สุขภาพคุณแม่

"นับตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจจะทุ่มเทเวลาและแรงใจทั้งหมดที่มี เพื่อดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพดี แต่ สุขภาพคุณแม่ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน ได้ที่นี่ "

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพคุณแม่

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ สุขภาพคุณแม่

สุขภาพจิตคุณแม่

อาการหลังลูกหลุด สาเหตุ และวิธีดูแลสุขภาพของคุณแม่

อาการหลังลูกหลุดจากการแท้งลูก นอกจากอาการทางกายอย่างเลือดออกจากช่องคลอด รู้สึกไม่สบายตัวแล้ว ยังอาจมีอาการทางจิตใจเนื่องจากความเสียใจจากการสูญเสียทารกในครรภ์ก่อนถึงวันกำหนดคลอด อาจส่งผลให้ นอนไม่หลับ ฝันร้าย เบื่ออาหาร ซึมเศร้า จนอาจนำไปสู่ความคิดอยากทำร้ายตัวเองได้ ดังนั้น คนรอบข้างจึงควรดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจนำไปสู่การสูญเสียมากกว่าเดิม สาเหตุที่ทำให้ลูกหลุด สาเหตุที่ทำให้ลูกหลุด ซึ่งมักพบได้ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ อาจมาจากปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ ปัญหาโครโมโซมผิดปกติ โครโมโซมหรือสารพันธุกรรมมีความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเซลล์ของร่างกาย อวัยวะเเละโครงสร้างระบบต่างๆ สีดวงตา สีผิวของทารก แต่หากโครโมโซมมีความผิดปกติ อาจทำให้ร่างกายทารกไม่สามารถพัฒนาได้ตามปกติ จนนำไปสู่การแท้งบุตรหรือทำให้ลูกหลุด ปัญหาเกี่ยวกับรก เนื่องจากรกเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงระหว่างคุณแม่และทารก มีหน้าที่คอยรับเลือดและสารอาหารจากคุณแม่ส่งต่อสู่ลูก หากรกมีปัญหา เช่น รกเกาะต่ำ รกมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กผิดปกติ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งลูกได้ ปากมดลูกอ่อนแอ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การผ่าตัดบริเวณปากมดลูก เคยมีการถ่างขยายปากมดลูกมาก่อน ความผิดปกติของคอลลาเจลที่ปากมดลูก การบาดเจ็บที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณปากมดลูกอ่อนแรง จนอาจทำให้ปากมดลูกเปิดขยายเร็วจนเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ และส่งผลให้แท้งลูก ความผิดปกติของมดลูก เช่น มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ เนื้องอกในมดลูก อาจพบได้ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

น้ำคาวปลา กี่วันหมด และวิธีการดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลา กี่วันหมด อาจเป็นคำถามที่คุณแม่หลังคลอดหลายคนสงสัย โดยปกติน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ หมดไปเมื่อแผลบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกค่อย ๆ สมานตัว ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของคุณแม่หลังคลอดด้วย [embed-health-tool-due-date] น้ำคาวปลา คืออะไร กี่วันหมด น้ำคาวปลา คือ ของเหลวที่ถูกขับออกหลังคลอดประกอบด้วยเลือด เนื้อเยื่อที่หลั่งออกจากเยื่อบุโพรงมดลูกและแบคทีเรีย ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีปริมาณมาก มีสีแดงสดเนื่องจากมีเลือดผสมอยู่มากและมีลิ่มเลือดเล็ก ๆ ไหลออกมาทางช่องคลอด หลังจากผ่านไปประมาณ 10 วัน แผลบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกจะค่อย ๆ ลดขนาดลง น้ำคาวปลาและเลือดก็จะค่อย ๆ ลดปริมาณลงและอาจเปลี่ยนเป็นสีชมพู สีน้ำตาล สีครีมหรือสีเหลือง โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ น้ำคาวปลาก็จะหมดไป วิธีดูแลตัวเองขณะมีน้ำคาวปลา หลังจากคลอดบุตรควรใช้ผ้าอนามัยแผ่นใหญ่ชนิดหนา หรือผ้าอนามัยแบบกางเกงเพื่อรองรับเลือดและน้ำคาวปลาที่ไหลออกมามากในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด เมื่อเวลาผ่านไปและปริมาณน้ำคาวปลาเริ่มลดลง คุณแม่สามารถเปลี่ยนมาใช้ผ้าอนามัยแผ่นเล็กลงได้ แต่ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อในช่องคลอดและอาจทำให้มดลูกกลับมาเป็นปกติช้าลง นอกจากนี้ คุณแม่ควรปัสสาวะให้บ่อยขึ้นแม้ว่าจะไม่รู้สึกปวดปัสสาวะก็ตาม โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด คุณแม่อาจรู้สึกปวดปัสสาวะน้อยลงถึงแม้ว่ากระเพาะปัสสาวะจะเต็ม และหากปล่อยให้กระเพาะเต็มบ่อย ๆ อาจทำให้มดลูกหดตัวได้ยากขึ้น […]


สุขภาพคุณแม่

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง มีอะไรบ้าง

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง อาจช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งเป็นอาการแพ้ท้องที่พบบ่อยที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ที่มักเกิดจากการกระตุ้นด้วยกลิ่น รสชาติ สภาพอากาศ หรืออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ การรักษาอาการแพ้ท้องและการดูแลตัวเองจึงอาจช่วยบรรเทาอาการได้ อาการแพ้ท้อง อาการแพ้ท้องเป็นอาการที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก แต่บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องได้ตลอดการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการที่อาจพบบ่อย คือ คลื่นไส้และอาเจียน มักเกิดจากการได้กลิ่นและการรับรสชาติบางอย่าง เช่น อาหาร น้ำหอม ความร้อน หรืออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น อาการแพ้ท้องจะค่อย ๆ ดีขึ้นประมาณช่วงกลางถึงปลายไตรมาสที่สอง แม้อาการแพ้ท้องอาจจะไม่รุนแรง แต่อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง หรือส่งผลให้น้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ลดลง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum หรือ HG) อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและรักษาด้วยการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ วิธีแก้อาการแพ้ท้อง วิธีแก้อาการแก้ท้องอาจสามารถทำได้ด้วยการรักษาและการดูแลตัวเอง ดังนี้ วิธีการแก้อาการแพ้ท้องโดยคุณหมอ อาจยังไม่มีการรักษาอาการแพ้ท้องที่ได้ผลและหายอย่างรวดเร็ว แต่คุณหมออาจแนะนำวิธีช่วยให้แพ้ท้องน้อยลงได้ ดังนี้ การรับประทานยาและอาหารเสริม ไพริดอกซิน (Pyridoxine) วิตามินบี 6 ประมาณ 50 มิลลิกรัม/วัน ยาด็อกซิลามีน (Doxylamine) อาจช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน หากมีอาการรุนแรงจนร่างกายขาดน้ำและแร่ธาตุ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม คุณหมออาจให้น้ำเกลือและยาแก้แพ้ท้องโดยเฉพาะ การฝังเข็ม เป็นการฝังเข็มเข้าไปในผิวหนัง อาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทั้งนี้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่ชัดว่าช่วยรักษาอาการแพ้ท้องได้ผลหรือไม่ อาหารเสริมสมุนไพร […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แผลคลอดธรรมชาติกี่วันหาย

แผลคลอดธรรมชาติกี่วันหาย และการฟื้นตัวภายหลังแผลคลอดธรรมชาติใช้เวลานานเท่าไหร่ อาจเป็นคำถามที่พบได้บ่อยของคุณแม่ใกล้คลอดหรือเพิ่งคลอดใหม่ ๆ โดยปกติแล้ว การคลอดธรรมชาติอาจใช้เวลาในการฟื้นตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์ และแผลจะเริ่มหายสนิทเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับการดูแลแผลและการดูแลตัวเองของแต่ละคนด้วย หากดูแลแผลไม่ดีอาจทำให้แผลฉีกขาด มีเลือดออกมากและแผลหายช้าได้ แผลคลอดธรรมชาติกี่วันหาย การคลอดแบบธรรมชาติอาจทำให้เกิดบาดแผลบริเวณระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก เนื่องจากเมื่อตัวทารกเคลื่อนออกมา ผิวหนังบริเวณช่องคลอดจะขยายออกและฉีกขาด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างคลอด และหลังจากการคลอดอาการปวดอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากคุณหมออาจจำเป็นต้องกรีดบริเวณระหว่างช่องคลอดและทวารหนักเพื่อขยายช่องให้ทารกสามารถออกมาได้ง่ายขึ้น สำหรับแผลคลอดธรรมชาติกี่วันหายนั้น โดยปกติหลังจากคุณหมอเย็บแผลหลังคลอด คุณแม่อาจต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ และหลังจากกลับบ้านอาจต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ในการสมานแผลให้ติดกัน และการคลอดธรรมชาติอาจต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ร่างกายถึงจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติ การดูแลแผลคลอดธรรมชาติ หลังจากการคลอดธรรมชาติคุณแม่หลายคนอาจมีอาการเจ็บปวดแผล โดยวิธีเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการได้ การอยู่ไฟ เป็นวิธีที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ขับน้ำคาวปลา บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น และป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมา เช่น อาการชาที่มือและเท้า อาการหนาวสะท้าน ผิวบวมช้ำ โดยใช้เวลาประมาณ 7-15 วัน วันละประมาณ 6-7 ชั่วโมง ไม่ควรออกไปข้างนอก เพราะอาจทำให้ร่างกายปรับสมดุลไม่ทันส่งผลให้เจ็บป่วยได้ ซึ่งการอยู่ไฟอาจมีต่าง ๆ ดังนี้ การนวดประคบ คือ การนำสมุนไพรต่าง ๆ เช่น […]


สุขภาพคุณแม่

ทำไมต้อง ตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง

การตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้างออกเป็นการรักษาที่ต้องได้รับการพิจารณาจากคุณหมอ ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือกเมื่อปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยมีความรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซีสต์หรือเนื้องอก มะเร็งรังไข่ สาเหตุที่ต้องตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง การตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง อาจทำได้ในกรณีที่ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง ที่ผ่านการพิจารณาจากคุณหมอแล้วว่าจำเป็นต้องตัดมดลูกและรังไข่ออกเพื่อทำการรักษาโรค มีหลายสาเหตุดังนี้ การตั้งครรภ์นอกมดลูก มีการตั้งครรภ์อยู่บริเวณอื่นนอกโพรงมดลูก ส่วนใหญ่พบในบริเวณท่อนำไข่ และบริเวณอื่น เช่น ปากมดลูก รังไข่ หรือในช่องท้อง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกเหนือจากภายในโพรงมดลูก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนที่รุนแรงมากขึ้น ซีสต์หรือเนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็ง เป็นก้อนเนื้อ ก้อนซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่ที่เจริญเติบโตขึ้นแต่ไม่กลายเป็นมะเร็ง อาจทำให้มีอาการปวดท้องรุนแรงเมื่อมีประจำเดือน การมีฝีหรือถุงหนองร้ายแรงเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่  อาจเกิดจากปีกมดลูกอักเสบ การติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน ซึ่งส่งผลให้เกิดถุงหนองที่ท่อนำไข่หรือท่อรังไข่ การกลายพันธุ์ของยีน BRCA เป็นยีนหรือพันธุกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งการกลายพันธุ์จะทำให้ดีเอ็นเอของมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ การลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ดังนั้น การตัดรังไข่ออกอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ในผู้หญิงที่มียีน BRCA1 หรือ BRCA2 ผิดปกติ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease […]


สุขภาพคุณแม่

ตกขาวสีเหลืองขณะตั้งครรภ์ เกิดจากสาเหตุอะไร

ตกขาวสีเหลืองขณะตั้งครรภ์ เป็นอาการตกขาวที่อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียและปรสิต เช่น โรคหนองใน หนองในเทียม การติดเชื้อราในช่องคลอด ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย และโรคพยาธิในช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้มีอาการคัน แสบร้อนช่องคลอด เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยได้เช่นกัน [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] สาเหตุของตกขาวสีเหลืองขณะตั้งครรภ์ ตกขาวสีเหลืองขณะตั้งครรภ์ อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุดังนี้ ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากความผิดปกติของแบคทีเรียในช่องคลอด ซึ่งตามปกติในช่องคลอดจะมีแบคทีเรียแลคโตบาซิลไล (Lactobacilli) ที่ทำให้ช่องคลอดมีภาวะเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นภาวะที่ปกติ แต่หากแบคทีเรียแลคโตบาซิลไลลดลงจะทำให้ ภาวะกรดด่างในช่องคลอดเสียสมดุล เมื่อแบคทีเรียมีจำนวนเพิ่มมากเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบและมีอาการคัน อักเสบ แสบร้อน และตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาการของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ตกขาวมีกลิ่นคาวรุนแรง โดยเฉพาะหลังมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือสีเขียว และอาจเป็นฟอง แสบช่องคลอดเมื่อปัสสาวะหรือเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ คันในช่องคลอดและด้านนอกอวัยวะเพศ ความเสี่ยงของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้ คลอดก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นการติดเชื้อในมดลูกที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ การรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียขณะตั้งครรภ์ คุณหมออาจทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์การใช้ยาอาจส่งผลเสียต่อช่องคลอดและทารกในครรภ์ได้ คุณหมอจึงอาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกอย่างธาตุเหล็ก สังกะสี และแมงกานีส เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

น้ำนมน้อย เกิดจากอะไร และมีวิธีเพิ่มน้ำนมอย่างไรบ้าง

น้ำนมของคุณแม่มีประโยชน์ต่อทารกแรกเกิดอย่างมาก เนื่องจากมีสารอาหารที่อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกแรกเกิดสามารถต่อสู้กับไวรัส แบคทีเรีย ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและการเกิดโรคในทารก เช่น โรคภูมิแพ้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางรายอาจประสบปัญหา น้ำนมน้อย ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของทารกได้ การเรียนรู้สาเหตุที่ทำให้น้ำนมน้อย และวิธีกระตุ้นน้ำนม อาจทำให้ทารกมีน้ำนมแม่กินอย่างเพียงพอ และช่วยส่งเสริมให้ทารกเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย [embed-health-tool-due-date] คุณแม่มีน้ำนมน้อย เกิดจากอะไร ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่มีน้ำนมน้อย อาจเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด เนื่องจากคุณแม่อาจนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเครียดมากขึ้น ส่งผลให้มีน้ำนมน้อย อีกทั้งการอดอาหารก็อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้น้อย และทารกไม่ได้รับสารอาหารจากนมแม่อย่างเพียงพอ คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้เพียงพอต่อวัน โดยเน้นอาหารเพื่อสุขภาพที่ให้ทั้งพลังงานและสารอาหารที่หลากหลาย เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมูและเนื้อวัวไขมันต่ำหรือไร้ไขมัน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ไข่ นมและผลิตภัณฑ์นม ข้าวกล้อง ผักใบเขียว บลูเบอร์รี่ ส้ม และควรดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้น้ำนมน้อยได้ เช่น การสูบบุหรี่ การใช้สมุนไพรและยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ภาวะเลือดออกรุนแรงหลังคลอด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ขั้นตอนการอยู่ไฟหลังคลอด และข้อควรระวัง

อยู่ไฟหลังคลอด เป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทยโบราณ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในวิธีการช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของคุณแม่หลังจากคลอดลูก โดยในปัจจุบันมีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างออกไปจากสมัยก่อน และสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรอยู่ไฟหลังคลอดขณะมีไข้สูงหรืออ่อนเพลียมาก เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งควรทำการอยู่ไฟภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ [embed-health-tool-due-date] อยู่ไฟหลังคลอด คืออะไร อยู่ไฟหลังคลอด คือ การช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อ่อนล้าของคุณแม่ตั้งครรภ์หลังคลอดบุตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการใช้ความร้อนและสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อยจากการตั้งครรภ์มาเป็นระยะเวลา 9 เดือน  ในสมัยก่อน ผู้หญิงหลังคลอดต้องนอนบนกระดาน เอากองถ่านร้อน ๆ มาวางไว้ข้างเตียงในห้องปิดมิดชิดไม่มีที่ระบายอากาศ ซึ่งในปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องอยู่ภายในกระโจมหรือกระท่อมเพื่ออยู่ไฟ แต่อาจนำสมุนไพรไทยไปต้มน้ำเพื่อให้ได้ไอความร้อน และตั้งสมุนไพรที่ต้มแล้วไว้ใกล้ตัวในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางไว้บริเวณหน้าท้อง อย่างไรก็ตาม การอยู่ไฟหลังคลอดอาจให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายคุณแม่หลังคลอดในระยะยาวด้วย เช่น อาจช่วยลดความรู้สึกหนาวสั่นในกระดูก และระบายของเสียที่สะสมอยู่ในร่างกาย ระยะเวลาการอยู่ไฟหลังคลอด หากผู้ที่คลอดตามธรรมชาติควรอยู่ไฟหลังคลอดไปแล้วประมาณ  7 วัน แต่ไม่เกิน 3 เดือน แต่สำหรับผู้ที่ผ่าคลอดควรทำในช่วงหลังคลอดประมาณ 1 เดือน โดยควรทำหลังจากที่แผลผ่าตัดหายดีแล้ว เนื่องจากหากแผลยังไม่หายดีอาจเกิดการอักเสบของแผล ทำให้แผลเปิดและติดเชื้อได้ แต่ไม่เกิน 3 เดือนเช่นกัน และควรอยู่ไฟทุกวันติดต่อกันประมาณ 5-10 วัน  วิธีการทำอยู่ไฟหลังคลอด  โดยการอยู่ไฟหลังคลอดนั้น อาจทำด้วยวิธีดังนี้  การนวดและประคบสมุนไพร ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยร่างกาย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงอาจช่วยประคบรอบ ๆ เต้านม […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

การดูแล แผลผ่าคลอด ให้ปลอดภัย ไร้แผลเป็น

การผ่าคลอด คือการผ่าตัดบริเวณหน้าท้องส่วนล่างเพื่อนำทารกออกมาจากท้องคุณแม่ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งหากคุณแม่ไม่ต้องการหรือไม่สามารถคลอดบุตรแบบธรรมชาติได้  หลังจากผ่าคลอดเสร็จสิ้น คุณแม่ควรดูแล แผลผ่าคลอด ตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ด้วยการทำความสะอาดแผลอย่างถูกวิธี และไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกายมากเพราะอาจส่งผลให้แผลเปิด เสี่ยงการติดเชื้อได้ง่าย [embed-health-tool-due-date] ลักษณะของแผลผ่าคลอด แผลผ่าคลอด มีลักษณะเป็นรอยแผลยาวแนวนอนบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง หรือแนวตั้งจากสะดือถึงหน้าท้องส่วนล่าง ซึ่งอาจมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร สาเหตุที่คุณหมอจำเป็นต้องกรีดแผลยาวเพื่อจะได้นำทารกออกจากท้องคุณแม่ได้ง่ายขึ้น แผลผ่าคลอดอาจใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์กว่าจะหาย หรือในบางกรณีอาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าดูแลและทำความสะอาดแผลได้ถูกต้องตามคำแนะนำของคุณหมอหรือไม่ แผลผ่าคลอดถือเป็นแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ที่อาจเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย คุณแม่จึงควรสังเกตอาการผิดปกติเป็นประจำ หากแผลแย่ลงหรือมีอาการอื่น ๆ ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าคลอด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังผ่าคลอด อาจมีดังนี้ เลือดออกจากช่องคลอด เป็นภาวะปกติที่อาจมีเลือดออกบริเวณมดลูก ควรใช้ผ้าอนามัยเพื่อป้องกันเลือดซึมเปื้อนเสื้อผ้า และควรหลีกเลี่ยงการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ กรณีที่มีเลือดออกรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อทำให้เลือดหยุดไหล การติดเชื้อ การติดเชื้อทั่วไปอาจส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บปวด แผลบวม มีรอยแดง และมีหนองไหล แต่หากเกิดการติดเชื้อในเยื่อบุมดลูก อาจมีไข้ขึ้น ปวดท้อง มีตกขาวและเลือดออกทางช่องคลอด แต่ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบบใดก็ควรรับการตรวจจากคุณหมอทันที เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้นได้ อาการปวด คุณแม่อาจรู้สึกปวดบริเวณแผลผ่าคลอด โดยเฉพาะเมื่อแผลได้รับแรงสั่นสะเทือนจากการหัวเราะ การไอ เป็นต้น ลิ่มเลือดอุดตัน เป็นอาการที่พบได้ยาก แต่อาจส่งผลให้คุณแม่บางคนมีลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขาจนทำให้ขาปวดบวม หากปล่อยไว้นาน […]


สุขภาพคุณแม่

อาหารที่คนท้องห้ามกิน มีอะไรบ้าง

อาหารที่คนท้องห้ามกิน หมายถึง อาหารที่มีส่วนผสมหรือสารประกอบบางอย่างที่อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น เครื่องดื่มคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารทะเลบางชนิด ไข่ดิบ รวมทั้งผักดิบบางชนิด อาหารที่ปรุงไม่สุก เพราะอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้  [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] อาหารที่คนท้องห้ามกิน มีอะไรบ้าง อาหารที่คนท้องห้ามกิน หรือควรหลีกเลี่ยง มีดังต่อไปนี้ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะการรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อาจทำให้เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ทารกอาจพิการทางสติปัญญา หรือพิการแต่กำเนิด สำหรับคาเฟอีนอาจดื่มได้ประมาณวันละ 100-200 มิลลิกรัม แต่ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร อาหารทะเลบางชนิด เช่น หอย ปลาอินทรี เพราะอาจมีสารปรอทปนเปื้อนในระดับสูง จึงอาจส่งผลเสียต่อระบบประสาทส่วนกลางของทารกในครรภ์ได้ นมและชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ เช่น ชีสเม็กซิกัน เฟตาชีส กามองแบร์ชีส บลูชีส เพราะอาจเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย จนทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ไข่ดิบ เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella) ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นทารกเสียชีวิตในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานไข่ที่ปรุงสุก และเลือกซื้อไข่ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองความปลอดภัย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม