ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ตะคริวที่หลัง เป็นเพราะกล้ามเนื้อหรือกระดูกสันหลังกันแน่?

ตะคริวที่หลัง อาจเกิดขึ้นได้จากการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งบริเวณหลัง ในขณะที่คุณกำลังออกแรงหนักๆ หรือแม้ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการยกของหนัก หรือการก้มลงไปผูกเชือกรองเท้า ก็อาจทำให้เกิดปวดแปลบแบบฉับพลันจากการหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่นอกการควบคุมของจิตใจ (involuntary muscle) ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณแสดงว่า คุณออกแรงมากเกินไป หรือในอีกกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีปัญหากระดูกสันหลังที่ซ่อนอยู่ได้ด้วยเช่นกัน ทำอย่างไรเมื่อเป็น ตะคริวที่หลัง เพื่อบรรเทาตะคริวบริเวณกล้ามเนื้อหลัง ให้คุณปรับท่าทางที่แนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดลง คุณอาจนอนหงายหรือตะแคงบนพื้นที่แข็งแรงหรือสอดหมอนไว้ระหว่างเข่าเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ขณะที่เอนตัวลงนอน คุณสามารถวางถุงน้ำแข็งที่ห่อด้วยผ้าขนหนูนุ่มๆ ไว้ใต้บริเวณที่เกิดตะคริวนาน 15-20 นาที สามารถทำเช่นนี้ได้ 3-4 ครั้งต่อวัน ในช่วง 48 ถึง 72 ชั่วโมงแรกเพื่อลดความเจ็บปวดและการอักเสบลง ถ้าไม่ได้ผล ให้ใช้การประคบร้อนเพื่อเพิ่มการไหลเวียน แล้วคุณจะได้รู้สึกสบายขึ้น หรืออาจทำสลับระหว่างการประคบร้อนและเย็น เพื่อให้แน่ใจว่ากล้ามเนื้อมีปฏิกิริยาต่อทั้งความร้อนและความเย็นอย่างเหมาะสม ข้อควรระวังคือ อย่านอนทับถุงน้ำแข็งนานเกิน 20 นาที เนื่องจากการได้รับความเย็นนานเกินไปอาจทำให้เกิดแผลจากน้ำแข็งกัดหรือความเสียหายที่เส้นประสาทได้ ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้จากร้านขายยา เช่น ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์สามารถช่วยลดความเจ็บปวดและการอักเสบได้ ยาเหล่านี้ ได้แก่ ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) นาโพรเซน (Aleve) และแอสไพริน ส่วนยาอะเซตามิโนเฟน (Tylenol) อาจพอบรรเทาความปวดได้ แต่ไม่ได้รักษาการอักเสบ แม้ว่าคุณอาจอยากอยู่นิ่งๆ หลังจากเกิดอาการ แต่การเคลื่อนไหวเล็กน้อยจะดีกว่าการนอนพักบนเตียงเท่านั้น การเคลื่อนไหวเล็กน้อยและไม่รุนแรง […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

อาการข้อติด (Joint Stiffness)

คำจำกัดความอาการข้อติดคืออะไร อาการข้อติด คือ ภาวะที่ข้อต่อในร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัดหรือยากลำบาก ภาวะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความอ่อนแรง หรือจากอาการปวดข้อต่อ โดยผู้ที่มีภาวะข้อติดบางคนสามารถขยับข้อต่อได้เต็มระยะตามปกติ เพียงแต่ต้องออกแรงมากกว่าเดิม อาการข้อติดพบได้บ่อยเพียงใด อาการข้อติดพบได้ทั่วไป ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะสามารถพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ก็ยังเกิดได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการของภาวะข้อติด สัญญาณและอาการที่เกี่ยวข้องของภาวะข้อติด มีดังนี้ ข้อต่อเจ็บหรือบวม มีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว ข้อต่อผิดรูปทรง สาเหตุสาเหตุของอาการข้อติด สาเหตุของอาการข้อติด ประกอบด้วย อายุ อาการข้อติดเกิดขึ้นได้กับคนจำนวนมาก การใช้งานไปนานๆ ย่อมทำให้ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และกระดูก เสื่อมสภาพ หลายคนพบว่าตนเองมีอาการข้อติดหลังตื่นนอน เหตุผลก็เพราะว่า การนอนหลับเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงจะลดจำนวนของเหลวในร่างกายลง โดยเฉพาะในข้อต่อ จึงกลายเป็นเรื่องยากสำหรับการขยับข้อต่อเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis – RA) สาเหตุโดยทั่วไปที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อก็คือโรคข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือหนึ่งในรูปแบบของโรคข้ออักเสบที่พบได้ทั่วไป ปกติแล้วจะปรากฏอาการในกลุ่มคนช่วงอายุ 30 ถึง 60 ปี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จัดเป็นโรคอักเสบชนิดเรื้อรัง แถมยังเป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย ซึ่งหมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีส่วนที่แข็งแรงของร่างกาย เช่น เนื้อเยื่อบุข้อต่อ นี่เอง จึงเป็นสาเหตุของการอักเสบ ความเจ็บปวดและภาวะข้อติด เมื่อเวลาผ่านไป ยังก่อให้เกิดการผิดรูปของข้อต่อและการสึกกร่อนของกระดูกตามมา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่สามารถรักษาได้ จึงไม่สามารถกำจัดอาการได้อย่างหายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ผ่านการรับประทานยา และการรักษาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อตัวโรครุนแรงมากขึ้น สิ่งที่ทำได้คือการจะป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ข้อเสื่อม (Osteoarthritis – OA) […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กล้ามเนื้อกระตุก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

กล้ามเนื้อกระตุก (muscle Twitching) คือ อาการที่กล้ามเนื้อมัดเล็กเกิดการหดตัว มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่แล้วไม่น่ากังวลและไม่เป็นอันตรายร้ายแรง อย่างไรก็ตาม อาการกล้ามเนื้อกระตุกอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางระบบประสาท เช่น เส้นประสาทถูกกดทับ ซึ่งต้องเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ กล้ามเนื้อกระตุก คืออะไร กล้ามเนื้อกระตุก (muscle fasciculation หรือ Muscle Twitching) เป็นอาการที่กล้ามเนื้อมัดเล็กในร่างกายเกิดการหดตัว กล้ามเนื้อสร้างขึ้นจากเส้นใยที่ควบคุมด้วยเส้นประสาท ถ้าถูกกระตุ้นหรือเกิดความเสียหายกับเส้นประสาท ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ใยกล้ามเนื้อหดตัวได้ อาการกล้ามเนื้อกระตุกโดยทั่วไป มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่น่ากังวล แต่ในบางกรณี ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงปัญหาทางระบบประสาท ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที กล้ามเนื้อกระตุกพบบ่อยเพียงใด กล้ามเนื้อกระตุกพบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของกล้ามเนื้อกระตุก สัญญาณและอาการที่มักพบมีดังนี้ กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อกระตุก กล้ามเนื้ออ่อนแรง มวลกล้ามเนื้อหายไป ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอทันที กล้ามเนื้อกระตุกมาเป็นเวลานาน ไม่ยอมหาย เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก และมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือสูญเสียมวลกล้ามเนื้อร่วมด้วย สาเหตุ สาเหตุของกล้ามเนื้อกระตุก สาเหตุของกล้ามเนื้อกระตุกอาจมีดังนี้ การออกกำลังกาย อาการกล้ามเนื้อกระตุก อาจเกิดขึ้นได้หลังการออกกำลังกาย เนื่องจากมีการสะสมตัวของกรดแลคติกในกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานระหว่างออกกำลังกายนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วมักส่งผลต่อแขน ขา และหลัง ความเครียดและความวิตกกังวล อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่มีสาเหตุมาจากความเครียดและความวิตกกังวลจะเรียกว่า ความผิดปกติของระบบประสาท (nervous ticks) สามารถส่งผลกระทบได้ต่อกล้ามเนื้อทุกมัดในร่างกาย การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การดื่มคาเฟอีนและสารกระตุ้นชนิดอื่นมากเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อในแต่ละส่วนของร่างกายเกิดอาการกระตุกได้ […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดกล้ามเนื้อ ถือเป็นความอาการเจ็บปวดที่พบมากที่สุดในคนทุกเพศ ทุกวัย คุณเคยรู้หรือไม่ว่า ร่างกายคนเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อถึง 650 มัดที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ช่วยในการทรงตัวและปรับเปลี่ยนท่าทาง รวมทั้งนำพาเลือดและสารอาหารไปเป็นพลังงานไหลเวียนหล่อเลีี้ยงทั่วร่างกาย อาการปวดกล้ามเนื้ออาจมีตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง สามารถหายเองได้ในระยะเวลาสั้นๆ หรือคงอยู่นานหลายเดือน และร่างกายทุกส่วนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ อาการปวดกล้ามเนื้อจึงอาจเกิดขึ้นได้เกือบทุกที่ ทั่วทั้งร่างกาย วันนี่้เราจึงรวบรวม ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อ มาฝากกัน ส่วนประกอบของกล้ามเนื้อมีอะไรบ้าง ในการทำความเข้าใจกับอาการปวดกล้ามเนื้อ คุณควรทราบว่ากล้ามเนื้อของคุณประกอบด้วยอะไรบ้าง กล้ามเนื้อคนเราประกอบด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่รวมถึงเอ็นยึด เอ็นกล้ามเนื้อ และผังผืด โดยกล้ามเนื้อสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle) กล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary) หรืออยู่ภายใต้การควบคุมของคุณเอง กล้ามเนื้อประเภทนี้ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตามปกติ กล้ามเนื้อประเภทนี้จะยึดกระดูกสองส่วนบริเวณข้อต่อเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้การเคลื่อนที่อย่างราบรื่นและง่ายดายขึ้น กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (Involuntary) หรือนอกเหนือควบคุมของคุณ กล้ามเนื้อประเภทนี้คือ กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในทั้งหมด ของคุณ กล้ามเนื้อเหล่านี้จะทำงานโดยการหดตัวเพื่อนำพาสารต่างๆ ให้เคลื่อนผ่านอวัยวะ กล้ามเนื้อเรียบจะแตกต่างจากกล้ามเนื้อลาย ตรงที่ว่าจะไม่มีลักษณะเป็นเส้นลาย กล้ามเนื้อหัวใจ ถือเป็นกล้ามเนื้อที่ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ หรือเรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้ออิสระ ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่พบได้ในหัวใจเท่านั้น กล้ามเนื้อหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ข้อไหล่ติด ภัยร้ายวัยทำงานรู้ไว้รักษาทัน

เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ โรคภัยก็เริ่มคืบคลานเข้ามา หันซ้าย หันขวาทีก็ลั่นกร๊อบแกร๊บ โดยเฉพาะวัยทำงานที่นั่งทำงานในห้องแอร์เย็นเฉียบ นั่งทำงานอยู่กับที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรค ข้อไหล่ติด โรคนี้มีอาการและส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย Hello คุณหมอ นำสาระเรื่องนี้มาฝากกัน ภาวะ ข้อไหล่ติด คืออะไร ภาวะข้อไหล่ติด เป็นภาวะที่ข้อไหล่เคลื่อนที่ได้น้อย เมื่อยกแขนขึ้นจะเกิดอาการปวด ไม่ว่าจะยกมือถูหลังก็มีอาการปวด นี่อาจเป็นสัญญาที่บ่งบอกว่าอาจมี ภาวะข้อไหล่ติด โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ไหล่ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มข้อไหล่จะมีการยืดหยุ่น ทำให้ไหล่เคลื่อนไหวได้ง่ายและคล่องตัว แต่เมื่อเนื้อเยื่อหุ้มไหล่เกิดการยึดติด ไม่ยืดหดตามการเคลื่อนไหวของไหล่ ยกไหล่ขึ้นได้ไม่เต็มที่และมีอาการปวดเมื่อยกแขน โดยมากภาวะข้อไหล่ติดมักเกิดกับคนที่มีอายุช่วง 40-60 ปีและเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เป็นเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจมีโอกาสเกิดภาวะโรคข้อไหล่ติดมากกว่าคนทั่วไป สาเหตุของข้อไหล่ติด ข้อไหล่ติดไม่ได้มีสาเหตุอย่างแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ในปัจจุบันมีทฤษฎีเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ปกติระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะมีหน้าที่ในการป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะอื่นๆ จากสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แต่หากระบบภูมิคุ้มกันไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง นอกจากจะไม่ป้องกันแล้วยังโจมตีและทำลายเนื้อเยื่ออีกด้วย หากเนื้อเยื่อถูกทำลายก็จะเกิดการอักเสบ หากการอักเสบมีความรุนแรงขึ้นก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อหุ้มบริเวณไหล่เกิดการหดรัด แข็งตัวจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ นอกจากนี้ภาวะไหล่ติดก็ยังเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก เช่น กล้ามเนื้อฉีกขาด กล้ามเนื้ออักเสบ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ กระดูกบริเวณไหล่หัก กระดูกบริเวรไหล่เคลื่อน การเสื่อมของไหล่ โรคข้ออักเสบ อาการและระยะต่างๆ ของโรค อาการของโรคข้อไหล่ติดแบ่งออกได้ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness)

คำจำกัดความ กล้ามเนื้อแข็งตัวคืออะไร กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle stiffness) คือ อาการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งและเคลื่อนไหวลำบากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่เฉยๆ กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness) แตกต่างจากการตึงตัว (rigidity) และการหดเกร็ง (spasticity) ตรงที่อาการจะเกิดขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายก็ตาม อาการกล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness) ส่วนใหญ่หายได้เอง คุณอาจพบว่าอาการนั้น จะบรรเทาลงจากอาการกล้ามเนื้อแข็งตัว เมื่อคุณออกกำลังกายสม่ำเสมอและยืดเส้นบ่อยๆ ในบางกรณีอาการกล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness) ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากกล้ามเนื้อแข็งตัวร่วมกับอาการอื่นๆ ดังนั้นจึงควรลองหมั่นสังเกตตัวเอง ป้องกันการเกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งตัว กล้ามเนื้อแข็งตัวพบได้บ่อยแค่ไหน กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness)  พบได้ทั่วไป สามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย แต่สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของกล้ามเนื้อแข็งตัว อาจพบสัญญาณเตือนและอาการดังต่อไปนี้ เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดบวม หรือรู้สึกไม่สบาย บวมแดง นอนไม่หลับ อาการเป็นอุปสรรค ต่อการสวมใส่เสื้อผ้า มีปัญหาในการเปลี่ยนท่าทาง ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรไปพบคุณหมอ ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อแข็งตัว ร่วมกับอาการไข้ ปวด ปัสสาวะสีเข้ม หรือเกิดอาการบวม เมื่อเกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งตัวหลังจากถูกแมลงกัดต่อย และมีปฏิกิริยาแพ้รุนแรง หากพบว่ามีอาการดังกล่าว หรือมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้ร่างกายของคนเรานั้น […]


โรคข้ออักเสบ

7 ท่าบริหารเพื่อบรรเทาอาการปวด ข้ออักเสบที่มือ

เพื่อป้องกันข้อต่อจากการเสียดสีกันของข้อต่อ ในระหว่างการทำกิจกรรมประจำวัน ข้อต่อจะมีการปกป้องโดยธรรมชาติด้วยกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นแผ่นคล้ายยางอยู่ที่ส่วนปลายของกระดูกแต่ละข้าง ข้ออักเสบ (Arthritis) ทำให้กระดูกอ่อนเหล่านี้เสื่อม และทำให้เกิดการอักเสบ การระคายเคือง และอาการฝืดแข็งเมื่อเคลื่อนไหวข้อต่อ การเป็นข้ออักเสบที่มือทั้งสองข้างเป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากคุณจำเป็นต้องใช้มือสำหรับกิจกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน อ่านบทความนี้ เพื่อศึกษาวิธีที่คุณสามารถใช้การออกกำลังกายเพื่อจัดการกับ ข้ออักเสบที่มือ ท่าบริหาร 1: กำมือ เมื่อใดก็ตามที่มือของคุณรู้สึกว่าข้อฝืดแข็ง คุณสามารถเริ่มออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ได้ ให้เริ่มโดยการกางมือออก ให้นิ้วมือชี้ขึ้นข้างบน จากนั้น งอนิ้วมือ เพื่อกำมือโดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านนอกมือ อย่ากำมือแน่นเกินไปแต่ทำอย่างมั่นคง หลังจากนั้น ให้ยืดนิ้วมือออกอย่างช้าๆ และกางนิ้วมือออก ให้ออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ 10 ครั้งกับมือแต่ละข้าง ท่าบริหาร 2: งอนิ้วมือ ในการเริ่มต้นทำท่านี้ กางมือออกไปด้านหน้า โดยให้นิ้วหัวแม่มือทำมุม 90 องศากับนิ้วอื่นๆ จากนั้น งอข้อนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือ และค้างไว้เป็นเวลาสองสามวินาที แล้วกางออก ทำแบบเดียวกันกับนิ้วมือแต่ละนิ้ว จากนั้น ทำกับมืออีกข้างหนึ่ง ท่าบริหาร 3: งอนิ้วหัวแม่มือ ขั้นแรก ให้เริ่มต้นด้วยท่าเดียวกันกับท่าที่แล้ว แต่แทนที่จะงอนิ้ว ให้พยายามยืดนิ้วมือไปยังโคนนิ้วก้อย หากคุณไม่สามารถยืดนิ้วมือไปถึงนิ้วก้อยได้ ไม่มีปัญหาอะไร ให้พยายามทำท่าดังกล่าวค้างไว้เป็นเวลา 2-3 วินาทีและทำการยืดนิ้วซ้ำ 10 ครั้ง […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

โยคะ..วิธีง่ายๆ ที่ได้ผลในการบรรเทาอาการ ปวดจากข้ออักเสบ

สำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบ (arthritis) หลายรายนั้น การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพโดยทั่วไป และช่วยบรรเทาอาการ ปวดจากข้ออักเสบ ได้เป็นอย่างมาก ตราบใดที่คุณใช้วิธีการที่เหมาะสม หากคุณกังวลว่า การเข้ายิมอาจไม่ส่งผลดีสำหรับอาการปวดข้อต่อ วิธีการทดลองในกลุ่มที่มีการควบคุมแบบสุ่มที่ตีพิมพ์ใน Journal of Rheumatology เมื่อไม่นานมานี้พบว่า ผู้ป่วยข้ออักเสบที่เล่นโยคะ สามารถได้รับผลดีทั้งทางร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก นานาประโยชน์ของโยคะ คนจำนวนมากหันมาเล่นโยคะ เนื่องจากเป็นวิธีออกกำลังกายที่ไม่รุนแรง รวมทั้งช่วยลดความตึงเครียดของร่างกาย และทำให้ความยืดหยุ่นของข้อต่อดีขึ้น นักวิจัยได้ค้นพบว่า โยคะสามารถบรรเทาภาวะข้ออักเสบ โดยการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทำให้การทรงตัวดีขึ้น นอกจากนี้ โยคะยังสามารถเล่นร่วมกับการออกกำลังกายประเภทอื่นๆ ได้ โดยใช้เป็นวิธีการวอร์มอัพ หรือการคูลดาวน์หลังการออกกำลังกาย ท่าบริหารเพื่อการยืดเหยียดร่างกายโดยทั่วไป ช่วยทำให้ระยะของการเคลื่อนไหวดีขึ้น ดังนั้น การที่คุณยืดร่างกายในการเล่นโยคะ จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยในเรื่องความยืดหยุ่นของร่างกายได้ ในวันที่คุณมีอาการปวดข้ออักเสบกำเริบขึ้นมา หากเป็นไปได้ อย่าเพิ่งหยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ให้ใช้การออกกำลังกายอย่างเช่น โยคะ ซึ่งจะสามารถช่วยรักษาความยืดหยุ่นของข้อต่อได้ สำหรับผู้ที่เป็นข้ออักเสบ อาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนท่าเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ท่าสุนัขก้ม (Downward facing dog) ซึ่งคุณจำเป็นต้องก้มตัวลง และทรงตัวด้วยมือและเท้าบนพื้น ผู้ที่เป็นข้ออักเสบอาจจำเป็นต้องใช้เก้าอี้ บล็อคหรือกล่อง สายรัด หรืออุปกรณ์ช่วยอื่นๆ เพื่อช่วยทรงตัวในระหว่างการทำท่าบางท่า คำแนะนำที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นข้ออักเสบก็คือ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านข้ออักเสบก่อนเริ่มเล่นโยคะ และควรสอบถามครูสอนโยคะว่า ครูสอนโยคะมีประสบการณ์ในการจัดการกับผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือไม่ […]


โรคข้ออักเสบ

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ โรคข้อเสื่อม ที่ทุกคนควรรู้ เพื่อรับมือกับโรคนี้

ในปัจจุบันนี้ โรคข้อเสื่อม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่คุณสามารถลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคได้ โดยการออกกำลังกาย และรักษาน้ำหนักร่างกายที่เหมาะสม ซึ่งยังสามารถช่วยชะลอการลุกลาม และบรรเทาอาการปวด อีกทั้งยังทำให้การทำงานของข้อต่อดีขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาคุณไปรู้จักโรคข้อเสื่อมนี้ให้ดียิ่งขึ้นไปพร้อม ๆ กันค่ะ สาเหตุ ที่อาจทำให้เกิด โรคข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)  เกิดจากการเสื่อมของกระดูกข้อต่อ ที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ปกป้องที่ปลายกระดูก มีการเสื่อมลงตามเวลา และเป็นประเภทของข้อเสื่อมที่พบได้มากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ข้อเสื่อมจะค่อยๆ มีอาการมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และสามารถส่งผลได้ทั้งกับข้อต่อที่มือ เข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง กระดูกอ่อนที่แข็งแรงช่วยให้กระดูกสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างสะดวก และรองรับแรงกระแทกในระหว่างการเคลื่อนไหว เมื่อกระดูกอ่อนเสียหาย กระดูกจะเริ่มเสียดสีกัน การเสียดสีกันนี้ทำให้เกิดอาการปวด บวม และข้อต่อเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก บางครั้งโรคข้อเสื่อมก็อาจเกิดได้จากการเสื่อมตามเวลาของกระดูกอ่อนในข้อต่อ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น โรคอ้วน และการบาดเจ็บ กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อแข็งและผิวเรียบลื่น ที่ทำให้การเคลื่อนที่ของข้อต่อมีแรงเสียนทานน้อยมาก เมื่อเกิดข้อเสื่อมนั้น พื้นผิวที่เรียบลื่นของกระดูกอ่อนจะขรุขระ ในท้ายที่สุดแล้ว หากกระดูกอ่อนเสื่อมลงทั้งหมด คุณอาจเหลือเพียงกระดูกที่เสียดสีกันเท่านั้น ภาวะนี้เป็นสาเหตุของอาการปวด และอาการบวมขึ้นนั่นเอง ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิด โรคข้อเสื่อม มีปัจจัยหลายประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของข้อเสื่อมได้มี ดังนี้ ช่วงอายุที่มากขึ้น น้ำหนักที่มากเกินไป สามารถทำให้มีแรงกดเพิ่มขึ้นบนข้อต่อ ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดข้อเสื่อม การบาดเจ็บที่ข้อต่อ จากการออกกำลังกายและกีฬา ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของข้อเสื่อมได้ อาชีพที่ทำให้มีแรงกดทับที่ข้อต่อ […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

5 วิธีลดความเสี่ยงและ ป้องกันข้อเสื่อม

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เคยถูกจัดว่าเป็นสัญญาณเตือนถึงการมีอายุมากขึ้นและความร่วงโรยของวัย เมื่อข้อต่อเริ่มเสื่อม จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณข้อต่อเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย นักวิจัยเผยว่ามีปัจจัยหลายประการ ที่สามารถทำให้เกิดข้อเสื่อม และมันมีความซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเหล่านี้ เราสามารถ ป้องกันข้อเสื่อม ไม่ให้มีอาการเลวร้ายลง หรือไม่ให้เกิดขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ นำ 5 วิธีลดความเสี่ยงและ ป้องกันข้อเสื่อม มาฝากกันค่ะ ควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน ทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเกิดข้อเสื่อมได้มากขึ้น น้ำหนักที่มากขึ้น ทำให้มีแรงกดทับที่ข้อต่อมากขึ้น เช่น ที่สะโพกและเข่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหนึ่งกิโลกรัม เพิ่มแรงกดทับเกือบ 8 กิโลกรัมที่เข่า และเพิ่มแรงกดทับที่สะโพก เมื่อวลาผ่านไป แรงกดที่มากขึ้นจะทำลายกระดูกอ่อนที่ช่วยพยุงข้อต่อ แต่แรงกดทับจำนวนมากที่ข้อต่อ ไม่ใช่ปัญหาเพียงประการเดียว น้ำหนักที่มากขึ้นยังทำให้คุณมีเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้น เนื้อเยื่อไขมันจะสังเคราะห์โปรตีนที่เรียกว่าไซโตไคน์ (Cytokine) ที่กระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย ในข้อต่อนั้น สารไซโตไคน์ทำลายเนื้อเยื่อโดยการเปลี่ยนการทำงานของเซลล์กระดูกอ่อน เมื่อคุณมีน้ำหนักมากขึ้น ร่างกายจะสร้างและปลดปล่อยโปรตีนที่ทำลายเซลล์เหล่านี้ได้มากขึ้น ด้วยการลดน้ำหนัก แม้เพียงสองถึงสามกิโลกรัม คุณก็สามารถลดแรงกดทับ และการอักเสบที่ข้อต่อ ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเสื่อมได้ ควบคุมน้ำตาลในเลือด นักวิจัยเผยว่าการเป็นเบาหวาน สามารถเพิ่มความเสี่ยงสำหรับข้อเสื่อมได้ ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ น้ำตาลในเลือดสูงทำให้กระดูกอ่อนเกิดการติดขัดและฝืดแข็ง และไวต่อแรงกดทับได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการอักเสบในระบบร่างกาย ที่ทำให้เกิดการสูญเสียกระดูกอ่อนได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงสำหรับข้อเสื่อม คุณควรควบคุมน้ำตาลในเลือด […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม