สุขภาพคุณแม่

"นับตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ก็อาจจะทุ่มเทเวลาและแรงใจทั้งหมดที่มี เพื่อดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพดี แต่ สุขภาพคุณแม่ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน ได้ที่นี่ "

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพคุณแม่

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ สุขภาพคุณแม่

การดูแลตัวเองหลังคลอด

อาหารคุณแม่หลังคลอด ควรกินอะไรดี

อาหารคุณแม่หลังคลอด เป็นอาหารที่สำคัญต่อการฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บขณะคลอด ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและสร้างเม็ดเลือด ทั้งยังช่วยในการผลิตน้ำนมสำหรับทารกแรกเกิด คุณแม่จึงควรกินอาหารที่มีสารอาหารที่หลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ วิตามินและเกลือแร่ เป็นประจำทุกวัน เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ อาหารคุณแม่หลังคลอด ควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง คุณแม่หลังคลอดควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ วิตามินและเกลือแร่ โดยคุณแม่หลังคลอดต้องการพลังงานประมาณ 1,800-2,000 แคลอรี่/วัน เพื่อฟื้นฟูร่างกายที่ได้บาดเจ็บจากการคลอดลูกและสำหรับให้นมลูก โดยสารอาหารที่ควรได้รับหลังคลอด อาจมีดังนี้ คาร์โบไฮเดรตที่อุดมไปด้วยแป้งและใยอาหาร เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ เมล็ดพืช ขนมปังโฮลเกรน ผักใบเขียว เพื่อเพิ่มพลังงานและช่วยในการขับถ่าย โปรตีน เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและไม่ติดหนัง อาหารทะเล ไข่ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและฟื้นฟูร่างกายจากการคลอดลูก น้ำ คุณแม่หลังคลอดและให้นมลูกอาจเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ เนื่องจากร่างกายต้องการน้ำมากเพื่อใช้ในการผลิตน้ำนม คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 2.7 ลิตร/วัน แคลเซียม ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัม/วัน จากอาหาร เช่น นมไขมันต่ำ ชีส โยเกิร์ต เพื่อเสริมสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูกของคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากในระหว่างตั้งครรภ์ทารกจะดึงเอาแคลเซียมจากคุณแม่จึงอาจทำให้กระดูกคุณแม่อ่อนแอลง ธาตุเหล็ก ควรได้รับ 9-10 […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร และควรดูแลอย่างไร

ท้องลายหลังคลอด อาจเกิดจากการที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องขยายตัวอย่างรวดเร็วขณะตั้งครรภ์ จนส่งผลให้โครงสร้างของผิวหนังเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันจนเกิดเป็นรอยแตกลาย เมื่อคลอดแล้ว รอยแตกลายนั้นก็ยังคงอยู่ ถึงแม้ว่าท้องลายหลังคลอดจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่ก็อาจสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพผิวหลังคลอดเพื่อให้ริ้วรอยต่าง ๆ ลดลง ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร ท้องลายหลังคลอด อาจเกิดจากการยืดและขยายของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องอย่างรวดเร็วขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้โครงสร้างของคอลลาเจนและอีลาสติน (Elastin) ที่ช่วยเสริมความยืดหยุ่นและการสมานตัวของผิวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพผิวอ่อนแอ ขาดความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่น เมื่อผิวหนังบริเวณหน้าท้องขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้เกิดรอยแตกลายได้ง่ายและอาจขยายเป็นวงกว้างได้มากกว่าผู้ที่มีสุขภาพผิวแข็งแรง นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) รวมทั้งระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเครียดขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้เส้นใยและความยืดหยุ่นของผิวอ่อนแอลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกลายขณะตั้งครรภ์ การดูแลท้องลายหลังคลอด สำหรับคุณแม่หลังคลอดบางคนอาจมีอาการท้องลายหลังคลอดเกิดขึ้นได้ การดูแลผิวด้วยวิธีต่อไปนี้อาจช่วยทำให้ท้องลายหลังคลอดดีขึ้นได้ ดังนี้ ดื่มน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร เป็นประจำทุกวัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือยาเรตินอยด์ที่มีส่วนผสมของวิตามินอี ไฮดรอกซีโพรลิซิเลน-ซี (Hydroxyprolisilane-C) น้ำมันโรสฮิป (Rosehip Oil) ใบบัวบกและไตรเทอร์พีน (Triterpenes) เตรติโนอิน (Tretinoin) เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ลดรอยแตกลาย ป้องกันการลุกลามของรอยแตกลาย และอาจช่วยป้องกันการเกิดรอยใหม่ เลือกใช้ครีมกันแดดที่มี SPF30 ขึ้นไป เพื่อป้องกันผิวจากการถูกทำร้ายของรังสียูวีในแสงแดด ที่อาจทำให้เม็ดสีมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงขึ้น […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร

คุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด อาจประสบปัญหาแผลผ่าคลอดปริ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เนื้อตาย การดูแลรักษาแผลได้ไม่ดี แผลถูกกระทบกระเทือนหรืออาจเกิดจากภาวะสุขภาพที่ส่งผลต่อการสมานตัวของแผล เมื่อ แผลผ่าคลอดปริ อาจทำให้มีอาการเจ็บปวด เลือดออกมาก มีไข้สูง มีหนอง หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที สาเหตุของแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดปริ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การดูแลรักษาแผลได้ไม่ดี การดูแลรักษาแผลอาจช่วยให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น แต่สำหรับบางคนอาจดูแลรักษาแผลได้ไม่ดีพอหรืออาจมีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของบาดแผล ทำให้แผลหายช้าลงจนเกิดแผลปริ แผลถูกกระทบกระเทือน หลังการผ่าคลอดคุณแม่ควรพักฟื้นและพักผ่อนให้เพียงพอและดูแลตนเอง เพื่อให้แผลสมานตัวดีและไม่เกิดปัญหาแผลปริ หลีกเลี่ยงการเกิดแรงกดทับหรือแรงดันที่ท้องมากเกินไป เช่น การอุ้มเด็กที่มีน้ำหนักมาก การยกของหนัก การลุกขึ้นจากท่านั่งยอง ๆ การเริ่มออกกำลังกายเร็วเกินไป ซึ่งอาจส่งผลทำให้แผลเปิดหรือฉีกขาดได้ การติดเชื้อ แผลติดเชื้อจะทำให้การสมานตัวของแผลช้าลงหรืออาจทำให้เนื้อเยื่อตายจนแผลไม่สามารถสมานตัวต่อได้ ในบางกรณีรูปแบบการผ่าตัดคลอดอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดแผลปริได้เช่นกัน โดยการผ่าคลอดอาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ผ่าตัดแนวตั้ง คือ แนวแผลจากใต้สะดือไปจนถึงไรขนอวัยวะเพศ ผ่าตัดแนวนอน คือ แนวแผลตามขวางบริเวณเหนือไรขนอวัยวะเพศ ซึ่งการผ่าตัดคลอดแบบแนวนอนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลปริน้อยกว่า การดูแลรักษาง่ายกว่า ซึ่งอาจทำให้แผลสมานตัวได้เร็ว อาการเมื่อแผลผ่าคลอดปริ ควรพบคุณหมอทันทีหากมีสัญญาณของแผลปริ ดังนี้ มีไข้สูง มีเลือดออกบริเวณแผลและช่องคลอด อาการปวดรุนแรง รอบแผลแดง หรือมีอาการบวมรอบแผล ลิ่มเลือดในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น บริเวณแผลมีกลิ่นเหม็น มีหนอง เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ การดูแลแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดปริอาจต้องมีการดูแลเป็นพิเศษเพื่อทำให้แผลหายสนิทและป้องกันแผลปริซ้ำ ดังนี้ การบรรเทาอาการปวด […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน สาเหตุและการดูแล

สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด อาจต้องเผชิญกับปัญหา แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ แผลได้รับการกระทบกระเทือน พฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพที่อาจก่อให้เกิดการอักเสบของแผลบริเวณด้านในมดลูก ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีอาการปวดท้อง มีเลือดออกจากช่องคลอด มีไข้ ความดันโลหิตต่ำและวิงเวียนศีรษะ หากคุณแม่มีอาการผิดปกติ และคาดว่าแผลผ่าคลอดอักเสบ ควรรีบดูแลตนเองเบื้องต้นและเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที สาเหตุของแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและอาจคล้ายกับการเกิดแผลอักเสบภายนอก ดังนี้ อาจเกิดการติดเชื้อที่แผลจากภายใน การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณบาดแผลผ่าคลอดอาจทำให้เกิดการอักเสบภายในได้ โดยแบคทีเรียที่อาจพบได้บ่อย คือ สแตฟิโลคอกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เชื้อเอนเทอโรคอคคัส (Enterococcus) เชื้ออีโคไล (Escherichia Coli หรือ E. Coli) โดยแผลผ่าคลอดภายในสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง เช่น การติดเชื้อที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อจากกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อภายในได้ ดังนี้ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) เนื่องจากการติดเชื้อของน้ำคร่ำและรกในระหว่างรอคลอด การใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานาน เคยผ่านการผ่าตัดคลอดมาก่อน การสูญเสียเลือดมากเกินไประหว่างคลอดหรือการผ่าตัด แผลอาจได้รับการกระทบกระเทือน แผลผ่าคลอดอาจได้รับการกระทบกระเทือนจากการกดทับและเกิดแรงดันในมดลูก นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการใส่เสื้อผ้าคับแน่น การยกของหนัก การออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งอาจส่งผลทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน และเกิดการฉีกขาดได้ อาจเกิดจากพฤติกรรมและภาวะสุขภาพที่ทำให้รักษาแผลได้ไม่ดี บางคนอาจมีปัญหาสุขภาพบางประการ […]


สุขภาพคุณแม่

ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด ประโยชน์และวิธีใช้งาน

ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด คือ แผ่นผ้ายืดหรือเข็มขัดรัดหน้าท้อง ขนาดประมาณ 8-10 นิ้ว ใช้สำหรับพันรอบหน้าท้อง ตรงกับตำแหน่งสะโพก เพื่อช่วยรัดหน้าท้องคุณแม่ที่เพิ่งคลอดให้เข้ารูปหลังจากหน้าท้องขยายใหญ่ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์เป็นเวลาหลายเดือน เมื่อคลอดแล้วขนาดหน้าท้องค่อย ๆ กลับมามีขนาดใกล้เคียงกับก่อนตั้งครรภ์ภายใน 6-8 สัปดาห์ บางรายอาจประสบกับปัญหากล้ามเนื้อหน้าท้องแยกออกจากกันจึงอาจใช้เวลานานกว่าที่หน้าท้องจะยุบตัวกลับมาเป็นขนาดปกติ ผ้ารัดหน้าท้องอาจช่วยให้หน้าท้องกระชับ และช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดให้กลับไปเป็นปกติได้เร็วขึ้น ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดสามารถใช้ได้ทั้งกับคุณแม่ผ่าคลอดที่ต้องการให้แผลผ่าตัดสมานและติดกัน และคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติและต้องการให้มดลูกกลับสู่สภาพเดิม หรือที่เรียกว่า มดลูกเข้าอู่ ได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ ควรปรับขนาดผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดให้เข้ากับสรีระของคุณแม่หลังคลอดมากที่สุด เพื่อความสบายในการสวมใส่ ประเภทของ ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด แบ่งประเภทได้ดังนี้ ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดชนิดผ้ายืด เป็นผ้ารัดทำมาจากผ้ายืดที่มีความอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น เมื่อสวมใส่แล้วสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก ไม่อึดอัดหรือรัดแน่นจนเกินไป ทั้งนี้ ควรใช้ผ้าที่มีความยาวเพียงพอที่จะพันรอบบริเวณสะโพกและหน้าท้องได้ อาจใช้ผ้ายืดทั่วไปแล้วเหน็บเข้าตัวเพื่อเก็บปลายหรือใช้แบบมีตะขอหรือตีนตุ๊กแก เข็มขัดรัดหน้าท้องหลังคลอด เข็มขัดช่วยในการพยุงสะโพกและหลัง ช่วยปรับท่าทางการเคลื่อนไหวและลดอาการปวดหลัง และอาจช่วยรองรับบริเวณอุ้งเชิงกรานไม่ให้รับน้ำหนักมากเกินไป มีทั้งแบบตะขอ และแบบตีนตุ๊กแก ชุดรัดหน้าท้อง (Shape Wear) เป็นชุดที่ช่วยให้สัดส่วนของหญิงที่ตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอดเข้าที่เร็วขึ้น ทำจากผ้ายืด เพื่อสวมใส่ทั้งตัวหรือใส่เป็นกางเกงชั้นในเอวสูงที่ขึ้นมาถึงหน้าท้อง ข้อเสีย คือ อาจ รัดแน่นเกินไป และอาจไม่สะดวกหากคุณแม่หลังคลอดกลับมีเป็นประจำเดือนตามปกติแล้ว ทั้งนี้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับสรีระมากที่สุด เพื่อไม่ให้รัดแน่นจนทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ประโยชน์ของผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด ประโยชน์ของการใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด อาจมีดังนี้ […]


การดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลาหลังคลอด คืออะไร แล้วกี่วันถึงจะหมด

หลังจากคลอดลูก ไม่ว่าจะเป็นการคลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอด จะมีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากช่องคลอด หรือที่เรียกว่า น้ำคาวปลาหลังคลอด ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการกำจัดของเสีย เช่น เลือด เยื่อบุโพรงมดลูก เนื้อเยื่อรก ออกจากร่างกายของคุณแม่หลังคลอด ปริมาณน้ำคาวปลาที่ถูกขับออกมาของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ดังนั้น ช่วงหลังคลอดจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องคลอดให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้  น้ำคาวปลาหลังคลอด คืออะไร  น้ำคาวปลาหลังคลอด คือ ของเหลวที่ขับออกมาผ่านทางช่องคลอดหลังจากคลอดลูก ประกอบไปด้วยเลือด เยื่อบุโพรงมดลูก เนื้อเยื่อรก สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดทุกคน ไม่ว่าจะคลอดตามธรรมชาติหรือผ่าคลอด โดยทั่วไป น้ำคาวปลาหลังคลอดจะมีลักษณะคล้ายเลือดประจำเดือน ซึ่งระยะเวลาและปริมาณของน้ำคาวปลาที่ขับออกมานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  น้ำคาวปลาหลังคลอดจะหมดเมื่อไร  น้ำคาวปลาหลังคลอดแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังต่อไปนี้  ระยะที่ 1 ช่วง 1-3 วันหลังคลอด เลือดจะออกมามากที่สุด โดยลักษณะเลือดจะเป็นสีแดงเข้มหรือสีแดงสด เป็นลิ่มเลือดขนาดเล็ก หากมีขนาดใหญ่ควรไปพบคุณหมอ  ระยะที่ 2 ช่วง 4-10 วันหลังคลอด เลือดที่ขับออกมาทางช่องคลอดจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด โดยลักษณะเลือดจะเป็นสีน้ำตาลอมชมพู และเหลวมากขึ้น ไม่ค่อยเป็นก้อนเหมือนช่วงระยะแรก  ระยะที่ 3 ช่วง 11-28 วันหลังคลอด ลักษณะเลือดจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอมชมพูเป็นสีขาวอมเหลือง […]


สุขภาพคุณแม่

อาการตกเลือด ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด เกิดจากอะไร

อาการตกเลือด ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด คือ ภาวะที่มีเลือดออกทางช่องคลอด ที่อาจทำให้ร่างกายเสียเลือดมาก และส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว นำไปสู่อาการช็อก หมดสติ หรือเสียชีวิต หากสังเกตว่ามีอาการตาพร่า วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผิวซีด หัวใจเต้นเร็ว ปวดเกร็งท้องน้อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] อาการตกเลือด เกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตกเลือดขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด อาจมีดังนี้ อาการตกเลือดขณะตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ภาวะแท้ง อาจเกิดขึ้นในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการเลือดออกทางช่องคลอด บางรายอาจมีอาการปวดท้องเล็กน้อย การฝังตัวของตัวอ่อน อาจเกิดจากตัวอ่อนฝังตัวในมดลูกในช่วงหลังปฏิสนธิเพื่อเตรียมตั้งครรภ์ ทำให้มีเลือดออกหรือที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก เพื่อให้ทราบผลที่แน่ชัดจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด รกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption) คือภาวะที่รกบางส่วนหรือทั้งหมดหลุดลอกออกก่อนการคลอดซึ่งอาจเกิดจากการกระทบกระเทือนบริเวณท้องอย่างรุนแรง หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง การได้รับสารพิษจากการสูบบุหรี่ หรือยาเสพติดบางชนิด ทำให้คุณแม่มีอาการตกเลือด รกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่รกปกคลุมปิดปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมด ส่งผลให้เกิดอาการตกเลือดในปริมาณมากระหว่างตั้งครรภ์ บางคนอาจหายได้เองเมื่อมดลูกขยายตัวขึ้น เนื่องจากรกมีการขยับขึ้นไปจากปากมดลูก แต่หากได้รับการตรวจอัลตราซาวด์และพบว่ามีรกเกาะต่ำจริง และเกิดอาการตกเลือดจนถึงช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ควรเข้าพบคุณหมอทันที การตั้งครรภ์นอกมดลูก […]


สุขภาพคุณแม่

ตกเลือด สาเหตุ อาการ การรักษา

ตกเลือด คือภาวะที่มีเลือดออกในปริมาณมากโดยทั่วไปมักหมายถึงอาการเลือดออกทางช่องคลอดในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์และหลังการคลอดบุตร หากพบในช่วงก่อนคลอดอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก รกเกาะต่ำ การแท้งบุตร หากคุณแม่สังเกตว่ามีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีเลือดออกทางช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที ก่อนส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและลูกน้อยในครรภ์ [embed-health-tool-”pregnancy-weight-gain”]   คำจำกัดความ ตกเลือด คืออะไร ตกเลือด คือภาวะที่มีเลือดออกทางช่องคลอดปริมาณมาก อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงแรก หรืออาจเกิดหลังจากคลอดบุตร ทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว และอาจนำไปสู่อาการช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ อาการ อาการตกเลือด อาการตกเลือด อาจสังเกตได้จาก เลือดออกทางช่องคลอดในปริมาณมาก อาจเป็นสีชมพูหรือสีแดง พบร่วมกับก้อนเลือดขนาดใหญ่ และอาจหยุดไหลยาก มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด การมองเห็นเปลี่ยนแปลง ตาพร่ามัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง ปวดท้องรุนแรง คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ที่เพิ่งคลอดหากพบว่ามีอาการเลือดไหลออกจากช่องคลอด ไม่ว่าจะในปริมาณน้อยหรือมาก ก็ควรพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดทันที สาเหตุ สาเหตุของการตกเลือด การตกเลือดสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ การตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีสาเหตุมาจาก ตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวนอกมดลูก พบได้มากในท่อนำไข่ เมื่อตัวอ่อนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะส่งผลให้ท่อนำไข่ที่ตัวอ่อนฝังตัวอยู่แตกออก ทำให้เกิดการเสียเลือดในช่องท้องปริมาณมาก ส่งผลให้ปวดท้องอย่างรุนแรง ความดันโลหิตตก จนช็อคและเสียชีวิตได้ รกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่รกปกคลุมปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมด ส่งผลให้มีอาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ในปริมาณมาก บางคนอาจหายได้เองเมื่อมดลูกขยายตัวขึ้น แต่หากยังคงมีอาการเลือดออกตลอดเวลาจนถึงช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 […]


สุขภาพคุณแม่

แม่หลังคลอดห้ามกินอะไรบ้าง

แม่หลังคลอดห้ามกินอะไรบ้าง อาจเป็นคำถามที่คุณแม่มือใหม่หลายคนสงสัยและต้องการหลีกเลี่ยง เนื่องจากต้องการฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ อาหารอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของร่างกายหลังคลอดและสุขภาพทารกที่กินนมแม่ คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ปลาบางชนิด อาหารวิตามินซีสูง อาหารรสจัด อาหารก่อภูมิแพ้ ร่วมกับการดูแลสุขภาพอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย แม่หลังคลอดห้ามกินอะไรบ้าง คุณแม่หลังคลอดอาจจำเป็นต้องควบคุมการกินอาหารบางชนิด เพื่อเสริมสุขภาพหลังคลอดและส่งผลดีต่อการให้นมลูก โดยคุณแม่หลังคลอดควรหลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ ค็อกเทล เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้การฟื้นตัวของร่างกายและมดลูกช้าลง นอกจากนี้ ยังทำให้ร่างกายขาดน้ำและขัดขวางการนอนหลับ สำหรับคุณแม่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าไปผสมกับน้ำนมแม่อาจเป็นอันตรายต่อสมองและพัฒนาการของทารกได้ คาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม ที่ผสมในน้ำนมแม่สามารถส่งผ่านไปยังทารก ซึ่งอาจรบกวนการนอน ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ส่งผลต่ออารมณ์และการเจริญเติบโตของทารก ปลาบางชนิด เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลานาก ปลาไทล์ฟิช ฉลาม ทูน่า เป็นปลาที่มีสารปรอทในระดับสูง ซึ่งปรอทอาจเป็นอันตรายต่อสมองของทารกที่กำลังพัฒนา รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงปลาดิบทุกชนิด เนื่องจากอาจเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตที่ทำให้คุณแม่หลังคลอดป่วยได้ง่ายขึ้น จึงควรเลือกรับประทานปลาที่มีสารปรอทต่ำและปรุงสุก เช่น แซลมอน ปลาดุก กุ้ง […]


สุขภาพคุณแม่

ครีมทาท้องลาย คนท้อง ควรเลือกใช้แบบไหนถึงปลอดภัย

รอยแตกลาย คือ รอยแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นบริเวณหน้าท้อง หน้าอก ต้นแขน สะโพก ก้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องของคนท้องในช่วงไตรมาสที่ 3 อันเป็นระยะใกล้คลอด เนื่องจากหน้าท้องจะโป่งนูนและขยายใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับทารกในครรภ์ที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเกิดรอยแตกลายที่ท้องอาจส่งผลให้คนท้องเป็นกังวล หรืออาจขาดความมั่นใจได้ อย่างไรก็ตาม การบำรุงรักษาผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น ครีมทาท้องลาย คนท้อง อย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยให้รอยแตกลายดูจางลงได้ ทั้งนี้ คนท้องควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ หน้าท้องลาย เกิดขึ้นได้อย่างไร ขนาดและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ผิวหนังขยายอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เนื้อเยื่อผิวหนังชั้นกลางขยายและขาดออกจากกัน จนอาจเกิดเป็นรอยแตกลายบนผิวหนัง และแม้หน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นจะลดขนาดลงหลังคลอด แต่รอยแตกลายอาจยังคงอยู่ และจางหายเองได้ค่อนข้างยาก ภาวะหน้าท้องลาย นอกจากจะเกิดกับผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์แล้ว ยังสามารถเกิดขึ้นกับผู้เข้าสู่วัยรุ่น ผู้ที่เพิ่มหรือลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และผู้ที่กล้ามเนื้อขยายจากการยกน้ำหนักเป็นประจำได้ด้วย วิธีรักษาหน้าท้องลายสำหรับคนท้อง การลดเลือนรอยแตกลายสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์ การทาครีมทาท้องลาย  แม้การรักษาอาจจะไม่ช่วยให้รอยแตกลายหายสนิท แต่ก็อาจช่วยให้รอยแตกดูจางลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ ควรเริ่มรักษาภาวะหน้าท้องลายตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือในช่วงที่รอยแตกยังเป็นสีม่วง ชมพู หรือแดงเรื่อ เพราะอาจรักษาให้รอยจางลงได้ง่ายกว่ารอยที่อยู่มานานจนเปลี่ยนเป็นสีเงินหรือขาวแล้ว วิธีการลดเลือนรอยท้องลายที่นิยม อาจมีดังนี้ การรักษาด้วยไมโครนีดเดิ้ล (Microneedling) เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กจำนวนมากจิ้มไปที่ผิวหนังบริเวณรอยแตกลายเพื่อกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจน ซึ่งอาจช่วยรักษาผิวหนังที่แตกลายหรือเป็นแผลเป็นได้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม