backup og meta

สาหร่ายทะเล แหล่งสารอาหารชั้นดี ที่ทะเลมอบให้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    สาหร่ายทะเล แหล่งสารอาหารชั้นดี ที่ทะเลมอบให้

    สาหร่ายทะเล หนึ่งในเมนูโปรดของใครหลายๆ คน นอกจากความอร่อยแล้วสาหร่ายทะเลยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวสาหร่ายทะเลมาฝากทุกคน ค่ะ

    สาหร่ายทะเล คืออะไร

    คำว่า สาหร่าย เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกผักที่อยู่ในทะเล โดยจะมีการจำแนกตามลักษณะ รูปร่าง และสี สาหร่ายทะเล เป็นพืชชนิดหนึ่งที่เติบโตอยู่ในทะเล พวกมันถือเป็นแหล่งอาหารสำหรับ ชีวิตในท้องทะเลต่างๆ สาหร่ายทะเลมีสีที่หลากหลาย ตั้งแต่ สีแดง สีเขียว สีน้ำตาล และสีดำ โดยทั่วไปแล้วสาหร่ายมักจะมีการเติบโตตามแนวชายฝั่ง บริเวณโขดหินของชายฝั่งทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่แล้วสาหร่ายที่สามารถรับประทานได้นั้นจะอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีและจีน สาหร่ายเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์กับร่างกายอย่างมาก และเป็นอาหารที่สามารถนำไปปรุงในอาหารได้อย่างหลากหลายเช่นใช้ทำซูชิโรล ใส่ในซุปซุปและสตูว์ เพิ่มลงในสลัด หรือจะรับประทานเป็นอาหารว่างก็ได้เช่นกัน

    สาหร่ายทะเลชนิดต่างๆ

    สาหร่ายทะเลหรือสาหร่ายที่เติบโตใกล้กับแหล่งน้ำเค็มนั้นมีหลายประเภท สาหร่ายเหล่านี้มักจะมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย การรับประทานสาหร่าย หรือเพิ่มสาหร่ายลงในอาหารมีส่วนช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหารและช่วยในการลดน้ำหนัก ประเภทของสาหร่ายทะเลต่างๆ เช่น

    • โนริ (Nori)
    • สาหร่ายเคลป์ (Kelp)
    • สาหร่ายวากาเมะ (Wakame Seaweed)
    • สาหร่ายคอมบุ (Kombu)
    • โดส (Dulse)
    • สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว เช่น สาหร่ายสไปรูลิน่า (Spirulina) และคลอเรลล่า (Chlorella)

    สาหร่ายช่วยลดน้ำหนัก

    สาหร่ายทะเล ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

    มีคุณค่าทางสารอาหารสูง

    สาหร่ายแต่ละประเภทอาจจะมีคุณค่าทางสารอาหารที่แตกต่างกันออกไป แต่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการศึกษา สาหร่ายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ แร่ธาตุ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน แถมสาหร่ายยังมีวิตามินซี วิตามินบี วิตามินเอ วิตามินอี ธาตุเหล็ก และไอโอดีนอีกด้วย นอกจานี้สาหร่ายยังมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งอาจปกป้องร่างกายจากความเครียด ที่เกิดจากการเกิดออกซิเดชันและลดการอักเสบในระดับเซลล์ได้

    ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์

    ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ในการควบคุมและปล่อยฮอร์โมน เพื่อผลิตพลังงาน เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ซึ่งการทำงานของไทรอยด์ ต้องการสารไอโอดีน (Iodine) เพื่อช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นหากร่างกายขาดสารไอโอดีน จึงเป็นสาเหตุของภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ ซึ่งจะส่งผลต่อการเกิดคอพอก ต่อมไทรอยด์โต ซึ่งสาหร่ายทะเล เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารไอโอดีนจำนวนมาก จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสารการวิเคราะห์อาหารและยาพบว่า สารหร่ายคอมบุ เป็นสาหร่ายที่ให้สารไอโอดีนที่สมบูรณ์ที่สุด รองลงมาคือสาหร่ายวากาเมะและสาหร่ายโนริ นอกจากนี้สถานที่เติบโตของสาหร่ายที่แตกต่างกันก็จะให้ปริมาณไอโอดีนที่ต่างกันออกไป ดังนี้

    โนริ 37 ไมโครกรัมต่อกรัม (ร้อยละ 25 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน)

    วากาเมะ 139 ไมโครกรัมต่อกรัม (ร้อยละ 93 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน)

    คอมบุ 2523 ไมโครกรัมต่อกรัม (ร้อยละ 1,682 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน)

    เบาหวาน

    สาหร่ายเป็นพืชที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ และแน่นอนว่าอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลิน (Insulin) การเพิ่มสาหร่ายลงในมื้ออาหาร สามารถช่วยให้เรารับประทานไฟเบอร์ได้มากขึ้น โดยที่แคลอรี่ไม่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาในปี 2018 ในหนู พบว่าสารในสาหร่ายชนิดหนึ่ง มีส่วนช่วยในการลดเบาหวานประเภทที่ 2 ได้โดยตรง เช่นน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งสารประกอบในสาหร่ายทะเลอาจลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน

    ส่งเสริมสุขภาพของลำไส้

    แบคทีเรียในลำไส้ มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหารและสนับสนุนการย่อยอาหาร ซึ่งสาหร่ายเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับลำไส้ ผู้เขียนงานวิจัยในวารสาร Phycology รายงานว่า สาหร่ายนั้นมีปริมาณเส้นใยสูง ซึ่งเส้นใยเหล่านี้สามารถเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ได้ เมื่อแบคทีเรียในลำไส้ได้อาหารที่ดีอย่างสาหร่าย ก็จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ลำไส้แข็งแรงและช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นการเพิ่มสาหร่ายลงในอาหารแต่ละมื้อจึงเป็นวิธีง่าย ๆ ในการทำให้ร่างกายมีพรีไบโอติกที่ดีต่อสุขภาพซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย

    ช่วยลดน้ำหนัก

    สาหร่ายทะเลเป็นอาหารที่มีประโยชนืเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก เพราะสาหร่ายเป็นอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง ซึ่งจะช่วยให้อิ่มได้นาน แถมยังให้พลังงานแคลอรี่ที่ต่ำอีกด้วย จากการศึกษาของ Marine Drugs พบว่าเส้นใยอาหารจำนวนมากช่วยให้รู้สึกอิ่ม ส่งผลให้กระเพาะอาหารอาจไม่ส่งสัญญาณความหิวไปยังสมองเป็นเวลานานซึ่งอาจช่วยป้องกันการรับประทานมากเกินไป

    ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ

    อาหารที่มีเส้นใยสูงเช่นสาหร่าย มีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ เส้นใยที่ละลายน้ำเหล่านี้จับกับกรดน้ำดีหรือเกลือในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลให้คอเลสเตอรอลโดยรวมลดลงถึงร้อยละ 18 นอกจากนี้สาหร่ายหลาย ๆ ชนิดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูงซึ่งอาจช่วยบำรุงหัวใจอีกด้วย

    ข้อควรระวังในการบริโภค สาหร่ายทะเล

    ข้อกังวลโดยทั่วไปในการบริโภคสาหร่ายคือโลหะหนัก เพราะสาหร่ายมักจะดูดซับแร่ธาตุและสารอาหารจากทะเล หากบริเวณโดยรอบที่สาหร่ายเจริญเติบโตมีโลหะหนัก สาหร่ายก็จะดูดซับไว้เช่นกัน ซึ่งหากร่างกายได้รับโลหะหนักที่เป็นพิษจำนวนมากเช่น แคดเมียม ปรอทและตะกั่ว สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ นอกจากนี้การรับประทานสาหร่ายทะเลในปริมาณที่มากเกินไป ยังส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ เมื่อร่างกายได้รับไอโอดีนมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการบวมบริเวณคอหรือน้ำหนักมีการผันผวน หากมีอาการเช่นนี้ควรลดการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยไอโอดีนและปรึกษาแพทย์ทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา