ขวบปีแรกของลูกน้อย

ช่วงขวบปีแรกของลูกน้อย คือช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเด็กทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลและสนับสนุนลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรียนรู้ข้อมูลทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจในช่วง ขวบปีแรกของลูกน้อย ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็ก1ขวบ มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในหลายส่วนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ การสื่อสาร ภาษา สังคมและอารมณ์ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เนื่องจากเด็ก1ขวบเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและลอกเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีและการให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เด็ก1ขวบมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในหลายด้านที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและมีสุขภาพดี ดังนี้ การเจริญเติบโตทางร่างกาย น้ำตัวของเด็กทารกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 เท่าตั้งแต่แรกเกิด และเมื่ออายุครบ 1 ขวบ เด็กจะตัวโตขึ้นประมาณ 9-11 นิ้ว หลังจากนั้น น้ำหนักตัวของเด็กจะเพิ่มขึ้นช้าลงหรืออาจคงที่ เนื่องจากระดับกิจกรรมที่มากขึ้น ดังนั้น การให้เด็กกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ เด็ก1ขวบจะมีพัฒนาการในการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเด็กจะเรียนรู้ทักษะในการหยิบจับสิ่งของด้วยการใช้มือและนิ้วมือ เช่น การส่งของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง การหยิบของเข้าปาก การเปิดหน้าหนังสือ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การพลิกตัว การคลาน การยืนด้วยการจับวัตถุรอบข้าง การยืนด้วยตัวเอง การเดินพร้อมกับการจับวัตถุรอบข้าง การสื่อสารและภาษา เด็ก1ขวบจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์สั้น ๆ ง่าย ๆ […]

สำรวจ ขวบปีแรกของลูกน้อย

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 หรือทารก 2 เดือน ในช่วงนี้ทารกอาจจะยังคงบอบบางและต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการดูแลทารก 5 สัปดาห์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ภายในสัปดาห์แรกของเดือนแรกนี้ ลูกของคุณอาจยกหัวได้เล็กน้อยในขณะที่กำลังนอนคว่ำ นอกจากนี้ยังสามารถเพ่งมองใบหน้าของผู้อื่นได้อีกด้วย โดยเฉพาะใบหน้าคุณ ผู้ที่คอยดูแลเขามาเสมอ ในช่วงนี้ลูกของคุณอาจพูดอะไรที่มีเสียงอ้อแอ้ๆ เพื่อแสดงความรู้สึกออกมา เด็กบางคนอาจหวีดร้องหรือหัวเราะได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ทำเสียงอ้อแอ้หรือพูดคุยโต้ตอบลูกน้อยเป็นประจำ จะทำให้เขาพออกพอใจกับความสนใจของคุณในระยะนี้ คุณควรพูดคุยกับเขาโดยตรง นอกจากนี้ก็ควรใช้ภาษาของเด็กในการพูดคุยหรือสอนการใช้ภาษาให้เขา การสื่อสารกับลูกน้อยแบบนี้จะช่วยเพิ่มความใกล้ชิด และความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร คุณหมออาจอาจทำการตรวจสอบต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของลูกคุณว่าตอนนั้นเป็นยังไง ถ้าคุณมีนัดไปพบคุณหมอในช่วงสัปดาห์นี้ ก็ควรปรึกษากับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้ สอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณและคนในครอบครัวควรทำเมื่ออยู่ที่บ้าน และการรับประทานอาหาร การนอน และพัฒนาการโดยทั่วไปของลูกน้อย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และเส้นรอบวงศีรษะ และพัฒนาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่คลอด ทดสอบความสามารถทางการได้ยิน และการมองเห็นของเด็ก สิ่งที่ควรรู้ การคายอาหาร ในช่วงเดือนแรกนี้เด็กทารกส่วนใหญ่จะแหวะนมเป็นบางครั้ง เด็กบางคนก็แหวะทุกครั้งที่ป้อน บางครั้งเด็กแหวะนมเพราะกินเข้าไปมากเกิน ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาได้แบบเวิร์คๆ แต่อาจลองลดการกลืนอากาศเข้าไปในระหว่างกินนมดู ถึงแม้การแหวะนมจะเป็นเรื่องปกติและไม่มีอะไรน่าห่วง แต่การแหวะนมบางประเภทก็ส่อว่ามีปัญหาได้เหมือนกัน คุณแม่ควรโทรไปปรึกษาคุณหมอ ถ้าลูกน้อยแหวะนมพร้อมมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือสำลักหรือไอเป็นเวลานานๆ หรืออาเจียนออกมาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเขียว อาการแพ้นม อาการแพ้นมมักพบได้บ่อยในเด็กทารก ซึ่งในรายที่มีอาการแพ้รุนแรง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มรู้จักมองดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และมักจะชอบดูดนิ้ว คุณแม่จึงควรดูแลความสะอาดมือและนิ้วมือของลูกเป็นประจำ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ อาจใช้จุกนมหลอกเพื่อช่วยป้องกันลูกดูดนิ้ว และควรพาลูกน้อยเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี และตรวจร่างกาย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เมื่อลูกอายุครบ 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน มักจะชอบดูดนิ้ว หรือสิ่งที่อยู่ใกล้ปาก แต่การดูดนิ้วก็อาจทำให้ลูกเสี่ยงได้รับเชื้อโรคจากนิ้วมือได้ คุณแม่อาจให้ลูกดูดจุกนมแทน และควรดูแลมือของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ลูกอาจเพ่งมองไปที่วัตถุไกล ๆ ได้ในระยะ 20-35 เซนติเมตร ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร พยายามจ้องมองหน้าลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกพยายามยกหัวขึ้นมามองตอบคุณพ่อคุณแม่ สามารถใช้ผ้าม้วนหรือผ้าห่มยัดเอาไว้ใต้อก เพื่อช่วยให้ลูกเริ่มดันตัวขึ้นได้ง่าย และอาจช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและการควบคุมกล้ามเนื้อของลูกได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอตามนัด โดยคุณหมออาจตรวจร่างกายลูกน้อย ดังนี้ การเจาะเอาเลือดตัวอย่างจากข้อเท้าไปตรวจดูว่าลูกมีโรคต่าง ๆ เช่น โรคทางเดินปัสสาวะ โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ปัญหาความผิดปกติของระบบเผาผลาญ หรือไม่ ทั้งนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบในเชิงลึก เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพอื่น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ทารกอาจเริ่มมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น เริ่มให้ความสนใจกับใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น อาจสามารถเริ่มจดจำและแยกแยะเสียงได้ แต่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ ทำได้เพียงแค่ร้องไห้เป็นหลัก ในช่วงนี้เด็กอาจมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตฉับพลันเนื่องจากการขาดอากาศหายใจ เพราะเด็กอาจสามารถพลิกตัวคว่ำหน้าได้เองแต่อาจไม่สามารถพลิกกลับได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังและดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ทารกอายุ 3 สัปดาห์สามารถมองตามวัตถุได้ในระยะ 20-35 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างดวงตาของลูกน้อยกับระยะใบหน้าของผู้ที่ป้อนนมให้ เด็กในช่วงวัยนี้มักจะให้ความสนใจกับใบหน้ามากกว่าวัตถุ ควรส่งเสริมโดยมองตาทารกขณะที่ป้อนนมให้ ในขณะเดียวกันอาจลองเลื่อนศีรษะช้า ๆ จากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วสังเกตว่าดวงตาของทารกจ้องมองตามอยู่หรือเปล่า วิธีนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อและทักษะในการมองตามให้ทารกได้ การสื่อสารด้วยการสบตากันนั้น ยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์สายใยระหว่างแม่หรือผู้ที่ป้อนนมให้ทารก นอกจากนั้น ทารกยังสามารถขยับแขนขาและเคลื่อนไหวหรืออาจพลิกตัวนอนคว่ำเองได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยสามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้เพียงวิธีเดียว นั่นก็คือ การร้องไห้ ตอนนี้ลูกน้อยอาจจำเสียงได้แล้ว และสามารถแยกแยะเสียงของคุณพ่อคุณแม่ออกจากเสียงคนอื่น ๆ ได้ด้วย ลูกน้อยอาจชอบให้กอด ลูบไล้ จูบ นวด และอุ้ม โดยอาจจะทำเสียง “อา” เวลาที่ได้ยินเสียงหรือเห็นหน้า  สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากทารกมีพัฒนาการตามปกติอาจไม่จำเป็นต้องพาไปพบคุณหมอ อย่างไรก็ตาม ควรสำรวจหาสัญญาณที่ส่อถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อย่างเช่น ตรวจดูปัสสาวะหรือสีอุจจาระ เพื่อตรวจหาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ สังเกตรอยช้ำหรือจุดแดงเป็นจ้ำ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มจำเสียงของคุณแม่ได้แล้ว คุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกน้อยให้มากขึ้น เพื่อทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและสบายใจ และรู้สึกได้รับความรักจากคุณแม่ด้วย อีกทั้งช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ลูกยังต้องการกินนมแม่ จึงควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่เหมาะสม เพื่อช่วงส่งเสริมสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร แม้จะเพิ่งมีอายุได้เพียง 2 สัปดาห์ แต่ลูกก็รับรู้ได้แล้วว่า คุณแม่เป็นที่พึ่งพาได้ ลูกน้อยจะเริ่มจำเสียงคุณแม่ได้แล้ว การได้ยินเสียงจะทำให้ลูกรู้สึกสบายใจ ปรับตัวเข้ากับโลกใบใหม่หลังคลอดได้ง่ายขึ้น และทำให้รู้ว่าไม่ได้อยู่เพียงลำพัง ดั้งนั้น ยิ่งคุณแม่พูดกับลูกมากเท่าไร ก็จะยิ่งดีต่อลูกมากเท่านั้น แม้ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่พูด แต่ความรักและความอบอุ่นที่ได้รับเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่ ก็เป็นสิ่งที่ลูกต้องการมากที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ 2 นี้ ลูกมีแนวโน้มที่จะโงหัวขึ้นได้บ้างแล้ว สิ่งที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญก็คือ ลูกสามารถหายใจได้อย่างสะดวกเสมอเวลานอนคว่ำ ทั้งนี้ ดวงตาของลูกน้อย 2 สัปดาห์จะยังบวม ๆ อยู่ และลูกจะสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20-40 เซนติเมตรเท่านั้น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกสามารถรับรู้ถึงสิ่งรอบตัวได้แล้ว คุณแม่จึงควรช่วยให้ลูกสามารถสำรวจหน้าตาของคุณแม่ให้ง่ายขึ้น โดยการมองลูกในระยะใกล้ ๆ ในขณะให้นม หรือในเวลาที่ดูแลลูกทุก ๆ วัน คุณแม่อาจลองขยับศีรษะซ้าย-ขวา แล้วสังเกตดูว่าลูกกำลังมองตามอยู่หรือเปล่า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ของลูกน้อย

เด็กแรกคลอดอายุ 1 สัปดาห์หรือ 7 วัน ถือเป็นช่วงที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทะนุถนอม เนื่องจากเด็กยังมีความเปราะบางมาก การดูแลลูกอย่างถูกวิธีและพาลูกไปพบคุณหมอทันทีเมื่อพบอาการผิดปกติ อาจช่วยให้ลูกมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ที่เหมาะสมและมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร แขนขาของลูกน้อยวัย 1 สัปดาห์จะยังยืดออกไม่เต็มที่ และตาของลูกจะยังดูบวม ๆ อยู่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และเด็กส่วนใหญ่จะยืดตัวได้อย่างเต็มที่เมื่ออายุได้ประมาณ 6 เดือน น้ำหนักโดยเฉลี่ยของทารกแรกเกิดนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 3.5 กิโลกรัม และความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ น้ำหนักและส่วนสูงอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2.5-4.5 กิโลกรัม และความสูงตั้งแต่ 48-51 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามตัวเลขเหล่านี้ ไม่เกี่ยวข้องกับขนาดตัวตอนที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตราบใดน้ำหนักและส่วนสูงของลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณแม่ก็ไม่ควรเป็นกังวลกับเรื่องตัวเลขมากเกินไป แต่สิ่งที่ควรใส่ใจในตอนนี้ คือ การให้ลูกกินนมแม่เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากไม่สะดวกให้ลูกกินนมแม่ ควรปรึกษาคุณหมอถึงทางเลือกอื่นที่เหมาะสม เช่น การให้ลูกกินนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ด้วยความที่อยู่ในครรภ์มารดามาถึง 9 เดือน จึงนับเป็นเรื่องยากสำหรับลูกน้อยที่จะทำความคุ้นเคยกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ลูกน้อยต้องการเวลาในการทำความคุ้นเคยกับโลกใหม่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสภาพแวดล้อมรอบตัวลูกให้ดี รักษาความอบอุ่นให้ลูกน้อยอยู่เสมอ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 เป็นช่วงที่สมองของลูกน้อยมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย ซึ่งภายในไตรมาสแรกนี้สมองอาจจะใหญ่ขึ้นได้ถึง 5 เซนติเมตร คุณแม่คุณพ่อควรใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและทักษะด้านต่าง ๆ ให้เติบโตสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 ของลูกน้อย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้สมองของลูกน้อยมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย ซึ่งภายในไตรมาสแรกนี้อาจจะใหญ่ขึ้นได้ถึง 5 เซนติเมตร อาจสังเกตได้จากบางครั้งที่มีช่วงตื่นตัวและช่วงเงียบ ถือเป็นเรื่องปกติลูกน้อยกำลังสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  คุณพ่อคุณแม่ควรโต้ตอบกับลูก เช่น พูดคุย ร้องเพลง หรือบรรยายรายละเอียดว่ากำลังทำอะไร ลูกน้อยอาจจะไม่เข้าใจ แต่จะเรียนรู้และซึมซับน้ำเสียงและการแสดงออกต่าง ๆ ไว้ในหน่วยความจำของสมอง พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 มีอะไรบ้าง ในช่วงสัปดาห์นี้ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้ ชันศีรษะขึ้น 90 องศา เวลานอนคว่ำ ยกคอตั้งขึ้นได้เมื่อจับตัวตั้งตรง นำมือสองข้างมาประสานกันได้ มีอาการเงียบผิดสังเกต ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะลูกน้อยกำลังสังเกตและเรียนรู้อยู่ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ช่วงนี้คือเวลาสำคัญในการเรียนรู้ของลูกน้อย ควรใช้เวลาตอนที่เขากำลังเงียบ ๆ เพื่อพูดคุย สื่อสาร ร้องเพลง หรือบรรยายภาพต่าง ๆ  คุณแม่สามารถพูดคุยไปพร้อม ๆ กับลูบไล้เนื้อตัวลูกน้อยด้วยความรัก ในขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือป้อนอาหาร นี่คือ วิธีที่ดีที่สุดในการช่วยส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านภาษา การได้ยิน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 37 เป็นอย่างไร

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 37 หรือพัฒนาการของทารกช่วงอายุประมาณ 9 เดือน เป็นช่วงวัยที่สามารถเห็นพัฒนาการและการเติบโตอย่างชัดเจน ลูกน้อยจะเริ่มเล่น เรียนรู้ พูด และเคลื่อนไหว นั่ง คลานอย่างคล่องแคล่ว ยืน และเริ่มก้าวเดิน นอกจากนั้น ยังเริ่มรับประทานอาหารที่ไม่ใช่แค่อาหารเหลวได้แล้วเพราะฟันเริ่มขึ้นแล้ว รวมทั้งแสดงอารมณ์ต่าง ๆ และแยกแยะสมาชิกในครอบครัวและคนแปลกหน้าได้แล้ว [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 37  ทารกในวัยนี้ มีพัฒนาการที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน ดังนี้ เริ่มแสดงสีหน้าได้หลายอย่าง เช่น สุข เศร้า โกรธ ร้องไห้ ยิ้มหรือหัวเราะเมื่อเล่น หาทางหยิบของเล่นที่อยู่เกินเอื้อม มองหาสิ่งของที่ทำตกไป แยกแยะคนแปลกหน้าได้ และเริ่มกลัวหากไม่ใช่คนในครอบครัว ทำเสียงดังและเสียงแปลก ๆ เริ่มพูดคุยแต่ยังไม่เป็นคำพูดที่เข้าใจได้ ทำมือให้อุ้ม แสดงความต้องการบางอย่างได้ นั่งเองได้ เริ่มยืนได้อย่างมั่นคง และเริ่มก้าวเดิน ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยจะติดการได้อยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ หากต้องการออกไปทำงานหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ควรหาอุปกรณ์หรือกิจกรรมมาช่วยหันเหความสนใจ เช่น สมุดภาพ ของเล่นที่มีเสียง ตัวต่อ หุ่นที่ใช้มือเชิด […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 44 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 44 หรือทารกอายุประมาณ 10-12 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านภาษาและคำพูดเด่นชัดมากที่สุด มักเปล่งเสียงหรือพูดเป็นคำ ๆ มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านหนังสือและชวนลูกน้อยคุยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นช่วงที่เด็กวัยนี้กำลังเริ่มออกสำรวจสิ่งรอบตัว ควรจัดบ้านและสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยมากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 44  พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 44 จะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านคำพูด การเดิน และความอยากรู้อยากเห็นชัดเจนมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมและดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ชวนลูกคุยหรือเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ลูกฟัง พาลูกออกไปเดินเล่น ปล่อยให้เขาเดินเองแม้จะล้มบ้างก็เป็นการฝึกให้เขาได้เรียนรู้ที่จะล้มแล้วลุกขึ้นด้วยตนเอง สิ่งสำคัญ ควรดูแลเรื่องความสะอาดและการจัดบ้านให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย เก็บสิ่งของอันตรายให้พ้นมือลูกน้อย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร แสดงความต้องการในวิธีการแบบอื่นๆ ที่มากกว่าการร้องไห้ เล่นลูกบอล (สามารถกลิ้งลูกบอลกลับมาให้) ดื่มจากแก้วด้วยตนเอง สามารถหยิบของเล่น หรือหยิบสิ่งของเล็ก ๆ ด้วยปลายนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้ (ในระยะนี้ควรเก็บสิ่งของอันตรายทุกอย่างให้พ้นมือเด็ก) ยืนด้วยตัวเองได้ดีขึ้น ใช้ภาษาพูดของเด็กที่ยังไม่โต (เป็นการพูดเจื้อยแจ้วที่มีเสียงเหมือนกำลังพูดภาษาต่างประเทศอยู่) พูดเป็นคำ ๆ นอกเหนือจากคำว่า “มาม๊า” หรือ "ปะป๊า" ตอบสนองต่อคำสั่งง่าย ๆ หรือคำสั่งที่มีท่าทางประกอบ (เช่น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ลูกน้อยจะเริ่มมีความสุขในการดูหนังสือและการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ และเริ่มสนใจรูปภาพสวย ๆ รวมทั้งการใช้นิ้วเล็ก ๆ หยิบจับสิ่งต่าง ๆ เริ่มหย่านม เริ่มมีฟันขึ้น ในเด็กบางรายอาจเริ่มฝึกขับถ่ายด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยให้เติบโตสมวัยและเฝ้าสังเกตดูพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยอาจมีความสุขในการดูหนังสือและการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้พลิกไปทีละหน้าก็ตาม เขาอาจจะเพลิดเพลินไปกับหนังสือที่มีรูปภาพสวย ๆ หรือติดหนึบอยู่กับหนังสือที่ทำจากกระดาษหนา ๆ ที่ใช้นิ้วเล็ก ๆ เปิดได้ง่าย คุณพ่อ คุณแม่อาจลองพาเข้าเข้าห้องสมุด พาไปที่แผนกหนังสือเด็กในร้านหนังสือ หรือลองแลกเปลี่ยนหนังสือกับเพื่อน ๆ ดูก็ได้ จะได้ช่วยให้ลูกได้อ่านหนังสือที่หลากหลาย และจะได้รู้ด้วยว่าเขาชอบอ่านหนังสือประเภทไหน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 46 ตบมือหรือโบกมือบ๊ายบายได้ เดินโดยเกาะเฟอร์นิเจอร์ไปเรื่อย ๆ ชี้นิ้วหรือทำท่าทางเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ชอบดูหนังสือและพลิกหน้าหนังสือ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยอาจแสดงอาการขัดขืนอย่างหนักเมื่อต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากลูกจะรักและติดผู้ดูแลค่อนข้างมาก หากต้องการทำให้เขาห่างจากคุณพ่อคุณแม่ได้บ้าง และได้ง่ายขึ้นนั้น ก็ควรแยกจากกันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเขาไปฝากตามสถานรับเลี้ยงเด็ก ให้คนในครอบครัวมาช่วยดูแล หรือจ้างคนมาดูแลเด็กก็ตาม และไม่ควรร่ำลาลูกน้อยด้วยน้ำตานานเกินไป เพราะอีกเดี๋ยวเขาก็จะกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยพึ่งพาตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปช่วยทำอะไรให้เขาอยู่ตลอดเวลา […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 โดยทั่วไป ลูกจะสามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว และมักจะเลียนเสียงพูดของผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่จึงควรออกเสียงคำพูดแต่ละคำให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กสามารถพูดตามได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยสามารถพูดออกมาได้เป็นคำๆ และรู้จักความหมายของคำที่พูดออกมาแล้ว สมองจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความสามารถในการใช้เหตุผลและการพูด พัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อยสัปดาห์ที่ 45 ลุกขึ้นนั่งจากท่าคลานได้ หยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วมืออื่นๆ ดังนั้นควรเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ก็ไม่ได้เชื่อฟังเสมอไป ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยในช่วงวัยนี้จะเลียนเสียงคำต่างๆ และการทำเสียงสูงเสียงต่ำ เขาอาจทำตามคำสั่งง่ายๆ อย่างเช่น “หยิบลูกบอลให้แม่หน่อย” หรือ”หยิบช้อนขึ้นมาลูก” พ่อแม่สามารถช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ดีขึ้น ด้วยการแยกคำสั่งที่ซับซ้อนให้เหลือเพียงคำสั่งง่ายๆ แค่ขั้นตอนเดียว พร้อมกับใช้ท่าทางประกอบคำสั่งนั้นด้วย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่มักไม่ได้นัดหมายการตรวจสุขภาพของลูกน้อยเดือนนี้ เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ไม่ชอบให้อุ้ม ในระหว่างที่ไปพบคุณหมอ เด็กบางคนที่มีอาการกลัวคนแปลกหน้า อาจไม่อยากพบหมอ ไม่ว่าคุณหมอจะใจดีหรือเป็นมิตรเพียงใดก็ตาม จึงควรใช้วิธีโทรปรึกษาคุณหมอ ถ้าคุณมีความกังวลใดๆ ที่รอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปไม่ได้ สิ่งที่ควรรู้ ลูกสามารถเดินได้แล้ว คุณอาจจะสังเกตว่าขาของเขาไม่ตรง หัวเข่าอาจดูเหมือนบิดเข้าหากัน ซึ่งอาการแบบนี้เรียกว่า ‘ขาโก่ง’ คุณไม่ควรต้องเป็นกังวลมากเกินไป ลูกของคุณจะเริ่มไม่อยู่นิ่ง และเคยชินกับการเดินและวิ่ง ซึ่งจะทำให้ขาแข็งแรงขึ้น และนี่คือข้อมูลที่อาจจะช่วยคุณได้ ขาโก่ง ใครๆ ก็อาจจะเคยมีอาการ ขาโก่ง มาก่อน แม้แต่นางแบบบนแคทวอล์คก็อาจเคยมีอาการขาโก่งเช่นกัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน