พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกไม่ยอมกินข้าว 3 ขวบ ควรทำอย่างไร

ลูกไม่ยอมกินข้าว ในวัย 3 ขวบ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวล เพราะบางครั้งลูกสามารถที่จะกินข้าวได้ติดต่อกันหลายวัน แต่ในบางวันก็กินได้น้อยลง ไม่มีความต้องการกินเลย หรือบางครั้งก็เลือกกินเฉพาะอาหารที่ชอบเท่านั้น สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินข้าวเกิดได้จากหลายอย่าง เช่น เบื่ออาหาร โดนบังคับ ลูกต้องการความสนใจจากคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีที่อาจจะช่วยให้ลูกกินข้าวได้ตามปกติ เช่น การวางแผนเมนูให้หลากหลายสีสันสวยงาม การให้ลูกกินข้าวในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับพัฒนาการและสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวที่พบได้บ่อย ไม่กินอาหาร หรือกินน้อยลง พ่นและคายอาหารทิ้ง ไม่ยอมกลืนข้าว เลือกกินอาหารแค่บางอย่างเท่านั้น และไม่ยอมกินอาหารอื่น ๆ นอกจากเมนูที่คุ้นเคย หรือกินเป็นประจำ สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินข้าว 3 ขวบ สาเหตุของปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว โดยเฉพาะลูกวัย 3 ขวบอาจจะมีได้ ดังนี้ เบื่ออาหาร เด็กในวัย 3 ขวบอาจจะยังไม่มีวิธีสื่อสารที่ชัดเจนว่าไม่ชอบหรือรู้สึกเบื่อเมนูอาหารเดิม ๆ จึงแสดงออกด้วยการไม่ยอมกินข้าว โดนบังคับเรื่องกิน เนื่องจากอยู่ในช่วงวัยที่ลูกเริ่มเป็นตัวของตัวเอง การบังคับหรือกดดันให้ลูกกินข้าว อาจทำให้ลูกต่อต้านและไม่ทำตาม ลูกต้องการความสนใจ การเรียกร้องความสนใจเป็นเรื่องปกติของเด็กในวัยนี้ การไม่ยอมกินอาจเป็นการแสดงออกเพื่อต่อต้านสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ อิ่มจากของกินเล่น หากลูกกินนม น้ำหวาน ขนมก่อนอาหารมื้อหลัก อาจทำให้ยังอิ่มอยู่และไม่ยอมกินอาหารมื้อหลัก หรือกินได้น้อยกว่าที่ควร เลียนแบบคนที่อยู่ด้วย เมื่อลูกเห็นว่าคนรอบข้างเลือกกินหรือไม่กินอาหารชนิดใด […]


เด็กทารก

ควรฝึกลูกดูดหัวนมยังไง และวิธีการดูแลหัวนมแม่

การให้นมลูกเป็นเรื่องที่คุณแม่และลูกน้อยต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน การฝึกให้ลูกดูดหัวนมอย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้ลูกได้กินน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้การดูแลหัวนมคุณแม่ในช่วงให้นมก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามเพื่อที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อหรือปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ข้อควรรู้ในการฝึกให้ลูกดูดหัวนมแม่ การให้นมลูกเริ่มขึ้นตั้งแต่หลังลูกคลอดไม่กี่ชั่วโมง การฝึกให้ลูกดูดหัวนมแม่ อาจจะเริ่มจากอุ้มลูกมาแนบชิดในอ้อมกอดแม่ ทำให้ลูกรู้สึกใกล้ชิดและพร้อมที่จะกินนม จับบริเวณหัวนมและยกเข้าไปใกล้ปากของลูก เพื่อให้ลูกดูดหัวนมได้ถนัด การให้นมลูกจะไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บหากลูกดูดหัวนมถูกวิธี วิธีสังเกตอาจจะดูได้จากริมฝีปากของลูกว่าอ้ากว้างมากพอที่จะอมทั้งส่วนหัวนมและส่วนของลานหัวนม (ส่วนวงกลมสีคล้ำ) แล้วหรือไม่ ขากรรไกรของลูกจะขยับไปมา อาจส่งเสียงเล็กน้อยเมื่อกลืนนม ในช่วงสัปดาห์แรก ควรปลุกให้ลูกตื่นมาดูดหัวนมแม่ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง อาจจะปลุกด้วยการเปลี่ยนผ้าอ้อม นำผ้าห่มออกจากตัว หรือการนวดตัวลูกเบา ๆ เด็กในวัยนี้ต้องการกินนมแม่ประมาณ 8 ครั้งต่อวัน ขนาดหน้าอกและหัวนมไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่ในการผลิตน้ำนมและความถี่ในการดูดกระตุ้นจากลูกเป็นหลัก ฝึกให้ลูกกินนมข้างหนึ่งให้หมดก่อนที่จะสลับไปกินนมอีกข้างหนึ่ง เนื่องจากระหว่างการให้นม น้ำนมที่ออกมาจะมีสองประเภท คือ น้ำนมส่วนหน้า ที่ไหลออกมาในช่วงแรกของการให้นมและน้ำนมส่วนหลัง ที่ไหลออกมาช่วงท้ายของการให้นม ซึ่งน้ำนมส่วนหลังจะอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินอี ไขมัน และแคลอรี่ที่สูงกว่าน้ำนมส่วนหน้า การให้ลูกกินน้ำนมจนเกลี้ยงเต้าก่อนเปลี่ยนข้างจะทำให้ลูกได้สารอาหารที่ครบถ้วน จัดท่าที่เหมาะสำหรับการให้นมลูก เพื่อให้ลูกดูดหัวนมแม่ในท่าที่ถนัดและไม่ขัดจังหวะการกินนมของลูก โดยลำตัวลูกชิดลำตัวแม่ ลูกหันหน้าเข้าเต้านมแม่ศีรษะและลำตัวของลูกอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ตัวลูกได้รับการประคองอย่างมั่นคงโดยมีมือแม่หรือหมอนรองซ้อนไว้ เมื่อลูกหยุดดูดหัวนม หลับตาลง หรือหันหน้าออกจากหน้าอก แสดงว่าอาจจะหยุดพักหรืออิ่มนมแล้ว ลองทำให้ลูกเรอ หรือรอสักพักจนกว่าจะให้กินนมอีกครั้ง คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงให้นมลูก ไม่ควรสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

รักการอ่าน ประโยชน์ และวิธีฝึกลูกให้รักการอ่าน

การอ่าน เป็นหนึ่งในวิธีส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย ระบบประสาทและสมอง สติปัญญา จิตใจและอารมณ์ ที่เหมาะสมกับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันด้วย ยิ่งคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูก รักการอ่าน ได้เร็วเท่าใด ก็อาจยิ่งส่งผลให้ลูกมีสุขภาพดี และใช้ชีวิตในสังคมได้ง่ายขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การฝึกทักษะการอ่านให้ลูกอาจต้องคำนึงถึงช่วงวัยและความสนใจของลูกด้วย เพื่อให้ลูกรู้สึกสนุกกับการอ่าน ไม่รู้สึกกดดันเกินไป และรักการอ่านได้ในที่สุด ประโยชน์ของการรักการอ่าน การฝึกให้ลูกรักการอ่าน อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพและทักษะในการใช้ชีวิตของลูก ดังนี้ ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองและระบบประสาท เด็กที่อ่านหนังสือเป็นประจำ อาจมีพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทที่เติบโตสมวัย โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ในวารสาร Brain Connectivity เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลระยะสั้นและระยะยาวของการอ่านนวนิยายต่อการทำงานของสมอง โดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้ารับการสแกนสมอง จากนั้นหยุดอ่านหนังสือใด ๆ เป็นเวลา 5 วัน ก่อนจะเริ่มอ่านนิยายวันละ 1/9 ของเนื้อหาทั้งหมดในช่วงเย็นติดต่อกันเป็นเวลา 9 วัน เมื่ออ่านนิยายจบแล้ว ก็ให้หยุดอ่านอีก 5 วัน ผลปรากฏว่า สมองแต่ละส่วนสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะสมองที่เกี่ยวข้องกับการจับใจความ และความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่น (Perspective-taking) ซึ่งความสามารถดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้ลูกรู้จักใส่ใจหรือเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น ช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ได้ดีขี้น การอ่านหนังสือเป็นประจำและหลากหลาย อาจช่วยให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ และมีคลังคำศัพท์ไว้ใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่า ยิ่งอ่านมากเท่าไหร่ […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

เด็กออทิสติก สัญญาณเตือน และวิธีดูแล

เด็กออทิสติก เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของพัฒนาการ ซึ่งอาจอาจเกิดปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส การคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถสังเกตสัญญาณเตือนได้จากลักษณะการพูด การตอบสนองช้า ชอบเล่นคนเดียว บางคนอาจก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคออทิสติกและขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำวิธีดูแลลูกอย่างถูกต้อง โรคออทิสติก คืออะไร โรคออทิสติก คือ โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของพัฒนาการเด็ก เช่น พัฒนาการด้านภาษา การสื่อสาร การเข้าสังคม ที่อาจมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน อาจมีพฤติกรรมทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำ ๆ เป็นกิจวัตร และอาจมีปัญหาในการทำความเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของคนรอบข้าง แต่ยังคงมีความรู้สึกรัก ชอบ หรือไม่ชอบตามปกติ มักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง สาเหตุที่ทำให้เป็นเด็กออทิสติก สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นออทิสติกยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าอาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ พันธุกรรม โรคออทิสติกอาจมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการเรตต์ (Rett syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ส่งผลให้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การพูดสื่อสาร และกลุ่มอาการโครโมโซมเอ็กซ์เปราะบาง (Fragile X syndrome) ส่งผลให้เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญา พัฒนาการการพูด การเรียนรู้ล่าช้า นำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคออทิสติก การไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด การฉีดวัคซีนควรเริ่มตั้งแต่เด็กวัยแรกเกิด เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นออทิสติกจากการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้พัฒนาการทางสมองและพฤติกรรมผิดปกติ ซึ่งวัคซีนสำหรับเด็ก ได้แก่ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกนอนยาก เกิดจากอะไร แก้ไขได้อย่างไรบ้าง

ลูกนอนยาก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและสามารถพบได้ในเด็กในทุกช่วงวัย ซึ่งอาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะนอกจากจะกระทบกับเวลาพักผ่อนของคุณพ่อคุณแม่แล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการและสุขภาพของลูกที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต ลูกนอนยากสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ยังเล็กเกินไปและยังนอนไม่เป็นเวลา เหนื่อยเกินไป ยังไม่ชินกับการนอนคนเดียว โดยวิธีแก้ไขปัญหาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจธรรมชาติของลูกในแต่ละวัย หาสาเหตุที่ลูกนอนยาก และหาวิธีช่วยให้ลูกนอนหลับได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] เวลานอนที่เหมาะสมของเด็กแต่ละช่วงวัย ทารกแรกเกิด-2 เดือน ต้องการเวลานอนประมาณ 14-15 ชั่วโมง/วัน ในวัยนี้ทารกยังไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน และยังต้องกินนมทุก ๆ 2 ชั่วโมง ทำให้ตื่นและนอนหลับไม่เป็นเวลา ทารก 3 เดือน-6 เดือน ต้องการเวลานอนประมาณ 14-15 ชั่วโมง/วัน รูปแบบการนอนหลับจะเหมือนของผู้ใหญ่มากขึ้น สามารถนอนติดต่อกันในเวลากลางคืนได้ประมาณ 6 ชั่วโมง อาจนอนกลางวันประมาณ 2-3 ครั้ง ทารก 6 เดือน-1 ขวบ ต้องการเวลานอนประมาณ 14-15 ชั่วโมง/วัน ทารกในวัยนี้สามารถจำเวลานอนของตัวเองได้แล้วและสามารถนอนติดต่อกันในตอนกลางคืนได้นานมากกว่า 6 ชั่วโมง แต่สำหรับบางคน อาจนอนไม่ถึง 6 ชั่วโมง ซึ่งยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ มีงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Pediatrics พ.ศ. […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

พัฒนาการทางด้านจิตใจ ของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี

พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี มักมีความเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางร่างกายที่เติบโตขึ้น บางคนอาจเริ่มให้ความสนใจด้านการเรียน เพศตรงข้าม หรือให้ความสำคัญกับเพื่อน จนทำให้อาจห่างเหินจากครอบครัว และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น วิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย การเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กวัยนี้ รวมถึงสัญญาณเตือนถึงปัญหาทางด้านจิตใจ อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือและดูแลลูกได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี อาจมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สุขภาพ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น สังคม เศรษฐกิจ การเรียน เพื่อน ครอบครัว พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี อาจมีดังนี้ อยากรู้อยากลองสิ่งใหม่ ๆ มีความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจในสิ่งที่แปลกใหม่ และอาจตั้งคำถามบ่อยครั้ง มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ชอบการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อพัฒนาตัวเอง เช่น ทักษะการเล่นกีฬา การวาดรูป ทดลองวิทยาศาสตร์ แต่งบทประพันธ์ ต้องการอิสระในการตัดสินใจลงมือทำด้วยตัวเอง มีความสนใจในเพศตรงข้าม และเริ่มเปลี่ยนบุคลิกภาพตัวเองให้เป็นที่น่าดึงดูด อาจมีอารมณ์แปรปรวนง่าย อารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ จากมีความสุขหัวเราะ อาจเปลี่ยนเป็นเศร้าภายในไม่กี่นาที […]


การดูแลทารก

ลูกไม่เรอ ควรทำอย่างไร

การเรออาจช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารที่ลูกกลืนเข้าไประหว่างกินนม หาก ลูกไม่เรอ อาจทำให้เกิดอาการจุดเสียด ท้องอืด ไม่สบายตัว และร้องไห้งอแง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีทำให้ลูกเรอ เช่น การอุ้ม การลูบหลัง เพื่อช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกไม่เรอ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ แก๊สในกระเพาะอาหารเกิดจากอากาศที่ลูกกลืนเข้าไปในระหว่างกินนม หรืออาจเกิดจากการแพ้นมวัว และสารอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทานซึ่งส่งผ่านน้ำนมแม่ไปยังลูก เช่น ไข่ ถั่ว กะหล่ำดอก น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ทำให้ร่างกายของลูกตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ และสร้างแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งหากลูกไม่เรอเพื่อระบายแก๊สออก อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกจุดเสียด ท้องอืด และไม่สบายตัว โดยลูกอาจร้องไห้ เกร็งร่างกาย และกำมือแน่นเพื่อส่งสัญญาณบอกคุณพ่อคุณแม่ อย่างไรก็ตาม บางครั้งลูกน้อยอาจไม่เรอ แม้ว่าจะพยายามอุ้มหรือตบหลังเบา ๆ เพื่อทำให้เรอแล้วก็ตาม อาจเป็นเพราะในกระเพาะอาหารของลูกมีแก๊สในปริมาณน้อยหรืออาจไม่มีเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติ และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแต่อย่างใด วิธีทำให้ลูกเรอ วิธีช่วยให้ลูกเรอขับแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร อาจทำได้โดยการอุ้มในท่าทางต่าง ๆ ดังนี้ ท่าอุ้มลูกพาดไหล่ ควรอุ้มลูกพาดไหล่ให้แนบชิดกับหน้าอก ใช้แขนข้างหนึ่งประคองก้น และจับศีรษะลูกพิงกับไหล่เอาไว้ เพื่อประคองกระดูกและศีรษะของลูกที่ยังไม่แข็งแรง จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังลูกเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนแขน อุ้มลูกนอนคว่ำหน้าวางบนแขนข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งการอุ้มท่านี้อาจจำเป็นที่ต้องมีแขนที่แข็งแรงเพื่อให้สามารถประคองลำตัวและศีรษะของลูกได้อย่างมั่นคง โดยให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณข้อพับแขน ในลักษณะหันหน้าออกไปด้านข้างเพื่อให้หายใจได้สะดวก จากนั้นนำมืออีกข้างลูบหลังลูกเป็นวงกลมเบา […]


สุขภาพเด็ก

วัดไอคิว ในเด็กมีประโยชน์อย่างไร

ไอคิว (IQ) ย่อมาจาก Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา ความเข้าใจ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ความคิด ไหวพริบ การวัดไอคิวในเด็กอาจสามารถช่วยชี้วัดความฉลาดทางสติปัญญาและประเมินทักษะต่าง ๆ ว่า เด็กมีพัฒนาการ ความสามารถ และพรสวรรค์ในด้านใดบ้าง เพื่อให้สามารถหาวิธีส่งเสริมและฝึกฝนให้เด็กมีพัฒนาการมากขึ้น วัดไอคิว มีประโยชน์อย่างไร วัดไอคิว ทำเพื่อประเมินความฉลาดทางสติปัญหา ความคิด และไหวพริบในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจสามารถช่วยให้ทราบถึงพรสวรรค์และความสามารถของเด็กบางคน และในเด็กบางคนที่มีความบกพร่องบางด้าน การวัดไอคิวก็ทำให้สามารถวางแผนการเรียนการสอนรวมถึงปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ แก้ไขจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งในด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จด้านการเรียน การงาน การใช้ชีวิตในอนาคตเมื่อเติบโต อย่างไรก็ตาม การมีไอคิวสูงไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตเสมอไป และการมีไอคิวต่ำก็ไม่ได้หมายความว่าจะล้มเหลวด้านการเรียนเสมอไป เนื่องจากอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น การอบรมเลี้ยงดู การเรียนรู้ สภาพแวดล้อม รวมไปถึงปัจจัยด้านพฤติกรรมที่อาจส่งผลต่อโอกาสในการประสบความสำเร็จของเด็กด้วยเช่นกัน แบบทดสอบการวัดไอคิวในเด็ก แบบทดสอบการวัดไอคิวในเด็ก มีดังนี้ การทดสอบด้านภาษาและการพูด เพื่อชี้วัดให้เห็นถึงความสามารถในการใช้ภาษาของเด็ก และความเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น การทดสอบการคำนวณ เป็นการทดสอบเกี่ยวกับการคำนวณหาผลลัพธ์ที่ได้จากการบวก ลบ คูณ หาร เพื่อชี้วัดว่าเด็กมีทักษะในการคิดเลขถูกต้องหรือไม่ การทดสอบด้านการคิดวิเคราะห์และใช้เหตุผล เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างกัน การทดสอบนี้อาจชี้ให้เห็นถึงหลักการคิดวิเคราะห์และอธิบายด้วยเหตุผลออกมาตามความเข้าใจของเด็กได้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกตื่นกลางคืนบ่อย ควรทำอย่างไร

ลูกตื่นกลางคืนบ่อย เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น รู้สึกหิว นอนกลางวันมากเกินไป การเจ็บป่วย ความเครียด หรืออาจมีฟันขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีช่วยให้ลูกนอนหลับสนิท เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับที่ดีของลูก ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต และช่วยให้ลูกไม่รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าในเช้าวันถัดไป [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ลูกตื่นกลางคืนบ่อย สาเหตุที่ลูกตื่นกลางคืนบ่อย อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ รู้สึกหิว เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากลูกน้อยมีกระเพาะอาหารขนาดเล็ก ทำให้จุอาหารได้น้อย และย่อยอาหารได้เร็ว ส่งผลให้ลูกรู้สึกหิวบ่อยจนทำให้ตื่นช่วงกลางคืน ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการร้องไห้งอแงของลูก มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ทารก อาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี หรืออาจเป็นเพราะลูกกลืนอากาศมากเกินไปขณะกินนม ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร สำหรับเด็กในช่วงวัยอื่นที่กำลังห่วงเล่น อาจรีบร้อนรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว ทำให้กลืนอากาศเข้าไปมาก นำไปสู่การเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด ไม่สบายท้อง จนตื่นกลางคืนบ่อย ๆ อยู่ในช่วงปรับตัว ทารกแรกเกิดอาจจำเป็นต้องใช้เวลาปรับตัวกับโลกภายนอก จึงอาจยังไม่รู้ช่วงเวลาการนอนที่เหมาะสม และทำให้อาจตื่นช่วงเวลากลางคืนบ่อย โดยเฉพาะถ้าทารกนอนช่วงกลางวันนาน ฟันเริ่มงอก เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือนขึ้นไป ฟันของลูกจะเริ่มงอก ส่งผลให้ลูกรู้สึกเจ็บและปวดเหงือก  คันเหงือก จึงอาจทำให้ลูกมักสะดุ้งตื่นตอนกลางคืนเมื่อมีอาการเจ็บจี๊ด ๆ […]


การดูแลทารก

อุ้มลูก มีประโยชน์อย่างไร และวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง

การอุ้มลูกอาจช่วยกระชับความสัมพันธ์ ทำให้ลูกมีความสุข รู้สึกปลอดภัย และไม่ได้เป็นอย่างความเชื่อที่ว่า อุ้มลูก แล้วลูกจะติดมือ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้อง เพราะศีรษะและกระดูกช่วงลำคอของลูกอาจยังไม่แข็งแรง การอุ้มลูกไม่ถูกวิธีอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อลูกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการ อุ้มลูก ประโยชน์ของการอุ้มลูก มีดังนี้ กระชับความสัมพันธ์กับลูก เพราะการอุ้มอาจทำให้ได้ใกล้ชิดกับลูกมากขึ้น ทำให้ลูกมีความสุข ได้รับความรัก และช่วยทำให้ผูกพันกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น ลูกร้องไห้น้อยลง การอุ้มอาจช่วยทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และสบายใจ จึงส่งผลให้ร้องไห้น้อยลง หรือหยุดร้องไห้เร็วขึ้น ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด การอุ้มลูกเดินไปมา หรือลูบหลังเบา ๆ อาจช่วยทำให้ลูกเรอและช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารออกมาได้มาก จึงลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ทำให้ลูกรู้สึกสบายตัว และนอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ การอุ้มอาจช่วยเพิ่มพัฒนาการทางระบบประสาท ช่วยให้ลูกจดจำใบหน้าพ่อแม่และมีการตอบสนองต่อสิ่งที่พบเห็น ทั้งยังอาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการของร่างกาย ทำให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการที่ลูกเริ่มยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 5 ท่าอุ้มลูกที่ถูกต้อง 5 ท่าอุ้มลูกที่ถูกต้องและปลอดภัย มีดังนี้ ท่าอุ้มประคองทั้งตัว เป็นท่าที่ทำให้ลูกรู้สึกเหมือนนอนอยู่ในเปล โดยอุ้มให้ลูกนอนหงาย ใช้แขนข้างใดข้างหนึ่งเป็นฐานรองบริเวณหลังและก้น ให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณข้อพับแขน จากนั้นใช้มืออีกข้างประคองศีรษะและโอบกอดลำตัวของลูกเอาไว้ ทำให้ลูกสามารถมองหน้าคุณพ่อคุณแม่ได้ถนัด และช่วยให้นอนหลับสบาย ท่าอุ้มพาดไหล่ เป็นท่าอุ้มที่ช่วยทำให้ลูกนอนหลับสบาย โดยเริ่มจากใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและต้นคอของลูก จากนั้นใช้มืออีกข้างประคองก้นของลูกเอาไว้ ท่าอุ้มวางบนตัก คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้นวางบนตัก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน