พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

สุขภาพเด็ก

ลูกตื่นกลางดึก และคำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่

ลูกตื่นกลางดึก เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่อาจพบเจอ โดยเฉพาะในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น สภาพแวดล้อมที่รบกวนการนอนหลับ รู้สึกหิว ไม่สบายตัวจากการเจ็บป่วย อีกทั้งการที่ลูกตื่นกลางดึกบ่อยครั้งอาจส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่นอนพักผ่อนไม่เต็มที่ จนเกิดความเครียด รู้สึกเหนื่อยล้า ดังนั้น จึงควรดูแลตัวเอง เพิ่มความผ่อนคลาย และนอนหลับให้เพียงพอ ลูกตื่นกลางดึก เกิดจากอะไร ลูกตื่นกลางดึกอาจเกิดจากหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้ อยู่ในช่วงปรับตัว เพราะทารกแรกเกิดจำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับโลกภายนอกหลังคลอด จึงอาจยังไม่รู้เวลาการนอนที่เหมาะสม ส่งผลให้อาจตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง รู้สึกหิว พบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากลูกน้อยมีกระเพาะอาหารขนาดเล็ก ทำให้จุอาหารได้น้อย ย่อยอาหารได้เร็ว ลูกจึงอาจรู้สึกหิวบ่อยจนทำให้ตื่นกลางดึก ทารกที่รู้สึกหิวมักจะตื่นและส่งสัญญาณด้วยการร้องไห้ให้คุณพ่อคุณแม่ทราบ ฟันเริ่มงอก เมื่อลูกอายุได้ 4-6 เดือน ฟันจะเริ่มงอก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บและปวดเหงือก จึงทำให้ลูกมักสะดุ้งตื่นกลางดึก นอนกลางวันมากเกินไป ถึงแม้ทารกจะต้องการเวลานอนมากถึง 16 ชั่วโมง/วัน แต่การนอนในแต่ละครั้งใช้เวลาสั้น ๆ เท่านั้น ดังนั้น จึงไม่ควรปล่อยให้นอนช่วงกลางวันนานเกินไป นอกจากนี้ สำหรับลูกอยู่ในช่วงวัยที่มีความคล่องตัว มีการเคลื่อนไหว อาจรู้สึกเหนื่อยล้าจากการเล่นระหว่างวัน ทำให้อาจเผลองีบหลับในตอนกลางวันเป็นเวลานาน จนทำให้ไม่รู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลาที่ควรนอน หรือตื่นขึ้นกลางดึก มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ทารกอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี หรืออาจเป็นเพราะกลืนอากาศมากเกินไปขณะกินนมจึงทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร […]


การดูแลทารก

ที่ดูดน้ำมูกทารก วิธีใช้และการทำความสะอาด

ที่ดูดน้ำมูกทารก มักใช้เมื่อทารกมีน้ำมูกหรือเสมหะมากในช่วงเช้าหลังตื่นนอนและช่วงก่อนนอน นอกจากนี้ ยังใช้เมื่อทารกมีอาการเจ็บป่วย เช่น คัดจมูก ไข้หวัด โรคปอดบวม ไวรัสทางเดินหายใจ เพื่อช่วยดูดเอาเมือกส่วนเกินทั้งในจมูก ปากและลำคอออกมา ทำให้ทารกหายใจสะดวกและสบายตัวมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ที่ดูดน้ำมูกทารก ใช้เพื่ออะไร ที่ดูดน้ำมูกทารก ใช้เพื่อดูดน้ำมูกในจมูกหรือเสมหะในลำคอของทารก เนื่องจากทารกยังไม่สามารถสั่งน้ำมูกหรือบ้วนเสมหะออกมาได้เอง ทั้งยังช่วยให้ทารกหายใจสะดวกขึ้น ลดอาการร้องไห้งอแงเนื่องจากความไม่สบายตัวและช่วยลดการผลิตสารคัดหลั่งในร่างกายมากจนเกินไปในขณะที่ทารกมีอาการป่วยจากโรคเหล่านี้ ไข้หวัด คัดจมูก หรือไข้หวัดใหญ่ ไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) โรคปอดบวม หลอดลมฝอยอักเสบ นอกจากนี้ การดูดน้ำมูกทารกอาจจำเป็น หากทารกมีภาวะความเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น การไอของทารกเนื่องจากมีเสมหะมาก จำเป็นต้องใช้ที่ดูดเสมหะเพื่อบรรเทาอาการไอ ความเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บบางอย่างที่อาจส่งผลต่อเส้นประสาทและสมอง อาจทำให้ความสามารถในการไอลดลง ทำให้น้ำมูกหรือเสมหะสะสมที่ด้านหลังลำคอ จมูกและปาก จึงจำเป็นต้องใช้ที่ดูดน้ำมูกช่วยดูดออกมา วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารก การดูดน้ำมูกทารก จะใช้น้ำเกลือหยดเข้าไปในจมูกเพื่อให้เสมหะหรือขี้มูกนิ่ม ก่อนเริ่มการดูดน้ำมูกทารก คุณแม่จึงควรอุ่นน้ำเกลือก่อนเสมอ โดยนำขวดน้ำเกลือไปแช่ลงในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที และก่อนนำน้ำเกลือมาใช้ล้างจมูกทารก ควรทดสอบอุณหภูมิโดยการหยดน้ำเกลือที่หลังมือก่อนเสมอให้แน่ใจว่าไม่ร้อนจนเกินไป วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารกสามารถทำได้ ดังนี้ ควรใช้ผ้าห่อตัวทารกหากทารกดิ้น เพื่อช่วยให้การล้างจมูกง่ายขึ้นและไม่เกิดการบาดเจ็บ จับทารกให้นอนในท่าศีรษะสูงเพื่อป้องกันการสำลัก ใช้ที่ดูดน้ำมูกดูดน้ำเกลือจนเต็ม ค่อย ๆ หยดน้ำเกลือครั้งละ 2 –3 หยด เข้าไปในรูจมูกของทารก […]


สุขภาพเด็ก

6 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่พบบ่อย

โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือการกลายพันธุ์ของยีนในร่างกาย และสามารถสืบทอดกันภายในครอบครัว โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อย ได้แก่ ฮีโมฟีเลีย โรคกล้ามเนื้อเสื่อม โรคโลหิตจางเซลล์เคียว (Sickle Cell Disease) โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) โรคเตย์-แซคส์  (Tay-Sachs Disease) โรคฮันติงตัน (Huntington's Disease) ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและสติปัญญาตั้งแต่ยังเป็นทารก โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คืออะไร โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ โรคที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวโดยอาจถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมด และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปได้ด้วย โดยโรคทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เช่น สีผิว ความสูง ไอคิว ซึ่งหากยีนของพ่อหรือแม่มีความผิดปกติก็อาจทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปและทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรม 6 โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อย มีดังนี้ โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัว ซึ่งนำไปสู่การตกเลือดหรือเลือดไหลไม่หยุดเมื่อบาดเจ็บหรือทำการผ่าตัด มีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีนไปขัดขวางการทำงานของโปรตีนในร่างกายทำให้เลือดไม่สามารถแข็งตัวได้ อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อน ดังนี้ เลือดออกภายในข้อต่อ อาจนำไปสู่โรคข้อเรื้อรังและทำให้เกิดอาการปวด เลือดออกในศีรษะและสมอง อาจทำให้เกิดปัญหาระยะยาว เช่น อาการชัก อัมพาต เสียชีวิต หากไม่สามารถหยุดเลือดในอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง อาการที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ได้แก่ เลือดออกในข้อต่อ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

อายุนมแม่ และการเก็บรักษานมแม่

นมแม่เป็นแหล่งอาหารหลักของทารกแรกเกิด ทารกควรกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนหลังคลอด หากเป็นไปได้ ควรให้ทารกได้กินนมสด ๆ จากอกคุณแม่ แต่ในบางครั้ง คุณแม่ก็อาจไม่สามารถให้ทารกกินนมจากเต้าได้ การปั๊มนมเก็บไว้ใช้ภายหลังจึงอาจเป็นวิธีที่สะดวกมากกว่า อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรักษานมแม่อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะเรื่อง อายุ นม แม่ เพื่อให้สามารถวางแผนให้ลูกกินนมจากนวดได้เหมาะสมขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่ วิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่ที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ เก็บในอุณหภูมิห้อง (ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นานสูงสุด 4 ชั่วโมง แต่ควรนำมาใช้ภายใน 2 ชั่วโมง ยิ่งหากสถานที่จัดเก็บมีอุณหภูมิสูง ยิ่งควรรีบใช้ให้หมด ก่อนคุณภาพของนมแม่จะลดลง เก็บในกระติกเก็บน้ำนมแม่ สามารถเก็บได้นานสูงสุด 24 ชั่วโมง เมื่อแช่รวมกับเจลเก็บความเย็น นิยมใช้เมื่อต้องเดินทางและไม่สามารถเก็บนมไว้ในตู้เย็นได้ เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา สามารถเก็บได้นานสูงสุด 4 วัน แต่ควรใส่ไว้ด้านในสุดของตู้เย็น เพื่อคงอุณหภูมิไว้ให้คงที่ และควรนำมาใช้หรือเปลี่ยนไปเก็บในช่องแช่แข็งภายใน 3 วัน เพื่อคงคุณภาพของน้ำนมให้ได้นานที่สุด เก็บในช่องแช่แข็ง สามารถเก็บได้นานสูงสุด 12 เดือน แต่ก็ควรนำมาใช้ภายใน 6 เดือน […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกไม่ยอมกินอะไรเลย คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

ลูกไม่ยอมกินอะไรเลย อาจเป็นปัญหาที่ควรรีบแก้ไข และศึกษาวิธีที่ทำให้ลูกสามารถกินได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบถึงสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อย โดยอาจลองหาวิธีต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกต้องการกินอาหาร เช่น ให้ลูกกินอาหารตรงเวลาทุกมื้อ ลองทำเมนูใหม่ ๆ ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม เป็นต้น อาจจะสามารถช่วยให้ลูกกลับมากินอาหารได้มากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกไม่ยอมกินอะไรเลย เกิดจากอะไร ปัญหาลูกไม่ยอมกินอาหาร อาจเกิดมาจากสาเหตุต่อไปนี้ บังคับให้ลูกกินอาหารมากเกินไป เมื่อเห็นว่าลูกกินอาหารได้น้อยลงกว่าที่เคยเป็น คุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้วิธีแก้ไขปัญหาที่ผิด เช่น ดุว่า ลงโทษ หรือบังคับให้ลูกกินให้หมดจาน โดยไม่รู้ว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้ลูกไม่กินในขณะนั้น เช่น ปริมาณที่ลูกกินได้ในหนึ่งมื้ออาจมากเกินไป หรือลูกยังอิ่มขนมอยู่ การว่ากล่าวอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีที่จะกินอาหารจนลูกเกิดอาการต่อต้านและไม่ยอมกินอะไรเลย กินน้ำตาลมากเกินไป การกินขนมขบเคี้ยวหรือขนมหวานเป็นประจำอาจทำให้ลูกติดน้ำตาล และเลือกที่จะขอกินอาหารหวาน ๆ แทนที่จะกินอาหารปกติ เช่น กินเพียงคุกกี้ในระหว่างวัน หรือต้องการกินแค่ของหวานในมื้อเย็น คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกขนมหรืออาหารว่างแบบที่มีน้ำตาลน้อยให้ลูก เช่น โยเกิร์ตไม่มีน้ำตาล ผลไม้อย่างกล้วย แอปเปิ้ลหั่นเป็นชิ้น เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และไม่ติดหวาน ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เมื่อโตขึ้น มีสิ่งรบกวนที่ทำให้ไม่สนใจอาหาร ลูกอาจห่วงเล่นจนไม่อยากกินอาหารเมื่อถึงเวลาที่ต้องกิน เช่น ต้องการเล่นของเล่นจนไม่อยากทำอย่างอื่น หรือติดดูการ์ตูนโทรทัศน์จนไม่ยอมกินอะไรเลย เพราะความสนใจทั้งหมดอยู่ที่การ์ตูนจนทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธี เก็บ น้ำนม และการละลายนม ควรทำอย่างไร

น้ำนมแม่ มีวิตามิน โปรตีน และแร่ธาตุที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของลูกน้อยเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ช่วยย่อยอาหาร และช่วยลดอาการท้องอืด โดยคุณแม่อาจปั๊มนมเก็บใส่ขวดไว้สำหรับป้อนให้ลูกน้อยในภายหลัง แต่คุณแม่ควรศึกษา วิธี เก็บ น้ำนม อย่างถูกต้องหลังจากปั๊มนมเสร็จ เพื่อรักษาคุณค่าโภชนาการ สารอาหารในนม ให้ลูกกินในครั้งถัดไป [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของนมแม่ นมแม่ โดยเฉพาะน้ำนมแรกที่ออกมาจากเต้านม หรือที่เรียกว่าน้ำนมเหลือง มีวิตามิน โปรตีน ไขมัน และสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาทของลูก อีกทั้งยังมีแอนติบอดีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันให้ต่อสู่กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายลูก เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารหรือปอด ท้องร่วง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคไหลตายในทารก อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด ทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง และใช้ยาบางชนิดเช่น ยาบรรเทาอาการปวดหัว ควรหลีกเลี่ยงการให้นมลูก เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจทำให้ลูกได้รับเชื้อไวรัสหรือสารพิษที่เป็นอันตราย วิธี เก็บ น้ำนม แม่ วิธีเก็บน้ำนมแม่ มีดังนี้ ล้างมือและะใช้อุปกรณ์เครื่องปั๊มนมที่สะอาด ประคบอุ่นที่เต้านมทั้ง 2 ข้าง(เว้นบริเวณหัวนม) หลังจากนั้นค่อย ๆ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ ในการเลี้ยงลูกให้ได้ดี

การเลี้ยงลูกให้ได้ดีนั้น เกิดขึ้นได้จากการวางแผนที่ดีของคุณพ่อคุณแม่ การเลี้ยงดูที่เอาใจใส่และให้ความสำคัญกับพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูกเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพและใช้ชีวิตในวันข้างหน้าอย่างมีความสุข วิธีการเลี้ยงลูกให้ได้ดี เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ลูกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากสิ่งรอบตัว คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นทั้งตัวอย่างที่ดีและเป็นครูที่ดีให้กับลูก การแสดงให้เห็นว่าการกระทำแบบไหนเป็นเรื่องที่ดีหรือควรยึดถือ จะเป็นตัวกำหนดทัศนคติและพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกได้ เช่น สอนเรื่องบริจาคเพื่อให้ลูกรู้จักการเป็นผู้ให้ สอนให้ลูกพูดคุยด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์เพื่อฝึกให้ลูกเป็นคนที่รู้จักคิดก่อนพูด สอนให้ลูกยอมรับความผิดเพื่อให้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเองในอนาคต เสริมสร้างนิสัยที่ดีให้กับลูก การส่งเสริมให้ลูกติดนิสัยในการทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันที่ส่งผลดีต่อตัวลูกตั้งแต่เด็กจะช่วยให้ลูกเดินรอยตามทางที่คุณพ่อคุณแม่วางไว้ตั้งแต่เริ่มต้น เช่น การปลูกฝังเรื่องกินอาหารเพื่อสุขภาพ สอนให้มีความรับผิดชอบ เช่น การทำความสะอาดบ้าน การเก็บออมและการใช้เงินอย่างมีสติ การให้ลูกอ่านหนังสือทุกวันเพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน การให้ลูกได้ฝึกเล่นกีฬาหรือดนตรี จัดตารางเวลาและตั้งกฎระเบียบเพื่อใช้ร่วมกันภายในบ้าน การจัดตารางเวลาประจำวันของกิจกรรมภายในบ้าน เช่น เวลาตื่นและนอน เวลากินอาหาร เวลาทำการบ้าน เวลาเล่นเกม จะทำให้ลูกเป็นคนที่มีระเบียบวินัย คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถตั้งกฎเพื่อใช้ร่วมกันแล้วอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงต้องทำตามระเบียบ ก็จะช่วยให้ลูกสามารถรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ เช่น การให้ระวังตัวเมื่อคนแปลกหน้าเข้ามาคุยด้วย การใช้ของมีคมด้วยความระมัดระวัง หรือการให้ลูกต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อขึ้นรถ การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว การกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จะทำให้ลูกรู้สึกใกล้ชิดกับคนในครอบครัว อาจจะจัดตารางเวลาและเลือกกิจกรรมที่ใช้เวลาด้วยกันทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน เช่น การจัดเวรหรือร่วมกันทำความสะอาดบ้านในวันหยุด การเดินออกกำลังกายด้วยกันในตอนเช้าหรือก่อนมื้ออาหาร การออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันทั้งครอบครัว ช่วยลูกวางแผนเป้าหมายของตัวเอง กระตุ้นให้ลูกคิดถึงทักษะที่ตัวเองมี และส่งเสริมให้ลูกพัฒนาตัวเองในเรื่องนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมายและความสำเร็จที่ลูกต้องการ ให้ลูกมีอิสระในความคิด ทำสิ่งที่อยากทำ ในขณะเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุน […]


การดูแลทารก

สบู่อาบน้ำเด็ก เลือกใช้อย่างไรให้ดีกับลูกน้อย

ทารกหรือเด็กอายุน้อย ๆ อาจไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน เนื่องจากยังมีผิวที่บอบบาง อาจจะใช้วิธีการเช็ดตัวลูกให้สะอาด เน้นบริเวณผิวหน้า ลำคอ มือและส่วนใต้ผ้าอ้อมของเด็ก ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังในการเลือกสบู่อาบน้ำเด็กเหมาะสมและอ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางของเด็กมากที่สุด ช่วงเวลาอาบน้ำเด็กอาจจะเลือกช่วงที่เด็กกำลังตื่นและอารมณ์ดี อุณหภูมิอุ่นพอเหมาะ ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำไว้ให้พร้อม เช่น อ่างอาบน้ำ ผ้าขนหนู ผ้าอ้อม สำลีเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดตัวเปียกหรือฟองน้ำ และเสื้อผ้าใหม่ สำหรับหยิบใช้งานได้ทันที และไม่ควรให้เด็กอยู่ในอ่างอาบน้ำเพียงลำพังแม้แต่เพียงวินาทีเดียว เพราะอาจจมน้ำได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเลือกสบู่อาบน้ำเด็ก สบู่อาบน้ำเด็กที่เหมาะกับผิวเด็กควรเลือกใช้ดังนี้ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว สบู่อาบน้ำเด็กควรมีส่วนผสมที่อ่อนโยนและเหมาะสมกับสภาพผิวที่บอบบางของเด็กมากที่สุด มีสารสกัดธรรมชาติ และอาจใช้สบู่อาบน้ำเด็กสูตรไม่มีสารเคมี เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการแพ้หรือระคายเคืองผิว และไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลากหลายเกินไป เพราะอาจจะไม่ช่วยในเรื่องของความสะอาด และยังทำให้ผิวเด็กสัมผัสกับสารเคมีที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงน้ำหอม น้ำหอมในสบู่อาบน้ำเด็กอาจจะทำให้เกิดปัญหาผิว เช่น ทำให้ผิวแห้งกร้าน ระคายเคือง ควรใช้สบู่ที่ไม่แต่งกลิ่นเพิ่มเติม ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่อาบน้ำเด็กที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย ใช้เพียงสบู่อาบน้ำเด็กธรรมดา ก็สามารถอาบน้ำให้กับลูกน้อยได้อย่างสะอาดหมดจดได้เหมือนกับสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียแล้ว ทั้งยังปลอดจากสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เลือกใช้สบู่อาบน้ำเด็กที่มีส่วนผสมธรรมชาติ เช่น เลือกสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำมันธรรมชาติอย่างน้ำมันมะกอก น้ำมันอัลมอนด์ ว่านหางจระเข้ ซึ่งดีต่อผิวที่บอบบาง และไม่ระคายเคืองผิวและตาของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงสบู่อาบน้ำเด็กที่มีสารที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น พาราเบน (Paraben)  สารกลุ่มพาทาเลต (Phthalate) […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เมนูอาหารลูกน้อยวัย 2 ขวบ และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

ลูกน้อยวัย 2 ขวบ เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต เรียนรู้ที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ และมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา ภาษา และการสื่อสาร โภชนาการด้านอาหารที่ดีนับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลููก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก เมนูอาหารลูกน้อยวัย 2 ขวบ ที่ให้คุณค่าทางอาหารครบถ้วน และศึกษาอาหารบางชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมของช่วงวัย อาหารที่มีประโยชน์กับลูกวัย 2 ขวบ อาหารที่มีประโยชน์สำหรับลูกน้อย มีดังนี้ 1. โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย มีกรดอะมิโนที่ช่วยเสริมสร้างเซลล์ที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และยังให้พลังงานที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย พบมากในอาหารทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ไก่ นม อาหารประเภทถั่วต่าง ๆ เป็นต้น ปริมาณโปรตีนที่ลูกควรได้รับต่อวัน (อย่างน้อย 2 ส่วน/วัน) โดย 1 ส่วนมีดังนี้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไก่ ปลา น้ำหนักสุก 30 กรัม  น้ำหนักดิบ 40 กรัม ถั่วประเภทต่าง ๆ 2-4 ช้อนโต๊ะ ไข่ไก่ 1 […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีปั๊มน้ำนม และวิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่

การปั๊มน้ำนม คือ การใช้อุปกรณ์ในการดูดน้ำนมออกจากเต้าของคุณแม่ เป็นวิธีช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม และเก็บรักษาน้ำนมไว้ใช้ในภายหลัง ทั้งยังช่วยในเรื่องการลดความเจ็บปวดเมื่อคัดเต้านม คุณแม่มือใหม่อาจต้องศึกษาวิธีการปั๊มน้ำนมอย่างถูกวิธี รวมทั้งการเก็บรักษาน้ำนม เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการให้กับลูกน้อย ข้อดีและข้อเสียของการปั๊มน้ำนม การปั๊มน้ำนมมีข้อดีและข้อเสียที่คุณแม่ควรพิจารณามีดังนี้ ข้อดี ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ การปั๊มน้ำนมช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำนมที่ปั๊มเสร็จแล้วไปเก็บในช่องแช่แข็งหรือตู้แช่น้ำนมเพื่อเก็บไว้ใช้ได้หลายวัน ประหยัดเวลามากขึ้น คุณแม่สามารถวางแผนและตั้งเวลาในการให้นมลูกได้ง่ายขึ้น ให้นมลูกในที่สาธารณะได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาหาสถานที่หรือจุดที่ลับตาคนเพื่อให้นมลูก ช่วยลดความเจ็บปวด หลังการคลอด คุณแม่อาจจะมีอาการเต้านมคัดตึง น้ำนมจะคั่งอยู่ในอกและทำให้เจ็บจากปริมาณน้ำนมที่มากเกินไป การปั๊มน้ำนมจะช่วยปล่อยน้ำนมออกจากเต้า และบรรเทาอาการเจ็บลงได้ สามารถนำไปบริจาคได้ คุณแม่บางคนอาจสามารถผลิตน้ำนมเกินความจำเป็นสำหรับลูกของตัวเอง สามารถบริจาคน้ำนมเพื่อช่วยเหลือคุณแม่ท่านอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องไม่มีน้ำนม หรือมีไม่เพียงพอได้ แบ่งเบาภาระของคุณแม่ การปั๊มน้ำนมเก็บไว้จะช่วยให้คนอื่นภายในบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมลูกและช่วยลดภาระการดูแลลูก ให้คุณแม่มีเวลาพักผ่อนและทำธุระของตัวเองมากขึ้น ข้อเสีย กระทบความเป็นส่วนตัว การปั๊มน้ำนมในที่สาธารณะหรือนอกบ้านอาจเป็นเรื่องยาก หากไม่มีห้องที่ปิดมิดชิดเพื่อใช้ปั๊มน้ำนม และเครื่องปั๊มนมอาจจะทำเสียงดังรบกวนได้ มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เพื่อการปั๊มน้ำนมเพิ่มเติม เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ปั๊มน้ำนม ขวดนม ถุงเก็บน้ำนม ตู้แช่น้ำนม และเสื้อชั้นในเพื่อการปั๊มนม ต้องระวังเรื่องความสะอาด การทำความสะอาดอุปกรณ์ในการปั๊มน้ำนมเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรล้างให้สะอาด นึ่งหรือต้มฆ่าเชื้ออย่างน้อย 10 นาที ก่อนใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อโรคซึ่งอาจทำให้ลูกป่วยได้ เคล็ดลับการปั๊มน้ำนม การปั๊มนมให้มีน้ำนมออกมาปริมาณมากต้องใช้เวลาปั๊มไปเรื่อย ๆ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะไม่มีน้ำนมออกมามากนัก แต่เมื่อทำเป็นประจำก็จะมีน้ำนมออกมาอย่างสม่ำเสมอ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน