ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

หมวดหมู่ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มเติม

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา คืออะไร และคุณจะรับมือด้วยวิธีอะไรได้บ้าง

หากคุณรู้สึกปวดหลังส่วนล่างเมื่อลุกขึ้นจากเก้าอี้ คุณอาจมี อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sacroiliac Joint Dysfunction) อาการนี้พบได้ทั่วไปมากกว่าที่พวกเราคิด บทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการและวิธีรับมือกับโรคนี้ ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา อาการปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นโรคที่เกิดกับข้อต่อเชิงกราน ที่อยู่บริเวณสะโพก (Sacroiliac joint) อวัยวะส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการรองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบน ที่ส่งไปยังขาของคุณในขณะที่ยืนหรือเดิน จากการศึกษาพบว่า ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับอาการนี้มีถึงร้อยละ 15 ถึง 30 มีอาการ อาจรู้สึกปวดบริเวณสะโพก ที่อาจปวดร้าวลงไปยังต้นขา ก้น ง่ามขา หรือหลังส่วนบน โดยปกติ อาการหลักคืออาการปวดที่หลังส่วนล่าง ในขณะที่ยืนหรือลุกขึ้นในตอนเช้า ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่อาจทำให้เกิดอาการนี้ เช่น การเล่นกีฬา การล้ม การวิ่ง ข้ออักเสบ อายุที่มากขึ้น หรือการตั้งครรภ์ วิธีรับมือกับอาการปวดสะโพกร้าวลงขา การรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ปกติแล้วสามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูการเคลื่อนไหวปกติของข้อต่อ ซึ่งวิธีการดังต่อไปอาจจะช่วยได้ การประคบเย็นหรือร้อนและการพัก แพทย์จะแนะนำการรักษาเหล่านี้ คือ การใช้น้ำแข็งหรือแผ่นประคบเย็น ประคบบริเวณที่เจ็บเป็นเวลา 15 ถึง 20 นาที เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และสามารถทำซ้ำได้เป็นเวลา 2 วันจนถึง 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอาการปวด นอกจากนี้ การใช้ความร้อนประคบหรืออาบน้ำอุ่น ก็สามารถบรรเทาอาการได้ […]


โรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุน (Osteoporosis)

กระดูกพรุน ปัญหาสุขภาพกระดูกเสื่อมและบางลงเนื่องจากสูญเสียแคลเซียมในกระดูก ทำให้ความหนาแน่นในกระดูก หรือที่เรียกว่ามวลกระดูกลดลง เมื่อกระดูกเปราะ กระดูกบาง ก็มีโอกาสเกิดปัญหากระดูกแตก หัก หลังประสบอุบัติเหตุได้มากขึ้น คำจำกัดความ กระดูกพรุนคืออะไร กระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่ง ที่กระดูกบางลง และสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก (มวลกระดูก) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้กระดูกเปราะ บาง หรือมีโอกาสแตกหลังประสบอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยได้มากขึ้น ความสูงลดลงและมีอาการปวดหลัง โดยผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนกลุ่มอื่น โรคกระดูกพรุนสามารถทำให้เกิดภาวะกระดูกแตก หรือหัก พบได้บ่อยบริเวณ สะโพก ข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง แต่ก็สามารถเกิดกับกระดูกบริเวณอื่นได้เช่นกัน โดยกระดูกที่แตกหักบางชิ้นอาจรักษาไม่หาย โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นที่สะโพก กระดูกพรุนเป็นโรคที่ไม่มีอาการ และอาจไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดจนกว่ากระดูกจะมีการแตกหัก หลายคนคิดว่ากระดูกพรุนเป็นปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในปัจจุบันเชื่อว่า กระดูกพรุนนั้นสามารถป้องกันได้ นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นกระดูกพรุนอยู่แล้ว สามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกัน หรือชะลอการแพร่กระจายของกระดูกพรุน และลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกแตกหักในอนาคตได้ พบได้บ่อยเพียงใด กระดูกพรุนส่งผลต่อผู้ชายและผู้หญิงได้ทุกเชื้อชาติ แต่ผู้หญิงผิวขาวและผู้หญิงเอเชีย โดยเฉพาะผู้หญิงสูงอายุที่ผ่านวัยหมดประจำเดือนแล้ว มีความเสี่ยงมากที่สุด คุณสามารถจำกัดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุนได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนไม่มีอาการที่ชัดเจนในระยะเริ่มแรก แต่เมื่อถึงเวลาจะแสดงอาการปวดหลังส่วนล่างและคอ ตัวงอ และความสูงค่อยๆ ลดลง ในกรณีอื่นๆ สัญญาณเตือนประการแรกคือการแตก หรือหักของกระดูกบริเวณต่างๆ เช่น ซี่โครง […]


โรคข้ออักเสบ

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นความผิดปกติที่มีการอักเสบเรื้อรัง ที่สามารถส่งผลมากกว่าเพียงข้อต่อ แต่สามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบร่างกายได้มากมาย คำจำกัดความข้ออักเสบรูมาตอยด์ คืออะไร ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคเกี่ยวกับการอักเสบเรื้อรังที่สามารถส่งผลมากกว่าเพียงข้อต่อ ในผู้ป่วยบางราย ภาวะนี้สามารถสร้างความเสียหายแก่ระบบร่างกายได้มากมาย เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ หลอดเลือด ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) จัดเป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง หรือโรคภูมิต้านตนเอง หรือโรคภูมิแพ้ตัวเอง (autoimmune disorder) เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันต้านเนื่อเยื่อในร่างกายของคุณ เนื่องจากเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ข้ออักเสบรูมาตอยด์แตกต่างจากความเสียหายที่เกิดจากการเสื่อมของข้อเสื่อม (osteoarthritis) เนื่องจากข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นส่งผลต่อแนวเนื้อเยื่อข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวดบวม ที่ค่อยๆ ทำให้เกิดกระดูกผุ (bone erosion) และข้อต่อผิดรูป (joint deformity) การอักเสบที่สัมพันธ์กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สามารถส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย ในปัจจุบันมีการคิดค้นยาชนิดใหม่ๆ ที่ทำให้สามารถรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ผลดีขึ้นมาก แต่ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็ยังเสี่ยงพิการได้ ข้ออักเสบรูมาตอยด์พบบ่อยแค่ไหน ข้ออักเสบรูมาตอยด์พบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการทั่วไปของข้ออักเสบรูมาตอยด์ ได้แก่ ข้อต่อกดเจ็บ อุ่น และบวม ปวดแน่นที่ข้อต่อ ซึ่งมักมีอาการแย่ลงในตอนเช้า และหลังจากไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย อ่อนเพลีย มีไข้ และน้ำหนัดลด ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในระยะเริ่มแรกมักส่งผลต่อข้อต่อขนาดเล็กกว่าก่อน โดยเฉพาะ ข้อต่อที่เชื่อมนิ้วมือกับมือและเชื่อมนิ้วเท้ากับเท้า จากนั้น อาการต่างๆ มักแพร่กระจายไปยังข้อมือ เข่า ข้อเท้า […]


โรคข้ออักเสบ

ข้ออักเสบ (Arthritis)

คำจำกัดความข้ออักเสบ คืออะไร ข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นการอักเสบที่ข้อต่อ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่ข้อต่อข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ประเภทของข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ ข้อเสื่อม (osteoarthritis หรือ OA) และข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis หรือ RA) ข้อเสื่อม ข้อเสื่อมสามารถส่งผลต่อกระดูกอ่อนตามแนวข้อต่อ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดและเคลื่อนไหวร่างกายได้ยาก ในภาวะที่รุนแรง การสูญเสียกระดูกอ่อนสามารถทำให้กระดูกอ่อนเสียดสีกับกระดูก จนรูปร่างข้อต่อเปลี่ยนแปลงไปและดันกระดูกออกจากตำแหน่งปกติได้ ตำแหน่งที่มักเกิดข้อเสื่อม ได้แก่ ข้อต่อมือ กระดูกสันหลัง เข่า และสะโพก ข้ออักเสบประเภทนี้มักเกิดขึ้นในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 40 ตอนปลายหรือมากกว่า ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบประเภทนี้พบมากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 และ 50 ปี เกิดจากส่วนด้านนอกที่หุ้มข้อต่อเป็นบริเวณแรกที่ได้รับผลกระทบ แล้วการอักเสบลุกลามไปยังข้อต่อโดยรอบ หากเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์  ผู้ป่วยจะมีข้อต่อที่รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ภาวะนี้อาจทำให้กระดูกและกระดูกอ่อนแตกได้ ที่รุนแรงกว่านั้นคือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังสามารถมีอาการผิดปกติต่างๆ ที่เนื้อเยื่อและอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย ข้ออักเสบพบบ่อยแค่ไหน ข้ออักเสบค่อนข้างพบได้ทั่วไป มักส่งผลต่อผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ ยังสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็ก ข้ออักเสบในเด็กที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (juvenile idiopathic arthritis) อย่างไรก็ดี ข้ออักเสบสามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของข้ออักเสบ อาการทั่วไปของข้ออักเสบ ได้แก่ ปวดข้อต่อ แม้จะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย มีอาการบวมและอาการฝืดแข็งของข้อต่อ มีการอักเสบในข้อต่อและโดยรอบข้อต่อ เคลื่อนไหวข้อต่อได้อย่างจำกัด มีรอยแดงที่ผิวหนังโดยรอบข้อต่อ สำหรับผู้ป่วยบางราย […]


กระดูกร้าว กระดูกหัก

กระดูกคอหัก (Cervical fracture)

กระดูกคอหัก คือการหักหรือการแตกที่กระดูกคอชิ้นใดชิ้นหนึ่ง เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังบริเวณกระดูกคอ จนทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตทั่วร่างกาย นับจากบริเวณคอลงมา คำจำกัดความ กระดูกคอหัก คืออะไร กระดูกคอประกอบด้วยกระดูกต่างๆ ทั้งหมด 7 ชิ้น ทำหน้าที่พยุงศีรษะ และเชื่อมระหว่างศีรษะกับไหล่และร่างกาย การหักหรือการแตกที่กระดูกคอชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หรือกระดูกคอหัก (Cervical fracture) มักเรียกว่าคอหัก (broken neck) อาการบาดเจ็บใดๆ ที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง สามารถส่งผลรุนแรง เนื่องจากไขสันหลังเป็นจุดเชื่อมต่อของระบบประสาทส่วนกลาง ระหว่างสมองและร่างกาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ โดยอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังบริเวณกระดูกคอ เกิดอาการอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตทั่วร่างกาย นับจากบริเวณคอลงมา กระดูกคอหักพบบ่อยเพียงใด กระดูกคอหักพบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการกระดูกคอหัก เมื่อกระดูกคอหัก มักเกิดอาการเบื้องต้น คือ อาการปวดคอ ซึ่งอาจสัมพันธ์กับอาการทางประสาท หรืออาการอ่อนแรงหากเส้นประสาทไว โดยอาการกระดูกคอหักนี้ถือเป็นสิ่งที่ต้องระวังระวังเป็นอย่างมาก ไม่ควรให้เกิดขึ้นเนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บอื่นๆ กับกระดูกสันหลังหรืออวัยวะอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วยก็ได้ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคอได้รับบาดเจ็บ คุณไม่ควรเคลื่อนไหวคอหรืออวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้อง จนกว่าจะมีการตรวจเอ็กซเรย์ หากผู้ป่วยหมดสติ แพทย์จะเป็นผู้สันนิษฐานว่า ผู้ป่วยที่หมดสติมีอาการบาดเจ็บที่คอหรือไม่ แล้วค่อยดำเนินการรักษาตามสถานการณ์ต่อไป สาเหตุ สาเหตุของ กระดูกคอหัก กระดูกคอหักมักเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง จนทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอได้รับบาดเจ็บ เช่น ตกจากที่สูง อุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น รถชน รถคว่ำ นักฟุตบอลพุ่งปะทะนักฟุตบอลคู่แข่ง ผู้เล่นฮ็อกกี้น้ำแข็งถูกกระแทก จนชนกับสิ่งกีดขวางอย่างจัง นักยิมนาสติกหลุดจากบาร์โหน แล้วตกลงมา นักกระโดดน้ำกระแทกกับก้นสระว่ายน้ำที่ตื้นเกินไป ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกคอหัก อายุที่มากขึ้น กระดูกพรุน ป่วยเป็นโรคหรือมีภาวะที่ทำให้สูญเสียมวลกระดูก หรือแร่ธาตุ เช่น วัยหมดประจำเดือน เล่นกีฬาที่เสี่ยงกระดูกคอหัก เช่น […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือ กระดูกคอเสื่อม (Cervical spondylosis)

กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือ กระดูกคอเสื่อม เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้น เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนและกระดูกสันหลังบริเวณคอ และอาการอาจรุนแรงมากขึ้นจากปัจจัยอื่นๆ ได้ คำจำกัดความ กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือ กระดูกคอเสื่อม คืออะไร กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (Cervical spondylosis) หรือ กระดูกคอเสื่อม (Cervical osteoarthritis) หรือ กระดูกคออักเสบ (Neck arthritis) เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้น เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนและกระดูกสันหลังบริเวณคอ แม้จะเป็นเรื่องปกติที่พบในผู้สูงอายุ แต่อาการอาจรุนแรงมากขึ้นจากปัจจัยอื่นๆ ได้เช่นกัน ในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการปวดและเกร็งรุนแรงและเรื้อรัง อย่างไรก็ดี คนจำนวนมากที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม ยังคงสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือกระดูกคอเสื่อมพบได้บ่อยแค่ไหน กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมหรือกระดูกคอเสื่อมพบได้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวนมากกว่าร้อยละ 85 ขณะที่ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคนี้ไม่เคยมีอาการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมหรือกระดูกคอเสื่อม ผู้ป่วยกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือ กระดูกคอเสื่อมเกือบทั้งหมดไม่มีอาการที่ชัดเจน แต่หากมีอาการ อาจมีอาการตั้งแต่ขั้นไม่รุนแรงไปจนถึงอาการขั้นรุนแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทันที อาการที่พบได้บ่อยประการหนึ่งคือ อาการปวดกระดูกสะบัก ผู้ป่วยมักมีอาการปวดตามแขนและนิ้วมือ โดยอาจมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อ ยืน นั่ง จาม ไอ เอนคอไปด้านหลัง อาการที่พบได้มากอีกประการหนึ่งคือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้ยกแขนหรือหยิบจับสิ่งของแน่นๆ ได้ยาก สิ่งบ่งชี้อื่นๆ ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ อาการคอแข็งที่มีอาการแย่ลงเรื่อยๆ ปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณศีรษะส่วนหลัง อาการปวดแปล๊บ หรืออาการชาบริเวณไหล่ แขน และขา สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ […]


โรคข้ออักเสบ

ปวดเฉียบพลัน VS ปวดเรื้อรัง ความแตกต่างในความเหมือน

ความปวดเป็นอาการที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยประสบ ความปวดทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว บางครั้งส่งผลกระทบต่อจิตใจ หากปวดบ่อยๆ หรือรุนแรง อาจส่งผลเสียกับการทำงาน หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วย อาการปวดนั้นสามารถจำแนกได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การจำแนกตามระยะเวลาในการเกิดอาการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ปวดเฉียบพลัน และ ปวดเรื้อรัง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ ปวดเฉียบพลัน คืออะไร อาการปวดเฉียบพลัน (Acute pain) คือ อาการปวดที่เกิดขึ้นกะทันหัน รวดเร็วและรุนแรง เป็นปฏิกิริยาตอบสนองจากระบบประสาท ที่คอยเตือนว่าร่างกายเราอาจกำลังได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่เกิดจากเนื้อเยื่อ เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ หรืออวัยวะถูกทำลาย เพราะโรคภัยไข้เจ็บหรืออุบัติเหตุบางประการ เช่น กระดูกหัก ปวดแผลผ่าตัด มีดบาด ฆ้อนตกใส่เท้า ถือเป็นความปวดที่มีสาเหตุแน่ชัด มีระยะเวลาที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะเป็นไม่เกิน 6 เดือน และจะหายไปเมื่อรักษาโรคหรืออาการบาดเจ็บที่เป็นสาเหตุให้ปวดจนหายดีแล้ว ปวดเรื้อรัง คืออะไร อาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain) คือ อาการปวดที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 เดือน ส่วนใหญ่มักจะพัฒนามาจากอาการปวดเฉียบพลันที่รักษาแบบไม่ถูกวิธี เมื่อโรคหรืออุบัติเหตุที่เป็นสาเหตุของการปวดหายดีแล้ว […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

รู้หรือไม่ กายภาพบำบัดด้วย การดึงหลัง ช่วยลดอาการปวดหลังของคุณได้

การทำกายภาพบำบัดที่เรียกว่า การลดแรงกดทับหมอนรองกระดูกด้วยการดึงหลัง หรือ การดึงหลัง อาจไม่ใช่อะไรแปลกใหม่สำหรับคุณ เพราะคุณอาจเคยได้ยินการบำบัดนี้จากแพทย์ หรือเคยเห็นวิธีการบำบัดนี้ในอินเตอร์เน็ต คุณอาจทราบว่า การบำบัดชนิดนี้ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง แต่คุณทราบหรือไม่ว่า การบำบัดด้วยวิธีนี้มีวิธีการอย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบสำหรับคุณในบทความนี้ การดึงหลัง ทำอย่างไร การลดแรงกดทับหมอนรองกระดูกด้วยการดึงหลัง เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อยืดกระดูกสันหลังอย่างเบาๆ เครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วยเตียง และเครื่องมือที่ใช้ในการยืด ในระหว่างการบำบัด ผู้ป่วยไม่ต้องถอดเสื้อผ้า เพียงนอนราบลงบนเตียง และผู้ทำการบำบัดจะรัดบริเวณสะโพกและร่างกายของคุณ เพื่อให้ร่างกายส่วนบนอยู่นิ่ง แต่ร่างกายส่วนล่างจะไม่ถูกรัด ในบางกรณีอาจนอนหงาย แต่ในบางกรณีอาจนอนคว่ำ นักกายภาพบำบัดจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อตั้งเวลาและน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับภาวะของผู้ป่วยแต่ละคน การดึงหลังช่วยคุณได้อย่างไร การดึงหลัง เป็นการรักษาโดยการยืดกระดูกสันหลังอย่างอ่อนโยน ซึ่งจะสามารถลดแรงกดทับที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง เส้นประสาท และเนื้อเยื่อบริเวณนั้น อีกทั้งช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ในบริเวณที่เกิดปัญหา เนื่องจากเลือดช่วยพาน้ำ สารอาหาร และออกซิเจนไปสู่บริเวณหมอนรองกระดูก อาการจึงสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น การบำบัดประเภทนี้ถือว่า เป็นการบำบัดที่ช่วยดึงกระดูกสันหลังให้เข้าที่บริเวณหมอนรองกระดูก การบำบัดเพื่อลดแรงกดทับด้วยการดึงหลังนี้ มักใช้การรักษาอาการปวดหลัง ปวดคอ อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic nerve) กระดูกทับเส้น โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม และอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับข้อต่อ และเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลัง ระบบการลดแรงกดทับด้วยการดึงหลัง มักใช้เครื่องมือเมื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณหลัง การบำบัดนี้ช่วยกระบวนการรักษาหมอนรองกระดูก และลดการกดทับบริเวณนั้น ดังนั้น อาการปวดจะทุเลาลง หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับการบำบัดประเภทนี้ ควรปรึกษาแพทย์ ระยะเวลาของการบำบัด การรักษาในแต่ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 30 ถึง […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)

กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) โรคที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังระดับเอวเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือกระดูกสันหลังชิ้นล่างที่อยู่ติดกัน มักเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังส่วนล่าง หากผู้ที่ต้องลงน้ำหนักที่กระดูกสันหลังระหว่างการยืดเหยียด เช่น นักกีฬายิมนาสติก นักยกน้ำหนัก หรือผู้กำกับเส้นกีฬาฟุตบอล ยิ่งเสี่ยงเกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนมากขึ้น   คำจำกัดความกระดูกสันหลังเคลื่อน คืออะไร กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังระดับเอวเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือกระดูกสันหลังชิ้นล่างที่อยู่ติดกัน มักเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังส่วนล่าง (lumbosacral area) ในบางกรณี อาจทำให้กระดูกสันหลังหรือเส้นประสาทบิด จนนำไปสู่อาการปวดหลังและอาการชา หรือขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอ่อนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ หากเกิดอาการนี้ ควรรีบพบคุณหมอทันที ผู้ป่วยบางรายที่กระดูกสันหลังหลุดออกจากตำแหน่ง อาจไม่แสดงอาการนานเป็นปี ก่อนจะเริ่มรู้สึกปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือก้น กล้ามเนื้อที่ขาตึงหรืออ่อนแรง และไม่สามารถเดินได้ปกติ กระดูกสันหลังเคลื่อนพบได้บ่อยแค่ไหน โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน อาการทั่วไปของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้แก่ ปวดหลังหรือก้น อาการปวดเคลื่อนจากหลังส่วนล่างไปที่ขา มีอาการขาชาหรืออ่อนแรง เดินไม่สะดวก ปวดขา ปวดหลัง ปวดบริเวณก้นมากขึ้นเวลาก้มหรือบิดตัว ผู้ป่วยบางราย อาจควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ในบางครั้ง โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากเกิดสัญญาณหรืออาการของโรค ควรพบคุณหมอทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน สาเหตุการเกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมาจากอายุ กรรมพันธุ์ และการใช้ชีวิต เด็กที่เป็นโรคนี้ มักเกิดจากปัญหาระหว่างคลอด หรือการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน หากมีคนในครอบครัวเคยเป็น รวมถึงภาวะโตเร็วในช่วงวัยรุ่นก็อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค การเล่นกีฬาอาจเป็นสาเหตุของอาการตึง และทำให้หลังส่วนล่างทำงานหนักเกินไป โดยกีฬาที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรค […]


โรคกระดูกแบบอื่น

อาการปวดหลังของคุณเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือเปล่า?

อาการปวดหลังของคุณเกิดได้จากหลายสาเหตุ และนอกจากปัญหาของกล้ามเนื้อและกระดูกแล้ว อาการปวดของคุณอาจเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือการกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatica) ที่อยู่บริเวณตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนล่างลงมาตามด้านหลังขา เนื่องจากเส้นประสาทไซอาติกได้รับการกระทบกระเทือน หรือถูกกดทับจากปัญหาบางประการของหลังส่วนล่าง Hello คุณหมอ มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับอาการปวดหลังจาก เส้นประสาทถูกกดทับ มาฝากทุกท่านดังนี้ อาการปวดหลังจากเส้นประสาทเป็นอย่างไร เมื่อรากประสาทส่วนใดส่วนหนึ่งที่หลังส่วนล่าง ได้รับการกระทบกระเทือน อาการปวดจะเกิดขึ้น และแพร่จากรากประสาทที่เส้นประสาทไซอาติกไปจนถึงก้น และบางครั้งลามไปถึงด้านหลังของต้นขาและเท้า หรือนิ้วเท้า อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก มักแสดงอาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่า ดังนี้ อาการปวดเรื้อรังด้านใดด้านหนึ่งของก้นหรือต้นขา อาจลามลงไปที่ขาสู่เท้าและนิ้วเท้า (มักไม่เกิดที่ขาทั้งสองข้าง) อาการปวดขา อาจเกิดอาการที่เรียกว่า ปวดแสบร้อน เสียวซ่า อาการชา อ่อนแรงหรือเคลื่อนไหวขา เท้าและ/หรือ นิ้วเท้าลำบาก อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อนั่ง ทำให้ไม่สามารถนั่งได้นาน เจ็บปวดรุนแรง ยืนหรือเดินลำบาก อาการปวดเพิ่มมากขึ้น จากการไอหรือจาม อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก อาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน แต่ไม่เรื้อรังไปจนถึงอาการเรื้อรัง ที่อาจจะทำให้ทุพพลภาพได้ ปัญหาเกี่ยวกับหลังส่วนล่างที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ โดยทั่วไป สาเหตุของอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติกในวัยผู้ใหญ่ มาจากหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเลื่อน ในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี สาเหตุหลักของอาการคือการเสื่อมจากโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (lumbar spinal stenosis) หรือกระดูกสันหลังเคลื่อนและเสื่อม การรับรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก เป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการที่คล้ายกับอาการปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ คนจำนวนมากนึกถึงอาการปวดขาประเภทต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก แต่อาการปวดขามีสาเหตุมากมายที่ไม่ถูกจัดว่า เป็นอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก และจำเป็นต้องรับการรักษาที่ต่างกันไป สาเหตุของอาการปวด มีดังนี้ ปัญหาข้อต่อในกระดูกสันหลัง เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน