การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

"ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ตั้งแต่การเลือกยาสระผมที่เหมาะสม ตลอดไปจนถึงการบำรุงดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ก็อาจช่วยให้เรามีเส้นผมและหนังศีรษะที่มีสุขภาพดี สวยเงางาม และเพิ่มความมั่นใจให้กับเราอีกมาก แถมยังส่งผลให้เรามีสุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย เรียนรู้เคล็ดลับใน การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมหงอกเกิดจาก อะไร ยิ่งถอน ยิ่งหงอก จริงหรือไม่

ผมหงอก คือเส้นผมสีขาวที่งอกออกมา แทนที่สีผมธรรมชาติ มักพบได้ในช่วงวัยสูงอายุ แต่บางคนก็อาจมีอาการผมหงอกได้ตั้งแต่ยังอายุน้อย ผมหงอกเกิดจาก การที่เซลล์เม็ดสีผมลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งอายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ พฤติกรรม และอาการเจ็บป่วย ซึ่งการดูแลสุขภาพเส้นผมอย่างเหมาะสมอาจช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดผมหงอกได้ [embed-health-tool-heart-rate] ผมหงอกเกิดจาก อะไร  เส้นผมของคนจะประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ เซลล์ที่สร้างเนื้อผมเป็นโปรตีน  เซลล์ที่สร้างเม็ดสีเรียกว่า เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งรากผมจะสร้างขึ้นมา ทำให้สีผมแต่ละคนแตกต่างกันไป  เซลล์เมลาโนไซต์สร้างเม็ดสี เรียกว่า เมลานิน (melanin) สีตามธรรมชาติของเส้นผมขึ้นอยู่กับ การกระจายตัว ชนิด และปริมาณเม็ดสี คนที่มีมีเม็ดสีจำนวนมากและเข้มข้นมาก จะทำให้มีเส้นผมที่สีเข้ม ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ เชื้อชาติ แต่ระดับเม็ดสีของเส้นผมก็ยังปรับเปลี่ยนได้ตามสุขภาพร่างกายอีกด้วย  ผมหงอกเกิดจาก อะไร  เส้นผมที่เปลี่ยนจากสีตามธรรมชาติ กลายเป็นสีเทาหรือสีขาว สาเหตุสำคัญเกิดจากอายุ กรรมพันธุ์ เมื่อายุมากขึ้นการทำงานของเซลล์เมลาโนไซต์จะชะลอลง เม็ดสีที่เส้นผมจะลดลง เกิดจากการที่รากผมไม่สร้างเม็ดสี จนกลายเป็นเส้นผมสีขาวหรือเทาเงินเมื่อโดนแสง ปัจจัยที่ทำให้เกิดผมหงอก อายุ โดยทั่วไปทารกจะมีสีผมที่อ่อนกว่าช่วงวัยอื่น แล้วจะค่อย ๆ มีสีผมเข้มขึ้นจนถึงวัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเส้นผมจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเทา สีดอกเลา ผมสีขาวหรือผมหงอก ปกติแล้วเมื่ออายุ 30 ปี […]

สำรวจ การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมร่วงเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันได้อย่างไร

ผมร่วงเกิดจาก สาเหตุต่าง ๆ เช่น พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผลข้างเคียงของยา ความเครียด ที่อาจส่งผลให้หนังศีรษะ รากผม และเส้นผมอ่อนแอ จนผมหลุดร่วง หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ศีรษะล้านและขาดความมั่นใจในการพบเจอผู้คนได้ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาผมร่วง หรือหากผมร่วงจนสร้างความกังวลใจ ควรศึกษาวิธีดูแลหนังศีรษะและเส้นผม หรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอ ผมร่วงเกิดจากอะไร ผมร่วงเกิดจาก หลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ พันธุกรรม เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงแบบแอนโดรจีนิค (Androgenic alopecia) ซึ่งมีลักษณะผมร่วงมากบริเวณส่วนกลางของหนังศีรษะ ทำให้ศีรษะล้านตรงกลางเพียงจุดเดียว หรือ ล้านบริเวณเหนือขมับขึ้นไปสองข้าง อายุที่มากขึ้น อาจทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเส้นผมช้าลงหรือหยุดการเจริญเติบโต ที่ส่งผลให้เกิดผมร่วงได้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หากร่างกายผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป เช่น ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ วัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไม่สมดุลจนส่งผลให้ผมหลุดร่วง การติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์เช่น ซิฟิลิส ที่อาจทำให้รูขุมขน รากผม และหนังศีรษะถูกทำลาย จนนำไปสู่การเกิดผมร่วง โดยเฉพาะผู้ที่ขาดการดูแลสุขลักษณะอนามัยของเส้นผมและหนังศีรษะ และผู้ที่ไม่เป่าผมให้แห้ง เพราะความอับชื้นอาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โรคภูมิแพ้รากผม อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ยาปลูกผม ช่วยให้ผมขึ้นได้อย่างไร ใช้อย่างไรและเลือกอย่างไร

ยาปลูกผม เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะ ยับยั้งการอักเสบ และช่วยยับยั้งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงตามพันธุกรรม การใช้ยาปลูกผมในการรักษาจึงอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่และชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม อย่างไรก็ตาม ควรเลือกซื้อยาปลูกผมที่จำหน่ายตามท้องตลาดที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมถึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยาปลูกผม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-bmi] ยาปลูกผม ช่วยให้ผมขึ้นได้อย่างไร ยาปลูกผมที่จำหน่ายตามท้องตลาดในรูปแบบยาสระผม ยาทา หรือยารับประทาน อาจยังไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่าสามารถใช้เพื่อปลูกผมให้ได้ผลจริงดั่งคำโฆษณา แต่ยาปลูกผมที่ใช้สำหรับการรักษาโรคผมบางตามพันธุกรรม ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาทางการแพทย์นั้น มีผลการวิจัยที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการรักษาว่าสามารถช่วยให้เส้นผมเจริญเติบโตได้ดีและลดปริมาณผมขาดหลุดร่วงได้ โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะ ยับยั้งการอักเสบ และยังยั้งการลดลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เกิดจากพันธุกรรม จึงสามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่และชะลอการหลุดร่วงของเส้นผมได้ การรักษาผมบางด้วยยาปลูกผม สำหรับยาปลูกผมที่มีงานวิจัยรองรับ ซึ่งอาจช่วยรักษาปัญหาผมร่วงที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อาจมีดังนี้ ยาไมน็อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาปลูกผมที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรืออาจเป็นส่วนผสมที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ปลูกผมหลายยี่ห้อ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของเหลว โฟม หรือแชมพู มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมและชะลออัตราการหลุดร่วงของเส้นผม สำหรับการรักษาด้วยยาไมน็อกซิดิลอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 เดือน ควรใช้วันละ 2 ครั้ง เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Drug Design, Development and Therapy เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ไมน็อกซิดิลเพื่อรักษาความผิดปกติของเส้นผม พบว่า ไมน็อกซิดิลถูกพัฒนาสูตรเฉพาะขึ้นมาเพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและลดการหลุดร่วงของเส้นผม ในปัจจุบันมีการใช้ไมน็อกซิดิลเพื่อรักษาปัญหาผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม และสามารถใช้รักษาปัญหาผมร่วงอื่น ๆ เช่น ผมร่วงจากการใช้สารเคมี […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ยาสระผมเร่งผมยาว มีส่วนผสมอะไรบ้าง และควรดูแลเส้นผมอย่างไรให้ผมยาวเร็ว

ยาสระผมเร่งผมยาว เป็นยาสระผมที่มีส่วนผสมในการช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม เพิ่มความแข็งแรงของเส้นผมและหนังศีรษะ ป้องกันและลดปัญหาผมเสียขาดหลุดร่วง รวมถึงช่วยเติมเต็มสารอาหารให้กับเส้นผม ซึ่งอาจช่วยให้เส้นผมแข็งแรง สุขภาพดี และอาจทำให้ผมยาวไวขึ้น [embed-health-tool-ovulation] ยาสระผมเร่งผมยาว มีส่วนผสมอะไรบ้าง สำหรับการเลือกยาสระผมเร่งผมยาว อาจเลือกยาสระผมที่มีส่วนผสม ดังนี้ ไนอะซิน (Niacin) มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณหนังศีรษะ ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ช่วยลดปัญหาผมขาดหลุดร่วง และอาจช่วยเร่งผมยาวได้ ไบโอติน (Biotin) เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ลดปัญหาผมเปราะและขาดหลุดร่วง ช่วยให้เส้นผมแข็งแรงและสุขภาพดีขึ้น จึงอาจช่วยเร่งผมยาวได้ น้ำมันหอมระเหย เช่น ตะไคร้ โหระพา สะระแหน่ ลาเวนเดอร์ มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ช่วยให้เส้นผมแข็งแรงและไม่แตกหักง่าย ฮีสทิดีน (Histidine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่อาจช่วยดูดซับและขจัดทองแดงส่วนเกินจากเส้นผม และช่วยปกป้องเส้นผมจากการทำร้ายของรังสียูวีเอและยูวีบี เนื่องจากทองแดงเป็นอนุมูลอิสระที่จะเร่งความเสียหายของเส้นผมโดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับรังสียูวี จะทำให้ผมอ่อนแอ ผมเสีย ผมร่วงและผมอาจยาวช้าลงได้ การใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของฮีสทิดีนจึงสามารถช่วยให้เส้นผมแข็งแรงและสุขภาพดีขึ้น ไฟโตคาเฟอีน (Phyto-Caffeine) ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายอาจมีส่วนทำให้เส้นผมหลุดร่วงได้ ซึ่งไฟโตคาเฟอีนมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในรากผม เพื่อช่วยลดปัญหาผมขาดหลุดร่วงและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผม ไมน็อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการผมร่วงตามกรรมพันธุ์ ในผลิตภัณฑ์ยาสระผมบางชนิดมีส่วนผสมของไมน็อกซิดิลในปริมาณที่ปลอดภัย ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม และอาจช่วยเร่งให้ผมยาวเร็วขึ้นได้ การดูแลเส้นผมเพื่อเร่งผมยาว นอกจากการเลือกใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมที่ช่วยเร่งผมยาวแล้ว ควรดูแลเส้นผมและหนังศีรษะเพิ่มเติม ดังนี้ รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

คันหัว สาเหตุ การรักษาและการดูแลตัวเอง

คันหัว เป็นอาการคันที่เกิดขึ้นตามปกติโดยอาจไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น การไม่รักษาความสะอาด รังแค รูขุมขนอักเสบ เกลื้อน เหา รวมถึงโรคผิวหนังต่าง ๆ หากเกามาก ๆ อาจทำให้หนังศีรษะเกิดรอยขีดข่วนและบาดแผลขนาดเล็กทั่วหนังศีรษะ และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อตามมาได้ จึงควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อบรรเทาและป้องกันอาการคันหัวที่เกิดขึ้น คันหัว เกิดจากอะไร คันหัว เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นตามปกติเมื่อมีความระคายเคืองบนหนังศีรษะ หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ  ดังนี้ การไม่รักษาความสะอาด การไม่รักษาความสะอาดผิวหนังเป็นประจำอาจทำให้เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สิ่งสกปรกหรือสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ตกค้างอยู่บนผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะที่มีความอับชื้นได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคันตามมา หรือในบางคนที่สระผมแล้วไม่เช็ดหรือเป่าผมให้แห้ง หรือล้างทำความสะอาดแชมพูไม่หมด อาจทำให้มีแชมพูสะสมจนทำให้หนังศีรษะเป็นสะเก็ดและคันหัวได้ รังแค รังแคเป็นสภาวะของผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วลอกตัวออกกลายเป็นสะเก็ดบนหนังศีรษะ ซึ่งอาจเกิดจากหนังศีรษะแห้ง การไม่รักษาความสะอาด เชื้อรา หรือต่อมไขมันอักเสบ จนทำให้หนังศีรษะมีรังแคเป็นสะเก็ดสีขาวและอาจมีอาการคันหัวได้ รุมขนอักเสบ รูขุมขนอักเสบอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา จนทำให้รูขุมขนอักเสบและระคายเคือง ซึ่งอาการอาจแพร่กระจายไปยังรูขุมขนข้างเคียงได้ อาจทำให้มีตุ่มใสคล้ายสิว เจ็บปวด ผิวแดงและคันหัว เหา เหามีลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามเส้นขนหรือเส้นผมของมนุษย์ สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีอาการระคายเคืองและคันหัว ซึ่งการเกาหัวอาจทำให้หนังศีรษะเกิดบาดแผลและติดเชื้อได้ โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเป็นสภาวะความผิดปกติของผิวหนังที่อาจทำให้เกิดการอักเสบ ความระคายเคือง ผื่นแดง คันหัว แผลพุพอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายโดยเฉพาะในบริเวณที่อับชื้นมาก เช่น หนังศีรษะ ข้อพับ เท้า โดยชนิดของโรคผิวหนังที่อาจทำให้เกิดอาการคันหัวอาจมีดังนี้ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

แชมพูขจัดรังแค มีประโยชน์ต่อเส้นผมและหนังศีรษะอย่างไร

แชมพูขจัดรังแค เป็นแชมพูที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันและรักษารังแคบนหนังศีรษะ โดยควรเลือกส่วนผสมที่มีส่วนช่วยผลัดเซลล์ผิว ยับยั้งการแบ่งเซลล์ผิวที่มากเกินไป ลดการอักเสบ ลดอาการคันและป้องกันความระคายเคือง รวมถึงช่วยต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดรังแค รังแคเกิดจากอะไร รังแค คือ ภาวะปกติของผิวบนหนังศีรษะที่สามารถลอกเป็นขุย ซึ่งไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรง แต่อาจส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพและอาจทำให้เสียความมั่นใจ โดยรังแคอาจมีสาเหตุมาจากความระคายเคืองของหนังศีรษะที่มันหรือแห้ง การติดเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ที่กินน้ำมันบนหนังศีรษะเป็นอาหาร การแพ้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม รวมถึงโรคผิวหนังอื่น ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน กลากเกลื้อน ปัญหารังแคบนหนังศีรษะที่ไม่รุนแรงอาจสามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพูที่มีส่วนผสมในการช่วยกำจัดรังแค บำรุงหนังศีรษะและบำรุงเส้นผม แชมพูขจัดรังแค มีส่วนผสมอะไรบ้าง ส่วนผสมในแชมพูขจัดรังแคที่อาจช่วยลดปัญหารังแค ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของรังแค อาจมีดังนี้ กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) เป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการช่วยผลัดเซลล์ผิว ซึ่งอาจช่วยขจัดรังแคบนหนังศีรษะ ซัลเฟอร์ (Sulfur) มีฤทธิ์เป็นสารละลายเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่บนผิวหนัง ช่วยต้านจุลชีพและยังช่วยเป็นสื่อกลางในการช่วยผลัดเซลล์ผิว น้ำมันดินถ่านหิน (Coal Tar) เป็นน้ำมันดินที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน และอาจมีส่วนช่วยในการขจัดรังแค เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยต้านการเพิ่มจำนวนของเซลล์ผิวและอาจช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรามาลาสซีเซียที่เป็นสาเหตุของรังแค ซิงค์ ไพริไธโอน (Zinc Pyrithione) มีคุณสมบัติช่วยควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นล่างและการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่เสื่อมสภาพ รวมถึงอาจช่วยควบคุมการผลิตน้ำมันบนผิวหนังให้เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อรามาลาสซีเซียที่เป็นสาเหตุของรังแคได้อีกด้วย สเตียรอยด์ มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบ ต้านการงอกขยายของรังแคและช่วยควบคุมความผิดปกติของหนังกำพร้าที่อาจแปรสภาพไปเป็นรังแค รวมถึงอาจช่วยควบคุมอาการคัน ลอกเป็นขุย และความระคายเคือง ซีลีเนียม […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

เหาเกิดจากอะไร วิธีรักษาและดูแลตัวเองเมื่อเป็นเหา

เหาเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในเด็ก อาจทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง หรือทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมา หลายคนอาจสงสัยว่า เหาเกิดจากอะไร โรคเหา คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากเหาซึ่งเป็นปรสิตที่ดูดเลือดจากผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร แม้เหาจะกระโดดหรือบินไม่ได้ แต่ก็สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี หมอน ผ้าปูที่นอน ผู้ป่วยอาจเกิดอาการคันและระคายเคืองหนังศีรษะและผิวหนังเนื่องจากแพ้สารในน้ำลายของเหา โดยอาการคันจะไม่เกิดขึ้นทันทีหลังมีเหาบนร่างกาย แต่อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หลังเหาฟักเป็นตัว ทั้งนี้ เหาไม่สามารถหายได้เอง และจำเป็นต้องรักษาให้หายสนิทด้วยการใช้ยากำจัดเหา การสางเอาตัวเหาและไข่เหาออกด้วยหวีเสนียด และควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้กลับมาเป็นเหาซ้ำอีก หากรักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ได้ผลหรือมีอาการแพ้หรือเกิดแผลติดเชื้อ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmr] เหาเกิดจากอะไร โรคเหาเกิดจากการติดเชื้อจากเหา ซึ่งเป็นแมลงปรสิตตัวแบนขนาดเล็กที่มีขนาดประมาณเท่าเมล็ดงา มีขา 6 ขาที่ใช้ที่ใช้สำหรับเกาะเกี่ยวโดยเฉพาะ 6 ขาที่เพื่อสะดวกในการเกาะเส้นผมหรือขนได้เป็นอย่างดี เหาจะและดูดกินเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและวางไข่บนหนังศีรษะและขนบริเวณร่างกายเพื่อขยายพันธุ์ โดยเหาตัวเมียจะปล่อยสารที่ทำให้ไข่ยึดติดกับเส้นผมอย่างเหนียวแน่น เหาสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ ติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิด อาจเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกในครอบครัวหรือเด็กทำกิจกรรมใกล้ชิดกันหรือศีรษะของผู้รับเชื้ออยู่ใกล้กับผู้ที่ติดเชื้อเหา ติดต่อผ่านสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน การใช้ของร่วมกันหรือวางสิ่งของส่วนตัวใกล้กัน เช่น หมอน เสื้อผ้า หมวก หวี หูฟัง เครื่องประดับผม ผ้าห่ม อาจทำให้เหาที่เกาะอยู่แพร่ไปยังผู้อื่นได้ ติดต่อผ่านเฟอร์นิเจอร์ ผู้ที่ติดเชื้อเหาอาจนอนบนเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน เช่น เตียง โซฟา ทำให้เหาเกาะอยู่ตามเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นและแพร่ไปยังผู้อื่นที่มาใช้เฟอร์นิเจอร์ร่วมกัน ติดต่อผ่านกิจกรรมทางเพศ ตัวโลนซึ่งเป็นเหาที่พบบ่อยบริเวณอวัยวะเพศอาจแพร่กระจายผ่านการประกอบกิจกรรมทางเพศได้ ประเภทของเหา เหาที่พบบ่อยอาจแบ่งออกเป็น 3 […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

วิธีแก้ผมร่วง ป้องกันศีรษะล้าน ทำได้อย่างไร

ผมร่วง คือหนึ่งในปัญหาสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผม ที่อาจเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผลข้างเคียงของยา และความเครียด ที่อาจส่งผลให้เส้นผมหลุดร่วง และอาจเสี่ยงต่อปัญหาศีรษะล้าน ดังนั้น ควรศึกษา วิธีแก้ผมร่วง หรืออาจเข้ารับการรักษาจากคุณหมอโดยตรง เพื่อฟื้นฟูสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะให้กลับมาแข็งแรง ผมร่วงเกิดจากอะไร ผมร่วงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ พันธุกรรมของคนในครอบครัว เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของปัญหาผมร่วง อาจส่งผลให้เกิดภาวะผมบางจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) ซึ่งเป็นลักษณะผมร่วงมากบริเวณส่วนกลางของหนังศีรษะ หรือศีรษะล้าน อายุที่มากขึ้น เนื่องจากเซลล์ในร่างกายอาจเสื่อมสภาพลงตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเส้นผมช้าลง หรืออาจหยุดการเจริญเติบโต และหลุดร่วง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เนื่องจากภาวะต่าง ๆ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ วัยหมดประจำเดือน ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ความเครียด ทำให้ผมร่วงมากขึ้น หรือทำให้เกิดพฤติกรรมการดึงผมโดยไม่รู้ตัว เพื่อผ่อนคลายความเครียด จึงเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมร่วง แผลบนหนังศีรษะ อาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่ได้รับผลกระทบถูกทำลาย ส่งผลให้ผมร่วงชั่วคราว และอาจงอกขึ้นใหม่เมื่อแผลหายดี ยกเว้นกรณีที่บริเวณนั้นเกิดแผลเป็น สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยาย้อมผม น้ำยาฟอกสีผม สเปรย์จัดแต่งทรงผม รวมถึงสารเคมีจากมลภาวะภายนอก เช่น สารหนู สารปรอท […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

หัวเป็นเชื้อรา เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวเป็นเชื้อรา เกิดจากการที่มีเชื้อราจำนวนมากบนเส้นผม หรือหนังศีรษะ มักเป็นผลมาจากการปล่อยให้เส้นผมหรือหนังศีรษะเปียกชื้น ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดจากเชื้อรา สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา ทั้งในรูปแบบครีม แชมพู หรือยาสำหรับรับประทาน นอกจากนี้ หัวเป็นเชื้อรายังป้องกันได้โดยการเป่าผมให้แห้งสนิทหลังสระผม และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น สาเหตุที่ทำให้หัวเป็นเชื้อรา โดยทั่วไป เชื้อราบนหนังศีรษะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อาจไม่ส่งผลต่อสุขภาพหากจำนวนเชื้อราไม่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่อไปนี้อาจทำให้เชื้อราเติบโตมากเกินไป และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อหรือโรคผิวหนังได้ อาศัยในบริเวณที่ร้อนและชุ่มชื้น มีภาวะเหงื่อออกมาก ใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อแบคทีเรีย ที่มีผลต่อการควบคุมจำนวนเชื้อราบนหนังศีรษะ เมื่อแบคทีเรียลดลงอาจทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของหัวเป็นเชื้อรา สระผมหรือล้างศีรษะแล้วไม่เช็ดให้แห้ง หัวเป็นเชื้อรา ติดต่อกันได้จากไหนบ้าง เชื้อราเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่พบได้ทุกที่ แม้แต่บนหนังศีรษะของคน นอกจากนี้ เชื้อรารอบ ๆ ตัว ยังแพร่กระจายมายังหนังศีรษะได้ จากสาเหตุต่อไปนี้ การสัมผัสร่างกายระหว่างกัน เช่น จับมือ กอด ลูบศีรษะ การใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น หวี แปรง ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน การสัมผัสสัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์ต่าง ๆ เช่น สุนัข แมว แพะ หมู ม้า […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

เลเซอร์ขนรักแร้ ประโยชน์และผลข้างเคียง

เลเซอร์ขนรักแร้ เป็นวิธีกำจัดขนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ขนใหม่ขึ้นช้าลง สีอ่อนลงและอาจทำให้ขนรักแร้มีจำนวนน้อยลง รวมทั้งอาจช่วยปรับสีผิวและช่วยให้รักแร้เรียบเนียนขึ้น ตุ่มหนังไก่ลดลง เนื่องจากขนาดเส้นขนที่บางลง ผิวไม่ถูกเสียดสีด้วยการโกนจากใบมีดโกน และไม่ระคายเคืองจากการแว็กซ์หรือการถอน ประโยชน์ของการเลเซอร์ขนรักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ มีประสิทธิภาพในการทำลายรูขุมขนเพื่อไม่ให้เส้นขนงอกขึ้นใหม่ อาจเห็นผลชัดเจนประมาณครั้งที่ 4-5 ของการทำเลเซอร์ โดยประโยชน์ของการเลเซอร์ขนรักแร้อาจมีดังนี้ อาจช่วยให้ขนใต้วงแขนน้อยลง เส้นขนที่ขึ้นใหม่บางลง สีอ่อนลง เนื้อสัมผัสของผิวหยาบน้อยลง ผิวอาจเรียบเนียนขึ้น ตุ่มหนังไก่ลดลง เส้นขนใหม่อาจงอกช้าลง การเลเซอร์ขนรักแร้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพในการกำจัดขนและช่วยให้รักแร้เรียบเนียนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  อย่างไรก็ตาม การเลเซอร์ขนรักแร้อาจไม่ได้กำจัดขนให้หมดไปอย่างถาวร เพียงแต่ช่วยชะลอการเกิดใหม่ ทำให้เส้นขนบางลงและมีจำนวนน้อยลง ซึ่งอาจต้องทำเลเซอร์ประมาณ 4-5 ครั้งขึ้นไปถึงจะเห็นผลชัดเจน ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับปริมาณขน ขนาดและความเข้มของเส้นขนของแต่ละคนด้วย ประเภทของเลเซอร์ขนรักแร้ ประเภทของเลเซอร์กำจัดขนรักอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ Ruby Laser เหมาะสำหรับการกำจัดขนปริมาณเล็กน้อยและมีพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่มีโทนสีผิวคล้ำ Alexandrite Laser เหมาะสำหรับการเลเซอร์ขนในพื้นที่ขนาดใหญ่และผู้ที่มีโทนผิวสว่าง ข้อเสียอาจทำให้มีความเจ็บปวดมาก Diode Laser เหมาะสำหรับการกำจัดขนเส้นหนา หยาบ และผู้ที่มีผิวสีเข้ม Nd:yag Laser เหมาะสำหรับกำจัดขนสีเข้ม สำหรับผู้ที่มีผิวสว่างไปจนถึงผิวสีแทน และเหมาะสำหรับการรักษาปัญหาผิวหนังอื่นๆ  เช่น ลบรอยสัก Intense Pulsed […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ไฮไลท์ผม ความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพ

ไฮไลท์ผม หรือการย้อมผมบางส่วนให้มีสีอ่อนลงกว่าสีผมตามธรรมชาติหรือสีผมบริเวณอื่น เป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำยาเพื่อทำไฮไลท์ผมอาจส่งผลให้ผิวหนังเกิดความระคายเคืองหรือแพ้ได้ ก่อนย้อมผม จึงควรอ่านรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ย้อมผม และตรวจดูว่ามี สารเคมีในน้ำยาย้อมที่ตนเองเองอาจแพ้หรือไม่ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์บางชนิดสำหรับการไฮไลท์ผมอาจมีส่วนผสมที่เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งบางชนิดด้วย ภาวะสุขภาพที่อาจเกิดจากการทำไฮไลท์ผม ไฮไลท์ผม อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ ไฮไลท์ผม มีโอกาสเสี่ยงเกิดอาการแพ้ การทำไฮไลท์ผม ต้องใช้น้ำยาย้อมผมซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีพาราฟินีลินไดอะมีน (Paraphenylenediamine) อยู่ในระดับความเข้มข้นสูง โดยเฉพาะในน้ำยาย้อมผมสีเข้ม ซึ่งมักก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรือแพ้บริเวณหนังศีรษะ หน้าผาก หรือลำคอ โดยเฉพาะในกรณีของผู้ซึ่งเป็นโรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact Dermatitis) กับสารเคมีนี้ ทำให้เกิดผื่นแพ้บริเวณหนังศรีษะ และไรผมได้ อาการแพ้ซึ่งพบได้ในผู้ที่ผิวหนังบอบบางแพ้ง่ายและไวต่อพาราฟินีลินไดอะมีน ประกอบด้วย หนังศีรษะ หรือผิวหนังบริเวณรอบ ๆ ผมเช่น หน้าผาก เปลือกตา หู ลำคอ มีอาการบวม แดง ผื่นขึ้น แห้ง หรือแตก ในบางกรณี ผู้ป่วยจะพบอาการแสบร้อนร่วมด้วย อาการระคายเคืองอาจเกิดขึ้นทันทีหลังสัมผัสสารเคมีดังกล่าว หรือภายใน 48 ชั่วโมง พบอาการคันที่หนังศีรษะหรือใบหน้า บางรายอาจพบอาการแพ้บริเวณลำตัว เช่น คัน ผื่นขึ้น และรู้สึกไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัวร่วมด้วย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม