การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

"ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ตั้งแต่การเลือกยาสระผมที่เหมาะสม ตลอดไปจนถึงการบำรุงดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ก็อาจช่วยให้เรามีเส้นผมและหนังศีรษะที่มีสุขภาพดี สวยเงางาม และเพิ่มความมั่นใจให้กับเราอีกมาก แถมยังส่งผลให้เรามีสุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย เรียนรู้เคล็ดลับใน การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมหงอกเกิดจาก อะไร ยิ่งถอน ยิ่งหงอก จริงหรือไม่

ผมหงอก คือเส้นผมสีขาวที่งอกออกมา แทนที่สีผมธรรมชาติ มักพบได้ในช่วงวัยสูงอายุ แต่บางคนก็อาจมีอาการผมหงอกได้ตั้งแต่ยังอายุน้อย ผมหงอกเกิดจาก การที่เซลล์เม็ดสีผมลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งอายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ พฤติกรรม และอาการเจ็บป่วย ซึ่งการดูแลสุขภาพเส้นผมอย่างเหมาะสมอาจช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดผมหงอกได้ [embed-health-tool-heart-rate] ผมหงอกเกิดจาก อะไร  เส้นผมของคนจะประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ เซลล์ที่สร้างเนื้อผมเป็นโปรตีน  เซลล์ที่สร้างเม็ดสีเรียกว่า เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งรากผมจะสร้างขึ้นมา ทำให้สีผมแต่ละคนแตกต่างกันไป  เซลล์เมลาโนไซต์สร้างเม็ดสี เรียกว่า เมลานิน (melanin) สีตามธรรมชาติของเส้นผมขึ้นอยู่กับ การกระจายตัว ชนิด และปริมาณเม็ดสี คนที่มีมีเม็ดสีจำนวนมากและเข้มข้นมาก จะทำให้มีเส้นผมที่สีเข้ม ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ เชื้อชาติ แต่ระดับเม็ดสีของเส้นผมก็ยังปรับเปลี่ยนได้ตามสุขภาพร่างกายอีกด้วย  ผมหงอกเกิดจาก อะไร  เส้นผมที่เปลี่ยนจากสีตามธรรมชาติ กลายเป็นสีเทาหรือสีขาว สาเหตุสำคัญเกิดจากอายุ กรรมพันธุ์ เมื่อายุมากขึ้นการทำงานของเซลล์เมลาโนไซต์จะชะลอลง เม็ดสีที่เส้นผมจะลดลง เกิดจากการที่รากผมไม่สร้างเม็ดสี จนกลายเป็นเส้นผมสีขาวหรือเทาเงินเมื่อโดนแสง ปัจจัยที่ทำให้เกิดผมหงอก อายุ โดยทั่วไปทารกจะมีสีผมที่อ่อนกว่าช่วงวัยอื่น แล้วจะค่อย ๆ มีสีผมเข้มขึ้นจนถึงวัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเส้นผมจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเทา สีดอกเลา ผมสีขาวหรือผมหงอก ปกติแล้วเมื่ออายุ 30 ปี […]

สำรวจ การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

วิธีสระผมที่ถูกต้อง เพื่อผมแข็งแรงสุขภาพดี ทำอย่างไร

วิธีสระผมที่ถูกต้อง เริ่มต้นจากการล้างเส้นผมด้วยน้ำสะอาด จากนั้นชโลมแชมพูลงบนศีรษะและตามเส้นผม ใช้ปลายนิ้วมือนวดหนังศีรษะและเส้นผมอย่างเบามือ ก่อนล้างแชมพูออกด้วยน้ำเปล่าจนหมดฟอง หรือชโลมครีมนวดหรือครีมหมักผมแล้วล้างออก หลังจากนั้น เป่าหรือเช็ดผมจนแห้งสนิท ทั้งนี้ หากดูแลเส้นผมและหนังศีรษะผิดวิธีอาจก่อให้เกิดปัญหาติดเชื้อราบนหนังศีรษะ เป็นรังแค หรือผมหลุดร่วงได้ [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้องสระผม การสระผม เป็นวิธีรักษาความสะอาดและสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะ ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกอย่างฝุ่นละออง น้ำมัน หรือเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น โรคกลาก โรคผื่นแพ้ต่อมไขมันอักเสบ นอกจากนั้น หากเป็นรังแคหรือติดเชื้อบริเวณหนังศีรษะ การสระผมด้วยแชมพูยาอาจช่วยรักษาอาการดังกล่าวได้ วิธีสระผมที่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร วิธีสระผมที่ถูกต้อง มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ล้างเส้นผมด้วยน้ำสะอาด พร้อมกับใช้นิ้วมือสางไปตามเส้นผม เพื่อช่วยให้ผมทุกเส้นชุ่มน้ำ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 นาที หรืออาจนานกว่าหากมีผมยาว ชโลมแชมพูลงบนศีรษะ โดยปริมาณแชมพูที่ใช้ควรเหมาะกับความยาวและความหนาของเส้นผม เช่น หากผมสั้น ปริมาณแชมพูที่เทใส่ฝ่ามือควรมีขนาดเท่า ๆ กับเหรียญสิบบาท หากผมยาว ควรใช้แชมพูปริมาณเกือบ ๆ เต็มฝ่ามือ สระผม หลีกเลี่ยงการเกาแรง ๆ เพราะอาจทำให้หนังศีรษะระคายเคืองหรือรูขุมขนเป็นแผล อาจใช้ปลายนิ้วค่อย ๆ นวดหนังศีรษะให้เกิดฟองจนทั่ว ใช้น้ำเปล่าล้างแชมพูออกให้เกลี้ยง โดยอาจใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที เพื่อล้างแชมพูออกไม่ให้เหลือตกค้างบนเส้นผมหรือหนังศีรษะ หากล้างออกไม่หมดอาจเป็นสาเหตุของรังแคได้ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ยาสระผม ควรเลือกอย่างไร ให้เหมาะกับสภาพของเส้นผม

ยาสระผม เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง เหงื่อไคล และรักษาความชุ่มชื้น ทั้งนี้ สภาพผมที่แตกต่างกันควรใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมต่างกัน เช่น ผมแห้ง ควรใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของซิลิโคน น้ำมัน หรือกลีเซอรอล (Glycerol) เพราะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของเส้นผมไว้ได้มากกว่า ผมมัน ควรใช้ยาสระผมที่ผสมสารที่มีฤทธิ์ทำความสะอาดสูง เพราะจะช่วยกำจัดน้ำมันบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ดีกว่ายาสระผมสูตรทั่วไป [embed-health-tool-bmi] ยาสระผม มีประโยชน์อย่างไร การสระผมด้วยยาสระผม มีประโยชน์ต่อเส้นผมและหนังศีรษะดังต่อไปนี้ ช่วยรักษาความสะอาดและสุขภาพของเส้นผม และทำให้หนังศีรษะสะอาดปราศจากคราบเหงื่อไคล น้ำมันจากต่อมใต้ผิวหนัง ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ กระตุ้นการเติบโตของเส้นผม วิตามินและสารสกัดจากธรรมชาติที่เป็นส่วนผสมต่าง ๆ ในยาสระผมมักมีคุณสมบัติช่วยให้รูขุมขนสะอาด เส้นผม และรากผมแข็งแรง และยังช่วยกระตุ้นการเติบโตของเส้นผมได้ เช่น ลาเวนเดอร์ อัลมอนด์ โสม ตะไคร้ โจโจ้บา (Jojoba) ป้องกันสีผมจางลง สำหรับผู้ที่ย้อมผม น้ำมันและซิลิโคนในยาสระผมมักมีคุณสมบัติป้องกันสีผมจางลง ด้วยการเคลือบเส้นผมไว้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สีผมติดทนนาน ช่วยป้องกันและกำจัดรังแคบนหนังศีรษะ ยาสระผมที่มีส่วนผสมของสารบางชนิด เช่น กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ออกฤทธิ์ในการกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดออกจากหนังศีรษะได้ ซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium Sulfide) ออกฤทธิ์ป้องกันหรือชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อราบนหนังศีรษะ การเลือก ยาสระผม […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ถอนผมหงอก ดีหรือไม่ ควรดูแลเส้นผมอย่างไรเมื่อเริ่มมีผมหงอก

หลายคนอาจมีความเข้าใจผิดในเรื่องการ ถอนผมหงอก เพื่อช่วยขจัดผมเก่าที่เสื่อมสภาพ หรือความเชื่อผิด ๆ ที่ยิ่งถอนจะยิ่งทำให้ผมหงอกเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันการถอนผมหงอกอาจยิ่งเร่งกระบวนการหลุดร่วงของเส้นผมและอาจทำร้ายรูขุมขน ซึ่งอาจทำให้ผมไม่งอกขึ้นใหม่และอาจส่งผลให้ผมบางลงในระยะยาวได้ ผมหงอก เกิดจากอะไร ในปัจจุบัน อาจยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดผมหงอกอย่างแน่ชัด แต่ปัญหาผมหงอกมักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมาก โดยอาจเริ่มมีผมหงอกในช่วงอายุประมาณ 30-40 ปี จึงอาจเป็นไปได้ว่าผมหงอกอาจเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดสีเมลานินในรูขุมขนค่อย ๆ ตายลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้เส้นผมมีเม็ดสีเมลานินน้อยลงหรือไม่มีเม็ดสีเมลานินเหลือเลย ส่งผลให้เส้นผมมีสีอ่อนลงหรือเปลี่ยนไปเป็นสีอื่น ๆ เช่น สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ซึ่งผมหงอกจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วอาจขึ้นอยู่กับยีนในร่างกายที่ได้รับสืบทอดมาทางพันธุกรรม หรือในบางกรณีอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคด่างขาว โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคต่อมไทรอยด์ โรคทางระบบประสาท ภาวะขาดวิตามินบางชนิด ถอนผมหงอก ดีหรือไม่ อาจมีบางความเชื่อ กล่าวว่า ยิ่งถอนผมหงอกจะยิ่งทำให้ผมหงอกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่การถอนผมหงอกนั้นจะยิ่งทำให้ผมบางลงเร็วขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาผมบางหรือหัวล้านได้ในอนาคต เพราะการถอนผมเป็นการเร่งกระบวนการให้เส้นผมเข้าสู่ระยะสุดท้าย (Telogen Phase) ของวงจรเส้นผมเร็วกว่าปกติ โดยวงจรเส้นผมอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) เป็นระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโตที่ร่างกายจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม เพื่อให้ผมงอกยาวออกมากจากรูขุมขน […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมร่วงเยอะมาก มีวิธีรักษาและการป้องกันอย่างไร

ผมร่วงเยอะมาก เป็นปัญหาหนังศีรษะและเส้นผมที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ความเครียด โรคแพ้ภูมิตัวเอง ยาบางชนิด หากไม่ทำการรักษาอาจทำให้ศีรษะล้าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวลและหมดความมั่นใจในตัวเอง สาเหตุของผมร่วงเยอะมาก  สาเหตุที่อาจทำให้ผมร่วงเยอะมาก มีดังนี้ อายุที่มากขึ้น อาจทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงเซลล์หนังศีรษะและเส้นผมเสื่อมสภาพลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมและอาจทำให้ผมร่วงเยอะมาก พันธุกรรม ที่อาจส่งผลให้บุตรหลานมีผมร่วงเยอะมากจากรุ่นสู่รุ่นโดยรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุดคือโรคผมบางจากพันธุกรรม (Androgenic Alopecia) ซึ่งมีลักษณะผมร่วงเยอะมากบริเวณกลางหนังศีรษะ ทำให้ผมบาง และส่งผลให้ศีรษะล้านตรงกลางเพียงจุดเดียว มักพบในช่วงวัยรุ่น ไปจนถึงผู้ใหญ่อายุ 40 ขึ้นไป ฮอร์โมนไม่สมดุล หากร่างกายผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ วัยหมดประจำเดือน ตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้มีอาการผมร่วงเยอะมาก เนื่องจากฮอร์โมนเหล่านี้มีส่วนช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเส้นผม ร่างกายขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 7 วิตามินดี สังกะสี เหล็ก โปรตีน อาจกระทบต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมที่ทำให้ผมร่วงเยอะมากได้ ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการดึงผมโดยไม่รู้ตัว […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมร่วง สาเหตุ อาการและการรักษา

ผมร่วง คือ การสูญเสียเส้นผมบนหนังศีรษะ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากมีผมร่วงมากกว่าปกติอาจเป็นปัญหาสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมที่เกิดจากพันธุกรรม ฮอร์โมนไม่สมดุล หรือพฤติกรรมการทำร้ายหนังศีรษะและเส้นผม เช่น การฟอกสีผม การมัดผมแน่นที่ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะอ่อนแอ ส่งผลให้มีผมร่วงและผมขาดง่าย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่ปัญหาผมบางและศีรษะล้านได้หากไม่ทำการรักษา คำจำกัดความ ผมร่วง คืออะไร ผมร่วง คือ การหลุดร่วงของเส้นผม ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากเส้นผมมีวงจรการหลุดร่วงประมาณ 100-150 เส้น/วัน และจะมีเส้นผมใหม่เจริญเติบโตมาแทนที่ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีผมงอกใหม่ หรือผมร่วงมากเกินไปจนเห็นหนังศีรษะอย่างชัดเจน ควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะศีรษะล้าน อาการ อาการของผมร่วง ผมร่วงบริเวณด้านบนหนังศีรษะ เป็นอาการผมร่วงที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากโดยอาจมีผมร่วงบริเวณตามแนวหน้าผากขึ้นไป ส่งผลให้หน้าผากกว้างขึ้น ผมร่วงเป็นหย่อม ส่งผลให้มองเห็นหนังศีรษะเป็นบางจุด ผมร่วงกะทันหัน ที่เกิดจากการหวีผมแรง การหนีบผม การมัดผมแน่น หรือการดึงผม ทำให้ผมร่วงกะทันหันโดยยังไม่ถึงวงจรการหลุดร่วงของเส้นผมตามธรรมชาติ ผมร่วงและหนังศีรษะอักเสบ ที่สังเกตได้จากอาการคันหนังศีรษะ และตกสะเก็ด ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกลากและสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ ผมร่วงทั้งหนังศีรษะ อาจเกิดจากการทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ที่อาจทำให้เส้นผมและขนตามร่างกายหลุดร่วง แต่อาการนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและผมมักงอกขึ้นใหม่ได้หลังเสร็จสิ้นการรักษา ควรเข้าพบคุณหมอทันที หากสังเกตว่าผมร่วงมากและผมบาง รวมถึงมีอาการผิดปกติ เช่น สะเก็ดบนหนังศีรษะ อาการคันรุนแรง สาเหตุ สาเหตุของผมร่วง สาเหตุของผมร่วง มีดังนี้ พันธุกรรม หากครอบครัวมีปัญหาผมร่วงก็อาจส่งผลให้บุตรหลานมีปัญหาผมร่วงได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็นผมร่วงตรงกลางของหนังศีรษะ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมร่วงเกิดจากอะไร วิธีรักษาและการป้องกันผมร่วง

โดยปกติ คนเราจะมีผมร่วงประมาณวันละ 50-100 เส้น การทราบว่า ผมร่วงเกิดจากอะไร อาจช่วยให้เข้าใจวงจรชีวิตของเส้นผม ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผมร่วง และสามารถดูแลผมได้เหมาะสมขึ้น แม้ภาวะผมร่วงจะพบได้ทั่วไป แต่หากผมร่วงมากอาจเกิดจากปัจจัยด้านกรรมพันธุ์และฮอร์โมน หรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความเครียด การใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผม การฟอกสี การทำสีผม การรัดผมแน่นเกินไป ภาวะผมร่วงอาจรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยการใช้ยารักษาและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ผมหลุดร่วง หากสังเกตถึงอาการผมร่วงที่ผิดปกติ หรือทำให้เส้นผมบนศีรษะเริ่มบาง ควรรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ ควรหมั่นดูแลเส้นผมอย่างถูกวิธีเพื่อให้เส้นผมมีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะผมร่วง [embed-health-tool-heart-rate] ผมร่วงเกิดจากอะไร สาเหตุของภาวะผมร่วงผิดปกติหรือโรคผมร่วงที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์และฮอร์โมน โรคผมร่วงชนิดนี้เรียกว่า โรคผมร่วงจากกรรมพันธุุ์หรือโรคผมบางแบบกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) กรรมพันธุ์มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วงมากกว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากยีนหลายตัวมีส่วนกำหนดลักษณะของเส้นผมของมนุษย์ อีกทั้งบางคนยังมีระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen hormones) หรือฮอร์โมนเพศชายสูง จึงทำให้เกิดโรคผมร่วงได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะในผู้ชายที่มักมีผมร่วงและผมบางอย่างเห็นได้ชัด และพบได้มากกว่าเพศหญิง ทั้งนี้ โรคผมร่วงอาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น การตั้งครรภ์ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ วัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ผมร่วงได้ โรคผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

สาเหตุผมร่วง และวิธีป้องกัน มีอะไรบ้าง

สาเหตุผมร่วง มีหลายประการ ทั้งด้วยอายุที่มากขึ้น ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด การดึงรั้งเส้นผมบ่อย ๆ และความเครียด แต่ส่วนใหญ่สาเหตุผมร่วงเกิดจากพันธุกรรม หรือเรียกว่าภาวะผมบางจากพันธุกรรม ทั้งนี้ ปัญหาผมร่วง อาจป้องกันได้โดยการรักษาสุขภาพเส้นผมด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การเลือกใช้ยาสระผมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้ไดร์เป่าผม ควรเช็ดผมให้แห้งอยู่เสมอ และรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงรากผมและเส้นผมให้แข็งแรง [embed-health-tool-bmr] สาเหตุผมร่วง มีอะไรบ้าง ปัญหาผมร่วงอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ พันธุกรรม เป็นสาเหตุผมร่วงที่พบได้บ่อยที่สุดทั้งในผู้ชายและผู้หญิง หรือเรียกว่าภาวะผมบางจากพันธุกรรม อาการผมร่วงที่มีสาเหตุจากพันธุกรรมอาจเป็นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและร่วงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เพศชายมีหนังศีรษะล้านได้เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป และเพศหญิงอาจผมร่วงหนักหลังเข้าสู่วัยทอง อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น เส้นผมจะงอกช้าลงหรือหยุดงอก นำไปสู่ปัญหาผมบางหรือหัวล้านได้ โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือในผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (Autoimmune Diseases) จะทำให้เกิดอาการผมร่วงต่าง ๆ เช่น ผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วงทั้งศีรษะ หนวดหรือเคราร่วง หรือเส้นผมและเส้นขนร่วงหมดทั้งตัว อย่างไรก็ตาม โรคผมร่วงเป็นหย่อมสามารถรักษาได้ด้วยการทายาและฉีดยา การดึงรั้งเส้นผมซ้ำ ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน จากการสวมหมวก ผูกผมหางม้า […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ยาแก้ผมร่วง มีกี่ชนิด ออกฤทธิ์แตกต่างกันอย่างไร

ยาแก้ผมร่วง เป็นยารักษาอาการผมร่วงในผู้ที่มีผมร่วงแล้วผมไม่งอกใหม่ ทำให้ผมค่อย ๆ บางลงหรือหัวล้าน ทั้งนี้ ยาแก้ผมร่วงมีทั้งชนิดใช้ทาภายนอกหรือชนิดสำหรับรับประทานซึ่งออกฤทธิ์แตกต่างกันไป เช่น ไมน็อกซิดิล (Minoxidil) ออกฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผม ผ่านการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและการเติบโตของรูขุมขน ฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) ออกฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงและต่อมลูกหมากโต [embed-health-tool-bmi] ผมร่วงเกิดจากอะไร ปกติแล้ว เส้นผมบนหนังศีรษะของมนุษย์จะร่วงวันละ 100-150 เส้น และผมงอกใหม่ขึ้นทดแทนสม่ำเสมอ แต่ในบางราย ผมอาจร่วงโดยไม่มีผมงอกใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ พันธุกรรม หรือเรียกว่า ภาวะผมบางจากพันธุกรรม นับเป็นสาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงเมื่อมีอายุมากขึ้น ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุของผมร่วงแบบชั่วคราวที่เกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ ให้กำเนิดบุตร อยู่ในช่วงวัยทอง หรือมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคข้ออักเสบ โรคซึมเศร้า โรคเกาต์ มะเร็ง การฉายรังสีหรือเคมีบำบัด เพื่อรักษาโรคมะเร็ง มักมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงหลังจากการรักษาได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สำหรับเส้นผม ได้แก่ ยาย้อมผม น้ำยาฟอกสีผม […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมแห้ง สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน

ผมแห้ง แตกปลาย จับแล้วรู้สึกแห้งสากเหมือนไม้กวาด อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาหนังศีรษะและเส้นผม ที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น สภาพแวดล้อม พฤติกรรมการดูแลเส้นผม ดังนั้น จึงควรเร่งฟื้นฟูผมแห้งอย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ผมขาดหลุดร่วง มีรังแค และอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจได้ สาเหตุที่ทำให้ผมแห้ง สาเหตุที่ทำให้ผมแห้ง อาจมีดังนี้ อายุมากขึ้น อาจทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพลง อาจทำให้ต่อมไขมันบนหนังศีรษะผลิตน้ำมันน้อยลง ส่งผลให้เส้นผมขาดความชุ่มชื้นและผมแห้ง หนังศีรษะแห้ง เกิดจากน้ำมันบนหนังศีรษะไม่เพียงพอ ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะขาดความชุ่มชื้น ซึ่งอาจทำให้ผมแห้ง หนังศีรษะเป็นสะเก็ด มีรังแค และผมขาดร่วง สภาพแวดล้อม อากาศที่ร้อน มีแสงแดดและลมแรง รวมถึงการสัมผัสกับน้ำทะเลและน้ำในสระว่ายน้ำบ่อยครั้ง อาจทำให้ผมแห้ง ผมเสีย และแตกปลายได้ ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ อาการเบื่ออาหาร ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) ฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง (Hyperparathyroidism) โรคบูลิเมีย (Bulimia) หรือโรคล้วงคอ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติและล้วงคอเพื่ออาเจียนอาหารออก โรคเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการหล่อเลี้ยงหนังศีรษะและเส้นผม จึงส่งผลให้ผมแห้ง พฤติกรรมการดูแลเส้นผมและหนังศีรษะไม่ดี เช่น สระผมบ่อยเกินไป การใช้แชมพูที่มีสารเคมีรุนแรง การใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมบ่อย การใช้ลมร้อนเป่าผมหรือดัดผม การย้อมสีผม การฟอกผม […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมบาง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

โดยปกติแล้ว ผมของคนเราจะร่วงประมาณวันละ 100-150 เส้นต่อวัน แต่หากผมหลุดร่วงมากจนทำให้มีเส้นผมบนหนังศีรษะน้อยหรือ ผมบาง กว่าปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย การขาดสารอาหาร โรคบางชนิด การใช้ยารักษาโรค ความเครียด ซึ่งอาจรักษาได้ด้วยการแก้ไขตามสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาผมบาง เช่น การใช้ยารักษา การปรับวิธีดูแลเส้นผมอย่างการหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนและสารเคมี การจัดการกับความเครียด รวมไปถึงรับการรักษาจากคุณหมอผิวหนัง ผมบาง เกิดจากอะไร ผมบางอาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติผมบาง มักเสี่ยงเกิดปัญหาผมบางได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ภาวะสุขภาพ เช่น การตั้งครรภ์ การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ มักส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง จนอาจนำไปสู่ปัญหาผมร่วงหรือผมบางลงได้ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การอดอาหารและการได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ เช่น ธาตุเหล็ก โปรตีน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน อาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) ที่ทำให้เส้นผมหลุดร่วงเร็วกว่าวงจรเส้นผมตามปกติ ผมจึงร่วงง่ายและบางลง โรคบางชนิด เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ โรคดึงผมตนเอง (Trichotillomania) เป็นโรคทางจิตที่ทำให้ผู้ป่วยดึงผมตัวเองทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ โรคกลาก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม