดปกติ และถึงแม้ทารกน้อยจะมีขนาดตัวใหญ่โตเพียงใด ยังสามารถคลอดได้อย่างปลอดภัย แต่หากคุณแม่ยังไม่มีสัญญาณเตือนว่าจะคลอดในเร็ววัน คุณหมออาจจำเป็นต้องเร่งคลอดหรือผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 42 ลูกจะเติบโตอย่างไร เมื่อถึงปลายสัปดาห์ที่ 42 การตั้งครรภ์จะถือว่าเกินกำหนดแล้ว หรือการคลอดล่าช้า แต่ทั้งนี้ การตั้งครรภ์นานเกินปกติไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าทารกในครรภ์ผิดปกติ ที่จริงแล้ว ทารกส่วนใหญ่ไม่ได้คลอดในวันครบกำหนดที่ประมาณเอาไว้ แต่มักจะคลอดก่อนหรือหลังกำหนดคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ การที่ทารกไม่คลอดตามกำหนดเวลา จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลแต่อย่างใด ในช่วงเวลานี้ ทารกในครรภ์มักมีขนาดเท่าแตงโมลูกใหญ่ แต่ถึงแม้ทารกน้อยจะมีขนาดตัวใหญ่โตเพียงใด ยังสามารถคลอดได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ทารกที่คลอดเกินกำหนดวันคลอดมักจะมีลักษณะเฉพาะบางอย่าง เช่น ผมและเล็บที่ยาวกว่าปกติ ผิวอาจจะเหี่ยวและย่นหรือมีรอยแตก แต่สภาวะของผิวดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว เนื่องจากไขมันที่ห่อหุ้มและปกป้องทารกขณะอยู่ในครรภ์หลุดลอกออกไปก่อน ตั้งแต่ช่วงที่คุณหมอประมาณการไว้ว่าจะเป็นวันกำหนดคลอด ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในสัปดาห์ที่ 42 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่มักประสบกับอาการแบบเดียวกับในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ เช่น เป็นตะคริวที่ขา นอนไม่ค่อยหลับ ปวดหลัง เป็นริดสีดวง ปัสสาวะบ่อย ปวดเกร็งเป็นครั้งคราว และอาจเกิดความเครียดได้ง่าย เนื่องจากความคาดหวังว่าตัวเองควรจะต้องคลอดแล้ว อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรทำใจให้สบาย เพราะมีแนวโน้มที่จะคลอดในปลายสัปดาห์นี้ ควรสังเกตอาการเจ็บท้องคลอดและสัญญาณเตือนคลอดต่าง ๆ เช่น มีเลือดหรือมูกเลือดออกจากช่องคลอด น้ำเดิน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน