พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กวัยเรียน

เรียนออนไลน์ มีข้อดีและข้อเสียต่อเด็ก ๆ อย่างไรบ้าง

เรียนออนไลน์ กลายเป็นรูปแบบการเรียนที่สำคัญสำหรับการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต นับเป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือไปจากการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนหรือเวลาใด สามารถเลือกเรียนออนไลน์และหาความรู้ใหม่ ๆ ได้เสมอ อย่างไรก็ตาม เรียนออนไลน์ ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่อเด็ก ๆ ที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ [embed-health-tool-bmi] เรียนออนไลน์ คืออะไร การเรียนออนไลน์ หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนและผู้สอน เชื่อมต่อบทเรียนผ่านอินเทอร์เนต โดยมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือและสื่อกลางในการเรียนรู้ ทำให้แม้ว่าผู้เรียนและผู้สอนจะอยู่ไกลกันก็สามารถสร้างบทเรียนได้ ในปัจจุบันนี้ รูปแบบการเรียนออนไลน์ แบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ Synchronous Classes รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอนนัดผู้เรียนทุกคนมาเรียนพร้อมกันในเวลาเดียวกันผ่านระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่มากมาย โดยถ่ายทอดสดผ่าน Live-Streaming เช่น Zoom, Google Meet, Microsoft Team Asynchronous Classes รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนพร้อมกันตามตาราง โดยผู้สอนจะอัดคลิปวิดีโอแล้วอัพโหลดคลิปเข้าสู่ไดร์ฟหรือส่งลิงค์สำหรับดาวน์โหลดคลิปให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการฝึกทำข้อสอบออนไลน์ Hybrid Classes รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ทั้งแบบการเรียนออนไลน์พร้อมกัน การถ่ายทอดสดจากคลาสผ่าน Live-streaming หรือการเข้าเรียนในห้องเรียนแบบเจอตัว ข้อดีของการ เรียนออนไลน์ เครื่องมือหลากหลาย ในการเรียนออนไลน์ มีเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย ทั้งภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ เสียงเพลง […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ปัญหา ครอบครัว เกิดจากอะไร และควรแก้ปัญหาอย่างไร

ปัญหา ครอบครัว เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากและอาจเป็นเรื่องยากที่จะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากแต่ละครอบครัวมีปัญหาที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งแต่ละคนก็ยังมีความคิดและนิสัยที่แตกต่างกันไป จึงส่งผลให้ปัญหาครอบครัวคลี่คลายได้ยาก แต่หากคนในครอบครัวหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยถึงปัญหา และทำความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง ก็อาจช่วยลดความตึงเครียดภายในครอบครัวและช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ลงได้ [embed-health-tool-due-date] ปัญหา ครอบครัว เกิดจากอะไร ปัญหาครอบครัวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยและกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว อาจมีดังนี้ ปัญหาทางการเงิน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีค่าครองชีพสูง การหาเงินเลี้ยงครอบครัวให้อยู่รอดจึงอาจทำให้บุคคลที่ต้องแบกรับภาระนี้เกิดความเครียด โดยเฉพาะครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงินอย่างหนักอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ความรุนแรง เสพยา ขโมยของ เพื่อระบายความเครียดและหาเงินมาประทังชีวิต จนทำให้เกิดปัญหาภายในครอบครัวที่บานปลายเกินจะควบคุม หย่าร้าง เป็นปัญหาระหว่างคู่รักที่แต่งงานกัน ซึ่งอาจเกิดจากความไม่ลงรอยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น นิสัย ความเป็นอยู่ การเลี้ยงลูก มีชู้ จนเกิดการทะเลาะกันมากขึ้นและนำไปสู่การหย่าร้างในที่สุด ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนนิสัยคนได้ ซึ่งอาจเปลี่ยนให้คุณพ่อที่น่ารักกลายเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงกับครอบครัว หรือเปลี่ยนคุณแม่ที่ขยันทำงานให้กลายเป็นคนขี้เกียจและปากร้าย จนก่อให้เกิดปัญหาการทะเลาะกันและอาจทำให้เกิดบาดแผลภายในจิตใจของลูกได้ด้วย คนในครอบครัวเสียชีวิต ความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน อาจทำให้บรรยากาศภายในครอบครัวเศร้าหมองตามไปด้วย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของทุกคน ความไม่ซื่อสัตย์ระหว่างคู่รัก เป็นสาเหตุของปัญหาครอบครัวที่พบได้บ่อยอีกเรื่องหนึ่ง และยังเป็นปัจจัยหลักที่อาจนำไปสู่การหย่าร้างและสร้างบาดแผลภายในใจของลูก ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ เป็นความสัมพันธ์ที่คนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คนใช้อารมณ์หรือใช้พฤติกรรมที่นำไปสู่ปัญหา […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกพูดช้า ปัญหาพัฒนาการเด็กที่ไม่ควรมองข้าม

โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำได้ตอนอายุประมาณ 1 ปี แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูก พูด ช้า พัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามวัย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น บกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางสติปัญญา สมองพิการ แต่เด็กบางคนก็อาจแค่ยังไม่ต้องการพูดในตอนนี้ และจะยอมพูดเองเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ หากสังเกตว่าลูกพูดช้า หรือมีปัญหาด้านพัฒนาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เรียกแล้วไม่หัน ไม่แสดงท่าทางตกใจเมื่อมีเสียงดัง ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] ภาวะพูดช้า (Delayed Speech) คืออะไร ภาวะพูดช้า คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามวัย มักพบในวัยก่อนวัยเรียน แต่พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป จึงอาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กบางคนเริ่มพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน โดยทั่วไป เด็กอาจมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 1 ปี : พัฒนาจากการพูดอ้อแอ้ไม่เป็นภาษามาเป็นคำพูดง่าย ๆ อายุ 2 ปี : พูดคำที่มีความหมายติดกัน 2 คำ อายุ 3 ปี : พูดเป็นประโยคสั้น ๆ ระบุส่วนต่าง […]


การดูแลทารก

6 ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสมกับคุณแม่และลูก

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจกำลังศึกษา ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสม เพื่อให้ดีต่อร่างกายของเด็กและช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายตัวมากขึ้น เนื่องจากการอุ้มมีประโยชน์อย่างมากทั้งต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจและสมองของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการอุ้มเด็ก การอุ้มเด็กมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และระบบประสาทของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็ก และยังช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัย นอกจากนี้ การใช้ท่าอุ้มเด็กที่เหมาะสมยังมีประโยชน์ต่อเด็กในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ช่วยควบคุมอุณหภูมิ อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการเจริญเติบโตทางร่างกายและอารมณ์ของเด็ก ช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กพัฒนาในรูปทรงที่ดี ไม่คดงอเมื่อโตขึ้น เพราะการอุ้มเด็กในท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กที่ยังอ่อนอยู่ตั้งตรงในตำแหน่งที่ดี แต่หากอุ้มในท่าที่เด็กจะต้องเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง อาจเสี่ยงที่เด็กจะมีกระดูกสันหลังคดงอได้ ช่วยลดอาการร้องไห้งอแงในเด็กได้ เพราะเด็กจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อถูกอุ้ม อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการเข้าสังคม เพราะในระหว่างอุ้มเด็กจะได้ยินเสียงอย่างใกล้ชิด และสามารถตอบสนองต่อการสื่อสารได้ง่ายขึ้น 6 ท่า อุ้ม เด็ก มีอะไรบ้าง ท่าอุ้มเด็กต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายมากขึ้น และยังช่วยให้เด็กปลอดภัยอีกด้วย ท่าที่ 1 ท่าอุ้มรับทารกแรกเกิด ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและคอของทารกแรกเกิดไว้ และอีกมือหนึ่งอยู่ใต้ก้นของทารก งอเข่าเล็กน้อยระหว่างยกตัวทารกเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง เมื่อยกตัวทารกขึ้นมาแล้วให้อุ้มทารกไว้แนบอก จากนั้นเลื่อนมือที่อยู่ด้านล่างของทารกขึ้นมารองรับคอของทารก ค่อย ๆ เคลื่อนศีรษะของทารกไปที่ข้อพับแขน โดยยังคงประคองคอของทารกไว้ แล้วย้ายมืออีกข้างมาไว้ใต้ก้นทารก ท่าที่ 2 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง คุณแม่นั่งในท่าที่สบาย จากนั้นให้เด็กนั่งบนตักหั่นหน้าไปด้านข้างหรือหันออกห่างจากตัวแม่ โดยให้อกเด็กชิดกับอกแม่ ให้ขาของเด็กกางออกอยู่ระหว่างเอวทั้ง […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมผง เด็ก 1 ขวบ และอาหารเสริมที่ควรกิน

โดยทั่วไป เด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไปสามารถกินอาหารแข็งหรือนมชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมแม่ และนมผงได้แล้ว จึงสามารถหย่านมได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มให้เด็กปรับมากินอาหารอื่น ๆ และดื่มนมวัวหรือนมชนิดอื่นแทน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้นมวัวหรืนมชนิดอื่นเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยอาหารของเด็กปรับตัว แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังต้องการให้ลูกกินนมผง ควรเลือกนมที่ระบุว่าเป็น นมผง เด็ก 1 ขวบ หรือเลือกนมผงที่มีสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง [embed-health-tool-bmi] นมผง เด็ก 1 ขวบ มีประโยชน์อย่างไร โดยทั่วไปเด็กอายุ 1 ขวบ สามารถกินอาหารแข็งได้มากขึ้น และกำลังอยู่ในช่วงหย่านมแม่และนมผง เพราะเด็กสามารถดื่มนมวัว นมถั่วเหลือง หรืออาหารอื่น ๆ ได้แล้ว นมผงจึงอาจไม่จำเป็นสำหรับเด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไปมากนัก อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกดื่มนมผงอยู่ อาจเลือกนมผงสำหรับเด็ก 1 ขวบที่เสริมสารอาหารเหล่านี้ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสายยาว (Long Chain Polyunsaturated Fatty Acids หรือ LCPs) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาท โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือไม่ได้กินนมแม่ เบต้าแคโรทีน เป็นแหล่งของวิตามินเอและสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็ก พรีไบโอติก […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร และควรป้องกันอย่างไร

ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกโรงเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงดู เพื่อน สังคม สภาพแวดล้อม ภาวะสุขภาพ การใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งโรงเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีของเด็กในอนาคต [embed-health-tool-bmi] ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร ความรุนแรงในโรงเรียน คือ พฤติกรรมความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นภายในโรงเรียน ระหว่างการเดินไปและกลับจากโรงเรียน หรือการไปทัศนศึกษากับโรงเรียน เช่น การพูดจาก้าวร้าว การทำร้ายร่างกาย การใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น รวมไปถึงการทำความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโรงเรียน โดยสัญญาณเตือนของนักเรียนที่อาจมีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน คุณครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนอาจสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้ นักเรียนพูดคุยหรือเล่นกับอาวุธทุกชนิด นักเรียนมีพฤติกรรมทำร้ายสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อื่น ๆ นักเรียนมีพฤติกรรมข่มขู่หรือกลั่นแกล้งผู้อื่น นักเรียนพูดถึงความรุนแรง ดูหนังที่มีความรุนแรง หรือชอบเล่นเกมที่มีความรุนแรง นักเรียนพูดหรือแสดงท่าทีก้าวร้าวทั้งต่อเพื่อนและผู้ใหญ่ สาเหตุของ ความรุนแรงในโรงเรียน อาจไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในโรงเรียน แต่อาจเป็นไปได้ว่าเด็กที่เป็นผู้ใช้ความรุนแรงอาจถูกครอบครัวหรือสังคมกดดันในด้านต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ผลการเรียนตกต่ำ พฤติกรรม บุคลิกภาพ ฐานะครอบครัว ภาวะสุขภาพ การใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัยอยากรู้อยากลอง ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เด็กที่ยังไม่มีวุฒิภาวะในการตัดสินใจมากพอ แสดงพฤติกรรมหรือลงมือทำความรุนแรงต่อผู้อื่น ๆ ได้ […]


เด็กทารก

TTNB คือ ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด สาเหตุและการรักษา

TTNB คือ ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด ทำให้ทารกหายใจเร็วกว่าปกติ หายใจเสียงดัง รูจมูกบาน หายใจลึกจนเห็นซี่โครง ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก มักเกิดในเด็กที่คลอดตามกำหนดหรือช้ากว่ากำหนดเล็กน้อยด้วยวิธีผ่าคลอด ทำให้ขาดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในระหว่างการคลอดธรรมชาติ ส่งผลให้ของเหลวบางส่วนยังคั่งอยู่ในปอดและทารกต้องใช้เวลาในการดูดซึมของเหลวกลับเข้าสู่ร่างกายหลังคลอด นอกจากนี้ยังอาจพบได้เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นหอบหืดหรือเบาหวาน โดยทั่วไป ภาวะ TTNB มักเกิดขึ้นนานไม่เกิน 3 วัน และไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว [embed-health-tool-child-growth-chart] TTNB คือ อะไร Transient Tachypnea of the Newborn หรือ TTNB คือภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด ทำให้ทารกหายใจเร็วชั่วขณะ ส่งผลให้มีปัญหาในการดูดหรือกลืนนม ทั้งยังอาจทำให้มีอาการกระสับกระส่าย หายใจเสียงดัง สีผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำเนื่องจากขาดออกซิเจน TTNB เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว อาจพบได้ตั้งแต่คลอดหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด และจะมีอาการประมาณ 24-72 ชั่วโมง ส่วนใหญ่เมื่อได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ทารกก็จะมีอาการดีขึ้นจนสามารถกลับบ้านได้และกินนมได้ตามปกติ และไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของทารก สาเหตุของ TTNB คืออะไร สาเหตุหลักของภาวะ TTNB คือ ทารกมีของเหลวหลงเหลืออยู่ในปอดมากกว่าปกติหลังคลอด ซึ่งเป็นของเหลวหรือน้ำคร่ำที่อยู่ในครรภ์กับทารกมาตลอดการตั้งครรภ์ ขณะอยู่ในครรภ์ทารกไม่จำเป็นต้องใช้ปอดในการหายใจเนื่องจากรับออกซิเจนผ่านทางรก ปอดจึงเต็มไปด้วยของเหลวที่จำเป็นต่อการพัฒนาอวัยวะให้สมบูรณ์ แต่ในช่วงใกล้คลอดปอดจะเริ่มดูดซับของเหลวและขับของเหลวบางส่วนออกเมื่อทารกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด จากนั้นเมื่อทารกแรกเกิดเริ่มร้องไห้และหายใจด้วยตัวเอง ปอดจะถูกเติมเต็มด้วยอากาศ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

BPD คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Bronchopulmonary Dysplasia หรือ BPD คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีปัญหาการหายใจหลังคลอด และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจนเป็นเวลานาน โดยอาจพิจารณาว่าเป็นโรค BPD เมื่อทารกต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 28 วัน การรักษาสามารถทำได้ด้วยการประคับประคองอาการไปจนกว่าปอดของทารกจะทำงานได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ทารกจะมีอาการดีขึ้นแต่อาจมีภาวะสุขภาพในภายหลัง เช่น โรคหอบหืด ปัญหาพัฒนาการล่าช้า ปัญหาการหายใจในวัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ จึงควรป้องกันด้วยการเข้ารับการฝากครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค BPD ในทารกแรกเกิด [embed-health-tool-child-growth-chart] โรค BPD คือ อะไร Bronchopulmonary Dysplasia หรือ โรค BPD คือโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่เกิดจากพัฒนาการของเนื้อเยื่อปอดผิดปกติ มักพบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเกิน 10 สัปดาห์ หรือในเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 900 กรัม ซึ่งปอดจะยังพัฒนาไม่เต็มที่และได้รับออกซิเจนเสริมหรือใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน เช่น เด็กที่มีกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) นอกจากนี้ยังอาจเกิดในทารกที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent Ductus Arteriosus หรือ PDA) ทารกที่ติดเชื้อในกระแสเลือด แม้ว่าจะคลอดตามกำหนดก็ตาม ทั้งนี้ โรค BPD ยังสามารถเกิดขึ้นในทารกที่ผ่านวัยแรกเกิดไปแล้วแต่มีพัฒนาการของปอดผิดปกติ มีการติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์ […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ยา ขยาย หลอดลม เด็ก มีอะไรบ้าง และวิธีรับมืออาการหอบหืดในเด็ก

ยา ขยาย หลอดลม เด็ก (Bronchodilators) เป็นยาที่ใช้โดยทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจอย่างโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยาจะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจและเปิดช่องให้อากาศไหลผ่านได้สะดวกขึ้น ยาขยายหลอดลมมี 2 ประเภท คือ ยาชนิดออกฤทธิ์สั้นที่ใช้รักษาอาการเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากทางเดินหายใจหดตัวหลังการสัมผัสสิ่งกระตุ้น และยาชนิดออกฤทธิ์ยาวที่ใช้ควบคุมอาการและลดความถี่การเกิดอาการใช้เป็นประจำทุกวัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ยา ขยาย หลอดลม เด็ก ใช้เพื่ออะไร ยาขยายหลอดลมเด็กเป็นยาที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในปอดและขยายทางเดินหายใจบริเวณหลอดลม ใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเดินหายใจตีบแคบและอักเสบจนทำให้เด็กไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ เช่น โรคหอบหืด (Asthma) เป็นความผิดปกติของปอดที่เกิดจากทางเดินหายใจอักเสบ ทำให้เด็กมีอาการไอบ่อย หายใจถี่ หายใจออกมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก เป็นต้น อาการอาจแย่ลงในเวลากลางคืน เมื่อเป็นไข้หวัด สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นเช่นอากาศเย็น ฝุ่นควัน หรือออกกำลังกาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) เป็นโรคในกลุ่มอาการปอดอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อปอดได้รับความเสียหายในระยะยาว ส่งผลให้ผนังถุงลมปอดอ่อนแอ ทำให้เด็กมีอาการหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง ปอดติดเชื้อบ่อย หายใจมีเสียงหวีด เป็นต้น แต่พบได้น้อยมากในเด็ก ยา ขยาย หลอดลม เด็กมีอะไรบ้าง ยาขยายหลอดลมเด็กเป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการตีบตันและการอักเสบของทางเดินหายใจ มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ของเหลวที่ใส่ในเครื่องพ่นละอองยา […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

แม่ตีลูก มีผลเสียต่อลูกอย่างไร และควรสอนลูกอย่างไรเมื่อทำผิด

การลงโทษลูกด้วยการตีอาจไม่ใช่วิธีที่ได้ผลดีเสมอไป หากพ่อหรือ แม่ตีลูก อาจส่งผลให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับพ่อแม่แย่ลงหรือทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินกันได้ ทั้งยังอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกเหนื่อยหน่าย เครียด เป็นกังวล หรือรู้สึกผิดกับการขู่หรือการตีลูกเมื่อลูกทำผิด หากเปลี่ยนจากการที่แม่ตีลูกมาเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้กับลูกและเรียนรู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธีเมื่อลูกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมดีขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง ไม่กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัว และลดผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] แม่ตีลูก มีผลเสียต่อลูกอย่างไร การลงโทษลูกด้วยการตีอาจทำให้ลูกรู้สึกกลัวได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่ไม่สามารถปรับปรุงพฤติกรรมของลูกให้ดีขึ้นในระยะยาวได้ นอกจากนี้ หากแม่ตีลูกเป็นประจำยังอาจทำให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัวตามมาเรื่อย ๆ กระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมฉุนเฉียว ท้าทาย ต่อต้าน ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้เป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการ ซึ่งอาจกระทบต่อพัฒนาการทางสมอง สุขภาพกายใจ และการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตของลูกด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Family Psychology เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ศึกษาเกี่ยวกับการตีเด็กและผลลัพธ์ที่ตามมา โดยการเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยจำนวน 111 ฉบับ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กจำนวน 160,927 คน พบว่า ยิ่งเด็กถูกผู้ปกครองสอนด้วยการตี เช่น ทุบหลัง ตีแขนหรือขา บ่อยเท่าไหร่ เด็กก็จะยิ่งมีแนวโน้มต่อต้านหรือขัดขืนมากขึ้นเท่านั้น ทั้งยังอาจมีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม พฤติกรรมรุนแรง ปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาด้านการคิดวิเคราะห์หรือการมีสมาธิจดจ่อ เพิ่มขึ้นด้วย วิธีสอนเมื่อลูกทำผิด และการรับมืออย่างเหมาะสม วิธีสอนเมื่อลูกทำผิดที่เหมาะสมอาจเริ่มจากการสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline) หรือการจัดการให้ลูกปรับปรุงตัวเมื่อมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน