พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 หรือประมาณ 2 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยอาจเริ่มมีการตอบสนองต่อเสียงรอบตัว เช่น เสียงกริ่ง เสียงพูดคุย และอาจจ้องมองด้วยความสงสัยใคร่รู้ ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ คุณพ่อคุณแม่ควรทำกิจวัตรก่อนเข้านอนด้วยการอาบน้ำอุ่นหรือเล่านิทานให้ลูก เพื่อสร้างนิสัยในการนอนที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร การยิ้ม คือ ภาษาสากล ฉะนั้นคุณแม่เตรียมตัวรอรับรอยยิ้มที่มองไม่เห็นฟันจากลูกเป็นรางวัลได้เลย รอยยิ้มนี้อาจทำให้หัวใจละลายได้ ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนแรก ลูกน้อยอาจอาจแสดงอาการตอบสนองบางอย่างต่อเสียงกดกริ่งได้แล้ว อย่างเช่น การจ้องมอง ร้องไห้ หรือนิ่งเงียบ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับส่วนใหญ่ แนะนำให้พาลูกเข้านอนในขณะที่ยังตื่นอยู่แต่มีอาการงัวเงีย วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ที่จะกล่อมตัวเองให้นอนหลับได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากเวลาที่ลูกตื่นขึ้นมากลางดึก ทั้งนี้ การสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้ลูกตั้งแต่ยังเด็กสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำกิจวัตรก่อนเข้านอนด้วยการอาบน้ำอุ่นให้สบาย นวดเนื้อนวดตัวหรือเล่านิทานให้ลูกน้อยฟัง สุขภาพและความปลอดภัยของพัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมออาจอาจทำการตรวจสอบร่างกายในด้านต่าง ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของลูกว่าเป็นอย่างไร ถ้ามีนัดไปพบหมอในช่วงสัปดาห์นี้ ก็ควรปรึกษากับหมอในเรื่องต่อไปนี้ ถ้าลูกน้อยมีน้ำหนักตัวขึ้นช้า พัฒนาการช้า การตอบสนองต่าง ๆ ถ้ารู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ พฤติกรรม การนอนหลับ และการป้อนนมให้แก่ลูกน้อย ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา  สิ่งที่ควรรู้ อาหารสำหรับเด็ก ไม่ต้องเป็นกังวลถ้าไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กที่กินนมจากขวดก็สามารถมีสุขภาพดี มีความสุข และทำน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม ถ้าได้รับน้ำนมอย่างพอเพียง ถ้าให้นมมากไปอาจกลายเป็นเด็กอ้วน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 หรือทารก 2 เดือน ในช่วงนี้ทารกอาจจะยังคงบอบบางและต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการดูแลทารก 5 สัปดาห์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ภายในสัปดาห์แรกของเดือนแรกนี้ ลูกของคุณอาจยกหัวได้เล็กน้อยในขณะที่กำลังนอนคว่ำ นอกจากนี้ยังสามารถเพ่งมองใบหน้าของผู้อื่นได้อีกด้วย โดยเฉพาะใบหน้าคุณ ผู้ที่คอยดูแลเขามาเสมอ ในช่วงนี้ลูกของคุณอาจพูดอะไรที่มีเสียงอ้อแอ้ๆ เพื่อแสดงความรู้สึกออกมา เด็กบางคนอาจหวีดร้องหรือหัวเราะได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ทำเสียงอ้อแอ้หรือพูดคุยโต้ตอบลูกน้อยเป็นประจำ จะทำให้เขาพออกพอใจกับความสนใจของคุณในระยะนี้ คุณควรพูดคุยกับเขาโดยตรง นอกจากนี้ก็ควรใช้ภาษาของเด็กในการพูดคุยหรือสอนการใช้ภาษาให้เขา การสื่อสารกับลูกน้อยแบบนี้จะช่วยเพิ่มความใกล้ชิด และความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร คุณหมออาจอาจทำการตรวจสอบต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของลูกคุณว่าตอนนั้นเป็นยังไง ถ้าคุณมีนัดไปพบคุณหมอในช่วงสัปดาห์นี้ ก็ควรปรึกษากับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้ สอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณและคนในครอบครัวควรทำเมื่ออยู่ที่บ้าน และการรับประทานอาหาร การนอน และพัฒนาการโดยทั่วไปของลูกน้อย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และเส้นรอบวงศีรษะ และพัฒนาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่คลอด ทดสอบความสามารถทางการได้ยิน และการมองเห็นของเด็ก สิ่งที่ควรรู้ การคายอาหาร ในช่วงเดือนแรกนี้เด็กทารกส่วนใหญ่จะแหวะนมเป็นบางครั้ง เด็กบางคนก็แหวะทุกครั้งที่ป้อน บางครั้งเด็กแหวะนมเพราะกินเข้าไปมากเกิน ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาได้แบบเวิร์คๆ แต่อาจลองลดการกลืนอากาศเข้าไปในระหว่างกินนมดู ถึงแม้การแหวะนมจะเป็นเรื่องปกติและไม่มีอะไรน่าห่วง แต่การแหวะนมบางประเภทก็ส่อว่ามีปัญหาได้เหมือนกัน คุณแม่ควรโทรไปปรึกษาคุณหมอ ถ้าลูกน้อยแหวะนมพร้อมมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือสำลักหรือไอเป็นเวลานานๆ หรืออาเจียนออกมาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเขียว อาการแพ้นม อาการแพ้นมมักพบได้บ่อยในเด็กทารก ซึ่งในรายที่มีอาการแพ้รุนแรง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มรู้จักมองดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และมักจะชอบดูดนิ้ว คุณแม่จึงควรดูแลความสะอาดมือและนิ้วมือของลูกเป็นประจำ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ อาจใช้จุกนมหลอกเพื่อช่วยป้องกันลูกดูดนิ้ว และควรพาลูกน้อยเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี และตรวจร่างกาย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เมื่อลูกอายุครบ 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน มักจะชอบดูดนิ้ว หรือสิ่งที่อยู่ใกล้ปาก แต่การดูดนิ้วก็อาจทำให้ลูกเสี่ยงได้รับเชื้อโรคจากนิ้วมือได้ คุณแม่อาจให้ลูกดูดจุกนมแทน และควรดูแลมือของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ลูกอาจเพ่งมองไปที่วัตถุไกล ๆ ได้ในระยะ 20-35 เซนติเมตร ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร พยายามจ้องมองหน้าลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกพยายามยกหัวขึ้นมามองตอบคุณพ่อคุณแม่ สามารถใช้ผ้าม้วนหรือผ้าห่มยัดเอาไว้ใต้อก เพื่อช่วยให้ลูกเริ่มดันตัวขึ้นได้ง่าย และอาจช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและการควบคุมกล้ามเนื้อของลูกได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอตามนัด โดยคุณหมออาจตรวจร่างกายลูกน้อย ดังนี้ การเจาะเอาเลือดตัวอย่างจากข้อเท้าไปตรวจดูว่าลูกมีโรคต่าง ๆ เช่น โรคทางเดินปัสสาวะ โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ปัญหาความผิดปกติของระบบเผาผลาญ หรือไม่ ทั้งนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบในเชิงลึก เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพอื่น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ทารกอาจเริ่มมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น เริ่มให้ความสนใจกับใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น อาจสามารถเริ่มจดจำและแยกแยะเสียงได้ แต่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ ทำได้เพียงแค่ร้องไห้เป็นหลัก ในช่วงนี้เด็กอาจมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตฉับพลันเนื่องจากการขาดอากาศหายใจ เพราะเด็กอาจสามารถพลิกตัวคว่ำหน้าได้เองแต่อาจไม่สามารถพลิกกลับได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังและดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ทารกอายุ 3 สัปดาห์สามารถมองตามวัตถุได้ในระยะ 20-35 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างดวงตาของลูกน้อยกับระยะใบหน้าของผู้ที่ป้อนนมให้ เด็กในช่วงวัยนี้มักจะให้ความสนใจกับใบหน้ามากกว่าวัตถุ ควรส่งเสริมโดยมองตาทารกขณะที่ป้อนนมให้ ในขณะเดียวกันอาจลองเลื่อนศีรษะช้า ๆ จากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วสังเกตว่าดวงตาของทารกจ้องมองตามอยู่หรือเปล่า วิธีนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อและทักษะในการมองตามให้ทารกได้ การสื่อสารด้วยการสบตากันนั้น ยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์สายใยระหว่างแม่หรือผู้ที่ป้อนนมให้ทารก นอกจากนั้น ทารกยังสามารถขยับแขนขาและเคลื่อนไหวหรืออาจพลิกตัวนอนคว่ำเองได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยสามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้เพียงวิธีเดียว นั่นก็คือ การร้องไห้ ตอนนี้ลูกน้อยอาจจำเสียงได้แล้ว และสามารถแยกแยะเสียงของคุณพ่อคุณแม่ออกจากเสียงคนอื่น ๆ ได้ด้วย ลูกน้อยอาจชอบให้กอด ลูบไล้ จูบ นวด และอุ้ม โดยอาจจะทำเสียง “อา” เวลาที่ได้ยินเสียงหรือเห็นหน้า  สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากทารกมีพัฒนาการตามปกติอาจไม่จำเป็นต้องพาไปพบคุณหมอ อย่างไรก็ตาม ควรสำรวจหาสัญญาณที่ส่อถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อย่างเช่น ตรวจดูปัสสาวะหรือสีอุจจาระ เพื่อตรวจหาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ สังเกตรอยช้ำหรือจุดแดงเป็นจ้ำ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มจำเสียงของคุณแม่ได้แล้ว คุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกน้อยให้มากขึ้น เพื่อทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและสบายใจ และรู้สึกได้รับความรักจากคุณแม่ด้วย อีกทั้งช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ลูกยังต้องการกินนมแม่ จึงควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่เหมาะสม เพื่อช่วงส่งเสริมสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร แม้จะเพิ่งมีอายุได้เพียง 2 สัปดาห์ แต่ลูกก็รับรู้ได้แล้วว่า คุณแม่เป็นที่พึ่งพาได้ ลูกน้อยจะเริ่มจำเสียงคุณแม่ได้แล้ว การได้ยินเสียงจะทำให้ลูกรู้สึกสบายใจ ปรับตัวเข้ากับโลกใบใหม่หลังคลอดได้ง่ายขึ้น และทำให้รู้ว่าไม่ได้อยู่เพียงลำพัง ดั้งนั้น ยิ่งคุณแม่พูดกับลูกมากเท่าไร ก็จะยิ่งดีต่อลูกมากเท่านั้น แม้ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่พูด แต่ความรักและความอบอุ่นที่ได้รับเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่ ก็เป็นสิ่งที่ลูกต้องการมากที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ 2 นี้ ลูกมีแนวโน้มที่จะโงหัวขึ้นได้บ้างแล้ว สิ่งที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญก็คือ ลูกสามารถหายใจได้อย่างสะดวกเสมอเวลานอนคว่ำ ทั้งนี้ ดวงตาของลูกน้อย 2 สัปดาห์จะยังบวม ๆ อยู่ และลูกจะสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20-40 เซนติเมตรเท่านั้น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกสามารถรับรู้ถึงสิ่งรอบตัวได้แล้ว คุณแม่จึงควรช่วยให้ลูกสามารถสำรวจหน้าตาของคุณแม่ให้ง่ายขึ้น โดยการมองลูกในระยะใกล้ ๆ ในขณะให้นม หรือในเวลาที่ดูแลลูกทุก ๆ วัน คุณแม่อาจลองขยับศีรษะซ้าย-ขวา แล้วสังเกตดูว่าลูกกำลังมองตามอยู่หรือเปล่า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ของลูกน้อย

เด็กแรกคลอดอายุ 1 สัปดาห์หรือ 7 วัน ถือเป็นช่วงที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทะนุถนอม เนื่องจากเด็กยังมีความเปราะบางมาก การดูแลลูกอย่างถูกวิธีและพาลูกไปพบคุณหมอทันทีเมื่อพบอาการผิดปกติ อาจช่วยให้ลูกมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ที่เหมาะสมและมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร แขนขาของลูกน้อยวัย 1 สัปดาห์จะยังยืดออกไม่เต็มที่ และตาของลูกจะยังดูบวม ๆ อยู่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และเด็กส่วนใหญ่จะยืดตัวได้อย่างเต็มที่เมื่ออายุได้ประมาณ 6 เดือน น้ำหนักโดยเฉลี่ยของทารกแรกเกิดนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 3.5 กิโลกรัม และความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ น้ำหนักและส่วนสูงอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2.5-4.5 กิโลกรัม และความสูงตั้งแต่ 48-51 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามตัวเลขเหล่านี้ ไม่เกี่ยวข้องกับขนาดตัวตอนที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตราบใดน้ำหนักและส่วนสูงของลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณแม่ก็ไม่ควรเป็นกังวลกับเรื่องตัวเลขมากเกินไป แต่สิ่งที่ควรใส่ใจในตอนนี้ คือ การให้ลูกกินนมแม่เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากไม่สะดวกให้ลูกกินนมแม่ ควรปรึกษาคุณหมอถึงทางเลือกอื่นที่เหมาะสม เช่น การให้ลูกกินนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ด้วยความที่อยู่ในครรภ์มารดามาถึง 9 เดือน จึงนับเป็นเรื่องยากสำหรับลูกน้อยที่จะทำความคุ้นเคยกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ลูกน้อยต้องการเวลาในการทำความคุ้นเคยกับโลกใหม่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสภาพแวดล้อมรอบตัวลูกให้ดี รักษาความอบอุ่นให้ลูกน้อยอยู่เสมอ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 เป็นช่วงที่สมองของลูกน้อยมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย ซึ่งภายในไตรมาสแรกนี้สมองอาจจะใหญ่ขึ้นได้ถึง 5 เซนติเมตร คุณแม่คุณพ่อควรใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและทักษะด้านต่าง ๆ ให้เติบโตสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 ของลูกน้อย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้สมองของลูกน้อยมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย ซึ่งภายในไตรมาสแรกนี้อาจจะใหญ่ขึ้นได้ถึง 5 เซนติเมตร อาจสังเกตได้จากบางครั้งที่มีช่วงตื่นตัวและช่วงเงียบ ถือเป็นเรื่องปกติลูกน้อยกำลังสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  คุณพ่อคุณแม่ควรโต้ตอบกับลูก เช่น พูดคุย ร้องเพลง หรือบรรยายรายละเอียดว่ากำลังทำอะไร ลูกน้อยอาจจะไม่เข้าใจ แต่จะเรียนรู้และซึมซับน้ำเสียงและการแสดงออกต่าง ๆ ไว้ในหน่วยความจำของสมอง พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 มีอะไรบ้าง ในช่วงสัปดาห์นี้ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้ ชันศีรษะขึ้น 90 องศา เวลานอนคว่ำ ยกคอตั้งขึ้นได้เมื่อจับตัวตั้งตรง นำมือสองข้างมาประสานกันได้ มีอาการเงียบผิดสังเกต ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะลูกน้อยกำลังสังเกตและเรียนรู้อยู่ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ช่วงนี้คือเวลาสำคัญในการเรียนรู้ของลูกน้อย ควรใช้เวลาตอนที่เขากำลังเงียบ ๆ เพื่อพูดคุย สื่อสาร ร้องเพลง หรือบรรยายภาพต่าง ๆ  คุณแม่สามารถพูดคุยไปพร้อม ๆ กับลูบไล้เนื้อตัวลูกน้อยด้วยความรัก ในขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือป้อนอาหาร นี่คือ วิธีที่ดีที่สุดในการช่วยส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านภาษา การได้ยิน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

6 เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม ให้คุณแม่ด้วยวิธีธรรมชาติ

คุณแม่หลายคนอาจต้องการ เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม เพื่อจะได้แน่ใจว่าตัวเองนั้นมีน้ำนมให้ลูกอย่างเพียงพอ ซึ่งการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามให้นมลูกบ่อย ๆ อาจช่วยทำให้น้ำนมมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือบริโภคคาเฟอีกมากเกินไป เพราะอาจส่งผลให้น้ำนมน้อยลงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม ด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการเพิ่มน้ำนมให้ตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติ อาจทำได้ดังนี้ 1. เทคนิคผิวสัมผัสผิว เทคนิคผิวสัมผัสผิว (Skin-to-skin)  คือ การที่คุณแม่กอดลูกไว้ในอ้อมอก โดยที่คุณแม่ไม่สวมเสื้อและลูกสวมเพียงผ้าอ้อม เพื่อให้ผิวของคุณแม่กับลูกสัมผัสกันโดยตรง คุณแม่อาจทำตอนช่วงงีบหลับตอนกลางวัน ตอนก่อนนอน หรือในตอนกลางคืนก็ได้ เนื่องจาก การที่ผิวได้สัมผัสผิวแบบนี้จะช่วยทำให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนแห่งความรัก หรือ ฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน (Oxytocin) หลั่ง ส่งผลให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ลูกผ่อนคลาย กินนมได้นานขึ้น รวมถึงช่วยเรื่องระบบการหายใจและอุณหภูมิในร่างกายด้วย 2. กินอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ กินให้ครบ 5 หมู่ในทุก ๆ มื้อ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนในแต่ละวัน การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ จะทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น และช่วยทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้นด้วย โดยคุณแม่อาจกินอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนม หรือในทางการแพทย์จะเรียกกลุ่มอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนมว่า กาแลคตาโกจี (Galactagogues) เช่น […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ประโยชน์ของวิตามินบี สำหรับเด็กมีอะไรบ้าง ทำไมจึงจำเป็นต่อร่างกาย

ประโยชน์ของวิตามินบี คือ ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งจะลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย และยังมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญและสร้างพลังงาน มีส่วนช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมวัย จึงนับว่าเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อเด็ก ๆ และควรได้รับอย่างเพียงพอ พบมากในอาหาร เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ประโยชน์ของวิตามินบี ประเภทต่างๆ วิตามินบี เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยสามารถแบ่งออกเป็นวิตามินบีชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้ วิตามินบี1 หรือ ไทอามีน (Thiamine) วิตามินบี1 มีหน้าที่ในการสร้างพลังงาน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตประเภทอื่น ๆ ให้เป็นพลังงาน อีกทั้งยังช่วยป้องกันระบบประสาทจากความเสียหาย หรือภาวะเสื่อมสภาพ ประโยชน์ของวิตามินบี1 คือ ช่วยสารสื่อประสาทในการสื่อสารไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเด็กแล้ว ความต้องการวิตามินบี1 อยู่ระหว่าง 500 ถึง 900 ไมโครกรัมต่อวัน วิตามินบี1 สามารถพบได้ในถั่ว เมล็ดทานตะวัน ปลา ถั่วลันเตา ถั่วเหลืองคั่ว ถั่วเขียว และขนมปังจากแป้งสาลี อย่างไรก็ดี วิตามินบี1 มีความไวสูงต่ออุณหภูมิ ดังนั้น ในการปรุงอาหารอาจทำให้สูญเสียวิตามินบี1 หากปรุงสุกเกินไป […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กขาดวิตามินดี ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

วิตามินและแร่ธาตุสำคัญมีส่วนช่วยสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก อย่างไรก็ตาม วิตามินดีเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นมากที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของเด็ก หาก เด็กขาดวิตามินดี ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกระดูก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็กรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน รวมไปถึงอาหารเสริมและกิจกรรมที่เสริมสร้างความแข็งแรงอยู่เสมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมจึงไม่ควรให้ เด็กขาดวิตามินดี วิตามินดีมีส่วนช่วยในเรื่องการพัฒนาการของกระดูกและช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น เสริมสร้างกระดูกและสุขภาพฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ วิตามินดี ยังมีส่วนช่วยในการสร้างและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายป้องกันการติดเชื้อ กระตุ้นการผลิตสารอินซูลิน และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์ หาก เด็กขาดวิตามินดี อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Diseases) เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) ทั้งยังอาจทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของกระดูกล่าช้า หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามพันธุกรรม ดังนั้น การได้รับวิตามินดีที่เพียงพออาจช่วยปกป้องให้เด็ก ๆ ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด โรคเบาหวาน ปริมาณวิตามินดีสำหรับเด็ก สำหรับปริมาณวิตามินดีที่เหมาะสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย มีดังนี้ ทารก 6-12 เดือน ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 1-8 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-18 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน