ขวบปีแรกของลูกน้อย

ช่วงขวบปีแรกของลูกน้อย คือช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเด็กทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลและสนับสนุนลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรียนรู้ข้อมูลทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจในช่วง ขวบปีแรกของลูกน้อย ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็ก1ขวบ มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในหลายส่วนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ การสื่อสาร ภาษา สังคมและอารมณ์ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เนื่องจากเด็ก1ขวบเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและลอกเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีและการให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เด็ก1ขวบมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในหลายด้านที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและมีสุขภาพดี ดังนี้ การเจริญเติบโตทางร่างกาย น้ำตัวของเด็กทารกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 เท่าตั้งแต่แรกเกิด และเมื่ออายุครบ 1 ขวบ เด็กจะตัวโตขึ้นประมาณ 9-11 นิ้ว หลังจากนั้น น้ำหนักตัวของเด็กจะเพิ่มขึ้นช้าลงหรืออาจคงที่ เนื่องจากระดับกิจกรรมที่มากขึ้น ดังนั้น การให้เด็กกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ เด็ก1ขวบจะมีพัฒนาการในการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเด็กจะเรียนรู้ทักษะในการหยิบจับสิ่งของด้วยการใช้มือและนิ้วมือ เช่น การส่งของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง การหยิบของเข้าปาก การเปิดหน้าหนังสือ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การพลิกตัว การคลาน การยืนด้วยการจับวัตถุรอบข้าง การยืนด้วยตัวเอง การเดินพร้อมกับการจับวัตถุรอบข้าง การสื่อสารและภาษา เด็ก1ขวบจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์สั้น ๆ ง่าย ๆ […]

สำรวจ ขวบปีแรกของลูกน้อย

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 หรือประมาณ 11 ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการสอนให้ลูกช่วยเหลือหรือทำงานเล็ก ๆ บางอย่าง เช่น ช่วยหยิบของ ช่วยเก็บของ เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้และช่วยพัฒนาการสื่อสารของลูก อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการออกคำสั่งที่ใช้คำรุนแรง แต่ควรใช้เป็นวิธีการขอร้อง เพื่อให้เด็กรู้สึกดีและอยากทำตามมากกว่า [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 47 หยิบจับสิ่งของเล็ก  ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่น  ๆ ได้ จึงควรเก็บข้าวของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก สามารถยืนด้วยตัวเองได้ชั่วขณะ พูดคำว่า “มาม๊า” โดยรู้ความหมาย พูดคำอื่นนอกเหนือจากคำว่า “มาม๊า” ได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เนื่องจากตอนนี้ลูกน้อยเริ่มรับรู้สิ่งรอบตัวได้แล้ว จึงเป็นช่วงที่เหมาะจะเริ่มสอนลูกให้ช่วยทำโน่นทำนี่ และควรย้ำคำว่า “ได้โปรด” และ “ขอบ” แม่อาจหาวิธีเปลี่ยนการทำความสะอาดธรรมดาให้กลายเป็นเกมส์แสนสนุก ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะยังไม่เข้าใจ ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ก็ไม่ถือว่าเร็วเกินไปที่จะเริ่มสอนลูก แม่อาจเริ่มจาก การแบ่งภารกิจออกเป็นงานเล็ก  ๆ ซึ่งแม่ต้องคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิดขณะที่ลูกทำความสะอาด อาจสอนให้ลูกรู้จักสิ่งของแต่ละชนิดว่าอะไรคืออะไรไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น หมั่นพูดคุยกับลูกพร้อมบอกว่าอะไรเป็นอะไร เช่น ในขณะขึ้นบันได ก็ชวนลูกนับว่าบันไดมีกี่ขั้น บอกสีและชื่อของผลไม้และพืชผักในซุปเปอร์มาร์เก็ต อ่านหนังสือภาพให้ลูกฟัง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ลูกน้อยจะเริ่มแสดงออกถึงนิสัยส่วนตัวในช่วงนี้ และจะเริ่มชอบเข้าสังคม ยิ้มกว้างให้กับคนที่พบเจอ หรืออาจจะมีอาการเขินอายมากขึ้นเล็กน้อย หลบหน้าเมื่อเจอคนแปลกหน้า นอกจากนั้น เริ่มพูดเป็นคำ ๆ ได้บ้าง เด็กบางคนอาจมีพัฒนาเร็ว จึงอาจเรียกพ่อหรือแม่ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเร็วช้าต่างกัน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเร่งรัดลูกจนเกินไป [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ลูกน้อยจะเริ่มแสดงออกว่าต้องการความสนใจจากพ่อแม่ และอาจจะรู้จักการโบกมือบ๊ายบาย  ทั้งนี้ พัฒนาการด้านต่างๆ ในสัปดาห์ที่ 40 ของลูกน้อย ได้แก่ เล่นลูกบอลและกลิ้งลูกบอลกลับมาให้ ดื่มน้ำจากแก้วได้ด้วยตัวเอง หยิบของเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ดังนั้น พ่อแม่ควรเก็บของที่อาจเป็นอันตรายไว้ให้ห่างมือลูกน้อย ยืนนิ่งๆ ได้ด้วยตัวเองสักครู่หนึ่ง ยืนเองได้แล้ว พูดคำว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้ชัดเจน พูดคำอื่น ๆ นอกเหนือจากคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 หรือประมาณ 9 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ทารกเริ่มมีพัฒนาการในการพูด สามารถออกเสียงคล้ายเสียงพูดเป็นประโยคหรือเป็นวลีได้ และอาจเริ่มเดินได้เล็กน้อย ในช่วงนี้อาจจำเป็นต้องระวังอาการป่วยบางอย่าง เช่น คออักเสบ เท้าแบน การบาดเจ็บจากการหกล้ม อีกทั้งยังควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับวัคซีนให้เหมาะสมกับช่วงอายุอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 39 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่างๆ ในสัปดาห์ที่ 39 ของลูกน้อย เล่นตบแปะ หรือโบกมือบ๊ายบายได้ บ่นพึมพำ หรือทำเสียงคล้ายๆ จะเป็นคำพูด วลี และ ประโยค เดินโดยการเกาะเฟอร์นิเจอร์ไปเรื่อยๆ เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ก็ไม่ได้เชื่อฟังทุกครั้ง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกยังคงเข้าใจในน้ำเสียงมากกว่าความหมายของคำพูด ลูกสามารถเข้าใจได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่พอใจ ดังนั้น ควรพูดชมลูกเมื่อเขาทำสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่น “หนูทำดีมากเลยนะคะที่หยิบของเล่นที่ตกขึ้นมา” ยิ่งพูดกับลูกมากเท่าไหร่ ลูกก็จะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารได้มากเท่านั้น ลูกจะเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” ถึงแม้อาจจะยังไม่เชื่อฟังในตอนนี้ แต่ก็สามารถทำให้ลูกรับรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ เช่น เมื่อพยายามไปจับต้องสิ่งของบางอย่างที่ก่อให้เกิดอันตราย หลังจากที่บอกไปแล้วว่า อย่าจับ ฉะนั้นจะเป็นการดีที่สุดที่จะใช้คำว่า “ไม่” เฉพาะเวลาที่จำเป็น และเมื่อบอกว่าไม่ คุณพ่อคุณแม่ต้องตามไปอุ้มเขาออกมาจากสิ่งนั้น เพื่อให้ลูกเข้าใจมากขึ้นว่าสิ่งที่บอกเป็นสิ่งที่ห้ามทำ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 หรือประมาณ 4 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจเริ่มมีพัฒนาการด้านการสื่อสารมากขึ้น อาจพยายามเปร่งเสียงเลียนแบบคำง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น แม่ พ่อ รวมถึงอาจพยายามอ้อแอ้เพื่อสื่อสารกับพ่อแม่ คุณพ่อคุณแม่อาจลองพยายามพูดคุยกับลูกให้มาก ๆ เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการด้านการสื่อสารเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังควรดูแลและเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อในหู ที่อาจส่งผลให้เด็กมีอาการเบื่ออาการ มีไข้ หูหนวก และร้องไห้งอแงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร นักวิจัยเชื่อว่าลูกน้อยสามารถเข้าใจเสียงพื้นฐานในภาษาพูดแล้ว ซึ่งตั้งแต่ตอนนี้จนถึงอายุ 6 เดือน ลูกจะพัฒนาความสามารถในการใช้เสียงได้ ซึ่งก็หมายความว่าจะได้ยินลูกน้อยพูดคำว่า ‘คุณแม่’ และ ‘พ่อ’ ได้ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการของเด็กกล่าวว่า นี่ยังเร็วเกินไปที่ลูกน้อยจะรู้จักความหมายที่แท้จริงของคำพวกนั้น อาจกระตุ้นให้ลูกพยายามที่จะสื่อสารออกมา ด้วยการลอกเลียนแบบการแสดงออกและเลียนเสียงของลูก ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยพยายามเลียนแบบเช่นกัน เช่น พูดคำว่า “บา” และลูกอาจจะพยายามพูดเลียนเสียงกลับมา การโต้ตอบเมื่อลูกทำเสียงหรือพยายามพูดอะไรออกมา จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงความสำคัญของภาษา และเข้าใจเหตุและผลได้ดีขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มความยอมรับนับถือในตัวเองให้ลูกด้วย เมื่อลูกเริ่มสังเกตว่าพูดอะไรออกไปแล้วใคร ๆ ก็ให้ความสนใจ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 17 ยกศีรษะขึ้น 90 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 16 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 16 หรือทารก 4 เดือน โดยทั่วไป ทารกช่วงวัยนี้อาจสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบข้างมากเป็นพิเศา พยายามหัดคว้าสิ่งของรอบตัว รวมถึงอาจมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากขึ้นจนสามารถกลิ้งตัวไปมาได้ คุณพ่อคุณแม่ควรลองสังเกตขนาดตัว น้ำหนักตัว รอบศีรษะ และดูพัฒนาการอื่น ๆ โดยรวม ว่าเหมาะสมกับวัยหรือไม่ หากพบว่าลูกมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและวิธีรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 16 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เมื่อคุณพ่อคุณแม่วางมือไว้ที่ท้องของลูก ลูกอาจยกหัวและไหล่ขึ้นโดยใช้มือดันขึ้นไป วิธีนี้จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของลูกอายุ 16 สัปดาห์ให้แข็งแรง และช่วยให้ลูกมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดีขึ้น และลูกอาจตื่นเต้นมากจนกลิ้งไปมาบ่อย ๆ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 16 ทิ้งน้ำหนักลงบนขาทั้งสองข้างเมื่อยืนตัวตรง คว้าหรือจับสิ่งของต่าง ๆ เกร็งตัวเมื่อจับให้ลุกนั่ง ให้ความสนใจกับเสียง โดยเฉพาะเสียงของคุณแม่ พูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร อาจช่วยเพิ่มทักษะการหมุนตัวให้ลูกผ่านการเล่น โดยขยับของเล่นไปมา เพื่อทำให้ลูกน้อยสนใจ ควรตบมือและยิ้มให้ลูกเมื่อลูกหมุนตัวได้ เพื่อเป็นการให้กำลังใจ และช่วยให้ลูกอยากแสดงออกและขยับร่างกายมากขึ้น สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร การทดสอบทางกายภาพ และการตรวจสุขภาพของเด็กอายุ 16 สัปดาห์แต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามสภาวะร่างกายของเด็ก โดยทั่วไป คุณหมออาจทำการตรวจ ดังนี้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 หรือเด็ก 9 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถเริ่มลุกขึ้นยืนได้ด้วยตัวเอง สามารถคลานและเดินได้เล็กน้อยโดยจับสิ่งของเพื่อช่วยพยุง อีกทั้งยังอาจเริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังและเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย เช่น มีด ยา ของมีคม ของชิ้นเล็ก ๆ ให้พ้นมือลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกลืนหรือเกิดอุบัติเหตุ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการในสัปดาห์ที่ 38 ของลูกน้อย ที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ ยันตัวขึ้นยืนจากท่านั่งได้ ไถตัวหรือคลาน ลุกขึ้นนั่งโดยใช้หน้าท้อง ทักท้วงเมื่อพยายามนำของเล่นออกจากมือหรือปาก ยืนได้ด้วยการจับคนหรือสิ่งของ ใช้นิ้วหยิบของชิ้นเล็ก ๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเก็บของอันตรายให้พ้นมือลูก พูด “มาม๊า” หรือ “ปะป๊า” ซ้ำไปมา เล่นเกมจ๊ะเอ๋ จำข้อมูลเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น เช่น ของเล่นของตัวเอง รู้ว่าตัเวองอยู่ตรงส่วนไหนของบ้าน เลียนแบบการกระทำที่เคยเห็น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยสามารถนำของใส่ในกล่องและเอาออกมาจากกล่องได้ ดังนั้นควรมีถังพลาสติก และตัวต่อหลากสีไว้ให้ลูกได้หยิบจับและฝึกฝนทักษะ โดยต้องดูให้แน่ใจว่า ของเล่นมีขนาดพอดี ไม่เล็กเกินไปจนลูกอาจกลืนเข้าปากไปได้ นอกจากนี้ ลูกยังอาจชอบหรือสนใจสิ่งของต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวไปมา […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 36 ของลูกน้อย

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน และอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา นี่คือข้อมูลของ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 36 ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 36 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการในสัปดาห์ที่ 36 ของลูกน้อย เล่นตบแผละหรือโบกมือบ๊ายบายได้ เดินโดยใช้มือจับ ยึดเฟอร์นิเจอร์เอาไว้ ยืนโดยลำพังได้เพียงชั่วครู่ เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่อาจจะไม่เชื่อฟังก็ได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกน้อยเริ่มยืนหรือเดินสะเปะสะปะได้แล้ว คุณก็อาจสงสัยว่ารองเท้ามีความจำเป็นหรือเปล่า แพทย์รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กคิดว่า เด็กยังไม่ต้องการใช้รองเท้า จนกว่าจะถึงวัยที่สามารถออกไปเดินเล่นข้างนอกเป็นประจำได้ ตอนนี้ถือเป็นเรื่องปกติที่ลูกน้อยเดินเท้าเปล่า การเดินเท้าเปล่าจะช่วยให้กล้ามเนื้อขาเกิดความแข็งแรง และความรู้สึกถึงพื้นผิวที่กำลังเหยียบย่ำอยู่ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยรักษาการทรงตัวได้ มีวิธีช่วยลูกน้อยหัดเดินอยู่หลายวิธี คุณอาจคุกเข่าอยู่ข้างหน้าเขา แล้วช่วยเขาเดินเข้าหาคุณ โดยจับมือทั้งสองข้างของเขาไว้ ซึ่งจะช่วยทั้งพยุงและพาเขาเคลื่อนไหวได้ สิ่งที่คุณควรต้องระวังก็คือการใส่กลอนประตู นอกจากนี้ก็ควรย้ายอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์หรือน้ำยาต่างๆ ที่มีสารพิษ ขึ้นไปไว้ในตู้เก็บของสูงๆ และที่นอนในเปลเด็กก็ควรตั้งระดับให้อยู่ต่ำที่สุด สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพเด็กในช่วงเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ ก็ไปปรึกษาแพทย์ก่อนการนัดหมายได้  สิ่งที่ควรรู้ หัวชนอย่างรุนแรง ถ้าลูกน้อยเอาหัวไปชนอะไรอย่างรุนแรง ก็ควรปลอบโยนเขา แต่ไม่ต้องโอ๋อะไรมากเกินไป การเอาหัวชนอะไรถือเป็นเรื่องปกติของเด็ก ในการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการเล็กน้อย ไม่ได้บาดเจ็บรุนแรงอะไร คุณอาจทำการประคบเย็นเป็นเวลา 20 นาที เพื่อลดอาการบวม รวมทั้งลองป้อนอาหารหรือเบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อย เพื่อที่เขาจะได้ไม่รู้สึกว่าการประคบเย็นนั้นทำให้เขารู้สึกเย็นเกินไป ถ้าลูกน้อยของคุณหมดสติ ก็ควรโทรหาหน่วยฉุกเฉินหรือรีบพาไปหาคุณหมอ  ถ้าลูกน้อยไม่หายใจ ก็ควรปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเด็กหายใจ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 หรือประมาณ 9 เดือน เป็นช่วงที่การมองเห็นของลูกน้อยมีพัฒนาการเทียบเท่ากับวัยผู้ใหญ่ อาจสามารถมองเห็นระยะไกลได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเริ่มจดจำสิ่งของและผู้คนรอบตัวได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจลองอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ให้ลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้สายตาของลูกน้อยมีความทัดเทียมกับของผู้ใหญ่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมองเห็นได้ในระยะใกล้ ๆ ได้ดีกว่า แต่การมองเห็นในระยะไกลก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นด้วย ฉะนั้นลูกน้อยในวัยนี้ลูกจะเริ่มจำผู้คนและสิ่งของที่อยู่อีกฝากหนึ่งของห้องได้ ลูกอาจจะเห็นของเล่นที่อยู่อีกฟาก จึงพยายามคลานไปหามัน ตอนนี้ลูกน้อยอาจมีสีของดวงตาที่จะอยู่กับลูกไปตลอดชีวิตแล้ว ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในภายหลังก็ตาม พัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ 35 มองเห็นได้เกือบเหมือนผู้ใหญ่ ไถตัวหรือคลาน ยันตัวขึ้นยืนจากท่านั่งได้ หยิบของชิ้นเล็กด้วยนิ้วหัวคุณแม่มือและนิ้วมือได้ จึงควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก เริ่มหัดพูดคำง่าย ๆ อย่าง “มาม๊า” หรือ “ปะป๊า” ซ้ำไปมา ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร บางครั้งลูกน้อยก็มีอาการกลัวอะไรที่ลูกไม่เข้าใจ รวมทั้งอะไรที่ไม่เคยรบกวนลูกมาก่อน อย่างเช่น เสียงกริ่งประตู หรือเสียงกาน้ำเดือด ถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น สิ่งที่ทำได้ในฐานะพ่อคุณแม่คือปลอบโยน และทำให้ลูกรับรู้มีอยู่ข้าง ๆ เสมอ แล้วลูกก็จะหายกลัว สิ่งที่ลูกอาจต้องการมากที่สุดก็คือการสวมกอดจาก สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพในช่วงเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ ก็ควรโทรปรึกษาคุณหมอก่อน หรือจะไปปรึกษาหมอเลยก็ได้ สิ่งที่ควรรู้ การไอ แม้แต่เด็กที่มีสุขภาพดีก็สามารถไอได้ทุกวัน เนื่องจากการไอช่วยให้เด็กหายใจได้ดีขึ้น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 โดยทั่วไป ฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นแล้ว และเด็กจะเริ่มคลาน และเอื้อมคว้าสิ่งต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาพัฒนาเด็ก สัปดาห์ที่ 31 หากพบปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาด้านพัฒนาการใด ๆ ควรปรึกษาคุณหมอทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 31 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยอาจเริ่มมีฟันขึ้นเมื่อมีอายุได้ 3 เดือน หรืออย่างช้าก็ 12 เดือน โดยส่วนใหญ่ฟันซี่แรกของลูกน้อยจะขึ้น 2 ซี่ด้านล่างก่อน แต่หากฟันของลูกน้อยมีช่องว่างระหว่างฟันแต่ละซี่มากเกินไป ช่องดังกล่างอาจหายไปเองเมื่อลูกน้อยอายุได้ 3 ขวบ เมื่อลูกน้อยฟันเริ่มขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยมีน้ำลายไหลมากขึ้น รวมถึงอาจส่งเสียงแปลก ๆ ออกมาด้วย ซึ่งในสัปดาห์ที่ 31 ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการ ดังนี้ คืบและคลานได้ ส่งวัตถุจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้ ยืนขึ้นในขณะที่ยึดจับคนหรือสิ่งของเอาไว้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในช่วงวัยทารก ลูก ๆ ไม่ค่อยเต็มใจที่จะแยกจากคุณพ่อคุณแม่เท่าไร ซึ่งอาจทำให้รู้สึกอิ่มเอิบใจ แต่ในบางครั้งก็อาจทำให้รู้สึกอึดอัดได้เหมือนกัน ถ้าคุณพ่อคุณแม่ออกจากบ้านแล้วต้องปล่อยลูกน้อยไว้ที่บ้าน ก่อนออกจากบ้านควรเข้าไปโอบกอดลูกน้อยเยอะ ๆ แล้วบอกเขาว่าจะไปที่ไหน รวมถึงควรบอกลูกว่าจะรีบกลับบ้านให้เร็วที่สุด ถึงแม้ลูกน้อยจะไม่เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่จะกลับมาใน 1 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 หรือประมาณ 6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจกำลังซุกซน ชอบขยับตัว เรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสแสดงออกอย่างเต็มที่ ไม่จำกัดจินตนาการ แต่ก็ควรเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 25 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกมีอายุครบ 6 เดือนแล้ว นี่เป็นช่วงครึ่งทางก่อนจะก้าวเข้าสู่อายุหนึ่งขวบ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ วันเวลาที่ใช้กับลูกน้อยนั้นมีค่าและผ่านไปเร็วมาก จึงควรเพลิดเพลินไปกับทุกเวลานาที พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 25 ตั้งศีรษะให้ตรงเวลานั่งตัวตรงหรือนั่งพิงอะไร เริ่มพูดเป็นคำ  ๆ ที่มีเสียงสูงต่ำได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกเริ่มกระตือรือร้นที่อยากเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ก็ควรให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว โดยเลือกผ้านุ่ม  ๆ จะได้ไม่เสียดสีเวลาลูกเคลื่อนไหว เสื้อผ้ายืด  ๆ หลวม  ๆ และมีอาการถ่ายเทได้ จะช่วยให้ลูกน้อยที่กำลังซนสามารถเคลื่อนไหวไปทั่วห้องได้ง่ายขึ้น ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าเด็กที่มีเนื้อหยาบ  ๆ หรือมีตะเข็บที่ทำให้คัน พร้อมกับมีสายยาว มีกระดุม หรืออะไรก็ตามที่อาจเข้าไปปิดกั้นทางเดินหายใจ หรือสร้างความอึดอัดในขณะนอนหลับ คลาน หรือเล่นอะไร ลูกน้อยจะรู้ว่าพฤติกรรมอะไรหรือสิ่งใดที่จะทำให้มีความสุข และอะไรที่ทำให้ไม่ชอบใจ ฉะนั้น นับแต่นี้ไปอีกหลายปี ลูกจะทำอะไรเพื่อเรียกร้องความสนใจจาก พอโตขึ้นลูกก็มีแนวโน้มจะทำอะไรแผลง  ๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจจาก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน