พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

สุขภาพเด็ก

ยาแก้ท้องเสียเด็ก มีอะไรบ้าง และวิธีดูแลเมื่อเด็กท้องเสีย

การรักษาหลักสำหรับเด็กที่มีอาการท้องเสียมักเน้นรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดจากการถ่ายอุจจาระ ด้วยการดื่มสารน้ำและเกลือแร่ทดแทน อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ซื้อ ยาแก้ท้องเสียเด็ก มาใช้เองโดยเฉพาะในเด็กเล็กมาก ดังนั้น จึงควรพาเด็กเข้าพบคุณหมอหากมีอาการท้องเสียเกิดขึ้น เพื่อให้คุณหมอจ่ายยา [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการท้องเสียในเด็ก เกิดจากอะไร อาการท้องเสียในเด็ก เกิดขึ้นเมื่อร่างกายต้องการกำจัดเชื้อโรคที่เป็นอันตรายออก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ปวดท้องอุจจาระ มีไข้ อุจจาระเป็นเลือด ภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อ่อนเพลีย ผิวแห้งและเย็น โดยอาการท้องเสียในเด็กเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือปรสิต เช่น โรต้าไวรัส (Rotavirus) ซาลโมเนลลา (Salmonella) ไกอาเดีย แลมเบลีย (Giardia Lamblia) ปัญหาระบบย่อยอาหาร เช่น แพ้อาหาร อาหารเป็นพิษ ปฏิกิริยาต่อยาบางชนิด เช่น ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ โรคที่เกี่ยวกับลำไส้และระบบย่อยอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอค (Celiac Disease) อาการลำไส้แปรปรวน การผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือถุงน้ำดี ยาแก้ท้องเสียเด็ก มีอะไรบ้าง เด็กที่มีอาการท้องเสียส่วนใหญ่มักรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ โดยการรักษาอาการท้องเสียในเด็กจะเน้นการรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำจากการถ่ายอุจจาระ พร้อมกับอาจให้จุลินทรีย์ที่ดี (Probiotics) เพื่อบำรุงลำไส้  […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ของเด็กมีอะไรบ้าง

การเจริญเติบโต คือ ส่วนสูง น้ำหนัก และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ของเด็กสามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมตามวัย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมปัจจัยต่าง ๆ เช่น โภชนาการ การออกกำลังกาย การนอนหลับ การดูแลสุขภาพของเด็ก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่ดีและการเจริญเติบโตที่สมวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ของเด็ก มีอะไรบ้าง ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กมีด้วยกันหลายปัจจัย โดยปัจจัยบางประการอาจเกี่ยวข้องตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ดังนี้ การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ครบกำหนดตามอายุครรภ์มีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเด็ก โดยเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักมีขนาดตัวเล็กและน้ำหนักตัวน้อยกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด เนื่องจากร่างกายอาจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร ซึ่งสาเหตุนี้อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในอนาคตได้ โภชนาการของแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์ พัฒนาการทางสมองและการเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็กเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับโภชนาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะสารอาหารที่คุณแม่กินจะส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ หากคุณแม่มีโภชนาการด้านอาหารที่ไม่ดีก็จะส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ด้วย โภชนาการของเด็ก อาหารเป็นปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเด็ก ในขวบปีแรกเด็กควรได้กินนมแม่ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อช่วยบำรุงร่างกายและส่งเสริมการเจริญเติบโต โดยส่วนใหญ่เด็กที่กินนมแม่จะมีการเจริญเติบโตที่เร็วกว่าเด็กที่กินนมผง นอกจากนี้ เมื่อเด็กเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้วควรให้เด็กกินอาหารที่หลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางร่างกาย รวมทั้งพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาที่เหมาะสมตามวัย เพศ ส่วนใหญ่เด็กแรกเกิดเพศหญิงจะมีขนาดตัว ความยาว และน้ำหนักที่น้อยกว่าเด็กแรกเกิดเพศชายเล็กน้อย แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหัดเดินเด็กผู้หญิงจะเริ่มมีการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น จนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นผู้หญิงจะมีการเจริญเติบโตที่ช้าลง ในทางกลับกันวัยรุ่นผู้ชายจะเจริญเติบโตเร็วขึ้นแทน พันธุกรรม การเจริญเติบโตทางร่างกายทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง หรือขนาดตัว อาจขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่สืบทอดมาจากคุณพ่อคุณแม่ นอกจากนี้ภาวะสุขภาพทางพันธุกรรม […]


โภชนาการสำหรับทารก

เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน ควรเป็นอย่างไร

ลูกวัย 9-10 เดือน เป็นวัยที่สามารถรับประทานอาหารแข็งและเริ่มเรียนรู้การใช้มือในการรับประทานอาหารด้วยตัวเอง ดังนั้น เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน จึงควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนทั้งเนื้อสัตว์ คาร์โบไฮเดรต ผักและผลไม้ นอกจากนี้ ควรผ่านการปรุงสุก สับเป็นชิ้นพอหยาบ และไม่ผ่านการปรุงรส เพื่อให้รับประทานง่ายและไม่ส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร [embed-health-tool-bmi] โภชนาการลูกรักวัย 9 -10 เดือน ที่เหมาะสม ลูกรักวัย 9 -10 เดือน สามารถรับประทานอาหารแข็งได้ ½ ถ้วย ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน พร้อมกับอาหารว่างด้วย โดยอาจแบ่งได้ ดังนี้ อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน 1/4-1/2 ถ้วย ผลิตภัณฑ์ธัญพืช 1/4-1/2 ถ้วย ผัก 1/2-3/4 ถ้วย ผลไม้ 1/2-3/4 ถ้วย และควรรับประทานนมแม่หรือนมผงหลังอาหาร 7-8 ออนซ์ ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ โดยก่อนป้อนอาหารแข็งให้ลูกควรสับอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ […]


โภชนาการสำหรับทารก

เมนูอาหารเด็ก6เดือน ที่ควรกินมีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เด็ก 6 เดือน เป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ทักษะการกินอาหารแข็งทั้งการสัมผัส การเคี้ยว และการกลืน เมนูอาหารเด็ก6เดือน จึงควรเป็นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม บดละเอียด และรสชาติอ่อน ๆ พร้อมทั้งควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติอาหารแบบใหม่ และได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น [embed-health-tool-bmi] โภชนาการเด็ก 6 เดือน ควรเป็นอย่างไร เด็ก 6 เดือนเป็นวัยที่สามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว แต่ยังคงต้องกินนมแม่หรือนมผงเป็นอาหารหลักอยู่ โดยปริมาณนมและอาหารแข็งที่เด็ก 6 เดือนควรได้รับอาจมีดังนี้ นมแม่หรือนมผง 4-6 ออนซ์ ประมาณ 4-6 ครั้ง/วัน การเริ่มต้นให้อาหารแข็งเป็นอาหารเสริม ควรบดอาหารเพียงชนิดเดียวในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1-2 ช้อนชา 4 ครั้ง/วัน และอาจค่อย ๆ เพิ่มอาหารแข็งเป็น 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยผสมกับนมแม่หรือนมผงเพื่อไม่ให้อาหารข้นเกินไปและกินง่ายมากขึ้น เมื่อเด็กเริ่มชินกับอาหารแข็งสามารถเพิ่มปริมาณอาหารแข็งเป็น ½ ถ้วย ประมาณ 2-3 ครั้ง/วัน ดังนี้ นมแม่หรือนมผง 6-8 ออนซ์ ประมาณ 3-5 ครั้ง/วัน โปรตีน 1-2 […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก6เดือน ที่เหมาะสมตามวัย มีอะไรบ้าง

โดยทั่วไป เด็กสามารถเริ่มกินอาหารแข็งหรืออาหารเสริมอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่หรือนมผงได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก อาหารเด็ก6เดือน ที่เหมาะกับช่วงวัยและสุขภาพของเด็ก เช่น ผักและผลไม้ที่บดหรือปั่นละเอียด อาหารที่มีธาตุเหล็ก อาหารประเภทแป้ง อาหารที่มีโปรตีน ซึ่งนอกจากจะให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สมอง และระบบประสาทของเด็กแล้ว ยังช่วยฝึกพัฒนาการในการเคี้ยวและการกลืนอาหาร รวมถึงช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อสัมผัสของอาหารด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กเริ่มกินอาหารแข็ง (Solid foods) ได้เมื่อไหร่ อาหารแข็ง คือ อาหารเสริมโภชนาการสำหรับทารกที่นอกเหนือไปจากน้ำนมแม่หรือนมผง โดยทั่วไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งควบคู่ไปกับการให้กินนมแม่ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น แร่ธาตุ วิตามิน ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงตามวัย ทั้งนี้ ควรเริ่มให้เด็กกินอาหารเนื้อนิ่ม รสชาติอ่อน เคี้ยวและกลืนได้ง่าย เพื่อป้องกันการสำลักอาหารหรืออาหารติดคอ โดยอาจให้เด็ก 6 เดือนกินอาหารแข็งวันละ 2 ครั้ง เพียงครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ/มื้อ เนื่องจากกระเพาะอาหารของเด็กวัยนี้ยังเล็ก จึงอาจยังรับอาหารได้น้อย และหากอิ่มเกินไปก็อาจทำให้กินนมแม่ได้น้อยลง คุณพ่อคุณแม่สามารถป้อนอาหารเด็ก6เดือนด้วยช้อน หรือให้เด็กฝึกหยิบจับอาหารด้วยตัวเองก็ได้ ในระยะแรกเด็กอาจเลือกกินเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับรูปร่าง เนื้อสัมผัส และรสชาติอาหาร คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้เด็กกินอาหารที่เด็กไม่อยากกินเพราะอาจทำให้กินยากกว่าเดิม ควรให้เด็กกลับไปกินนมแม่หรือนมขวดตามปกติ […]


เด็กทารก

ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เป็นอย่างไร และทารกถ่ายบ่อยแค่ไหน

ลักษณะอุจจาระทารกปกติ จะเป็นก้อนนิ่ม เนื้ออาจเหลวเล็กน้อย และอาจมีหลายสี เช่น สีเทา สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล แตกต่างไปตามอายุและอาหารที่ทารกรับเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งทารกแต่ละคนยังมีความถี่ในการขับถ่ายไม่เหมือนกันด้วย ทารกบางคนอาจถ่ายอุจจาระทุกครั้งหลังกินนม หรือบางคนอาจถ่ายอุจจาระเพียงสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในทารกที่กินเพียงนมแม่หรือนมผงและไม่จำเป็นต้องขับถ่ายของเสียมากนัก ปัญหาการขับถ่ายของทารกส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่ทารกเริ่มกินอาหารแข็ง หากทารกถ่ายน้อยลง ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น อุจจาระมีเลือดปน ร้องไห้งอแง มีอาการขาดน้ำ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาการขับถ่ายที่ควรพาไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-baby-poop-tool] ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เป็นอย่างไร ลักษณะอุจจาระทารกปกติ อาจมีหลายสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล และมีเนื้อสัมผัสที่ต่างกันไปตามอายุและอาหารที่รับเข้าสู่ร่างกาย ในช่วงประมาณ 2-3 วันแรกหลังคลอด ทารกจะถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีเทา เนื้อเหนียว หรือที่เรียกว่าขี้เทา (Meconium) ซึ่งเป็นของเสียที่สะสมอยู่ในระบบย่อยอาหารของทารกตลอดการตั้งครรภ์ หลังจากนั้น อุจจาระของทารกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมัสตาร์ด อาจมีเนื้อนิ่มและเหลวเล็กน้อย ซึ่งเป็น ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เมื่อทารกกินนมแม่ แต่หากทารกกินนมผงอาจมีอุจจาระสีเหลืองเข้มขึ้น และเมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มให้ทารกกินอาหารแข็ง (Solid food) อุจจาระของทารกอาจเป็นสีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีส้ม ตามอาหารที่ทารกรับเข้าสู่ร่างกาย และเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

RSV คือ ไวรัสอาร์เอสวี สาเหตุการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก

RSV คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณจมูกและคอ และในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างบริเวณปอด มักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว หรือประมาณเดือนกรกฎาคม-มกราคม โดยทั่วไปแล้ว RSV จะทำให้เด็กมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ มีเสมหะ มีไข้ กินนมและอาหารได้น้อยลง หายใจลำบาก อาการแสดงจะปรากฏหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน และอาจมีอาการประมาณ 5-7 วัน ส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง แต่หากเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดอักเสบ (ปอดบวม) โดยเฉพาะในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดซึ่งมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือในเด็กที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด ก็อาจเสี่ยงเกิดภาวะหายใจล้มเหลวและถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] RSV คือ อะไร อาร์เอสวี หรือ RSV คือ Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย เด็กส่วนใหญ่อาจติดเชื้อ RSV อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนอายุถึง 2 ขวบ และอาจติดเชื้อซ้ำได้อีกในภายหลัง ส่วนใหญ่แล้วอาการจะรุนแรงที่สุดในช่วง 3-5 วันแรกที่มีอาการแสดง ก่อนอาการจะค่อย ๆ […]


วัยรุ่น

Precocious puberty คือ ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย สังเกตได้อย่างไร

Precocious puberty คือ ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนเพศที่ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง เช่น มีหน้าอก มีประจำเดือน มีหนวดขึ้น มีขนตามแขน ขา อวัยวะเพศ องคชาตและอัณฑะขยายใหญ่ขึ้น ตั้งแต่เด็กผู้หญิงมีอายุไม่ถึง 8 ปี และเด็กผู้ชายมีอายุไม่ถึง 9 ปี ส่งผลให้เด็กเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก่อนวัยที่ควรจะเป็น อีกทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อยังพัฒนารวดเร็วกว่าปกติจนหยุดพัฒนาก่อนเวลา ส่งผลให้เตี้ยกว่าที่ควรเนื่องจากร่างกายถูกเร่งให้โตเร็วเกินไป และอาจทำให้เด็กรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตัวเองที่รวดเร็วเกินไป จนกระทบต่อสภาพจิตใจได้ด้วย หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าบุตรหลานมีอาการที่เข้าข่าย Precocious puberty ควรพาเด็กไปพบคุณหมอและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ  เพื่อช่วยให้เด็กกลับมามีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-bmi] Precocious puberty คือ อะไร ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย หรือ Precocious puberty คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการของกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์ รวมไปถึงมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง ขนาด ความสูงของร่างกาย เร็วกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตไปเป็นวัยรุ่นก่อนวัยอันควร มักพบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย โดยปกติแล้วร่างกายของเด็กผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนอายุ 9-13 ปี ในขณะที่เด็กผู้ชายจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนอายุ 9-14 ปี แต่หากร่างกายของเด็กผู้หญิงเปลี่ยนแปลงก่อนอายุ 8 ปี และร่างกายของเด็กผู้ชายเปลี่ยนแปลงก่อนอายุ […]


เด็กทารก

น้ำหนักทารก และส่วนสูง ตามช่วงอายุ

ทารกแต่ละคนอาจมีการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการที่แตกต่างกัน การทราบถึง น้ำหนักทารก และส่วนสูง จึงอาจมีส่วนช่วยในการประเมินสุขภาพร่างกายและพัฒนาการของทารกที่เหมาะสมตามวัยเบื้องต้นได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและใส่ใจน้ำหนักและส่วนสูงของทารกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำหนักทารก มีความสำคัญอย่างไร น้ำหนักทารก มีความสำคัญต่อการประเมินการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงให้เหมาะสมตามวัย รวมทั้งสุขภาพร่างกายและพัฒนาการของทารกในอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักทารกอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ดังนี้ การตั้งครรภ์ โดยปกติทารกที่คลอดตามกำหนดจะมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้น้ำหนักทารกและส่วนสูงมีความเหมาะสมตามวัย พันธุกรรม อาจมีผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูง โดยเฉพาะความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ร่างกาย ดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการนูแนน (Noonan Syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนในร่างกายที่ส่งผลต่อน้ำหนักทารก เพศ ทารกผู้หญิงและทารกผู้ชายมักมีการเจริญเติบโตของร่างกาย น้ำหนักและส่วนสูงไม่เท่ากัน อาหาร ทารกที่กินนมแม่อาจได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเหมาะสมมากกว่ากินนมผง ฮอร์โมน ความสมดุลของฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกายทารก ซึ่งส่งผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูงได้ การนอนหลับ ส่งผลดีต่อการเจริญโตทางร่างกายและพัฒนาการของทารก ซึ่งอาจส่งผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูงได้ น้ำหนักทารก และส่วนสูง ของทารกแรกเกิดถึงอายุ 11 เดือน ทารกแรกเกิด ทารกผู้หญิงควรมีน้ำหนักประมาณ 3.2 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 49.2 เซนติมเมตร ส่วนทารกผู้ชายควรมีน้ำหนักประมาณ 3.4 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 49.9 เซนติเมตร ทารกอายุ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กแต่ละวัย เป็นอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ควรทราบถึง ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กในแต่ละวัย เพราะอาจใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตของร่างกายที่เหมาะสม และอาจบ่งบอกถึงสุขภาพเบื้องต้นของเด็กได้ นอกจากนี้ อาจมีปัจจัยบางประการที่ควรปรับเปลี่ยน เพื่อช่วยส่งเสริมส่วนสูงของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กแต่ละวัย เด็กควรมีการเจริญเติบโตทางร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ที่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม มีดังนี้ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กทารก เด็กแรกเกิด เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 49.2 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 49.9 เซนติเมตร เด็กอายุ 1-6 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 53.7-65.7 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 54.7-67.6 เซนติเมตร เด็กอายุ 7-11 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 67.3-72.8 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 69.2-74.5 เซนติเมตร ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กวัยหัดเดิน เด็กอายุ 12-14 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 74-76.4 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 75.8-78.1 เซนติเมตร เด็กอายุ 15-17 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 77.5-79.7 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 79.2-81.3 […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม