พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การเติบโตและพัฒนาการ

การเลี้ยงลูกสองภาษา กับความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้น

การเลี้ยงลูกสองภาษา อาจเป็นวิธีที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูก เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ทั้งภาษาไทยและภาษาที่ 2 อย่างภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่การเรียนรู้ภาษาที่ 3 ไปพร้อมกัน แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจยังมีความกังวลและอาจเข้าใจผิดในบางเรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกสองภาษา ไม่ว่าจะเป็นกลัวลูกสับสน อาจทำให้ลูกพูดช้า เป็นต้น ดังนั้น การเข้าใจถึงการเลี้ยงลูกสองภาษาที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกสองภาษา ความเข้าใจผิดที่ 1 : อาจทำให้เกิดความสับสน คุณพ่อคุณแม่บางคนคิดว่าถ้าเลี้ยงลูกสองภาษาในเวลาเดียวกัน อาจทำให้ลูกสับสนและไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างภาษาทั้ง 2 ได้ อย่างไรก็ตาม ลูกอาจแยกแยะความแตกต่างระหว่างภาษาต่างกันอย่างชัดเจนได้ตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่สำหรับภาษาที่คล้ายกัน เช่น ภาษาอังกฤษกับภาษาดัตช์ อาจทำให้มีปัญหาในการบอกความแตกต่างระหว่าง 2 ภาษา เนื่องจากเป็นภาษาที่คล้ายกัน แต่เมื่อลูกอายุครบ 6 เดือนอาจจะแยกความแตกต่างของภาษาที่คล้ายกันได้ ความเข้าใจผิดที่ 2 : อาจทำให้ลูกพูดได้ช้า การเลี้ยงลูกสองภาษาอาจใช้เวลานานกว่านิดหน่อยก่อนจะเริ่มพูด เมื่อเทียบกับการเลี้ยงดูด้วยภาษาเดียว อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการพูดนั้นเป็นเรื่องชั่วคราว เนื่องจาก การเลี้ยงลูกสองภาษาไม่ได้เป็นสาเหตุให้ลูกพูดหรือรู้ภาษาได้ล่าช้ากว่าการเลี้ยงลูกด้วยภาษาเดียว ความเข้าใจผิดที่ 3 : อาจทำให้ลูกใช้ภาษาปนกัน การเลี้ยงลูกสองภาษาอาจทำให้ใช้ภาษาปนกัน เนื่องจากการรู้คำศัพท์ในภาษาที่ 2 น้อยกว่าภาษาแรก อาจทำให้เด็กนำคำศัพท์จากภาษาที่ตนเองถนัดกว่ามาปนกับภาษาที่ 2 อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษาปนกันเป็นเรื่องชั่วคราว เมื่อลูกรู้คำศัพท์ทั้ง 2 ภาษามากขึ้นก็จะไม่พูดปนกัน นอกจากนี้ ผู้ที่เรียนสองภาษาไม่ว่าจะวัยไหนก็อาจมีการใช้ภาษาปนกัน […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงสมอง คืออาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของประสาทและสมอง ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ ในวัยเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น ความจำดีขึ้น แถมมีสมาธิดีขึ้นอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก ให้เหมาะสม เพื่อให้ส่งผลดีต่อโภชนาการและสุขภาพของเด็ก อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก ที่ควรจัดให้ลูกอย่าได้ขาด 1. ไข่ ไข่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และในไข่แดงมีโคลีน (choline) ซึ่งเป็นสารอาหารที่จะช่วยพัฒนาความจำและการทำงานของสมอง นอกจากนี้สารอาหารในไข่ยังช่วยทำให้เด็กมีสมาธิด้วย 2. ปลา ปลามีวิตามินดีและกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่จะช่วยป้องกันสมองจากการสูญเสียความจำ และความจำที่ลดลงตามอายุ ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน โดยปลาทูน่าถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม แต่ในปลาทูน่าจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 น้อยกว่าในปลาแซลมอน เนื่องจากปลาแซลมอนอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดดีเอชเอ (DHA) และอีพีเอ (EPA) ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ทั้ง 2 ชนิดจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของสมอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า ผู้ที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 มีสติปัญญาที่เฉียบแหลม และสามารถทำแบบทดสอบทักษะทางด้านจิตใจได้ดีขึ้น 3. ผักหลากสี ผักที่เต็มไปด้วยสีสัน เช่น มะเขือเทศ มันเทศ ฟักทอง แครอท ผักโขม […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมทั้งเด็กทารกและเด็กเล็ก อย่างไรก็ตาม หากเกิดโรค ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก (Hypothyroidism in Children) ขั้นรุนแรงอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ คำจำกัดความไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก คืออะไร ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก (Hypothyroidism in Children) เป็นโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ หากอยู่ในระดับรุนแรง อาจส่งผลให้เจริญเติบโตช้า มีพัฒนาการล่าช้า รวมถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา อาการของโรคนี้มักไม่แสดงในช่วงแรกเกิด ช่วงอายุของเด็กในการแสดงอาการ และความรุนแรงของอาการ ขึ้นอยู่กับการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าสามารถทำงานได้ดีเพียงใด โรคไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย รวมทั้งเด็กและทารก อาการอาการ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก ทารกแรกเกิด โรคไทรอยด์เป็นพิษเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่อาการของโรคในเด็กอาจมีแตกต่างกันไป ในเด็กแรกเกิด อาการเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์หรือเดือนแรก อาการอาจไม่ชัดเจน จนแพทย์หรือพ่อแม่ไม่สังเกตเห็น อาการอาจมีดังนี้ ตัวเหลือง และจุดขาวที่ตา ท้องผูก เบื่ออาหาร ตัวเย็น ร้องไห้น้อยลง หายใจดัง นอนหลับมากขึ้นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ น้อยลง จุดนิ่มบนศีรษะขยายใหญ่ขึ้น ลิ้นโต ทารกและเด็กเล็ก ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่เริ่มในวัยเด็กนั้น แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ อาการของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก มีดังนี้ ส่วนสูงน้อยกว่าความสูงเฉลี่ย ขนาดตัวสั้นกว่าปกติ ฟันแท้ขึ้นช้ากว่าปกติ เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ช้ากว่า พัฒนาการทางอารมณ์ช้า อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ ผมขาดง่าย หน้าบวม อาการที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีภาวะไทรอยด์ มีดังนี้ เหนื่อย ท้องผูก ผิวแห้ง วัยรุ่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็กวัยรุ่น มักเกิดในเด็กผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเกี่ยวข้องกับปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto’s Thyroiditis) วัยรุ่นที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต โรคเกรฟ หรือเบาหวานชนิดที่ 1 […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ภาวะผิวลายในทารก สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภาวะผิวลายในทารก (Cuties Marmorata) คืออาการทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่ทำให้ผิวของทารกมีลายและมีสีแดงอมม่วงคล้ายตาข่าย เมื่อสัมผัสอากาศเย็นหรืออาบน้ำ มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และอาจหายไปได้เองเมื่อเจออากาศอุ่น อย่างไรก็ตาม หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผื่นแดง ระคายเคือง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-vaccination-tool] ภาวะผิวลายในทารก คืออะไร ภาวะผิวลาย ในทารกแรกเกิด คือภาวะที่ผิวหนังของเด็กทารกมีลักษณะลายคล้ายร่างแหตาข่าย สีแดงอมม่วง เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 50  สามารถพบได้ในเด็กทารกแรกเกิด เมื่อสัมผัสอากาศเย็นหรือตอนอาบน้ำ ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาของชาวบราซิลในปี 2011 รายงานว่าในบรรดาทารกแรกเกิดจำนวน 203 คน พบทารกที่เกิดภาวะผิวลายต่ำมาก เพียงร้อยละ 5.91  ของทารกที่มีผิวสีอ่อน ภาวะผิวลายนี้สามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในนักดำน้ำ หากดำน้ำซ้ำกันนาน ๆ หลายรอบ อาจเกิดภาวะผิวลายจากโรคจากการลดความกดอากาศ (Decompression Sickness) ได้ โรคจากการลดความกดอากาศหรือโรคลดความกด เป็นโรคที่เกิดจากฟองก๊าซก่อตัวขึ้นในระบบหลอดเลือดหรือในเนื้อเยื่อ มักเกิดจากการดำน้ำและลอยตัวขึ้นเร็ว ก๊าซไนโตรเจนอยู่ในภาวะเกินความอิ่มตัว เมื่อความดันอากาศลดลง กลายสภาพเป็นฟองอากาศ ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายทั้งส่วนที่เป็นของแข็งหรือของเหลว เช่น เกิดฟองอากาศที่กล้ามเนื้อข้อต่อจะมีอาการปวด ถ้าเข้าสู่กระแสเลือดไปอุดเส้นเลือดที่ไขสันหลังหรือสมอง จะทำให้สลบหรือเป็นอัมพาต สาเหตุของภาวะผิวลายในทารก เนื่องจากระบบประสาทและเส้นเลือดในทารกแรกคลอด ยังไม่มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ เมื่อสัมผัสความเย็น […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ุ6 ปัญหาผิวลูก ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง

ปัญหาผิวลูก ที่พบบ่อย 6 ประการ ได้แก่ ผื่นมิเลีย (Milia) ผดร้อน ภาวะต่อมไขมันอักเสบ สิว ผื่นแดงอีริทีมาท็อกซิกัม (Erythema Toxicum Neonatorum: ETN) ปาน ซึ่งอาจมีลักษณะและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาผิวลูก อาจช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาผิวได้อย่างเหมาะสม และอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะที่อันตรายได้ 6 ปัญหาผิวลูก ที่คุณแม่ควรรู้ 1. ผื่นมิเลีย ผื่นชนิดนี้เป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเหลืองที่ปรากฏขึ้นบนใบหน้าของเด็กทารกนั้น แท้จริงแล้วคือก้อนซีสต์ที่เต็มไปด้วยเคราติน (Keratin) และซีบัมหรือไขมัน ผื่นชนิดนี้ยังอาจเกิดขึ้นที่บริเวณเหงือกได้ อาการนี้อาจจะหายไปภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องรักษา ในขณะเดียวกัน การใช้น้ำมันหรือครีมทาอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้ 2. ผดร้อน เป็นลักษณะของตุ่มพุพองที่เต็มไปด้วยน้ำหนอง หรือตุ่มแดง ๆ ที่ปรากฏขึ้นที่หลัง หน้าอก หรือใต้วงแขนของเด็กทารก ผดร้อนเกิดจากการอุดตันของท่อเหงื่อที่ผิวหนัง จะพบมากในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น หรือการสวมเสื้อผ้าให้ทารกมากเกินไป 3. ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็กทารก ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็กทารก คือ สภาวะของผิวหนังที่ไขผิวหนังส่วนเกิน ยึดติดเซลล์ผิวหนังเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่สามารถผลัดออกไปได้ตามปกติ ทำให้เกิดเป็นแผ่นสีเหลืองมันเยิ้ม ที่บริเวณหนังศีรษะของเด็กทารก 4. สิวในทารกแรกเกิด ประมาณ 30% ของทารกแรกเกิด จะมีสิวขึ้นภายใน 4 เดือนแรก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวนมแตก จากการให้นมลูก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรไม่ให้เจ็บปวด

หัวนมแตก หรือเจ็บหัวนม ระหว่างการให้นมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้แต่มักจะหายไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจแก้ไขด้วยการจัดท่าทางการให้นมที่เหมาะสม แต่หากหัวนมแตก หรือเจ็บหัวนมมากผิดปกติ จำเป็นที่จะต้องปรึกษาคุณหมอ เพราะหากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างอื่นตามมา สาเหตุที่ทำให้ หัวนมแตก ในช่วงสัปดาห์แรกของการให้นมแม่นั้น ท่าทางการอมคาบหัวนมของเด็กทารก หรือการวางท่าทางการให้นมที่ไม่เหมาะสม มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หัวนมแตก ในกรณีที่หัวนมแตกหรือเจ็บหัวนมไม่มากนัก ผู้เป็นแม่อาจลองจัดท่าทางในการให้นมใหม่ แต่หากลองเปลี่ยนท่าให้นมใหม่แล้ว อาการหัวนมแตก หรือเจ็บหัวนมยังไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำวิธีการให้นมที่ถูกต้อง และหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ผู้หญิงที่พ้นช่วงให้นมบุตรแล้ว แต่ยังมีอาการหัวนมแตก ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว การรักษา อาการหัวนมแตก   หัวนมแตกอาจมีวิธีบรรเทาอาการในเบื้องต้นด้วยตนเอง ดังนี้ ระหว่างการให้นม ปรับเปลี่ยนท่าทาง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้เป็นแม่ อุ้มทารกเข้าเต้าข้างใดข้างหนึ่งโดยให้ปากของลูกอยู่ระดับเดียวกับหัวนม เหงือกล่างของทารกควรห่างจากฐานของหัวนมขณะที่เด็กอ้าปาก และเมื่อเด็กอ้าปากแล้ว ควรกอดกระชับให้แน่นเข้าอก เพื่อช่วยบังคับให้หัวนมอยู่ในปากของทารกอีกทางหนึ่ง หาท่าทางการให้นมในรูปแบบอื่น ๆ ลองเปลี่ยนท่าการให้นม เพื่อหาท่าที่คุณแม่และลูกรู้สึกสบายที่สุด หากอยู่ในท่าทางที่ดีแล้ว ลูกจะอมคาบหัวนมได้ง่าย และไม่ทำให้เจ็บหัวนม  หากเจ็บหัวนมข้างใดข้างหนึ่ง ให้เปลี่ยนไปให้นมอีกข้างที่เจ็บน้อยกว่า ทารกส่วนใหญ่จะดูดนมเต้าแรกแรงกว่า ในขณะที่เมื่อเปลี่ยนเต้าจะผ่อนอาการดูดเบาลง เนื่องจากรู้สึกหิวน้อยลง บรรเทาอาการเจ็บก่อนการให้นม หากเจ็บหัวนมมาก ควรประคบเย็น เพื่อทำให้รู้สึกชา เพราะการอมคาบนมครั้งแรก มักจะทำให้เจ็บที่สุด หลังการให้นม  รับประทานยา ในกรณีที่มีอาการหัวนมแตก และอาการเจ็บหัวนมไม่หายไป ควรรับประทานทานยารักษาอาการ […]


ภาวะทุพโภชนาการ

วิตามินบี 12 สำหรับอย่างไรต่อสุขภาพของเด็ก

วิตามินบี 12 มีความสำคัญกับในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็ก เนื่องจากเป็นวิตามินชนิดละลายน้ำที่ทำหน้าที่ในการสร้างและรักษาภาวะในร่างกาย จัดเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อระบบประสาท การสร้างเซลล์เม็ดเลือด การสังเคราะห์พลังงาน และกิจกรรมทางชีวเคมีพื้นฐานอื่น ๆ หากเด็กขาดวิตามินบี 12 อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายหลายด้าน [embed-health-tool-vaccination-tool] วิตามินบี 12 มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็กอย่างไร วิตามินบี 12 ช่วยเสริมการทำงานของไมอีลิน (Myelin) ซึ่งเป็นสารคล้ายไขมันที่ทำหน้าที่เป็นเยื่อหุ้มเซลล์สมอง ช่วยปกป้องระบบประสาท และกระตุ้นการสื่อสารระหว่างสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า นอกจากนี้ วิตามินบี 12 ยังช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารให้เป็นปกติ และป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต และยังเป็นวิตามินที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถรักษาและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ การได้รับวิตามินบี 12 ในปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ อาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคออทิสติก (Autistic Disorder) มากขึ้น วิตามินบี 12 ยังเป็นสารอาหารที่สำคัญในกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนั้น หากขาดวิตามินชนิดนี้ เด็กอาจเป็นโรคโลหิตจางได้ แหล่งของวิตามินบี 12  อาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมจะมีปริมาณวิตามินบี 12 สูง แม้ว่าผักชนิดต่าง ๆ จะมีวิตามิน 12 อยู่เช่นกัน แต่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถดูดซึมได้ดีพอ ผลิตภัณฑ์นม […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ลำดับการเกิด ส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราได้อย่างไร

จากผลการศึกษาวิจัย ลำดับการเกิดของเด็กมีความสำคัญพอๆกับเพศ ในการกำหนดบุคลิกภาพของเด็ก เป็นไปได้ว่าเนื่องจากลำดับการเกิดที่แตกต่างกัน ทำให้วิธีที่พ่อแม่เลี้ยงดูลูกมีความแตกต่างกันตามไปด้วย อีกทั้งบทบาทและหน้าที่ของเด็ก ก็มักจะแตกต่างกันออกไป ตามลำดับการเกิดของแต่ละคนอีกด้วย ลำดับการเกิด + การเลี้ยงดู = พฤติกรรม การเป็นลูกคนแรกนั้นมักเป็นเสมือน “การทดลอง” สำหรับคู่สามีภรรยา ซึ่งครึ่งหนึ่งจะเป็นการทำหน้าที่ตามสัญชาตญาณ และอีกครึ่งหนึ่ง จะเป็นการลองผิดลองถูก พ่อแม่มือใหม่จะปฏิบัติตามคำแนะนำจากหนังสือและญาติพี่น้อง โดยพวกเขาจะระมัดระวังลูกที่เกิดใหม่มาก อาจมีการถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดียในทุกการเคลื่อนไหว แล้วยังเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โดยใส่ใจกับทุกๆ รายละเอียด ดังนั้น เด็กที่เป็นลูกคนแรกจำนวนมาก จึงอาจกลายเป็นผู้นิยมความสมบูรณ์แบบ และต้องการประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่พอถึงลูกคนที่สอง คู่สามีภรรยาได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกมาแล้ว และมักจะมีกฎระเบียบสำหรับลูกคนที่สองน้อยลง นอกจากนี้ พวกเขายังจะให้ความใส่ใจกับลูกคนที่สองน้อยกว่า เนื่องจากมีลูกที่ต้องดูแลถึงสองคน ซึ่งอาจทำให้ลูกคนที่สองต้องเป็นคนที่ชอบเอาใจคนอื่นมากกว่า เพื่อที่จะได้รับความรักและสนใจจากผู้อื่น และเพราะพวกเขายังชอบเปรียบเทียบตัวเองกับลูกคนโต จึงต้องการที่จะทำให้ได้ดีกว่าอีกด้วย โดยสรุปแล้ว อาจเป็นวิธีที่พ่อแม่เลี้ยงดูและสั่งสอนลูกนั่นเอง ที่หล่อหลอมให้เกิดตัวตนของเด็กแต่ละคน ไม่ใช่เพียงแต่ลำดับการเกิดเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี เด็กจำนวนมากที่มีลำดับการเกิดเดียวกัน มักจะมีลักษณะนิสัยแบบเดียวกัน ลูกคนแรก: ผู้ประสบความสำเร็จ ลูกที่อายุมากที่สุด มักมีลักษณะร่วมที่คล้ายคลึงกับผู้ที่เป็นลูกคนโตคนอื่นๆ มากกว่าจะเหมือนกับพี่น้องของตนเอง เนื่องจากได้รับความเอาใจใส่มากกว่า และก็ถูกควบคุมมากกว่าด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นๆในครอบครัว จึงมีความรับผิดชอบ(ที่บางทีก็มากเกินไป)มีความประพฤติดีและไว้วางใจได้มากกว่า แม้กระทั่งบางคนอาจกล่าวว่าพวกเขาเป็นเหมือนพ่อแม่ของพวกเขาที่อยู่ในเวอร์ชั่นเด็กนั่นเอง ลูกคนกลาง: ผู้ไกล่เกลี่ย หากคุณเป็นลูกคนกลาง คุณมักเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจและมีความยืดหยุ่น ด้วยลักษณะเช่นนี้ทำให้คุณเข้ากับผู้อื่นได้ดีกว่า แต่คุณก็เป็นคนที่ชอบแข่งขัน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หน้าอก เสียทรงเพราะให้นมลูกจริงหรือ

การตั้งครรภ์และการให้นมลูกอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ หน้าอก เปลี่ยนรูปร่างไป นอกจากนี้ อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อายุ ขนาดของเต้านมก่อนตั้งครรภ์ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกังวลจนเกินไปถึงรูปร่างหน้าอกที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ควรดูแลรักษาสุขภาพหน้าอกและเต้านมให้ปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ [embed-health-tool-ovulation] หน้าอก เสียทรงเพราะให้นมลูกจริงหรือ โดยปกติแล้ว ในเต้านมไม่มีกล้ามเนื้อแต่จะยึดติดอยู่กับหน้าอกได้ด้วยเส้นเอ็นบาง ๆ ที่เรียกว่า เส้นคูเปอร์ (Cooper’s Ligament) ขณะตั้งครรภ์เส้นเอ็นบาง ๆ เหล่านี้จะยืดออก และเลือดจะถูกปั๊มเข้าเต้านม ทำให้หน้าอกมีน้ำหนักและอวบอิ่ม การสร้างน้ำนมอาจทำให้เนื้อเยื่อในเต้านมหนาขึ้น และอาจทำให้เต้านมของดูเหมือนหย่อนยานลง เนื้อเยื่อไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ก็อาจจะค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป หลังจากการให้นมลูก อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้ให้นมลูก แต่การตั้งครรภ์อาจส่งผลทำให้รูปร่างเต้านมของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกันไป นอกจากนั้น ยังอาจขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่ ดัชนีมวลกาย พันธุกรรม จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ขนาดของเต้านมก่อนตั้งครรภ์ อายุ ประวัติการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของเต้านม การเปลี่ยนรูปร่างของเต้านมอาจพบได้มากเมื่อเต้านมเต็มไปด้วยน้ำนม โดยเต้านมแต่ละข้างจะเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเต้านมข้างหนึ่ง อาจไม่เกิดขึ้นกับเต้านมอีกข้างก็ได้ ในขณะตั้งครรภ์ เส้นเอ็นที่ยึดติดเต้านมกับหน้าอกจะยืดออกและจะหดตัวลงหลังการให้นมลูก ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างของเส้นรอบอก […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

โรคมือเท้าปาก สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดได้อย่างไร

โรคมือเท้าปาก (Hand, foot and mouth disease หรือ HFMD) เป็นโรคติดเชื้อไม่รุนแรง ที่เกิดจากไวรัสค็อกแซ็กกี้ (Coxsackie virus) และเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคนี้พบมากในทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และยังไม่มียารักษาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมือเท้าปาก และรับมือกับโรคมือเท้าปากอย่างถูกวิธีได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมือเท้าปาก สำหรับวิธีการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมือเท้าปากอาจทำได้ ดังนี้ ลดการแพร่กระจาย โรคมือเท้าปากแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมือเท้าปากอาจยังคงอยู่ในทางเดินหายใจ หรือลำไส้ของผู้ป่วยได้หลายสัปดาห์หลังจากอาการทั้งหมดหายไป ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายจากผู้ที่ไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ไปยังผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ทารก เด็ก โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ คุณพ่อคุณแม่จึงควรลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายและการรับเชื้อของลูกด้วยการดูแลรักษาสุขอนามัยให้ดี อย่าให้ลูกเข้าใกล้ผู้ที่มีอาการป่วยหรือติดเชื้อ ไม่ให้ลูกใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น และหากลูกป่วยหรือติดเชื้อ ก็ควรให้ลูกพักรักษาตัวอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกจะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ป้องกันโรคให้ดี การป้องกันโรคมือเท้าปากที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติตนให้มีสุขอนามัยที่ดี การสอนเด็กเกี่ยวกับวิธีการล้างมือโดยใช้น้ำอุ่นและสบู่ สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้เป็นอย่างมาก เด็กยังควรได้รับการสอนให้ล้างมือหลังจากหยิบสิ่งของ ใช้ห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร หรือทันทีที่เด็กสัมผัสกับสิ่งสกปรก นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกไม่ให้เอามือเข้าปากหรือสัมผัสใบหน้า หรือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เข้าปากโดยเด็ดขาด ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมโดยรอบลูก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน