พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กทารก

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน และวิธีส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย

เด็กอายุ 10 เดือนเป็นวัยที่เริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็น พัฒนาการเด็ก 10 เดือน ที่เด่นชัด เช่น เปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืนเองได้ หยิบสิ่งของที่วางไว้ขึ้นมาถือได้ พยายามประกอบคำ 1-2 คำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น ทำพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบข้าง เข้าใจความหมายของคำศัพท์มากขึ้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ และเด็กในวัยนี้อาจมีสิ่งของที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ เช่น หนังสือ เพลง เกม ผ้าห่ม ตุ๊กตา หากคุณพ่อคุณแม่พูดคุยตอบโต้ ร้องเพลง อ่านนิทาน เล่นด้วยกัน และชักชวนให้เด็ก 10 เดือนขยับร่างกายและบริหารกล้ามเนื้อบ่อย ๆ อาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามวัยได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 10 เดือน มีอะไรบ้าง พัฒนาการทั่วไปของเด็กอายุ 10 เดือน อาจมีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ให้ความร่วมมือมากขึ้นเมื่อมีคนแต่งตัวให้ เช่น ยกแขนขึ้นสูงให้ใส่เสื้อ ยกขาเมื่อมีคนใส่กางเกงให้ ไม่ชอบอยู่ห่างจากคนคุ้นเคย และร้องหาเมื่อคนเหล่านั้นหายไปจากสายตา ตระหนักถึงความต้องการของตัวเองมากขึ้น และจะแสดงออกให้คนอื่นรับรู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร เช่น ร้องไห้เมื่อถูกห้ามไม่ให้ทำสิ่งที่อยากทำ พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ทำเสียงเลียนแบบคำศัพท์หรือเสียงง่าย ๆ ที่ได้ยิน ทำตามคำสั่งง่าย […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ และการเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม

เด็กอายุ 2 ขวบ เป็นวัยที่มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อย่างก้าวกระโดด มักจะกระตือรือร้นเมื่ออยู่กับเพื่อนวัยเดียวกัน เป็นตัวของตัวเองสูง สามารถสื่อสารกับผู้อื่นด้วยท่าทางได้ชัดเจนขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น รู้จักหัดวิ่งและเตะลูกบอล ทั้งยังพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้นด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูและคอยส่งเสริม พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยให้เด็กสามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงและมีทักษะที่พัฒนาไปอย่างเหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการของเด็กอายุ 2 ขวบโดยทั่วไป อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ เลียนแบบพฤติกรรมของคนอื่น โดยเฉพาะเด็กโตและผู้ใหญ่ กระตือรือร้นเมื่ออยู่กับเด็กคนอื่น ๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีอาการดื้อรั้น สังเกตเห็นถึงอารมณ์ของคนรอบข้าง เช่น หยุดมองหรือร้องไห้ตามเมื่อมีคนร้องไห้ มีภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation anxiety) เมื่อต้องห่างจากคนคุ้นเคย พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร สามารถชี้สิ่งของตามที่บอกได้ พูดประโยคสั้น ๆ ประมาณ 2-4 คำได้ รู้จักชื่อพ่อ แม่ พี่ น้อง อวัยวะและสิ่งของหลายอย่าง ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ พูดทวนสิ่งที่ได้ยินคนคุยกัน แสดงท่าทางเพื่อสื่อสารได้มากกว่าการโบกมือและการชี้นิ้ว เช่น พยักหน้า ส่งจูบ พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดสารอาหาร เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เด็กขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่เกิดจากการร่างกายของเด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต จนมักส่งผลให้พัฒนาการแต่ละด้านของเด็กไม่เป็นไปตามวัย เช่น ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ช้ากว่าปกติ  คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่โภชนาการของเด็กอยู่เสมอ ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารในเด็กได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะขาดสารอาหาร คืออะไร ภาวะขาดสารอาหาร  (Malnutrition) คือภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน อาจเกิดจากรับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือจากการที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น จนส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งยังอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและเติบโตไม่สมวัย เมื่อขาดพลังงาน ร่างกายจะสลายเนื้อเยื่อของตัวเองและเริ่มดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ จากนั้นจะสลายสารอาหารอย่างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม และเล็บ มาใช้เป็นพลังงาน จนเด็กดูซูบผอมและเจริญเติบโตช้าลง ภาวะขาดสารอาหารยังอาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ โดยอาจเริ่มจากระบบคุ้มภูมิกัน เด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ทั้งยังอาจหายป่วยหรือแผลหายได้ช้าลง นอกจากนี้ การทำงานของหัวใจยังอาจช้าลงไปด้วย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เด็กรู้สึกเบื่ออาหารจนไม่รับประทานอาหารตามปกติ และอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย เช่น สมอง อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่สนใจตัวเอง เก็บตัวไม่สุงสิงกับผู้อื่น หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ไต อาจทำให้เกิดภาวะร่างกายมีน้ำเกินหรือมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไตไม่สามารถควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้ […]


วัคซีน

ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าทารกในวัย 2 เดือนควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง โดยทั่วไป การ ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน จะฉีดวัคซีนพื้นฐาน 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และ ฮิบ ซึ่งเป็นวัคซีนรวมที่ครอบคลุมโรคหลายชนิด และวัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอดหรือชนิดฉีด ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่สนใจให้เด็กทารกวัย 2 เดือนรับวัคซีนป้องกันโรคเพิ่มเติม เช่น วัคซีนโรต้า วัคซีนนิวโมคอคคัส ก็สามารถทำได้เช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน มีวัคซีนอะไรบ้าง วัคซีนป้องกันโรคในทารกอายุ 2 เดือน อาจมีดังนี้ วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB1-Hib) เริ่มฉีดเข็มแรกตอนเด็กอายุ 2 เดือน และจะฉีดอีก 4 ครั้ง เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 12 ปี […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หย่านม อย่างไรให้ถูกวิธี และควรให้เด็กหย่านมเมื่อไหร่

การ หย่านม คือ การให้ลูกเลิกกินนมแม่หลังจากลูกกินนมแม่เป็นระยะเวลาหนึ่ง คุณแม่อาจหยุดให้นมจากเต้าและเปลี่ยนมาปั๊มนมใส่ขวดให้เด็กกินแทน การหย่านมอาจทำได้ด้วยการค่อย ๆ ลดความถี่ในการให้นมจากเต้าและสอนให้เด็กรู้จักการกินนมจากขวดแทน ทั้งนี้ควรให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากน้ำนมแม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการ หย่านม โดยปกติ เด็กทารกควรดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึงอายุประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นอาจให้เด็กรับประทานอาหารอ่อน ๆ อย่างอื่น เช่น กล้วยบด ผักสุกบด ปลาต้มบด ผลไม้ หรือนมผง ควบคู่กับการกินนมแม่ เพื่อเสริมโภชนาการให้กับเด็ก หากเป็นไปได้ อาจให้เด็กกินนมแม่อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป ได้หากมารดายังมีน้ำนมเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากนมแม่มากที่สุด แต่ต้องรับประทาน อาหารตามวัยควบคู่ไปด้วย ช่วงอายุในการหย่านมแม่ของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแม่และความต้องการของตัวเด็กเอง เช่น คุณแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน คุณแม่ไม่สะดวกปั๊มนมและเลือกใช้นมผงแทน ปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถให้นมจากเต้าได้อีกต่อไป หรือเด็กมีท่าทีสนใจอาหารอื่นมากกว่านมแม่ เด็กบางคนอาจหย่านมแม่ ตั้งแต่อายุไม่ถึง 6 เดือน และเปลี่ยนมากินนมผงจากขวดนมแทน ในขณะที่บางคนอาจกินนมแม่จากเต้าถึงอายุ 6 เดือนจึงเปลี่ยนเป็นกินนมแม่จากขวดนมจนอายุครบปี ทั้งนี้ สามารถให้เด็กเริ่มใช้ขวดนมเมื่อเด็กอายุอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ และควรหย่านมทั้งจากเต้านมและขวดนมเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป สัญญาณที่แสดงว่าเด็กพร้อม […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

คอกกั้นเด็ก ประโยชน์ ข้อเสีย และวิธีเลือกให้เหมาะสมกับเด็ก

คอกกั้นเด็ก เป็นอุปกรณ์ที่อาจมีประโยชน์กับเด็กที่เริ่มคลานหรือเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระมากขึ้น เนื่องจากคอกกั้นเด็กอาจช่วยจำกัดพื้นที่ของเด็กไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้อยู่เฝ้า จึงอาจช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกคอกกั้นได้ และยังมีส่วนช่วยในการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมสมาธิ ช่วยเสริมพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คอกกั้นเด็ก มีประโยชน์อย่างไร คอกกั้นเด็กอาจมีประโยชน์กับเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เด็กกำลังเริ่มคลานและเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มใช้คอกกั้นเด็กตั้งแต่เด็กยังไม่คลาน เพื่อสร้างความเคยชินให้กับเด็ก ซึ่งคอกกั้นเด็กมีประโยชน์ต่อเด็กเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในขณะที่ไม่มีคุณพ่อคุณแม่คอยเฝ้าอยู่ เนื่องจากคอกกั้นจะช่วยกั้นไม่ให้เด็กเคลื่อนที่ไปอยู่ในจุดที่เป็นอันตราย เช่น คลานออกนอกประตูบ้าน คลานไปจับของมีคมหรือปลั๊กไฟ คลานไปชนกับสิ่งของหรือตกบันได จนอาจเกิดเป็นอุบัติเหตุ นอกจากนี้ คอกกั้นเด็กยังอาจส่งผลดีต่อพัฒนาการเด็ก ดังนี้ อาจช่วยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ คอกกั้นเด็กมีราวจับที่สามารถช่วยให้เด็กจับเพื่อพยุงตัวเองให้ลุกขึ้นยืน และตั้งตัวยืนตรงอยู่ได้ ช่วยให้เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อขาและแขนให้แข็งแรงมากขึ้น อาจช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เมื่ออยู่ในคอกกั้นเด็ก เด็กมีความปลอดภัยในการเคลื่อนไหวร่างกาย เล่นของเล่น หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยมากนัก อาจช่วยเสริมสมาธิและการจดจ่อมากขึ้น การให้เด็กได้เล่นของเล่นหรือทำกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ในคอกกั้นเด็ก ช่วยให้เด็กสามารถจดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้มากขึ้น เนื่องจากไม่มีสิ่งรบกวนภายนอกอื่น ๆ มาดึงดูดความสนใจของเด็ก ข้อเสียของคอกกั้นเด็ก สำหรับข้อเสียของคอกกั้นเด็ก อาจมีดังนี้ คอกกั้นเด็กมีขนาดใหญ่จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่บ้านขนาดเล็ก การให้เด็กอยู่ในคอกกั้นเด็กมากเกินไปอาจจำกัดการเรียนรู้ของเด็กได้ เนื่องจากเด็กจะคลานได้ในพื้นที่จำกัด ไม่ได้สำรวจสิ่งแวดล้อม จึงจำกัดการเรียนรู้จากภายนอก เด็กแต่ละคนมีนิสัยที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเด็กบางคนอาจไม่ชอบการถูกจำกัดพื้นที่ อาจรู้สึกอึดอัดหรือร้องไห้งอแงเมื่อต้องอยู่ในคอกกั้นเด็ก จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ คอกกั้นเด็กอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็กได้ อาจทำให้เด็กรู้สึกโดดเดี่ยวและเศร้า เพราะถูกกั้นจากสภาพแวดล้อมภายนอก หากเด็กเริ่มพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง […]


เด็กทารก

พัฒนาการเด็ก4เดือน และการส่งเสริมพัฒนาการอย่างถูกวิธี

เด็กทารกวัย 4 เดือน เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ชอบเอื้อมไปหยิบสิ่งของเข้าปาก สามารถแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของตัวเอง ทั้งยังชอบส่งเสียงเพื่อสื่อสารกับคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรใช้เวลาทำกิจกรรมง่าย ๆ เช่น การพูด การฟัง การร้องเพลง การอ่าน ร่วมกับเด็กเป็นประจำเพื่อส่งเสริม พัฒนาการเด็ก4เดือน ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก4เดือน มีอะไรบ้าง พัฒนาการทั่วไปของเด็กอายุ 4 เดือน อาจมีดังต่อไปนี้ พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม แสดงท่าทางร่าเริงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง สามารถทำเสียงคิกคักถูกใจเมื่อมีคนมาเล่นด้วย แต่ไม่ถึงกับหัวเราะออกมา สามารถส่งสายตา เคลื่อนไหว หรือส่งเสียงเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ แสดงอารมณ์หรือความรู้สึก เช่น ไม่พอดี ดีใจ เสียใจ ได้ค่อนข้างชัด พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ส่งเสียงอ้อแอ้หรือ อู อา และพยายามเลียนเสียงที่ได้ยิน พูดคุยตอบกลับด้วยภาษาของตัวเองเมื่อมีคนมาคุยด้วย หันหน้าตามเสียงที่ได้ยิน พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว มีแรงประคองศีรษะของตัวเองให้อยู่นิ่ง ๆ ได้ในขณะที่ถูกอุ้ม ถือของเล่นค้างไว้ได้เมื่อมีคนหยิบของเล่นไปวางไว้ในมือ เอามือเข้าปากบ่อย ๆ เหวี่ยงแขนใส่ของเล่น ยันตัวขึ้นได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักไปยังข้อศอกและปลายแขน เมื่อนอนคว่ำ พัฒนาการด้านสติปัญญา เมื่อรู้สึกหิวจะอ้าปากรอกินนมหากเห็นขวดนมหรือเต้านมอยู่ใกล้ ๆ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการเด็กสมาธิสั้น เป็นอย่างไร และวิธีดูแลเด็กสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคบกพร่องทางพฤติกรรม เกิดจากสมองส่วนที่ส่งผลต่อการควบคุมสมาธิและพฤติกรรม รวมถึงสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน และมักส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และการปรับตัวเข้ากับเด็กในวัยเดียวกัน อาการเด็กสมาธิสั้น ที่พบทั่วไป เช่น อยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ จดจ่อกับอะไรไม่ได้นาน หากพบว่าเด็กมีอาการ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สมวัยและควบคุมโรคสมาธิสั้นให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันน้อยที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคสมาธิสั้น คืออะไร โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมาธิ พฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กผิดปกติ ส่งผลให้เด็กว่อกแว่ก ซนกว่าเด็กทั่วไป ขาดสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ และอาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างทั้งที่บ้านและโรงเรียน โรคสมาธิสั้นมักได้รับการวินิจฉัยในช่วงอายุ 3-7 ปี และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ในเด็กผู้ชายมักพบว่ามีอาการอยู่ไม่นิ่งเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เด็กผู้หญิงมีอาการขาดสมาธิ และแสดงพฤติกรรมก่อกวนน้อยกว่า ซึ่งอาจทำให้เด็กผู้หญิงที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้รับการวินิจฉัยช้าเนื่องจากมีพฤติกรรมแสดงออกไม่เด่นชัดเท่าเด็กผู้ชาย โดยทั่วไปโรคสมาธิสั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่บางกรณีก็อาจเป็นโรคสมาธิสั้นไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่ และบางรายก็อาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นตอนโต กลุ่มที่ยังคงมีอาการจนเข้าวันผู้ใหญ่อาจเกิดโรคร่วมอื่นๆ ตามมาได้เช่น โรคพฤติกรรมต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder) ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก อาจมีดังนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรม เด็กที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคสมาธิสั้น เสี่ยงเกิดโรคนี้ได้มากกว่าเด็กทั่วไป การคลอดก่อนกำหนด ความเสี่ยงในการเป็นโรคสมาธิอาจเพิ่มขึ้น […]


สุขภาพเด็ก

จัด ฟัน เด็ก ดีอย่างไร อายุเท่าไหร่ถึงจะจัดฟันได้

จัด ฟัน เด็ก เป็นวิธีการรักษาปัญหาทันตกรรม เช่น ฟันผุ ฟันหน้ายื่น ฟันเก ฟันไม่สมมาตร ฟันห่าง ฟันสบลึก ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยวอาหารที่ผิดปกติ ปัญหาความสวยงามของรอยยิ้มและใบหน้า ซึ่งการจัดฟันอาจช่วยให้เด็ก ดูแลสุขภาพช่องปากได้ง่ายขึ้น และยังช่วยเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิต โดยเด็กจะเริ่มจัดฟันได้เมื่ออายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป หรือเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกจนหมดและมีฟันแท้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ [embed-health-tool-vaccination-tool] จัด ฟัน เด็ก ทำได้เมื่ออายุเท่าไหร่ จัดฟันเด็กสามารถทำได้เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป หรือเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกจนหมดและมีฟันแท้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ โดยคุณหมออาจแนะนำให้จัดฟันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย หากพบว่าการเรียงตัวของฟันผิดปกติหรือมีปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากกรามของเด็กยังคงมีความยืดหยุ่นมากและตอบสนองต่อการรักษาได้ดี จึงช่วยให้ฟันสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมได้เร็วขึ้น และอาจช่วยลดระยะเวลาในการจัดฟัน สำหรับระยะเวลาในการจัดฟันของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัญหาของฟันและการวินิจฉัยของคุณหมอ ซึ่งเวลาเฉลี่ยในการจัดฟันอาจใช้เวลาประมาณ 2 ปี หากเด็กเข้ามาพบคุณหมอเพื่อปรับเครื่องมือตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ หลังจากจัดฟันเสร็จเรียบร้อย เด็กจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ซึ่งเป็นลวดโลหะหรือชิ้นส่วนพลาสติกพิเศษลักษณะคล้ายฟันยางอยู่ตลอด เพื่อป้องกันฟันเคลื่อนกลับไปตำแหน่งเดิม จัดฟันเด็ก ควรทำเมื่อมีปัญหาอะไร การจัดฟันเด็กอาจเริ่มทำได้หากพบว่าเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก เช่น การสบฟันผิดปกติ ฟันหน้ายื่น ฟันเก ฟันไม่สมมาตร ฟันห่าง ฟันสบลึก ฟันล่างยื่นทับฟันบน ฟันหน้าไม่สบกัน ฟันบางซี่ไม่งอกออกมาจากเหงือกเต็มที่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกัดหรือการบดเคี้ยวอาหารที่ผิดปกติ ฟันผุเนื่องจากฟันซ้อนทับกันจนไม่สามารถทำความสะอาดได้ การจัด ฟัน เด็ก […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

วัยรุ่นชาย การเจริญเติบโตและปัญหาสุขภาพที่ควรระวัง

วัยรุ่นชาย อาจเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้ากว่าวัยรุ่นหญิง และมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมมากขึ้น รวมถึงอาจมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ เช่น ความปลอดภัยทางเพศ การใช้สารเสพติด ความรุนแรง พฤติกรรมเสี่ยง ปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งการรู้ถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโตของวัยรุ่นชาย ควบคู่ไปกับการดูแลอย่างใกล้ชิดช่วยป้องกันปัญหาวัยรุ่นที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] การเจริญเติบโตของ วัยรุ่นชาย เด็กผู้ชายจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 9-14 ปี ซึ่งจะช้ากว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 2 ปี โดยจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ดังนี้ มีการขยายของอัณฑะ ถุงอัณฑะ และองคชาต มีขนอ่อนงอกและยาวขึ้นบริเวณหัวหน่าวและรอบ ๆ อวัยวะเพศ เมื่อเวลาผ่านไปขนจะมีสีเข้มขึ้น หยาบ ขดงอและมีปริมาณเพิ่มขึ้น ขนของวัยรุ่นชายบางคนอาจกระจายไปถึงต้นขาหรือบริเวณหน้าท้อง ขนจะเริ่มขึ้นบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า แขน ขา นิ้ว รักแร้ องคชาตจะขยายใหญ่ขึ้นเต็มที่และเริ่มมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ เนื่องจากมีการไหลเวียนของเลือดไปยังองคชาตมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่วัยรุ่นชายมีความคิดเรื่องเพศ อัณฑะจะเริ่มสร้างน้ำอสุจิที่ประกอบด้วยตัวอสุจิและน้ำหล่อเลี้ยงต่าง ๆ ซึ่งวัยรุ่นชายอาจมีการหลั่งน้ำอสุจิออกมานอกร่างกายในระหว่างที่อวัยวะเพศแข็งตัว และสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่นอนหลับ หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของวัยเจริญพันธุ์ และหากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ก็สามารถทำให้ฝ่ายหญิงเกิดการตั้งครรภ์ได้ ขนาดร่างกายจะขยายใหญ่ขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน