ขวบปีแรกของลูกน้อย

ช่วงขวบปีแรกของลูกน้อย คือช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเด็กทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลและสนับสนุนลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรียนรู้ข้อมูลทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจในช่วง ขวบปีแรกของลูกน้อย ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็ก1ขวบ มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในหลายส่วนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ การสื่อสาร ภาษา สังคมและอารมณ์ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เนื่องจากเด็ก1ขวบเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและลอกเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีและการให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เด็ก1ขวบมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในหลายด้านที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและมีสุขภาพดี ดังนี้ การเจริญเติบโตทางร่างกาย น้ำตัวของเด็กทารกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 เท่าตั้งแต่แรกเกิด และเมื่ออายุครบ 1 ขวบ เด็กจะตัวโตขึ้นประมาณ 9-11 นิ้ว หลังจากนั้น น้ำหนักตัวของเด็กจะเพิ่มขึ้นช้าลงหรืออาจคงที่ เนื่องจากระดับกิจกรรมที่มากขึ้น ดังนั้น การให้เด็กกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ เด็ก1ขวบจะมีพัฒนาการในการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเด็กจะเรียนรู้ทักษะในการหยิบจับสิ่งของด้วยการใช้มือและนิ้วมือ เช่น การส่งของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง การหยิบของเข้าปาก การเปิดหน้าหนังสือ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การพลิกตัว การคลาน การยืนด้วยการจับวัตถุรอบข้าง การยืนด้วยตัวเอง การเดินพร้อมกับการจับวัตถุรอบข้าง การสื่อสารและภาษา เด็ก1ขวบจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์สั้น ๆ ง่าย ๆ […]

สำรวจ ขวบปีแรกของลูกน้อย

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 24 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 24 ลูกน้อยเริ่มมีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เริ่มส่งเสียงร้อง ทำเสียงได้หลายแบบ รวมทั้งอาจจะเริ่มเปลี่ยนอิริยาบถอย่างอื่นมากกว่าแค่นอนหลับอย่างเดียว เป็นช่วงเวลาที่ควรระมัดระวังคำพูด พฤติกรรม การแสดงออกต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้อยมีต้นแบบที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 24 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยอาจมองเห็นและได้ยินอะไรเท่า ๆ กับผู้ใหญ่ ทักษะการสื่อสารจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่น ส่งเสียงร้อง เสียงเป่าฟอง และการเปลี่ยนน้ำเสียง เสียงของลูกสามารถบ่งบอกทัศนคติหรือการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ เช่น มีความสุข กระตือรือร้น หรือแม้แต่พอใจกับการที่ได้แก้ปัญหาเป็นอย่างดี โดยสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่ห้า ลูกน้อยอาจเริ่มมีพัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้ ลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง ยืนโดยจับคนใกล้ตัวหรือหาบางอย่างไว้เกาะ พยายามผลักของเล่นไปด้านข้าง พยายามหยิบของที่เอื้อมไม่ถึง ส่งของเล่น หรือข้าวของอื่น ๆ จากมือข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่ง ควานหาของเล่นที่ทำตก เอามือเกาของเล่นชิ้นเล็ก ๆ และหยิบของเล่นด้วยมือทั้งสองข้าง ฉะนั้นควรนำข้าวของที่เป็นอันตรายเก็บให้พ้นจากมือเด็ก มีความสามารถในการมองเห็นและได้ยินเหมือนผู้ใหญ่ เริ่มพูดอ้อแอ้ที่มีโทนเสียงต่ำหรือสูงได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกด้วยการทำเสียงอ้อแอ้ และเล่นเกมที่ใช้คำง่าย ๆ กับลูกน้อย อย่างเช่น แกะร้อง ‘แบะๆ’ แพะร้อง ‘แมะๆ’ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 หรือ เด็ก 7 เดือน  ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถเริ่มหยิบอาหาร เช่น แครอทต้มหั่นแท่ง บร็อคโคลี่ ขนมปังแท่ง ได้เอง และเริ่มมีปฏิกิริยาตอบโต้กับคำพูดเพิ่มมากขึ้น ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหัดให้ลูกหยิบอาหารกินเองและลองดื่มน้ำจากแก้วเอง เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับการลองกินอาหารด้วยตัวเองมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 ลูกน้อย อาจมีดังนี้ หยิบอาหารกินได้ด้วยตัวเอง ทำตลก ซึ่งเด็กจะส่งเสียงตอนที่เป่าน้ำลายให้เป็นฟอง พูดพึมพำหรือส่งเสียงอ้อแอ้เวลาที่มีความสุข หัวเราะบ่อยๆ เวลาที่มีการตอบโต้กับ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 ในช่วงวัยนี้ ควรลองให้ลูกน้อยได้ดื่มน้ำจากถ้วยหัดดื่ม ทางที่ดีก็ควรเลือกแก้วแบบที่มีหูหิ้วสองข้างและดื่มได้สะดวก ถ้าลูกน้อยแสดงอาการไม่พอใจที่ไม่สามารถดื่มน้ำจากแก้วได้ ก็ถอดวาล์วออกจากฝาปิด ซึ่งถ้ายังทำให้เขาไม่รู้จะดื่มน้ำจากหัวจ่ายน้ำได้ยังไง ก็ให้เอาฝาปิดออกและให้ลูกดื่มน้ำจากแก้วโดยตรงเลย คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็น จะต้องทำให้เขาดูเป็นตัวอย่างว่าต้องเอียงแก้วอย่างไรให้น้ำไหลเข้าปาก เข้าจะได้เรียนรู้ว่าการดื่มน้ำจากแก้วควรทำอย่างไร   สุขภาพและความปลอดภัยใน พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 29 ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ เพราะเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้ยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะทำให้อาจจะไม่ทราบว่าพวกเขามีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แม่ควรจดบันทึกข้อสงสัย เพื่อนำไปปรึกษากับคุณหมอในครั้งถัดไป และอย่าลังเลที่จะโทรปรึกษาคุณหมอทันที เมื่อพบปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับลูก หรือถ้ามีข้อกังวลใดๆ เป็นพิเศษ ไม่ควรรอจนถึงการนัดครั้งถัดไป สิ่งที่ควรรู้ การเป็นไข้ เมื่อย่างเข้าเดือนที่ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 หรือประมาณ 7 เดือน เป็นช่วงที่ทารกเริ่มสามารถพึ่งพาตัวเองได้เล็กน้อย และอาจชอบหยิบของใส่ปากมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังสิ่งของที่เล็กเกินไปอาจเข้าไปติดคอเด็กได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเริ่มฝึกให้ทารกรับประทานอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแล้ว ดังนั้นจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลูก อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการที่มีการปรุงหรือใส่เกลือ เนื่องจากอาจมีปริมาณของโซเดียมมากเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 พัฒนาการเด็กสัปดาห์ที่ 28 จะเติบโตอย่างไร เด็กในช่วงวัยนี้มักสนใจตุ๊กตาสัตว์ยัดนุ่นทุกขนาด อะไร ๆ ก็สามารถเป็นของเล่นชิ้นโปรดได้ทั้งนั้น การเล่นตุ๊กตาเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยกำลังจะพึ่งพาตัวเองได้แล้ว หรือพูดง่าย ๆ ก็คือลูกน้อยเรียนรู้ที่จะอยู่ห่างจาก และค่อย ๆ อยู่ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น เวลาที่หาสมาชิกใหม่มาให้ครอบครัวตุ๊กตาหมีนั้น ก็ควรหาตัวที่นุ่ม ๆ และตัดเย็บมาอย่างดี บางครั้งลูกอาจจะชอบเล่นลูกบอล หรือของเล่นอื่น ๆ ที่สำคัญการเลือกของเล่นไม่ควรเลือกชิ้นที่เล็ก เพราะลูกอาจจะหยิบเข้าปากและเกิดอันตรายได้ วิธีที่จะรู้ว่าลูกชอบของเล่นชิ้นไหนให้ลองเอาของเล่นนั้นออกไปห่าง ๆ หาก ปกป้องของเล่นชิ้นนั้นอย่างเต็มเหนี่ยว นั่นก็อาจเป็นของเล่นชิ้นโปรดก็ได้ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่หก ลูกน้อยอาจจะสามารถ… ส่งเสียงบ่นแล้วคลานหนีออกไป ลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง เปลี่ยนจากการคลานมาเป็นท่านั่ง หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วต่าง ๆ (จึงควรวางสิ่งของที่เป็นอันตรายให้ห่างจากตัวเด็ก) […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 หรือเด็ก 5-6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจเริ่มคลานไปทั่วมากขึ้นเพื่อสำรวจบริเวณโดยรอบ สามารถหยิบจับสิ่งของได้ด้วยตัวเอง และอาจเริ่มนั่งได้โดยไม่ต้องมีใครช่วย คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกสำรวจและเรียนรู้สิ่งรอบตัวด้วยตัวเอง แต่ก็ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจเป็นอันตรายต่อลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยของกำลังมีพัฒนาการในมองสิ่งของเล็ก ๆ และติดตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้แล้ว เมื่อมาถึงจุดนี้ เด็กอาจจดจำวัตถุได้ถึงแม้จะเห็นแค่บางส่วน อย่างเช่น ของเล่นชิ้นโปรดที่วางอยู่ใต้ผ้าห่ม นี่เป็นเกมซ่อนหาที่จะได้เล่นในเดือนถัดไป อีกทั้งเด็กยังสามารถไล่ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ได้อีกด้วย นอกจากนี้ อาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยสามารถเอื้อมหยิบสิ่งของ ที่วางบนโต๊ะ ถ้าจับเด็กไว้ใกล้สิ่งของนั้น ถ้าเด็กหยิบได้ชิ้นหนึ่งแล้ว ลูกก็จะไล่ล่าหาชิ้นที่สองต่อไป พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 ลูกน้อยของสามารถ… นั่งได้ด้วยตัวเอง สนใจวัตถุขนาดเล็ก และติดตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ จดจำวัตถุได้เมื่อเห็นเพียงแค่บางส่วน เช่น ของเล่นที่ชื่นชอบแม้จะถูกซ่อนไว้ใต้ผ้าห่ม จับสิ่งของได้ถ้าพาเข้าไปใกล้ๆ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในสัปดาห์ที่ 23 เด็กกำลังเริ่มสนใจสีสัน การอ่านหนังสือที่มีหลากสีสัน หรือเล่นตัวต่อที่มีสีสันสดใส จะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้เกี่ยวกับสีได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรปรบมือ และให้อะไรกับลูกน้อยเพื่อการเรียนรู้ ขอให้เป็นอะไรใหม่ ๆ ก็ช่วยเพิ่มการรับรู้ และเดารูปร่างลักษณะของสิ่งของได้แล้ว  สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมาย เพื่อตรวจสุขภาพในช่วงเดือนนี้ คิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่าลูกน้อยมีพัฒนาการไปถึงขนาดไหนแล้ว จึงควรจดข้อสงสัยเอาไว้ เพื่อปรึกษาหมอในการนัดครั้งถัดไป แต่ควรโทรหาหมอทันทีถ้ามีปัญหาใด ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 22 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 22 หรือประมาณ 5 เดือน ช่วงนี้เด็กอาจสามารถกลิ้งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้เอง เริ่มพูดเป็นคำ ๆ และอาจสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังอาจมีความรู้สึกหวาดกลัวคนแปลกหน้า คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาต่าง ๆ เช่น อาการท้องผูก ปัญหาการนอนหลับ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เด็กอาจเริ่มแสดงอารมณ์เป็นครั้งแรก อย่างเช่น อาการกลัวคนแปลกหน้า เด็กจะเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ  และรู้สึกหวาดวิตกเมื่อมีคนเแปลกหน้าอยู่รอบตัว เด็กอาจจะร้องไห้เมื่อโดนคนแปลกหน้าสัมผัสตัว การที่เด็กกลัวคนแปลกหน้านี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรให้ลูกน้อยเจอคนแปลกหน้าเลย และลูกควรเจอกับคนอื่น นอกเหนือจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวด้วย โปรดจำไว้ว่า ต้องใช้ความอดทนและความเข้าใจ เพื่อที่จะฝ่าฟันให้ผ่านพ้นพัฒนาการของลูกน้อยในขั้นนี้ไปให้ได้ เมื่อมีอายุได้ 22 สัปดาห์ ลูกน้อยก็อาจจะ… กลิ้งไปในทิศทางเดียวได้ สามารถยืนด้วยสองเท้า พูดเป็นคำ ๆ ได้ ทำอะไรตลก ๆ (เช่น ปล่อยเสียงออกมาพร้อมกับน้ำลาย) สามารถไปมองตามต้นเสียงได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร สื่อสารกับเด็ก ๆ ในช่วงที่รับประทานอาหารกับครอบครัว ลูกอาจจะเพลิดเพลินกับการมองดูกำลังรับประทานอาหาร และอาจทำให้เด็กกินได้มากขึ้น นอกจากนี้ในเดือนถัดไป เด็กจะสามารถนั่งและกินอาหารได้ด้วยมือ พฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถของลูกน้อย ในการรับประทานอาหารได้ ในช่วงอายุนี้ เด็กจะสามารถลุกนั่งจากการนอนหงาย ด้วยการยันตัวเองด้วยมือทั้งสองข้าง สามารถนั่งข้าง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 21 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 21 หรือประมาณ เด็ก 5 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถเริ่มลุกขึ้นนั่งได้ด้วยตัวเอง สามารถควบคุมศีรษะได้ดีขึ้น รับรู้ทิศทางของเสียงและสามารถหันตามเสียงเรียกได้แล้ว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพยายามพูดคุยกับลูกเพื่อช่วยเพิ่มพัฒนาการด้านการสื่อสารของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงวัย 21 สัปดาห์นี้ ลูกน้อยอาจจะ… ควบคุมศีรษะของตนเองได้ เมื่อนั่งตัวตรง เด็กจะเริ่มใส่ใจกับข้าวของชิ้นเล็ก  ๆ (จึงควรเก็บสิ่งของดังกล่าวให้ห่างจากเด็ก) เริ่มร้องไห้เมื่อเดินออกจากห้อง และดีใจมากที่เดินกลับมา หัวเราะเมื่อทำท่าทางตลก ๆ และพยายามทำอะไรให้หัวเราะด้วย เอื้อมหยิบของที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้ จู่ ๆ ก็หัวเราะขึ้นมา หัวเราะเวลาที่เห็นหัวเราะ ควบคุมศีรษะให้อยู่ระดับเดียวกับร่างกายเวลานั่ง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ตอนนี้เด็กสามารถรู้ทิศทาง หรือที่มาของเสียงได้แล้ว และจะรีบหันไปดูทันที ดังนั้นวิธีดึงดูดความสนใจลูกน้อยที่ง่ายที่สุดก็คือ เสียงกรุ๊งกริ๊งของพวงกุญแจ หรือใช้กระดิ่งลมก็ได้ นอกจากนี้ ถ้าต้องการเรียกความสนใจลูกน้อย ก็ใช้วิธีพูดคุยกับลูกน้อย เด็กวัยนี้ไม่ควรให้เรียนรู้ภาษาจากโทรทัศน์ หรือวิทยุ ฉะนั้นก็ปิดโทรทัศน์หรือวิทยุ และพยายามใช้บทสนทนาจริง ๆ เพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและคำพูด สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร ในสัปดาห์นี้อาจไม่ต้องพาลูกน้อยไปตรวจร่างกายตามปกติ ลูกน้อยจึงไม่โดนฉีดยา แต่แนะนำให้จดข้อสงสัยไว้ถามหมอในการไปพบครั้งต่อไป ถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน หรือการกินอาหารของลูกน้อย ก็ควรพูดคุยกับหมอทันที ปัญหาเหล่านี้มักไม่มีความร้ายแรง และสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่ปัญหายังไม่ยอมหายไป ก็บ่งบอกว่ามีความรุนแรงแล้ว จึงควรทำการตรวจสอบกับหมอไว้ก่อนจะเป็นการดีที่สุด […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 หรือประมาณ 5 เดือน เป็นช่วงที่ทารกอาจเริ่มตั้งไข่หัดเดิน สามารถนั่งเองได้ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่าจำกัดจินตนาการของเด็ก แต่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 20 ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่ 4 นี้ ลูกน้อยอาจจะ… ใช้ขายันให้ลำตัวตั้งตรง สามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ มีปฏิกิริยาตอบโต้ เมื่อแย่งของเล่นจากมือ ขยับร่างกายไปตามเสียงที่ได้ยิน ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร หากจับลูกน้อยให้นอนลง เขาอาจขัดขืนด้วยการยืดแขนขาและยันตัวขึ้น วิธีนี้เป็นการออกกำลังกายที่ดี เพราะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ และช่วยพัฒนาความสามารถในการนั่งให้เด็กได้ ในการเตรียมพร้อมลูกน้อยในช่วงเวลาก่อนเข้านอน ควรอาบน้ำให้เขา หรือเล่านิทานให้เขาฟัง ควรทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับให้เป็นกิจวัตร เช่น กินอาหาร อาบน้ำ ใส่ชุดนอน อ่านหนังสือ ร้องเพลง จากนั้นจึงพาลูกเข้านอน การเตรียมตัวเข้านอนที่ดี จะทำให้ลูกน้อยมีเวลาผ่อนคลายได้มากขึ้น แถมยังทำให้ทั้งสองได้ใกล้ชิดกันมากกว่าเดิมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรสลับกันทำหน้าที่นี้ (คุณแม่พาไปน้ำอาบน้ำ ส่วนคุณพ่อเล่านิทาน) หรือสลับวันกันทำหน้าที่ เพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนที่เต็มที่ สุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก สัปดาห์ที่ 20 ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร แพทย์แต่ละคนจะมีวิธีการตรวจสุขภาพเด็กต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน การทดสอบทางกายภาพ รวมทั้งการทดสอบอื่น ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 15 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 15 หรือประมาณ 4 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ลูกเริ่่มมีความอยากรู้อยากเห็น มองสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และอาจเริ่มสามารถดันตัวเองได้ขณะนอนคว่ำ อีกทั้งยังอาจชอบหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังเรื่องปัญหาการสำลัก และควรเลือกสิ่งที่ปลอดภัยที่จะให้ลูกน้อยหยิบจับหรือนำเข้าปาก ไม่ควรเลือกของเล่นชิ้นเล็กเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ติดต่อได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยจะเริ่มหาข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เขาจะมองทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความอยากรู้อยากเห็น โดยอาจวางกระจกเงาชนิดที่ตกไม่แตกไว้ข้างๆ ลูกน้อย หรือจับเขาไปอยู่หน้ากระจกเวลาที่กำลังแต่งตัวในตอนเช้าๆ เจ้าตัวเล็กจะไม่รู้หรอกว่าภาพในกระจก คือตัวเขาเอง (แต่จะเริ่มรู้เมื่อมีอายุได้สองขวบ) แต่ที่สำคัญคือเขาชอบจ้องมองภาพสะท้อน ของตัวเองและคนอื่นๆ และอาจแสดงความชอบใจออกมาด้วยการยิ้มกว้างโชว์ให้เห็นเหงือก ในสัปดาห์ที่สามของเดือนที่สามนี้ ลูกน้อยอาจจะ… ชันคอแข็งเวลาเวลาที่ลำตัวตั้งตรง ใช้มือดันหน้าอกขึ้นได้ เวลาที่นอนคว่ำ หยิบจับสิ่งของได้ ระวังสิ่งของเล็กๆ อย่างเช่น ลูกเกด โดยอย่าวางข้าวของประเภทนี้ ในบริเวณที่เขาเอื้อมหยิบได้เด็ดขาด เขาเริ่มตัดสินโน่นนี่กับสิ่งต่างๆ รอบตัว และมองสิ่งต่างๆ รวมทั้งตัวเขาเอง ด้วยสายตาที่ส่อถึงความอยากรู้อยากเห็นเป็นอย่างมาก ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยอาจหยุดดูดนิ้วหัวคุณแม่มือหรือขวดนม เพื่อที่จะฟังเสียง ปล่อยให้ลูกน้อยส่งเสียงอ้อแอ้ไปเรื่อยๆ และก็เล่าเรื่องราวให้เขาฟัง วิธีไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้กับลูกน้อยเท่านั้นนะ แต่ยังช่วยให้ลูกน้อยได้แสดงอารมณ์ออกมาด้วย ลองดูซิว่าลูกน้อยส่งสัญญาณโต้ตอบกลับมาบ้างหรือเปล่า เวลาที่อยู่กับเพื่อนๆ ก็ควรปล่อยให้ลูกน้อยนั่งอยู่ใกล้ๆ เพื่อที่จะได้ยินเสียงคนโน้นคนนี้พูด  หรือรู้จักตอบโต้กับคนอื่น ลูกน้อยจะเพลิดเพลินกับการนั่งมองเด็กคนอื่นเล่นโน่นเล่นนี่ หรือมองเด็กที่โตกว่ากำลังหัดเดิน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 หรือประมาณ 3 เป็นช่วงที่ลูกน้อยอาจชื่นชอบในการสัมผัสตัว เช่น การกอด การจับ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความผูกพันและช่วยปลอบโยนลูกได้ รวมไปถึงการสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งของนั้น ๆ ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ทดลองสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และควรให้ลูกได้รับวัคซีนที่ครบถ้วน เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและภูมิคุ้มกันของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงนี้ลูกจะชอบสัมผัส ซึ่งจริง  ๆ แล้ว การสื่อสารด้วยการสัมผัสนั้นมีบทบาทสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การสัมผัสเนื้อตัวไม่เพียงแต่จะช่วยให้และลูกน้อยผูกพันกับคนในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นการปลอบโยนเวลาที่ลูกน้อยรู้สึกหงุดหงิด หรือรำคาญใจด้วย ลูกอาจโบกไม้โบกมือและถีบขา เวลาที่สะโพกและขามีความยืดหยุ่นขึ้น ลูกน้อยก็จะสามารถถีบได้แรงขึ้น ในช่วงสัปดาห์ที่ 14 นี้ ลูกน้อยอาจจะมีพัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้ หัวเราะเสียงดัง ชันคอตั้งได้ถึง 90 องศา ในขณะที่นอนราบ กรีดร้องเวลาที่รู้สึกตื่นเต้น ประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน หัวเราะได้บ่อย ๆ มองตามวัตถุที่อยู่ในระยะ 15 เซนติเมตร และสามารถหันได้ 180 องศา จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 ควรช่วยให้ลูกมีพัฒนาการมากขึ้น โดยปล่อยให้เขาสัมผัสกับวัตถุต่าง ๆ หลากหลายชนิด อย่างเช่น ผ้าขนสัตว์ ผ้าสักหลาด […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 13 ของลูกน้อย

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 13 ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 13 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนที่ 3 ลูกน้อยอาจจะ จดจำคุณพ่อคุณแม่ได้ ในช่วงอายุ 13 สัปดาห์นี้ ลูกน้อยแสดงออกได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เด็กในกลุ่มวัยนี้ประมาณครึ่งหนึ่งจะแสดงความสามารถในการจดจำคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดี ยิ้มให้คนแปลกหน้า โดยเฉพาะคนที่มองตาเวลาพูดคุยหรือเล่นกับเด็ก อย่างไรก็ตามทารกจะเพ่งมองและแยกแยะว่าพวกเขาเป็นใคร และแน่นอนว่าลูกน้อยจะรักคุณพ่อคุณแม่ และผู้คนรอบตัวมากกว่า การตอบสนองของลูกน้อย ลูกน้อยสามารถนิ่ง สบตา หรือมองหาคุณพ่อคุณแม่ในห้อง รวมถึงขยับแขน หรือหัวเราะด้วยความตื่นเต้นเมื่อเจอคุณพ่อคุณแม่ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เด็ก ๆ ที่พูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ จะมีไอคิวสูงและรู้คำศัพท์มากมาย เมื่อพวกเขามีความเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็กคนอื่น ๆ ฉะนั้นการพูดจาโต้ตอบกับลูกน้อยในช่วงนี้จึงมีความสำคัญมาก พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเวลาที่พาลูกน้อยไปเดินเล่น หรือไปซื้อของในห้างสรรพสินค้า ถึงแม้ลูกน้อยจะยังพูดตามไม่ได้ แต่เขาสามารถจับใจความสำคัญ และมีพัฒนาการทางด้านความจำได้ สุขภาพและความปลอดภัย ผื่นผ้าอ้อม ผื่นแดงจากผ้าอ้อม มักจะเกิดจากความเปียกชื้นและการเสียดสี ปัสสาวะและอุจจาระที่คั่งค้างอยู่ในผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว และทำให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในบางครั้งก็ทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนังขึ้นมาได้ นอกจากนี้ กลิ่นของผ้าอ้อม หรือแผ่นการเช็ดทำความสะอาดสำเร็จรูป ก็อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้ด้วย แต่อาจพบได้ค่อนข้างน้อย วิธีเยียวยาผื่นผ้าอ้อมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกน้อยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และไม่อับชื้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน