สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันปกติ คือเท่าไหร่ และวิธีป้องกันค่าความดันสูง

ค่าความดันโลหิต หรือที่อาจเรียกว่า ค่าความดัน เป็นค่าแรงดันของกระแสเลือดที่กระทบกับผนังหลอดเลือดแดง เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ปกติแล้ว ค่าความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นและลดลงตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม ควรเรียนรู้ ค่าความดันปกติ ที่เหมาะสมกับอายุ เพศ กิจกรรมที่ทำ และภาวะสุขภาพของตัวเองที่สุด และควรรักษาค่าความดันให้เป็นปกติ อย่าให้ความดันโลหิตสูงหรือต่ำเป็นประจำหรือเรื้อรัง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ที่สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่อันตรายได้ เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง  [embed-health-tool-heart-rate] ค่าความดัน คืออะไร  ค่าความดันโลหิต หรือค่าความดัน คือ ค่าแรงดันเลือดที่ส่งแรงกระทบกับผนังหลอดเลือดแดงเนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย โดยค่าความดันจะมี 2 ค่า ได้แก่  ค่าความดันโลหิตตัวบน หรือตัวเลขค่าบน คือ ค่าแรงดันขณะที่หัวใจบีบตัวหรือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายเต็มที่ (Systolic Blood Pressure) ค่าความดันโลหิตตัวล่าง หรือตัวเลขค่าล่าง คือ ค่าแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัวเต็มที่ (Diastolic Blood Pressure) ค่าความดันปกติ คือเท่าไร  การอ่านค่าความดันโลหิต ตัวเลขค่าบนจะมาก่อน ตามด้วยตัวเลขค่าล่าง เช่น 120/80 หมายถึง ตัวเลขค่าบน 120 มิลลิเมตรปรอทและตัวเลขค่าล่าง 80 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดัน […]


สุขภาพหัวใจ

ความดัน คืออะไร พร้อมวิธีอ่านค่าความดันเบื้องต้น

ความดัน หรือความดันโลหิต คือ ค่าความดันของกระแสเลือดที่กระทบผนังหลอดเลือดแดง  เนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ทั้งนี้ หากมีค่าความดันโลหิตสูง หรือค่าความดันโลหิตต่ำอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ ดังนั้น การรู้วิธีการอ่านค่าความดันเบื้องต้นอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันต่ำหรือสูงและรักษาระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ [embed-health-tool-heart-rate] ความดัน คืออะไร ความดัน คือ ค่าความดันของกระแสเลือดที่กระทบผนังหลอดเลือดแดงเนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ค่า ได้แก่ ค่าความดันโลหิตตัวบน หรือตัวเลขค่าบน (Systolic Blood Pressure) คือ ค่าแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวหรือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ค่าความดันโลหิตตัวล่าง หรือตัวเลขค่าล่าง (Diastolic Blood Pressure) คือ ค่าแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว วิธีอ่านค่าความดันเบื้องต้น การอ่านค่าความดันโลหิต โดยปกติ จะอ่านจากตัวเลขค่าบนก่อนแล้วจึงตามด้วยตัวเลขค่าล่าง ระดับความดันโลหิต อาจแบ่งได้ดังนี้ ค่าความดันต่ำ ตัวเลขค่าบนต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท (90/60 มิลลิเมตรปรอท) ความดันปกติ ตัวเลขค่าบนต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท (120/80 มิลลิเมตรปรอท) ความดันเริ่มสูง […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ใครเข้าข่ายนี้บ้าง

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหลอดเลือด ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวาย สาเหตุมาจากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่เป็นเพราะปริมาณไขมันจำนวนมากที่จับตัวอยู่ในหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด และยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดในอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น สมอง หัวใจ ไต ดวงตา มักเกิดกับกลุ่มคนที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง รวมทั้งกลุ่มอื่น ๆ ที่อาจเสี่ยงเป็นโดยไม่รู้ตัว เช่น คนที่ชอบสูบบุหรี่ คนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย คนที่น้ำหนักเกิน สาเหตุโรคหลอดเลือดหัวใจ  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดชั้นในที่หนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีสาเหตุหลักมาจากจำนวนไขมันที่เข้าไปสะสมและจับตัวกันหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบตัน รวมทั้งระดับน้ำตาล หรือระดับความดันโลหิตสูงซึ่งอาจไปทำลายหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดตีบหรือเสียหาย ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจและอวัยวะต่าง ๆ  ได้อย่างเป็นปกติ ทำให้หัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือด  อาการโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมักมีอาการดังนี้  เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ปวดเค้นในอก  หายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก ปวดแขนขา หรือชา ไร้ความรู้สึก แขนขาไม่มีแรง  รู้สึกเจ็บบริเวณคอ กราม ลำคอ ท้องส่วนบน หรือเจ็บหลัง ภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว […]


ภาวะหลอดเลือดแข็ง

Atherosclerosis คือ ภาวะหลอดเลือดแข็ง ที่ควรรักษา

Atherosclerosis คือ ภาวะหลอดเลือดแข็ง ที่อาจเกิดขึ้นจากการสะสมของไขมัน คอเลสเตอรอล และคราบพลัคที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ที่ส่งผลให้หลอดเลือดตีบ ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้  Atherosclerosis คือ Atherosclerosis คือ ภาวะหลอดเลือดแข็งที่มาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ภาวะดื้ออินซูลิน โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ โรคลูปัส โรคสะเก็ดเงิน และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผนังด้านในหลอดเลือดเสียหาย ทำให้เซลล์เม็ดเลือดจับตัวเป็นก้อน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดคราบพลัคบนผนังหลอดเลือดหนาขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบตันและทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกจนขวางการไหลเวียนของเลือดที่มีออกซิเจนนำไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายน้อยลง ทำให้ร่างกาย หรือระบบต่าง ๆ อาจมีการทำงานผิดปกติ  อีกทั้งคราบพลัคยังอาจสามารถแตกตัวออกจนทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ อาการของ Atherosclerosis อาการของ Atherosclerosis อาจไม่เผยสัญญาณเตือนใด ๆ จนกว่าคราบพลัคจะก่อตัวหนาในผนังหลอดเลือด หรือจนกว่าเส้นเลือดจะตีบ เมื่อเส้นเลือดเริ่มตีบตัว อาจปรากฏอาการต่าง ๆ ดังนี้ หลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง อาจทำให้เจ็บ หรือแน่นหน้าอก  หลอดเลือดแดงที่เชื่อมโยงกับสมองแข็ง อาจทำให้พูดสื่อสารลำบาก ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง  หลอดเลือดแดงที่เชื่อมโยงกับไต อาจทำให้ระดับความดันโลหิตสูง และไตวายได้หลอดเลือดแดงบริเวณแขน และขาแข็ง […]


ภาวะหลอดเลือดแข็ง

หลอดเลือดแดง และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เชื่อมโยงกันอย่างไร

หลอดเลือดแดง เป็นหลอดเลือดที่อยู่ทั่วร่างกาย ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ หากหลอดเลือดแดงมีการสะสมของคราบพลัคจากไขมัน คอเลสเตอรอล แคลเซียม และไฟบริน (Fibrin) ที่เป็นเส้นใยในเลือดมากจนเกินไป ก็อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแข็งได้ หลอดเลือดแดง คืออะไร หลอดเลือดแดง คือ ท่อนำส่งเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนจากการทำงานของระบบสูบฉีดเลือดของหัวใจ ไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายคือ หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta) ที่เชื่อมกับหัวใจด้านซ้าย ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่สามารถแตกแขนงเป็นกิ่งก้านออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า เส้นเลือดฝอย หลอดเลือดแดงประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ดังนี้ ทูนิกา อินทิมา (Tunica intima) เป็นผนังหลอดเลือดชั้นในสุดที่ประกอบด้วย เอนโดธีเลียม (Endothelium) หรือเนื้อเยื่อบุโพรงของหลอดเลือด มีเดีย (Media) เป็นกล้ามเนื้อชั้นกลางในหลอดเลือด ที่ยืดหยุ่นรับความกดดันสูงจากหัวใจ แอดเวนทีเชีย (Adventitia) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชั้นนอกที่คอยปกคลุมหลอดเลือด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดแดงอย่างไร เนื่องจากหลอดเลือดแดงทำหน้าที่เป็นท่อนำส่งเลือดที่ประกอบด้วยออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่คอเลสเตอรอลและไขมันจากอาหารที่รับประทาน ก็อาจก่อตัวสะสมและกลายเป็นคราบพลัคเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดง และผนังหลอดเลือดเสียหาย ทางเดินของเลือดแคบลง จนเลือดไหลผ่านไปหล่อเลี้ยงอวัยวะหรือเนื้อเยื่อในร่างกายไม่เพียงพอ อีกทั้งคราบพลัคเหล่านี้ยังอาจแตกตัว ทำให้สารต่าง ๆ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด […]


สุขภาพหัวใจ

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน สาเหตุ อาการและการรักษา

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ อาจทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง หายใจไม่ออก และหมดสติ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการทำ CPR หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจทันทีอาจเสี่ยงเสียชีวิตได้ คำจำกัดความหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คืออะไร หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest หรือ SCA) เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นอย่างกะทันหันส่งผลให้หัวใจหยุดสูบฉีดเลือดไปยังสมอง และอวัยวะสำคัญภายในร่างกาย หัวใจมีระบบไฟฟ้าที่ช่วยควบคุมอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ หากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ ทำให้หัวใจหยุดสูบฉีดเลือด ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันแตกต่างกับอาการหัวใจวาย เนื่องจากสาเหตุของหัวใจวายเกิดจากเลือดไม่สามารถไหลเวียนกลับไปยังหัวใจได้เนื่องจากการอุดตันของเส้นเลือด และหัวใจมักไม่หยุดเต้นอย่างกระทันหัน แต่ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติหัวใจวาย หรือเป็นโรคหัวใจชนิดอื่น นอกจากนี้ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันก็อาจเกิดขึ้นในผู้ที่มีสุขภาพดีและไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อนได้เช่นกัน คนส่วนใหญ่อาจเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้อย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีด้วยการทำ CPR หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ ซึ่งเป็นการช็อตไฟฟ้าไปยังหัวใจเพื่อปรับการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน พบบ่อยแค่ไหน จากสถิติของสหรัฐอเมริกา หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ส่งผลให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 300,000-400,000 คนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่เพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากผู้ชายมีแนวโน้มเสี่ยงพัฒนาโรคหัวใจมากกว่า จากพฤติกรรมสูบบุหรี่ เสี่ยงความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูงและโรคเบาหวาน นอกจากนี้ เด็กอาจมีอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ แต่พบไม่บ่อยซึ่งเด็ก 100,000 คน อาจพบเพียง 1-2 คน/ปี เท่านั้น อาการอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน สัญญาณเริ่มต้นของหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและมีอาการรุนแรง […]


สุขภาพหัวใจ

ระบบหัวใจคืออะไร และทำงานอย่างไร

ระบบหัวใจ ทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์จำนวนมาก จากนั้นนำเลือดเสียจากร่างกายกลับสู่ปอดเพื่อฟอกเลือด หากระบบหัวใจทำงานผิดปกติ อาจส่งผลต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ความดันสูง ความสำคัญของหัวใจ หัวใจมีความสำคัญในการสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือด ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย ภายในเลือดประกอบไปด้วยสารอาหารและออกซิเจนที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงเซลล์จำนวนมาก หากไม่มีเลือดและหัวใจช่วยสูบฉีดเลือด จะส่งผลให้เซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ การทำงานจะเริ่มผิดปกติ หยุดการทำงาน และอาจเสียชีวิตในที่สุด ส่วนประกอบของระบบหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดเป็นส่วนหนึ่งของระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งประกอบด้วย หัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่คอยสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในทิศทางเดียว เนื่องจากมีลิ้นหัวใจคอยป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ หัวใจประกอบด้วย 4 ห้อง โดย 2 ห้องบนทั้งซ้ายและขวา เรียกว่า “เอเรีย (Atria)” และ 2 ห้องล่างทั้งซ้ายและขวา เรียกว่า “เวนทริเคิล (Ventricles)” หลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนไหลผ่านระหว่างหัวใจและปอด เพื่อส่งอาหารและออกซิเจนออกไปเลี้ยงร่างกาย หลอดเลือดดำ ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดเสียเพื่อนำไปฟอกรับออกซิเจนที่ปอด เพื่อส่งกลับมายังหัวใจและส่งต่อไปเลี้ยงร่างกาย เส้นเลือดฝอย เป็นเส้นเลือดขนาดเล็กทำหน้าที่รับเลือดจากเส้นเลือดแดง เพื่อส่งต่อไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ลิ้นหัวใจ ทำหน้าที่กั้นเปิดปิดระหว่างห้องหัวใจ และป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ […]


คอเลสเตอรอล

ยาลดไขมันในเลือด และผลข้างเคียง

ยาลดไขมันในเลือด คืออีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดระดับไขมันที่สะสมอยู่ในหลอดเลือด นอกเหนือจากการควบคุมอาหาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่การใช้ยาลดไขมันในเลือดก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของยาแต่ละชนิดให้ดี ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ยาที่เหมาะสม ยาลดไขมันในเลือดใช้เพื่ออะไร เมื่อคอเลสเตอรอลสูงขึ้นจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพันธุกรรม ก็อาจทำให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ไขมันเหล่านี้อาจเกาะสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตับ ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด แล้วอาจทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงระบบการทำงานแก่อวัยวะต่าง ๆ ได้ยาก นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจล้มเหลว การลดระดับไขมันในเลือด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงการใช้ยาลดไขมันในเลือด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดสะสม และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ยาลดไขมันในเลือดก็มีอยู่หลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อหาวิธีลดไขมันในเลือดที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน ยาลดไขมันในเลือด ที่แพทย์นิยมเลือกใช้ ยาลดไขมันมีอยู่หลายประเภท ซึ่งอาจมีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มยาสแตติน(Statin) เป็นกลุ่มยาที่แพทย์นิยมใช้มากที่สุด เพื่อช่วยลดไขมันไม่ดีในเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์ และอาจช่วยเพิ่มระดับของไขมันดีในร่างกายได้ ยาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาสแตติน ได้แก่ อะทอร์วาสแททิน (Atorvastatin) ฟลูวาสแตติน (Fluvastatin) โลวาสแตติน (Lovastatin) ซิมวาสแตติน (Simvastatin) พราวาสแตติน (Pravastatin) โรซูวาสแตติน (Rosuvastatin) พิทาวาสแตติน (Pitavastatin) ผลข้างเคียง : กลุ่มยาสแตตินอาจส่งผลให้ตับและลำไส้ได้รับความเสียหาย กล้ามเนื้ออักเสบ ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการสูญเสียความจำและสับสนเล็กน้อย แต่อาการเหล่านี้มักจะไม่เป็นอันตราย และจะหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มสแตตินอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่น […]


คอเลสเตอรอล

วิธีลดไขมันในเลือด แบบธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งยา

เมื่อร่างกายมีไขมันในเลือดอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์มากเกินไป จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น ซึ่งภาวะสุขภาพเหล่านี้อาจรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจากภาวะไขมันในเลือดสูงอาจลดลงได้ด้วยการควบคุมระดับไขมันในเลือดโดยใช้ วิธีลดไขมันในเลือด ที่เหมาะสม เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดี การออกกำลังกายบ่อย ๆ การงดสูบบุหรี่ ไปจนถึงการใช้ยา ไขมันในเลือดกับสุขภาพหัวใจ ไขมันในเลือด เรียกว่า ลิพิด (Lipid) มีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้คอเลสเตอรอลในการสร้างผนังหลอดเลือด การหลั่งฮอร์โมนและการหลั่งวิตามินดี ส่วนไขมันในเลือดอีกหนึ่งชนิด คือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อและช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ ทั้งคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สามารถสร้างได้จากตับและได้รับจากอาหาร หากได้รับในปริมาณที่พอดีจะช่วยส่งผลดีต่อร่างกาย แต่หากร่างกายมีไขมันในเลือดมากเกินไปมักส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด จนอาจทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นต้น สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะคอเลลเตอรอลสูง และภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง มักเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ […]


สุขภาพหัวใจ

สมุนไพรบำรุงหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

โรคหัวใจ คือ โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างผลไม้ เนื้อปลา รวมถึง สมุนไพรบำรุงหัวใจ ที่อาจช่วยกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ผู้ป่วยโรคหัวใจควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนตัดสินใจบริโภค สมุนไพรบำรุงหัวใจ สำหรับผู้ป่วยหัวใจ มีอะไรบ้าง สมุนไพรที่อาจมีสรรพคุณช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ มีดังต่อไปนี้ สะระแหน่ น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่มีสารเมนทอลที่อาจช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ ผลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ในการรักษาโรคของสะระแหน่ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of pharmaceutical sciences and research ระบุว่า การสูดดมกลิ่นสะระแหน่อาจช่วยขยายหลอดลม ส่งผลให้ออกซิเจนไหลเวียนเข้าปอดได้มากขึ้น จึงอาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงสุขภาพปอด กระเทียม กระเทียมเป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากกระเทียมมีสารอัลลิซิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยลดความดันโลหิตสูง แปะก๊วย สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ระบุว่า แปะก๊วยอุดมด้วยไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตภายในร่างกาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ใบเตย ใบเตย เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้บำรุงสุขภาพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาสูง อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน