สุขภาพคุณแม่

"นับตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจจะทุ่มเทเวลาและแรงใจทั้งหมดที่มี เพื่อดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพดี แต่ สุขภาพคุณแม่ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน ได้ที่นี่ "

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพคุณแม่

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพคุณแม่ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพคุณแม่

สุขภาพจิตคุณแม่

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ กับสัญญาณเตือนที่คุณแม่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วงตั้งครรภ์นั้นเป็นช่วงเวลาที่มีอารมณ์หลากหลายมากมาย จนคุณแม่อาจจะรับมือไม่ทัน สาเหตุของอารมณ์ที่หลากหลาย อาจจะมากจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน แต่ถ้าหากเป็นอารมณ์แบบนี้นาน ๆ อาจจะดีต่อสุขภาพจิต ดังนั้น ลองมาดูกันว่าภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์มีอาการอย่างไร [embed-health-tool-”due-date”] คำจำกัดความภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ คือ ภาวะที่ส่งต่อทางอารมณ์ อาจทำให้รู้สึกเศร้า หดหู่ มีการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นไปในทางด้านลบ อารมณ์ที่มีการแปรปรวน อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ พบได้บ่อยแค่ไหน ช่วงเวลาการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีความสุข แต่ก็อาจจะเป็นช่วงเวลาที่มีความเครียดเหมือนกัน ซึ่งมีการวิจัยเผยว่า ผู้หญิงระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 7% นั้นมีภาวะซึมเศร้า โดยอาจมีอัตราสูงขึ้นตามแต่ละภูมิภาค หรือประเทศที่อยู่อาศัย อาการอาการของ ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ หรือแม้แต่คนในครอบครัวที่ควรสังเกตุอาการหรือสัญญาณ ดังต่อไปนี้ รู้สึกหดหู่ เศร้าหมองตลอดเวลา เกือบทุกวัน หรือเกือบทุกสัปดาห์ รู้สึกหงุดหงิด โกรธ วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน รู้สึกอยากร้องไห้โดยไม่มีเหตุผลที่แน่ชัด เริ่มมีปัญหากับการนอน เช่น การนอนเยอะ หรือน้อยเกินไป รวมไปถึงการรับประทานอาหารก็เช่นกัน กังวลไปก่อนว่าจะเลี้ยงลูกน้อยอย่างไร จะปกป้องได้หรือไม่ จะเป็นแม่ที่ดีได้หรือเปล่า และอื่น ๆ มีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งใด สิ่งหนึ่งได้ไม่นาน หรือสมาธิสั้นลง รู้สึกว่ากิจกรรมที่เคยทำ เคยชอบ ไม่สนุกสนานเหมือนเมื่อก่อน ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการที่แตกต่างออกไปและมีความกังวล ควรไปหาคุณหมอ เพื่อตรวจสอบ และปรึกษาเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ […]


สุขภาพจิตคุณแม่

คลอดลูกเจ็บไหม คำถามที่พบบ่อยของคนเป็นโรคกลัวการคลอดลูก

คลอดลูกเจ็บไหม เป็นหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยของผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์  ซึ่งความกลัวการคลอดลูกนั้นอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ และหลายปัจจัย แม้ว่าการคลอดลูกจะเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่คุณแม่รอคอยที่จะพบหน้าลูกน้อย ความกลัวนี้หากเป็นมากจะเข้าสู่โรคกลัวการคลอดลูก หรือโทโคโฟเบีย ดังนั้น คุณแม่ควรหาวิธีรับมือโรคกลัวการคลอดลูกว่าควรทำอย่างไร [embed-health-tool-due-date] คำจำกัดความ กลัวการคลอดลูก คืออะไร โรคกลัวการคลอดลูก หรือโทโคโฟเบีย (Tokophobia) คือ เป็นการตอบสนองทางด้านอารมณ์และความรู้สึกไม่สบายใจของคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอาการกลัวสุดขีดของการคลอด เหมือนกันกับการกลัวที่สูงหรือกลัวสิ่งต่าง ๆ  โดยโทโคโฟเบีย มี 2 ประเภท คือ “ประเภทปฐมภูมิ” เกิดขึ้นได้หากไม่เคยให้กำเนิดมาก่อน “ประเภททุติยภูมิ” เคยผ่านการคลอดลูกมาแล้วครั้งหนึ่งและเกิดความกลัวจากประสบการณ์ก่อนหน้านี้ โรคกลัวการคลอดลูก พบได้บ่อยแค่ไหน ความกลัวนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน จากข้อมูลของ National Comorbidity Survey Replication (NCS-R) พบว่าประมาณ 9.1% ของผู้หญิงที่อายุเกิน 18 ปีมักเกิดอาการหวาดกลัวการคลอด โดยโทโคโฟเบียสามารถพบได้ใน 6-10% ของผู้หญิงตั้งครรภ์ อาการ อาการของ กลัวการคลอดลูก โดยอาการของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่กลัวการคลอดลูกนั้นอาจมีความวิตกกังวล หรือจินตนาการไปต่าง ๆ นานา อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการนอน การกิน หรือส่งผลต่ออารมณ์ด้วย โดยอาการทั่วไปของกลัวการคลอด มีดังนี้ ตื่นตระหนก และวิตกกังวลมากขึ้น นอนไม่หลับ […]


สุขภาพจิตคุณแม่

ซึมเศร้าหลังแท้งลูก อาการและวิธีรับมือที่ควรรู้

ซึมเศร้าหลังแท้งลูก เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่สูญเสียลูกในครรภ์ และบางครั้งก็อาจส่งผลต่อคุณพ่อได้เช่นกัน การรับรู้อาการและวิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังแท้งลูกที่เหมาะสม อาจช่วยให้คุณแม่และคุณพ่อสามารถปรับความคิด จิตใจ และความรู้สึก ให้กลับสู่สภาวะที่ดีต่อสุขภาพได้เร็วขึ้น ซึมเศร้าหลังแท้งลูก คืออะไร ภาวะซึมเศร้าหลังแท้งลูก หมายถึงปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นหลังจากสูญเสียลูกในครรภ์ไป การสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันย่อมนำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจ บางคนอาจละทิ้งความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียและพร้อมเดินหน้าต่อได้ในทันที แต่บางคนก็อาจต้องการเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี กว่าจะสามารถทำใจยอมรับความสูญเสีย และกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติหรือมีประสิทธิภาพเท่าเดิมอีกครั้ง และในช่วงเวลาทำใจนี้ อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังแท้งลูกได้ ปัญหาซึมเศร้าหลังแท้งบุตร ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับคุณแม่เท่านั้น แต่อาจพบได้ในคุณพ่อด้วย มีงานศึกษาวิจัยที่พบว่า มีผู้ชายจำนวนไม่น้อยที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าหลังภรรยาแท้งลูก แต่ผู้ชายส่วนใหญ่อาจสามารถทำใจได้เร็วกว่าผู้หญิง ทำให้ดูเหมือนว่าปัญหาซึมเศร้าหลังแท้งบุตรไม่ค่อยเกิดกับผู้ชาย ซึ่งไม่เป็นความจริง อาการของภาวะซึมเศร้าหลังแท้งบุตร อาการของภาวะซึมเศร้าหลังแท้งลูก อาจมีดังนี้ รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า และสิ้นหวัง ร้องไห้บ่อย ไม่ยอมรับความจริงว่าเสียลูกไปแล้ว หงุดหงิด อารมณ์ไม่คงที่ รู้สึกเฉยชา หรือหมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำ มีปัญหาในการนอนหลับ อาจเป็นได้ทั้งการนอนหลับมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ กินอาหารน้อยเกินไปหรือมากเกินไป รู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด มีปัญหาด้านการจดจ่อ การจดจำสิ่งต่าง ๆ และการตัดสินใจ คิดทำร้ายตัวเอง หรือพยายามฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเศร้าหลังแท้งบุตร อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหลังการแท้งบุตร อาจทำให้อาการข้างต้นยิ่งรุนแรงขึ้นได้ คู่ครองและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวจึงควรเฝ้าดูแลและให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและเหตุการณ์ไม่คาดคิด วิธีรับมือภาวะซึมเศร้าหลังแท้งลูก แต่ละคนมีความสามารถในการรับมือกับความสูญเสียได้ต่างกัน บางคนอาจใช้เวลาสั้น บางคนอาจใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม หากเกิดภาวะซึมเศร้าหลังแท้งลูก คุณหมออาจใช้วิธีรักษาดังต่อไปนี้ ยาแก้ซึมเศร้า ช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง และบรรเทาอาการซึมเศร้า จิตบำบัด เป็นการให้คำปรึกษาด้านจิตใจ เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล และปรึกษาปัญหาต่าง ๆ […]


สุขภาพจิตคุณแม่

โรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอด ปัญหาสุขภาพที่คุณแม่อาจต้องเผชิญ

โรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอด เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับหญิงที่คลอดบุตรแล้ว อาการของโรคคือมักมีความคิดและพฤติกรรมที่หมกมุ่นอยู่กับลูกน้อยอย่างต่อเนื่องซ้ำ ๆ โดยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กังวลว่าลูกน้อยอาจถูกทำร้ายหรือมีอันตรายเกิดขึ้น คอยตรวจสอบว่าลูกน้อยนอนหลับเป็นอย่างไรทุก ๆ ห้านาที ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในครอบครัวได้ด้วย [embed-health-tool-”ovulation”] คำจำกัดความโรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอด (โรค OCD หลังคลอด) คืออะไร โรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอด (obsessive-compulsive disorder: OCD) เป็นโรควิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอด โดยลักษณะอาการคือมีความคิดและพฤติกรรมที่หมกมุ่นอยู่กับลูกน้อยอย่างต่อเนื่องซ้ำ ๆ โดยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กังวลว่าลูกน้อยอาจถูกทำร้ายหรือมีอันตรายเกิดขึ้น ความหมกมุ่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันคุณแม่หลังคลอดได้ โรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอดพบได้บ่อยแค่ไหน โรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอดเกิดขึ้นในประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 2-3 ใน 100 คน และสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งมีบุตรคนแรก   อาการอาการ โรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอด โรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอดมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในหนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่านั้น โดยปรากฏอาการเป็นความคิดและพฤติกรรมดังกล่าวต่อไปนี้ คิดหรือจินตนาการถึงความรุนแรงที่จะมาทำร้ายลูกน้อยทั้งทางตรงและทางอ้อม กลัวที่จะพาลูกน้อยไปอยู่ใกล้สิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ไมโครเวฟ จินตนาการเห็นภาพลูกน้อยตายซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลัวลูกน้อยตกแม้ว่าจะป้องกันและดูแลอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นจากเตียง หรือขณะอุ้ม ลูกน้อยที่กำลังจะตายจาก SIDS โรคไหลตายเป็นภาวะที่ทารกในช่วงอายุ 1 ปีแรกเสียชีวิตขณะนอนหลับ มีความคิดที่ไม่พึงประสงค์ หรือคิดในแง่ลบ กลัวลูกน้อยสัมผัสกับสารพิษ สารเคมี และมลภาวะจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด คุณแม่หลังคลอดควรไปพบคุณหมอ หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือมีความกังวลต่าง ๆ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามภาวะสุขภาพของแต่ละคน   สาเหตุสาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอด ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำหลังคลอดแต่มักพัฒนามาจากภาวะเหล่านี้ […]


สุขภาพจิตคุณแม่

รู้หรือไม่? ความเครียดของแม่ ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยนะ

ความเครียดเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็นความรู้สึกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วควรหลีกเลี่ยงกับสิ่งที่กระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียด เพราะ ความเครียดของแม่ นั้นไม่ส่งผลดีต่อใครทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นตัวคุณแม่เอง หรือแม้แต่ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] ความเครียดของแม่ ส่งผลต่อคุณและลูกน้อยอย่างไร ความเครียดเรื้อรังหรือเครียดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงอาการปวดหัว การนอนหลับ การหายใจผิดปกติ และชีพจรเต้นเร็วขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ปัญหาด้านการกิน (การกินอาหารมาก/น้อยเกินไป หรืออาหารผิดประเภท) ผลการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าความเครียดในครรภ์ของคุณแม่อาจส่งผลต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านพฤติกรรมเมื่อทารกโตขึ้น และปัญหาด้านอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาบางอย่างในช่วงวัยเด็ก รวมไปถึงความเครียดสามารถเพิ่มโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด (เกิดก่อน 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์) หรือทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ อะไรทำให้เกิดความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุของความเครียดสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์นั้นแตกต่างกันไป ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยในช่วงระหว่างตั้งครรภ์มีดังนี้ อาจกำลังเผชิญกับความรู้สึกไม่สบายจากการตั้งครรภ์ เช่น แพ้ท้อง ท้องผูก เหนื่อย หรือปวดหลัง ฮอร์โมนภายในกำลังเปลี่ยนแปลง อาจทำให้อารมณ์แปรปรวน ทำให้การควบคุมอารมณ์ต่ำลง อาจจะกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด รวมไปถึงวิธีการดูแลลูกน้อย อาจจะกังวลว่าสิ่งที่คุณจะกินหรือดื่มเข้าไปนั้นจะส่งผลต่ออะไรต่อลูกน้อยหรือไม่ วิธีการลดความเครียดของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพร่างกายที่ดีระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกับการดูแลสุขภาพจิต เพื่อลดความเครียด สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ การกินอาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงหาข้อมูลสิ่งที่คนท้องห้ามกิน และอาหารสิ่งใดที่มีประโยชน์ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ถึงแม้อาจจะทำยาก แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกระทำ การออกกำลังกายเบา ๆ […]


สุขภาพจิตคุณแม่

ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ

ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพกาย เพราะภาวะอารมณ์และจิตใจของคุณแม่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะทางอารมณ์ของลูกน้อยในครรภ์ ในขณะที่ด้านร่างกาย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย ด้านจิตใจ คุณแม่ควรพยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลาย หาสิ่งที่ชอบทำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เก็บเรื่องต่าง ๆ มาคิดหรือเป็นกังวลจนทำให้เกิดความเครียด  คุณแม่คนไหนที่รู้สึกว่าตัวเองเครียดง่าย อาจลองหาวิธีดูแลสุขภาพจิตแบบง่าย ๆ มาลองปฏิบัติตามดู [embed-health-tool-due-date] เคล็ดลับการ ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์ การ ดูแลสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์  เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย คุณแม่ไม่ควรละเลย โดยมีเคล็ดลับเพื่อการดูแลตนเองง่าย ๆ ดังนี้ จัดลำดับความสำคัญในการดูแลตนเอง อย่าทำงานหนักเกินไปและรู้ขีดจำกัดของตนเอง พยายามวางแผนงานประจำวันเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวลที่ไม่จำเป็นรวมไปถึงหาเวลาว่างในการสังสรรค์กับเพื่อนบ้าง รับประทานอาหารที่ดี เช่น การรับประทานข้าวโอ๊ต 1 ถ้วยจะทำให้ได้รับวิตามินบี 1 ซึ่งช่วยเพิ่มการผลิตเซโรโทนิน  (Serotonin) ในสมอง เป็นฮอร์โมนแห่งความสุข และช่วยลดอารมณ์แปรปรวน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สามารถช่วยป้องกันอาการป่วยทางจิตและความเครียดจากการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากสารเอ็นดอร์ฟินจากการออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวและนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงบรรเทาอาการปวดหลัง ช่วยแก้ท้องผูก พยายามเล่าความรู้สึกต่าง ๆ ให้เพื่อน สมาชิกในครอบครัว คุณหมอ หรือพยาบาลผดุงครรภ์ฟัง ไม่ควรเก็บความรู้สึกไว้กับตนเองเพียงคนเดียว เข้าคอร์สเกี่ยวกับการดูแลทารก การเตรียมตัวคลอด ที่ทางสถานพยาบาลจัดเตรียมไว้ เพื่อพบเจอและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์คนอื่น […]


สุขภาพจิตคุณแม่

โรคจิตหลังคลอด สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)  คือความผิดปกติทางจิตของคุณแม่ในช่วงเวลาหลังคลอดบุตร ที่อาจเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายหลังคลอด ร่วมกับการมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น โรคไบโพลาร์ การตั้งครรภ์ขณะที่มีอายุมาก การตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนมาก่อน ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต และเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคจิตหลังคลอดได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คำจำกัดความ โรคจิตหลังคลอด คืออะไร โรคจิตหลังคลอด คือ เป็นปัญหาสุขภาพจิตหลังคลอด ที่อาจเกิดจากจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนคุณแม่หลังคลอด โดยจะมีอาการทางระบบประสาท รวมไปถึงอารมณ์ของคุณแม่ช่วงหลังคลอดที่ไม่มั่นคง เดาทางได้ยาก เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ร้ายแรง สามารถพบได้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 500 คน อาการ อาการของโรคจิตหลังคลอด อาการโรคจิตหลังคลอดมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด มีอาการมากกว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สัญญาณที่คุณแม่หลังคลอดควรระวังและสังเกต ได้แก่ ภาพหลอน ไม่ว่าจะเป็นการได้ยิน มองเห็น การได้กลิ่น หรือความรู้สึกที่ไม่มีอยู่จริง ภาพลวงตา มีความคิด หรือความเชื่อที่ไม่น่าจะเป็นความจริง รู้สึกสับสน หงุดหงิด อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่คงที่ ความอยากอาหาร หรือพฤติกรรมในการกินเปลี่ยนไป รู้สึกว่าทุกอย่างแย่ไปหมด ไม่มีความสมเหตุสมผล มีการคิดทำร้ายตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งลูกน้อย มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือเชื่อว่าถ้าตายไปจะดีต่อลูกและครอบครัวมากกว่า ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรไปพบคุณหมอ […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

เต้านมคัด อาการที่คุณแม่หลังคลอดต้องเผชิญ

เต้านมคัด เป็นหนึ่งในอาการที่ผู้หญิงแทบทุกคนต้องเผชิญหลังจากคลอดลูก เนื่องจากร่างกายผู้หญิงจะมีการผลิตน้ำนมเพื่อให้ลูกน้อยได้ดื่ม จึงมักทำให้คุณแม่มีอาการเต้านมคัดได้  จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและหาวิธีรับมือหากเกิดอาการเต้านมคัดที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด อาการเต้านมคัด  อาการเต้านมคัดเป็นอาการที่เต้านมเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับผลิตน้ำนม ทำให้เกิดการคัด บวม แข็ง ส่งผลรู้สึกเจ็บได้ ทั้งนี้ อาการเต้านมคัดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและปริมาณน้ำนมแม่ที่มีเพิ่มมากขึ้น มักเป็นทั้งเต้าและทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่เป็นอันตราย โดยคุณแม่หลังคลอดอาจมีอาการนี้ในช่วงสองสามวันแรกและมักหายไปเอง เมื่อเต้านมคัดอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาจมีไข้เล็กน้อย หัวนมสั้นลงจนลูกดูดนมไม่ได้ น้ำนมไหลไม่ดี สาเหตุเต้านมคัด สาเหตุที่คุณแม่มีอาการคัดเต้านมนั้นมีหลายปัจจัย ซึ่งได้แก่ ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกต้องการ เว้นระยะการให้นมลูกนานเกินไป ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอ หรือลูกดูดนมแม่น้อยเกินไป ไม่ได้ระบายน้ำนมออกในช่วงที่ไม่ได้ให้นมลูก การให้ลูกหย่านมแม่เร็วเกินไป คุณแม่ให้นมลูกไม่ถูกวิธี หรืออยู่ผิดท่า ทำให้ลูกน้อยดูดนมไม่สะดวก จึงเกิดการระบายน้ำนมได้ไม่ดีเท่าที่ควร วิธีป้องกันเต้านมคัด เพื่อบรรเทาความรู้สึกอาการไม่สบายจากการคัดเต้านม นอกจากการวิธีการให้นมลูกน้อยแล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่สามารถป้องกันการคัดเต้านม ได้แก่ นวดหน้าอกขณะให้นม พยายามให้ลูกดูดน้ำนมจนหมดเต้า เรียนรู้วิธีให้ลูกน้อยดูดนมแม่ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นท่าทางของแม่ หรือแม้แต่ลูกน้อย ใช้ลูกประคบอุ่นหรืออาบน้ำอุ่น เพื่อให้น้ำนมลดลง ให้นมลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น หรืออย่างน้อยทุก ๆ หนึ่งถึงสามชั่วโมง หากลูกน้อยง่วงนอนคุณแม่อาจจำเป็นที่จะต้องปลุกลูกน้อยและกระตุ้นให้ดูดนม นั้นหมายถึงในช่วงเวลากลางคืนด้วย ไม่อย่างนั้นเต้านมจะคัดในเช้าวันรุ่งขึ้นอีก แต่ถ้าไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกเก็บไว้ […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

วิธีเก็บนมแม่ เก็บอย่างไรให้ถูกวิธีและคงคุณค่าสารอาหาร

วิธีเก็บนมแม่ สำหรับลูกน้อยเวลาที่คุณแม่ไม่อยู่บ้านนั้น ปัจจุบันนี้ สามารถทำได้สะดวกมากขึ้นเพราะมีอุปกรณ์ที่สามารถช่วยให้จัดเก็บนมแม่ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม คุณแม่มือใหม่ควรศึกษาวิธีการเก็บนมแม่ให้ถูกต้อง เพื่อจะได้รักษาประโยชน์และคงคุณค่าสารอาหารของน้ำนมแม่ไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะหากเก็บรักษาไม่ถูกวิธีอาจลดทอนคุณค่าสารอาหารในน้ำนม [embed-health-tool-ovulation] นมแม่เก็บได้นานแค่ไหน เมื่อคุณแม่ปั๊มนมเสร็จแล้วอาจสงสัยว่า นมแม่นั้นสามารถเก็บไว้ได้นานเท่าไร ซึ่งการเก็บแต่ละวิธีนั้น อาจทำให้ระยะช่วงเวลาในการเก็บน้ำนมนั้นไม่เท่ากัน เก็บนมแม่ไว้ที่อุณหภูมิห้อง เก็บได้นาน 4-6 ชั่วโมงหลังจากปั๊มนม เก็บในแพ็คคูลเลอร์มีฉนวนกันความร้อนพร้อมถุงน้ำแข็ง ซึ่งคุณแม่ใส่นมแม่ลงในถุงเก็บความเย็นสามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมงหลังปั๊มนม หากแช่ไว้ในตู้เย็น นมแม่สามารถอยู่ได้นาน 4 วัน ตู้แช่แข็งแบบเฉพาะ เมื่อคุณแม่ปั๊มน้ำนมออกมาใหม่สามารถเก็บไว้ที่ตู้แช่แข็งได้นาน 12 เดือน แต่ควรใช้ให้หมดภายในหกเดือน เพราะถึงอย่างไร ก็ไม่ควรเก็บนมแม่ไว้นานจนเกินไป เพราะคุณประโยชน์จากนมแม่อาจน้อยลง อุปกรณ์สำหรับเก็บนมแม่ คุณแม่สามารถใช้แก้วที่สะอาดหรือขวดพลาสติกแข็งปลอดสาร BPA ที่มีฝาปิดแน่น หรือสามารถใช้ถุงพลาสติกพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อเก็บน้ำนม ที่สำคัญไม่ควรใช้ที่เก็บนมแบบใช้แล้วทิ้งหรือถุงพลาสติกอื่น ๆ เพื่อเก็บน้ำนมแม่ เนื่องจากอาจสะอาดไม่พอ หากลูกน้อยดื่มเข้าไป อาจทำให้ป่วยได้ วิธีเก็บนมแม่ ควรทำอย่างไร ควรเก็บนมแม่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อง่ายต่อการนำหยิบออกมาเทใส่ขวดให้ลูกน้อย ดังนี้ ติดฉลากขวดนมพร้อมเขียนกำกับแสดงวันที่อย่างชัดเจน เพื่อนำน้ำนมแม่ที่ปั๊มออกมาให้ลูกน้อยดื่มก่อน ควรแช่แข็งน้ำนมในปริมาณเล็กน้อย (2 ถึง 4 ออนซ์ หรือ ¼ ถึง ½ ถ้วย) เท่านั้น […]


ช่วงเวลาหลังคลอด

ตะคริวหลังคลอด สาเหตุ และวิธีการรักษา

ตะคริวหลังคลอด อาจเกิดขึ้นจากมดลูกมีการหดตัวและขยายกลับสู่ปกติ ทำให้มีอาการปวดเกร็งบริเวณท้อง มักเกิดขึ้นภายในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด และอาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดอย่างรุนแรง หรือมีอาการนานต่อเนื่อง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อสาเหตุและทำการรักษาในทันที [embed-health-tool-”due-date”] ตะคริวหลังคลอด คืออะไร คุณแม่อาจมีอาการเป็นตะคริวหลังคลอดและรู้สึกไม่สบายตัวหลังจากคลอดลูกน้อย เนื่องจากมดลูกมีการหดตัวและกลับสู่ขนาดปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ โดยจะรู้สึกเจ็บท้องน้อย หรือปวดคล้าย ๆ กับปวดประจำเดือน โดยอาการมักจะรุนแรงขึ้น หากเป็นลูกคนที่สองหรือสาม ตะคริวหลังคลอดเป็นนานเท่าไร อาการตะคริวหลังคลอดมักไม่เป็นนานเท่าที่ควร หลังจากเมื่อมดลูกจะกลับสู่ภาวะปกติ ตะคริวของคุณแม่ก็อาจจะลดลง หรือหายไปภายใน 1 สัปดาห์ หรือเร็ว/ช้ากว่านั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพคุณแม่แต่ละคน ตะคริวที่เกิดจากสภาวะอื่น ๆ เช่น อาการท้องผูกหรือการติดเชื้อ อาจจะใช้เวลาต่างกันไป และหากไม่ได้รับการรักษา อาการตะคริวก็จะยังคงอยู่กับคุณแม่ ดังนั้น หากคุณแม่รู้สึกเจ็บปวด อย่ารอช้าที่ไปตรวจหาอาการกับคุณหมอ สาเหตุของการเป็น ตะคริวหลังคลอด เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่หลังคลอดอาจมีอาการเป็นตะคริวในช่องท้องส่วนล่าง หรืออาจปวดคล้าย ๆ กับการปวดประจำเดือน เนื่องจากมดลูกของผู้หญิงจะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าของขนาดเดิมตลอดการตั้งครรภ์ และการเป็นตะคริวเกิดจากการที่มดลูกหดตัวกลับไปเป็นขนาดปกติที่เล็กลง รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ ของการเป็นตะคริวหลังคลอดได้แก่ การผ่าคลอด อาการนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ที่คลอดบุตรทางช่องคลอดเท่านั้น ท้องผูก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ยังไม่สมดุล และมีโปรเจสเตอโรน รวมไปถึงการกินอาหาร เช่น อาจไม่ค่อยได้กินพวกไฟเบอร์ ทำให้มีปริมาณไฟเบอร์ที่ต่ำ การติดเชื้อและอื่น ๆ แม้ว่าจะพบได้น้อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน