พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

“ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” สกิลสำคัญที่ Gen Alpha- Beta ควรมีในโลกยุค AI

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI อะไรๆ ก็ดูจะง่ายดายไปหมด ในช่วงเวลาที่เด็กๆ ที่เกิดหลังปี 2020 กำลังเติบโต เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างเช่น AI ก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 คอยอำนวยความสะดวกให้ในหลายๆ ด้านของชีวิต และคงจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น อาจทำให้เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะจำเป็นของชีวิต ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่เป็นกังวลว่าลูกๆ จะมีทักษะอะไรติดตัวไปบ้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต แน่นอนว่า IQ เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ แต่เพียงแค่นั้นอาจยังไม่พอ ต้องมี “ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” ด้วย EF คืออะไร ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF หรือ Executive Function คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม รวมถึงแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ แต่ EF คือทักษะที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยทักษะ EF ของเด็กช่วงปฐมวัย มีทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การจดจำเพื่อใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง และการยืดหยุ่นทางความคิด ในกลุ่มนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิด  […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 หรือประมาณ 7 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจโตพอที่จะเริ่มต่อต้านเวลาที่พ่อแม่แสดงความรัก กอด อุ้ม หรือเวลาที่ถูกแย่งเอาของเล่นไป อีกทั้งยังอาจสามารถใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ได้คล่องขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังไม่ให้ลูกเอานิ้วมือไปแหย่จุดที่อันตราย เช่น ปลั๊กไฟ พัดลม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 30 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงนี้แม่สามารถบอกลูกให้เข้าใจได้แล้วว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ของเล่น เครื่องดนตรีไม่ได้มีเอาไว้ขว้างปา หรือห้ามดึงผมคนอื่น เด็กในวัยนี้จะเริ่มขัดขืนคำสั่งแม่แล้ว เช่น การไม่ยอมทำตามที่แม่บอก ซึ่งไม่ได้เกิดจากการไม่เชื่อฟังแม่ แต่เป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็นของเด็กวัยนี้นั่นเอง พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 30 นั่งเองได้โดยไม่ได้ต้องมีคนช่วย พยายามรั้งตัวเองไว้ตอนแม่อุ้ม เริ่มต่อต้านถ้าแม่เอาของเล่นของลูกไป หาทางออกจากของเล่นได้ หาของที่ตกได้เอง เอานิ้วแหย่ของหรือถือของไว้ในมือตัวเองได้แล้ว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย แม่ควรนำสิ่งของที่มีอันตรายให้อยู่ห่างจากเด็ก ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร แม่ต้องจำไว้ว่าลูกยังไม่สามารถจดจำสิ่งที่เราพูดได้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การใช้คำพูดง่าย  ๆ ว่า  “ไม่”  ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจว่าลูกจะไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ เด็กส่วนใหญ่จะชอบเล่นจ๊ะเอ๋มาก และการเล่นแบบนี้จะช่วยส่งเสริมให้ลูกรับรู้ได้ว่า มีผู้คนรอบ  ๆ ตัวลูกอยู่ตั้งมากมาย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ ถ้าคิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่าลูกมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว แม่ควรจดบันทึกข้อสงสัยปรึกษากับหมอในครั้งถัดไป และหากเกิดปัญหาหรือถ้ามีข้อกังวลใด  ๆ เป็นพิเศษ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 ของลูกน้อย

ถ้าเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา ควรศึกษาข้อมูล  พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแล และสังเกตพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยเติบโตสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 34 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยกำลังสำรวจสิ่งของต่าง ๆ โดยการเขย่า กระแทก โยนทิ้ง และขว้างปา ก่อนจะกลับมาใช้วิธีสำรวจที่แน่นอนที่สุด นั่นก็คือการเคี้ยว ลูกน้อยอาจมีความคิดที่ว่าเขาสามารถจะทำอะไรกับข้าวของพวกนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระแทก กระทุ้ง บีบ บิด เขย่า โยนทิ้ง และเปิดดู พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 34 ส่งสิ่งของอื่น ๆ จากมือข้างหนึ่งไปยังอีกข้าหนึ่ง สำรวจสิ่งต่าง ๆโดยการเขย่า ตี โยนทิ้ง และขว้างปา และเห็นสิ่งของพวกนั้นกระเด้งขึ้นมาอีก ลุกขึ้นยืนโดยยึดจับคนหรืออะไรบางอย่างเอาไว้ ขัดขืนถ้าคุณพ่อคุณแม่พยายามที่แย่งของเล่นจากเขา ขยับตัวออกไปเอาของเล่นที่อยู่เกินเอื้อม เล่นจ๊ะเอ๋ ลุกขึ้นนั่งจากท่าคลาน ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยมักรู้สึกเพลิดเพลินกับของเล่นที่มีวิธีใช้เป็นการเฉพาะ อย่างเช่น โทรศัพท์ ถ้าเขาไม่สามารถถือไว้ในระดับหูของตัวเองได้ ก็ช่วยเขาถือแล้วแกล้งพูดโทรศัพท์กับเขา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เขาจะเริ่มใช้วัตถุตามการใช้งานจริงได้ เช่น แปรงผมตัวเอง ดื่มน้ำจากถ้วย และส่งเสียงอ้อแอ้กับโทรศัพท์ของเล่น สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 จะเริ่มก้าวเท้า สำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น ควรใช้ขารับน้ำหนักตัวเองในขณะยืนได้แล้ว และสามารถหันไปตามทิศทางที่มาของเสียง และมองหาของที่ทำตกได้ เด็ก ๆ อาจเริ่มปีนป่าย และมักหกล้มได้ง่าย จึงไม่ควรปล่อยให้คลาดสายตา [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 33 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ทารกอายุ 8 เดือน ควรใช้ขารับน้ำหนักตัวเองในขณะยืนได้แล้ว สามารถหันไปตามทิศทางที่มาของเสียง และมองหาของที่ทำตกได้ ความสามารถในการเคลื่อนไหวนี้ จะทำให้หกล้มหรือกระแทกโน่นกระแทกนี้ได้ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้สึกใจหายใจคว่ำ แต่การนั่งมองดูเขาสำรวจสิ่งรอบตัว และค้นหาข้อจำกัดของตัวเอง ก็นับว่าเป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่งเลยทีเดียว พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 33 ใช้ขารับน้ำหนักตัวเวลายืนตรงได้ รับประทานขนมปังกรอบได้เอง ใช้นิ้วหยิบของแล้วกำไว้ในมือ ดังนั้น ควรเก็บของอันตรายให้พ้นมือเด็ก หันไปตามทิศทางของเสียง มองหาของที่ทำตกหล่น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร สัญชาตญาณแรกของคุณพ่อคุณแม่คือการปกป้องลูกน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติ วิธีเลี้ยงดูที่ดีที่สุดก็คือให้เขามีโลกส่วนตัวในการเติบโตและเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพึ่งพาตัวเองได้ แต่ไม่ได้หมายความต้องปล่อยให้เขาอยู่เพียงลำพังตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่มีความปลอดภัยขึ้นมาได้ โดยนึกภาพเอาว่า อะไรที่จะเป็นอันตรายในขนาดความสูงของลูกน้อย แล้วหาทางแก้ไขจนไม่เป็นอันตราย ซี่งอาจจะแก้ปัญหาด้วยการเก็บของที่ตกแตกง่ายไว้ในที่ที่เขาเอื้อมไม่ถึง รวมทั้งเก็บของที่เป็นอันตรายไว้ในตู้ที่ล็อกกุญแจเอาไว้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร อาจไม่มีตารางการนัดพบแพทย์ในช่วงนี้ แต่ถ้าความกังวลใจเร่งเด่วนเกิดขึ้น ก็ไม่ควรรอจนกว่าจะถึงเวลานัดครั้งต่อไป นับเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพูดคุยกับคุณหมอทันทีหากเกิดปัญหา ถ้าคิดว่าลูกน้อยมีพัฒนาการที่ไม่ปกติ ควรจดสัญญานที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลเอาไว้ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32 เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะเลียนแบบพฤติกรรม ดังนั้น ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบข้างทำอะไร ลูกน้อยจะจดจำและค่อย ๆ ทำตาม รวมทั้งเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลทำความสะอาดสุขภาพช่องปากและฟันให้ลูกน้อยเพื่อสุขอนามัยที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร อารมณ์ของลูกจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าสามารถเรียนรู้ที่จะชื่นชม เลียนแบบความรู้สึก และอาจแสดงออกถึงความเห็นใจได้เป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกน้อยได้ยินเสียงคนร้องไห้ เขาก็อาจจะเริ่มร้องไห้ตาม ถึงแม้ว่าเขาจะเพิ่งเริ่มเรียนรู้ความรู้สึกของตัวเอง แต่เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งในอนาคตลูกน้อยก็จะสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติต่อผู้คนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในสัปดาห์ที่ 32 เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน เปลี่ยนจากท่าคลานเป็นท่านั่ง เล่นตบมือและโบกมือบ๊ายบาย เก็บวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เข้าปาก ทำการสำรวจรอบบ้านของตัวเอง เรียก “แม่” หรือ “พ่อ” อยู่ตลอดเวลา ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในกรณีที่ลูกน้อยนอนห้องแยกต่างหาก พวกเขาอาจเกิดความกลัวที่จะต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ในเวลากลางคืน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้เวลาอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟังมากขึ้น กอด หรือเปิดเพลงกล่อมเด็กให้ฟังก่อนนอนจนลูกน้อยรู้สึกสบายใจ เพราะการทำแบบนี้เป็นประจำจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย และนอนหลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรเวลาในการทำงานบ้าน และการเลี้ยงลูกให้สมดุล ที่สำคัญงานทั้งหมดในห้องนอนลูกควรทำให้เสร็จเพื่อเตรียมพร้อมให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างสบาย นอกจากนั้น ควรสอนให้ลูกน้อยรู้ว่า ห้องนอนใช้สำหรับการนอน ไม่ควรใช้เล่นไล่จับกันก่อนนอน สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง ในขณะเดียวกัน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 คือ ช่วงที่เด็กกำลังพยายามเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืน การเดิน การบอกความต้องการของตัวเองด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการร้องไห้ รวมถึงอาจมีพัฒนาการด้านภาษา ซึ่งในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย รวมถึงช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และอย่าปล่อยให้พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจ การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 48 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงสัปดาห์ที่ 48 หากเด็กยังเดินไม่ได้ ก็มีแนวโน้มจะเดินได้ด้วยตัวเองในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นกังวล พราะเด็กส่วนใหญ่อาจเริ่มเดินในช่วงเดือนที่ 16-17 พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 48 ยืนได้ด้วยตัวเอง เดินได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ด้วยวิธีอื่นแทนที่จะร้องไห้ เล่นลูกบอลได้ และสามารถกลิ้งลูกบอลกลับไปหาคุณพ่อคุณแม่ได้ ดื่มจากแก้วได้ด้วยตัวเอง ใช้ภาษาเฉพาะสำหรับเด็ก เช่น การพูดเจื้อยแจ้วที่มีเสียงเหมือนกำลังพูดภาษาต่างประเทศอยู่ ทำตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องใช้ท่าทาง พูดได้อีก 2-3 คำนอกเหนือจากคำว่า มาม๊า ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และอย่าปล่อยให้พวกเขารู้สึกไม่ได้รับความสนใจ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังอาจช่วยส่งเสริมทักษะการเดินให้แก่เด็กได้ด้วยการยืนหรือคุกเข่าอยู่ตรงหน้าแล้วรอให้เด็กเดินมาหา หรือจับมือไว้ทั้ง 2 ข้างแล้วให้เด็กเดินมาหาก็ได้เช่นกัน โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มเดินด้วยท่าทางที่กางแขนทั้ง 2 ข้างออกและงอข้อศอก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47 หรือประมาณ 11 ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการสอนให้ลูกช่วยเหลือหรือทำงานเล็ก ๆ บางอย่าง เช่น ช่วยหยิบของ ช่วยเก็บของ เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้และช่วยพัฒนาการสื่อสารของลูก อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการออกคำสั่งที่ใช้คำรุนแรง แต่ควรใช้เป็นวิธีการขอร้อง เพื่อให้เด็กรู้สึกดีและอยากทำตามมากกว่า [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 47  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่าง  ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 47 หยิบจับสิ่งของเล็ก  ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่น  ๆ ได้ จึงควรเก็บข้าวของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก สามารถยืนด้วยตัวเองได้ชั่วขณะ พูดคำว่า “มาม๊า” โดยรู้ความหมาย พูดคำอื่นนอกเหนือจากคำว่า “มาม๊า” ได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เนื่องจากตอนนี้ลูกน้อยเริ่มรับรู้สิ่งรอบตัวได้แล้ว จึงเป็นช่วงที่เหมาะจะเริ่มสอนลูกให้ช่วยทำโน่นทำนี่ และควรย้ำคำว่า “ได้โปรด” และ “ขอบ” แม่อาจหาวิธีเปลี่ยนการทำความสะอาดธรรมดาให้กลายเป็นเกมส์แสนสนุก ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะยังไม่เข้าใจ ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ก็ไม่ถือว่าเร็วเกินไปที่จะเริ่มสอนลูก แม่อาจเริ่มจาก การแบ่งภารกิจออกเป็นงานเล็ก  ๆ ซึ่งแม่ต้องคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิดขณะที่ลูกทำความสะอาด อาจสอนให้ลูกรู้จักสิ่งของแต่ละชนิดว่าอะไรคืออะไรไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น หมั่นพูดคุยกับลูกพร้อมบอกว่าอะไรเป็นอะไร เช่น ในขณะขึ้นบันได ก็ชวนลูกนับว่าบันไดมีกี่ขั้น บอกสีและชื่อของผลไม้และพืชผักในซุปเปอร์มาร์เก็ต อ่านหนังสือภาพให้ลูกฟัง […]


การเติบโตและพัฒนาการ

รองเท้าเด็ก ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับลูกน้อยวัยหัดเดิน

รองเท้าเด็ก สำหรับวัยเริ่มหัดเดินควรเป็นรองเท้าที่สวมใส่สบายและมีขนาดเหมาะสมกับขนาดของเท้าลูกน้อย เพราะการสวมรองเท้านับเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับลูกน้อย และส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย รองเท้าเด็กที่เหมาะสมจะช่วยให้ลูกน้อยยืน เดิน วิ่ง ได้อย่างปลอดภัย  คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะรูปร่างของเท้าลูกน้อย หากพบว่ามีลักษณะผิดปกติ หรือลูกอายุ 2 ขวบแล้วยังไม่เดิน ควรไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อแก้ไขปัญหารูปร่างเท้าผิดปกติ รวมทั้งปัญหาด้านพัฒนาการ [embed-health-tool-vaccination-tool] เท้าของวัยเตาะแตะ เท้าของมนุษย์ประกอบด้วยกระดูก 26 ชิ้นและข้อต่อ 35 ข้อต่อ และเส้นเอ็นที่เท้า ซึ่งเท้าของเด็กจะห่มหุ้มด้วยไขมันและมีความยืดหยุ่นสูงมาก เด็กส่วนใหญ่ที่มีพัฒนาการปกติจะเริ่มเดินในช่วงวัย 8-18 เดือน และเดินได้คล่องในวัย 14-15 เดือน เด็กวัยเตาะแตะส่วนใหญ่จะมีเท้าแบน หรือเท้าโค้งเข้า ในช่วงที่เริ่มหัดเดิน เพราะว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความแข็งของเส้นเอ็นกำลังพัฒนา และจะค่อยๆ แข็งแรงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น คำแนะนำในการเลือกซื้อ รองเท้าเด็ก ถ้าจะเลือกซื้อรองเท้า สำหรับวัยเตาะแตะ พ่อแม่ควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ สวมใส่สบาย ขนาดพอดีทั้งความกว้างและความยาว มีพื้นที่ตรงนิ้วเท้า ไม่คับแน่นจนเกินไป พื้นรองเท้ายืดหยุ่นและแบน ควรตรวจสอบว่าลูกสามารถงอเท้าได้มากน้อยแค่ไหน ปลายเท้ากว้างกว่าส้นเท้า เพื่อให้เข้ากับรูปเท้าตามธรรมชาติ ตรวจสอบเชือกรองเท้า สายรัด หรือเทปตีนตุ๊กแก ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ และดูแผ่นรองเท้า เพื่อป้องกันการลื่นด้านในรองเท้า ก่อนซื้อรองเท้าควรให้ลูกลองเดินไปรอบๆ ว่าสวมใส่แล้วสะดวกสบายหรือเปล่า รองเท้าเด็ก เลือกแบบไหนดีกว่ากัน คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ ประกอบการตัดสินใจ เวลาเลือกซื้อรองเท้าเด็ก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกเป็นแผลในปาก เกิดจากการที่ผู้ใหญ่หอมแก้มได้หรือไม่

ทารกเป็นแผลในปาก คือ อาการที่ทารกมีแผลอยู่ในปาก แผลอาจจะมีลักษณะเป็นวงกลม หรือเป็นตุ่มขาว และทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด จนบางไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มนมได้ มักเกิดจาการติดเชื้อไวรัสบางชนิดอย่างไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริม โดยมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อมาหอมแก้มหรือสัมผัสทารก คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากได้ สัญญาณและอาการแผลในปากของทารก แผลในปากของทารก มักจะมีลักษณะเป็นวงกลม เป็นตุ่มขาวภายในช่องปาก รวมทั้งเป็นแผลบนริมฝีปาก ภายในกระพุ้งแก้ม หรือเป็นแผลภายในช่องปาก บนเหงือกและบนลิ้น ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะเวลาดื่มนมหรือรับประทานอาหารที่มีรสจัดเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือแสบบริเวณแผลได้ ทำให้ในบางครั้งทารกไม่ยอมดื่มนมและร้องไห้ไม่หยุดเพราะความเจ็บปวด หากพบว่าทารกมีแผลในปากควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน สาเหตุที่ทำให้ ทารกเป็นแผลในปาก แผลในปากของเด็กทารกสามารถเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริมได้ ซึ่งอาจติดเชื้อมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อไวรัสชนิดนี้หอมแก้มหรือมาสัมผัสผิวหนัง นอกจากนั้น การที่ทารกเป็นแผลในปาก อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ ความเหนื่อยล้า หากทารกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารโดยได้สารอาหารไม่ครบถ้วนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนเกิดเป็นแผลในปากได้ง่าย ความเครียดและความกังวล การเคี้ยวหรือกัดกระพุ้งแก้มตัวเองโดยไม่ตั้งใจ อาจทำให้เกิดเป็นแผลในปากได้ด้วย ใช้แปรงสีฟันที่ไม่เหมาะกับวัย จนทำให้เนื้อเยื่อภายในช่องปากของทารกเกิดความเสียหาย บาดเจ็บเนื่องจากนำวัตถุบางอย่างที่มีคมหรือเป็นอันตรายเข้าปาก แผลในปากของเด็ก ๆ คล้ายของผู้ใหญ่ ที่เมื่อเป็นแล้วก็จะหายได้ภายในเวลาไม่นาน แต่ทั้งนี้ ทารกควรได้รับการรักษาจากคุณหมอเนื่องจากผิวที่บอบบางและภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดีนักอาจติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

เลือกโรงเรียนอนุบาล ให้ลูก พ่อแม่ต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง

เมื่อถึงเวลาที่ต้อง เลือกโรงเรียนอนุบาล คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลใจว่าควรเลือกอย่างไร ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนให้มากที่สุดเพื่อการตัดสินใจ เพราะการเลือกโรงเรียนอนุบาลนับเป็นก้าวสำคัญต่อเด็ก ครูและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนอนุบาลย่อมส่งผลต่อพัฒนาการ การเติบโต ทัศนคติ การหล่อหลอมให้เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมา หากทราบว่าปัจจัยในการเลือกโรงเรียนอนุบาลมีอะไรบ้าง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การ เลือกโรงเรียนอนุบาล ดูจากอะไรบ้าง เมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องการเลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูก อันดับแรกควรทราบข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนที่สนใจโดยสามารถเข้าเว็บไซต์ของโรงเรียน เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนอนุบาล หรือจะโทรไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ไปเยี่ยมชมโรงเรียนเพื่อไปเห็นสถานที่จริง และคุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามข้อมูลเหล่านี้ให้ชัดเจน ได้แก่ แผนการเรียนการสอน ช่องทางการติดต่อสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าเทอม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รายชื่อบุคคลที่สามารถติดต่อได้ ในกรณีที่ข้อร้องเรียน หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับโรงเรียน ความปลอดภัยในด้านร่างกายและทรัพย์สินของเด็กนักเรียนมีมากน้อยแค่ไหน จำนวนบุคลากรเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนหรือไม่ โรงเรียนมีความสะอาดดีพอได้มาตรฐานหรือไม่ สถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปเหมาะสมกับเด็กหรือไม่ คำถามที่ควรถามเวลาที่ต้อง เลือกโรงเรียนอนุบาล มีคำถามมากมายที่ควรตอบให้ได้ ก่อนที่จะเลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูก โดยแบ่งคำถามออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้ 1. ประเภทของโรงเรียน โรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนรัฐบาล แล้วแต่ละโรงเรียนมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบหรือเปล่า รวมถึงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงอีกไหม เช่น ค่าใช้จ่ายในแต่ละเทอม โรงเรียนเดียวกับที่พ่อแม่เคยเรียน หรือโรงเรียนอื่น เป็นโรงเรียนประจำ หรือเป็นโรงเรียนที่เกี่ยวกับทางศาสนาหรือเปล่า จะให้เรียนแบบโฮมสคูล หรือเรียนที่โรงเรียน 2. ความสะดวกในการไปโรงเรียน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

แผลในปาก เกิดจากอะไร และวิธีดูแลเมื่อ ลูกเป็นแผลในปาก

แผลในปาก เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อาจเกิดจากการกัดริมฝีปาก การแปรงฟันและเหงือกแรงเกินไปจนทำให้เนื้อเยื่อในปากเสียหาย หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคมือเท้าปาก การติดเชื้อราในปาก แผลในปากอาจมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย บวมนูนแดง และมีอาการเจ็บ จนอาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว เจ็บปวด จนร้องไห้ออกมา หากพบว่าเด็กมีแผลในปาก ควรรีบดูแลรักษาให้หายโดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพร้ายแรง [embed-health-tool-vaccination-tool] แผลในปาก คืออะไร แผลในปาก คือ อาการที่เนื้อเยื่อเสียหายจนมักมีสีผิดปกติ อาจมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย บวมนูนแดง มีอาการเจ็บแสบ จนอาจทำให้เด็กมีอาการไม่สบายตัว เจ็บปวด จนร้องไห้ออกมา หรืออาจทำให้กินอาหารลำบาก หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เด็กกินอาหารได้น้อยลงจนเสี่ยงขาดสารอาหารได้ แผลในปาก เกิดจากอะไร แผลในปากเด็กอาจมีสาเหตุมาจากการกัดริมฝีปาก หรือการแปรงฟันและเหงือกแรงเกินไป จนทำให้เนื้อเยื่อในปากเสียหาย การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราก็สามารถทำให้เกิดแผลในปากได้ นอกจากนี้ แผลในปากอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเพนิซิลลามิน (Penicillamine) ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) รวมถึงเกิดจากการวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 วิตามินบี 9 หรือโฟเลต สำหรับเด็กที่ฟันเพิ่งขึ้น เวลาเด็กดูดนมหรือรับประทานอาหาร อาจทำให้ฟันที่เพิ่งขึ้นใหม่ไปขบกับริมฝีปากจนทำให้มีแผลในปากได้เช่นกัน อาการของแผลในปากชนิดต่าง ๆ ที่ควรรู้ ปัญหาสุขภาพในเด็กที่อาจทำให้เด็กมีแผลในปาก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน