สุขภาพคุณแม่

"นับตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจจะทุ่มเทเวลาและแรงใจทั้งหมดที่มี เพื่อดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพดี แต่ สุขภาพคุณแม่ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน ได้ที่นี่ "

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพคุณแม่

ข้อห้ามหลังผ่าคลอด อยากฟื้นตัวไว แผลผ่าคลอดหายเร็ว ต้องทำตามนี้

การผ่าคลอดในปัจจุบัน แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดคลอดในกรณีฉุกเฉิน หรือมีข้อบ่งชี้สำคัญที่ทำให้แม่และลูกในท้องเกิดความเสี่ยง เช่น ทารกในครรภ์ตัวใหญ่จนไม่สามารถคลอดธรรมชาติ ท่าของทารกในครรภ์อยู่ในแนวที่ผิดปกติ ทารกไม่กลับหัว หรือพบปัญหารกเกาะต่ำ แม่มีโรคประจำตัว จนอาจมีความเสี่ยงหากต้องคลอดธรรมชาติ สาเหตุที่แพทย์ต้องเลือกการผ่าตัดคลอดเฉพาะบางกรณีนั้น เป็นเพราะว่า การผ่าคลอดมีความเสี่ยงมากกว่าการคลอดทางช่องคลอด อีกทั้งยังต้องใส่ใจสุขภาพ ดูแลแผลผ่าคลอด และมี ข้อห้ามหลังผ่าคลอด ที่ต้องระวังอีกด้วย [embed-health-tool-due-date] 6 ข้อห้ามหลังผ่าคลอด ที่คุณแม่ควรระวัง การทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่แม่เคยทุ่มเททำอย่างเต็มที่ อาจต้องลดระดับลงมาจนกว่าร่างกายแม่จะหายดี สำหรับ ข้อห้ามหลังผ่าคลอด หรือสิ่งที่คุณแม่ห้ามทำหลังผ่าคลอด มีดังนี้ ไม่ยกของหนัก เพราะสภาพร่างกายของคุณแม่ยังไม่แข็งแรงพอ อีกทั้งยังต้องระวังไม่ให้แผลผ่าคลอดปริหรืออักเสบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวหลังผ่าคลอดได้ ไม่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว คุณแม่อาจจะคิดว่า ร่างกายแข็งแรงแล้ว อยากลุก อยากเดิน ก้าวเท้าให้ไวให้เหมือนกับก่อนผ่าคลอด แต่ถ้าแม่เคลื่อนไหวเร็วเกินไป     อาจส่งผลให้รู้สึกเจ็บแผลหน้าท้องได้ จึงควรค่อย ๆ เดิน จนกว่าร่างกายจะเริ่มปรับตัวได้ แผลหายสนิทแล้วค่อยกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป สำหรับแม่ที่เคยออกกำลังกายเป็นประจำ อาจจะคิดว่าแข็งแรงดีแล้ว อยากกลับไปออกกำลังกายตามเดิม แต่ร่างกายแม่นั้นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูตัวเอง สำหรับแม่ผ่าคลอดควรขยับร่างกายและเคลื่อนไหวเป็นประจำ แต่ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม เพราะอาจเกิดอันตรายได้ ไม่ขาดน้ำดื่ม ร่างกายของแม่หลังผ่าคลอดต้องการน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช่แค่เรื่องการดูแลสุขภาพเท่านั้น […]

สำรวจ สุขภาพคุณแม่

ช่วงเวลาหลังคลอด

ยาเพิ่มน้ำนม ช่วยกระตุ้นน้ำนมได้อย่างไร และมีอะไรบ้าง

ยาเพิ่มน้ำนม เป็นยาสำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อยหรือน้ำนมไม่ไหล เนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิตและการหลั่งของน้ำนม การกินยาเพิ่มน้ำนมจึงอาจช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพิ่มขึ้นและเพียงพอต่อทารก อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ยาควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และทารก [embed-health-tool-bmr] การผลิตน้ำนมตามธรรมชาติ น้ำนมแม่ประกอบด้วยแอนติบอดี เอนไซม์ สารอาหารและฮอร์โมน ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่จึงมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกายทารก เช่น ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ส่งเสริมสติปัญญา ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ป้องกันโรคเบาหวาน โดยน้ำนมจะเริ่มผลิตขึ้นในร่างกายระหว่างอายุครรภ์ 10-22 สัปดาห์ และภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด น้ำนมอาจถูกผลิตและหลั่งออกมาเล็กน้อย และหลังจากคลอด 4 วัน ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงทำให้น้ำนมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการผลิตน้ำนมถูกควบคุมโดยฮอร์โมนและสารสื่อประสาท โดยการยับยั้งฮอร์โมนโดปามีน (Dopamine) ที่มีหน้าที่ขัดขวางการผลิตน้ำนม และเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่ช่วยในการกระตุ้นต่อมน้ำนมเพื่อสร้างน้ำนม สำหรับการตอบสนองต่อการดูดนมของทารก เกิดจากฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ถูกปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลังเพื่อให้เต้านมหลั่งน้ำนมออกมา แต่หากคุณแม่มีความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแคทีโคลามีน (Catecholamine) ซึ่งจะยับยั้งฮอร์โมนออกซิโตซินที่อาจทำให้น้ำนมไม่ไหลออกจากเต้านมได้ ยาเพิ่มน้ำนม มีอะไรบ้าง สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อยซึ่งส่งผลต่อการให้น้ำนมลูก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับยาเพิ่มน้ำนม ดังนี้ กาแล็กตาโกก (Galactagogue) เป็นยาที่อาจช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมเพื่อช่วยในการสร้างน้ำนม โดยสามารถเริ่มใช้ได้ภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ดีของยา เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนโดปามีนและเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งอาจเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ประมาณ 66-100% ภายใน 2-5 วัน […]


สุขภาพคุณแม่

ไวท์ดอท หรือจุดขาวที่หัวนม เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่

ไวท์ดอท (White dot) คือ ตุ่มขาวเล็ก ๆ คล้ายหัวสิวที่เกิดขึ้นบริเวณหัวนม ปกติแล้วจะพบในผู้หญิงให้นมลูก แต่ก็สามารถพบในช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ช่วงเป็นประจำเดือน ช่วงวัยหมดประจำเดือน ช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิด โดยทั่วไป ไวท์ดอทเกิดจากตะกอนน้ำนมและคราบไขมันอุดตันบริเวณท่อน้ำนม จนอาจส่งผลให้น้ำนมไหลได้น้อยลง และรู้สึกคัดตึงเต้านม การรักษาอาจทำได้ด้วยการประคบร้อนที่เต้านมและหัวนมแล้วนวดคลึงเพื่อดันสิ่งที่อุดตันอยู่ออก การใช้เข็มสะกิดไวท์ดอทให้หลุดออก เป็นต้น ทั้งนี้ หากดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการปวดเต้านมรุนแรง หรือมีอาการไม่สบายอื่น ๆ ร่วมด้วยอเช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดตัว ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ไวท์ดอท คือ อะไร ไวท์ดอท คือ จุดขาวเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายสิวที่พบบริเวณลานหัวนม บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นตุ่มพอง (Milk blister หรือ Bleb) เกิดจากเนื่อเยื่อ ตะกอนน้ำนม หรือคราบไขมันสะสมอยู่ในท่อน้ำนม ส่งผลให้ท่อน้ำนมอุดตัน (Plugged duct) จนมีน้ำนมคั่งค้างอยู่ในเต้านมและไม่ไหลออกมาตามปกติ มีก้อนแข็งเป็นไตที่เต้านม ผู้หญิงบางคนที่มีไวท์ดอทอาจไม่รู้สึกเจ็บเต้านม เพียงแต่จะสังเกตเห็นไวท์ดอทที่ขึ้นบริเวณรอบ ๆ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง และที่ควรเลี่ยงมีอะไรบ้าง

การกินอาหารอย่างเหมาะสมหลังคลอดลูกมีประโยชน์ต่อสุขภาพของแม่และทารก จึงอาจทำให้แม่มือใหม่มีข้อสงสัยว่า แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยในการบำรุงและฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด ช่วยในการผลิตน้ำนมและเพิ่มสารอาหารในน้ำนมแม่ นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจมีสารปนเปื้อน เพราะเมื่อกินเข้าไปแล้วอาจส่งต่อจากแม่ไปสู่ทารกผ่านทางน้ำนม ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและพัฒนาการทางสมองของทารกได้ [embed-health-tool-due-date] แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง แม่มือใหม่หลายคนอาจมีคำถามว่า แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง ซึ่งเป้าหมายในการเลือกกินอาหารของแม่ลูกอ่อน คือ การกินอาหารที่ช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดและช่วยผลิตน้ำนม ซึ่งแม่ลูกอ่อนจึงควรได้รับพลังงานประมาณ 1,800-2,000 แคลอรี่/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น อาหารที่แม่ลูกอ่อนกินได้ อาจมีดังนี้ โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่ว ธัญพืช นม ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ เต้าหู้ ซึ่งอาจช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด ช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมและสารอาหารในน้ำนม ผักและผลไม้ เช่น ฟักทอง หัวปลี คะน้า มะละกอ กล้วย เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของแม่ลูกอ่อน และอาจช่วยเพิ่มสารอาหารในน้ำนมซึ่งส่งผลดีต่อทารก นอกจากนี้ ใยอาหารยังอาจช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย แคลเซียม เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาตัวเล็กที่กินกระดูกได้ อาจช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกที่สูญเสียไปในขณะตั้งครรภ์ ธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือดหมู เลือดไก่ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลา 3 ระยะ สังเกตอย่างไร และวิธีดูแลเมื่อมีน้ำคาวปลา

น้ำคาวปลา (Lochia) เป็นของเหลวและเศษชิ้นส่วนเนื้อเยื่อภายในมดลูกที่ถูกขับออกมาจากช่องคลอดหลังคลอดบุตร คุณแม่หลังคลอดอาจมี น้ำคาวปลา 3 ระยะ ได้แก่ น้ำคาวปลาแดง พบในช่วง 3-4 วันหลังคลอด น้ำคาวปลาเหลืองใส พบในช่วง 4-10 วันหลังคลอด และน้ำคาวปลาขาว พบในช่วง 10 วันขึ้นไปหลังคลอด ปกติแล้ว น้ำคาวปลาไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และจะหยุดไหลไปเองภายในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด หากมีน้ำคาวปลาไหลออกมาจากช่องคลอด คุณแม่หลังคลอดสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยให้ดีอยู่เสมอ สวมแผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัยเพื่อซึมซับน้ำคาวปลา รวมไปถึงพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งนี้ หากผ่านไปหลายสัปดาห์แล้วยังมีเลือดออกจากช่องคลอดในปริมาณมากร่วมกับมีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น อ่อนเพลีย อาจเป็นสัญญาณของภาวะตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้หากน้ำคาวปลามีลักษณะที่เปลี่ยนแปลง เช่น สีข้นเหม็นขึ้น ร่วมกับมีการปวดท้อง อาจสงสัยภาวะการติดเชื้อ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-due-date] น้ำคาวปลา 3 ระยะ มีอะไรบ้าง น้ำคาวปลา คือ เลือด เยื่อเมือกปากมดลูก เนื้อเยื่อโพรงมดลูกและเนื้อเยื่อของทารกที่เหลืออยู่ น้ำคร่ำ แบคทีเรียและจุลินทรีย์ ที่หลุดลอกออกมาหลังจากรกลอกตัวออกจากโพรงมดลูกและไหลออกจากช่องคลอด มีลักษณะคล้ายประจำเดือนและอาจมีกลิ่นอับหรือเหม็นเปรี้ยว น้ำคาวปลาที่ไหลออกมาเป็นภาวะทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดทุกคน โดยทั่วไปน้ำคาวปลาอาจหลั่งออกมาหลายสัปดาห์กว่าจะหมด […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาการตกเลือดหลังคลอด การรักษาและการป้องกัน

อาการตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะที่มีการเสียเลือดภายหลังคลอดมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายกับมารดาตามมา เช่น ภาวะซีด ความดันโลหิตลง ช็อค และเสียชีวิตได้ ซึ่วงภาวะการตกเลือดหลังคลอดนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับ1ของสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้น การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด อาจช่วยให้คุณหมอสามารถดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ มีการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันอาการตกเลือดหลังคลอดที่อาจเกิดขึ้น หรือกรณีที่เกิดแล้วได้รัยบการรักษาอย่างทันท่วงที ก็สามารถทำให้ลดการสูญเสียได้ [embed-health-tool-due-date] ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร ตกเลือดหลังคลอด คือภาวะที่มีการเสียเลือดภายหลังคลอดมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ส่งผลให้เกิดภาวะซีด ความดันตก และเสียชีวิตได้โดยอาการตกเลือดหลังคลอดแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ การตกเลือดหลังคลอดปฐมภูมิ คือการตกเลือดที่เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และการตกเลือดทุติยภูมิ คือการตกเลือดภายหลัง 24 ชั่วโมงหลังคลอดและอยู่ภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด สาเหตุที่พบบ่อยของการตกเลือดหลังคลอด มีดังนี้ ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว (Uterine Atony) เป็นภาวะที่มดลูกไม่หดตัวทำให้ไม่สามารถยึดหลอดเลือดในรกได้ ส่งผลให้เสียเลือดมากหลังคลอด รกไม่คลอดออกมาหรือรกคลอดออกมาไม่ครบสมบูรณ์ (Retained Placental Tissue) เป็นภาวะที่ชิ้นส่วนรกที่ยังค้างอยู่ในโพรงมดลูก ส่งผลให้มดลูกไม่สามารถหดตัวได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีเลือดออกมากหลังคลอด การบาดเจ็บ ( Trauma) […]


สุขภาพคุณแม่

ริดสีดวง หลังคลอด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ริดสีดวงเป็นภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ แต่บางครั้ง แม้จะคลอดบุตรแล้ว ก็อาจเกิดภาวะ ริดสีดวง หลังคลอด ได้ภายใน 1 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขยายตัวของมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก อาการท้องผูก การคลอดตามธรรมชาติที่ต้องออกแรงเบ่ง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เกิดก้อนนูนหรือติ่งเนื้อที่อาจยื่นออกมาขณะถ่ายอุจจาระ หรือเกิดอาการเจ็บและคันบริเวณทวารหนัก ซึ่งกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และการดูแลลูกหลังคลอด โดยทั่วไป อาการของริดสีดวงหลังคลอดมักหายไปเองภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอ สาเหตุที่ทำให้เกิด ริดสีดวง หลังคลอด ภาวะริดสีดวงหลังคลอด อาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ การขยายตัวของมดลูก หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและร่างกายทารกในครรภ์ขยายใหญ่ขึ้นจนเพิ่มแรงดันในช่องท้องและกระดูกอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลเวียนจากบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกรานได้ยากขึ้น ส่งผลให้เลือดคั่งค้างและก่อตัวเป็นก้อนเนื้อบริเวณทวารหนัก อาการท้องผูก หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในระยะใกล้คลอดอาจมีอาการท้องผูกเนื่องจากจากทารกในครรภ์ตัวใหญ่ขึ้น มดลูกขยายตัวและกดทับหน้าท้องและลำไส้ใหญ่ จนส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้ต้องนั่งถ่ายอุจจาระนานและออกแรงเบ่งเยอะขณะขับถ่าย อาจทำให้เส้นเลือดบวมและเยื่อบุทวารหนักโป่งพอง จนเกิดริดสีดวงได้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผนังเส้นเลือดคลายตัวและอาจบวมพองได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคริดสีดวง ทารกตัวใหญ่ การออกแรงเบ่งคลอดและการคลอดทารกที่น้ำหนักมากกว่า 3.8 กิโลกรัม อาจเพิ่มแรงดันบริเวณทวารหนัก และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะริดสีดวงหลังคลอดได้ การใช้เวลาคลอดนาน การใช้เวลาคลอดบุตรนานกว่า 12 […]


สุขภาพคุณแม่

ครีมทาหน้าสําหรับคนท้อง และครีมที่ควรหลีกเลี่ยง

คนท้องจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จนอาจส่งผลต่อสุขภาพผิว เช่น เป็นสิว ฝ้า กระ ผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย การใช้ ครีมทาหน้าสำหรับคนท้อง จึงอาจช่วยบำรุงและฟื้นฟูให้สุขภาพผิวแข็งแรง และลดปัญหาผิวที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเลือกครีมทาหน้าสำหรับคนท้องอย่างระมัดระวัง เนื่องจากส่วนผสมบางชนิดในครีมทาหน้า หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ครีมทาหน้าสําหรับคนท้อง ควรเลือกอย่างไร ครีมทาหน้าสำหรับคนท้อง เพื่อช่วยแก้ปัญหาผิวดังต่อไปนี้ อาจไม่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ปัญหาผิวแห้ง อาจเลือกครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว โกโก้บัตเตอร์ (Cocoa Butter) เปปไทด์ (Peptide) และกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิว จึงอาจช่วยลดปัญหาผิวแห้งได้ ปัญหาสิวและรอยดำ อาจเลือกครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของกรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) หรือกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) ซึ่งอาจช่วยรักษาสิว ลดรอยดำ ปรับผิวให้กระจ่างใสและช่วยลดเลือนริ้วรอย แต่ควรใช้ในปริมาณน้อยเพื่อความปลอดภัย ปัญหาริ้วรอย อาจเลือกครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของวิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค วิตามินบี 3 และชาเขียว เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความสดใสให้กับผิว […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาหารคุณแม่หลังคลอด ควรกินอะไรดี

อาหารคุณแม่หลังคลอด เป็นอาหารที่สำคัญต่อการฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บขณะคลอด ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและสร้างเม็ดเลือด ทั้งยังช่วยในการผลิตน้ำนมสำหรับทารกแรกเกิด คุณแม่จึงควรกินอาหารที่มีสารอาหารที่หลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ วิตามินและเกลือแร่ เป็นประจำทุกวัน เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ อาหารคุณแม่หลังคลอด ควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง คุณแม่หลังคลอดควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ วิตามินและเกลือแร่ โดยคุณแม่หลังคลอดต้องการพลังงานประมาณ 1,800-2,000 แคลอรี่/วัน เพื่อฟื้นฟูร่างกายที่ได้บาดเจ็บจากการคลอดลูกและสำหรับให้นมลูก โดยสารอาหารที่ควรได้รับหลังคลอด อาจมีดังนี้ คาร์โบไฮเดรตที่อุดมไปด้วยแป้งและใยอาหาร เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ เมล็ดพืช ขนมปังโฮลเกรน ผักใบเขียว เพื่อเพิ่มพลังงานและช่วยในการขับถ่าย โปรตีน เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและไม่ติดหนัง อาหารทะเล ไข่ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและฟื้นฟูร่างกายจากการคลอดลูก น้ำ คุณแม่หลังคลอดและให้นมลูกอาจเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ เนื่องจากร่างกายต้องการน้ำมากเพื่อใช้ในการผลิตน้ำนม คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 2.7 ลิตร/วัน แคลเซียม ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัม/วัน จากอาหาร เช่น นมไขมันต่ำ ชีส โยเกิร์ต เพื่อเสริมสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูกของคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากในระหว่างตั้งครรภ์ทารกจะดึงเอาแคลเซียมจากคุณแม่จึงอาจทำให้กระดูกคุณแม่อ่อนแอลง ธาตุเหล็ก ควรได้รับ 9-10 […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร และควรดูแลอย่างไร

ท้องลายหลังคลอด อาจเกิดจากการที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องขยายตัวอย่างรวดเร็วขณะตั้งครรภ์ จนส่งผลให้โครงสร้างของผิวหนังเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันจนเกิดเป็นรอยแตกลาย เมื่อคลอดแล้ว รอยแตกลายนั้นก็ยังคงอยู่ ถึงแม้ว่าท้องลายหลังคลอดจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่ก็อาจสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพผิวหลังคลอดเพื่อให้ริ้วรอยต่าง ๆ ลดลง ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร ท้องลายหลังคลอด อาจเกิดจากการยืดและขยายของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องอย่างรวดเร็วขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้โครงสร้างของคอลลาเจนและอีลาสติน (Elastin) ที่ช่วยเสริมความยืดหยุ่นและการสมานตัวของผิวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพผิวอ่อนแอ ขาดความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่น เมื่อผิวหนังบริเวณหน้าท้องขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้เกิดรอยแตกลายได้ง่ายและอาจขยายเป็นวงกว้างได้มากกว่าผู้ที่มีสุขภาพผิวแข็งแรง นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) รวมทั้งระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเครียดขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้เส้นใยและความยืดหยุ่นของผิวอ่อนแอลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกลายขณะตั้งครรภ์ การดูแลท้องลายหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอดบางคนอาจมีอาการท้องลายหลังคลอดเกิดขึ้นได้ การดูแลผิวด้วยวิธีต่อไปนี้อาจช่วยทำให้ท้องลายหลังคลอดดีขึ้นได้ ดังนี้ ดื่มน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร เป็นประจำทุกวัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือยาเรตินอยด์ที่มีส่วนผสมของวิตามินอี ไฮดรอกซีโพรลิซิเลน-ซี (Hydroxyprolisilane-C) น้ำมันโรสฮิป (Rosehip Oil) ใบบัวบกและไตรเทอร์พีน (Triterpenes) เตรติโนอิน (Tretinoin) เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ลดรอยแตกลาย ป้องกันการลุกลามของรอยแตกลาย และอาจช่วยป้องกันการเกิดรอยใหม่ เลือกใช้ครีมกันแดดที่มี SPF30 ขึ้นไป เพื่อป้องกันผิวจากการถูกทำร้ายของรังสียูวีในแสงแดด ที่อาจทำให้เม็ดสีมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงขึ้น […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร

คุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด อาจประสบปัญหาแผลผ่าคลอดปริ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เนื้อตาย การดูแลรักษาแผลได้ไม่ดี แผลถูกกระทบกระเทือนหรืออาจเกิดจากภาวะสุขภาพที่ส่งผลต่อการสมานตัวของแผล เมื่อ แผลผ่าคลอดปริ อาจทำให้มีอาการเจ็บปวด เลือดออกมาก มีไข้สูง มีหนอง หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที สาเหตุของแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดปริ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การดูแลรักษาแผลได้ไม่ดี การดูแลรักษาแผลอาจช่วยให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น แต่สำหรับบางคนอาจดูแลรักษาแผลได้ไม่ดีพอหรืออาจมีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของบาดแผล ทำให้แผลหายช้าลงจนเกิดแผลปริ แผลถูกกระทบกระเทือน หลังการผ่าคลอดคุณแม่ควรพักฟื้นและพักผ่อนให้เพียงพอและดูแลตนเอง เพื่อให้แผลสมานตัวดีและไม่เกิดปัญหาแผลปริ หลีกเลี่ยงการเกิดแรงกดทับหรือแรงดันที่ท้องมากเกินไป เช่น การอุ้มเด็กที่มีน้ำหนักมาก การยกของหนัก การลุกขึ้นจากท่านั่งยอง ๆ การเริ่มออกกำลังกายเร็วเกินไป ซึ่งอาจส่งผลทำให้แผลเปิดหรือฉีกขาดได้ การติดเชื้อ แผลติดเชื้อจะทำให้การสมานตัวของแผลช้าลงหรืออาจทำให้เนื้อเยื่อตายจนแผลไม่สามารถสมานตัวต่อได้ ในบางกรณีรูปแบบการผ่าตัดคลอดอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดแผลปริได้เช่นกัน โดยการผ่าคลอดอาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ผ่าตัดแนวตั้ง คือ แนวแผลจากใต้สะดือไปจนถึงไรขนอวัยวะเพศ ผ่าตัดแนวนอน คือ แนวแผลตามขวางบริเวณเหนือไรขนอวัยวะเพศ ซึ่งการผ่าตัดคลอดแบบแนวนอนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลปริน้อยกว่า การดูแลรักษาง่ายกว่า ซึ่งอาจทำให้แผลสมานตัวได้เร็ว อาการเมื่อแผลผ่าคลอดปริ ควรพบคุณหมอทันทีหากมีสัญญาณของแผลปริ ดังนี้ มีไข้สูง มีเลือดออกบริเวณแผลและช่องคลอด อาการปวดรุนแรง รอบแผลแดง หรือมีอาการบวมรอบแผล ลิ่มเลือดในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น บริเวณแผลมีกลิ่นเหม็น มีหนอง เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ การดูแลแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดปริอาจต้องมีการดูแลเป็นพิเศษเพื่อทำให้แผลหายสนิทและป้องกันแผลปริซ้ำ ดังนี้ การบรรเทาอาการปวด […]

โฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม