ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ป้องกัน เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ด้วยการเลือกรองเท้าอย่างเหมาะสม

คุณกำลังรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ ใต้ฝ่าเท้าอยู่หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้าเดิน วิ่ง และโดยเฉพาะผู้ที่ทำกิจกรรมในการยืน หรือนั่งกับที่เป็นเวลานาน จนอาจทำให้เกิด เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ โดยที่คุณไม่รู้ตัว มารู้จักกับอาการนี้ไปพร้อมกับบทความของ Hello คุณหมอ ที่มีคำแนะนำในการเลือกรองเท้าสวมใส่อย่างเหมาะสมมาฝากทุกคนค่ะ รู้จักกับอาการ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar fasciitis) มักมีอาการปวดในบริเวณฝ่าเท้าบน และด้านล่างช่วงส้นเท้า เหมือนกับมีคนกำลังเอาของมีคมมาทิ่มแทง ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อนั้นหนาขึ้นเรียกสั้นๆ ได้ว่า พังผืด ที่เชื่อมต่อไปยังส้นเท้าด้านหลังที่ช่วยในการเคลื่อนตัว ทำให้เกิดอาการคล้ายเส้นยึดในบริเวณฝ่าเท้า และรู้สึกเจ็บ ส่วนมากอาการนี้มักพบในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บจนก้าวเท้าออกข้างนอกได้ยากนั้น อาจเป็นเพราะ การมีน้ำหนักเกินมาเกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ชอบด้านการออกกำลังกายด้านการวิ่ง เช่น วิ่งมาราธอน รวมถึงการเลือกรองเท้าที่ใส่ในชีวิตประจำวันแบบผิดๆ จึงทำให้ฝ่าเท้าของคุณเกิดเจ็บปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ อายุ : เอ็นฝ่าเท้าอักเสบพบได้มากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 40 – 60 ปี หรือผู้ที่รักการออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อใต้เท้าเกิดการบวมอักเสบ น้ำหนักเกินมาตรฐาน : เนื่องจากเท้าเป็นอวัยวะที่รองรับน้ำหนักเราแทบทั้งตัว จึงทำให้เมื่อเคลื่อนไหว หรือหักโหมในการทำกิจกรรมอย่างหนัก อาจทำให้ฝ่าเท้าเกิดตึงและปวดได้ อาชีพ : ในตำแหน่งหน้าที่ของการทำงานนั้น มีหลากหลายมากมาย และยังส่งผลให้เกิดอาการฝ่าเท้าอักเสบได้ เมื่อต้องยืน หรืออยู่กับที่เป็นเวลานาน เช่น ครู […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เมื่อร่างกายเกิดผิดรูป เสี่ยงเป็น โรคเอฟโอพี (FOP) หรือไม่ ?

รูปปั้นมีชีวิต เป็นคำนิยามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า คือการแสดงชนิดหนึ่งที่โด่งดังอย่างมาก สร้างสีสันแปลกตา โดยนักแสดงจะแต่งกาย และมีกิริยาเหมือนหุ่นยนต์ หรือรูปปั้นแน่นิ่ง แต่เมื่อผู้ใดเข้าใกล้ หรือให้ค่าตอบแทนจะขยับร่างกายทันที แต่ โรคเอฟโอพี ไม่ใช่เช่นนั้น ถึงจะมีลักษณะร่างกายที่ดูแข็งคล้ายกัน แต่เป็นโรคพิการอย่างรุนแรง มาทำความรู้จักโรคนี้ไปพร้อม กับ Hello คุณหมอในบทความนี้กันเถอะ โรคเอฟโอพี (FOP) เกิดจากอะไร ร้ายแรงแค่ไหนกันนะ… โรคเอฟโอพี มีชื่อเต็มว่า (Fibrodysplasia Ossificans Progressiva ; FOP) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกระดูกนอกโครงสร้าง เกี่ยวโยงกับเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้ร่างกายเกิดการผิดรูป นอกจากนี้ยังมีความแข็งเหมือนรูปปั้น แถมยังบิดเบี้ยว โค้งงอไปมา ซึ่งเป็นความพิการทางร่างกายค่อนข้างรุนแรง โดยสามารถเป็นได้ตั้งแต่วัยเด็กจนเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่ และยังไม่มีการค้นพบวิธีรักษาให้หายขาด ทำได้แค่บรรเทาอาการให้เจ็บปวดจากการเคลื่อนไหวทุเลาลงเท่านั้น ในเดือนเมษายน ปี 2006 ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยไอลีนเอ็มชอร์ (Eileen M. Shore) จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่สรุปได้ว่าโรคเอฟโอพี นี้เกิดจากการกลายพันธุ์ หรือการคัดลอกของยีนบนโครโมโซม 2 (2q23-24) ที่สืบทอดมาจากคนในครอบครัวผิดเพี้ยน ส่งต่อไปยันลูกหลานได้ในอนาคตถึง 50% เลยทีเดียว อาการที่ทำให้เกิด ร่างกายผิดรูป […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดคอ หันคอไม่ได้ เพราะ ตกหมอน ต้องทำอย่างไร

หลายคนที่ตื่นนอนตอนเช้ามา อาจจะพบว่าตัวเองมีอาการปวดคอ ไม่สามารถหันคอได้ หรือแทบจะขยับคอไม่ได้ เนื่องจากนอน ตกหมอน อาการอักเสบของกล้ามเนื้อที่คอนี้อาจจะสร้างความลำบาก และทำลายเช้าที่สดใสของใครหลายคน มาลองดูกันดีกว่าว่าเราจะสามารถรักษาอาการปวดคอจากการตกหมอนนี้ได้อย่างไร ตกหมอน เป็นอย่างไร อาการตกหมอน หมายถึงอาการอักเสบฉับพลันของกล้ามเนื้อที่บริเวณคอ เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณคอนั้นจะมีความบอบบาง เมื่อเราออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อในบริเวณคอมากๆ เข้า จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นได้ การตกหมอนนั้นจะมีอาการคือ รู้สึกปวดคอ เจ็บคอเวลาขยับ ไม่สามารถขยับศีรษะไปมาได้อย่างสะดวก หรือไม่สามารถหันหน้าไปทางอื่นได้ ในขณะที่เรานอน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน มีความชื้นสูง และอากาศไม่ถ่ายเท อาจจะทำให้เราไม่สามารถนอนให้หลับสนิทได้ ต้องมีการพลิกตัวไปมาอยู่ทั้งคืน บ้างนอนหงาย นอนตะแคง หรือนอนคว่ำ ทำให้นอนไม่ตรงหมอนที่รองรับศีรษะและคอของเรา หรือที่เรียกว่าอาการตกหมอน การตกหมอนนี้จะทำให้สมดุลของกล้ามเนื้อของต้นคอทั้งสองด้านเกิดการเสียสมดุล ทำให้การเรียงตัวของกระดูกต้นคอไม่ได้อยู่ในลักษณะตรง และทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จนเกิดเป็นอาการตกหมอน เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองว่าเรามีอาการตกหมอนหรือไม่ โดยทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ก้มหน้า เงยหน้า และหันคอไปทางซ้ายและขวา เพื่อสังเกตว่ามีอาการปวดขณะที่หันคอ หรือขยับศีรษะไปทางด้านไหนได้หรือไม่ ใช้มือจับที่บริเวณคอ จะรู้สึกว่าคอร้อนๆ เทียบกับบริเวณอื่นที่ไม่มีอาการปวด ใช้มือกดไล่ไปตามบริเวณลำคอ เพื่อหาบริเวณที่มีอาการตกหมอน ตามปกติแล้วอาการนั้นมักจะอยู่ที่บริเวณส่วนกลางของต้นคอ ปัจจัยที่ทำให้เราตกหมอน นอนไม่หลับ การนอนไม่หลับ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตกหมอน หากเราไม่สามารถนอนหลับได้ หรือนอนหลับไม่สนิท การนอนหลับไม่สนิทจะทำให้ร่างกายของเรา ไม่สามารถเข้าสู่ระยะนอนหลับสนิท ที่ร่างกายจะทำการพักผ่อนอย่างสมบูรณ์ และคลายกล้ามเนื้อที่ตึง คลายหลอดเลือด และทำให้สมองได้มีโอกาสจัดการกับระบบความคิดเสียใหม่ การนอนหลับไม่สนิทจะทำให้เกิดความตึงเครียดสะสม จนสุดท้ายก็เกิดการอักเสบขึ้นมาได้ ลักษณะของหมอน ท่าทางการนอนแต่ละท่า และสรีระทางร่างกายที่แตกต่างกัน […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

ข้อเคลื่อน (Dislocation)

คำจำกัดความข้อเคลื่อน คืออะไร ข้อเคลื่อน หรือข้อหลุด (Dislocation of joint หรือ Dislocation) คือ ภาวะที่หัวกระดูกหรือปลายกระดูกสองอัน ที่มาชนกันเป็นข้อ เคลื่อนหรือหลุดออกจากตำแหน่งปกติ จนส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เส้นเลือด และเส้นประสาทในบริเวณนั้น เช่น ทำให้ฉีกขาด ฟกช้ำ ยืด ข้อเคลื่อนส่วนมากเกิดบริเวณหัวไหล่ และนิ้วมือ ส่วนอื่นที่มักเกิดข้อเคลื่อน เช่น ข้อศอก หัวเข่า สะโพก ส่วนใหญ่แล้ว หากข้อบริเวณใดเคยเกิดภาวะข้อเคลื่อนแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ในอนาคต ข้อเคลื่อน พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะข้อเคลื่อนหรือข้อหลุดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ ผู้ที่ง่ายต่อการหกล้ม และขาดการเคลื่อนไหว เด็กเล็ก หากผู้ปกครองไม่เฝ้าระวังให้ดี เด็กอาจเกิดอันตรายจนข้อเคลื่อนได้ ผู้ที่ฝึกออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าสำหรับอุบัติเหตุอย่างข้อเคลื่อนเช่นกัน อย่างไรก็ดี ภาวะนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม   อาการอาการของข้อเคลื่อน อาการทั่วไปของข้อเคลื่อน เช่น เห็นชัดเจนว่าข้อกระดูกอยู่ผิดที่ ปูดบวม หรือเปลี่ยนสี รู้สึกปวดเมื่อเคลื่อนไหว อาการชา หรือรู้สึกเสียวแปลบรอบบริเวณที่ข้อเคลื่อน สูญเสียการเคลื่อนไหว สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำแข็งประคบข้อต่อที่เคลื่อน  และพยายามอย่าเคลื่อนไหวในขณะที่กำลังรอการรักษาทางการแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุข้อเคลื่อนหรือข้อหลุดสามารถเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย หรือโดนทำร้ายร่างกาย จนทำให้บริเวณข้อเคลื่อนออกจากกัน ตัวอย่างสาเหตุของข้อเคลื่อน เช่น การล้ม […]


กระดูกร้าว กระดูกหัก

ข้อมือหัก (Broken wrist)

คำจำกัดความข้อมือหัก คืออะไร ข้อมือหักนั้นเกิดขึ้นเมื่อคุณล้มอย่างแรง หรือเกิดอุบัติเหตุบางอย่าง ที่ทำให้ข้อมือหรือมือโดนกระแทกจนกระดูกหัก หรือร้าวได้ กระดูกหักในส่วนของข้อมือส่วนล่าง ใกล้กับส่วนที่ต่อกับมือข้างนิ้วโป้ง ข้อมือหัก พบบ่อยแค่ไหน ข้อมือหักพบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของข้อมือหัก อาการทั่วไปของข้อมือหัก ได้แก่ เจ็บที่ข้อมือมาก อาการบวม รู้สึกตึง มีอาการช้ำ ขยับข้อมือหรือมือไม่ได้ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ข้อมือหักถือเป็นเหตุฉุกเฉิน หากเกิดขึ้นควรเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณคิดว่าข้อมือหรือมือของคุณหัก หรือรู้สึกว่านิ้วโป้งมีอาการบวมหรือขยับนิ้วลำบาก โปรดปรึกษาแพทย์ทันที เพราะภาวะข้อมือหัก หรือมือหักนี้ ยิ่งได้รับการวินิจฉัยและการรักษาช้า ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่ออวัยวะ และอาจทำให้ความสามารถในการขยับหรือการบีบจับลดลง ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของข้อมือหัก ข้อมือหักส่วนใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโดนทำร้ายร่างกาย ทำให้ข้อมือหรือมือถูกตีหรือกระแทก จนเกิดจากการร้าวหรือแตกหัก ตัวอย่างสาเหตุของข้อมือหัก เช่น การล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มือหัก หรือข้อมือหัก ได้รับบาดเจ็บในระหว่างการเล่นกีฬา ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือจักรยาน ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของข้อมือหัก ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะข้อมือหัก หรือมือหักนั้นมีอยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณเป็นนักกีฬาประเภทที่ต้องมีการกระแทกหรือปะทะกันในการแข่งขัน เช่น บาสเก็ตบอล ฟุตบอล สกี ขี่ม้า ขับรถแข่ง นอกจากนั้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้คุณเสี่ยงข้อมือหักได้ เช่น เป็นโรคกระดูก หรือมีความผิดปกติของกระดูก สูบบุหรี่จัด ได้รับแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยข้อมือหัก แพทย์จะสอบถามคุณเกี่ยวกับความรู้สึก อาการ บริเวณที่เกิดอาการ รวมถึงสาเหตุที่ทำให้ข้อมือร้าวหรือหัก และแพทย์อาจต้องใช้การทดสอบอื่นๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยข้อมือของคุณด้วย เช่น วิธีการวินิจฉัยทางการแพทย์ ได้แก่ เอกซเรย์ เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ […]


โรคข้ออักเสบ

ซุมบ้ากับข้ออักเสบ : อยากเต้นซุมบ้าแต่เป็นโรคข้ออักเสบ ทำได้ไหมนะ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบ จะลุกก็เจ็บ จะนั่งก็เจ็บ แถมบางครั้งข้อเข่ายังดังกร๊อบแกร๊บ จนไม่อยากจะเคลื่อนไหว เลยคิดไปว่า หากมีอาการข้ออักเสบไม่ควรจะออกกำลังกาย แต่ว่าจริงๆแล้วผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบสามารถออกกำลังกายได้ แต่ต้องอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอที่ดูแลเราอยู่ ส่วนใครที่เห็นว่า…ซุมบ้าก็น่าเต้นแต่ข้ออักเสบก็กังวลใจ…เรามาร่วมกันไขข้อข้องใจเรื่อง ซุมบ้ากับข้ออักเสบ พร้อมๆกับ Hello คุณหมอ เลยค่ะ …ว่าทำได้รึเปล่า ซุมบ้า คืออะไร ซุมบ้า (Zumba) เป็นโปรแกรมการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง เป็นการออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิก ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากท่าเต้นแบบละติน-อเมริกา เป็นการเต้นที่มีการสลับจังหวะช้า เร็ว สลับๆ กันไปพร้อมกับเพลงละตินจังหวะสนุกๆ เพื่อเป็นการฝึกความต้านทานของกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย การออกกำลังกายที่ผสมผสานกับท่าเต้น จะช่วยให้การออกกำลังกายมีความสนุกสนานพร้อมทั้งไม่เบื่อ มีส่วนช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น ทั้งยังมีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นอีกด้วย ประเภทของ ซุมบ้า ซุมบ้าเป็นการออกกำลังกายด้วยการเต้น เมื่อปี 1990 Alberto “Beto” Perez ผู้ฝึกสอนด้านการออกกำลังกายในโคลัมเบียมีการผสมผสานเพลง Salsa และ Merengue แบบดั่งเดิมเข้ากับการเต้นแอโรบิกของเขา ซึ่งออกมาเป็นการเต้น ซุมบ้า ซุมบ้าเป็นการออกกำลังกายประกอบเสียงเพลง แบบสนุกๆ ในจังหวะของละติน-อเมริกา ซึ่งรูปแบบของ ซุมบ้าก็มีหลากหลาย ซึ่งตัวเลือกในการออกกำลังกาย Zumba มีการแยกประเภทที่เหมาะกับกลุ่มอายุ ที่เฉพาะเจาะจง และระดับการออกกำลังกาย และยังมีประเภทของซุมบ้าที่เหมาะกับผู้ป่วยข้ออักเสบอีกด้วย Zumba เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม กับผู้ที่เล่นฟิตเนสทุกๆ […]


กระดูกร้าว กระดูกหัก

กระดูกหัก (Bone Fracture)

กระดูกหัก คือ ภาวะความเสียหายของกระดูกที่สามารถพบได้บ่อย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากแรงกระแทกรุนแรง เช่น กระดูกหักจากอุบัติเหตุ รวมไปถึงความเครียดสะสมในกระดูกที่มาจากการออกกำลังกายหนักเกินไป ซึ่งพบได้ทั่วไปในนักกีฬา ภาวะกระดูกหักนี้เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก และผู้สูงอายุที่กระดูกเริ่มเปราะบาง คำจำกัดความกระดูกหัก คืออะไร อาการกระดูกหัก (Bone Fracture) คือ ภาวะที่กระดูกมีความเสียหาย โดยภาวะกระดูกหักมี 4 ประเภทหลัก ได้แก่ กระดูกหักแบบเคลื่อนจากกัน กระดูกหักแบบไม่เคลื่อนที่ กระดูกหักแบบแผลปิด กระดูกหักแบบแผลเปิด ภาวะกระดูกหักแบบเคลื่อนจากกัน คือ การที่กระดูกแยกเป็นสองชิ้นหรือมากกว่านั้น จากนั้นชิ้นส่วนเคลื่อนจนปลายที่หักไม่ตรงกัน ส่วนภาวะกระดูกหักแบบไม่เคลื่อนที่ คือ การที่กระดูกหักแบบทั้งแยกชิ้นและเป็นทางยาวแต่ไม่ได้เคลื่อนที่จากกันและยังอยู่ในตำแหน่งเดิม ภาวะกระดูกหักแบบแผลปิดเกิดขึ้นเมื่อกระดูกหักแต่ไม่เกิดรอยหรือแผลเปิดที่ผิวหนัง ส่วนภาวะกระดูกหักแบบแผลเปิด คือ ภาวะที่กระดูกหักแล้วแทงออกมานอกผิว จากนั้นกระดูกอาจขยับกลับเข้าไปในแผลและอาจมองไม่เห็นที่นอกผิว โดยอาการนี้เป็นข้อแตกต่างระหว่างภาวะกระดูกหักแบบแผลปิดและแผลเปิดที่สำคัญ หากมีภาวะกระดูกหักแบบแผลเปิดอาจเสี่ยงติดเชื้อในกระดูกได้ อาการกระดูกมีหักหลายประเภท ที่พบได้ทั่วไป เช่น ปุ่มกระดูกแตก กล้ามเนื้อหรือเอ็นยึดของกระดูกแตกหัก กระดูกหักแตกย่อย กระดูกแตกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ หลายชิ้น กระดูกยุบตัว มักเกิดที่กระดูกฟองน้ำบริเวณกระดูกสันหลัง เช่น พื้นที่ส่วนหน้าของกระดูกบริเวณกระดูกสันหลังอาจยุบตัวเนื่องจากกระดูกพรุน กระดูกข้อต่อเคลื่อน ข้อต่อเกิดการเคลื่อนที่และมีส่วนหนึ่งของกระดูกที่แตกหัก กระดูกเดาะ ส่วนด้านหนึ่งของกระดูกแตกหักแต่ไม่ได้แตกทั้งหมดเพราะส่วนที่เหลือยังดัดได้ เกิดได้ทั่วไปในเด็กที่กระดูกยังอ่อนและยืดหยุ่นง่าย กระดูกแตกรอยยาวคล้ายเส้นผม เป็นการแตกหักรอยยาวของกระดูก การแตกหักประเภทนี้มักยากที่จะตรวจพบ กระดูกหักยุบเข้าหากัน เมื่อกระดูกแตกหัก ด้านหนึ่งของกระดูกเข้าหาอีกด้านหนึ่ง กระดูกหักตามยาว รอยแตกหักของกระดูกเป็นไปตามทางยาว กระดูกหักแนวเฉียง รอยแตกหักที่เฉียงไปตามยาวของกระดูก กระดูกหักตามขวาง รอยแตกขวางทางยาวของกระดูก กระดูกหักจากพยาธิสภาพ เมื่อโรคประจำตัวหรืออาการเฉพาะทำให้กระดูกอ่อนแอ ส่งผลให้กระดูกแตกหัก กระดูกหักเป็นเกลียว การแตกหักที่มีชิ้นส่วนกระดูกอย่างน้อยหนึ่งส่วนบิดเป็นเกลียว กระดูกหักล้า มักพบทั่วไปในนักกีฬา กระดูกหักเนื่องจากกระดูกล้าและเคล็ดสะสม กระดูกเสียหายจากแรงอัด กระดูกถูกแรงอัดแต่ไม่ได้แตกหักออกจากกัน พบได้ทั่วไปในเด็ก มีอาการปวดแต่กระดูกยังมั่นคง กระดูกหัก พบได้บ่อยแค่ไหน กระดูกหักพบได้ทั่วไปในคนทุกเพศทุกวัย […]


โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

อะไรคือสาเหตุของอาการปวดที่ข้อต่อ?

อาการปวดที่ข้อต่อ (Joint pain) ส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต เป็นอาการทั่วไปที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปถ้าแบ่งสาเหตุตามโครงสร้างภายในข้อต่อ อาการปวดและอาการอักเสบของข้อต่อมักเกิดขึ้นจากการมีพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อภายในและรอบๆ ข้อ เช่น กระดูกอ่อน, กระดูก, เอ็น, เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ในทางการแพทย์อาการปวดที่ข้อต่อ มักจำเพาะเจาะจงหมายถึง ข้ออักเสบ (Arthritis) หรือ อาการปวดข้อ (Arthalgia) ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในข้อเอง อาการปวดที่ข้อต่อสามารถมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเฉพาะขณะมีการขยับของข้อจนถึงปวดรุนแรงจนกระทั่งไม่สามารถขยับข้อได้เลย หรือออกแรงลงน้ำหนักบริเวณข้อที่ปวดแล้วเกิดอาการปวดอย่างรุนแรง ซึ่งลักษณะอาการปวดต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละโรคที่เป็นสาเหตุ สาเหตุดังต่อไปนี้เป็นสาเหตุของอาการปวดที่ข้อต่อที่พบได้ Adult Still’s disease Ankylosing spondylitis (ข้อสันหลังอักเสบติดยึด) Avascular necrosis(กระดูกตายจากการขาดเลือด) Bone cancer (มะเร็งกระดูก) Broken bone (กระดูกหัก) Bursitis(joint inflammation) Complex regional pain syndrome(chronic pain due to a dysfunctional nervous system) Dislocation (ข้อเคลื่อน) Fibromyalgia (ไฟโบรมัยอัลเจีย) Gonococcal arthritis (ข้ออักเสบโกโนเรีย) Gout(เกาท์) Hypothyroidism(ไทยรอยด์ต่ำ) Juvenile idiopathic arthritis(formerly known as […]


กระดูกร้าว กระดูกหัก

เคล็ดลับกระดูกสมานเร็วขึ้น ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อกระดูกหัก

กระดูกหัก ดังเป๊าะ!!! กระดูกหักไม่ใช่เรื่องเล่นๆ บางครั้งกระดูกหักอาจไม่ร้ายแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิต แต่กระดูกหักก็ทำให้เราถึงขั้นพิการได้เลยทีเดียว เมื่อกระดูกหักทีก็ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่น้อยเลยทีแล้ว ระยะในการฟื้นตัวก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างๆ วันนี้ Hello คุณหอม มี เคล็ดลับกระดูกสมานเร็วขึ้น มาให้ลองดูกัน เป็นวิธีง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] พฤติกรรมที่ทำให้ กระดูกสมาน เร็วขึ้น การรักษากระดูกหักต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา และมีปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น อายุของผู้ป่วย มวลความหนาแน่นของกระดูก สุขภาพโดยรวม โภชนาการ การไหลเวียนของเลือดไปยังกระดูกและวิธีการรักษา ปัจจัยทุกๆ อย่างย่อมมีผลต่อการสมานของกระดูกทั้งนั้น เคล็ดลับต่างๆ เหล่านี้อาจช่วยให้กระดูกสมานเร็วขึ้น หยุดสูบบุหรี่ สำหรับคำแนะนำการเลิกสูบบุหรี่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการสูบบุหรี่ส่งผลอย่างไรต่อการสมานของกระดูก แต่อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มักจะใช้ระยะเวลาในการในการรักษากระดูกนานกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และยังมีความเสี่ยงที่กระดูกจะต่อไม่ติดอีกด้วย นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังกระดูกอีกด้วย ซึ่งการไหลเวียนของเลือดไปยังกระดูกเป็นการส่งสารอาหารที่จำเป็นและเซลล์เพื่อช่วยให้กระดูกสมานเร็วขึ้น กินอาหารอย่างสมดุล หนึ่งใน เคล็ดลับกระดูกสมานเร็วขึ้น คือ การรักษากระดูกจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อรักษาสุขภาพของกระดูก ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บต้องเลือกรับประทานอาหารอย่างสมดุล เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และต้องแน่ใจว่าอาหารที่กินเข้าไปจะดีต่อสุขภาพของกระดูก และช่วยให้กระดูกฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บได้ดี หากคุณได้รับบาดเจ็บจนกระดูกหัก ควรเลือกกินอาหารที่สมดุลเพื่อให้กระดูกได้รับสารอาหารที่ดีต่อการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ แคลเซียม แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการรักษากระดูกก็จริง แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับสารอาหารทุกๆ ประเภท เพราะการได้รับ […]


โรคกระดูกพรุน

คนข้ามเพศ กับ โรคกระดูกพรุน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจสงสัยว่า การแปลงเพศเกี่ยวข้องอย่างไรกับ โรคกระดูกพรุน จริงๆ แล้วโรคกระดูกพรุน มีสาเหตุมาจากหลายอย่าง ฮอร์โมนเองก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ เมื่อมีการแปลงเพศ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน และคุณอาจมีคำถามว่าจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอมีคำแนะนำดีๆ มาฝาก โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คืออะไร ในแต่ละช่วงของชีวิตคนเรา กระดูกจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อยๆ ในขณะที่กระดูกเก่าๆ ก็จะถูกทำลายลงเรื่อยๆ เช่นกัน กระบวนการเหล่านี้ ช่วยทำให้กระดูกซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และทำให้ร่างกายของเราโตขึ้น โดยปกติแล้วกระบวนการทำลายกระดูกจะเร็วกว่าการสร้างกระดูก แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนกระบวนการทำลายกระดูกจะเร็วกว่าปกติจนสร้างขึ้นมาใหม่ไม่ทัน ทำให้กระดูกเปราะบางและง่ายต่อการหัก จริงๆ แล้วโรคกระดูกพรุนสามารถเกิดได้กับทุกวัย แต่โดยทั่วไปแล้ว โรคกระดูกพรุนจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัยมากกว่า และที่สำคัญโรคนี้จะไม่มีสัญญาณเตือน เราจะไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้ จนกว่ากระดูกเราจะหัก โดยทั่วไปแล้วโรคกระดูกพรุน กระดูกจะหักที่ข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคนี้ก็มีสาเหตุมาจากหลายๆ อย่างแต่ก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลที่แน่ชัดได้ว่าจริงๆ แล้วเกิดจากอะไร บางครั้งก็อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ คนข้ามเพศกับโรคกระดูกพรุน เกี่ยวข้องกันอย่างไร  ความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ  มวลความหนาแน่นของกระดูก ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายได้รับ ชาติพันธุ์ การออกกำลังกาย การบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ทั้งนั้น และอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนก็คือ ฮอร์โมน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม